ความคิดเห็นที่ 113

    ไฟแดงหายแล้ว ลบละ

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 04:36:06

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 3 ก.ย. 50 23:47:05 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 114

    อย่าหาว่า "สถาบัน" ไม่รู้สถานการณ์ตอนนี้เลยค่ะ วันก่อน พระองค์ท่านก็รับสั่งให้เอกอัครราชทูตฟังว่า "เดี๋ยวนี้อะไรๆก็พอเพียง บางอย่างไม่มีเหตุผลเลยว่าพอเพียงอย่างไร ฟังมากๆมันเลี่ยน หมั่นไส้ตัวเอง"

    สถาบันท่านก็คงไม่สบายใจหรอกที่หน่วยงานราชการเอาความคิดของท่านไปทำเหมือนฉลากยา เหมือนเอาไปแปะที่ขวดแล้วบอกว่ารักษาโรคนี้ๆได้ โดยไม่ศึกษาให้เข้าใจ หลายคนรู้แค่ว่ารักท่านก็ใส่เสื้อเหลืองก็พอแล้ว

    เราว่า ประชาชนเองก็มีส่วนไม่น้อย กับการพยายามไป build ภาพของท่านให้มันเว่อร์เกินจริง เราว่าสถาบันคงไม่แฮปปี้หรอก build ไป build มา กลายเป็นว่าอัจฉริยะไปทุกด้าน ทำอะไรไม่ได้ก็ต้องวิ่งโร่มาหาท่าน มาให้ท่านแก้ ทั้งๆที่เราควรจะแก้กันเอง (โดยเฉพาะเรื่องการเมือง) พอคิดจะตอบแทนท่านก็ว่าจะตายแทนได้ ซึ่งจริงๆก็ดีนะ แต่มัน sentimental ไปหน่อย น่าจะตอบแทนท่านโดยหาวิธีที่มันยั่งยืน ได้ผลระยะยาว มากกว่าสละชีพพิสูจน์ความภักดี ซึ่งมันน่าจะเป็นอะไรที่ใช้ในสถานการณ์ฟางเส้นสุดท้ายมากกว่า

    ถ้าคิดอย่างนี้ คนไทยจะอยู่ได้ยังไงต่อไปถ้าไม่มีท่าน เราเอาตัวเองไปผูกติดกับอารมณ์ที่มัน sentimental โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงว่าโลกมันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วขนาดนี้ เราต้องพึ่งตัวเองได้ ต้องมีคุณภาพพอที่จะช่วยกันสร้างชาติต่อไปได้ ไม่ใช่สรรเสริญท่านปากเปียกปากแฉะ แล้วตัวเองก็ไม่ทำอะไร นอกจากเอาเสื้อเหลืองมาใส่แล้วก็ว่า I've done my bit แล้วก็จบไป


    จากคุณ : Sa-idian - [ 4 ก.ย. 50 00:15:10 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 115

    เห็นด้วยอย่างสุดซึ้ง กับคุณ  Sa-idian

    ผมได้ฟังกระแสพระราชดำรัส ตอนนั้นเช่นนั้น พระองค์ท่านคงไม่สบายพระทัยนัก ที่เป็นเช่นนั้น และก็แสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่าน ทรงทราบทุกเรื่อง สงสารพระองค์ท่านเถอะ ปีนี้ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษาแล้ว

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 4 ก.ย. 50 00:31:38 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 116

    น่าเสียดายที่มาไม่ทันอ่านความเห็นของพี่บุญชิต ฯ  

    ผมอ่านความเห็นเรื่อง Sa-idian เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมอดนึกถึงแนว
    นโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศของท่านเนห์รูห์ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ
    ไม่ยิ่งหย่อนกว่าคานธีในการกู้เอกราชจากอินเดียและท่านเหมาเจ๋อตุง ผู้
    ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจีนเป็นระบบคอมมิวนิสม์
    ทั้งสองท่านจัดได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่สุดของโลกในศตวรรษที่ ๒0 ไม่ว่า
    จะเป็นในฐานะผู้สร้างประวัติศาสตร์โลกและมหาบุรุษของคนในชาติอินเดีย
    และจีน

    ท่านเนห์รูห์มีนโยบายเศรษฐกิจแบบสหภาพโซเวียตที่เน้นพึ่งตนเอง
    ผลคือเศรษฐกิจอินเดียชะงักไปหลายทศวรรษ
    จนกระทั่งมีการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจในสมัยนายมานโมฮัน
    ซิง เป็นรัฐมนตรีคลังของอินเดียในปี ๒๕๓๔ (ปัจจุบันนายมานโมฮัน ซิง
    เป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย) เศรษฐกิจอินเดียจึงได้ฟื้นตัวหลังจากตกต่ำ
    เป็นหลายสิบปีและผลักดันให้คนอินเดียจำนวนมากต้องอพยพไปทำงาน
    ต่างประเทศ

    ในขณะที่ประเทศจีน ท่านเหมาจ๋อตุงมีนโยบายก้าวกระโดดทางการผลิต
    และปฏิวัติวัฒนธรรม ผลคือสังคมจีนแทบพังทลาย คนล้มตายหลายล้านคน
    และรากฐานอารยธรรม วัฒนธรรมจีนที่มีต่างชาติเจือปนเมื่อหลายพันปีก่อน
    ต้องพังทลายไป ที่สำคัญคือบาดแผลจากการปฏิวัติวัฒนธรรมยังคงตกค้าง
    ในจิตใจของคนจีนวัยกลางคนจำนวนมาก


    ทั้งสองท่าน เป็นมหาบุรุษชั้นนำของโลก
    มีช่วงของชีวิตของท่านที่มีนโยบายและความคิดที่ผิดพลาด

    ยิ่งทั้งสองท่านอยู่ในอำนาจที่การตรวจสอบอ่อนแรง ในกรณีของ
    ท่านเหมาเจ๋อตุง อำนาจตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์ท่านแทบไม่มี
    ในกรณีของอินเดียกลับดีกว่าจีน อย่างน้อยไม่มีใครล้มตายเพราะ
    ความคิดที่ผิดพลาด หรือนโยบายที่ผิดพลาด

    ผมไม่บังอาจเอาทั้งสองท่านมาเปรียบกับสถาบันของเรา

    เพราะในวัฒนธรรมไทย ทั้งท่านเหมาเจ๋อตุงและท่านเนห์รูห์เป็นแค่ไพร่
    คุณค่าของท่านต่อให้ยิ่งใหญ่กว่านี้ในสายตาคนทั้งโลก (ที่ไม่ใช่จีนและ
    อินเดีย) แต่ท่านเป็นแค่สามัญชน ไม่อาจจะยกมาเปรียบเทียบกับสถาบัน
    ของเราได้เลยแม้แต่สักเสี้ยวเดียว

    ผมเคยถาม ผู้รู้หลายท่าน(หรือผู้ที่อ้างว่ารู้?) เศรษฐกิจพอเพียงว่าในโลกเรา
    ณ ปัจจุบันนี้ มีชาติใดหรือประเทศใดบ้างที่ใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง
    หรือในประวัติศาสตร์ในอดีตก็ได้ เพื่อที่นักเรียนเศรษฐศาสตร์อย่างผมจะได้
    เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของพัฒนาการเศรษฐกิจจากนโยบายดัง
    กล่าว

    คำตอบที่ได้ยินมาคือไม่มี มีคำตอบหนึ่งบอกว่าภูฎาน

    ผมได้ยินแล้วอดนึกในใจไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเวียดนามที่หลายท่านใน
    ประเทศไทยกลัวเหลือเกินว่าจะแซงหน้าประเทศไทย เพราะเวียดนามเร่งรัด
    พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างหนักและแข่งขันดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
    โดยอาศัยความแข็งแกร่งจากรากฐานวิชาการวิทยาศาสตร์ธรรมชาติดังจะ
    เห็นได้จากนักเรียนเวียดนามได้เหรียญทองโอลิมปิกวิชาการในระดับแนว
    หน้าของโลก สวนทางกับตัวเลขเศรษฐกิจเวียดนามที่ยังอยู่ระดับปานกลาง
    ไปทางท้าย

    จะกลัวอะไรกับเวียดนามและจีน ในเมื่อทั้งสองประเทศไม่ได้ใช้ปรัชญา
    เศรษฐกิจแบบพอเพียง  นักธุรกิจเมื่อทราบความจริงข้อนี้ควรจะเลิกกลัว
    เลิกกังวลได้แล้ว เพราะในโลกนี้ มีแต่ชาติไทยหรือประเทศไทยที่ใช้
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังจะเห็นได้จากมาตราหนึ่งในรัฐธรรมนูญ
    ๒๕๕0 ที่ระบุว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาหลักในการ
    บริหารเศรษฐกิจประเทศไทย

    รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการบริหารเศรษฐกิจ
    ประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  
    ผลจากการน้อมนำปรัชญาดังกล่าวมาบริหารนโยบายเศรษฐกิจไทยเกือบปีที่ผ่านมา

    คนไทยทุกคนน่าจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจของไทยเป็นเช่นไร และคนในชาติมีความสุขเพียงใด


    สุดท้าย
    ผมหวังว่า พวกสนับสนุนสถาบันคงไม่ต้องถึงกับ   “ปฏิวัติวัฒนธรรม”
    เพื่อผลักดันให้คนไทยและสังคมไทยมีวัฒนธรรมแบบพอเพียง


    จากคุณ : ปริเยศ (Pariyed) - [ 4 ก.ย. 50 06:27:00 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 117

    อ่านความคิดเห็นข้างบนจบ ถอนหายใจเฮือก เลยเรา กลัวกลั้นใจอ่านไม่จบ เดียวไม่เห็นข้อความดี ๆ ตอนสรุป

    จากคุณ : horseshoes - [ 4 ก.ย. 50 07:36:04 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 118

    คุณ ปริเยศ คห 116 ครับ  

    ....................................

    รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการบริหารเศรษฐกิจ
    ประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  
    ผลจากการน้อมนำปรัชญาดังกล่าวมาบริหารนโยบายเศรษฐกิจไทยเกือบปีที่ผ่านมา

    คนไทยทุกคนน่าจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจของไทยเป็นเช่นไร และคนในชาติมีความสุขเพียงใด

    .......................................


    นั่นน่ะสิครับ  หากไม่หลอกตัวเอง  ว่าตอนนี้ประเทศชาติและประชาชน  เป็นอย่างไร   ก็คงพอจะรู้กันแล้ว ว่า ศก.พอเพียง มันควรใช้กันในระดับครัวเรือน หรือถึงขึ้นที่ต้องเอาไปบรรจุเป็นนโยบายของรัฐ    ตกงานกันเป็นระนาวแล้ว  บริษัทใหญ่ๆปิดตัวไปเท่าไรแล้ว   คงได้กลับไปพอเพียงตามบ้านนอกอย่างแท้จริง


    และพวกคนในเมืองที่ชอบให้คนภาคแรงงานกลับไปทำเกษตรนะครับ   อยากบอกว่า  ให้ไปเปิดตาดูมั่งว่า ทำแล้วมันพอกินหรือไม่  มีใครเขาอยากจะเข้ามาลำบากอยู่ในห้องพักแคบๆของโรงงาน  หากเขามีที่ดินทำกิน และทำได้อย่างเพียงพอ  เขาคงไม่มาดิ้นรนหางานในกรุงหรอก  เอะอะอะไร ก็จะให้กลับไปทำเกษตร  ศก.มันต้องขยายไปทุกภาคส่วน ภาคเกษตร ภาคธุรกิจ ภาคแรงงาน   ประเทศและประชาชนมันถึงจะไปรอด


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 4 ก.ย. 50 08:59:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 119


    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 20:31:28

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 09:53:46

    จากคุณ : คลังพลอย - [ 4 ก.ย. 50 09:52:13 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 120

    ตามมาจากระทู้ก่อนหน้าเรื่องเกี่ยวกับเพลงครับ ขอเข้ามาร่วมมีส่วนในกระทู้นี้ด้วยแล้วกัน



    อ่านกระทู้นี้แล้วนึกถึงงานเขียนของอ.นิธิ  เอียวศรีวงศ์เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่เขียนลงในมติชนรายสัปดาห์ ผมว่าสถาบันต้องมีการปรับตัวให้มากกว่านี้ครับ เพระหลายๆ ครั้งการปกปิด และปล่อยให้เหตุการณ์เงียบไปเอง ส่งผลร้ายกว่าการที่จะออกมาอธิบาย หรือชี้แจง



    โลกตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วครับด้วยความเป็น Globalization and Westernization ที่มีขึ้นมากในทุกประเทศทั่วโลก ผมว่าสถาบันไม่มีทางจะต้านทานอยู่ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่นกรณี เว็บไซต์ Youtube.com กับหนังสือ The King Never Smiles ซึ่งแม้จะมีการ Cencor ในประเทศไทย ปิดหู ปิดตาประชาชน แต่สุดท้ายด้วย Technology ก็ทำให้เรายังได้รับข่าวสารตรงนั้นอยู่ดี ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่รู้มา ถูกหรือผิด จริงหรือเท็จ เพราะไม่มีคำอธิบายใดๆ ออกมาจากต้นตอของเหตุการณ์ คงจะดีกว่านี้ ถ้ามีการออกมาอธิบายบว่าสิ่งทีมาจาก youtube หรือ The King Never Smiles นั้นผิดตรงไหน ทำไมถึงทำการ Cencor คงดีกว่าการ Cencor โดยที่ไม่ได้ให้เหตุผลใดๆ



    ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนเกี่ยวกับการตรวจสอบของสถาบัน ในประเทศอังกฤษ Queen Elizabeth และสมาชิกราชวงศ์ทุกคน จะต้องทำการ Declare หรือการแสดงรายการทรัพย์สินที่มีอยู่ในแต่ละปีให้กับสาธารณชนได้ทราบ และถ้าจำไม่ผิด แม้เป็นราชวงศ์ก็ต้องเสียภาษี (Taxation) เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป เพราะว่าถือว่า มีทรัพย์สินและรายรับต่างๆ เกิดขึ้น



    แต่ถามหน่อยเถอะครับว่า ในเมืองไทย เราเคยมีการตรวจสอบตรงนี้หรือเปล่า เราสามารถที่จะทราบข้อมูลตรงนี้ได้หรือไม่ คำตอบคือไม่เลย เพราะเรื่องสถาบันเป็นสิ่งที่มิอาจแตะต้องได้ไปเสียแล้วในสังคมไทย หลายคนอาจบอกว่า ไม่ใช่กงการอะไรของคนทั่วไป ที่จะไปจุ้นจ้านและจาบจ้วงถึงรายรับรายจ่ายของสถาบัน แต่อย่าลืมนะครับว่าในแต่ละปีสถาบันได้รับเงินปีจากรัฐบาล ซึ่งเงินนั้นไม่ได้มาจากเงินภาษีประชาชนตาดำๆ อย่างเราๆ ท่านๆ หรือครับ



    บางคนอาจจะเถียงว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆ มาจากสำนักงานทรัพย์สินฯ (Crown proberty bureau) ซึ่งเป็นเงินส่วนตัวของสถาบัน แต่ที่มาที่ไป ก็เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปอยู่ดี อย่างเช่นกรณีที่ดินที่หมดสัญญาของสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์



    หรือแม้แต่การไปต่างประเทศของสมาชิกราชวงค์ ซึ่งบางพระองค์ไปด้วยธุระเรื่องงาน เป็นตัวแทนประเทศ ซึ่งสมควรจะใช้เงินจากรัฐบาล แต่ในขณะที่บางพระองค์ ไปด้วยธุระส่วนตัว ไปพักผ่อนกับครอบครัว ควรจะต้องใช้เงินส่วนตัว แต่เราก็ไม่สามารถตรวจสอบ หรือรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงนี้ได้เลย



    แต่ก็เข้าใจดีครับว่าสังคมในเมืองไทย อาจจะยังไม่ Mature พอที่จะรับได้กับการวิพากษ์วิจารณ์ในบางเรื่องที่ sensitive มากๆ แต่ยังไงผมก็คิดว่าการวิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้สถาบันดำรงอยู่ต่อไป เป็นสิ่งจำเป็นครับ


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 4 ก.ย. 50 10:55:55 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 123

    โดนลบจนได้....T_T

    ไม่เป็นไรครับ...

    ขอบคุณครับ....


    จากคุณ : วิญญาณฯ - [ 4 ก.ย. 50 11:27:31 A:66.90.118.32 X: TicketID:152869 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 124

    ข้อความของผมนั้น แค่เสียดสี คนที่มากดไฟแดงให้กระทู้แบบไม่ดูตาม้าตาเรือเท่านั้นแหละครับ
    (ซึ่งผมสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นนักจงรักภักดีขี้ตกใจ
    ที่ไม่ได้อ่านอะไรในนี้เกินกว่า 8 ข้อความ)
    แล้วเรียกร้องให้ใครก็ได้มากดไฟเขียว

    พอมีคนมากดไฟเขียวแล้ว ผมก็เลยแก้ไขข้อความออกไป เท่านั้น

    การคงอยู่ของกระทู้นี้ บ่งบอกว่า ทางพันทิปไม่ได้ใจแคบ
    อย่างที่หลายคนเข้าใจ ตรงกันข้าม การมีอยู่ถาวรของกระทู้นี้
    เป็นความ "กล้า" และ "ใจกว้าง" ในระดับสูงของพันทิปพอสมควรแล้ว

    เพียงแต่ว่า การสนทนากัน ต้องไม่ข้ามเส้นของการวิพากษ์วิจารณ์ไปจน
    เป็นการ "หมิ่น" เท่านั้นเอง

    อะไรคือหมิ่น ? ผมว่าเส้นบางๆ อยู่ที่การเปิดโปง กับการปักปรำ
    (ขอยืมคำในหนังสือคุณปราบดา มาหน่อย)

    คือคุณจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ตาม ต้องไม่ให้เป็นข้ามไปเป็นการหลู่
    พระเกียรติ ซึ่งจะว่าไป พระเกียรติ นี้ ก็คือ เกียรติ
    และศักดิศรีความเป็นมนุษย์ ที่ผู้ที่นับถือสิทธิเสรีภาพนับถือกัน
    เท่านั้นเอง

    อยู่ดีๆ เราไม่ควรไปว่ากล่าวปักปรำใครอย่างไร
    เราก็ไม่ควรจะทำอย่างนั้นกับสถาบัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผมเขียนไว้แล้ว
    ในความเห็นต้นๆ

    ความเห็นของคุณฮกหลง เป็นที่น่าเสียดาย แต่ผมทันได้อ่าน

    แต่ผมถามหน่อยเถิดครับ จำเป็นแค่ไหน ที่คุณนำคำที่เป็นชื่อตัวร้าย
    ในนวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ มาใช้แทนคำเรียกถึงคำที่พันทิปตั้งแบนอัตโนมัติ
    สำหรับห้องนี้ ?

    อย่างน้อยคนที่ฟังมันก็รู้สึกไม่ดี แม้คุณจะตั้งใจจะแทน "คนที่ไม่ควรเอ่ยนาม"
    แต่กระนั้น มันมีเจตนาเสียดสีซ่อนปนอยู่นะครับ ผมเชื่อในหลักกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

    ข้อความจะโดนลบก็ไม่แปลก แต่ก็น่าเสียดาย เพราะเป็นข้อความสาระที่ดี
    มากข้อความหนึ่งในกระทู้นี้เลย

    ถ้าอย่างไร โอกาสหน้า คุณต้องปรับปรุงในส่วนนี้ครับ
    ถ้าอยากพูดเรื่องแบบนี้ได้เสรี ในสังคมอื่นๆ นอกจากเวบบางเวบ

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 13:43:31

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 13:42:42

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 13:41:36

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 4 ก.ย. 50 13:41:06 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 125

    เจอปิดห้างค่ะ

    ขอบ่นนิดเถอะ


    จากคุณ : นินจาน้อย - [ 4 ก.ย. 50 13:44:20 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 126

    ส่วนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้น
    ก็เป็นตัวอย่างของเรื่องที่น่าจะดี แต่ก็เละเทะ
    เพราะการบังคมรับมา โดยปราศจากการวิพากษ์ ตรวจสอบ ทดสอบ
    ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเลยนะ ของการประยุกต์แนวคิดให้เป็นวิชาการ
    และเทคนิคปฏิบัติ

    คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ไปตั้งกันจนเป็น "ปรัชญา"
    เพียงเพราะเป็น "แนวคิด" ที่ไม่กล้าแตะต้อง

    ทั้งๆที่ สิ่งที่เรียกว่าปรัชญา เป็นสิ่งที่ต้องคงทนต่อการทดสอบอย่างยิ่ง
    แม้ในโลกนี้ สิ่งที่จะพัฒนาไปสู่ปรัชญา ต้องผ่านการทดสอบ วิพากษ์
    และบ่มเพาะด้วยถังโอ๊คแห่งเวลา เป็นเวลานาน

    วาทกรรม "เศรษฐกิจพอเพียง" สำหรับผม เป็นไม่ได้ แม้แต่ "ทฤษฎี"
    ด้วยซ้ำเพราะทฤษฎี คือสิ่งที่เป็นผลลัพท์มาจากแนวคิด
    ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความมั่นคงและชัดเจนระดับหนึ่ง

    (แต่ก็มีคนเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปทดลองแล้วนะ ดูช่วงท้าย
    ของความเห็นที่ 116 ของคุณปริเยศ และผลการทดลองนั้น
    เราๆท่านๆ คงรับความรู้สึกกันได้)

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 13:53:49

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 4 ก.ย. 50 13:53:07 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 127

    เคยสงสัยหรือไม่ ว่าในหลวงท่านพูดอะไรที่ดีๆ
    มีคุณค่า น่าเก็บไปคิดต่อมากมาย

    แต่ก็เหมือนกับว่า ทุกอย่างที่ในหลวงทรงตรัส ถูกลืมไปได้ง่ายๆ
    หลังจากลงหนังสือพิมพ์ไปแล้วในวันรุ่งขึ้น

    (อย่างน้อยก็เรื่องที่พระองค์ พยายามจะเปิดทางให้มีการแก้กฎหมาย
    หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้สถาบันถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้
    เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ขนาดทรงออกพระโอษฐ "ฝาก"
    แก่รัฐบาลและองคมนตรีแล้ว ยังไม่มีใคร "รับฝาก" ไปสักคน)

    แต่ทำไม"เศรษฐกิจพอเพียง" ถึงเป็นสิ่งเดียว ที่เหล่า "นักจงรักภักดี"
    ขานรับกันเป็นเสียงเดียวกัน

    นั่นก็เพราะ "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นเครื่องมือให้เหล่านายทุนดั้งเดิม
    คือนายทุนที่ถือครองปัจจัยการผลิตมหาศาล ได้แก่เงินสด และที่ดิน
    อันเป็นผลมาจากบรรพบุรุษและระบอบการปกครองเก่า แต่หน้าบาง
    เกินกว่าที่จะจัดการบริหารหากำไรเอง การงอกเงยซึ่งทรัพย์สินของ
    ทุนรุ่นเก่า คือการรับดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือการปันผลในรูปของการ
    สวามิภักดิ์ พินอบพิเทา การให้เกียรติ ให้สิทธิพิเศษต่างๆ

    การทำงานแบบทุนเก่านั้นเน้นการสวามิภักดิ์ และการเชื่อถือในเชื้อสาย
    และสี ดังที่หลายๆคนคงจะรู้ว่า ในหลายๆองค์กรที่เป็นองค์กรทุนเก่า
    มีการคัดคนเข้าทำงานด้วย “นามสกุล” หรือ “สี” (ของมหาวิทยาลัยที่จบ)
    นั่นคือเส้นสายในระบบอุปถัมภ์ ดังที่หลายๆคนคงเคยฟังตลกเจ็บของ
    องค์การปูนใหญ่ ว่า “ปูนดีสีอะไรอะไร – สีชมพู”

    ในขณะที่ทุนนิยมใหม่ หรือทุนนิยมเหิมเกริม จะเติบโตจากการขออุปถัมภ์
    ในแง่ของทุน ปัจจัยการผลิต และสัมปทาน หรืออำนาจรัฐจากฝ่ายศักดินา
    และตอบแทนด้วยรูปแบบที่กล่าวไปก่อนแล้ว

    เช่นนี้ เศรษฐกิจพอเพียงจะสอนให้คน “พอเพียง” ไม่พยายามเปลี่ยนชนชั้น
    ฐานะ หรือเลื่อนฐานะโดยเร็ว เพราะเศรษฐกิจพอเพียงนั้นคนจะต้องบริหาร
    ปัจจัยเท่าที่ตัวเองมีอยู่เท่านั้น การขยับขยายอันเกินตัวเช่นการกู้เงินมาลงทุน
    เป็นเรื่อง “ไม่พอเพียง” แน่นอนว่าระบบเศรษฐกิจที่คนเราต้องจัดการกับ
    ปัจจัยเฉพาะที่ตนมีนี้ ทำให้คนที่ยิ่งมีมาก อำนาจในการจัดการอะไรก็สูง

    นอกจากนั้นคำอธิบายเชิงเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ได้ให้คนกลุ่มนี้ต้อง
    ประหยัด หรือจำกัดจำเขี่ย ด้วย เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเขาบอกว่า ของ
    ฟุ่มเฟือยก็ยังใช้ได้ ถ้ามีปัญญาจ่าย เช่น คนเงินเดือนหมื่น ควรใช้ของราคาพัน
    แต่คนเงินรายได้หลักล้าน สามารถใช้ของราคาแสนได้ ก็ยังถือว่าพอเพียง
    เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถอธิบายได้เนียนๆว่าทำไมท่านนั้น ท่านนี้
    สามารถขับเฟอรารี่คันละหลายล้าน ซื้อแหวนเพชรราคาเท่าบ้านคนชั้นกลาง
    ได้อย่างสวยหรู ดูมีหลักการ แถมไม่ขัดแย้งกันเอง

    เช่นนี้ เศรษฐกิจพอเพียง น่าสมาทานด้วยขนาดไหน ?
    ผมนึกถึงเจ้านายเก่าผมคนหนึ่ง ที่เป็นราชนิกูลและ "คนใน" ท่านหนึ่ง
    เคยบอกผมว่า ท่านซื้อแหวนเพชรนี่ ก็แบบพอเพียงนะ เพราะท่าน ...รวย...
    พอที่จะซื้อแหวนเพชรราคาแพงเช่นนี้ได้แบบไม่กระทบกระเทือน

    ส่วนใครที่มีปัจจัยจำกัด แต่ไอเดียหรือความรู้ไม่จำเขี่ย อาจจะเลื่อนชั้นทาง
    สังคมได้ หรือผ่านการศึกษามา ระบบพอเพียงก็ไปตัดตอนด้วยระบบ
    “จงพอเพียง-อย่าก่อหนี้” ทำให้การเลื่อนชั้นทำได้ช้า

    ตัวอย่างเช่น ป้าแม้น ลุงจาก ขายกล้วยแขก มีสวนกล้วยหนึ่งขนัด มีลูกชาย
    กัดฟันส่งเสียจนจบมหาลัย พอดีเด็กมันรักดีเลยไปจบด้านวิทยาการแปรรูป
    อาหารจากต่างประเทศ จึงเกิดไอเดียว่าไอ้กล้วยที่พ่อแม่และคนในท้องถิ่น
    ปลูกอยู่เนี่ย น่าจะเอามาแปรรูปเป็นขนมของว่างส่งขายได้ แต่ไม่มีทุน ทำ
    อย่างไร ถ้าเป็นยุคก่อน เขาก็อาจจะเอาที่ดินไปจำนองซื้อเครื่องจักรหรือลง
    ทุน หรือถ้าเป็นยุค “ทักษิโณมิก” ก็อาจจะไปกู้กองทุนหมู่บ้าน โครงการโอ
    ทอป หรือธนาคารคนจน อะไรก็ว่าไป

    แต่ยุคพอเพียง การกู้หนี้ไปเสี่ยงทำธุรกิจที่ไม่แน่นอน ขายไอเดียแบบนี้
    เสี่ยงไป “ไม่พอเพียง”

    ทางเลือกเดียวของพ่อหนุ่มพอเพียง คือไปเป็นลูกจ้างในระบบธุรกิจ หรือ
    อุตสาหกรรมให้แก่ทุนนิยมข้างใดข้างหนึ่ง (ไม่ทุนเก่าก็ทุนใหม่) ไว้แก่ๆแล้ว
    ถ้าเก็บเงินเก่งๆ (ด้วยการใช้ชีวิตพอเพียง) ค่อยลงทุนด้วยเงินสด เงินเก็บ นะ
    ลูกนะ

    ยิ่งทุนนิยมศักดินาที่เน้นความพอเพียง ไปเจอไอ้แนวคิดเรื่อง GNH
    เทคโนโลยีของภูฏานเข้า ยิ่งสะแด่วแห้ว สามารถเอาไปแปะต่อกับความคิด
    พอเพียงได้ทันที ว่าพอเพียงแล้วคนไทยจะมีความสุขเหมือนคนภูฎาน (คนถู
    ฎานที่คนไปเรียนต่อเมืองนอกได้ ต้องนามสกุลเหมือนเจ้าผู้ครองนคร
    และประเทศยากจน ที่ต้องมีเที่ยวบินตรงมาเมืองไทยเพื่อให้คนกลุ่มบนๆ
    ทั้งหลายในสังคมมาคลอดบุตรหรือทำฟันน่ะนะ)

    เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นการพรีซระบบสังคมไว้เหมือนสมัยบ้านเมืองดี
    (คือบ้านเมืองดี เหมือนในสมัยราวๆ ปลาย ร.๘ ต้นรัชกาลนี้) ที่ทุนใหม่
    ก็เป็นแค่เจ๊ก มีหน้าที่หาเงินมาจ่ายค่าเช่าและดอกเบี้ย อย่าเหิมเกริมมายุ่ง
    กับเรื่องการบ้านการเมือง คนไม่มีทุน ก็เป็นไพร่ มีหน้าที่ทำงานเป็นตัวจักร
    ให้แก่กิจการของทุนเก่า หรือทุนใหม่ ข้างใดข้างหนึ่ง ระบบชนชั้น และหน้าที่
    ระหว่างชนชั้น ชัดเจน ไม่มีการข้ามห้วย หรือถ้ามี ก็ไม่ง่ายนัก

    ใครมีเท่าไรใช้เท่านั้น ใครมีน้อยในชาตินี้ถือว่าไม่มีบุญญาธิการเอง ควรใช้
    ชีวิตพอเพียงต่อไป อย่าเหิมเกริม

    มันก็เท่านั้นเอง

    ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ด้วยโครงสร้างของสังคมเช่นนี้
    เราคงได้สำลักความพอเพียงกันต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า 5 - 10 ปี

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 14:22:52

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 14:14:14

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 14:11:14

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 4 ก.ย. 50 14:08:02 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 128

    ตามประสาคนธรรมดาๆ  เข้าใจเองง่ายๆ  อาจจะมีผิดก็ขออภัยครับ

    สำหรับผม คำว่าพอเพียง น่าจะเป็นเพียงว่า  ทำอย่างเพียงพอแต่มิใช่ทำแค่
    ให้พออยู่พอกินไปวันๆ

    เป็นการทำไว้เพื่อไม่ให้ตัวเองขาดก่อน  แต่สามารถทำให้มากขึ้นเพิ่มขึ้นได้
    แต่ขอให้อยู่บนรากฐานที่ว่าคนในอยู่ได้อย่างสมบูรณ์พร้อมในด้านปัจจัยที่
    สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตให้มีความสุข  ไม่มากจนเกินพอดี  ไม่น้อยจน
    ขาด  การพอเพียงไม่ใช่การตระหนี่  ความพอเพียงไม่ใช่ทำงานแบบ
    ข้าวสารกรอกหม้อ
    ในระดับครัวเรือน ก็ทำเพื่อให้คนในครอบครัวอยู่ได้อย่างสบายๆ  และที่
    หาได้มากกว่าก็เป็นส่วนที่จะเก็บออม หรือ สร้างเสริมให้กับตนเองก้าวหน้า
    ได้
    แนวทางผมว่าก็น่าจะนำมาปรับใช้ในระดับชาติได้  แต่รายละเอียดปลีกย่อย
    ก็ต้องให้เหมาะสมกับขนาดของเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจระดับครัวเรือน ย่อมมี
    ข้อจำกัด หรือ กลไกที่ไม่ซับซ้อน เท่าระดับชาติ  แต่ใช่ว่าแนวทางเดียวกัน
    จะไม่สามารถปรับใช้กับขนาดของเศรษฐกิจที่แตกต่างได้ นี่คือความเห็น
    ของผมนะครับ ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัย

    ปล.  แม้ว่าเจ้าของเว็บพันทิป หรือ เว็บมาสเตอร์จะจำกัดเรื่องการโพสต์
    ความเห็น  จนในหลายๆครั้ง สมาชิกก็อาจจะมีความรู้สึกว่าถูกปิดกั้น แต่ผม
    เห็นใจทางทีมงานมากกว่านะ  เพราะหากมีการแสดงความเห็นจะเกินเลย  
    แล้วถูกดำเนินกฎหมาย  ผมไม่แน่ใจเลยว่า จะมีนักโพสต์กระทู้สักกี่ท่านที่
    จะต้องรับผิดชอบ... แต่ที่แน่ๆ ผมว่าทางเว็บ ทีมงานคงต้องรับผิดชอบก่อน
    แน่ๆ


    จากคุณ : นาครียะ - [ 4 ก.ย. 50 14:23:45 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 130

    คห ที่ 127 ของคุณบุญชิต น่ะครับ  มันไม่ถูกใจคนที่พยายามอธิบายพอเพียงหรอกครับ  มันจริงเกินไป  


    บางคนจะให้พยายามไปใช้ในระดับชาติ  ยิ่งฟังยิ่งวังเวง   หากรัฐมัวแต่จ้องจะพอเพียง  คนในชาติคงเศร้าใจ  แทนที่จะคิดไปหาตลาดใหม่ๆ ให้พ่อค้า เกษตรกร  ก็กลับบอกให้พอเพียงทำอย่างทุกวันนี้  


    ไม่ต้องตีความไปไกลให้รัฐนำไปใช้เลย  มันไม่ได้เรื่อง เอาแค่ครัวเรือนนั่นล่ะ พอแล้ว  และสรุปง่ายเอาแค่สั้นๆ คือ ไม่จ่ายมากกว่าหาได้  และไม่ก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  จบแค่นี้พอ  

    และสำหรับรัฐนะครับ  คำว่า ไม่จ่ายมากกว่าหาได้  นี่ก็ใช้ไม่ได้ครับ เพราะรัฐจะต้องจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เอาเงินเข้าระบบ  หลักเศรษฐศาสตร์เขามีคนคิดไว้หลายสิบปีแล้ว   ลองรัฐไม่จ่ายเงินสิครับ ประเทศได้เข้าสู่ระบบเงินฝืดแน่

    พอเข้าใจมั้ยครับ ว่า  ทำไมพอเพียง ถึงเหมาะแต่ในระดับครัวเรือน  อย่าไปพยายามตีความหรือพยายามโยงไปนั่นไปนี่เลย


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 4 ก.ย. 50 16:59:10 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 131

    นิดนึงนะครับ

    ผมว่าประเด็นเรื่อง ปรัชญาพอเพียง เนี่ย...แตกประเด็นไปตั้งวงถกกันใหม่อีกกระทู้นึงเลยจะดีกว่ามั๊ยครับ?


    จากคุณ : QuaOs - [ 4 ก.ย. 50 17:01:15 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 132

    คห. ที่ 127 คุณบุญชิต...เวรี่กู๊ด จริงๆ ครับ...กระจ่าง จนตาสว่างเลย...ครับ

    อ่านแล้ว...มัย "จริงมาก"...ใครจะแย้งก็เชิญได้เลยครับ...


    ถึงคุณ คห. 131

    ผมว่าถกในกระทู้นี้แหละ...ดีแล้วครับ อย่าแตกประเด็นไปที่อื่นเลยครับ...เดี๋ยวจะเกิดการวิพากษณ์ วิจาณ์กันเกินเลยไป...

    เวปมาสเตอร์พันทิป...แกคงใจกว้างให้แค่กระทู้นี้กระทู้เดียวแหละครับ...เพราะควบคุมง่าย...

    อย่ากระจัดกระจายเลย....

    เห็นใจ เจ้าของเวป น่ะครับ....



    ปล. จากกระทู้นี้..ผมพูดตรงๆ เลย...นับถือเวปมาสเตอร์มาก...คาราวะ จากใจจริง....


    จากคุณ : วิญญาณฯ - [ 4 ก.ย. 50 18:20:45 A:66.90.118.32 X: TicketID:152869 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 133

    ขอบคุณทุกท่านที่มาขยายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ

    มาเสริมคุณบุญชิตเรื่องทรงขอให้แก้กม.หมิ่นฯ เรื่องนี้พูดยาก เพราะตามกม.จู่ๆคิงจะลุกขึ้นมาแก้ก็ไม่ได้ ต้องให้รัฐบาลหรือประชาชนเป็นตัวตั้ง แต่ใครล่ะที่จะกล้า ถ้าลุกขึ้นมาทำ ก็อาจถูกตราหน้าว่าไม่รักในหลวง คิดล้มล้างสถาบัน ยิ่งถ้าเป็นนักการเมืองแล้วลุกขึ้นมาทำ โอกาสไม่ได้กลับมาเกิดใหม่ทางการเมืองมีสูงมาก แล้วพระองค์ท่านก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสาดโคลนอย่างสาดเสียเทเสียต่อไป การจะแก้กม.เรื่องนี้ต้องทำให้รอมชอมที่สุด ซึ่งด้วยสมองของเรา เรายังมองไม่เห็นทางเลยค่ะ ว่าเรื่องนี้จะทำยังไงให้ออกมาสวยที่สุด

    ส่วนเรื่องการตรวจสอบการใช้เงิน เท่าที่เรารู้นะคะ โครงการต่างๆของทางในวังมีบริษัท auditing ตรวจสอบและดูแลอยู่ แต่เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์อันนี้ไม่ทราบ  อย่างโครงการหนึ่งที่ส่งนร.ไปเรียนเมืองนอก นร.ทุนก็ต้องส่งใบเสร็จค่าเล่าเรียนทุกครั้ง ไม่งั้นไม่ได้เงินค่าใช้จ่ายงวดต่อไป ส่วนค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้ตั้งเอง แต่อิงเกณฑ์ของกพ. เป็นต้น โครงการเหล่านี้มีการตรวจสอบที่ชัดเจนค่ะ

    ก็ขอฝากคลิปวิดีโอหนึ่งไว้ละกัน เตือยสติว่าพระองค์ท่านทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์ที่มีเหตุผล ไม่หยาบคาย ก็ขึ้นอยู่กับเราๆท่านๆแล้วว่าจะสนองฯอย่างไร

    ปล. วันที่ตอนเริ่มคลิปผิดนะคะ ต้องเป็น 4 Dec 2005

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 19:43:21



    จากคุณ : Sa-idian - [ 4 ก.ย. 50 18:55:00 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 134

    สถาบันอาจจะไม่จำเป็นต้องเกิดจากคนที่ดีกำเนิดหรืออะไร
    แต่สถาบันต้องการคนที่จะเข้ามาทำความดี
    คนดี กับ คนทำความดีไม่เหมือนกันนะครับ

    ผมว่าทุกคนเปลี่ยนแปลงได้
    แล้วผมก็มองทุกอย่างจากผลลัพธ์
    ผมสนใจว่าหลังฉากจะเป็นอย่างไร  ผมสนใจ
    แต่ที่สนใจกว่าคือ  หน้าฉากต่างหากว่าดีมั้ย

    ผมเองก็ไม่ใช่คนที่ดีพร้อม ผุดผ่อง
    แต่ผมรุ้ว่าถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวของผม ผมจะทำอะไรก็ได้ถ้าไม่เดือดร้อนใคร
    แต่เมื่อสวมบทบาทในที่สาธารณะ ผมก็ต้องทำตามบทบาทที่พึงกระทำ
    แค่นั้นแหละที่ผมเข้าใจ  มันทำให้ผมมองอะไรง่ายขึ้น
    แล้วก็.........เข้าใจอะไรมากขึ้น

    อย่าว่าแต่ในเว็บบอร์ดเลย
    ในห้องเรียนบางทีก็มีบ่อยๆ
    ที่น่ากังวลคือ นักศึกษาบางคนไม่ได้ฉลาด และคิดเยอะเท่าอายุ

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 22:56:49

    จากคุณ : popodyssey - [ 4 ก.ย. 50 21:09:11 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 135

    พักหลัง เวปพันทิป แปลกๆ ไปนะครับ


    แปลกอย่างที่กำลังดูอยู่นี่แหละค่ะ


    จากคุณ : tiki_ทิกิ - [ 4 ก.ย. 50 21:13:13 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 136

    เห็นกระทู้เพลง http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5759283/K5759283.html ติดไฟแดงจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะมาตอบกระทู้นี้

    ถ้าว่าถึงการแสดงความคิดเห็น...

    ไม่ว่าจะ "ซ้ายไร้เดียงสา" หรือ "ขวาตกขอบ" ต่างล้วนไม่น่ารักและน่าเบื่อพอๆ กัน "ซ้ายไร้เดียงสา หลงใหลในเรื่องราวแบบ conspiracy ทุกอย่างล้วนเป็นสีดำ ส่วน ขวาตกขอบ ก็นิยมแต่เรื่องราวแบบเทพนิยาย การพะเน้าพะนอจนถึงสอพลอเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่เห็นว่าเกินเลย

    จริงๆ แล้วความคิดเห็นทั้งสองแบบ ถ้าว่าเป็นภัย ก็เป็นภัยพอๆ กัน เพราะต่างไม่ยอมรับและรับไม่ได้กับความเห็นต่างทั้งคู่

    คำว่า "รับไม่ได้" ในที่นี้หมายถึงว่า ไม่อาจรับคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อตนได้ พร้อมจะตอบกลับอย่างรุนแรงโดยปราศจากการใช้เหตุผลในการโต้แย้ง  

    ...ถึงขั้นแช่งชักให้บรรลัยไปต่อหน้าก็มี

    เทียบกระทู้หลายๆ กระทู้ในเว็บ "ปั๊ปปะดะโป๊" กับกระทู้ "งดงามมากค่า" หลายๆ กระทู้ในห้องสมุดดูก็แล้วกัน


    จากคุณ : AntiSpam (อันตราคนี) - [ 4 ก.ย. 50 21:54:51 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 137

    แต่จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ จริงหรือไม่ ที่สังคมนี้ยอมรับฝ่ายขวาตกขอบมากกว่าฝ่ายซ้ายไร้เดียงสา
    ????????

    เนื่องจากมันเสริมคติที่ว่าโลกยังคงสงบสุข ไม่ต้องไถ่ถามว่า สิ่งที่พรรณามานั้นสมจริงและสมเหตุสมผลหรือไม่ เราไม่เคยเห็นไฟแดงติดที่กระทู้เยินยอสรรเสริญอย่างหาแก่นสารไม่ได้ เผลอๆ ก็งงๆ ด้วยว่า ไหงมาโผล่อยู่ห้องประวัติศาสตร์ได้หว่า (อยากกดลบใจจะขาดว่าตั้งกระทู้ผิดกลุ่ม แต่กัวโดนด่าหงะ ขี้แง)

    ไม่ได้บอกว่า กระทู้เหล่านั้นสมควรติดไฟแดง แต่ยกตัวอย่างมาเพื่อให้เห็นว่า โดยความสุดโต่งของสองข้าง ฝ่ายขวาซึ่งไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อการรับรู้ต่อผู้คน เป็นสิ่งที่รับได้

    ประวัติศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าไม่มีสิ่งใดคงที่อยู่เสมอในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสิ่งนั้นสั่งให้ตัวเองลอยตัวอยู่เหนือสิ่งอื่น ไม่นำพาความคิดและความรู้สึกต่อสิ่งที่อยู่เบื้องล่าง มาตรการและขอบเขตใดๆ ในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งสมมติขึ้นทั้งสิ้น และเปลี่ยนแปลงเสมอตามความคิดที่เปลี่ยนไปของผู้คน

    คิดหวังว่า กระทู้นี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้การพูดคุยในพันทิปเปิดรับความหลากหลายของความคิดเห็น การกดลบ คคห. ของใครนั้นไม่ยากเลย หากคุณอาศัยเพียงแค่ความพอใจหรือไม่พอใจ หรือยึดเพียงแต่ว่า "มีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ" โดยไม่พิจารณาประโยชน์และแก่นสารของเนื้อหาในกระทู้


    จากคุณ : AntiSpam (อันตราคนี) - [ 4 ก.ย. 50 21:56:27 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 138

    ลืมตอบคุณบันลือ ที่พูดไปใน คคห.ที่ 106 นั้น เพราะเชื่อว่า คุณ santiworld ใช้วิธีกลับข้าง เปลี่ยนซ้ายเป็นขวาในการสื่อความ เพราะหลายประโยคหลายคำนั้นออกแนวส่อเสียดมากกว่าจากใจจริง

    ดิฉันรู้สึกอย่างนั้น หากมิใช่ก็ขออภัย


    จากคุณ : AntiSpam (อันตราคนี) - [ 4 ก.ย. 50 21:58:57 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 139

    ตาผมสูบบุหรี่มาตั้งแต่อายุ 16
    ลูกหลานแกขอให้เลิก
    แกก็ไม่ยอมเลิก บอกว่าเรื่องส่วนตัวแก แกทำมาอย่างนี้ตั้งนานแล้ว
    จนกระทั่งต้องเข้าโรงบาล
    และหมอบอกให้เลิก...สุดท้ายเลยต้องยอมเลิก
    ก็เห็นแกอยู่ได้...แค่ตั้งปรับตัวหน่อยนึง เวลาอยากบุหรี่ก็หาน้ำเปล่าหรือชามาจิบ
    อุปทานไปเองแท้ๆ ว่าเลิกแล้วจะมีปัญหา
    ป.ล. แกใส่ฟันปลอมนานมาก จนแกรู้สึกเหมือนเป็นฟันแท้ๆของแกแล้วครับ

    แก้ไขเมื่อ 04 ก.ย. 50 22:20:15

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 4 ก.ย. 50 22:18:50 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 140

    How could those who [so-called] "violate" the King and get punished are not in trouble??? How could "the One" who is being protected with this kind of primitive but effective law and hegemony is in trouble??? What kind of logic is that???

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 4 ก.ย. 50 22:19:14 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 141

    เห็นด้วยว่าควรพูด เห็นด้วยว่าควรถูกวิจารณ์ เพราะการวิจารณ์คือการตรวจสอบอย่างนึง แต่ต้่องตั้งอยู่บนใจที่ปราศจากอคติและข้อมูลที่เพียงพอ

    แต่ไม่เห็นด้วยถ้าจะพูดที่นี่ พันทิปเค้าออกตัวไว้แล้วขนาดนั้น
    ถ้าจะพูดไปพูดที่อื่นที่เค้ายินดีให้พูด จะดูเป็นวิญญูชนกว่า


    จากคุณ : เซียงหยาง (xiangyang) - [ 5 ก.ย. 50 00:46:53 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 142

    เห็นด้วยกับคุณ Antispam ในเรื่อง login ที่ชื่อ "santiworld"

    ลักษณะการเขียน คือแนวเชลียร์ที่แอบใส่ยาพิษ เหมือนกับ login
    "ออกจากกะลา"

    และเป็นวิธีที่ชาว "พลับพลากันเด้า" นิยมใช้

    และเห็นด้วยเรื่อง ซ้ายไร้เดียงสา กับขวาตกขอบ ว่าไม่น่ารัก

    นอกจากไม่น่ารัก แล้วยังทำให้บรรดาซ้ายๆ ขวาๆ ระดับฮาร์ดคอร์
    ขายขี้หน้าอีกต่างหาก

    ตัวอย่างฝ่ายขวา คือ คุณที่เคยตั้งกระทู้โพสต์รูปคราวนู้น
    ตัวอย่างฝ่ายซ้าย คือน้องที่เคยตั้งกระทุ้เรื่อง "ประเทศไทยมีกฎหมายที่
    ประชาชนร่างหรือไม่" เมื่อไม่นานนี้ (กระทู้ไม่ดัง)

    พวกนี้ทำขายขี้หน้าจริงๆ กลุ้มจายยย

    คุณปลาตีน ลึกซึ้งมากขอรับ คิดออกแล้วยิ้มได้เลย
    ขออนุญาตชมแค่นี้นะขอรับ เดี๋ยวจะสปอยล์ผู้อื่น


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 5 ก.ย. 50 01:45:22 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 143

    K. ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร

    I agree that the quote seems illogical, but you must also be aware that it is taken quite out of context. He went on many issues in a rather stream-of-consciousness way, so it's possible that he didn't organise the speech before hand. This is my assumption. Let's view him as a man, advanced in his age, trying to get his message across. He is not an academic who needs to be precise with every word. But I also believe that this kind of unpreciseness does cause trouble and raises criticism among those who wants to manipulate his speech to serve their own end.

    I think that those allegedly violate the king are definitely in trouble, but soon they will be released. It's the king who has to face the accusations, both pronounced and unpronounced, all through his life. The situation is far worse in the international setting such as the youtube case.

    The king will soon be 80 and it seems that people will constantly require this sort of 'preciseness' from him all the time. It's like a grandfather who is asked to do a job he is not as good as he was before, and he could not afford to do wrong in anything because everyone will take the outcome of his actions very literally and seriously. He could not afford to be human.

    It's probably royalism and extreme rightism that rob him of his humanity. I want to say more but it seems that I reach the limit now, as I will need to go on with my speculation on the king's side.


    จากคุณ : Sa-idian - [ 5 ก.ย. 50 03:00:47 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 144

    เข้ามาอ่าน เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย กับหลายๆ ความเห็น
    เรารักในหลวง8

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 04:13:20

    จากคุณ : ศรีธนา - [ 5 ก.ย. 50 04:12:52 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 145

    ขอบคุณคุณอันตราคนีครับ

    จากคุณ : บันลือ - [ 5 ก.ย. 50 07:26:18 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 146

    ถ้าวิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล มีที่มา ที่ไป มีวิธีแก้ปัญหา ผมว่านี่คือการแสดงออกตามสิทธิ เสรีภาพที่ถูกต้อง

    แต่ถ้าใช้ถ้อยคำ ด่าทอ หยาบคาย ไร้เหตุผล เต็มไปด้วยอคติล้วนๆ แล้วอ้างว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพของตนเองล่ะก็ ไม่เห็นด้วยครับ


    จากคุณ : สะพายกล้องท่องโลก - [ 5 ก.ย. 50 12:36:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 147

    ถ้าจะมีห้องไหนใน pantip ที่ เอียงขวา และจาีรีตนิยม กันมากๆ
    ก็น่าจะเป็น "ห้องสมุด" นี่แหละ

    ...ธรรมชาติของ นักประวัติศาสตร์ นักวรรณคดี ก็อย่างนี้แหละครับ
    conservative และคิดว่า "สิ่งที่มีมายาวนานตั้งแต่อดีต ย่อมเป็นสิ่งดี"


    ...โลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีอะไรต่อต้านการเปลี่ยนแปลงได้
    แม้แต่สิ่งที่คนบางคนคิดว่า "อยู่ยงคงกระพัน" "ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้"
    หรือเป็นสิ่งที่ "อยู่นอกเหนือชะตามนุษย์ (เพราะเป็นสมมติเทพ)"
    ก็ล้วนหนีการเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้

    ...มีขึ้นก็ต้องมีลง
    ...ถ้าไม่ดีจริง ในที่สุดความจริงก็จะปรากฎ
    ...ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน


    จากคุณ : หมากเด็ด - [ 5 ก.ย. 50 14:06:17 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 148

    ข้อเสียของเศรษฐกิจพอเพียง

    สำหรับผมที่ชัดที่สุดก็คือมันช้าครับ มันไม่หวือหวา ไม่ทันใจ เป็นเส้นตรง
    ไปเรื่อยๆ  ไม่ถูกใจวัยรุ่นใจร้อนครับ ไม่เหมาะสำหรับพวกที่ต้องการให้
    อะไรก็ตามเห็นผลในปีสองปี และแน่นอนมันแก้ปัญหาไฟลนก้นไม่ได้

    ส่วนเรื่องวิพากษ์วิจารณ์ จะเอาแบบราชวงศ์อังกฤษไหมละครับ
    พาดหัวไทยรัฐวันนี้ "เจ้าชาย ก.เปิดคู่ควงคนใหม่"
    "แฉภาพหลุด เจ้าหญิง ข." เอาแบบนั้นไหมละครับ

    อย่างนั้นยังเหลือความน่าเคารพอยู่อีกหรือเปล่าครับ
    ผมว่ามันเหมือนดารามากกว่าราชวงศ์นะ

    ผมคิดว่าสังคมไทยจัดระดับ การวิพากษย์วิจารณ์ราชวงศ์อยู่ในระดับดีแล้ว
    คือพูดกันเฉพาะคนสนิทมิตรสหาย ประมาณว่าได้ยินมาว่า แน่นอนถ้ามัน
    เป็นข่าวไม่จริง มันก็จะหายไปเอง แต่ถ้ามันเป็นข่าวจริงเสียงวิพากษ์วิจารณ์
    ก็ยังอยู่เสมอ แล้วในที่สุดก็จะไปถึงพระเนตรพระกรรณเองแหละ

    ไม่ต้องมาใส่โทรโข่ง ขึ้นเวทีไฮปาร์กปาวๆหรอกครับ
    ---------------------------------------------

    ่คนเรามักลืมไปว่าอภิสิทธ์มันมาพร้อมหน้าที่ แต่มักเอาแต่ดูอภิสิทธ
    และถามว่า์ทำไมเขาถึงได้อภิสิทธ์นั้นโดยมักไม่เคยถามว่าทำไมเขา
    ถึงต้องทำหน้าที่นั้น


    จากคุณ : Pongkm (Pongkm) - [ 5 ก.ย. 50 16:41:13 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 149

    ข้อเสียของเศรษฐกิจพอเพียง...

    คือคนไม่รูจักคิดแปลความหมายและวิธีการผิดๆ........



    เราคนหนึ่ง ที่บัดนี้รู้แล้วถึงคำว่าพอเพียง......
    รู้ถึงความเย็นกับร้อน
    รู้ถึงความสับสนวุ่นวายและความสงบ


    และความสุขที่ได้จาก คำสอนที่ว่า  พอเพียง


    ด้วยรักเคารพเทิดทูนเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม

    ............ไม่ได้ตามกระแส แต่เผชิญมากับชีวิตตัวเอง...............


    จากคุณ : โอ้ย...แจ่ม - [ 5 ก.ย. 50 16:52:12 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 152

    คนที่ชอบวิจารณ์ วิจารณ์ได้ทุกเรื่อง และมักจะมอง ถึงส่วนด้อย และข้อเสียของผู้อื่นก่อนเสมอ นั่นอาจจะเกิดจากอคติในใจ ถ้าใจคุณไม่เป็นกลาง ความคิดคุณก็ย่อมเอนเอียงไปในแง่ลบ

    ทุกสิ่งทุกอย่างมันมี จุดเด่นและจุดด้อยในตัวของมันเอง เช่นเดียวกับ ทฤษฎี ไม่มีทฤษฎีใดที่สมบูรณ์แบบ หากแต่อยู่ที่คนนำไปประยุกต์ใช้ แล้วเกิดประโยชน์กับคนผู้นั้นมากน้อยเพียงใด

    ดังนั้นผิดหรือถูก ดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับตัวทฤษฎี อยู่ที่คนนำไปใช้ ว่าใช้อย่างถูกวิธี หรือไม่ รู้จักประยุกต์ให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม สังคม และกาลเวลา หรือเปล่า

    ฝากพิจารณา ด้วยนะครับ


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 5 ก.ย. 50 20:21:13 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 154

    ครับ #132

    ถ้าเป็นแบบนั้น ถกกันในนี้ไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน

    มีหลายประเด็นที่ต้องค่อยๆ แยกแยะออกมา

    อย่างแรกเลย เราอาจจะมองได้ไหมว่า ถึงแม้ถอดความเป็นสมมติเทพหรือเจ้าชีวิตออกไปแล้ว (หากคนส่วนหนึ่งจะไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาในเรื่องเหล่านี้) สถาบันก็ยังมีคุณค่าในตนอยู่ในฐานะเป็นองคาพยพหนึ่ง ที่สังคมของเรามีพันธสัญญาร่วมกัน ที่จะจัดสรรพลังอำนาจและทรัพยากรบางส่วนรักษาไว้เพื่อให้ทำหน้าที่เฉพาะ

    คำถามคั่นฉาก: ท่านทั้งหลายคิดว่า...การตั้งศาลไหว้บรรพบุรุษภายในบ้าน เป็นซากเดนความงมงายที่น่าจะรื้อถอนทิ้งไปได้แล้วในยุคโลกาภิวัฒน์...หรือไม่?

    ต่อไป ความเป็นแบบแผนพิธีการของอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับสถาบัน เราอาจมองได้หรือไม่ว่า ก็เป็นเหมือนบริษัทองค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องดำรงรักษาภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพของตนเองไว้ ด้วยกฏระเบียบ แบบธรรมเนียมต่างๆ จนดูน่าอึดอัดแทน
    ...แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้าเราเกิดไปเห็นผู้บริหารของบริษัทเดินออกจากตึกหลังเลิกงานแล้วถอดเนกไทไปสังสรรค์เฮฮาอยู่กับกลุ่มเพื่อนสนิท หรือพนักงานต้อนรับที่เห็นใส่ชุดฟอร์มเต็มยศฉีกยิ้มอยู่หลังเคาเตอร์เมื่อตอนกลางวัน เปลี่ยนชุดเป็นสายเดี่ยวไปเดินเที่ยวถนนข้าวสารแล้ว แปลว่าองค์กรนั้นล้วนแต่สร้างภาพ หน้าไหว้หลังหลอกทั้งเพ ไม่ควรค่าแก่การเชื่อถืออีกต่อไปแล้ว และกฎระเบียบ วัฒนธรรมที่ดูสวยหรูงดงามขององค์กรแห่งนั้นก็ไม่เหลือค่าอะไรแล้ว ...ใช่หรือไม่??

    ยังมีอีกหลายประเด็น เดี๋ยวจะมาต่อ


    จากคุณ : QuaOs - [ 5 ก.ย. 50 20:51:15 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 155

    ด้วยความเคารพ คคห.ที่ 148

    ===============
    "ส่วนเรื่องวิพากษ์วิจารณ์ จะเอาแบบราชวงศ์อังกฤษไหมละครับ
    พาดหัวไทยรัฐวันนี้ "เจ้าชาย ก.เปิดคู่ควงคนใหม่"
    "แฉภาพหลุด เจ้าหญิง ข." เอาแบบนั้นไหมละครับ"
    ===============


    ไม่เข้าใจว่าทำไมเวลาพูดเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันทีไร ต้องไปยกตัวอย่างเรื่องราชวงศ์อังกฤษ แล้วประเทศอื่นที่เขามีเจ้า และมีอิสระในการวิพากษ์วิจารณ์เจ้า อย่าง สวีเดน สเปน นอร์เวย์ ฯลฯ นี่ไม่คิดถึงกันบ้างหรือ

    แล้วเอาเข้าจริงๆ สำหรับอังกฤษ บุคคลที่ถูกนินทายับที่สุดในราชวงศ์ก็คือ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว เรื่องการใช้จ่าย และอื่นๆ แต่เ้จ้าหญิงแห่งเวลส์ก็ยังเป็นที่รักอันดับต้นๆ (จะสูงหรือต่ำกว่าควีนก็ไม่แน่ใจ) สำหรับคนอังกฤษ

    มนุษย์เราวัดกันที่ตรงไหน ?????

    Criticize, comment กับ gossip แต่ละอย่างก็มีอากัปกริยาต่างกันไป จะไปบอกว่า วิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมดก็ไม่ได้หรอกมั้ง

    ตัวอย่างที่คุณยกมากับคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ นั้นไม่น่าจะใช่ การวิพากษ์วิจารณ์ นินทา ยุ่งเรื่องชาวบ้าน เม้าแตก ฯลฯ แม้จะเป็นการพูดถึงบุคคลที่สามเหมือนๆ กัน แต่โดยเนื้อหาและสาระนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

    การวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นประโยชน์ คงไม่สนใจว่าสุนัขตัวนั้นตัวจริงหรือตัวปลอม (รวมถึงเรื่องอื่นๆ ในระนาบเดียวกัน) แต่น่าจะสนใจที่หน้าที่ บทบาท และความรับผิดชอบ ของคนคนนั้น


    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 21:47:42

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 21:09:16

    จากคุณ : AntiSpam (อันตราคนี) - [ 5 ก.ย. 50 21:05:40 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 156

    ของสีดำจะเห็นก็เมื่อสังเกตบนพื้นขาว
    ถ้าฉากสีดำเราคงมองไม่เห็นของชิ้นนั้นใช่ไหม
    หรือบางที ที่เราเห้นของสีเทาๆขาวมาก
    อาจจะเป็นเพราะพึ้นหลังมันดำไป
    และเราก็ชินกับสีดำแล้ว
    (ทำไมผมมองโลกขาวกับดำอย่างนี้ล่ะเนี่ย)
    ป.ล. เห็นด้วยกับข้างบนนะครับ เรื่องส่วนตัวก็ตัวใครตัวมัน ควรจะรู้เรื่องpublic กับ pubic sphere อย่าเอามาปนกัน เดี๋ยวมันจะเละ ข่าวลือก็ลือไป จะเชื่อก็เชื่อไป อย่าบังคับคนอื่นให้เชื่อตามแบบไร้เหตุผล เพราะขนาดหมอสอนศาสนายังต้องหาเหตุผลที่ฟังขึ้นมาเผยแผ่พระศาสนา ไม่ใช่บอกว่านี่คือคำที่ถูกต้องที่สุด แล้วเอาปืนมาบังคับให้รับศีล

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 23:19:01

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 22:45:13

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 22:42:14

    จากคุณ : POUM (นายปลาตีน) - [ 5 ก.ย. 50 22:36:52 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 158

    มาตอบคำถามคั่นฉากของคุณ QuaOs

    บ้านคนจีนรุ่น 4 หลายบ้านก็ไม่มีตี่จูเอี๋ยแล้วครับ
    พอกับที่บ้านคนไทยส่วนใหญ่ ก็ไม่ตั้งศาลพระภูมิกันแล้วครับ
    ยิ่งคนที่เชื่อในพุทธศาสนามากๆ เขาต่อต้านเลยก็มี

    แต่กระนั้น อยู่ดีๆ ถ้าบ้านหนึ่งมีศาลดังว่านี้อยู่แล้ว
    การจะรื้อถอนทิ้งก็ออกจะเป็นการทำร้ายจิตใจ
    คนรุ่นม่ารุ่นกง เกินไป

    ถ้ามีคนรุ่นสามสี่ จะมารื้อเอาไปทิ้งโดยไม่ถาม
    ผมก็เห็นว่าไม่เหมาะสม

    แต่คนรุ่นกง รุ่นม่า จากไปหมดแล้ว เหลือแต่คนรุ่น 3-4
    แล้วเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่า เราไม่ต้องตั้งศาลแล้วดีกว่า

    ก็คงต้องสุดแต่เขา กงจะสั่งเสียเป็นพินัยกรรมไว้หรือ
    ว่า พวกลื้อต้องตั้งศาล และบวงสรวงกันต่อไปน่อ
    จะยากจะจนยังไง ลื้อก็ต้องบวงสรวงต่อไป

    คิดว่าคงบังคับได้ยาก

    หรือถ้าเมื่อไรที่กง จัดของเซ่นไหว้มากมายเกินจำเป็น
    แล้วมาเก็บเงินเอากับตี๋ หมวย รุ่นใหม่

    ถ้าตี๋หมวยเริ่มไม่อยากจะให้เงิน ถามว่า กงจะเซ่นอะไรเยอะแยะ
    เป็ดตัว ไก่ตัว ขนมข้าวต้มอีกหน่อย พอแล้วมิได้หรือ

    ตี๋ หมวย มีสิทธิถามอากงไหมครับ ?

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 22:56:07

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 22:54:01

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 5 ก.ย. 50 22:53:28 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 159

    ผมว่าเรื่องนี้อ่อนไหวมากครับ เพราะคนส่วนใหญ่เป็นแบบที่คุณ AntiSpam พูดถึงว่าคือมีแต่พวกซ้ายไร้เดียงสา กับขวาตกขอบ ที่ผมเจอนี่ส่วนใหญ่จะเป็นพวกขวาตกขอบ


    ตัวอย่างที่ผมเจอคือ มีฝรั่งมาถามเกี่ยวกับในหลวงว่า ทำไมคนไทย ถึงมองในหลวงเป็นพระเจ้า (Living God) ทำไมไม่มองในฐานะคนธรรมดา (Man) ผมก็ตอบเค้าว่า ไม่หรอกในหลวงเป็นคนธรรมดามากๆ (Simple Man) ไม่ใช่สมมติเทพ ปรากฎว่ามีคนไทยในแถวนั้นได้ยิน เค้าสวนกลับมาเลยบอกว่า ในหลวงไม่ใช่คนธรรมดานะ ท่านเป็นผู้มีบุญ แล้วหันมาบอกผมบอกว่า ไม่ต้องไปอธิบายให้พวกฝรั่งฟังหรอก พวกนี้ไม่ได้เกิดเมืองไทย ไม่เข้าใจ ไม่ซาบซึ้งเกี่ยวกับในหลวงหรอก ผมฟังแล้วก็อึ้งๆ ฝรั่งก็ทำหน้างงๆ เข้าไปใหญ่ สุดท้ายผมก็เลยไม่รู้จะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจยังไง


    สุดท้ายเค้าก็เลยถามผมมากลับมาว่า ถ้าจะพูดถึงในหลวง จะต้องพูดในด้านดี พูดในทางสรรเสริญเยินยอ อย่างเดียวเท่านั้นใช่เปล่า ถ้าจะพูดในด้านวิจารณ์โดยเหตุผล (Criticize) เป้นเรื่องต้องห้ามใช่หรือเปล่า ถ้าอย่างนั้นอย่างนั้นประเทศไทยก็ไม่เป็นประชาธิปไตยหน่ะสิ อย่างนี้ต้องบอกว่าเป็นเผด็จการ เพราะถ้าคนเราต้องคิดเหมือนกัน ทำไมเหมือนกันหมด ห้ามคิดแตกแยก อันนี้ก็เข้าข่ายเผด็จการแน่นอน


    เจอฝรั่งถามกลับมาแบบนี้ ผมก็ตอบไม่ถูกเหมือนกัน สุดท้ายก็เลยต้องบอกเค้าไปว่า ในประเทศไทยมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Lese Majeste) ซึ่งอาจจะยากต่อการอธิบายได้


    แค่จะพูดว่าในหลวงเป็นคนธรรมดายังพูดไม่ได้เลย แล้วนับประสาอะไรจะไปวิพากษ์ วิจารณ์กันด้วยเหตุผล ผมว่าสังคมของเราคงยังไม่พร้อมพอหรอกครับ ในการคุยกันด้วยเหตุและผลหรอกครับ


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 5 ก.ย. 50 22:55:11 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 160

    เคยฝึกงานอยู่ที่นึงครับ หัวหน้าแกก็หนุ่มโสดนี่แหละ สามสิบกลางๆ แกชอบเที่ยวครับ ลูกน้องเจอแก แกก็คุยด้วย ไม่ได้มาบอกว่า "เฮ้ย อย่าบอกใครว่าตูมาเที่ยวนะ มันเสียภาพลักษณ์" ทั้งๆที่ความรับผิดชอบแกก็สูง
    ลูกน้องก็คุยเรื่องพวกนี้กับแกได้ ไม่ต้องเห็นมิดเมี้ยนเลย
    อย่างน้อยเราก็ยังไม่เห็นแกมีประวัติเสีย หรือเงื่อนงำในการทำงาน


    จากคุณ : POUM (นายปลาตีน) - [ 5 ก.ย. 50 23:14:46 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 161

    ผมว่า ฐานะที่เป็นศูนย์รวม จิตใจ ไม่ใช่พระเจ้า อาจจะเป็นเพราะฝรั่งหรือชาวต่างชาติ อาจจะไม่เข้าใจ ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ มารยาททางการปฏิบัติ ต่อในหลวง รวมทั้งพระราชวงศ์ ไม่เคย เห็นการกราบ การถวายบังโคม การเฝ้ารับเสด็จ รวมทั้งคำราชาศัพท์

    ผมเคยคุยกับเพื่อนชาว ญี่ปุ่น เค้าบอกว่า ทึ่งมาก ที่เห็นคนไทยเคารพ และเทิดทูนในหลวง เค้ามีโอกาส ได้เห็นภาพที่คนไทย ใส่เสื้อเหลืองเฝ้ารับเสด็จฯ อย่างหนาแน่น ในพระราชพิธีที่ผ่านมา แต่เค้ากลับรู้สึกเฉยๆ กับสมเด็จพระจักรพรรดิของเค้า อาจจะเป็นเพราะ พระราชวงศ์ญี่ปุ่นถูกกีดกัน ในด้านต่างๆ ทำไห้ไม่ใกล้ชิดกันประชาชนเท่าทีควร
    เค้ากลับอิจฉาคนไทย ที่มีพระหากษัตริย์ ที่ทรงงานเพื่อนประชาชนมาตลอด


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 5 ก.ย. 50 23:17:26 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 162

    ก่อนที่มา "นิยาม" ว่า ใครเป็นซ้ายไร้เดียงสา หรือขวาตกขอบ เราสร้าง "พื้นที่" ทางการเมืองให้กับ "ทุกคน" ก่อนดีไหมครับ???

    ปล. ประเด็นคุณ Sa-idian นั้นผมตอบแลกเปลี่ยนไปแล้ว ในคห. ที่ 157 ที่โบ๋ ๆ ไป ไว้ผมจะลองพยายามมาเขียนอีกทีละกัน...

    แก้ไขเมื่อ 05 ก.ย. 50 23:50:03

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 5 ก.ย. 50 23:22:28 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 163

    เรียนคุณ QuaOs ครับ
    ผมว่าที่คุณยกตัวอย่างเรื่องผู้บริหาร ผมว่าเข้าข่าย comparing apple and orange นะครับ
    บรรทัดฐานของสังคม, ความคาดหวังต่อศูนย์รวมจิตใจของประเทศ กับความคาดหวังต่อผู้บริหารองค์กรหนึ่ง ย่อมต่างกันอยู่แล้ว
    (อันนี้ผมไม่ได้เจาะจงในหลวงเรานะ พูดโดยรวมๆเลย)

    ex. เด็กอนุบาลข่วนเพื่อนร่วมห้องในโรงเรียน กับ หนุ่มใหญ่ต่อยเพื่อนร่วมงานในที่ประชุม อันไหนที่สังคมยอมรับได้มากกว่ากัน?

    ผมว่า น่าจะ apple ประเทศนี้ vs apple ต่างประเทศ หรือ ส้มประเทศนี้ vs ส้มต่างประเทศนะครับ

    ด้วยความเคารพครับ


    จากคุณ : เซียงหยาง (xiangyang) - [ 6 ก.ย. 50 00:28:12 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 164

    เวลามีฝรั่งมาชวนคุยเรื่องศาสนาพุทธทีไรก็ต้องย้ำกับเขาว่า พระพุทธองค์ท่านเป็นคนธรรมาดานี่แหล่ะ แต่งงานมีลูกมีเมีย แล้วจึงออกบวช พอบวชก็พบสัจธรรม และได้นำมาบอกเล่ให้คนทั่วไปให้ศึกษา ก็คนธรรมาดาเหมือนเรา ๆ ท่าน ๆ  หรือไม่ใช่ค่ะ

    จากคุณ : horseshoes - [ 6 ก.ย. 50 04:45:53 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 165

    มาตรฐานและจริยธรรมของผู้นำประเทศย่อมเหนือกว่าผู้นำองค์กรหรือบุคคลปกติ .....
    ดังนั้นจึงไม่ควรยกตัวอย่างหัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าองค์กรมาเปรียบเทียบ
    กับระดับผู้นำประเทศหรือระดับประมุขประเทศ

    เพราะผู้นำประเทศหรือประมุขประเทศ ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง
    ย่อมเกี่ยวพันกับการใช้ทรัพยากรของรัฐและอำนาจรัฐในการกำหนดนโยบาย
    ซึ่งกระทบเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของบุคคลทั้งหมด
    ในประเทศตามระดับความเข้มข้นของกฎหมายและอำนาจรัฐในประเทศนั้นๆ

    ทรัพยากรประเทศไทย เงินภาษีของประเทศไทย  แผ่นดินไทย  
    อำนาจอธิปไตยของคนไทย ไม่ใช่สมบัติของคนใดคนหนึ่ง
    หรือวงศ์สกุลใดสกุลหนึ่ง ที่จะมายึดครอง ครอบครอง
    และใช้อำนาจหรือทรัพยากรอันนั้นโดยไม่ฟังเสียง
    หรือความต้องการที่แท้จริงของพลเมืองไทย

    ในมาตรฐานที่ควรจะเป็นของประเทศระบอบประชาธิปไตย
    การตรวจสอบบุคคลระดับผู้นำประเทศทั้งในเชิงผลประโยชน์ส่วนตัว
    กับทรัพยากรรัฐ  ผลกระทบของนโยบาย  จริยธรรม
    และด้านอื่นๆเป็นไปอย่างสูงยิ่ง

    ดังนั้น สิทธิเสรีภาพในการพูด คิด หรือแสดงความคิดเห็นในสาธารณะ
    โดยเฉพาะการวิจารณ์บุคคลระดับผู้นำประเทศจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
    อย่างยิ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
    แต่สิทธิ เสรีภาพดังกล่าว เป็นของแสลงของเผด็จการทุกยุคทุกสมัย

    เผด็จการทั้งหมดมักประสงค์อำนาจที่ยิ่งใหญ่ ผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่
    แต่ไม่ประสงค์จะขอความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง
    หรือความเข้มเข้นในการตรวจสอบใดๆ
    และการวิจารณ์ใดๆ  

    สุดท้าย
    ในแง่นี้ ผมเชื่อเหมือนพลเอกเปรม ดังที่ท่านเคยปาฐกถาว่า  
    “ชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใครก็ตาม แม้เพียงแต่คิดจะยึดถือเป็นของตนเอง
    หรือของพรรคพวกของตนเอง เพื่อประโยชน์อันไม่ชอบธรรมต่อตนเอง
    หรือต่อพรรคพวกของตนเองจะพบกับความหายนะในที่สุด”


    จากคุณ : ปริเยศ (Pariyed) - [ 6 ก.ย. 50 06:07:42 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 166

    อ่านจากความเห็นที่159 คุณseabreeze_psuทำให้ดิฉันซึ่งชอบอ่านแต่ไม่ใคร่จะออกความเห็น จำได้ว่ามีกระทู้เกี่ยวกับวันรับปริญญาของคุณพลอยที่เอ็มไอที โดยมีเว็ปของคุณพลอยที่เราๆจะเข้าไปเยี่ยมชมและชื่นชมได้ เมื่อดิฉันเปิดเข้าไปก็มีข้อความเป็นภาษาไทยในทำนองว่าเข้าไปแสดงความเห็นและชื่นชมได้แต่ห้ามความคิดเห็นเป็นไปทางลบและหากกระทำจะมีตำรวจไปจับภายใน30 นาทีอะไรทำนองนั้น ก็สงสัยว่าคุณพลอยก็เกิดและเติบโตในอเมริกาดินแดนที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแล้วทำไมคนไทยที่ดูแลเว็ปถึงต้องสร้างข้อจำกัดกับการแสดงความคิดขนาดนั้น

    จากคุณ : ดงดอกไม้ (ดงดอกไม้) - [ 6 ก.ย. 50 07:41:26 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 167

    ในแง่นี้ ผมเชื่อเหมือนพลเอกเปรม ดังที่ท่านเคยปาฐกถาว่า  
    “ชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใครก็ตาม แม้เพียงแต่คิดจะยึดถือเป็นของตนเอง
    หรือของพรรคพวกของตนเอง เพื่อประโยชน์อันไม่ชอบธรรมต่อตนเอง
    หรือต่อพรรคพวกของตนเองจะพบกับความหายนะในที่สุด”


    เห็นด้วยกับประโยคนี้ของป๋ามากค่ะ
    เมื่อป๋าพูดป๋าก็ต้องพึงรู้จักความหมายของสิ่งที่ตัวเองพูดไปด้วยนะคะ


    จากคุณ : คลังพลอย - [ 6 ก.ย. 50 08:40:30 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 168

    คห 158 ยกตัวอย่างได้ชัดเจนมากครับ  

    นั่นสิ  ถ้ารุ่นตี๋ รุ่นหมวย ไม่อยากได้ ตีจูเอี้ย แล้ว จะทำไงดี


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 6 ก.ย. 50 08:59:01 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 169

    # 147 โดยคุณหมากเด็ด

    ...ธรรมชาติของ นักประวัติศาสตร์ นักวรรณคดี ก็อย่างนี้แหละครับ
    conservative และคิดว่า "สิ่งที่มีมายาวนานตั้งแต่อดีต ย่อมเป็นสิ่งดี"

    =========

    มีเวลาสั้นๆ ขอแก้ตัวแทน "นักประวัติศาสตร์" ในมุมมองของคุณหมากเด็ดเสียหน่อย

    จริงๆ นักประวัติศาสตร์ที่ดี ไม่ควรจะเป็นอะไรเลย ไม่ควรตีกรอบว่าตัวเองเป็นอะไรทั้งสิ้น และที่สำคัญ อนันตริยกรรมของนักประวัติศาสตร์ คือการพลีประวัติศาสตร์เพื่อเป็นข้าช่วงใช้แก่ลัทธิอะไรก็ตาม (ไม่ว่าจะเป็น Communism, Liberalism, Royalism, etc)

    สิ่งที่นักประวัติศาสตร์ควรนับถือ ก็คือ paradigm ของคนและสังคมในแต่ละช่วงเวลามีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น นักประวัติศาสตร์จึงน่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้าใจธรรมชาติของการเกิดดับและการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอของสังคมดีที่สุด เพราะเขาคือผู้สังเกตการณ์ บันทึก และศึกษาความเปลี่ยนแปลงอันนั้น

    History repeats itself !

    แต่มันเป็นกรรมติดตัว ที่ประวัติศาสตร์ถูกนำมารับใช้สารพัดลัทธิเหล่านั้นเสมอ เอาเข้าจริงๆ นั่นอาจจะไม่ใช่กิจกรรมทางประวัติศาสตร์เลยก็ได้ แต่เป็นโฆษณาชวนเชื่ออีกรูปแบบเท่านั้น

    แก้ไขเมื่อ 06 ก.ย. 50 13:05:11

    จากคุณ : AntiSpam (อันตราคนี) - [ 6 ก.ย. 50 11:42:58 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 170

    เข้ามาอ่าน ไม่รู้จะพูดอะไร ไม่อยากเขียนอะไรลงไป

    จากคุณ : As if - [ 6 ก.ย. 50 18:01:22 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 172

    เห็นกระทู้นิ่งไปซักพัก นึกว่าจะไม่พูดคุยกันต่อแล้วเสียอีก
    ผมว่ากระทู้นี้ดีนะครับ อย่างน้อยในแง่การพยายามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    ประทับใจหลายๆ ความคิดเห็น โดยเฉพาะความคิดเห็นที่ 127
    เสียดายที่ไม่ได้อ่านบางความคิดเห็น


    จากคุณ : นั่งอยู่คนเดียว - [ 6 ก.ย. 50 19:12:29 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 173

    เออ.. ลือพูดไปอย่างนึง

    เคยได้ยินคำว่า "ลัทธิบูชาบุคคล" มั้ยคับ
    ที่ว่า ประโคมโหมสรรเสริญ กันจนบ้าคลั่งกันไปทั้งประเทศ

    เคยเห็น ภาพ คนเกาหลีเหนือ ตอนที่คิมอิงซุล ตาย มั้ยคับ
    ที่มีภาพคนเกาหลีเหนือ ออกมาร้องไห้ ตีอก ชกตัว ปานจะขาดใจ

    คนเหล่านี้ไม่ได้แกล้งทำ เขารู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
    ก็เพราะเขารักผู้นำของเขาปานจะกลืนกิน
    เขาเห็นแต่ภาพผู้นำของเขา ทำดีเพื่อประชาชน ทำงานหนักเพื่อประเทศ
    ภาพผู้นำที่ดี ผู้นำในฝัน ไม่เคยมีใครดีเท่านี้

    ขณะที่คนประเทศอื่นๆ กลับเฉยๆ หรือบางคนอาจจะเกลียด ด้วยซ้ำไป
    คนไทยยังพูดกันเลยว่า คนเกาหลีเหนือนี่ ถูกล้างสมอง
    บ้าคลั่งไปแล้ว พวกคอมมิวนิสต์ก็ยั่งเงี้ยะ

    คนไทยทุกวันนี้ ต่างจากคนเกาหลีเหนือ ตอนนั้นอย่างไร


    จากคุณ : ปุระชัย - [ 6 ก.ย. 50 19:14:15 A:202.28.9.55 X: TicketID:031822 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 174

    บางเรื่องที่ผมว่า พันทิพย์เขาไม่อยากให้มี คคห. ก็เพราะ เวลามาพูด ต่างคนต่างก็เอาสิ่งที่ได้ยิน ได้อ่านมา แต่ถ้าเห็นกับตา เจอกับตัว ก็ยังไม่ใช่ จะพูดอะไร จะคิดตัดสินใจอะไรลงเป็นตัวอักษร มันก็จะลำบากคนที่เขาสร้างเว็บมาได้ถึงทุกวันนี้

    เว็บบอร์ด เป็นที่แสดงความคิดเห็นก็จริง แต่ว่า เราก็ต้องเกรงใจเจ้าของบ้านเขาด้วย เหมือนเราไปกินอาหารร้านอาหาร ถ้าเรากินอาหารมูมมาม สกปรก เลอะเทอะร้านเขา เขาก็คงจะลำบากนะครับ ผมว่า

    เรื่องบางเรื่อง ผมอยากให้ตรึกตรองด้วยใจเป็นธรรม มองตัวเรา มองข้อบกพร่องตัวเรา ก่อน ก่อนที่จะไปตัดสินว่าใครเป็นอย่างไร

    คำถามเดียวว่า ประชาธิปไตย ก็คือ ความสุขที่สังคมส่วนใหญ่ (ส่วนใหญ่) ยอมรับใช่ไหม ทุกเรื่องต้องเป็นประชาธิปไตย ก็คือ ส่วนใหญ่ต้องการใช่ไหมครับ และส่วนน้อยก็ต้องอยู่ได้ใช่ไหม ต่างคนต่างอยู่ในกรอบของตัวเองใช่รึเปล่า มีคนตอบผมได้ไหม ว่า ถ้าใช่ แล้วถ้า คนส่วนใหญ่ จะนิยม เป็นคนขวาตกขอบ ล่ะครับ ,,,, คนส่วนน้อยจะว่าผิดไหม ถ้านี่คือความสุขของคนส่วนใหญ่ ที่มาจากประชาธิปไตย,,,,


    จากคุณ : ลิงสยาม - [ 6 ก.ย. 50 20:51:39 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 175

    พูดถึงเกาหลีเหนือ เคยเจอน้องคนหนึ่งเป็นเกาหลีใต้ น้องเล่าให้ฟังว่ามีนักเปียโนคนหนึ่งมาเปิดการเสดงที่เกาหลีใต้ แล้วเล่นเปียโนเพราะมากกกก คนทั้งประเทศเกาหลีใต้ต่างทึ่งในความสามารถมาก แต่นักเปียโนคนนี้บอกว่าเขาไม่เคยมีการแสดงเปียโนของเขาที่เกาหลีเหนือเลย คนเกาหลีใต้ก็ตกใจว่าทำหล่ะเล่นเก่งขนาดนี้ทำไมไม่ได้แสดงที่ประเทศตัวเอง
    นักเปียโนคนนี้บอกว่า ทางการไม่อนุญาตให้เขาเปิดการแสดง จนกว่าเขาจะหาหลักฐานมายืนยันว่าและยอมรับว่าที่เขาเล่นเปียโนได้เก่งขนาดนี้เพราะได้รับการดลบันดาลของ คิมจองอิล ปธน องเกาหลีเหนือ หาได้มีความสามารถด้วยตนเองไม่ นักเปียโคนนี้ไม่สามารถที่จะหาหลักฐานมายืนยันได้ หรือความจริงก้คือแกเก่งของแกเอง ฝักหัดจนเล่นเก่งเอง ไมได้มีใครมาดลบันดาลอะไร แกทนอยู่เกาหลีเหนือไม่ได้ หนีข้ามมาเกาหลีใต้ ยอมถูกจับยอมติดคุกฐานหนีเข้าเมืองตั้งหลายปี เพื่อจะได้ไม่ต้องอยู่ใต้บารมีของผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน สู้อยู่ตั้งนานกว่าจะได้เปิดการแสดงของตนเองให้คนเห็นความสามารถ

    น้องคนเกาหลีใต้เล่าให้ฟังว่า คนเกาหลีใต้บางทีรู้สึกเหมือนคนเกาหลีเหนือห่างไกลจากเขามากทั้งที่บ้านประเทศติดกันเคยเป็นประเทศเดียวกันด้วยซ้ำ น้องไปเที่ยวอังกฤษเห็น รถฮุนไดวิ่งเต็มประเทศอังกฤษ คนถือมือถือซัมซุงเต็มไปหมด เค้าบอกว่าเค้าดีใจแล้วก็ภูมิใจมาก

    แต่ถึงประทศเกาหลีใต้จะร่ำรวยยังไง เขาก็ไม่ลืมเกาหลีเหนือ ยังบริจาคเงินไปช่วยคนเกาหลีเหนือเสมอ ๆ ความจริงก็คือคนเกาหลีเหนือไม่มีอะไรจะกินจิง ๆ ชีวิตมันลำเค็ญมาก เงินที่บริจาคให้ไปนั้น บางทีคนเกาหลีไต้ก็นึกโมโหเพระว่ามันไม่เคยไปถึงคนเกาหลีเหนือเลย เงินที่ให้ไปปรากฏว่าเอาไปซื้ออาวุธหมด คนจะอดตายไม่สนใจ

    ช่วงหลัง ๆ CCTV ออกข่าวเกาหลีเหนือเป็นเหมือนข่าวจากรัฐ เป็นภาพบ้านเมืองใหญ่โต สร้างตึกเต็มไปหมด เหมือนแฟลตพึ่งสร้างเสร็จ ชาวบ้านเดินไปมา หอบตระกร้าผ่านกล้อง สองสามคน ถ่ายแบบนี้วน ไป ๆ มา คล้ายจะบอกว่า ประเทศเราอยู่ดีกินดี ประชาชนยิ้มแย้ม แต่มันช่างต่างจากที่ได้ยินมาเหลือเกิน


    จากคุณ : horseshoes - [ 6 ก.ย. 50 22:05:16 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 176

    เรียนคุณลิงสยาม

    ในความเห็นของรุซโซ (หากผมพลาด แก้ได้นะครับ ผมไม่แม่นปรัชญาการเมืองเท่าไหร่) ประชาธิปไตยคือการพยายามหา general will ของคนในสังคมว่า "เราต้องการอะไร..." เช่น การเลือกตั้งเป็นการพยายามหา general will อย่างหนึ่ง แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ในประชาธิปไตยคือ กระบวนการ check and balance ครับ ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบนักการเมืองจากองคฺกรหรือสื่อต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่รับมอบอำนาจไปจากประชาชน ต้องมี accountability (อันมาคู่กับ power ไงครับ)

    นอกจากนั้นนะครับ การสร้างพื้นที่ทางการเมืองให้กับความเห็นต่างประเภทกัน ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ความเห็นที่แตกต่างหลากหลายสามารถแลกเปลี่ยนกันหรือ "ด่า" กันได้อย่างเต็มที่ (ดังนั้น อุดมการณ์สมานฉันท์จึงไปด้วยกันไม่ได้กับกรอบคิดแบบเสรีประชาธิปไตย)

    ถ้าสังคมไทยมีพื้นที่ัดังกล่าวให้จริง คห.ทั้งหลายในกระทู้นี้คงไม่โบ๋หายไปเป็นช่วง ๆ เช่นนี้ดอกครับ

    ดังนั้น ไม่ว่าคนส่วนใหญ่หรือส่วนน้อย ในเสรีประชาธิปไตย การสร้างพื้นที่และความ "อดกลั้น" จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด หากคนส่วนใหญ่เป็นอะไรอย่างหนึ่ง (ในคำถามคุณคือ "ขวาตกขอบ") ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปใช้ดาบหอกกระบอกปืนจี้บังคับคนส่วนน้อยให้เห็นตามนี่ครับ

    และแน่นอนว่า คนส่วนน้อยก็ต้องยอมรับความเห็นของคนส่วนใหญ่เช่นกัน

    ปล. ย้ำอีกครั้งว่า นอกจากการยอบรับเสียงซึ่งกันและกันแล้ว การตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันครับ

    แก้ไขเมื่อ 06 ก.ย. 50 22:38:26

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 6 ก.ย. 50 22:35:11 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 177

    สำหรับคุณลิงสยามครับ ใช่ครับ ประชาธิปไตย คือการปกครองที่ทำตามเสียงส่วนใหญ่ โดยที่ให้ส่วนน้อยอยู่ได้ ผมยอมรับ และเชื่อเช่นนั้นครับ


    และก็ไม่ใช่เรื่องผิดครับ หากคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นพวก "ขวาตกขอบ" จะเป็นกันมากเท่าไหร่ก็ได้ครับ คุณจะมีความสุขมากแค่ไหนก็ได้ครับที่ได้เข้าเฝ้า ได้รอรับเสด็จ


    แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ พวก "ขวาตกขอบ" มักไม่ยอมรับความเป็นที่แตกต่างของที่คนอื่นเป็นพวกที่มีความคิดกลางๆ แล้วก็เกลียดพวก "ซ้ายไร้เดียงสา" อย่างเข้าใส้ ยกตัวอย่างปัญหาที่ที่ชัดเจนที่เกิดขึ้น  คือการใส่เสื้อเหลือง กับการยืนในเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการตั้งกระทู้สองเรื่องนี้กันอยู่เนืองๆ


    การที่คนส่วนใหญ่ใส่เสื้อเหลือง เพราะรักในหลวงและมีการรณรงค์ให้ใส่เสื้อเหลือง ทุกวันจันทร์ในปีที่แล้ว และตอนนี้กลายเป็นว่าให้ใส่ทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ พอมีใครสักคนบอกว่า ไม่ชอบใส่เสื้อเหลือง หรือเบื่อกับการใส่เสื้อเหลืองทุกวัน กลุ่มคน "ขวาตกขอบ" ก็จะเข้ามาถล่ม ด่าว่าด้วยคำพูดต่างๆ นานา เช่น "ทำไมไม่ใส่เสื้อเหลือง เป็นคนไทยหรือเปล่า" "ไม่ใส่สีเหลือง เพราะไม่จงรักภักดีหรือไง" หรือ "ในหลวงทรงงานหนักกว่าเราแค่ไหน แค่ใส่เสื้อเหลืองเพื่อท่านแค่นี้ ทำไม่ได้หรือไง" คำถามเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นเลย เราไม่มีสิทธิไปบังคับให้คนอื่นๆ ทำเหมือนเรา เพราะแต่ละคนมีเสรีภาพในชีวิตของตัวเอง


    หรือกรณีการยืนทำความเคารพระหว่างเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี ก็เจอลักษณะคล้ายๆ กัน ถ้าใครสักคนไม่ยืนในระหว่างเพลงนี้ มักจะถูกด่าว่า หรือแม้แต่ไล่ให้ไปอยู่ประเทศอื่น ให้ไปเปลี่ยนสัญชาติเป็นพวกต่างชาติ หรือถูกด่าว่าเป็นทาสฝรั่งก็มี


    ซึ่งทั้งสองเรื่อง คือการที่ไม่ได้ใส่เสื้อเหลือง และการไม่ยืนทำความเคารพในเพลงสรรเสริญ ไม่ได้เป็นการลบหลู่ จาบจ้วงสถาบันเลย เกียรติและศักดิ์ศรีของสถาบันก็ยังสูงส่งอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่ว่าคุณจะใส่เสื้อสีไหน ในหลวงก็ยังเป็นที่เคารพอยู่ไม่ใช่เหรอ ??? ก็แล้วทำไมถึงต้องคุกคามคนที่มีความเห็นแตกต่างออกไปหล่ะครับ


    นี่หรือครับ ประชาธิปไตย ที่ปกครองด้วยเสียงส่วนใหญ่ ที่ไม่รังแกและเคารพสิทธิของเสียงส่วนน้อย ผมไม่แน่ใจว่า ถ้าเป็นการปกครองในรูปแบบนี้ เราเรียกว่าประชาธิปไตยหรือครับ ???


    โดยส่วนตัว คิดว่า หากคุณจะเคารพยกย่อง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันมากเพียงใดก็ได้ครับ ไม่มีใครว่า แต่สำหรับคนที่เค้าไม่ได้รู้เหมือนกับคุณ หรือรู้สึกตรงกันข้ามกับคุณ คุณไม่มีสิทธิ์ไปบังคับให้เค้าคิดเหมือนคุณ สังคมจะดีกว่านี้ หากเราเปิดใจ ยอมรับความแตกต่างทางความคิดมากกว่านี้ครับ


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 6 ก.ย. 50 22:35:27 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 178

    เรียนคุณลิงสยาม

    คำถาม: คนส่วนน้อยจะว่าผิดไหม ถ้านี่คือความสุขของคนส่วนใหญ่ ที่มาจากประชาธิปไตย

    คำตอบ: ผมคิดว่าคนส่วนน้อยคงไม่คิดว่าผิดครับ แต่คนส่วนใหญ่ครับ ที่จะมองว่าคนส่วนน้อยผิด

    ุขอถามคุณลิงสยามบ้าง
    คำถาม: คุณลิงสยามคิดว่า คนส่วนใหญ่คิดว่าคนส่วนน้อยผิดมั้ยครับ?

    แก้ไขเมื่อ 06 ก.ย. 50 22:58:59

    แก้ไขเมื่อ 06 ก.ย. 50 22:57:33

    จากคุณ : EAGo - [ 6 ก.ย. 50 22:42:07 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 179

    ถ้าไม่มีอะไรที่แตกต่างมันก็นิ่ง
    พอมันนิ่ง มันก็จะแห้งและตาย
    แค่นี้แหละครับ
    เสียงของคนส่วนใหญ่ ถ้าไม่ฟังเสียงข้างน้อยก้แค่เผด้จการเสียงข้างมาก ไม่ใช่วิธีของอารยะหรอก เป็นเพียงวีธีของอนารยชนป่าเถือนที่เอาพวกมากเข้ากลุ้มรุมเท่านั้นเอง


    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 6 ก.ย. 50 22:54:47 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 180

    อย่างหนึ่ง คือ การอยู่ร่วมกัน ในสังคม ครับ อย่าเพิ่งเหมาว่าที่ผมถาม คือความคิดร้อยของผม แบบนี้ผมโดนคนส่วนน้อยถล่มเอารึเปล่า ^_^

    คนส่วนใหญ่ ผมว่า เขาไม่เป็นอย่างงั้นหรอก ที่จะไปถล่ม เถลิม ใคร มีแต่คนไม่ดี ส่วนน้อยมากกว่า ที่ไปถล่ม คน ด้วยกัน...

    เถียงกันไป ตราบใด ที่เรายังเข้าใจกันไม่ได้ ระหว่าง คน ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ก็ต้องปล่อยดีกว่าครับ

    ยกตัวอย่างสักประเทศได้ไหมครับ ผมอยากทราบว่า ประเทศไหนที่เป็น ประชาธิปไตยแล้วเขามีความสุข ประเทศไหนที่เป็นคอมมิวนิสต์ แล้วเขามีความสุข ประเทศไหนที่เป็น คณาธิปไตย แล้วเขามีความสุข ประเทศไหนที่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แล้วเขามีความสุข

    ให้ผมตอบได้เลยว่า ถ้าขาด "สังคหวัตถุ4" ตัวเดียว จะเป็นแบบ ไหน ก็ไม่มีความสุขครับ เหมือนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยถามพระสุปฏิปันโนท่านหนึ่งว่า จาคะตัวเดียว ไปนิพพานได้ไหม???


    จากคุณ : ลิงสยาม - [ 6 ก.ย. 50 23:10:14 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 181

    คุณ EAGo  

    ผมคิดว่า ต่างฝ่ายต่างคิดว่า ฝ่ายตรงข้ามผิด

    ที่เสนอทรรศนคติ แย้งกันอยู่ด้านบน นี่เห็นได้อย่างชัดเจน ครับ

    ถ้าไม่มีการโต้แย้ง ก้ไม่มีใครเห็นว่าใครผิด  ชอบไม่ชอบ ซาบซึ้งหรือไม่ทราบซึ้ง อยู่ที่ใจของแต่ละคน ถ้าต่างฝ่ายต่างเคารพความคิดซึ่งกันและกัน ก็ไม่มีใครเห็นว่าใครผิด คุณจะชอบก้ชอบไป ผมไม่ชอบ คุณไม่ต้องมาหว่านล้อมให้ผมชอบ ในทางกลับกัน ผมก้จะไม่พูดให้คุณไม่ชอบ  แบบนี้ถึงจะเรียกว่า ไม่มีใครเห็นว่าใครผิด


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 6 ก.ย. 50 23:15:56 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 182

    เรียนคุณ Sa-idian

    มีหลายประเด็นมากครับที่ผมอยากเรียนแลกเปลี่ยนด้วย โดยเฉพาะประเด็นที่คุณกล่าวว่า "the One" นั้นมิได้ "...organise the speech before hand." ซึ่งจะโยงกับประเด็นที่ว่า ทำไม ในกรอบคิดแบบเสรีประชาธิปไตยแล้ว the King ถึง can do no wrong

    The King can do no wrong เพราะว่า The King has no action AT ALL. ครับ (ประเด็นนี้ผมเขียนไว้หลายหนแล้วในคห.ที่ถูกลบ ๆ ไป...) ผมขอแปะ Link ไปยังบทความของอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่เขียนไว้นานมาพอสมควรแล้ว ในประเด็นเรื่อง "พระราชอำนาจ" ตรงหัวข้อที่ 2 น่ะครับ http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document9542.html

    (ความจริง ผมอยากลอกบทความมาปะลงเลยด้วยซ้ำ แต่กลัวเดี๋ยวโดนลบอีก)

    เพราะฉะนั้น ผมยอมรับข้อที่คุณเห็นว่า เราควรมอง "ท่าน" ในฐานะที่เป็นมนุษย์ แต่มนุษย์ในฐานะอย่าง "ท่าน" นั้น สมควรถูก check and balance จากสังคม โดยเฉพาะจากสังคมที่ต้องจ่ายภาษีเพื่อให้สถาบันดังกล่าวอยู่ได้มิใช่หรือ?

    นอกจากนี้ ผมเห็นด้วยกับคุณมาก ๆ ที่สังคมไทยนั้นต้องการ "...preciseness' from him all the time." แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นของผมอยู่ที่คุณเขียนว่า "It's like a grandfather who is asked to do a job he is not as good as he was before,..."

    That is precisely the problem ครับ ปัญหาคือ ไอ้ a job ที่คุณว่ามานี่คืออะไร? และประเด็นปัญหาต่อไปคือ สำหรับผู้คนในสถานะ "นั้น" แล้ว สมควรมี a job หรือไม่? ปัญหาที่ผมอยากโยนลงไปคือ ไอ้ a job นั้น ดีต่อประชาธิปไตยหรือไม่? อย่างไร?

    ประโยคที่คุณเขียนมานี่ดีมากครับ เพราะสามารถสะท้อนปัญหาของตัวสถาบันในเชิงโครงสร้างอำนาจและความสัมพันธ์ที่มีต่อหน่วยอื่น ๆ ในสังคมได้ดีมาก

    โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง อาการขาด "พ่อ" ไม่ได้ของสังคมไทย...(ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านวาทกรรมพระราชอำนาจที่ร้อนระอุอยู่ในปีที่แล้ว)

    ปล. อาจารย์สอนรัฐศาสตร์ืท่านนึงเคยกล่าวว่า สุดท้ายแล้ว เรา (สังคมไทย) ต้องหันกลับมาถามตัวเองว่า เรามี fascist desire รึเปล่า???

    แก้ไขเมื่อ 06 ก.ย. 50 23:44:58

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 6 ก.ย. 50 23:26:47 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 183

    พึ่งนึกออก

    การพยายามวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลนั้น โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการนั้น ยังเกิด "ปัญหา" ได้ กรณี อาจารย์บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ที่ศิลปากร ที่ออกข้อสอบแนว "วิพากษ์วิจารณ์" ยังถูกตำรวจสอบสวนเรื่องหมิ่นฯ เลยนะครับ

    http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5624294/K5624294.html

    ยังไม่ต้องพูดถึงการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใกล้ ที่จะเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามอีกมาก (6ตุลา???)


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 6 ก.ย. 50 23:53:52 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 184

    จาก #163

    ผมยอมรับว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ออกจะมีช่องว่างห่างกันไปหน่อยนั่นแหละครับ

    แต่ในกรณีของสถาบันฯ ในขณะที่ความเป็น "ศูนย์รวมจิตใจของสังคม" เป็นบทบาทที่หนักหนาและเรียกร้องแบบฉบับในการดำรงตนอย่างสูงกว่าความเป็นผู้บริหารบริษัทมาก แต่สถาบันเองก็มีกฎ มีกลไกในการควบคุมภายในของตนอยู่ และสังคมเราก็อยู่มาด้วยการกำหนดอาณาเขตไว้เป็นที่เคารพสักการะ ให้เกียรติ ให้เครดิตท่านเหล่านั้นไว้ก่อน

    คล้ายกับที่อยู่ๆ ตำรวจก็คงไม่บุกไปขอตรวจค้นในกุฏิวัด จับพระเณรมาเรียงแถวตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด ถ้าไม่มีชาวบ้านส่งหลักฐานมาร้องเรียนชัดเจนว่ามีการมั่วสุมนั่นแหละ และถึงอย่างไรตำรวจก็คงจะต้องเกรงใจให้ทางพระจัดการกันเองก่อน

    ถึงแม้จะอยู่ในยุคสมัยที่มีข่าวคนในผ้าเหลืองทำฉาวโฉ่ชวนให้เสื่อมศรัทธาลงหนังสือพิมพ์หน้า 1 ได้เป็นประจำก็ตาม

    (ผมเปรียบเทียบระหว่างขอบเขต 2 ฝั่ง 2 ระนาบ ซึ่งอาจจะห่างกันมาก คือ องค์กรบริษัทใหญ่ กับวัด-ศาสนสถาน แต่ด้วยการเปรียบเทียบก็พอจะกำหนดได้ว่าฐานะของสถาบันคงจะอยู่กลางๆ ระหว่างนี้แหละ)

    แล้วเพราะอะไรที่ทำให้คนอยากจะลุกขึ้นมาท้าทาย วิพากษ์วิจารณ์ จาบจ้วงสถาบันมากที่สุด?
    เพราะช่องว่างระหว่างยุคสมัยที่มากขึ้น จนคนเกิดความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจหรือ?
    แต่ถ้าไม่มีการเล่นเกมการเมือง หรือสถานการณ์พาไปก็แล้วแต่ ที่ดึงเอาสถาบันเบื้องสูงลงมาเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองหลายครั้งที่ผ่านมาแล้ว อยู่ๆ จะมีคนลุกขึ้นมาเรียกร้องความ "ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ วิพากษ์วิจารณ์ได้" ด้วยท่วงทำนองที่แฝงความเกรี้ยวกราดหรือคับแค้นใจแบบนี้หรือไม่?

    หรือนี่เป็นผลสะท้อนกลับ ที่เกิดจากสิ่งที่ขบวนการขวาตกขอบสร้างไว้?

