Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ใครเคยอ่าน สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ The Name of the Rose บ้างคะ

    ดูเป็นวรรณกรรมที่อ่านยาก พอจะบอกความคุ้มค่าน่าอ่านได้ไหมคะ

    สนใจเพราะที่นี่ค่ะ http://www.nationweekend.com/2006/07/28/NW16_663.php?SecId=NW16&news_id=21216729

    นิยาย 'รหัสคดี' ยุคกลางของ Umberto Eco ที่ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปลมาจากเรื่อง The Name of the Rose ที่มีชื่อเป็นไทยว่า สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ เล่มนี้ อาจถือเป็นชิ้นงานสำคัญของทั้งผู้ประพันธ์และผู้แปล แม้ผู้แปลจะไม่ได้แปลมาจากภาษาอิตาเลียนโดยตรง แต่ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของ วิลเลียม วีเวอร์ ก็ได้รับการยอมรับในหมู่ผู้อ่านว่าแปลดี และฉบับภาษาไทยของภัควดี วีระภาสพงษ์ก็ถือว่าแปลดี นิยายเชิงรหัสคดีเล่มนี้ต้องละเลียดอ่านช้าๆ เพราะความซับซ้อนของภาษาและความยาวของมันที่อาจทำให้ใครต่อใคร 'ตกม้าตาย' เสียก่อนอ่านจบก็เป็นได้ ผมเองอ่านมานานจนแทบลืมไปหมดแล้ว สิ่งที่ได้จากการอ่านนิยาย 'รหัสคดี' โดยมีฉากเป็นอารามในยุคกลางของยุโรปเล่มนี้ ถือเป็นความทะเยอทะยานของผู้ประพันธ์ที่จะใช้ 'การตีความสัญญะ' [the Interpretation of Signs] หรือที่ทางวิชาภาษาศาสตร์เรียกว่า Semiotics (สัญศาสตร์) เข้ามาเป็นกุญแจไขความรหัสคดีที่แต่งขึ้นว่าด้วยเรื่องราวของ 'สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ' สิ่งที่ อุมแบร์โต เอโก ทิ้งไว้ให้ผู้อ่านปวดหัวเล่นก็คือทุกหนทุกแห่งที่เขาพาเราเดินลึกเข้าไปนั้นล้วนแต่มี 'สัญญะ' ต่างๆปรากฏเต็มไปหมด The Name of the Rose จึงเป็นเหมือนรหัสคดีเชิงปรัชญา 'หลังสมัยใหม่' ว่าด้วย 'สัญศาสตร์ทางวรรณกรรม' ที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1980 และเป็นนิยายเล่มแรกของ อุมแบร์โต เอโก ที่ทำให้เขากลายสภาพจากการเป็นอาจารย์สอนวิชา Semiotics มาเป็นนักประพันธ์อันดับหนึ่ง งานนิยายเล่มนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ถูกอกถูกใจบรรดานักคิดสำนัก Post Modern มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 คติตามแบบรหัสคดีแนวขนบที่ต้องค้นหาให้ได้ในตอนจบว่า whodunit (ใครคือคนฆ่า) บัดนี้ได้กลายมาเป็นรหัสคดีแนว 'หลังสมัยใหม่' ที่ทุกคนกลายเป็นจำเลยร่วมกัน หรือไม่ก็คาดเอาตามเหตุตามผลไม่ได้อีกต่อไป เพราะแง่มุมแบบเรื่องแต่งซ้อนเรื่องแต่งทำให้น่าสงสัยไปทุกสิ่งทุกอย่างและทุกหนทุกแห่ง กล่าวคือเป็นสิ่งที่ศัพท์ทางปรัชญาเรียกว่า scepticism of empirical และศัพท์ทางวรรณกรรมเรียกว่า mata-fiction เช่นเดียวกับงานเขียนของนักเขียนชาวอาร์เจนตินา ที่ชื่อ Jorge Luis Borges (1899-1986)

    จากคุณ : มิสซิสแคลร์ - [ 21 ส.ค. 50 09:03:41 A:58.64.89.90 X: ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom