 |
<< ...R..W..A..N..D..A... >>
วันนี้...พาเพื่อนสมาชิกมารู้จักประเทศที่ไม่ได้มีพื้นที่ติดทะเล....เคยมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แบบมโหฬาร....และยังเป็นชาติที่มีความขัดแย้งจากขั้วอำนาจ ๒ ชนเผ่า
รวันดา...ดินแดนนี้เดิมเรียกว่า Ruanda Urundi เคยรวมอยู่กับ Burundi แล้ว ตกเป็นอาณานิคมส่วนหนึ่งของเยอรมันในปี 2433 (1890) ในนามของ German East Africa ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 รวันดาตกเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ และสหประชาชาติ โดยมีเบลเยี่ยมเป็นผู้ดูแล ขณะนั้นรวันดามีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยชนเผ่า Tutsi ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยแต่ร่ำรวยมีการศึกษาดีและเป็นนักรบ ส่วนชาว Hutu ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศเป็นพวกยากจนและมีอาชีพทางกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2502 (1959) ได้เกิดสงครามระหว่างเผ่า ทำให้ชนเผ่า Tutsi หมดอำนาจลงอีก 2 ปีต่อมา เบลเยี่ยมจัดให้มีการลงประชามติ ซึ่งชาวรวันดาได้ตัดสินใจที่จะปกครองตนเอง เบลเยี่ยมจึงมอบเอกราชให้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2505 (1962) และรวันดากลายเป็นสาธารณรัฐ มีการจัดทำรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้ง ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคParmehutu (Parti de l emancipation du peuple Hutu) ของชาวเผ่า Hutu (ภาคกลาง) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล มีนาย Gregoire Kayibanda เป็นประธานาธิบดีคนแรกในปี 2506 2507 (1963 1964) เกิดสงครามระหว่างเผ่า Tutsi และ Hutu ส่งผลให้ชาวเผ่า Tutsi ถูกสังหารหลายพันคนและอีกหลายหมื่นคนหนีไปอยู่ยูกันดาและบุรุนดี ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2516 (1973) พลเอก Juvenal Habyarimana ปฏิวัติขับไล่ประธานาธิบดี Kayibanda ออกจากตำแหน่ง พรรค Parmehutu หมดอำนาจ พรรค Mouvement Revolutionnaire National pour le Development (MRND) ซึ่งควบคุมโดยกองทัพเข้าทำการปกครองแทน แต่อำนาจปกครองยังคงตกอยู่กับเผ่า Hutu ประธานาธิบดี Juvenal Habyarimana มีนโยบายขจัดลัทธินิยมเผ่าพันธุ์เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2521 (1978) ทำให้พรรค MRND เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายเพียงพรรคเดียว นโยบายสำคัญของพรรค MRND คือ ขจัดความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์และสร้างเอกภาพแห่งชาติ สำหรับอำนาจตุลาการใช้ผ่านทางศาลและคณะมนตรีแห่งรัฐ (Council of State) ภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดี Juvenal Habyarimana ซึ่งเป็นชนเผ่า Hutu จากเหตุการณ์เครื่องบินตกเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2537 Dr.Theodore Sindikubwabo ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 8 เมษายน 2537 การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนเผ่า Tutsi ก็ได้เริ่มนับจากนั้นเป็นต้นมา (ช่วงระหว่างที่ประธานาธิบดี Sindikubwabo ปกครองประเทศ) ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2537 กลุ่มแนวหน้าผู้รักชาติชาวรวันดา (Rwandanese Patriotic Front : RPF) ที่มีชนเผ่า Tutsi เป็นแกนนำ ได้ล้มล้างรัฐบาล Hutu และนาย Pasteur Bizimungu นักประนีประนอมไกล่เกลี่ยชาว Hutu ก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รัฐบาล Hutu หลบหนีไปยังซาอีร์และจัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นทางภาคตะวันออกของซาอีร์ กลุ่ม RPF ได้กล่าวหาฝรั่งเศสว่าให้การสนับสนุนรัฐบาลของ Hutu และยังกล่าวหาว่ารัฐบาลของซาอีร์ ได้ให้การสนับสนุนทางกำลังอาวุธและการฝึกฝนทางกำลังทหารแก่กลุ่มกองโจรของชนเผ่า Hutu ในเดือนสิงหาคม 2537 ประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu และกลุ่ม RPF ได้เรียกร้องให้สหประชาชาติทำการสืบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 2537 และนำตัวผู้มีส่วนร่วมวางแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดังกล่าวมาลงโทษ....อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 ประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีต่อประธานรัฐสภา โดยอ้างเหตุผลส่วนตัว และต่อมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2543ได้มีการประชุมร่วมระหว่างสมาชิกสมัชชาแห่งชาติกับคณะรัฐมนตรีรวันดาเพื่อคัดเลือกผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ รวม 2 คน คือ พลตรี Paul Kagame รองประธานาธิบดี ซึ่งรักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดีและประธานพรรค RPF และนาย Charles Murigande เลขาธิการพรรค RPF ซึ่งผลการลงคะแนนเสียง ปรากฏว่า พลตรี Kagame ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน จำนวน 81 เสียง จากคะแนนเสียงทั้งหมด 86 เสียง จึงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐรวันดาคนใหม่ โดยพลตรี Kagame ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2543.....
ประธานรัฐสภา..อัลเฟรด มูเคแซมฟูรา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน..เบอร์นาร์ด มากูซา เอคอัครราชฑูตรวันดาประจำประเทศไทย...เบน รูกานกาซี
ไทยกับรวันดาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2530 โดยฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบีดูแลรวันดา ในขณะที่ ฝ่ายรวันดาได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตรวันดาประจำกรุงโตเกียวมีเขตอาณาครอบคุลมประเทศไทย ความสัมพันธ์ของสองฝ่ายเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่มีปัญหาระหว่างกันในอดีตรวันดาได้ออกเสียงสนับสนุนข้อมติสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหากัมพูชามาโดยตลอด....
จากคุณ :
นกสุโขทัย
- [
วันสุนทรภู่ 13:39:40
]
|
|
|
|
|