    ซึ่งก็เหมือนเรื่องกฎ Lese Majeste ที่คุณ Sa-idian ว่าไว้ใน #133 นั่นแหละครับ มันดูเหมือนจะยากมากๆ...กับการหาวิธีที่จะถอดชนวนที่พวกขวาจัด-ซ้ายจัดพากันวางเอาไว้ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา จะโดยจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ...เพื่อเอื้ออำนวยให้สถาบันและสังคมไทย ปรับตัวเข้าสู่จุดสมดุลใหม่ที่ลงตัวกว่าและสบายใจด้วยกันทุกฝ่ายได้

    สำหรับเรื่องศาลไหว้บรรพบุรุษ หรือศาลพระภูมิ ที่คุณบุญชิตฯ ให้ความเห็นไว้ ...บางทีเราคงต้องย้อนกลับมามองว่า ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านั้น มี "คุณค่า" อะไรของมันอยู่บ้าง? หากจะยกเอาสิ่งที่เรามองว่ามัน "งมงาย" ออกไปแล้ว
    พูดอีกอย่างคือ...ก่อนที่จะไปคิดตัดสิน หรือนึกอยากทำตามความรู้สึกต่อต้านที่ว่า "อากงอาม่ารุ่นเก่าๆ นี่งมงายอยู่ได้ ทำไมเราต้องทนด้วย เดี๋ยวเหอะจะหาทางรื้อถอนทิ้งออกไปซะเลย" ฯลฯ
    เราแน่ใจแล้ว ได้มองดูสิ่งเหล่านั้นดีๆ อย่างครบถ้วนแล้วหรือว่า สิ่งเหล่านั้นมีไว้เพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง?
    เรามองเห็นศาลไหว้บรรพบุรุษ เป็นความงมงาย เพราะคนที่กราบไหว้มักจะบอกว่าวิญญาณบรรพบุรุษให้โชคให้ลาภต่างๆ นานา หรือไม่?
    เราอาจจะบอกว่าเป็นชาวพุทธ เรื่องการกราบไหว้เทวดาเป็นสิ่งที่พึงต่อต้าน แต่จริงๆ แล้วพระพุทธองค์ท่านเคยสอนไว้หรือไม่ ว่าเทวดาไม่มีอยู่จริง และ/หรือ จงอย่าไปกราบไหว้ให้ความเคารพเทวดา?
    เราไม่พอใจศาลพระภูมิ เห็นเป็นสิ่งขวางหูขวางตา เพราะเอาไปเชื่อมโยงกับภาพคนไหว้ปะหลกๆ ติดสินบนเทพเจ้าด้วยหัวหมูเป็ดไก่ ขูดหาหวยหวังโชคลาภอย่างสิ้นคิดไปวันๆ หรือไม่?

    เรื่องความสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุในการบวงสรวง ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด ...แต่เราได้แยกแยะออกมาแล้วหรือยัง ว่าทรัพย์สินที่ดูมากมายล้นเหลือนั้น มาจากทรัพยากรสาธารณะที่จัดสรรให้ตามกฎและอำนาจกี่ส่วน? มีที่เอกชนเป็นรายๆ เขาไปมอบให้กันเองกี่ส่วน? และมีกี่ส่วนที่เกิดจากทรัพย์สินเช่นที่ดินในทำเลทองต่างๆ ที่สะสมและสืบทอดผ่านกันมายาวนานหลายชั่วรุ่น?
    และการเฉลิมฉลองที่ดูยิ่งใหญ่อลังการ เป็นเรื่องที่อำนวยประโยชน์ให้เฉพาะพระองค์ท่านเหล่านั้น หรือแสดงถึงการเฉลิมฉลองของบ้านเมือง ของสังคมเราด้วย?

    เรากำลังเพ่งเล็งที่หัวโขน หรือผู้แสดงที่ใส่หัวโขนนั้นอยู่? หรือเราจะดูการแสดงโขนกันแน่?

    ประเด็นต่อมา เอาเป็นเรื่องที่ว่า ทำไมการตั้งกระทู้หรือประกาศชื่นชมแบบเว่อร์ๆ เกินความจริงอยู่ตลอดจนทำให้รู้สึกเลี่ยน ถึงไม่ถูกตามลบตามล้างเหมือนตั้งกระทู้หมิ่น เสียดสีบ้าง?

    คือ...สำหรับคำชมที่ดูจะเกินจริงและพร่ำเพรื่อมากเกินไป คนที่ไม่ได้รู้สึกร่วมกับคนกลุ่มนั้นถึงขนาดเดียวกัน ได้ไปเห็นไปฟัง ก็คงจะรู้สึกอึดอัด เบื่อ เลี่ยน นึกตลกขบขัน หรือรู้สึกว่างี่เง่าต่างๆ นานา และก็อาจเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเสื่อมเสียให้ผู้ที่ถูกยกยอได้

    แต่พวกเขาสมควรจะถูกเอาผิดทางกฎหมายได้ในสถานเดียวกับผู้ที่ใช้คำพูดดูถูก จาบจ้วง เสียดสีผู้อื่นโดยมุ่งจะให้ได้รับความดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่? มันก็ไม่ใช่

    ในบางศาสนา มีบัญญัติไว้ว่าห้ามเอ่ยพระนามหรืออ้างถึงพระเจ้าพร่ำเพรื่อโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งผมเห็นว่าก็เป็นกลไกอันหนึ่งที่จะป้องกันปัญหาแบบนี้นั่นเอง แต่ถ้าเราจะเอาวิธีนี้มาใช้...มันก็คงจะยิ่งกลายเป็นการขยับขึ้นไปสู่ความเป็นสมมติเทพ เป็นการสร้างบรรยากาศของความกดดันและตึงเครียดขึ้นยิ่งกว่าเดิม คนที่ต่อต้านสถาบันก็จะถูกกระตุ้นให้ยิ่งมีอคติมากขึ้นอีก

    ซึ่งอันนี้เราน่าจะพอแยกแยะกันได้ ระหว่างการชมแบบเกินจริงที่มาจากเจตนาเสียดสีหรือหลอกด่า กับการชมแบบเกินจริงที่มาจากการสร้างเงื่อนไข หรือพลังกดดันทางกลุ่มสังคมรอบข้าง

    การยกยอแบบพร่ำเพรื่อเกินจริงมากๆ มักเกิดจากพื้นฐานที่เป็นคนหวังพึ่งพาคนอื่นหรือสิ่งอื่นมาช่วยเสริม ช่วยยืนยันความมีตัวตนของตนเอง และแฝงไว้ด้วยความรู้สึกไม่มั่นคง ความกลัวในส่วนลึก จึงสมควรได้รับความเห็นใจและไม่น่าที่จะไปหักหาญความเชื่อของเขาตรงๆ

    แต่การเสียดสี การดูหมิ่น การหาเรื่องด่าทอ หรือการแกล้งชมแต่แฝงหลอกด่า จงใจเสียดสีต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องสถาบันนั้น มักจะมาจากพลังด้านลบที่รุนแรงและกระด้างกว่า คือความจงเกลียดจงชัง และเป็นการไปละเมิดผู้อื่นอย่างชัดแจ้ง จึงจำเป็นต้องถูกหยุดยั้งแบบตรงไปตรงมาและหนักแน่นมากกว่า

    ด้วยความเคารพครับ

    (ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่ต้องเก็บไว้โอกาสหน้า)


    จากคุณ : QuaOs - [ 7 ก.ย. 50 00:33:32 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 185

    ผมว่า... การที่คุณ ๆ ทุกคนจะคุยถึง K หรือไม่อย่างไร จะเกี่ยวกับสถาบัน จริง ไม่จริงอย่างไรก็ทำตามสบายเถอะ

    แต่ไม่ใช่ที่นี่ เพราะเจ้าบ้านออกกฏไว้ชัดเจน

    ทุกคนเป็นผู้อาศัย เข้ามาอยู่ที่นี่บนแผ่นดินเสมือนของ PANTIP แม้บางครั้ง การตัดสินของ PANTIP อาจไม่ได้เที่ยงตรง 100%

    แน่นอนว่าเพราะ PANTIP เจ้าของที่นี่ก็เป็นคน อาจมี 1% ที่ผิดพลาดไป ก็ปรกติสามัญ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นเจ้าบ้าน ที่สร้างและดูแลทุกสิ่งให้อยู่รอดตลอดมา

    มีคนได้ดิบได้ดีจากที่นี่ มีคนลำบากได้รับความช่วยเหลือ มีชีวิตที่ดีก็เพราะที่นี่เหมือนกัน

    สิ่งที่คุณ ๆ ฟังมา เรื่องเล่าของ K ไม่มีหลักฐานยืนยัน อาจฟังมาอีกที อาจอ้างว่าได้ยินจากคนใน คนในก็ไม่มีตัวตน คนในก็ฟังมาอีกทอด

    แต่สิ่งที่นำมาเขียนในนี้ ชวนเชื่อคนในนี้ อาจทำให้เจ้าบ้านลำบาก สุดท้ายขึ้นโรงขึ้นศาลเพราะปล่อยให้ข้อความหมิ่นปรากฏในนี้

    ไม่ต้องหมิ่น K ขอแค่หมิ่นคนธรรมดาโดนปราศจากหลักฐาน เมื่อเดือนผม คนที่หมิ่นผม 4 คนโดยไม่มีหลักฐานก็โดนยึดอมยิ้มไปเรียบร้อย

    ถามว่าทำไม ผมยิ่งใหญ่อะไรไหม แตะต้องอะไรไม่ได้ใช่ไหม ?

    คำตอบก็คือไม่ใช่ เพียงแต่ PANTIP ในฐานะเจ้าบ้าน ก็ต้องรักษากฏ และป้องกันตัวเองในระดับพอสมควร

    การที่ PANTIP ป้องกันตัวเอง ก็เท่ากับป้องกันสถานที่นี้และป้องกัน User อีกหลายแสนคนไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง

    สมมติ เราเป็นลูกบ้าน หรือเป็นคนจรจัดมา ขออาศัยร่มเงาบ้านหลังหนึ่ง แม้เจ้าบ้านจะไหว้ศาล ไหว้เทพ เราควรจะหักศาลนั้นทิ้งหรือเปล่า ?

    นี่ PANTIP ไม่ได้แม้แต่ไหว้ศาล เพียงแค่เป็นเจ้าบ้านบนพื้นที่เปิด

    ดังนั้น อย่าหาเรื่องราวให้กับทาง PANTIP เลยครับ หากต้องการจะเล่าเรื่องของ K ในแง่ลบที่ไหน ก็ไปในที่ที่คิดว่าทำได้เถอะ

    กฏข้อนี้ของ PANTIP แม้ไม่ถูกควรในมุมหลายคน แต่ก็ไม่ได้ผิดอะไร บนแผ่นดินไทยแผ่นดินนี้

    อย่าทำให้ PANTIP ลำบากเลยครับ

    question


    จากคุณ : cookiecompany - [ 7 ก.ย. 50 05:03:14 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 186

    ดิฉันขออนุญาตมองว่า ทุกๆท่าน ทุกความเห็นมีความรักและห่วงใยต่อสถาบันอันเป็นที่รัก....ไม่ใช่ซิขอเปลี่ยนจากสถาบันเป็นตัวบุคคลแทนนะคะนะคะ

          ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสมัยโบราณ...มีการล้มล้างระหว่างราชวงค์กันเอง...(ก็หลายครั้ง)...หรือยามใดที่...อ่อนแอ ก็จะถูกพม่ามาเผาเมือง...ล้วนแต่เป็นผลมาจากการกระทำของบุคคลไม่ใช่หรือคะ

         ดิฉันขอแสดงความเห็นว่า เราควรจะหันมาให้น้ำหนักของการกระทำ และความทุ่มเท ของบุคคลเป็นหลัก (สถาบันมีบทบาทแค่ค้ำยัน) โดยบุคคลนั้นใช้ประโยชน์จากสถานะที่สามารถสั่งการใด้(ดังเนรมิต)   เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขอย่างแท้จริงแก่ประชาชน ดังที่ปรากฏอยู่ ณ.ขณะนี้เป็นเครื่องสะท้อนว่า นี่แหล่ะที่จะกุมหัวใจของคนไทยทั้งใจใว้ใด้ค่ะ

    ..............................................
    ขออนุญาตถามนอกเรื่องนิดนึงนะคะ  ค้างใจมานานที่ว่า .....

        เคยใด้ยินว่า ประวัติศาสตร์ไทย(บางเรื่องนะคะ ไม่ใช่ทั้งหมดค่ะ) หากผู้เขียนเป็นต่างชาติจะน่าเชื่อถือกว่า คนไทยเขียน (อาจจะเพราะคนไทย(หากไม่ถูกใจ) ก็จะถูกสั่งประหารชีวิตใด้ หรือเปล่าไม่ทราบนะคะ....แต่ว่ายุคสมัยเปลี่ยนมาจนถึงวันนี้แล้ว...อาจจะต้องเปลื่ยนเป็นว่า...จะถูกยึดอมยิ้ม(ไม่ออก)ใด้...อิอิ..

            ด้วยความเคารพค่ะ
            ผิดพลาดประการใดขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วยนะคะ


    จากคุณ : แม่ขา - [ 7 ก.ย. 50 08:33:34 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 187

    cookiecompany

    สรุปว่า เราทุกคนมาขออาศัย pantip เหรอ
    สรุปว่า pantip ไม่ได้เน้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเหรอ
    สรุปว่า เป็นบอร์ดของพวกRoyalist เท่านั้น ใช่มั้ย
    สรุปว่า คนอื่นที่ไม่ใช่Royalist อย่ามาสะเอ่อเขียนนอกลู่ นอกทาง

    ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ประกาศไปเลย
    ว่าpantip หาได้เป็นบอร์ดแห่งเสรีภาพไม่
    ว่าpantip หาได้เป็นบอร์ดที่เสรีชนทุกคนสามารถเข้าถึงไม่
    ว่าpantip มีนโยบายเป็นRoyalist มิใช่อย่างอื่น

    อย่ามาอ้างว่าเป็นคำสั่งของเจ้าของ หรือ อ้างว่าคนอื่นเป็นผู้อาศัย
    ถ้าไม่เสรีจริง ก็จะไม่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น
    ถ้าไม่มีคนเข้าแสดงความคิดเห็น จะมีpantip หรือไม่

    ใครสร้างใครกันแน่


    จากคุณ : ปุระชัย - [ 7 ก.ย. 50 23:33:30 A:161.200.255.162 X: TicketID:031822 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 188

    คุณข้างบน#187

    คุณพร้อมจะถูกสอบสวน และติดคุกพร้อมคุณวันฉัตรหรือยัง?

    ผมถามแค่นี้แหละ

    สิทธิเสรีภาพ มาพร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบครับ
    ผมอ่านกระทู้นี้แล้วก็เปิดหูเปิดตา ได้อะไรดีๆหลายอย่าง
    ขอความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์เชิงวิพากษ์ครับ ซึ่งหลายๆท่านเขียนได้ดีโดยไม่ต้องดันทุรังเรียกร้องสิทธิเกินความรับผิดชอบ

    ผมไม่อยากให้กระทู้ดีๆแบบนี้ถูกลบ


    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 7 ก.ย. 50 23:50:10 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 189

    ^
    ^
    ^
    ^
    จากที่เขียนไว้ด้านบน กลับมานั่งคิดๆดู
    ทุกวันนี้ pantip กลายเป็นที่สุ่มหัวของพวกRoyalist ไปหมดแล้ว

    ผมคิดว่า ก็ดีเหมือนกัน
    จะได้แยกแยะไปเลย
    ที่จริงผมเคยมีอมยิ้ม ไม่ได้โดนยึด แต่ก็ไม่คิดจะใช้แล้ว
    เพราะว่า ที่จริง ผมก็เลิกแสดงความคิดเห็นในพันทิป ไปนานมากๆแล้ว
    เกือบ 6 ปีแล้วล่ะมั้ง

    แต่ช่วงนี้ไม่รู้เป็นไร เข้ามามั่วสุมอีกรอบ
    คงจะวนเวียนเล่นๆอยู่อีกซักพัก ก็ลงเบื่อๆไปเอง

    เสียดายก็แต่พวกหัวก้าวหน้าที่ยังวนเวียนอยู่ในนี้
    แต่ผมมั่นใจว่า
    พวกนี้ อีกไม่นาน ก็จะเบื่อๆ แล้วก็จากลาไปเหมือนกัน
    อย่างคุณลูกแม่โดม คุณmaskedV คุณseabreeze_psu
    เมื่อก่อนก็ไม่เคยได้ยินชื่อเหล่านี้
    แต่อีกไม่นาน ก็คงจะล้า แล้วก็ถอยไป

    ผมมั่นใจที่จะบอกว่า เรา กำลังตกอยู่ภายใต้การครอบงำของลัทธิบูชาบุคคล เหมือนที่เกิดขึ้นในเกาหลีเหนือ
    และเป็นเหตุผลที่ลิงสยามไม่มีทางเข้าใจว่า
    ทำไมคนส่วนใหญ่(ชนชั้นกลางในเมือง) ถึงเป็นขวาตกขอบ


    จากคุณ : ปุระชัย - [ 7 ก.ย. 50 23:51:58 A:161.200.255.162 X: TicketID:031822 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 190

    คำถามที่คุณถามมาแค่นี้นั้น
    บ่งบอกถึงคุณสมบัติ ความเป็นฝ่ายขวาได้เป็นอย่างดี
    ถ้ามีคนอย่างคุณในช่วงปี 2519
    คงจะมีคนตายไปอีกไม่น้อย

    แต่ก็ขอตอบคุณว่า
    ผมไม่พร้อมติดคุกหรอกคับ
    แต่ผมก็ทำใจไว้แล้ว
    ว่าสุดท้าย ไอ้พวกฝ่ายขวา
    ก็จะหมดปัญญาเถียงด้วยเหตุผล
    ก็จะยกเอากฎหมาย เอาการลงโทษ เอาบาปกรรม
    มาข่มขู่

    ไม่เป็นไร ผมไม่กะจะอยู่ค้ำฟ้าหรอกคับ


    จากคุณ : ปุระชัย - [ 8 ก.ย. 50 00:00:57 A:161.200.255.162 X: TicketID:031822 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 191

    ถึงคุณ Re 188 ครับ

    นี่แหล่ะครับ ตัวอย่างของการเอากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชามาใช้กับฝ่ายตรงข้าม กฎหมายนี้ถูกใช้เพื่อข่มขู่ หรือคุกคามฝ่ายตรงข้ามเสมอมา ใครพูดอะไรเกียวกับในหลวง แล้วไม่ถูกใจ ไม่ได้สรรเสริญในหลวง ก็จะถูกตราหน้าว่าจะต้องถูกสอบสวน  เป็นคนที่ไม่เคารพสถาบัน จนบางครั้งถูกป้ายสีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ไปเลยก็มี


    สมัยเมื่อหลายสิบปีก่อนนายปรีดี พนมยงค์ก็โดนกฎหมายนี้เล่นงาน ถูกเนรเทศไปอยู่ต่างประเทศ จนสุดท้ายก็ไปเสียชีวิตที่ต่างแดน แล้วเมืองไทยก็ต้องเสียคนดีๆ อย่างนายปรีดีไป


    น่าแปลกใจ ที่ผ่านมาสังคมไม่เคยเรียนรู้ถึงอดีต และยังคงปล่อยให้เกิดเรื่องแบนนี้อยู่ตลอดเวลา

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 00:02:32

    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 8 ก.ย. 50 00:01:20 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 192

    คุณอยู่ในสังคม ก็ต้องเคารพกฎเกณฑ์ ของสังคม สิทธิเสรีภาพ ที่คุณพึงมี ย่อมต้องอยู่ในขอบเขต ของกฎกติกา หรือกฎหมายที่สังคมกำหนด  ไม่ใช่จะอ้างแต่ เสรี เสรี แบบนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย ของคุณคืออะไร ในเมื่อ กฎกติกา หรือกฎหมาย เป็นที่ยอมรับ ของคนส่วนใหญ่ในสังคม อาจจะไม่ถูกใจคุณทั้ง ร้อย เปอเซ็นต์ ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์ที่เป็นเอกภาพแล้ว จะปกครองคนในสังคมได้อย่างไร ถ้าคุณเห็นว่าสิ่งใดไม่ถูกต้อง คุณสามารถชี้แจงต่อสังคมได้ ถ้ามีเหตุที่ดีพอ และมีความเป็นไปได้  ถ้าสังคมยอมรับสังคมก็จะคล้อยตามคุณ ถ้าสังคมไม่ยอมรับ คุณก็ต้องคล้อยตามสังคม

    ตราบใดที่ความเห็นคุณยังไม่ถูกลบ แสดงให้เห็นว่า คุณยังไม่ได้ละเมิดกติกาของสังคมนี้ หากความเห็นใดๆ ที่ถูกลบ แสดงว่า ความเห็นนั้นไม่ผ่านกติกา

    หนึ่งคน หนึ่งความคิด ร้อยคนร้อยความคิด ร้อยความต้องการ ต่างคนต่างเรียกร้องความต้องการของตน ต่างคนต่างแหกกฎเกณฑ์ อ้างว่าเป็นเสรีภาพที่พึงมีตามระบอบประชาธิปไตย แบบนี้ใครพอใจจะทำอะไรก็ได้ โดยที่ไม่ต้องสนใจกฎหมาย แบบนี้จะมี กฎหมาย และ รัฐธรรมนูญไว้ทำไมกัน ต่างคนก็ต่างร่างสิ่งที่ตนพอใจ เป็นรัฐธรรมนูญส่วนตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องสนใจสังคม

    ฝากพิจารณาด้วยครับ

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 00:42:01

    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 8 ก.ย. 50 00:24:23 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 193

    ผมคิดว่าคุณเข้าใจผิดนะ คุณ seabreeze PSU และคุณปุระชัย เอาเป็นว่าถ้าผมละเมิดสิทธิอะไรของคุณแรงไป ขออภัยด้วยก็แล้วกัน

    ผมชี้ให้เห็นว่า เมื่อคุณต้องการ accountability และสิทธิแล้ว ทำไมคุณต้องเอาเรื่องเดือดร้อนไปใส่หัวคนอื่น มิหนำซ้ำยังกระทบกระแทกเสียดสีด่าเขาอีก

    พูดตรงๆก็คือ โดยเนื้อแท้แล้วเรื่องประวัติศาสตร์ อาจารย์ปรีดี หรืออื่นๆที่คุณยกมา ผมเห็นด้วยกับพวกคุณนะ

    แต่ผมไม่ชอบให้คุณกล่าวหาเว็บบอร์ดสาธารณะที่คนหมู่มากอาศัยอยู่ และมีบุคคลต้องรับผิดชอบกับการกระทำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายของพวกคุณครับ

    สมมติว่ามีคนมาอาเจียนในร้านค้าของคุณ ถ่มน้ำลายใส่หน้าคุณแล้ววิ่งหนี ส่งกลิ่นเหม็นตลบอบอวล มากเข้าๆคุณจะเช็ดจะล้างยังไงก็ไม่ไหว จนตำรวจมาจับคุณที่เป็นเจ้าของร้านฐานกลิ่นเหม็นของร้านรบกวนเพื่อนบ้าน คุณจะว่ายังไงละครับ

    ผมล่ะเหนื่อยใจแทนความคิดเห็นดีๆของคุณบุญชิตฯ คุณอันตราคนี คุณฮกหลงฯ ที่ต้องมาแปดเปื้อนกับการอ้างซ้ายอ้างขวาหาสิทธิเสรีภาพแบบซ้ายไร้เดียงสาเปิดตำราเถียงเสียจริง จะว่าผมขวาตกขอบ ก็ลองเสิร์ชความเห็นด้วยอมยิ้มชื่อผมดูนะ

    ท่านผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ เขียนบทความเกี่ยวกับประชาธิปไตยไว้ว่า
    http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=4&d_id=3

    ทรรศนะประชาธิปไตยเป็นทรรศนะที่เกิดขึ้นจากสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่จะต้องสัมพันธ์กันอยู่เป็นกลุ่มชน หรือสังคม หรือเป็นชาติ   ไม่มีบุคคลใดจะอยู่โดดเดี่ยวโดยลำพังได้   มนุษย์จึงต้องมีทรรศนะที่เป็นหลักนำความประพฤติของตนเพื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์อื่นในชาติเดียวกันเพื่อให้ชาติดำรงอยู่และเพื่อพัฒนาเติบโตก้าวหน้าต่อไปได้   ทรรศนะประชาธิปไตยจึงเป็นทรรศนะที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งประโยชน์ส่วนรวมของปวงชน  แม้ว่ามนุษย์มีเสรีภาพส่วนบุคคลตามธรรมชาติ  แต่มนุษย์ก็มีหน้าที่ตามธรรมชาติในการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อมิให้เสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่น และเพื่อให้ชาติดำรงอยู่กับเติบโตพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้   ดังนั้นตั้งแต่ยุคปฐมกาลจึงมีธรรมจริยาซึ่งมนุษย์มีจิตสำนึกตามธรรมชาติที่จะต้องใช้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมิให้เป็นที่เสียหายแก่เพื่อนมนุษย์อื่นและแก่ส่วนรวมของกลุ่มชน

    การที่คุณมาโวยวายฟาดงวงฟาดงาใส่พันทิป ทั้งๆที่ตอนนี้กระทู้และความคิดเห็นดีๆจำนวนมากไม่ถูกลบ ก็เหมือนกับที่อาจารย์ปรีดีกล่าวว่า กลายเป็นเสรีปัจเจกนิยมเสพย์สุขเฉพาะตน คุณด่าพวก Ultra-rauyaliste ว่าอย่างไร คุณกลับสถาปนาอภิสิทธิ์ที่จะคิดเฉพาะกลุ่มของคุณขึ้นมาเสียเองแล้ว เหมือนกันมิมีผิด

    อย่าสักแต่อ้างอาจารย์ปรีดี อาจารย์ป๋วย นักเลย
    อ้างจนแทบไม่ต่างกับพวกที่คุณด่าอ้างสิ่งที่เขาเทิดทูน
    ทุกท่านเป็นคนดีที่มีจุดดีจุดด้อย ไม่ใช่เทพ ทั้งหมดนั่นแหละ(คงเข้าใจสารที่ผมต้องการสื่อนะ)

    ส่วนที่กล่าวหาอื่นๆว่าถ้าผมอยู่ช่วง 6 ตุลา คนจะตายมากกว่านี้ ฯลฯ ผมไม่ถือครับ พูดมาเถอะ สิทธิของคุณ ผมไม่เอาเป็นอารมณ์ ขอแค่คุณจับประเด็นไปพิจารณาดูดีๆก็แล้วกัน คนอื่นที่คุณอ้างอย่าง คุณMaskedV คุณลูกแม่โดม เขายังรู้จักขอบเขต และใช้วรรณศิลป์ ทักษะการเขียนพลิกแพลงเปรียบเปรยให้เห็นได้ในกรอบที่เหมาะสม แต่เนื้อความไม่ขาดตกบกพร่อง ผมภาวนาให้คุณทั้งสองพัฒนาลักษณะการสื่อสารออกมาให้ดีขึ้น เพื่อดำรงอุดมการณ์ก้าวหน้าในโลกจอมปลอมใบนี้อย่างที่พวกคุณตั้งใจแล้วกัน(ถ้าคุณมีเจตนาบริสุทธิ์และเชื่ออย่างนั้นจริง)

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 05:50:02

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 05:47:32

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 05:37:16

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 05:24:02

    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 8 ก.ย. 50 05:14:41 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 194

    เรียนคุณฮกหลง

    หายไปสองสามวันคงไม่ว่ากัน คราวที่แล้วพิมพ์ที่มหาลัยเลยไม่มีฟอนท์ไทย ต้องขอโทษด้วยนะคะ

    ที่คุณพูดมาเราก็เคยคุยกับคนอื่นๆที่เว็บบอร์ดอื่นๆ มาบ้างเหมือนกัน แต่เอามาที่นี่มันพูดยาก บทความที่คุณลิงค์ไปนั้น เรายังไม่เคยเห็นเหมือนกันค่ะ ต้องขอบคุณที่ลิงค์มาให้อ่าน

    ต้องออกตัวก่อนว่าเป็นนักวรรณคดีนะคะ (ที่โดนเสียดสีนะแหละ แต่ขอมาแก้ข้อกล่าวหาทีหลัง) อาจจะพูดในแง่รัฐศาสตร์แล้วออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ (ขอบอกว่าเลือกใช้คำที่จะไม่โดนลบได้ยากมากๆ)

    1. the king has no action เดี๋ยวพูดไปพูดมาจะโดนต้อนเข้าประเด็นที่หนังสือ tkns พยายามอ้าง เอาเป็นว่าที่ผ่านมา สังคมไทย "ทำให้" คิงต้องเลือกบทบาทที่มี impact ต่อการเมือง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงกม.ไม่อำนวยและไม่ตรงหลักรัฐศาสตร์ แต่สังคมกำลังเปลี่ยนไปค่ะ ถ้าสังคมเราเปลี่ยนไปในทางที่ดี ประชาธิปไตยเข้มแข็งพอ สถาบันก็น่าจะ "ลด" การมี impact อย่างที่เคยมีมา แต่ถ้าไม่ มันก็จะกลายเป็นเหตุผลให้บรรดาอำมาตย์เรียกร้องถวิลหา impact ของสถาบัน
    2. เราไม่อยากตั้งสมมติฐานมากมายอย่างในเว็บอื่นๆนะคะ เพราะเราถือว่า เราไม่ได้ไปเห็นกับตา บางอย่างสันนิษฐานไปแล้ว ไม่จริง มันอาจจะกลายเป็นมโนทุจริต เป็นบาปเป็นกรรมกันต่อไป แต่สิ่งที่เราเห็นได้ก็คือ สถาบันท่านไม่ได้ออกมานานแล้ว แต่ช่วงนี้คงเห็นว่าท่านออกมาบ่อย และหลายครั้งบรรดาผู้เก่งกล้าทั้งหลายก็ร่วมมือกันหาข้อผิดพลาดใน speech ของท่านกันเป็นอย่างดี จริงๆก็ดีในแง่ที่ว่าเราได้ความรู้มากขึ้น แต่ในอีกแง่นึง...เอาเป็นว่าพูดถึงอากงเราละกัน อากงเราเสียตอน 77 ซึ่งก่อนท่านจะเสียเนี่ย พูดจาลำดับความได้วกวน ไม่เหมือนเมื่อก่อน คนสูงอายุก็เป็นอย่างนี้ละค่ะ ความเฉียบคมที่เคยมีมันไม่เหมือนเดิม แต่ถ้าเป็นอากงของเรา เราก็พร้อมที่จะเข้าใจและไม่คิดอะไรมาก แต่คนอายุ 80 บางคนไม่ได้สิทธิ์นั้น เพราะทุกคนคาดหวังความถูกต้อง (แต่คุณก็อาจย้อนได้ว่า ก็อยู่อย่างผู้สูงอายุควรจะอยู่สิ) เรากลับคิดว่า คนเราไม่ว่าจะอยู่ในสถานะหัวโขนไหนก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เราจึงคิดว่าเราน่าจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ท่านพยายามจะสื่อมากกว่าไปนั่งจับผิด (แต่ถ้าเราเป็นนักวิชาการ เราต้องระวังทุกคำที่พูดค่ะ เพราะมันเป็นหัวโขนของเรา)
    3. อันนี้เราไม่รู้ แต่เป็นสิ่งที่เราสงสัย ว่าภาพลักษณ์ที่ดีทุกด้านนั้นเป็นภาพลักษณ์ที่สถาบันหรือ "ประชาชน" เป็นผู้สร้าง (ใน tkns คงบอกว่าเป็นสถาบัน) ใครเป็นผู้สร้าง รวบรวม และทำซ้ำ วาทกรรมอันนี้ และวาทกรรมนี้ยังทรงอำนาจอยู่ได้อย่างไร
    4. ต่อจากข้อที่แล้ว นักวิชาการมักลืม ว่าวาทกรรมเป็นแค่กลุ่มก้อนของภาพแทน หรือ representation ไอ้ความจริงเป็นไง ป๋า Foucault ก็คงตอบไม่ได้ เพราะแกคิดระเบียบวิธีนี้ให้เป็นแบบนี้ จนหลายครั้งนักวิชาการเกิดอาการ "เมา" วาทกรรมเสียเอง โยงกันจนวาทกรรมจะกลายเป็นความจริงอยู่แล้ว เอาเป็นว่าถ้าคุณไปถามคนที่เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เคยได้สัมผัสจริงๆ คนเหล่านี้ก็ต้องรู้สึกดีต่อสถาบันอย่างแน่นอน และคนเหล่านี้ก็มีชีวิตที่ดีขึ้นจริงๆ แต่นักวิชาการสาย Foucault จะมองคุณงามความนี้เป็นภาพแทนของการใช้อำนาจหมด ซึ่งเราอยากย้อนถามไปว่า จำเป็นไหมที่คุณต้อง politicise การกระทำทุกอย่างให้เป็นวาทกรรม ??? (ข้อแย้งนี้ นักวิชาการสาย Foucault โดนตั้งคำถามกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะ Edward Said)
    5. fascist desire จริงๆเหมือนจะมีกันอยู่แทบทุกชาตินะ ตัวอย่างมีตั้งแต่ระดับฮาร์ดคอร์ อย่าง เหมาเจ๋อตุง ไปถึงระดับซอฟท์คอร์ อย่างเจ้าหญิงไดอาน่า หรือแม้แต่ God ก็เป็น figure อย่างหนึ่ง เรายังหาสังคมที่ทุกคนเป็นปัจเจกนิยมจริงๆไม่ได้เลย ทุกสังคมต้องการ figure บางอย่างที่เค้าสามารถ project ความอยากมีอยากเป็น สร้างให้มันเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เราคงปฏิเสธความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์ไม่ได้ แต่อาจจะพัฒนาระดับ dependency ต่อ icon ให้ซอฟท์ลงได้ด้วยวิธีการทาง socialisation หลายอย่าง

    ไม่รู้ว่าตอบคำถามหรือเปล่า แต่คงตอบตรงๆหมดไม่ได้นะคะ หวังว่าคงเข้าใจ

    ปล. นักวรรณคดีไม่ได้เพ้อฝันนะคะ โดยเฉพาะนักวรรณคดียุคใหม่ เราวิจารณ์วรรณคดีโดยอิงทฤษฎีหลายอย่างค่ะ แต่ถ้าอธิบายมากเดี๋ยวจะนอกเรื่องไป

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 05:56:58

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 05:52:53

    จากคุณ : Sa-idian - [ 8 ก.ย. 50 05:50:30 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 195

    ถึงคุณ โกฏิดารา Re 193 ครับ


    ผมคิดว่าอาจมีการเข้าใจผิดอะไรอยู่บ้าง ในการสื่อสารของผม ดูเหมือนคุณจะเข้าใจว่าผมเป็นพวกซ้ายจัด จนรังเกียจพวกขวาจัด แต่จริงๆ ไม่ใช่เลยครับ เพราะจริงๆ แล้วผมไม่เข้าข้างทั้งสองฝ่าย เพราะเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายก็มีเหตุผลของตัวเอง และยึดมั่นในสิ่งที่ตัวเองเชื่อทั้งนั้น แต่สิ่งที่ผมต้องการมากที่สุด คือการยอมรับความคิดที่แตกต่าง และยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ร่วมกันต่างหาก


    โดยส่วนตัว ผมไม่เคยกล่าวหาพันธ์ทิพย์ครับ ว่าเป็นฝ่ายไหน หรือเข้าข้างใน เพราะเข้าใจดีกว่า เรื่องของสถาบันเป็นเรื่องที่อ่อนไหวเกินกว่าพูดในที่สารธารณะ แล้วประเทศไทยยังมีกฏหมายหมิ่นฯ อยู่อีก ทำให้การพูดเรื่องนี้เป็นเรื่องต้องห้ามไปเลย


    ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ กับความเห็นของคุณครับที่ว่าคนทุกคนเป็นมนุษย์ธรรมดา มีจุดดีจุดด้อย ไม่ใช่สมุมติเทพ แต่เชื่อมั้ยครับว่า ณ ตอนนี้ยังมีคนอีกมากที่มองว่าในหลวงมีแต่จุดดี ไม่มีข้อด่างพร้อยใดๆ ดังนั้นการกล่าวๆ ใดๆ เกี่ยวกับในหลวงจะต้องเป็นไปทางที่ดีเท่านั้น ห้ามไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ใดๆ แม้ว่าการวิพากษ์วิจารณ์นั้นจะตั้งอยู่บนเหตุและผลทั้งสิ้น คำถามสำหรับผมคือเป็นไปได้หรือครับที่คนๆ หนึ่งจะมีแต่ด้านดี สมบูรณ์พร้อมไปทุกอย่างแต่ไม่มีข้อเสียใดๆ เลย


    สำหรับผม สิ่งที่ผมต้องการไม่ใช่การล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงสถาบันครับ เพราะผมเชื่อว่าสถาบันยังมีความจำเป็นหลายๆ อย่างในสังคมไทย เพียงแต่ต้องการให้มีการตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์กันด้วยเหตุผลเท่านั้นครับ การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะคงได้อยู่ได้มั่นคง ต้องผ่านการตรวจสอบ ดังที่เคยมีคนกล่าวว่า


    "การจะได้เหล็กเนื้อดีนั้น เหล็กต้องโดนความร้อนสูง ต้องผ่านการตี และต้องมีการขัดเงา เราถึงจะได้เหล็กชั้นดี"


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 8 ก.ย. 50 07:07:32 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 196

    ขอบคุณคุณ Sea breeze ครับที่เข้าใจประเด็น
    และผมก็คงเข้าใจคคห.คุณผิดไปหน่อย เพราะอยู่ต่อจากคคห.ของคุณปุระชัยพอดี อันนี้ผมยอมรับผิดครับ

    คุณ Sa-i dian ถกกับคุณฮกหลงฯ กำลังถึงเรื่องที่น่าสนใจเลยครับ เรามาติดตามอ่านผู้รู้คุยกันดีกว่า

    ส่วนเรื่องวิพากษ์วิจารณ์นั้น สำหรับผมขอเป็นตามเนื้อผ้า ไม่เอาวาทกรรมอำนาจ Propaganda Conspiracy Theory หรือ การสร้างภาพ มาวิจารณ์ดีกว่า สิ่งที่เห็นและเป็นไปในชาติบ้านเมืองที่เราประสบพบเห็น ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวมันเอง และผู้ตัดสินคือคนรุ่นหลังแหละครับ

    ความเท็จมิอาจปิดบังความจริงไว้ได้ ต่อให้เป็นร้อยเป็นพันปี ความจริงย่อมเปิดเผยตัวมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยความเท็จใหม่ไปอิงความจริงหรอกครับ


    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 8 ก.ย. 50 07:57:26 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 197

    กลับมาดูอีกที ผมเห็นว่าเรามาเยี่ยมบ้านหรือสถานที่ของผู้อื่น ถึงแม้บ้านนั้นจะตั้งใจให้เป็นที่พบปะสังสรรค์ และมีคนจำนวนมากผ่านเข้ามาจนเติบโตมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ซึ่งจะบอกว่าผู้มาเยี่ยมทั้งหลายช่วยสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นมานั้นก็ถูก

    ]แต่ก็ควรหรือที่ผู้มาเยี่ยมกลุ่มหนึ่งๆ จะใช้เป็นเหตุอ้างลำเลิกบุญคุณ เพื่อมาก่อความวุ่นวาย ฝ่าฝืนกฎ-ข้อตกลงที่ผู้ดูแลบ้านวางเอาไว้ (และเป็นกฎข้อแรกเสียด้วย) ตามใจชอบ โดยอ้างว่ากฎมันไม่เสรี ไม่ประชาธิปไตย คนอื่นๆ ในบ้านมีแต่พวกขวาตกขอบ ฯลฯ ?

    ที่ผมเห็น มันเป็นคำว่า ซ้ายพยาบาท แล้ว ไม่ใช่แค่คำว่า ซ้ายไร้เดียงสา เพราะหลายๆ คน โพสมานอกจากเนื้อหาแหกกฎข้อแรกของสถานที่อย่างชัดๆ แล้ว แต่ละถ้อยคำยังเต็มไปด้วยอารมณ์ระคายเคือง ทิ่มแทง เกรี้ยวกราด เกลียดชัง เหมือนกับคายพิษออกมากับตัวอักษรใส่คนอื่นๆ ในที่นี้แบบไม่เลือกหน้า พวกเขาผิดอะไร? คุณเอาคนอื่นๆ มาเป็นทาสรองรับอารมณ์ของคุณแบบนี้ เพราะคุณเห็นว่าคุณเป็นตัวแทนของฝ่ายซ้ายผู้มีอุดมการณ์เพื่อเสรี สังคม มวลชน ในขณะที่คนอื่นๆ ที่ไม่ได้เอนเอียงไปทางคุณทั้งหมด เป็นฝ่ายขวาตกขอบ เป็นพวกรับใช้ศักดินา จึงสมควรแล้วที่จะโดนแบบนี้ อย่างนั้นใช่หรือไม่?

    และในเมื่อมีคนเรียกร้องมา เพราะฉะนั้นผมจะขอให้ความเห็นในประเด็นเรื่องสถาบันอีกแค่อย่างเดียวพอ แล้วจะขอไปประเด็นเศรษฐกิขพอเพียงและอื่นๆ

    ผมอยากจะเสนอมุมมองเช่นนี้ว่า การที่เรามีกลุ่ม "ผู้บริหาร" ของชาติที่ทำงานการเมือง สัมผัสกับอำนาจรัฐและทรัพยากรของรัฐโดยตรง เป็นนักการเมืองที่เราตรวจสอบได้ วิพากษ์ได้ ชมได้ ด่าได้ ประท้วงได้ เขียนการ์ตูนล้อในหน้า นสพ. ได้ ฯลฯ เต็มที่ (ในขอบเขตของความเป็นบุคคลสาธารณะ) และในขณะเดียวกันก็มี "สถาบันประมุข" ของชาติที่จัดวางไว้บนหิ้งเป็นที่เคารพสักการะ เป็นหน้าตาของสังคม เป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่คนส่วนมากจะกราบไหว้ได้อย่างสบายใจไม่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองเป็นอย่างไร และเป็นเสียงที่สามารถชี้ขาดให้ทุกคนฟังในสภาวะวิกฤต เช่นเวลาที่คนแบ่งกันเป็นฝักฝ่าย พากันถือหางนักการเมืองโจมตีกันเองและไม่มีฝ่ายไหนจะยอมรับอำนาจของอีกฝ่ายหนึ่งโดยเด็ดขาด

    ...มันก็เป็นภูมิปัญญาหรือวิธีการหนึ่งของสังคมที่ดูสมเหตุสมผลดีไม่ใช่หรือ?


    จากคุณ : QuaOs - [ 8 ก.ย. 50 08:02:29 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 198

    เนื่องจากคุณ โกฏิดารา และ คุณ QuaOs พูดได้สมควรแล้ว จะไม่ขอเพิ่มอะไรมากนอกจากประเด็น Fascist desire สักเล็กน้อย

    กลุ่มซ้ายพยาบาทที่นึกตัวเองเป็นนีโอ ร้อนวิชา ถือตัวว่าตัวเองฉลาดกว่าคนไทยทั้งประเทศ ต้องปลดปล่อยประชาจาก Matrix โดยการพูดก้าวร้าวูแบบไม่ฟังใคร มันต่างอะไรจากฝ่ายขวาตกขอบเหรอครับ?

    ทั้งสองฝ่ายต่างก็คิดว่าตัวเองถูกสุด เจ๋งสุด รู้วิธีที่จะช่วยโปรดคนไทยผู้ไร้สมอง งอมืองอเท้ากันทั้งคู่ แต่สุดท้ายก็จับมือเดินไปในทาง Fascist desire ด้วยกันทั้งคู่นั่นแหละ

    เราต้องหาทางให้ความแตกต่างอยู่ร่วมกันในสังคมได้ โดยไม่เหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายต่างหาก

    ถามว่าทุกวันนี้ มีอะไรมาเขวี้ยงใส่กันนอกจาก Propaganda สกปรกให้บุคคลอย่างพระองค์ท่าน อาจารย์ป๋วย อาจารย์ปรีดี ต้องมาแปดเปื้อนไปด้วยครับ?


    จากคุณ : The Repentant - [ 8 ก.ย. 50 08:18:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 199

    กระทู้ดี กระทู้เยี่ยม เราชอบมากๆ

    ปล.
    ตอนนี้ ผมยืน คนข้างๆยืน
    อีก 5 ปี ผมว่าผมก็คงยืน และคนข้างๆ ก็คงยืนเป็นเพื่อนผม
    แต่อีก 10 ปี ผมว่าผมยืนนะ แต่ผมไม่แน่ใจคนข้างๆ แล้วละ
    แล้วอีก 20 ปีละ 30 ปี 40 ปี จะเป็นไงบ้าง
    และอีก 50 ปี ผมว่าผมคงไม่ยืนแล้ว เพราะผมคงยืนไม่ไหว

    ปล. ของ ปล. ยืนทำอะไร คิดเอาเอง


    จากคุณ : SCKP - [ 8 ก.ย. 50 09:10:34 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 200

    ตั้ง 199 ความคิดเห็นแล้ว มาใช้เว็บเขาก็ต้องรักษากติกาตามเขานะครับ เห็นด้วยว่า เรื่องละเอียดอ่อนแบบนี้ ถ้าไม่ใช้เหตุผล ก็ไม่จบ....  ฉะนั้น เข้าบ้านเขาแล้วก็รักษาความสงบเรียบร้อยให้เจ้าบ้านเขาด้วยดีกว่านะครับ...

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 11:50:33

    จากคุณ : ลิงสยาม - [ 8 ก.ย. 50 11:35:18 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 201

    ปัญหาของผมคือ อยากเลิกตอบแล้ว เพราะรู้สึกพูดไปหมดแล้ว
    และผมไม่ได้จะมาโน้มน้าวใคร และผมก็ไม่ได้อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกแผ่นดินอะไร

    ไม่เชื่อถามพวกเพื่อนๆผมดู (ถ้าท่านอยู่ในวงการเดียวกัน) ผมพูดเสมอว่า
    ผมอยากให้ทุกคนอยู่ด้วยกันได้ คือ คนที่รักที่ชอบ ก็ทำกิจกรรมของเขาไป
    นั่งรอดูข่าวตอนสองทุ่ม น้ำตาไหล งดงามมากค่ะ/ครับ พูดคุยสนทนา
    กันในเวบไซต์ ฯลฯ ลักษณะเหมือนแฟนคลับ

    ปล. ผมเพิ่งเห็นกระทู้ดังอีกกระทู้ที่ไม่ได้เป็นกระทู้โหวต แต่แสดงความเป็น
    "แฟนคลับ" ของผู้นิยมได้อย่างดี น่ารักทีเดีบว

    คนไม่ชอบก็ไม่ชอบ ก็แสดงความไม่ชอบได้เสรี ไม่มีใครว่าอะไร
    ไม่มีพวกตั้งกระทู้ว่าใครไม่ยืน ไม่ใช่คนไทย แต่คนกลุ่มนี้ก็ไม่มีสิทธิด่าว่า
    หรือจาบจ้วง เพราะผมถือว่าเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
    ของทั้งฝ่ายผู้ถูกจาบจ้วง และฝ่ายที่รัด

    ผมอยากเห็นจุดแค่นี้เท่านั้นเอง คือจุดที่ทุกเสรีภาพได้รับการเคารพ
    และยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นรสนิยม ไม่ใช่หน้าที่

    แต่ที่คันมืออยากมาตอบ คือ คห. 197 ครับ
    แต่ไม่รู้จะตอบยังไงไม่ให้โดนลบ ไม่รู้จะเอาไงดี

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 12:31:52

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 12:28:20

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 8 ก.ย. 50 12:27:36 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 202

    อำนาจบริสุทธิ์ ที่คุณเจ้าของความเห็น 197 เสนอมานั้น
    มันมีจุดเปราะบางตรงที่ว่า "คนต้องเชื่อมั่นว่าอำนาจนั้นเป็นอำนาจบริสุทธิ์"
    เมื่ออำนาจบริสุทธิ์ เราก็ไม่อยากแตะต้องให้สิ่งนั้นมัวหมอง

    ประดุจมีโคมทองไว้ให่เห็นในโลกที่มืดบาง สว่างบ้าง

    ปัญหาในตอนนี้ ที่มีคนสงสัยมากๆ เพราะเรื่องนี้นั่นเอง คือเราเคยเชื่อว่ามี
    อำนาจบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ที่เอาไว้กราบไหว้ได้สนิทใจ อยู่เหนืออำนาจ
    ที่ต้องตรวจสอบหรือวิพากษ์วิจารณ์

    แต่ทำไปทำมา เพราะอะไรก็ตามแต่ ทำให้ความเชื่อนั้นเริ่มสั่นคลอนไป
    ซึ่งตรงนี้ ผมวิเคราะห์ว่ามาจากการที่ฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
    เพราะมีฝ่ายที่สามารถอ้างอำนาจบริสุทธิได้ อ้างอำนาจเช่นว่านั้น
    มาให้โทษแก่เขา แต่กลับให้คุณแก่ฝ่ายอ้างได้

    เมื่อมีคนรู้สึกเช่นนั้นมากๆ อำนาจบริสุทธิ์ก็ถูกตั้งคำถามว่า บริสุทธิ์จริงหรือ

    ที่มามันก็เป็นเช่นนี้

    ทางแก้ปัญหา คือต้องห้ามทุกทาง ไม่ให้มีการอ้างอำนาจบริสุทธิ์ ในทางให้คุณให้โทษอีก

    ซึ่งตรงนี้ก็ไม่รู้ว่า อำนาจบริสุทธิ์ อยากให้ทำเช่นนั้นหรือไม่เหมือนกัน
    การตั้งคำถามของผู้คนมันเลยไปไกลแล้ว ไปจนถึงกลายเป็นว่า
    อำนาจบริสุทธิ บริสุทธิจริงหรืออย่างที่กล่าวไป
    (ซึ่งหลายกรณีก็เกินเลยไป เป็นการคลั่งทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดกันไปเลย)

    ตอนนี้ผมว่ามันบานปลายจนกลับยากเสียแล้ว...

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 12:33:46

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 8 ก.ย. 50 12:31:06 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 203

    คำพูดเรื่องดาบดีต้องถูกตี ถูกเผา #195
    เป็นคำพูดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานต่อคุณสุมเธ ตันติเวชกุล ครับ

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 12:36:45

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 8 ก.ย. 50 12:36:26 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 204

    เรียนความเห็นที่ 197 สั้น ๆ ครับว่า

    "สถาบัน" ที่คุณว่าก็เป็นผู้ที่สัมผัสกับอำนาจรัฐและทรัพยากรของรัฐโดยตรงเช่นกัน...


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 8 ก.ย. 50 13:57:40 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 205

    คำว่าสถาบันนั้นคงไมได้หมายถึง King อย่างเดียวกระมังครับ คงต้องหมายถึง ลูกๆ และ ญาติๆ ของ King ด้วย

    ตัว King เองนั้นคงต้องยอมรับว่า OK มากที่สุด

    แต่เรื่องต่างๆที่คนวิจารณ์กัน ทั้งที่เห็นอย่างชัดแจ้ง และอื่นๆ ซึ่งทำให้สถาบันหน่นหมองลงนั้นคงเป็นเรื่องของญาติของ King นะครับ

    มันเป็นเรื่องของบุคคล น่ะ


    จากคุณ : oscilated - [ 8 ก.ย. 50 15:12:32 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 206

    เรียนคุณ Sa-idian ครับ

    1. ผมมองว่า ถ้าหากมองผ่านมุมมองทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว มีความพยายามอย่างต่อเนื่องของพวก royalist นับตั้งแต่หลัง 2475 เป็นต้นมา ที่จะดึงสถาบันกลับมามีบทบาททางการเมือง ข้อเสนอหนึ่งที่ใช้อธิบายเรื่องการสละราชย์ของร.7 คือการที่ท่านพยายาม..."ทวงคืนพระราชอำนาจ"...จากพวกกลุ่มปรีดี แต่ไม่สำเร็จ (ซึ่งโยงถึงเรื่องการจัดการทรัพย์สินของคิงด้วย...แต่ผมไม่แม่นข้อมูลและอาจนอกประเด็นไปจึงไม่ลงไปตรงนี้) จากที่เคยใช้การสละราชย์เป็นคำ"ขู่" จนต้องสละราชย์ไปจริง ๆ (ผู้เสนอไอเดียนี้คือ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง")

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กลุ่มปรีดีต้องกลับไป "คืนดี" กลับกลุ่มนิยมเจ้าในการต่อ

    ต้านญี่ปุ่น หลังสงคราม กล่มนิยมเจ้าได้ "หักหลัง" ปรีดีด้วย "ปรีดีฆ่าในหลวง..." และการทำรัฐประหารในปี 2490 แต่ผู้ที่นำสถาบันกลับมามีบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจนที่สุด คือรัฐบาลสมัยสฤษดิ์ ที่หันไปร่วมมือกับสถาบันเพื่อสร้างความชอบธรรมในการยึดอำนาจของตัวเอง ขณะเดียวกัน สถาบัน (และบุคคล) ก็ต้องหันมาร่วมมือกับสฤษดิ์ในการสถาปนาอำนาจของตัวเอง
    ผ่านองค์การการกุศลต่าง ๆ (เคยมีวิทยานิพนธ์ศึกษาเรื่อง NGO เจ้ากับการสถาปนาพระราชอำนาจนำ...ผมจำชื่อคนเขียนและชื่อวิทยานิพนธ์ได้ไม่ชัด แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นของคณะสังคมวิทยาฯธรรมศาสตร์)และสมัยนั้น การสร้างคอมมิวนิสต์ให้เป็นปิศาจ (รวมไปถึงปรีดีก็กลายเป็นปิศาจทางการเมืองเช่นกัน) สร้างความหวาดกลัวให้กับรัฐบาล, ชนชั้นกลาง และ สถาบันเป็นอย่างมาก

    เราอาจกล่าวได้ว่า partnership ระหว่างสฤษดิ์และ "ท่าน" นั้น สฤษดิ์เป็น senior-partner ส่วนท่าน-ในฐานะผู้ที่พึ่งพิงอาศัยสฤษดิ์ในการก้าวขึ้นสู่ความนิยม-เป็น junior-partner พอสมัยถนอม ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับ "ท่าน" ได้มาเปลี่ยนมาสู่ลักษณะที่ "เท่ากัน" มากขึ้น คือ "ท่าน" มีการเริ่มพูดวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลด้วย แต่ก็ยังต้องพึ่งพิงอาศัยอำนาจซึ่งกันและกันอยู่

    การก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด ในเชิงความนิยมนั้น อาจกล่าวได้ว่า มาจากความพยายามในการล้มรัฐบาลเผด็จการทหารโดยหยิบยกวาทกรรม ราชาชาตินิยม-ประชาธิปไตยขึ้นมาเล่นงานในช่วง 14 ตุลาฯ และวาทกรรมดังกล่าวนั้น ผมมองว่าเป็นเพดานทางความคิดทางการเมือง/ประวัติศาสตร์ของสังคมไทยมาเป็นเวลานาน (สำหรับประเด็นนี้ ผมได้นำไอเดียมาจากหนังสือของประจักษ์ ก้องกีรติ "และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ..." เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ 14 ตุลาฯที่ดีที่สุดครับ)

    ถามว่าที่ผ่านมานั้น คิงได้เลือกบทบาทอะไรบ้างที่มี impact ต่อการเมืองไทย? เราจะเห็นได้ตั้งแต่สฤษดิ์เป็นต้นมา case study ที่ผมใช้บ่อยที่สุดคือ กรณี 6 ตุลาฯ หากลองไปพลิกหนังสือพิมพ์เก่า ๆ ดูในช่วงนั้น จะเห็นบทบาทต่าง ๆ ของทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดีว่า ใครอยู่ฝ่ายไหน โดยมีบทบาทอะไร และมีแรง impact ขนาดไหน?

    หรืออย่างกรณีประชาธิปไตยครึ่งใบสมัย "ป๋า" ไปจนถึงกรณี "เมษาฮาวาย" สังคมไทยทำให้คิงต้องมีบทบาททางการเมือง "ขนาดนั้น" หรือ? (โอเค...เรื่องนี้คงเถียงได้อีกนาน)
    โดยสรุปคือ ผมมองว่า "บทบาท" ต่าง ๆ ที่ผ่านมานั้น ไม่ได้เป็นผลดีต่อประชาธิปไตย
    เลยแม้แต่น้อย และสถาบันได้ควร "ลด" บทบาทครับ สถาบันควร "ปราศจาก" บทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิงต่างหาก...

    2. ซึ่งเชื่อมโยงกับข้อแรกอยู่ด้วย ผมว่าเราเห็นตรงกันในระดับหนึ่งแล้วนะครับว่า "ท่าน" เป็นมนุษย์ที่มีข้อผิดพลาดได้เป็นปกติ ดังนั้น กระบวนการ check and balance หรือหากใช้แบบดร.หยุด แสงอุทัย นั้น power ต้องมากับ accountability หรือหากเป็น model แบบอังกฤษคือ speech ของคิงต้องได้รับการตรวจสอบจาก "ตัวแทนประชาชน" (ซึ่งผมเห็นด้วยมาก ๆ)

    ในช่วงหลัง ๆ มานี้ ผมไม่เห็นด้วยและมีปัญหากับหลาย ๆ สิ่งที่ "ท่าน" ออกมาพูด และหลาย ๆ สิ่งที่ท่านพูดมานั้น มี impact ทางการเมืองมหาศาลไปในทางที่ผมมองว่า ไม่เป็นผลดีต่อประชาธิปไตย...(และมันก็จะเข้ามาสู่ประเด็นเดิมว่า สรุปแล้ว เจ้าของประเทศอย่างผมสามารถวิพากษ์วิจารณ์/ตรวจสอบ/คัดค้าน "ท่าน" ได้หรือไม่???)...และอาจนำไปสู่ประเด็นที่ว่า คิงในระบอบเสรีประชาธิปไตยควรมีความเห็นทางการเมืองอย่างเป็นสาธารณะหรือไม่???

    3. เรื่องใครเป็นผู้สร้างภาพลักษณ์นั้น...ผมขออนุญาตใช้คำอธิบายแบบ Louis Althusser (ปกติผมเบื่อ ๆ อีตานี่พอควร แต่ในกรณีนี้ผมเห็นว่า คำอธิบายแบบ Althusser นั้นเข้าท่าดีอยู่เหมือนกัน) ที่พูดถึง กลไกอุดมการณ์ของรัฐ ซึ่ง "รัฐ" ในที่นี้ผมรวมไปถึง "ท่าน" และ "สถาบัน" ด้วย และแน่นอน กลไกของรัฐอื่น ๆ ที่ในแง่หนึ่งแล้ว มีลักษณะกดทับทางอุดมการณ์อยู่มาก
    ผมเสนอว่า ผู้สร้าง/รวมรวบ/ผลิตซ้ำอุดมการณ์ (วาทกรรม?) ดังกล่าวคือตัวสถาบันและรัฐบาลเองในช่วงหลังปี 2500 เป็นต้นมาผมเคยเห็นหนังสือพิมพ์ช่วงก่อนปี 2500 พาดหัวข่าว "ด่า" ท่านประมาณว่า ระวังนรกจะกินกบาล...(อันนี้ผมกล่าวจากความทรงจำนะครับ) เราอาจกล่าวได้ว่า อุดมการณ์ (วาทกรรม?) "อันแต่ต้องไม่ได้" นั้น เป็นสิ่งที่ "เพิ่งสร้าง" ขึ้นมาหลัง
    2500

    ความทรงพลังนั้น ผมมองว่ามันยึดโยงกับหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่อง "ชาตินิยม" "มายาคติและความทรงจำของชาติ" เช่น มายาคติเรื่องบรรพบุรุษผู้กอบกู้ชาติไทย, เรื่องผู้มีบุญ โยงไปถึงเรื่องความมั่นคงของชาติ (ชาติไทยคงอยู่ไม่ได้หากไม่มี "ท่าน" หรือสถาบัน) เรื่อง "พ่อ" เป็นต้น แต่เครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทรงพลังมากคือ การ aestheticization of politic (เป็นแนวคิดของ Frankfurt รึเปล่า ไม่แน่ใจ...) เช่น "สีเหลือง" หรือการแต่งเพลงเป็นต้นแล้วสังคมไทยก็ consume สิ่งเหล่านี้

    4. ผมไม่เห็นด้วยกับการ politicise "ทุกอย่าง" ให้เป็นวาทกรรมครับ (ออกจะออกแนวเลี่ยน ๆ ด้วย...ผมเรียนอยู่ในมหาลัยที่เก่งเรื่องการทำเช่นนี้ครับ...อิอิ)

    เอ้อ...อันนี้ถามเพราะไม่รู้...Edward Said นี่เป็นนักวิชาการสาย Foucault ด้วยรึเปล่า? (นอกเรื่องนิดนึง)

    และผมไม่ปฏิเสธ "ความเป็นจริง" บางอย่างที่ผู้คนได้รับความช่วยเหลือจากสถาบัน ย่อมรู้สึกดีด้วย แต่ผมมองว่า "ตำแหน่งแห่งที่" (ใช้คำนี่ดีปะเนี่ย?) ของสถาบันนั้นยึดโยงกับบทบาททางการเมืองไทย ที่มี impact มหาศาลต่อทิศทางและต่อ "อุดมการณ์หลักของรัฐ" ที่ครอบงำและเป็นเพดานทางความคิดให้กับสังคมไทย พื้นที่ทางการเมืองของสังคมไทยไม่เปิดกว้างมากพอให้ ซ้ายเดียงสา ขวาตกขอบ ซ้ายพยาบาท หรือขวาห่วยแตก ได้แลกเปลี่ยน ทะเลาะเบาะแว้งได้อย่างมีคุณภาพ...

    5. ถ้าผมเกิดลุกขึ้นมาด่า figure อย่าง หญิงไดอาน่าเนี่ย ผมจะโดนจับติดคุกไหมครับ? ผมไม่ปฏิเสธว่า คนเรามันมี idol กันได้ (ผมก็มี idol เต็มไปหมด...อิอิ) แต่ในกรณีสังคมไทย เรา..."งมงาย" รึเปล่า?

    ปล. พึ่งสังเกตนามปากกาคุณครับ ใช่มาจาก Edward Said รึเปล่า...;)

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 20:48:17

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 20:44:52

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 15:20:29

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 15:19:20

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 8 ก.ย. 50 15:16:32 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 207

    เด็กน้อยด้อยปัญญา ความคิดความอ่านคงไม่สามารถเทียบกับหลายๆคนในนี้ได้ แต่เพิ่งตอบกระทู้เรื่องใกล้เคียงกันนี้ในเหลิมไทยมา ขอสะเออะเสนความคิดเห็นหน่อยเถอะครับ

    สาเหตุหนึ่ง ที่ทุกวันนี้ มีการ"ทะเลาะ"เรื่องนี้กันอย่างเปิดเผย คงเป็นเพราะช่องว่างระหว่างวัยด้วยละมังครับ ที่เด็กรุ่นผม(เกิดปี 2518)ทันเห็น แต่เด็กรุ่นที่เกิดประมาณปี 2530 และหลังจากนั้น ไม่ทันได้เห็น...

    -ภาพข่าวพระราชกรณียกิจ ที่ท่านเสด็จไปทรงงานทุกภูมิภาค ทุกจังหวัด แทบทุกวัน ไม่มีวันหยุด ภาพที่เห็นกันจนคุ้นชินคือ พระองค์ท่านทรงงานอยู่กลางป่าเขา พระหัตถ์หนึ่งมีแผนที่ อีกพระหัตถ์หนึ่งมีกล้องถ่ายภาพ ทรงปรึกษา+สั่งงานกับข้าราชการในพื้นที่ เด็กๆรุ่นผม ได้เห็นภาพเหล่านี้ทุกวัน จนไม่เคยสงสัยว่า พระองค์ท่านได้สร้างคุณูปการให้กับประเทศเรามากมายขนาดใหน???

    -พฤษภาคม 2535 บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างถึงที่สุด คนไทยลุกขึ้นมาเข่นฆ่ากันเอง สถานการณ์ไม่มีท่าว่าจะสงบลง มองไม่เห็นทางออกใดๆ...
    คนๆเดียว เรียกคนสองคน ที่เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งทั้งมวลในเวลานั้นเข้าพบ กล่าวเตือนสติ ให้ทั้งสองคิดถึงชาติบ้านเมืองเป็นหลัก เลิกเอาชนะคะคานกัน เพราะสุดท้ายแล้วก็จะไม่มีผู้ชนะ มีแต่ผู้แพ้ และคนที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ...
    สถานการณ์สงบลงในทันที ทั้งคู่ประกาศยุติความขัดแย้ง ไม่กี่วันต่อมา คนหนึ่งก็ยอมถอย ลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้ชาติบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ ที่เหลือก็คือประวัติศาสตร์...
    จะมีซักกี่คนในโลกนี้ ที่สามารถออกมาพูดเพียงครั้งเดียว บ้านเมืองที่กำลังลุกเป็นไฟ ก็สงบลงในทันที??


    ผมไม่โทษเด็กสมัยนี้หรอกครับ ที่...
    -ที่ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องถวายความเคารพพระองค์ท่าน?? ท่านทำอะไรเพื่อประเทศมาก่อนเหรอ??
    -ที่เห็นว่า การเชื่อฟัง เคารพผู้ใหญ่ เป็นพวก"ป๊อด"
    -ที่เห็นว่า การไม่ยืนแสดงความเคารพเพลงสรรเสริญในโรงหนัง เป็นการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ไม่เหมือนใคร ไม่ตามใคร ฯลฯ
    -ที่เห็นว่า การทำความดี การเสียสละความสุขความสบายส่วนตนเพื่อส่วนรวม เป็นสิ่งเชย เร่อร่าล้าสมัยไปแล้ว ยุคนี้มันต้องยึดมั่นในความเป็นปัจเจก (แปลว่า มือใครยาว สาวได้สาวเอา)
    -ที่เห็นว่า การประนีประนอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นการแสดงความขลาดเขลา ดังนั้น อย่ายอมมัน ต้องชนให้พังกันไปข้าง สังคมจะเป็นอะไรก็ช่างหัวมัน

    ผมโทษตัวเอง และผู้หลักผู้ใหญ่ทุกคน ที่ล้มเหลว ไม่สามารถถ่ายทอด สั่งสอนสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นความดีงาม เป็นค่านิยมที่ดี ให้เด็กรุ่นนี้สมัยนี้เข้าใจได้

    ช่างมันเถอะครับ อีก 10-20 ปี เด็กวัยรุ่นๆในวันนี้ ก็จะเติบโตขึ้น และเข้ามารับช่วงในการดูแลบ้านนี้เมืองนี้ต่อจากพวกเราแล้ว จะชอบไม่ชอบ หรือเป็นกังวล

    ซักขนาดใหน สิ่งเหล่านี้ ก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่มีทางเป็นอื่นไปได้
    อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


    จากคุณ : ลูกจ้างดีเด่น - [ 8 ก.ย. 50 16:33:46 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 208

    ก่อนที่จะมีคนตีความอะไรผิดๆ ขอต่ออีกนิดนึงละกันครับ

    จริงๆผมก็ไม่ได้สนับสนุนแนวคิด"สมมุติเทพ" หรอกนะครับ เพราะถ้าขืนทำแบบสุดโต่งละก็...
    ลองนึกถึงคนที่กราบไหว้ บูชาพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 พร้อมของเซ่นของถวายดูสิครับ
    แนวคิดแบบนี้ ทำให้พระองค์ท่าน เปลี่ยนจากมหาราช/ปูชนียบุคคล กลายเป็นของเคารพไปซะงั้น
    ซึ่งในความคิดผม ถือว่า ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง

    อยากให้คนรัก และเคารพพระองค์ท่าน ในฐานะ King of Thai people ไม่ใช่ God
    และในขณะเดียวกัน ก็อยากให้มีการพูดถึงพระองค์ท่านได้ โดยอยู่บนหลักของเหตุและผล พูดก้นด้วยข้อเท็จจริง ไมใช่การด่าเอามัน หรือกล่าวหาด้วย

    เรื่องเลื่อนลอย พิสูจน์ไม่ได้
    เรารัก และเคารพ รวมถึงปฏิบัติต่อบุพการีของเราอย่างไร ผมก็ไม่เห็นเหตุผลใดๆ ที่เราจะไม่ทำอย่างเดียวกัน กับพ่อของแผ่นดินด้วยเช่นกัน

    (หรือว่า การแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ จะเป็นการสะท้อนถึงทัศนคติ/วิธีคิดของเจ้าตัว ต่อญาติผู้ใหญ่ของตนเองด้วย???)



    ถ้าทุกอย่างยังคงดำเนินไปอย่างนี้เรื่อยๆ เชื่อว่า ภายในช่วงอายุผม...

    -ตอนผมอายุซัก 60-70 ถ้ายังไม่ตายซะก่อน คงจะได้เห็นคนอายุ หนุ่มสาว ไปถึงกลางคน กราบไหว้ ผูกผ้าแพร ถวายของไหว้ รูปรัชกาลปัจจุบัน แบบเดียวกับที่กราบรูปร.5 ด้วย โดยที่คนแก่ๆรุ่นผม เห็นแล้วก็ได้แต่ถอนหายใจ
    -และคงจะได้เห็นประเทศไทย เปลี่ยนชื่อจาก Kingdom of Thailand เป็น Republic of Thailand หรือ United States of Thailand แน่นอน



    ถ้าจะเอากันแบบนั้น ก็ตามใจนะครับ...


    จากคุณ : ลูกจ้างดีเด่น - [ 8 ก.ย. 50 16:39:20 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 209

    ทั้งหมดเป็นความคิดของประชาชนธรรมดาๆ ที่

    -ไม่เคยศึกษาประวัติศาสตร์อย่างถึงพริกถึงขิง (เรียนวิศวะ ไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์  : P )
    -ติดตามข่าวสารบ้านเมืองแบบพอประมาณ ไม่อยากอ่านมาก ยิ่งอ่าน ยิ่งรู้ ยิ่งเบื่อ
    -และพยายามจะไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะในวงสนทนาทั่วไป วงการเมือง ศาสนา ฯลฯ เพราะตระหนักแล้วว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง มันไม่มีพระเอก ไม่มีผู้ร้ายแบบในหนังหรอก มันมีแต่พวกเขา กับพวกเรา ซึ่งก็สีเทาๆตุ่นๆเหมือนกันไปหมดทุกคน จะเทามากเทาน้อย ขึ้นกับสายตาผู้มองทั้งนั้น



    พอละครับ ไปทำมาหากินต่อดีกว่า...


    จากคุณ : ลูกจ้างดีเด่น - [ 8 ก.ย. 50 16:47:14 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 210

    ^
    ^
    ^
    ^

    นับถือ ความคิดของคุณ ลูกจ้างดีเด่นมาก

    พระราชกรณีกิจต่างๆที่คุณกล่าวถึง ในความเห็นที่ 207 มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่พอใจ กลับมองว่านั่นคือ การก้าวก่ายทางการเมือง คนเหล่านั้นคงจะพอใจให้ K ของพวกเขา ใช้ชีวิตเงียบๆ อยู่แต่ในวัง และรอการตรวจสอบจากพวกเขากระมังครับ

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 17:48:11

    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 8 ก.ย. 50 17:21:21 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 211

    ไม่ได้อยู่ข้างไหน แต่เมื่อเย็นวันพุธโดนปิดถนนไปเกือบ ๒ ชม. รถจอดนิ่งๆจนหงุดหงิดไปหมด

    อันนี้ก็ห้ามความเซ็งไม่ไหวเหมือนกันนะคะ


    จากคุณ : สวยประหาร - [ 8 ก.ย. 50 17:57:54 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 212

    แหม...ผมไม่มีปัญหาหรอกนะครับ ถ้าประเทศไทยจะเป็นสาธารณรัฐจริง ๆ...




    ในขณะเดียวกัน ผมไม่มีปัญหาถ้าประเทศทไทยจะมี"สถาบัน" อย่างว่าด้วย

    ปัญหาเดียวคือ อะไรคือหลักการ"พื้นฐาน"ของประเทศ absolute monarchy หรือ เสรีประชาธิปไตย...

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 18:27:51

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 8 ก.ย. 50 18:26:30 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 213

    มันแปลกตรงไหน? มันเป็นธรรมชาติของสังคมหนึ่งที่กำลังวิวัฒนาการทางการเมืองและการปกครอง มันก็เริ่มมาจากการวิพากษ์วิจารณ์เสนอแนวคิดที่แตกต่างกันคนสองคน เป็นสามคน เป็นสามสิบคน เป็นสามร้อย สามพัน สามหมื่น ถ้ามันมากพอ มีคนต้องการและเห็นด้วยกับแนวคิดนั้นๆมากพอ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ไปในทางไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง ทำไมต้องคิดไปว่ามันผิด มันแปลก มันน่าระแวง มันไม่ควรจะเกิด มัน "หมิ่น" ต้องปิดกั้น ต้องหยุดมัน ทั้งๆที่มันเป็นธรรมชาติ เป็นวิถีของสังคมมนุษย์ เป็นไปไม่ได้หรอกที่ทุกอย่างจะหยุดนิ่งเหมือนเดิมตลอดไป จริงอยู่ที่ว่า "สถาบัน" อยู่ได้ตลอดมา แต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ต่อ "ตลอดไป" ดังที่เห็นตัวอย่างกันมาในหลายต่อหลายประเทศในโลกนี้ ควรยอมรับกับธรรมชาติข้อนี้ด้วย

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 18:49:12

    จากคุณ : Individualism - [ 8 ก.ย. 50 18:45:29 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 214

    สามสี่ปีที่แล้ว ผมและคุณบุญชิตฯ ได้แลกเปลี่ยนกันในลักษณะวิชาการ
    ร่วมกับปัญญาชนรุ่นหนุ่มจำนวนหนึ่ง ผ่านทาง Blog เกี่ยวกับแนวทาง
    ของ "สถาบันที่ควรจะเป็น"  

    ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ผมอดนึกถึงเรื่องที่เคยถกเถียงในลักษณะวิชาการ
    ครั้งกระโน้นไม่ได้ .....

    ผมจำได้เราเคยยกกรณีอย่างสถาบันในประเทศ
    อังกฤษ ประเทศแถบแสกนดิเนเวีย แถบยุโรป จนถึงตัวอย่างอย่างระบอบ
    สถาบันในประเทศญี่ปุ่น


    การถกเถียงกันคราวนั้น เกิดขึ้นก่อนมี

    เหตุการณ์ 19 กันยายน

    และก่อนที่จะ

    มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในเนปาล

    จนถึงวันนี้ ผมรู้สึกว่ารากฐานหลักรากหนึ่งของสังคมไทยกำลังจะสั่นคลอน
    เพราะขาดการวิพากษ์วิจารณ์และเสนอแนะแนวทางอย่างสร้างสรรค์ว่าสิ่ง
    ใดควรจะเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและ
    สังคมโลก

    ไม่มีใครหยุดล้อพระอาทิตย์แห่งการเปลี่ยนแปลงได้

    การตั้งคำถามจะมีมาเรื่อยๆ  

    และจะดำเนินต่อไป ..........

    จนกว่าจะหาดุลยภาพที่ลงตัวระหว่างสังคมไทยและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

    กระบวนการดังกล่าว ผมไม่ทราบว่าจะต้องใช้เวลานาน
    แค่ไหน และจะมีการสูญเสียอะไรหรือไม่

    แต่ผมหวังว่า เราจะไม่ต้องเสียเวลาตกอยู่ในหล่มปลัก
    แห่งความขัดแย้งมาก เพราะประเทศไทยอยู่ในฐานะ
    ที่ต้องแข่งขันในการยกระดับคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย

    ประเทศไทยปฎิรูปประเทศครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕
    พร้อมๆกับประเทศญี่ปุ่นในสมัยเมจิ

    หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทย
    อยู่ในสถานะที่ดีมากเมื่อเทียบกับประเทศ
    เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์

    ดีกว่าประเทศมาเลเซีย

    จนถึงวันนี้ ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศ
    ในด้านบนได้อีกแล้ว

    เรากำลังมองเวียดนามเป็นคู่แข่ง

    ซึ่งคงไม่นานที่เวียดนามจะยกระดับการพัฒนาประเทศ
    อันโยงไปยังคุณภาพชีวิตของประชากรในระดับที่
    ทัดเทียมกับประเทศไทย

    สุดท้าย
    ไม่นานมานี้  ผมนั่งอ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่
    ๑0  ในแผนระบุถึงเด็กไทยที่ขาดสารอาหารประมาณ ๑.๓ ล้านคน  
    และประชากรไทยประมาณ ๖.๑ ล้านคนที่อยู่ภายใต้เส้นความยากจน

    (รายได้ต่ำกว่า ๑,๓๘0 บาทต่อเดือน) ถือเป็นระดับคนที่จนมาก

    กล่าวได้ว่า  ประชากรไทยอย่างน้อยกว่า ๖.๑ ล้านคนไม่ได้มีปัญหาบริโภคเกินตัว
    แต่เขาไม่มีรายได้จะบริโภค
    เพราะความจำกัดของทรัพยากร เช่นที่ดินที่ถูกควบคุมโดยไม่กี่ตระกูลในประเทศไทย
    ไม่มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ที่ช่วยลดช่องว่าง เพราะคนที่มีสถานะ
    เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในประเทศไม่ยอมเสียสละตรงนี้

    ป่วยการที่จะเอ่ยถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง


    จากคุณ : ปริเยศ (Pariyed) - [ 8 ก.ย. 50 20:56:13 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 215

    คุณ ลูกจ้างดีเด่น ตอบได้ดีมากครับ เป็นคำตอบที่ผมยัง อืม จริงด้วยแฮะ

    ไหนๆ ก็ไหนๆ ผมอยากบอกว่า ให้ผมเลือก ผมไม่อยากเป็นแบบ united state of thailand หรอกครับ เพราะ ผมยังไม่เคยเห็นนักการเมือง เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ อย่างที่ผม เรียนมาในหนังสือเลย เมืองในอุดมคติแบบนั้น หากคนยังไม่เลิกโกงกิน เอาประโยชน์ส่วนตน ไม่อยากได้หรอกครับ ประชาธิปไตยแบบนั้น

    แก้ไขเมื่อ 08 ก.ย. 50 21:34:57

    จากคุณ : ลิงสยาม - [ 8 ก.ย. 50 21:09:51 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 216

    คห. 214

    ชัดเจน

    อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เพื่ออนาคตของ ชาตินี้


    จากคุณ : B_SaBoOo - [ 8 ก.ย. 50 21:38:02 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 217

    เรียนคุณลิงสยาม

    ผมว่าเราอาจจะยังเห็นไม่ตรงกันเรื่องพื้นฐานบางอย่างของระบอบเสรีประชาธิปไตย...ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐาน
    ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น republic หรือ constitutional monarchy คือ "มนุษย์เท่าเทียมกัน" และ "ประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ"

    การเมืองแบบขาวสะอาดนั้น ในมุุมหนึ่ง ก็เป็นการเมืองแบบอุดมคติเช่นกัน ซึ่งผมเห็นด้วยว่ามัน "เป็นไปไม่ได้" ด้วยเหตุนี้ เสรีประชาธิปไตยถึงสร้าง concept ว่าด้วยการ check and balance ขึ้นมาไงครับ ในตรงกันข้าม การเมืองแบบขาวสะอาดนั้น เป็นการเมืองแบบ"ชนชั้นนำ" (elitism) ที่มองชนชั้นล่างเป็นพวกไร้การศึกษา ไร้เดียงสา ฯลฯ จึงไม่ควรปกครองตัวเอง (แนวคิดนี้ปรากฎชัดแจ้งในเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากอย่างเอเธนส์ โดยนักปรัชญาอย่าง Plato ที่ถวิลหา Philosopher King...)

    ดังนั้น กรอบคิดแบบการเมืองใสสะอาดจึงไปด้วยกันไม่ได้กับกรอบคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ดังนั้นในความเป็นจริง ผู้ใช้ภาษีพลเรือนจึงต้องตรวจสอบได้ วิพากษ์วิจารณ์ได้ไงครับ

    แน่ใจได้เช่นไรครับว่า absolute monarchy นั้น ผู้ใช้อำนาจรัฐจะไม่โกงกินกดขี่ประชาชน (ซึ่งในระบบแบบนี้ คุณตรวจสอบมิได้ด้วย)

    ปล. ผมเข้าใจ...เห็นใจ...และเห็นด้วยกับบางส่วนของความ "อึดอัดคับข้องใจ" ของคุณปุระชัยครับ แต่อย่างไรก็ตาม ผมขอเสนออย่างนี้ว่า กฎข้อแรกของพันทิพย์ไม่ใช่ปัญหาของพันทิพย์ แต่เป็นปัญหาของสังคมไทยต่างหาก...

    เอ...สรุป เราควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯไปเสียดีไหมเนี่ย?


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 8 ก.ย. 50 23:22:53 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 218

    เรื่องกฎหมายหมิ่น

    ผมว่าไม่ควรยกเลิก

    เพราะในฐานะประมุขรัฐ การหมิ่นประมุขรัฐ มันส่งผลต่ออะไรได้มากมาย
    ผมไม่แน่ใจว่า ในต่างประเทศ โทษฐานหมิ่นประมุขรัฐ มีเป็นพิเศษไหม
    (อาจจะเป็นบทเพิ่มโทษ)

    แต่หลักการที่ค่อนข้างตรงกัน คือ การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ที่ทำหน้าที่แทนรัฐ
    ถือเป็นความผิด และลงโทษหนักกว่าเอกชนหมิ่นกันเอง

    เนื่องด้วยเพื่อรักษาบูรณภาพ และเอกภาพ ของรัฐด้วย

    เพียงแต่ การพิจารณาของศาล ต้องคลายลงนิดนึง

    ไม่ใช่ แค่บอกว่า ถ้าเราเป็นเจ้า เราจะกินแต่เหล้าแล้วเข้านอน
    ก็ถือว่าหมิ่น
    (คดี วีระ มุสิกพงศ์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๕๔/๒๕๓๑)

    http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2_%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0_%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E


    หรือบอกว่า เปิดเพลงอะไรวะ ฟังไม่รุ้เรื่อง ก็ถือว่าหมิ่น
    (คำพิพากษาฎีกาที่ 1294/2541)

    รายละเอียด ดู "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล
    http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006may01p3.htm

    (จริงๆผมก็กลัวนะ ไม่ใช่ไม่กลัว ถ้าพูดถึงคำพิพากษาข้างบน
    ขนาดกล่าวอย่างไม่เคารพเพลงสรรเสริญ ยังพิจารณาได้ว่า "หมิ่น"
    ทั้งๆที่ปเนการพูดถึง "เพลง" ไม่ได้พูดถึงพระราชาเลย

    แล้วพวกชอบวิจารณ์ เศรษฐกิจพอเพียงก็ดี
    พวกที่บอกเพลง "อัครศิลปิน..." ไม่เพราะ

    จะโดนไหมนี่ ?)

    นอกจากนี้ ควรจะมีบทยกเว้นโทษ หรือลดโทษ
    กรณีวิพากษ์วิจารณ๋ ติชมอย่างสุจริต
    เพื่อประโยชน์ของสาธารณะชนด้วย

    อย่างน้อย ถ้าปรับกฎหมายลงแบบนี้ ก็เป็นการคลายเส้นลง
    ให้สถาบันอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่แบบสุภาพ และมีน้ำมีเนื้อ มีหลักฐาน

    พวกหมิ่นแบบตรงๆ อย่างเวบ พลับพลากันเด้า ก็ยังมีความผิดอยู่
    เพราะมันล้ำเส้นการวิพากษ์วิจารณ์

    จริงๆพระองค์ท่านก็ฝากไว้ให้ไปทบทวนแล้ว อย่างที่ผมกล่าวไว้

    แต่ไม่มีใครรับไป เท่านั้นเอง

    แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 50 00:22:03

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 9 ก.ย. 50 00:09:40 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 219

    เห็นด้วยกับคุณฮกหลง ความเห็น 206 อย่างสุดๆ
    ผมว่ายิ่งกว่าการเมืองอีก มันหมายถึงชีวิตคนนับเกือบร้อย


    จากคุณ : สันติประชาทำ (กรรมาชิลล์) - [ 9 ก.ย. 50 02:15:41 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 220

    "ไม่นานมานี้  ผมนั่งอ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่
    ๑0  ในแผนระบุถึงเด็กไทยที่ขาดสารอาหารประมาณ ๑.๓ ล้านคน  
    และประชากรไทยประมาณ ๖.๑ ล้านคนที่อยู่ภายใต้เส้นความยากจน
    (รายได้ต่ำกว่า ๑,๓๘0 บาทต่อเดือน) ถือเป็นระดับคนที่จนมาก

    กล่าวได้ว่า  ประชากรไทยอย่างน้อยกว่า ๖.๑ ล้านคนไม่ได้มีปัญหาบริโภคเกินตัว
    แต่เขาไม่มีรายได้จะบริโภค
    เพราะความจำกัดของทรัพยากร เช่นที่ดินที่ถูกควบคุมโดยไม่กี่ตระกูลในประเทศไทย
    ไม่มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ที่ช่วยลดช่องว่าง เพราะคนที่มีสถานะ
    เศรษฐกิจที่ดีที่สุดในประเทศไม่ยอมเสียสละตรงนี้

    ป่วยการที่จะเอ่ยถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง "

    จากคุณ : ปริเยศ (Pariyed)

           เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ แต่ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันกฏหมาย ก็จะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก แทบทั้งสิ้น ...เค้าจะยอมเฉือนเนื้อตัวเองหรือคะ มิหนำซ้ำก็มีแต่จะกอบโกยซะเป็นส่วนมาก(เปล่าเหมารวนนะคะ)

           กระทู้นี้ดิฉันมองว่า ค่อนข้างล่อแหลม แต่ก้ยังมีความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง(ระคน ดุเดือด นิดๆ) ดิฉันคิดว่า ส่วนที่เกี่ยวข้องคงเปิดใจหยั่งทิศทางดูอยู่ด้วยนะคะ  นับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีค่ะ

       ปล. หนังสือTKNS ใด้เปิดหูเปิดตา สร้างข้อกังขาให้เกิดขึ้นกับผู้อ่านมากมาย  จนอาจจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าผู้ที่รายล้อมนั่นแหละที่เป็นตัวการสำคัญที่ถ่างความเชื่อมั่นที่มีต่อสถาบันให้ห่างออกไป .... แต่กระนั้นการจะตัดหรือป้องกันปัญหาที่จะเกิดใด้ในภายภาคหน้า (คงไม่ปฏิเสธว่า หลายๆท่านก็หวั่นใจในประเด็นนี้อยู่มาก ถึงมากที่สุดใช่หรือไม่คะ...แต่ก็ทำอะไรไม่ใด้) มีเพียง.....เท่านั้น...

       ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วยค่ะ


    จากคุณ : แม่ขา - [ 9 ก.ย. 50 02:50:33 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 221

    เรียนคุณฮกหลง

    1. เห็นด้วยค่ะ เปลี่ยนความคิดเราทีเดียว ขอถามอย่างคนไม่รู้นะคะ ว่าถ้ามองจากในแง่ของสังคมไทยยุคเดือนตุลานั้น สังคมไทย (รวมชนบท) พร้อมแค่ไหนกับการไม่มี royal intervention
    2. อันนี้เห็นตรงกัน จริงๆสิ่งที่สถาบันพูดได้มีหลายเรื่องและควรทำ เช่น แนวๆความเป็นไทย แต่ถ้าข้ามไปเรื่องการเมือง มีปัญหาแน่นอน แต่ที่เรารู้สึกไม่สบายใจ คือการกระทำของ “ผู้รู้” บางคนที่จับผิด speech ของท่านแบบคำต่อคำ มัน ironic นะ ถ้าไม่เห็นด้วยกับภาพลักษณ์เทวดาเก่งไปทุกด้าน แต่การจับผิดเหมือนท่านทำผิดไม่ได้ มันก็ไม่ต่างกับการมองว่าท่านเป็นเทวดาทำผิดเป็นไม่ได้เหมือนกัน
    สนใจที่คุณปริเยศพูดถึงโมเดลของสถาบันของประเทศอื่นๆ เพราะเวลาเราพูดว่า สถาบันต้องเปลี่ยน แล้วก็มักจะเทียบกับสถาบันของประเทศอื่นๆ เราใช้อะไรเป็นฐาน อะไรที่ควรปรับตาม อะไรที่ควรคงไว้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมือนจะเป็นข้อยกเว้นในหลายๆด้าน เราคิดว่าสถาบันของเราก็เป็นสถาบันที่มีที่มาที่ไปไม่เหมือนกับประเทศอื่น ถ้าพูดถึงการปรับเปลี่ยน เราก็ควรจะเปลี่ยนในวิถี “แบบเรา” มากกว่า หลายคนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงบางครั้งก็อยากเปลี่ยนเพราะอยากเห็นเราเป็นแบบอังกฤษหรืออเมริกา อันนี้เป็นความคิดของ elite หรือเปล่า เราได้ไปถามชาวบ้านหรือเปล่า ว่าเขาต้องการอะไร ขอโทษที่ถามอะไรไร้เดียงสาไปหน่อย แต่เราลองหลับตาจินตนาการว่า ชาวบ้านที่อยู่ไกลจากวงสนทนาของเรา จะ make sense กับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ในแง่ไหน
    3. ขอบคุณค่ะ ได้ข้อมูลใหม่ ;-)
    4. Said หลักๆเป็นลูกครึ่ง Marxist กับ Foucault ค่ะ คือเอาแนวคิดเรื่องชนชั้นมาปรับใช้กับตะวันตกและตะวันออก และอธิบายว่าวาทกรรมเกี่ยวกับตะวันออกถูกสร้างขึ้นโดยตะวันตกผ่าน representation ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ที่สร้างภาพเกี่ยวกับตะวันออก โดยเฉพาะในแง่ที่ไม่ดีนัก เช่น อาหรับราตรี (อาหรับเป็นดินแดนแห่งความเพ้อฝัน ไม่มีตรรกะ) travel writing นิยาย (โดยเฉพาะ Flaubert, Kipling) การแปล (ศกุนตลา โดย Sir William Jones) ซึ่งหลายครั้ง Said ก็ตีความเกินไป ส่วนนามแฝงนี่ก็มาจาก Said ค่ะ เหตุผลดูได้ในบล็อก (ที่ไม่มีเวลาอัพเดท)
    5. ไม่ทราบว่าได้ดูหนังเรื่อง The Queen ของ Stephen Frears หรือยัง ที่ควีนคะแนนนิยมตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์เพราะไม่แสดงความเห็น ความรู้สึก ต่อการสิ้นพระชนม์ของไดอาน่า ผู้คนยุคนั้นคลั่งขนาดไปบอกควีนว่าให้ลดธงครึ่งเสาที่ Buckingham เถอะ ทั้งๆที่ธงนี่ไม่เคยลดลงให้ใครเลย และจริงๆก็มีไว้เป็นสัญลักษณ์บอกว่าควีนอยู่หรือเปล่าเท่านั้น โพลก็บอกว่าคนอังกฤษหนึ่งในสี่บอกว่าอยากล้มล้างราชวงศ์ไปเลย เพราะความเย็นชาของราชวงศ์ต่อไดอาน่า
    ต้องอธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะคะ ว่าถ้าคุยกับนักวรรณคดีเนี่ย หลายครั้งเราใช้ศัพท์ทางสังคมศาสตร์ในเชิง metaphor ค่ะ Fascist desire มันจะโยงๆกับ father figure ของฟรอยด์ ซึ่งถ้าอธิบายจะกินเนื้อที่ยาวมาก (ลองอ่านงานของ Jacques Lacan ละกัน พวก desire for the other อะไรพวกนี้) ในกรณี Diana ก็เหมือนกับกระแสคลั่งที่มันพีคขึ้นมาชั่วข้ามคืน ถึงไม่มีบทลงโทษอะไร แต่การปฎิเสธความคาดหวังของสังคมมันก็เสี่ยงต่อบทลงโทษ (แบบไม่เป็นทางการ) เหมือนกัน

    นั่งอ่านของหลายๆท่าน ก็เห็นด้วย โดยเฉพาะคุณ the repentant น่าจะเรียกว่าเราโชคดีนะที่เห็นตัวอย่างในประวัติศาสตร์มาเยอะ ความไร้เดียงสาของฝ่ายซ้ายมันส่งผลร้ายแรงอย่างมาก อย่างที่เราเห็นจากกรณีเหมาเจ๋อตงและเขมรแดง เราเชื่อว่ามาถึงยุคนี้คงไม่มีใครจะกลับไปทำพลาดอย่างที่คนยุคก่อนเคยทำ และเห็นด้วยกับคุณฮกหลงเป็นอย่างยิ่ง ที่เราควรจะมีพื้นที่ทางการเมืองให้ทุกคน เราต้องอยู่กับความหลากหลาย ความขัดแย้ง ให้ได้

    แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 50 04:49:36

    จากคุณ : Sa-idian - [ 9 ก.ย. 50 04:06:24 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 222

    เข้ามาตามอ่านอยู่เรื่อยๆ ผมเห็นด้วยกับความคิดของคุณปริเยศ ฮกหลงฯ และ Sa-idian ครับ :)

    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 9 ก.ย. 50 07:12:24 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 223

    ผมฝากเรื่องเดียว

    ขอให้คนไทย จิตใจเป็นไท ไม่เป็นคนขายชาติขายแผ่นดิน ที่บรรพบุรุษร่วมกันเสียเลือดเสียเนื้อรักษามา บางคนต้องพลัดพรากจากพ่อจากแม่ จากลูก บางคนต้องล้มตายไปในสงคราม จับดาบถือปืน เพื่อรักษาเอกราชความเป็นชาติไทย ตั้งแต่สมัย พระเจ้าพรหมมหาราช (??? รู้จักไหมครับ)

    คนไทย ขึ้นชื่อว่า เป็นคนรักชาติยิ่งชีพ มีความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน และรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่คิดการใหญ่เกินตัว มาแต่ไหนแต่ไร ควรจะรักษาประเพณีแบบนี้ไว้สืบไป

    ปัจจุบัน ไม่มีสงครามชนิดจับดาบ ขี่ช้างขี่ม้า มารบกัน แต่หนักกว่านั้น เพราะคนยิ่งคิดว่าตัวเองเจริญมากเท่าไหร่ ความแยบยลในการโกง การช่วงชิงสมบัติผู้อื่น ยิ่งมองออกได้ยาก เอาความเจริญในวัตถุ มาล่อ ความเจริญในจิตใจ ถ้าเราหลงเสียแล้ว วิ่งตามความเจริญอย่างไรก็ไม่มีทางวิ่งตามทัน จนลืมนึกพัฒนาความเจริญในจิตใจของตัวเอง สร้างความเห็นแก่ตัวเพื่อความอยู่รอดความสบาย ขาดความเสียสละมากขึ้น ประเทศไทยเราจะเป็นสุขได้อย่างไร ถ้าเจริญเพียงแต่วัตถุ แต่ประชากรด้อยน้ำใจ ด้อยมนุษยสัมพันธ์ความสามัคคี

    ผมเชื่อว่า คนไทย ไม่ได้โง่ และเกิน 80 เปอร์เซนต์ ที่ยังเป็น .ไท. แบบที่ผมบอก ไม่งั้นชาติเราล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิมทะเยอะทะยาน เห็นแก่ได้มันเยอะจริงๆ

    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ และขอขอบคุณหากมีเพื่อนๆ คนไหนอ่านแล้ว คิดว่าสิ่งที่ผมพูด ยังพอเป็นจริง มีความเป็นไปได้ก็ขอบคุณครับ

    ปล.เห็นแล้วรู้สึกดี ที่มีคนเข้าใจคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพราะมันไม่ได้ยากอะไรเลย ไม่ได้แปลว่าทำให้เราจนไม่มีของดีกินของดีใช้สักหน่อย แต่ทำให้เรารู้จักพอเสียบ้าง กินเยอะใช้เยอะ มันเฟ้อเกินจะลำบากเอาทีหลัง

    แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 50 23:31:11

    แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 50 10:33:30

    จากคุณ : ลิงสยาม - [ 9 ก.ย. 50 10:13:50 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 224

    จะโกรธไหม ถ้าผมอ่านชื่อคุณ Sa-idian แบบแวบในหัว (คือไม่ได้ผสมคำ แต่อาศัยการคุ้นชินตัวสะกด)

    ว่า "เสธ-แดง"

    คงคล้ายๆ กับที่คุณไก่ อ่าน สาธรจีน


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 9 ก.ย. 50 14:05:17 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 225

    ตราบใดที่คนไทยยังมีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่ฝังรากมาจากศาสนาพุทธที่ยึดถือเรื่อง กรรม เรื่องภพชาติและการเวียนว่ายตายเกิด เราจะปฏิเสธการมีชนชั้นในสังคมไม่ได้เลยครับ เพราะเราต้องยอมรับผู้ที่มียศศักดิ์มีบุญญาบารมีเหนือกว่าและต่ำกว่า อันเนื่องมาจากกรรมเก่าของแต่ละคน สิ่งนี้ทำให้สังคมชนชั้นดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข เนื่องจากทุกคนยอมรับและเป็นที่ยุติ และที่สำคัญคือ สามารถทำใจให้สบายได้ในระดับหนึ่งเมื่อพบเห็นความไม่เป็นธรรมใดๆที่เกิดขึ้นได้

    แต่อย่าลืมว่าหลักการของ"กรรม"นี้รวมไปถึงผู้ที่มีชนชั้นสูงกว่า มี"หน้าที่"ที่จะทำบุญทำทานให้ผู้ต่ำต้อยด้วย
    อย่างที่เราได้เห็นสมาคมการกุศลต่างๆไปแจกของให้ผู้ยากจนกันมา ผู้รับก็มาไหว้รับของด้วยความชื่นชมและรำลึกบุญคุณ ส่วนผู้ให้ก็อิ่มบุญไป จบลง ด้วยความสุขของทั้งสองฝ่าย

    และอย่าลืมว่า การให้ที่แท้นั้น ไม่ใช่แค่การให้เศษเงินที่เหลือใช้ แต่การทำทานตามตัวอย่างของพระพุทธเจ้านั้นคือการให้ทุกอย่างเท่าที่มี ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ครอบครัว หรือแม้แต่ชีวิต

    ดังนั้นในสังคมชนชั้นนี้ สำหรับผู้มีกำเนิดต่ำต้อยแล้ว สิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม ความเป็นธรรมต่างๆ ควรได้มาจากการเรียกร้องหรือร้องขออย่างสุภาพ และผู้ที่มีชนชั้นสูงกว่าก็จะมอบให้ด้วยจิตใจที่เป็นกุศลโดยแท้ (โดยไม่มีความจำเป็นต้องวิตกกังวลว่าจะต้องเสียอะไรมากแค่ไหนทั้งในปัจจุบันและอนาคต)ตามที่ได้รับทราบหรือแม้ว่าผู้ต่ำต้อยนั้นจะไม่เรียกร้อง แต่ก็เป็นหน้าที่ของชนชั้นสูงที่จะสอดส่องดูแลให้คนในปกครองมีความสุขความเจริญ
    โดยกระบวนการทั้งหมดนี้จะไม่มีการใช้ความก้าวร้าว ดูหมิ่นเกลียดชัง จ้องล้างแค้น หรือใช้กำลังบังคับจากฝ่ายไหนทั้งนั้น

    เราถึงจะเป็น สังคมที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมจริงๆได้ ด้วยคุณภาพของ"บุคคล" ล้วนๆ นั่นคือระบบนี้จะดำรงอยู่ไม่ได้หากชนชั้นปกครองไม่ให้  ไม่สนใจ ไม่มีคุณธรรมหรือชนชั้นใต้ปกครองไม่พอใจกับสิ่งที่ได้ และเรียกร้องมากกว่าที่ผู้ให้อยากจะให้ สมดุลก็จะเสียไปทันที การจะหาสมดุลนั้น ต้องถามว่าผู้ให้ให้เขาพอเพียงอย่างที่เขาควรได้แล้วหรือยังและผู้รับได้รับอย่างพอเพียงและควรหยุดเรียกร้องได้แล้วหรือยัง ทั้งหมดที่พูดมานั้นคือระบอบเผด็จการหรือabsolute monarchy ที่เพื่อนๆพูดถึงกันนะครับ

    เทียบกับสังคมของประเทศที่เจริญทางวัตถุที่เขาไม่ใช้ปริมาณคุณธรรมของบุคคลแค่คนเดียวหรือกลุ่มเดียวที่อยู่ในระดับบริหารมาเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมของเขา แต่ใช้ระบบค่าของคนอยู่ที่ผลของงานเพื่อกระจายทรัพยากรแทน (เช่น ระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น)ซ่่ึงก็เป็นไปได้ว่าคนไม่มีคุณธรรมบางรายอาจเล็ดรอดได้ด้วยเล่ห์เหลี่ยมจากช่องว่างของระบบ สรุปว่า เราก็ต้องเลือกเอาระหว่างการปรับปรุงระบบ ที่ประชาชนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันโดยไม่มีชนชั้นให้ดีขึ้นแล้วมุ่งไปทางนั้น หรือหันกลับไปพิจารณาหลักการคุณธรรม กรรมเก่ากรรมใหม่เพื่อมุ่งหน้าไปสู่สังคมคุณธรรมของชนชั้นปกครองและความอ่อนน้อมยอมรับของชนชั้นใต้ปกครองให้ได้โดยคำนึงถึงรากฐานพันปีของสังคมไทยที่เคยผ่านมา เลือกฝ่ายไหนก็มีทางไปได้ครับ แต่ผลจะเป็นอย่างไรในโลกปัจจุบัน ต้องคิดให้หนักทีเดียว

    แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 50 16:00:05

    จากคุณ : KAVINT - [ 9 ก.ย. 50 15:43:11 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 226

    ขออนุญาตใช้คำสามัญนะครับ
     ทำไมหลายๆคนชอบบิดเบือนโจมตีเศรษฐกิจพอเพียงกันจังเลย
    ผมก็ไม่ได้รู้จริงนักหรอกแต่ที่ทราบคือ ท่านไม่ต้องการให้ทำอะไรเกินกำลังตัวเองกำลังของตัวเองนี้
    ทั้งด้านทรัพย์ กำลังกายและที่สำคัญคือ สติปัญญาคับ
    ถ้ามีกำลังและความสามารถที่จะเป็นมหาเศรษฐี  
    มีปัญญาพอที่จะเป็นคนใหญ่คนโตโดยที่ถูกต้องตามหลัก คุณธรรม ศีลธรรม ไม่ได้เบียดเบียนเขาก็เป็นไปซิครับ
    หนทางขายปัญญายังมี ท่านก็ไม่ได้ห้ามนี้ครับ
    จะกู้เขามาลงทุนก็ได้แต่เอาเท่าที่กำลังเรารับได้

      ผมมีประสบการณ์ตรงของเพื่อนผม ตอนนั้นมันจบใหม่ เงินเดือน หมื่นๆกว่า มันจะกู้เงินเป็น ล้าน มาลงทุนเพราะมันอยากรวยเร็ว
    ถ้ามันรุ่งก็ดีไป แล้วถ้ามันเจ๊งละครับแต่ดีที่มันคิดได้ ต่อมาธุรกิจที่มันจะทำเริ่มฟุบ มันก็โชดดีไป

      จริงๆท่านพูดมานานแล้ว แต่ที่สำคัญที่ท่านมาเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็มาจาก
    วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 40 ที่คนเจ๊งกันระนาวใช้เงินอนาคตโดยไม่คิด แถมโดนต่างชาติ
    ร่วมมือกับคนไทยหัวใจไม่ไทยโจมตีค่าเงินบาท พวกที่กู้เงินต่างชาติมาเป็นหนี้หัวบาน
    ข่าวฆ่าตัวตายกันบ่อยมาก อสังหาริมทรัพย์ที่ปั่นกันสนุกก็เจ๊งชัยกัน เห็นเป็นอนุสรย์  
    ก็หลายตึกที่เดียว รู้สึกแถวบ้านผมมีประมาณ3ตึกร้าง นี่ก็ไม่ใช่มาจากการทำอะไร
    เกินกำลังตัวหรือครับ ทำไมไม่พูดถึงบ้าง

     แล้วยุคที่ผ่านมาไม่นาน เป็นอีกยุคที่ใช้เงินอนาคตกันสนุก บางคนไม่รู้มีกี่บัตร
    หลายคนเป็นหนุ่มสาวโรงงาน ถ้าเอาไปต่อยอดก็ว่าไปอย่าง แต่ที่แย่คือหลายๆคนเขา
    ไม่ได้เอาเงินไปลงทุน เขาเอาไปซื้อของฟุ่มเฟื่อย (ตามหลักของบริโภคนิยมที่หลายๆ
    คนชอบ) ที่นิยมที่สุดคือโทรศัพท์มือถือรุ่นแพงๆ ไปอวดกัน พอออกรุ่นใหม่ก็เปลี่ยนอีก
    ไม่ใช่เขามีรวย แต่เป็นเงินกู้มา (เจอมากับตัว)
    นี้ไม่ใช่การใช้จ่ายเกินตัวหรือครับ

     แล้วเศรษฐกิจพอเพียงนี่"ถ้า"เอาไปใช้จริงๆจังในระดับประเทศ ยังไงๆก็ไม่สามารถ
    เห็นผลภายในปี 2ปีแน่ จะให้ทันใจแบบยาฆ่าแมลง ก็คงไม่ได้ แต่ปลอดภัยกว่า (ถ้าใช้เป็น)

    แล้วอีกอย่างนะครับรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น
    หลักในการบริหารเศรษฐกิจ แต่ได้ทำจริงๆหรือเปล่านั้นอีกเรื่อง
       ใครมารับช่วงตอนนี้ยังๆก็ลำบาก เพราะเงินคนส่วนใหญ่มันแทบจะไม่มีไปนาน
    แล้ว  (ไม่อยากพาดพิงรัฐบาลที่แล้วนะครับ) แถมยังเจอการโจมตีค่าเงินบาทอีก และ
    การแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทที่ผิดพลาด ทำให้มันแย่เข้าไปอีก
    จากปัญหาค่าเงินบาท ทำให้ บริษัท และ โรงงาน บางแห่ง(หรือหลายแห่งไม่แน่ใจ)

    ต้องปิดตัวไป แสดงให้เห็นแล้วว่าเรา"อิงกับต่างชาติมากเกินไป"  อยู่ดีๆจะถอนการ
    ลงทุน เราก็ซวยอีก อยู่ดีๆจะตั้งกำแพงภาษี เราก็โดนอีก เอานู่นเอานี่มาอ้างบ้าง เราก็
    อ่วมอีก นี่ยังไม่นับเรื่องตลาดหุ้นอีกนะนี่

      อะไรที่เราทำเองได ้อะไรที่พึ่งตนเองได้เราก็ควรทำเช่นเรือที่ต่อเองโดยคนไทย
    ประหยัดเงินไปเยอะและยังได้พัฒนาเทคโนโลยีในบ้านเราด้วยไม่ต้องซื้อเขาตลอดไป
    นี่ทำไมไม่พูดละครับ

     ผมเบื่อพวกทุนนิยมตกขอบมาก อะไรๆก็ทุน อะไรๆก็เปิดเสรี อย่าลืมว่า ทุนนิยมมันบอกแล้วว่า"ทุน" ใครเงินหนากว่ามีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง( ถึงจะมีโอกาสพลาดได้ก็เถอะ) แล้วประเทศไทย ผมถามจริงๆเถอะ ทุนหนาขนาดนั้นเลยหรือ  
    จะขายความถูกของแรงงาน ไปๆมาๆจีนกับเวียตนาม ดันถูกกว่ามาก
    จะขายสมอง การศึกษาเรายังไม่แข็งพอที่จะสู้เขา (การเมืองมีส่วนมาก) ผมว่าตอนนี้ ยังไงๆไทยก็ยังไม่เหมาะกับทุนนิยม จะเอาหมูไปสู้กับช้างก็คงจะชนะยากมาก จะเอา ไลท์ฟลายเวท ไปต่อยกับเฮฟวี่เวท อาจโดนน็อคยกแรก
    เราควรทำอะไรที่ไม่เกินกำลังตัวเองครับ

         ที่ผมเบื่อกว่านั้นคือบ้างคน(แกล้ง)โง่ว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี่ต้องไปปลูกผักกินหญ้า  ปิดประเทศอย่างเดียว พวกนี้ผมก็ไม่รู้จะบอกอะไรดีครับ ก็ต้องสุดแล้วแต่เขา

    อีกพวกที่เบื่อคือ พวกที่มีอำนาจสักแตว่ารับไปแล้ว แล้วไม่ทำ ดันเอามาหากินกับชาวบ้านอีก

    จะว่าไปแล้วมันก็เป็นบทเรียนจากประสบการณ์ที่เคยทำอะไรเกินตัว แล้วเจ๊งของผมครับ ตอนนั้นผมโง่มาก
    ตอนนี้ก็ยังโง่ แต่ผมเจ็บแล้วจำครับ
    อดีตมันเป็นบทเรียนนะครับ


    จากคุณ : newworld - [ 9 ก.ย. 50 17:29:45 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 227

    เรื่องการวิจารย์สถาบัน

    ผมว่าควรทำได้
    อย่าลืมว่าท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวยงนะครับ
    ท่านไม่ยอมละเมิดกฎหมาย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    แต่ต้องอยู่ในขอบเขต ความพอดี ความเป็นเหตุเป็นผล

    แต่ที่เห็นปัจจุบันนั้น เอาความบ้าเข้าว่า ใช้คำพูดหยาบคายมาก
    ส่วนตัวผมเชื่อว่ามีพวกสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
    พวกข่าวลือต่างที่อ้างอย่างดีว่ามาจาก "คนวงใน"
    พวกที่ด่าเอามัน พวกใน web นรกกินกบาล
    นี่ควรโดนซะบ้าง

    ขอย้อนไปสมัย ร.6 นี่ พระองค์ได้เขียนจดหมายตอบโต้กับนัก นสพ.เลยนะครับแต่ก็อย่างว่า
    มีพวกที่บอกไปนี่แหละ เป็นตัวปัญหา

      อีกเรื่องที่ไม่อยากพูด แต่ก็ต้องพูดเพราะมีคนอ้างถืง
    คือเรื่องคุณปรีดี ผมไม่ชอบคุณปรีดีเลย ผมอ่านประวัติศาสตร์ที่เรียนๆกันมาแต่ผม
    กลับมีความไม่ชอบอย่างมากคือ

    -คนที่ดีๆเขาคงไม่หักหลังผู้มีพระคุณที่อุตสาห์ส่งไปเรียน
    ต่างประเทศแล้วให้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง แต่ดันมปฏิวัติ โดยที่ผู้มีพระคุณไม่ได้ทำอะไรผิด

    -พระองค์ทรงบอกว่าจะให้ประชาธิปไตยแต่ทำไมยังดื้อด้านทำการปฏิวัติ ไม่ดูเลยว่าคนไทยตอนนั้นพร้อมไหม
    อ่านออกเขียนได้แค่ไหนกันเชียว
    ขนาดปัจจุบัน จบ ดร.เหมือนกันยังเถียงกะไอ้เรื่องประชาธิปไตยกันแทบตาย
    (ผมนึกถึงการเลือกทาสในอเมริกา กับในไทย)

    ถ้าพระองค์ทรงไม่จริงใจ พระองค์ก็คงไม่ส่งพวกนี้ไปเรียนหรอกนะ

    -พอได้อำนาจนั้นมาแล้วก็มาแก่งแย่งอำนาจกันเอง ไหนว่าจะให้ประชาชนเป็นใหญ่

    -พอเสียอำนาจนั้นไปกลับพยายามขวนขวายกลับมา

    -ไม่พ้นอยากได้อำนาจนั้นเอง

    -ไม่อยากจะบอกว่า70ปีที่ผ่านมา ก็พิสูจน์แล้วว่าใครถูก (ถ้าเปิดใจยอมรับนะ)

    ผมรู้สึกว่าที่ปฏิวัติเพื่อชาตินั้นเป็นข้ออ้างมากกว่า
    หรือไม่ก็พอได้เสพ อำนาจแล้วมันดันหอมหวลจนลืมอุดมการณ์
    ผมก็ไม่เคยเป็นใหญ่เป็นโตซะด้วย

    แต่ก็ต้องยอมรับว่าคุณปรีดีได้ทำอะไรดีๆไว้เหมือนกัน
    ยังไงๆคุณปรีดีก็ไม่อยู่แล้วถ้าคำกล่าวอ้างของผมไม่เป็น
    ความจริงก็ขอโทษด้วย

    มีคนพูดถึงเรื่องเดือนตุลา
    ตั้งแต่มีม็อบ นปก. ทำให้ผมคิดว่าผมเข้าใจอะไรผิดเกี่ยว
    กับผู้มีอำนาจยุคนั้นหรือเปล่า
    และเคยได้ยินจากอดีต คอม ว่ามีการพยายามยั่วยุ่ให้เกิด
    การนองเลือดจากพวกคอมหัวรุนแรงจะได้มีคนเข้าป่ามากขึ้น
    อันนี้ไม่รู้จริงเท็จประการได ใครบอกหน่อยก็จะขอบ
    คุณมาก

    ปล.ผมไม่ชอบหลักการทุกคนเท่าเทียมกันของพวก
    คอมมูนิสต์เลย เพราะยังไงมันก็ต้องมีชนชั้นปกครองอยู่แล้ว
    แล้วพวกที่ปกครองก็เป็นพวกที่ปฏิวัติสำเร็จนั่นแหละ
    ถ้าอยากให้ทุกคนเท่าเทียมกันจริงๆก็ขอให้ทำบุญมากๆแล้วอธิษฐานให้ไปเกิดต้นกัลป์แหละนะ

    ปล.2 ใครไม่ชอบความเห็นอันนี้ของผมก็ขอโทษด้วยจะลบก็ลบได้นะครับ


    จากคุณ : newworld - [ 9 ก.ย. 50 17:41:52 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 228

    ขำคุณบุญชิตอะ ต้องไปเปลี่ยนชื่อหรือเปล่าเนี่ย
    วันก่อนดูคลิปข่าวตอนเสธ.แกอธิบายชื่อพรรคก็ว่าฮาแล้วนะ ช่างแถไปได้
    เราใส่ hyphen ไว้จะได้แยกเสียงสระออกจากกัน ถ้าเป็นฝรั่งเศสเค้าคงใส่ accent trema (umlaut) บนตัว i


    จากคุณ : Sa-idian - [ 9 ก.ย. 50 18:52:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 229

    เข้ามาอีกที เห็นคุณ newworld มาแสดงความเห็นเรื่องพอเพียงไว้อย่างน่าสนใจ

    เพราะฉะนั้นประเด็นอะไรที่เขาเสนอไว้แล้ว ผมจะไม่กล่าวให้มันซ้ำซ้อนมากไปแล้วกัน

    จากหลายๆ ความเห็นในกระทู้นี้ ภาพลักษณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ในมุมมองของฝ่ายที่ "ไม่ปลื้ม" แนวทางนี้ ...กำลังกลายเป็นเรื่องของ "วาทกรรมของชนชั้นปกครอง ศักดินาเดิม ที่มีไว้โฆษณาชวนเชื่อกดคนชั้นล่างไม่ให้เผยอขึ้นมาเทียบเทียมศักดินาได้ มีไว้จำกัดไม่ให้คนและประเทศเติบโตพัฒนา ยกฐานะตัวเอง โดยอาศัยคำว่าพอเพียงเป็นเครื่องปลอบใจไปวันๆ"

    แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเช่นนั้นหรือ? หรือมันก็เป็นแค่สิ่งที่ถูกขยายให้เกินจริง เป็น "วาทกรรม" และ "โฆษณาชวนเชื่อ" อีกรูปแบบหนึ่งจากอีกฝ่ายที่อ้างว่าทำเพื่อมวลชนเท่านั้น

    จากคำถามว่า ถ้างั้นคนที่มีน้อย ก็จงเจียมตัวแล้วใช้น้อยๆ และมีความเป็นอยู่อย่างต่ำต้อยต่อไป ในขณะที่คนที่มีมากกลับฟุ่มเฟือยอวดความพอเพียงในระดับล้นเหลือของตนเองได้ตามใจชอบ โดยไม่ขัดกับหลักการพอเพียงใช่ไหม? (ซึ่งแฝงนัยที่กล่าวหาว่าหลักการพอเพียงใช้ไม่ได้หรือ double standard นั่นเอง)

    คุณครับ ...ถ้าแบบนั้น จะต้องให้คนที่มีเงินเดือนหลักพันถึงหมื่น มีสิทธิ์กู้ซื้อบ้านหลังละสิบล้านได้ แล้วขับไล่คนที่รายได้เดือนละหลักแสนไปอยู่กระต๊อบใช่ไหม ถึงจะไม่ศักดินา ไม่กดขี่ ไม่แบ่งชนชั้น ไม่ double standard?

    ถ้าเราจะตัดสินจากมุมมองแห่งนี้ แล้วจากมุมมองของคนที่ต่ำกว่าพวกเราล่ะจะเป็นยังไง? ผมเชื่อว่าพวกเราที่มานั่งถกกันในที่นี้ส่วนใหญ่ ก็คงมีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีพอสมควร มีเน็ตให้ใช้ มีอาหารกิน และอาจจะอาหารหรูๆ กว่าปกติบ้างเป็นบางมื้อ อาจจะใช้รถหรือระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบาย และมีกิจกรรมยามว่างที่ผ่อนคลายอารมณ์สร้างความสุนทรีย์ให้กับชีวิต อาจจะมีของสะสมบางอย่างที่ชอบเป็นพิเศษถึงแม้ของนั้นอาจจะดูไร้สาระในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป และก็อาจจะมีการใช้ทรัพยากรในสิ่งที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ เพื่อทำตามพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ เช่นไหว้ศาลพระภูมิ จัดบ้านใหม่ให้ถูกฮวงจุ้ย ด้วยเช่นกัน
    แม้แต่ชาวบ้านรากหญ้าตามชนบทที่มักจะถูกใช้เป็นภาพบนธงของ "ความลำบากยากแค้นและความอยุติธรรม" จริงๆ เขาก็มีการล้มวัวกินเลี้ยงกัน มีการตั้งวงเหล้า มีการซื้อเสื้อผ้าใหม่ มีหมอลำ เพลงลูกทุ่งจากวิทยุ มีการสังสรรค์ตามร้านกาแฟ มีการทำพิธีบายศรีผูกเสี่ยว บวงสรวงเจ้าที่ ขึ้นบ้านใหม่ อะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย

    ...แล้วถามว่าพวกคุณหรือพวกเขาจำเป็นต้องรู้สึกผิดกับวิถีการใช้ชีวิตของคุณหรือไม่ ถ้าหากได้รู้ว่าในโลกนี้หรือแม้แต่ในแผ่นดินไทยแห่งนี้ ยังมีคนในบางซอกหลืบที่แทบไม่มีอะไรจะกินเพื่ออยู่รอดไปวันหนึ่งๆ บางคนก็เก็บกินสิ่งที่พวกเราเรียกว่า "ขยะ" ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดไปวันๆ โดยไม่มีเวลามาใส่ใจเรื่องที่มากกว่านั้นในชีวิตเลย แต่ถึงจะลำเค็ญเขาก็มีชีวิตอยู่รอดไปได้ในระดับของเขา

    ถ้าพวกเขาบอกว่าสิ่งที่เราทำเป็นสิ่ง "ฟุ่มเฟือย" และเหยียดชนชั้น แล้วเรียกร้องให้เราต้องลงไปใช้ชีวิตอยู่ในระดับเดียวกับพวกเขาบ้างล่ะ จะดีไหม? แล้วทำแบบนั้นมันช่วยให้อะไรดีขึ้นไหมสำหรับทุกคน??

    นี่แหละคงเป็นสาเหตุนึงที่พอพูดถึงสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ คนถึงมักจะนึกถึง "ระบบที่ทำให้ทุกๆ คน ยากจนลงได้เท่าเทียมกัน" (ทั้งที่จริงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น และก็คงไม่ใช่เป้าหมายของอุดมการณ์สังคมนิยมด้วย) และเป็นเหตุให้ผมเลือกใช้คำว่า "ซ้ายพยาบาท" ล่ะ

    เรื่องที่ยกตัวอย่างว่ามีเด็กคนนึงเห็นทางแปรรูปวัตถุดิบในครอบครัวเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขายได้ ผมว่าทางเลือกมันไม่น่าจะจำกัดถึงขนาดที่ ถ้ากู้เงินก้อนใหญ่ๆ มาตั้งโรงงานไม่ได้แล้ว ก็มีแต่ต้องเก็บไอเดียเข้าลิ้นชัก แล้วหันไปเป็นพนักงานกินเงินเดือนก้มหน้าก้มตารับใช้นายทุน เก็บเงินไปอีก 10-20 ปี ถึงค่อยมีโอกาสมาทำอย่างที่มองเห็นลู่ทางได้หรอก


    สุดท้ายของรอบนี้ ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกดึงไปตีความแบบสุดขั้ว คือการบังคับให้คนกลับไปปลูกผักปลูกหญ้าเลี้ยงควายไปวันๆ ไม่ต้องหวังอะไรสำหรับอนาคต

    สุดขั้วอีกฟากนึง ก็คงเป็นเศรษฐกิจฟองสบู่แบบปี 40 ผสมกับบรรษัทธิปไตย-อุตสาหกรรมนิยมแบบโรงงานนรก ทุนนิยมแบบปลาใหญ่กินปลาเล็กที่ยึดถือหลักการว่าถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อก็ต้องเป็นผู้ล่า คนที่แข็งแกร่งและพร้อมจะแข่งขันแย่งชิงทุกวิถีทางเท่านั้นที่จะอยู่รอดในสมรภูมิที่โกลาหลอลหม่าน ล่ะมั๊ง

    แต่คิดว่าพวกเราคงรู้กันได้ ว่าไม่มีใครอยากจะไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบสุดขั้วฟากใดฟากนึงที่ว่ามาหรอก


    จากคุณ : QuaOs - [ 9 ก.ย. 50 20:40:47 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 230

    เหมือนจะตกหล่นไปอย่างนึง จากประเด็นเรื่องความพอเพียง การเจียมตัว กับความฟุ่มเฟือย

    คุณคิดว่าอะไรเป็นปัญหา แล้วอะไรที่ไม่ใช่ปัญหา ระหว่าง

    (1) คนมีรายได้น้อย ใช้เงินน้อย
    (2) คนมีรายได้มาก ใช้เงินมาก
    (3) คนมีรายได้น้อย อยากจะใช้เงินได้มากๆ
    (4) คนมีรายได้น้อย โดยที่จริงแล้วเขามีศักยภาพที่จะทำรายได้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น แต่ยังขาดโอกาสที่จะเติบโต


    จากคุณ : QuaOs - [ 9 ก.ย. 50 20:48:55 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 231

    รออ่านคนอื่นๆมาตอบคุณ New World

    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 9 ก.ย. 50 21:34:32 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 232

    ผมอ่านความคิดเห็นด้านบนแล้ว ผมรู้สึกว่าผมคงไม่มีอะไรในเชิงวิชาการ
    จะมาแสดงความคิดเห็นแล้วครับ

    เพราะท้ายที่สุด ข้อสรุปของเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงคือ  "การใช้ศรัทธานำ
    หน้าปัญญา โดยเฉพาะศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"


    เมื่อเป็นพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวภายใต้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

    ห้ามสงสัย ห้ามตั้งคำถาม ไม่งั้นจะต้องคิดคุก (ดูความเห็น 218 ประกอบ)


    ไม่จำเป็นต้องคิดแบบฝรั่ง (ในการตั้งคำถามแบบโสเครติส)

    หรือคิดแบบศาสนาพุทธ (หลักกาลามสูตร 10 ประการ)

    ในเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"

    สุดท้ายสำหรับกระทู้นี้แล้ว
    เพราะความเห็น 218 ได้ทำให้ผมทราบว่าในประเทศนี้ ประชาชนไทยจะต้อง
    อาเศียรวาท สดุดี เทอดพระเกียรติ สถาบันได้อย่างเดียวเท่านั้น ห้ามตั้งคำ
    ถาม สงสัย หรือแสดงอาการวิจิกิจฉาต่อพระราชดำรัส หรืออะไรที่เกี่ยวข้อง
    กับสถาบันอย่างเด็ดขาด

    ในฐานะพลเมืองไทย ผมยกย่องพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เป็น
    ส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยผ่านวิกฤติการณ์สงครามกลางเมืองอันเป็น
    ส่วนหนึ่งของสงครามเย็นระดับโลกได้อย่างราบรื่น ทำให้ประเทศไทยไม่
    แตกแยกไปมากกว่าที่เป็นอยู่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอินโดจีน

    น่าเสียดายที่มีคนเอ่ยถึงพระราชกรณียกิจ ด้านนี้น้อยมาก ทั้งๆที่เป็นส่วน
    สำคัญส่วนหนึ่งในการกำหนดชะตากรรมประเทศไทยให้ผ่านพ้นช่วงเวลา
    ที่ยากลำบากที่สุดช่วงเวลาหนึ่งของประเทศ

    ในฐานะที่ผมศึกษาเรื่องสงครามเย็นอยู่บ้าง ผมอยากจะเขียนถึงบทบาท
    ของสำคัญของพระเจ้าอยู่หัวในการสมานฉันท์ความแตกแยกครั้งสำคัญของ
    ประเทศ

    แต่ปัจจุบัน พระองค์ถูกสร้างเป็น "เทพ" ไม่ใช่ "สมมติเทพ"
    จึงมีความสมบูรณ์พร้อมปราศจากข้อบกพร่องเยี่ยงมนุษย์ธรรมดา

    ผมจึงไม่อาจเขียนถึงหรือบอกเล่าพระเกียรติคุณของพระองค์เยี่ยง
    ปัญญาชนท่านอื่นที่เขียนถึงรัฐบุรุษชั้นนำของโลกได้

    บางทีอีกหลายปีข้างหน้า เมื่อคนไม่นิยมพระราชวงศ์ ผมจะเรื่องนี้มาบอกเล่า
    เพื่อแสดงพระเกียรติคุณสำคัญส่วนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    องค์ปัจุจบัน


    ในวาระปีมหามงคลนี้ ขอทรงพระเจริญ


    จากคุณ : ปริเยศ (Pariyed) - [ 9 ก.ย. 50 22:39:20 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 233

    เรียน  Sa-idian

    1. อืม ยอมรับว่าข้อนี้ตอบยาก ผมขอตอบแบบหยาบ ๆ แบบนี้นะครับว่า สิ่งที่เรียกว่า Royal Intervention สมัยยุคก่อน 14 ตุลาฯ อำนาจของ"ท่าน" นั้นมาพร้อมกับอำนาจของรัฐบาลเผด็จการทหารอย่างของสฤษดิ์อย่างแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน และต้องไม่ลืมว่า ตอนนั้นรัฐไทยมี "ศัตรู" อยู่อันหนึ่งคือ "คอมมิวนิสต์" (ความจริงเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองไทยหวาดกลัวมาตั้งแต่ร.7แล้ว) สมัยสฤษดิ์นั้น มีการจัดการกับผู้ต้องสงสัยเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเหี้ยมโหด (กรณี"ถังแดง") และตัวสถาบันเองนั้น ก็ถือว่าคอมมิวนิสต์ (หรือ "คำ" อื่น ๆ ที่แลดูคล้าย ๆ กับคอมมิวนิสต์ในความเห็นของชนชั้นปกครองสมัยนั้น เช่น ฝ่ายซ้าย, มาร์กซ์, มาร์กซิสต์, สังคมนิยม ไปจนถึงประชาธิปไตย หรือ "ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน")

    วาทกรรมอย่างหนึ่งทีสฤษดิ์ปาเข้าใส่สังคมไทย คือวาทกรรมว่าด้วย "ประชาธิปไตยแบบไทย" ซึ่งใช้ในการสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครองของตน (เช่น มาตรา 17 ที่ทุกคนคงเคยได้ยินกัน) ประชาธิปไตยแบบไทยนั้นมีนัยยะถึงว่า ประชาธิปไตยที่เหมาะกับประเทศไทยนั้น ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งแบบตะวันตก ("ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง) ไปจนถึงการขุดแนวคิดที่ว่า ประเทศไทยมีประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว (ร.7เรียกตัวเองว่าเป็น electorated monarch) ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ผู้เสนอไอเดียนี้คือพระองค์เจ้าธานีนิวัตร (สะกดถูกป่าวเนี่ย) "The Old Siamese Conception of the Monarchy"

    ฉะนั้น หากถามผมว่าสังคมไทยยุคนั้น พร้อมแต่ไหนกับการไม่มี Royal intervention ผมขอมองว่า สังคมไทยยุคนั้นถูกกดไว้ด้วยวาทกรรม (อุดมการณ์?) ว่าด้วย "พ่อขุนอุปถัมภ์" สังคมไทย (โดยเฉพาะชนบท) ยังถูกกดไว้ด้วย "ปิศาจที่ถูกสราง" อย่างคอมมิวนิสต์ มีการพูดตลอดเวลาในสมัยนั้นว่า หากให้ประชาธิปไตยกับคนไทยมากไป อาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ (อันหมายถึง ประเทศอาจเปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์...อันนี้เป็นคนละประเด็นว่าสรุปแล้ว คอมมิวนิสต์ดีหรือไม่ และขบวนการฝ่ายซ้ายโดยนิสิตนักศึกษาสมัยนั้นเป็นอย่างไร)

    ที่น่าสนใจคือ การเลือกบทบาทของ "ท่าน" ต่อกรณี 14 ตุลาฯและถนอม อย่างที่ผมกล่าวไปแล้วในคห.ก่อนว่า "ท่าน" และถนอมนั้น เป็น partnership ทางอำนาจกัน คือต้องพึ่งพิงอาศัยอำนาจซึ่งกันและกัน การที่"ท่าน"ต้อง take side ฝ่ายนักศึกษานั้น อาจมองได้ว่าเป็น royal intervention และเป็นการ "รักษา" อำนาจของ "ท่าน" ไว้ด้วย เพราะในหมู่การประท้วง 14 ตุลาฯนั้น มีการใช้วาทกรรมราชานิยมมาต่อสู้อยู่มากเช่นกัน

    การกลับเข้ามาของถนอมในช่วงก่อน 6 ตุลาฯนั้น "ท่าน" ได้ให้การรับรองโดยเปิดพระอารามหลวงให้ถนอมอาศัย และมีการเสด็จไปเยี่ยมเยียนด้วย (และอื่น ๆ อีก...ดูหนังสือพิมพ์ช่วงนั้นได้ จะเห็นชัดกว่า) royal intervention ในช่วงนี้เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ครับ อาจด้วยกลัวภัยคอมมิวนิสต์สุดขาดใจเนื่องจากไซง่อนพึ่งแตก การก่อตั้งลูกเสือชาวบ้านหรือกลุ่มนวพล (พลังที่9) ผมมองว่าเป็นหนึ่งใน royal intervention และไปสรุปจบที่ การฆาตกรรมหมู่ในธรรมศาสตร์และการทำรัฐประหารของสงัด ชลออยู่ et al. ในวันที่ 6 ตุลาฯ

    ขอสรุปอย่างนี้ละกันครับว่า สิ่งที่คุณเรียกว่า royal intervention นั้น มาพร้อมกับอำนาจเผด็จการของรัฐบาลทหารที่ปกครองสังคมไทยมาเป็นสิบปี สิ่งที่ตามมาหลังจากเผด็จการทหารคือ hegemony (to use Gramci's term) ของ royalism และมายาคติว่าด้วย "ผู้มีบุญ" ซึ่งเป็น theme หลักในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยที่เต็มไปด้วย heroic history ด้วยเพดานทางความคิดดังกล่าว สังคมไทยไม่ใช่แค่ "พร้อม" หรือ "ไม่พร้อม" royal intervention แต่สังคมไทย 'desire' royal intervention เลยทีเดียว

    2. ผมเข้าใจคุณนะ แต่ผมขอมองอย่างนี้ว่า ในบริบทสังคมไทย "ท่าน" คือภาพตัวแทนของ "ความดี ความจริง ความงาม" ซึ่ง อะไรที่ท่านพูดออกมาจะถูก take it for granted ไปเสียเยอะ แม้แต่เรื่องที่ดูไม่การเมือง เช่น เรื่องตัวอักษรไทย-ยุโรปเมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นที่ชัดเจนว่า นอกจากเป็นการปลูกกระแสและsentiment แบบชาตินิยมแล้ว ยังเป็นการแสดงความเห็นทางการเมืองอีกด้วย ซึ่งในความเห็นของผมนั้น "ท่าน" หรือ "ท่านไหน ๆ ก็ตาม" ไม่ควรแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างเป็นสาธารณะเช่นนี้

    ผมมองว่า การ "จับผิด" หรือการ "วิพากษ์วิจารณ์" นั้นมีเส้นแบ่งกัอยู่นะครับ ผมยกตัวอย่างเช่น ตัวอักษรนไทยมีมาก่อนยุโรปนั้น (โอเค ตัดประเด็นเรื่อง...royal intervention ออกไป...หึหึ) ผมรอการตั้งคำถามเรื่องนี้จากห้องประวัติศาสตร์ในพันทิพย์เป็นเวลานาน และก็เป็นอย่างที่คาด ดูราวกับว่าทุกคน take it for granted ไปแล้ว (หากผมพลาดต้องขออภัย) แค่การตั้งคำถามว่า...เฮ้ย!...จริงง่ะ???

    สังคมไทยมีมโนทัศน์แบบคู่ตรงข้ามไงครับ ในทางตรงกันข้ามกับ "ท่าน" เรามีนักการเมืองผู้แบกภาพลักษณ์แห่งความสามานย์ทุกอย่างเท่าที่เราจะนึกออก นักการเมืองจะพูดอะไรเราสามารถ"จับผิด"ได้เป็นรายวัน (ไม่ได้บอกว่าทำไม่ได้นะครับ) ในขณะที่ "ท่าน" ผู้มีภาพลักษณ์แห่งความจริง ความดี ความงามนั้น เรา..."งมงาย" ไปกับสิ่งเหล่านั้นหรือเปล่า?

    ซึ่งหากมองให้กว้างออกไป การไม่ตั้งคำถามต่อผู้มีอำนาจเช่นนี้ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก...ยิ่งผู้มีอำนาจเช่น "ท่าน" มีอิทธิพลทางการเมืองและคนทั้งประเทศอย่างมหาศาลเช่นนี้

    เรื่องได้ไปถามชาวบ้านรึเปล่าว่าเขาต้องการอะไรนั้น...ผมเข้าใจประเด็นของคุณครับ แต่ปัญหากรอบคิดแบบ elitism ของสังคมไทย (โดยเฉพาะชนชั้นกระฎุมพีและชนชั้นสูง) นั้น คือการดูถูกชนชั้นล่างและ ignore เสียงของชนชั้นล่าง แต่ในขณะเดียวกัน มันก็จะย้อนกลับมาสู่เรื่องเดิม ๆ ที่ผมพูดอยู่ตลอดเวลาว่า สุดท้ายแล้วสังคมไทยนั้น ไม่เปิดโอกาสและพื้นที่ให้คนที่มีความเห็นแตกต่างกันได้ทะเลาะวิวาทกันอย่างมีคุณภาพ ผมเคยเสนอว่า สังคมไทยควรให้มีการจดทะเบียนพรรคสาธารณรัฐไปเลยด้วยซ้ำ (หรือพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้) ทีนี้เรา (และ"ชาวบ้าน") จะได้ "เลือก" กันเลยว่า เราอยากขับเคลื่อนประเทศเราไปในทิศทางใด

    3. Jacques (จ๊าก!) Lacan นี่ผมต้องยกธงขาวอ่ะครับ เนื่องด้วยความยากมากมายบวกกับผมไม่มีพื้นฐาน Freud ที่เเน่นด้วย (มีแค่จิตวิทยา 101) แหะ ๆ...หาก Sa-idian ไล่ให้ไปอ่าน Derrida ยังพอไหวอยู่ (โม้มากเรา !!!)

    ผมดูแล้วครับเรื่อง The Queen เป็นหนังที่ดีมาก ๆ เรื่องหนึ่ง และเป็นหนังที่ทำให้ผมย้อนกลับมามองสังคมไทยด้วย โดยเฉพาะเรื่องการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับสถาบันอื่น ๆ ในสังคมเช่น จากนายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง หรือกับ "ภาคประชาชน" เองที่ตัวสถาบันนั้น ก็ต้องรับฟังและ "เอาด้วย" กับประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ

    เราเห็นความผิดพลาดของอุดมการณ์มามากมายครับ ตั้งแต่สตาลิน, เหมา, และเขมรแดง ไปจนถึงกรณี 6 ตุลาฯ ซึ่งก็ส่งผลร้ายแรงพอ ๆ กัน โดยส่วนตัวผมมองว่าสังคมไทยใน โลกยุคใหม่ (หรือหลังสมัยใหม่) ต้อง go beyond ฝ่ายซ้ายหรือขวาในฐานะอุดมการณ์ที่มาห้ำหั่นกัน ดังนั้น ผมจึงไม่เห็นด้วยและหงุดหงิดอย่างยิ่งที่บางท่านในกระทู้นี้ใช้วิธี...labeled...กันว่า ใครเป็นซ้ายเดียงสาหรือขวาตกขอบ แทนที่จะมาคุยและโต้แย้งกันที่ arguement กัน

    ปล. มีเพื่อนฝากถามมาว่า คุณ Sa-idian เรียนอยู่ม.ชิคาโกรึเปล่าครับ?
    ปล2. พี่ "โกฏิดารา" จะไม่แสดงความเห็นบ้างหรือครับ ;)

    แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 23:22:22

    แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 50 23:26:30

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 9 ก.ย. 50 23:02:52 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 234

    อยู่ลอนดอนค่ะ สาขาที่เราเรียนมัน interdisciplinary มากจนหลายครั้งบางทีเรียกตัวเองไม่ถูกว่าเป็น "นัก" อะไรกันแน่ (คาบเกี่ยวหลาย field มาก วรรณคดี การแปล ภาษาศาสตร์ ปรัชญา cultural studies) แต่หลักๆวิจัยเรื่องวรรณคดีก็ยกตัวเองเป็นนักวรรณคดีละกัน

    สิ่งที่เราสนใจเกี่ยวกับ argument เหล่านี้ คือ discrepancy ระหว่างความจริงกับภาพแทนค่ะ ในฐานะที่เรียนทางมนุษยศาสตร์เราก็ยังอด "มองแทน" เจ้าตัวไม่ได้ เราคิดว่าหลายๆครั้งมันมี "ความเลื่อนไหล" (deferral ของ Derrida) ระหว่าง subjectivity กับ discourse ซึ่งเป็นสิ่งที่นักสังคมศาสตร์จะไม่แตะ (สำหรับ Derrida ไม่มี absolute truth เราเลยใช้ subjectivity ละกัน) แน่นอนว่า "ท่าน" ก็ย่อมมี subjectivity ของท่าน ซึ่งเราก็ไม่รู้แหละ ว่าจริงๆมันคืออะไร แต่พอมันถูกถ่ายออกมาเป็น discourse แล้ว สิ่งที่ท่านตั้งใจจะสื่อ กับ วาทกรรม มันไม่ตรงกันเสมอไป ความเลื่อนไหลตรงนี้มันก็ยากที่จะวัดออกมาเป็น statement ที่ชัดเจน และอย่างที่บอกไว้ว่า ท่านพูดแบบ stream of consciousness ทำให้หลายครั้ง เรางงว่าจะเอาตรงนี้ไปขยายตรงไหน

    พูดถึง speech ล่าสุดเรื่องอักษรไทย ยุโรป เรากำลังคิดว่าท่านพูดถึงอักษรเทวนาครีกับอักษรโรมันหรือเปล่า เพราะอักษรไทยมาจากขอม ขอมก็ได้มาจากอินเดียอีกทอด และเทวนาครีเนี่ยเกิดก่อนอักษรโรมันและกรีก เพราะเห็นท่านพูดว่าท่านเรียนสันสกฤตและ "เหมือนจะ" พยายามโยงมาที่ภาษาไทย เราก็เรียนสันสกฤตเลยค่อนข้างจะเข้าใจว่าที่ท่านพูดว่า "เป็นชั้นๆ" นั้นหมายถึงอะไร ไวยากรณ์ของสันสกฤตจะคล้ายๆละติน คือมี declension ออกเป็น case ต่างๆ อย่างเวลาเราพูดถึง Rama ในฐานะที่เป็นประธานของประโยค Rama ก็จะผันเป็น ramah แต่ถ้าเราเรียกชื่อ rama ก็จะใช้ vocative case เป็น (he) rama ถ้าอ่านสี่แผ่นดินตอนที่ตาอ๊อดเขียนจม.กลับมาเล่าให้แม่พลอยฟังเรื่องเรียนภาษาละตินก็น่าจะจำที่ตาอ๊อดเล่าให้ฟังเรื่องการใช้คำว่าโต๊ะ ใน case ที่ต่างๆกัน เช่น โต๊ะเอ๋ย (เข้าใจว่าหมายถึง vocative case) ก็จะต่างกับโต๊ะที่อยู่ในประโยค คนกำลังต่อโต๊ะ (โต๊ะตรงนี้เป็นกรรม ใช้ accusative case) เป็นต้น ทั้งสันสกฤตและละตินมีระบบไวยากรณ์ที่ใกล้กัน เราคิดว่าสันสกฤตยากกว่าด้วยซ้ำ เลยเข้าใจว่าท่านคงจะสื่อว่า "ศักดิ์ศรี" ของสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาแม่ของภาษาไทย ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาละติน ที่เป็นรากของภาษาในยุโรปเลย เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่าภาษาอังกฤษมันดีกว่าภาษาไทย

    คือเรารู้สึกว่าท่านอยากจะอธิบายมากกว่านี้อะนะคะ แต่จะอธิบายเรื่องพวกนี้ให้คนที่ไม่ได้รู้สันสกฤตหรือละติน หรือพอจะรู้ว่าภาษาพวกนี้มันมีระบบยังไง มันค่อนข้างสับสน ประกอบกับท่านก็สูงอายุแล้ว จะให้ท่านมาพูดแบบคล่องๆเหมือนคนหนุ่มสาว คงไม่ได้

    แต่เราอาจจะผิดก็ได้นะคะ เราว่าท่านคงไม่ได้จะเปรียบเทียบแค่อักษรไทยกับอักษรโรมันหรอก มันค่อนข้างชัดว่าคนละยุค เรายังไม่เห็นคนพูดวิจารณ์เกี่ยวกับสันสกฤตที่ท่านพูดเลย เราเลยไม่รู้ว่า "ผู้รู้" เหล่านั้นตกประเด็นเรื่องสันสกฤตไปได้ยังไง

    เราจำได้ว่าเราก็เคยอธิบายให้ฝรั่งฟังเรื่องสันสกฤตกับไทย โรมันกับภาษายุโรปยุคใหม่เหมือนกัน เราก็เคยพูดทำนองว่า ภาษาไทยก็มีวิวัฒนาการมานานเหมือนกัน เพียงแต่ตอนหลังมันหลุดออกจากกลุ่ม indo-european ที่กลายเป็นวาทกรรมภาษาของชาติที่มี "อารยธรรม" ภาษาไทยเลยดูไม่ "ไฮโซ" ทั้งๆที่จริงภาษาไทยก็มีที่มาที่ไปน่าทึ่งไม่แพ้กันค่ะ

    ที่อังกฤษเป็นภาษาแห่งอำนาจได้ก็เพราะชนะสงคราม และในวงวิชาการอังกฤษก็กลายเป็น lingua franca ไปแล้ว ทำให้ทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษ เขียนหนังสือ บทความวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าต้องการจะเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ทำให้เกิด exclusion ต่อคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ นักวิชาการเลยต้องมาพูดอังกฤษ หรือไทยคำอังกฤษคำ จนโดนค่อนขอดว่าพูดจาภาษาพรหม (โดยอาจารย์นิธิ) ไงคะ อันนี้ก็เป็น dilemma ของนักวิชาการไป

    นอกเรื่องไปพอสมควร เอาเป็นว่าตรงนี้เป็นพื้นที่เล็กๆสำหรับการถก speech อันนั้นละกัน

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 01:20:28

    จากคุณ : Sa-idian - [ 10 ก.ย. 50 01:19:51 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 235

    อืม..เห็นประเด็นเรื่อง ภาพที่เป็นกับภาพแทนแล้วคิดถึงโลร็องต์ บาร์ตส์..แต่เนื่องด้วยสมองผมมันผ่อไปหน่อย ตามประสาคนไม่ค่อยได้คิดไม่ค่อยได้จำอะไรเลยพอสรุปเลาๆ ได้ว่า เราต่อยอดต่อปีกต่อหางออกมาจนเกินเลยจาก Subjectivity มากไปไหม.... เมื่อเราเอามุมองของเรา(ที่มีรูปแบบการคิดแบบของเราอยู่แล้ว)ไปจับสิ่งที่(อยากให้)ลื่นไหลอยู่นั้น มันก็จะทำให้เราเข้าใจอย่างที่เราเข้าใจ หรือเปล่าครับ
    เหมือนเหมาเจ๋อตุง ที่เราเอาไปต่อปีกต่อหางกัน จนเหมาของคนหนี่งอาจจะเป็นมหาบุรุษ คนหนึ่งอาจจะเป็นซ้ายไร้เดียงสาที่เผลอฆ่าคนจีนไปหลายล้าน หรือคนหนึ่งอาจจะเป็นแค่สัญลักษณ์ของสิ่งที่บอกว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการอเมริกา"
    เพราะฉะนั้น หากมีคนๆหนึ่งที่เขาติดกับกรอบว่า Dumbledore's speech ต้องการให้เกิดอิมแพ็คอะไรสักอย่างทางการเมือง ก็ถือว่า เขาถูกในส่วนของเขา
    ตอนเรียนเรื่องบาร์ตส์ผมโดดบ่อยครับ เลยจำคาถาได้เลาๆ แค่บทเดียวว่า คนเขียนตายไปแล้ว คือ ผู้ผลิตงานหมดหน้าที่ตั้งแต่เขียนตัวอักษรตัวนั้นเสร็จ เพราะการตีความเป็นเรื่องของใครของมัน แม้กระทั้งคนทำผลงาน เมื่อกลับมาดูงานตัวเอง ก็มีฐานะแค่คนเขียนคนหนึ่ง
    อืม ส่วนเรื่องภาษานั้น หากจะเอาภาษาไทยไปนับญาติกับภาษาอินโดยูโรเปียนก็คงเหมือนเอาลูกบุญธรรมไปนับญาติกับปู่น่ะครับ คือมันได้แต่ไม่สนิทใจเท่าไร ต่อให้อิทธิพลของแขกอินเดียเขามาอยู่ในภาษาไทยนานแล้วก็ตามที เพราะภาษาไทยจริงๆ เป็นกลุ่มภาษาลาว-ไท(ไม่แน่ใจวาเรียกว่ากลุ่มนี้หรือปล่าว ด้วยจนใจไม่ได้จบนิรุกติศาสต์และภาษาไทยโดยตรง) เป็นตระกูลคำเดี่ยวครับ ถ้านับญาติกันจริงๆ ออกจะใกล้กับภาษาจีนด้วยซ้ำ ไม่ได้เป็นวิภัติปัจจัยแบบพวกภาษาอินโดยูโรเปียนเขา
    สังเกตง่ายๆ ว่า ผมกินหรือคุณกินก็กินเหมือนกัน แต่ภาษาอังกฤษ I eat กะ he eats แล้ว ส่วนเรื่อง การกหรือ case นั้น เท่าที่ผมใช้ภาษาไทยมา22ปี(ตอนขวบหนึ่งผมยังพูดไม่ได้) ผมว่าภาษาไทยเขาไม่ฝันการกประเภท โต๊ะ สีแดง แล้วเป็นของวางอยู่บนโต๊ะ...ต้องผันโต๊ะเป็นโต๊ะห์ ต้องกลายเป็นสocative case แบบในภาษารุส...อย่างนี้ผมก็ไม่เคยเจอครับ
    นอกจากัน้นยังมีเรื่องพจน์ เพศ(อันนี้ภาษาอินโดฯกลายๆอยางอังกฤษเลิกถือไปแล้ว) กาล ที่ต้องผันรูปคำนาม กริยา คุณศัพท์อีกสารพัดเรื่อง ซึ่งผมยังไม่เคยพบในภาษไทยปัจจุบัน รวมถึงภาษาไทยสมัยจารึกพญารามราชและลิไทด้วย
    ส่วนเรื่องประวัติอักษรนั้น อักษรกรีก(บิดาของอักษณโรมันและซีริลลิค) ถึงจะเกิดหลังอักษรเทวนาครีแต่จะสาวบรรบุรุษกัน อักษรกรีกก็มาจากอักษรลิ่มของชาวฟีนิเชีย ที่สืบบรรพบุรุษไปถึงคูไนฟอร์มของเมโส...อย่างน้อยก็แก่พอกันครับ อย่าคิดมาก
    สุดท้ายเรื่องภาษา มันก็เป็นเดรื่องอิหลักอีเหลื่อเช่นกัน เพราะผมทำงานแปลเล็กๆน้อยๆอยู่ทุกวันนี้ ผมมักจะคิดมากอยู่ประจำว่าจะหาภาษาไทยคำไหน มาแทนภาษาฝรั่งในต้นฉบับที่มันดูดีพอกัน เพราะบางคำระดับการกินความไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ "ปัญญาชน"บางคนที่ร่ำเรียนมามาก ชินกับ lingua franca จะพูดคำฝรั่งใส่ในรูปแบบไวยากรณ์แบบไทย เพราะมันคิดไม่ออกจริงๆ แล้วปล่อยให้ชาวบ้านชาวช่องมาสวดชยันโตว่าพูดเป็นแต่ภาษาพรหมอยู่พวกเดียว
    สุดท้าย ผมก็ไม่รู้จริงๆว่าท่านคิดอะไร แค่ท่านอาจจะรำคาญกระแสแอ๊บแบ๊วเฉยๆก็ได้
    ชิมิเคอะ

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 04:48:10

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 04:46:38

    จากคุณ : สิงโตมีปีก (นายปลาตีน) - [ 10 ก.ย. 50 04:45:38 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 236

    ^
    ^
    เรื่องภาพแทนก็ประมาณนั้นแหละค่ะ ถ้าจะใช้ Foucault แล้วเค้ามักจะแก้โดยการหา counter discourse ที่จะแย้งกับวาทกรรมที่เรากำลังพูดถึง จริงๆมันก็เหมือนกับพยายามหาข้อโต้แย้งเพื่อพิสูจน์ว่าที่เรากำลัง argue นั้นมันมีน้ำหนักมากกว่า

    [Barthes ยังมีความเชื่อเรื่อง centre อยู่ แต่ Derrida ไม่มี แนวคิด deferral เลยยังไม่เห็นเด่นชัดในงานของ Barthes ค่ะ]

    ไทยอยู่ตระกูล Tai-Kadai อยู่ใกล้ภาษาจีนมากกว่าค่ะ ถ้านับเรื่องไวยากรณ์ เราไม่ได้บอกว่าภาษาไทยมีไวยากรณ์ระบบเดียวกับสันสกฤตนะคะ ไวยากรณ์อังกฤษก็ไกลจากละตินเหมือนกันค่ะ (แต่ยอมรับว่าไทยไกลกว่าจากสันสกฤต) แต่ตระกูลอินโดยูโรเปียนเนี่ย มันถูกอ้างบ่อยว่าเป็นภาษาบ่อเกิดอารยธรรม มันเลยดูสำคัญ ภาษาตระกูลอื่นมันดูไม่ไฮโซเท่า อย่างที่บอกว่าภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียนมันกลายเป็นวาทกรรมแห่งความเหนือกว่าทางอารยธรรมไปแล้ว ตัวอย่างเช่น นักวิชาการยุคล่าอาณานิคมหลายคนพยายามศึกษาความเจริญของอินเดียแล้วก็พยายามโยงอารยธรรมอินเดียเข้ากับอารยธรรมตะวันตก เช่น Emile Burnouf นักวิชาการสันสกฤตของฝรั่งเศส โยงไปโยงมา จนคนขาวกลายเป็นอารยัน เหนือกว่าพวก semite จนฮิตเลอร์เอาวาทกรรมอันนี้ไปเป็นข้ออ้างฆ่าล้างชาวยิว (จริงอยู่ว่าภาษายุโรปเป็นญาติ (ห่างๆ) กับแถว levant และอินเดีย แต่ไอ้การจะอ้างว่าเหนือกว่าเนี่ย มันต้องผ่าน discourse หรือ propaganda อย่างเป็นกระบวนการถึงจะมีผล)

    จะว่าไป "ท่าน" ก็พยายามจะโยงเหมือนกัน แต่เราก็ยังเห็นว่ามีเหตุให้โยงได้อยู่นะ อังกฤษทุกวันนี้มันก็รับมาหลายทอดอยู่ ตั้งแต่Old English มาจาก Celt/Norse/Anglo-Saxon/Germanic ไทยเราก็มีวิวัฒนาการมาหลายทอดไม่ต่างกัน เพียงแต่คนหลายคนไม่รู้ว่ากว่าจะมีภาษานี้ มันเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ได้เกิดจากสุญญากาศ คนไทยไม่ต้องถูกบังคับให้พูดภาษาอื่น ไม่เหมือนภาษาในแอฟริกาที่เป็นภาษาพูด หลายภาษาหายไปเพราะอาณานิคม เราไม่ได้หลงชาตินะ แต่เราเห็นว่าอัตลักษณ์ของชาติสร้างมาได้ก็เพราะภาษาเป็นสำคัญ ที่ยกตย. Indo-European เนี่ย ไม่ได้ต้องการบอกว่าเพราะเราไม่ใช่ indo-european เราเลยไม่สำคัญ แต่อยากบอกว่า indo-European ในแง่หนึ่งก็ถูกเอาไปใช้ในวาทกรรมอำนาจ ในยุคก่อนสงครามโลก งานวิจัยทางเชื้อชาติถูกเอาไปใช้ในเชิง propaganda เพื่อสร้างกระแสความเหนือกว่าทางชาติพันธุ์ เราผ่านยุคนั้นมาแล้ว น่าจะมองว่าแต่ละภาษามันมีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ เราต้องอยู่กับมัน เราเรียนรู้รับรู้ความเป็นไป สร้างภาพของตัวเองขึ้นมาก็จากภาษาที่ใช้ทั้งนั้น

    ก็มีนักเขียนอินเดียก็ลุกขึ้นมาประกาศ ถึงฉันจะเขียนนิยายเป็นภาษาอังกฤษ แต่ชั้นก็จะเขียนแบบอินเดียนี่แหละ (อันนี้ก็ไม่รู้ว่าเขียนยังไง) เพราะอังกฤษมันไม่ pure อีกต่อไป เป็น Englishes และฉันก็จะเขียนแบบ Indian English เพราะนี่คืออัตลักษณ์ของฉัน

    lingua franca ก็แล้วแต่จะมอง เรามองว่าการแปลเป็นการสร้างเทคโนโลยีทางวัฒนธรรม ยิ่งแปลเข้ามามาก เรายิ่งมีเครื่องมือในการสื่อคอนเซปต์ที่ไม่เคยมีมาก่อนมากขึ้น ก็เหมือนการแปล discourse ว่าวาทกรรมแหละค่ะ จากที่ไม่เคยมีคอนเซปต์นี้ก็กลายเป็นว่ามีขึ้นมา มีเครื่องมือให้ใช้ในการสื่อความคิดมากขึ้น  ครั้นจะไม่เปิดรับเลยเนี่ย เราก็จะมีเครื่องมือที่ใช้ช่วยคิด ช่วยสื่อความหมายน้อย ก็คงต้องเปิด third space อย่างที่นักวิชาการการแปลว่ากัน (e.g. Sherry Simon) รับมาแบบผสมผสานเพื่อเปิดพื่นที่ใหม่ทางภาษา เป็นวิธีที่ compromise ซึ่งก็ดี

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 06:58:05

    จากคุณ : Sa-idian - [ 10 ก.ย. 50 06:25:06 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 237

    กลับมาอ่านดู เหมือนกำลัง defend อยู่เลย แต่อยากบอกว่า ท่านก็ไม่ได้พูดถูกทั้งหมดหรอก แต่สิ่งที่ท่านพูดมันไม่ได้มีแต่ message ด้านลบ ที่มี impact ทางการเมือง อย่างเดียว มันมีอะไรหลายอย่างอยู่ในนั้น และคงไม่ถูกถ้าจะกรองเอาแต่ด้านที่เราคิดว่าเอาไปโจมตีได้อย่างเดียว อย่างที่บอกว่าท่านก็คงต้องการ get message across แต่ความหมายมันมีการเลื่อนไหล พอมันเข้าสู่ discourse หลายอย่างมันก็หายไป หรือถูก repudiate จริงๆถ้าเราจะเอาตรงนี้มาแย้งนักวิชาการก็ได้นะ ว่าการวิจารณ์นั้น เป็น "วาทกรรมจงใจจับผิด/มองด้านเดียว" หรือเปล่า เอิ๊ก 555 (แต่จริงๆก็เข้าใจได้ เพราะแนวโน้มจะสรรเสริญเยินยอมันมีมากกว่า ต้องหาอีกด้านมาถ่วงดุล)

    มาลองมองดูจากมุมท่านด้วย จะดีไหม เราว่ามีการ boost ให้รักชาติ รักวัฒนธรรม ก็ดีออก เพราะทุกวันนี้คนไทยหลายคนไม่รู้จะไปภูมิใจอะไร เป็นผู้หญิงไทยไปต่างประเทศก็โดนเพ่งเล็งอยู่แล้ว ในอังกฤษเอง อะไรที่มัน associate กับเมืองไทยก็ไม่ค่อยสวยนักหรอก ที่ดีหน่อยก็ อาหารไทย มวยไทย นอกนั้นก็ thai bride (mail-ordered bride) junta ping pong show drugs beach etc. และไอ้การ boost แบบนี้มันไม่ถึงกับเป็น propaganda หรอก เพราะคนไทยทั่วไปก็มีความคิดแนวนี้อยู่แล้ว ท่านก็มาพูดย้ำๆ ให้เป็นกระแสมากขึ้น  

    ปล.
    เราว่าคนมองข้ามเรื่องภาษามากไปหน่อย เราเอาโคลงสี่สุภาพไปอธิบายให้ Prof ภาษาศาสตร์ท่านนึง เค้าอัศจรรย์ใจมาก เลยได้ถกเรื่อง aesthetic tonicity ของกลอนต่อไป ว่าเสียงสูงต่ำของกลอนในแต่ละชาติมันเกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์ได้ยังไง ซึ่งเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่เราควรภูมิใจนะ

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 07:02:55

    จากคุณ : Sa-idian - [ 10 ก.ย. 50 06:48:38 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 238

    ก็ตามอ่านอยู่เรื่อยๆ น่ะครับ...

    ได้ความรู้ใหม่ๆ ที่หาอ่านได้ยากดี...

    แต่เท่าที่อ่านมา...ผมมองว่า "ซ้าย" นี่...ท่าทางจะไม่ "ไร้เดียงสา" อย่างที่หลายๆท่านให้ความเห็นซะแล้วครับ...เพราะหลายๆ ท่านให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว...

    ขอบคุณมากครับ..กับข้อมูลดีๆ...

     
     


    จากคุณ : วิญญาณเดียวกัน - [ 10 ก.ย. 50 10:31:18 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 239

    มาตอบเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

    ตัวอย่างที่คุณ QuaOs ยกมา

    [[
    "จะต้องให้คนที่มีเงินเดือนหลักพันถึงหมื่น มีสิทธิ์กู้ซื้อบ้านหลังละสิบล้าน
    ได้ แล้วขับไล่คนที่รายได้เดือนละหลักแสนไปอยู่กระต๊อบใช่ไหม ถึงจะไม่ศักดินา ไม่กดขี่ ไม่แบ่งชนชั้น ไม่ double standard?"
    ]]

    มันเป็นเรื่องสุดโต่ง ที่ไม่มีใครเขาคิดกันอย่างนั้น นอกจากพูดเอาสะใจไปวันๆ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าในระบบใด

    ธนาคารที่ไหน จะให้คนเงินเดือนพันถึงหมื่น กู้เงินไปซื้อบ้านราคาสิบล้านมิทราบ ?

    และผมก็ไม่ได้เสนอ ว่าให้คนรวยมาอยู่กระต๊อบแต่อย่างใด

    ตัวอย่างสุดโต่งแบบนี้คงไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง

    เศรษฐกิจพอเพียง มีหัวใจว่า ใครมีเท่าไร ควรใช้เท่านั้น
    ไม่ควรใช้เงินเกินตัว หรือลงทุนเกินความสามารถ

    แต่ความสามารถพวกนั้น ใครเป็นคนกำหนด ?
    เกินตัว ? วัดจากอะไร

    ชีวิตมันไม่ง่ายแค่เท่าที่บอกว่า "มีเงินหมื่นใช้อย่าเกินหมื่น" หรอกครับ

    จุดที่ผมไม่ปลื้ม คือ เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นเอาแต่เฉพาะคนกลุ่มกลางๆ
    หรือกลุ่มด้อย ที่ยังขาดอยู่ แต่เศรษฐกิจพอเพียง ไม่เคยพูดถึงคนที่ "มีเกิน"

    เศรษฐกิจพอเพียงไม่เคยมีส่วนไหนที่บอกว่า จะเอาส่วนเกินมาจัดการ
    อย่างไร ให้คนกลุ่มใหญ่ ที่ยังไม่พอ หรือยังขาด มี "พอใช้" บ้าง

    หนำซ้ำยังบอกว่าของแพงๆก็ใช้ได้ ถ้ามีเงินพอ ไม่ถือว่าไม่พอเพียง

    ถ้าคุณบอกว่า คอมมิวนิสต์ทำให้คนลงมาจนเท่าๆกัน
    เศรษฐกิจพอเพียงในสายตาผม ก็บอกว่า ใครจะจน ก็จงจนต่อไป
    ใครที่รวยเท่าใด ก็ปล่อยให้รวยเสียให้เข็ด

    ไม่ได้ถึงขั้นต้องอยู่กระต๊อบ แต่ถ้าคุณอยู่ในชั้น "มีเกิน" ก็ต้องมีมาตรการ
    ใดๆ ที่จะดึงนำส่วนเกิน ออกจุนเจือส่วนขาดบ้าง สังคมถึงจะอยู่ไปได้

    ซึ่งตรงนี้ทุนนิยม (ที่ถูกมองว่าสามานย์) เขา "มี" ครับ

    คนที่มีทรัพส์สินมาก ในโลกของทุนนิยมโดยแท้ ไม่อาจนอนกินบุญเก่าสบายใจได้
    ต้องทำงานหรือทำให้งอกเงย มิเช่นนั้น ทรัพย์สินนั้นจะกินตัวเองหายไป
    ลงไปเป็นส่วนต่าง ที่ช่วยผยุงคนที่ยังไม่พอในสังคม

    เพราะระบบภาษีมรดก ระบบภาษีอสังหาริมทรัพย์
    รวมทั้งระบบภาษีอัตราก้าวหน้าที่ใช้ได้จริง
    กับคนทุกกลุ่มในสังคม

    ทำไมเจ้าของปราสาทในยุโรป ต้องทำมาหากินด้วยการทำไวน์ขายบ้าง
    จัดทัวร์ปราสาทบ้าง สนับสนุนกิจการ OTOP บ้าง นั่นเพราะถ้าหารายได้
    ไม่พอจะจ่ายภาษีเลี้ยงปราสาทนั้น ก็จะได้ขายปราสาทให้รัฐไปใช้หนี้ภาษี เหมือนหลายปราสาท ในเยอรมันและฝรั่งเศส

    ทำไมอภิมหาเศรษฐี อย่าง บิล เกต ต้องตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศล เจียดเอากำไรจาก
    ไมโครซอฟต์ไปทำการกุศล ส่วนหนึ่งก็เพื่อจะลดภาระภาษีที่มหาศาลด้วย
    ซึ่งนโยบายภาษีหลายๆประเทศ ได้ให้ทางเลือกว่า ถ้าไม่อยากเสียภาษีหัวบาน
    จงช่วยเหลือสังคม ในรูปแบบองค์กรการกุศล

    นี่คืออีกด้านหนึ่ง ของ "ทุนนิยมสามานย์" ที่คนทำมากได้มาก แต่ถ้ามากไป ต้องแบ่ง

    คนทำน้อย ได้น้อย มีน้อย แต่รัฐก็จุนเจือ ผ่าน"ส่วนเกิน" ของคนทำมาก

    นี่คือทุนนิยมของแท้นะครับ ใช้ในประเทศที่เจริญแล้วทั้งนั้น ทั้งในญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ

    เห็นฝรั่งอยู่อพาร์ตเม้นต์ ไม่ได้แปลว่าเขาไม่มีเงินซื้อบ้าน
    แต่เพราะเขาอยู่กันน้อย คนสองคน ครอบครัวสมัยใหม่
    มันไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปรับภาระภาษี ในการซื้อบ้านหลังใหญ่ๆอยู่

    ฝรั่งที่รู้จักเคยบอกว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงินจะซื้อบ้าน แต่เป็นเงินที่จะเอา
    มาจ่ายภาษีต่างหาก

    เอาเข้าจริงๆ ระบบทุนนิยมต่างหาก ที่คนอยู่กันพอเพียง ไม่เกินตัวโดยแท้

    ให้คุณมีเงินหลายสิบล้าน แต่ถ้าอยู่คนเดียว ใช้คนเดียว
    ก็ไม่มีใครบ้าปลูกบ้านขนาดมหึมาเป็นไร่ๆ มีบริวารเป็นโหล หรอกครับ
    เพราะภาระภาษีมันค้ำคอ เขาก็อยู่บ้านเล็กๆ หรือไม่ก็อพาร์ตเมนต์ในเมือง

    แต่เมืองไทย สบายๆนะ
    ยิ่งเศรษฐกิจพอเพียง คุณมีเงินหลายสิบล้าน ปลูกบ้านหลังละสิบล้าน
    ...ยังพอเพียง....

    นี่คือทุนนิยมครับ... การบริหารจัดการทรัพยากรที่มองทุนเป็นทรัพยากรที่ต้องจัดการ

    มิใช่การ "นิยมผู้มีทุน" มากๆ

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 22:12:59

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 14:04:33

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 10 ก.ย. 50 14:03:36 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 240

    [[[เรื่องที่ยกตัวอย่างว่ามีเด็กคนนึงเห็นทางแปรรูปวัตถุดิบในครอบครัวเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขายได้ ผมว่าทางเลือกมันไม่น่าจะจำกัดถึงขนาดที่ ถ้ากู้เงินก้อนใหญ่ๆ มาตั้งโรงงานไม่ได้แล้ว ก็มีแต่ต้องเก็บไอเดียเข้าลิ้นชัก แล้วหันไปเป็นพนักงานกินเงินเดือนก้มหน้าก้มตารับใช้นายทุน เก็บเงินไปอีก 10-20 ปี ถึงค่อยมีโอกาสมาทำอย่างที่มองเห็นลู่ทางได้หรอก]]]

    ถ้าอย่างนั้น ก็รบกวนขอ "ทางเลือก" ที่คิดว่าไม่จำกัดหน่อยสิครับ
    ทางเลือกที่ไม่ต้องไปกู้ด้วยนะ
    เพราะเศรษฐกิจพอเพียง มองการ "กู้เงินจำนวนมากๆ เพื่อลงทุน"
    เป็นการลงทุนเกินตัว เป็นความเสี่ยง เป็นเรื่อง "อยากรวยเร็ว-อยากรวยลัด"
    อยู่แล้ว

    (โปรดสังเกตจากคำตอบของคุณ newworld)

    แต่ขอโทษที ในการกู้เงินเพื่อทำกิจการใดๆ เขามีกลไกวิเคราะห์ความเสี่ยง
    ของเขาประมาณหนึ่งอยู่แล้ว การกู้มาก นั่นเพราะเขาเห็นว่ามันมีความเป็นไปได้
    ในการประสบความสำเร็จอยู่

    นี่คือทุนนิยมไงครับ... ใครมีทุน แต่ไม่อยากเสี่ยง ก็ไม่ต้องเสียง เอา "ทุน"
    ของท่านมาให้ผู้อื่นที่มีไอเดีย ช่วยเสี่ยงจะดีกว่า

    เรื่องเศรษฐกิจล่มสลายตอนปี 40 ไม่ได้เกิดจากการกู้เงินเกินตัว แต่อย่างเดียว นะครับ ไปศึกษามาใหม่

    โอเค มันมีบ้าง ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ที่เน้นเก็งกำไรเกินกว่าการอยู่
    อาศัยจริง (ซึ่งถ้ามันเป็นทุนนิยมจริงๆ มันก็จะไม่เกิดภาพแบบนี้เพราะไม่มี
    ใครบ้า ซื้อบ้านไว้เก็งกำไร เพราะภาระภาษีจะทำให้คุณขาดทุน ขนาดซื้ออยู่
    เอง บางทียังไม่คุ้มเลย - ลองหาอ่านใน "พ่อรวยสอนลูก")

    แล้วอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ล่มไปละครับ ? เขาผิดหรือ ? ที่กู้เงินมาสร้างอุตสาหกรรม
    สร้างทั้งงาน และสร้างทั้งผลิตผลมาเลี้ยงประเทศ

    ปัญหาคือ ค่าเงินบาท เป็นปัจจัยแทรก ที่ไม่มีใครป้องกันได้ ไม่ว่าจะเซียนขนาดไหน

    ผมเคยอ่านในบล๊อกของนักการเงินคนหนึ่ง เขายอมรับเลยว่า ปกติค่าเงิน
    จะไม่นำมาใช้วิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นเท่าไร จึงไม่มีใครทดสอบ
    โมเดลนี้ว่าถ้าค่าเงินมันตกลงไปเท่านึง จะเป็นอย่างไร

    ซึ่งเครษฐกิจพอเพียง คงป้องกันปัญหานี้ได้แน่นอนครับ
    เพราะไมกู้เลย หรือกู้ก็กู้น้อยๆ แต่คุณก็ลองดูแล้วกัน ว่าถ้าใช้จริง
    ประเทศเราจะเหลือกี่บริษัทที่ไม่กู้เงินมาลงทุน

    (และอีกนิดหนึ่ง บริษัทเหล่านั้น มีแหล่งทุนมาจากไหน...)

    กระทั่งกิจการของคุณเอง หรือที่คุณเป็นลูกจ้าง มีการกู้เงินมาลงทุนไหมครับ ?

    ถ้ามี แล้วถ้าเกิดอยู่ดีๆ ค่าเงินบาทมันตกลงไปแล้วเจ๊ง

    นี่ก็เพราะไม่พอเพียงหรือเปล่าครับ ?

    การบอกว่า วิกฤตเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่เกิดเพราะคนไทยไม่พอเพียงจริงๆ
    ก็เป็นเรื่องเหยียบซ้ำคนล้มกันเกินไป

    ผมรู้จักคนทำธุรกิจแบบระมัดระวังหลายคน ที่เจ๊งไปช่วงนั้น แบบช่วยไม่ได้ เยอะครับ

    (ขนาดปลูกโรงงานในที่ดินตัวเอง ซื้อเครื่องจักรด้วยเงินสดครึ่งๆ ไม่ได้กู้เพื่อซื้อที่หรือปลูกโรงงานด้วยนะ)

    แก้ไขเมื่อ 10 ก.ย. 50 14:29:00

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 10 ก.ย. 50 14:28:07 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 241

    สุดท้าย "การบ้านหนัก" ของผู้นิยมเศรษฐกิจพอเพียง
    คือการต้องหาตัวอย่างใหม่ๆ มาโฆษณาน่ะครับ

    ให้คนเห็นว่า เป็นโปรแกรมเมอร์อิสระ เป็นนักลงทุน
    เป็นพนักงานออฟฟิส แต่อยากมีชีวิตที่ดีขี้น

    จะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้อย่างไร

    มิใช่เอะอะก็ ปลูกผัก ขายน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋
    แล้วก็ใส่เสื้อเหลืองยืนยิ้มมมม อยู่ร่ำไป

    ผมไม่ได้บ้าลุกขึ้นมาต่อต้านเศรษฐกิจพอเพียงเล่นๆ
    เพราะหมั่นไส้ อยากขวางกระแส เป็นเด็กแนว แต่อย่างใด

    แต่รู้สึกว่า นอกจากตัวอย่างที่ยกไป มันมีกรณีใช้ได้จริง
    น้อยเหลือเกิน และมีช่องว่างเต็มไปหมด

    รวมทั้งไม่ได้ช่วยในด้านการกระจายส่วนเกิน
    หรือลดความไม่เท่าเทียม ลงด้วยซ้ำ


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 10 ก.ย. 50 14:33:01 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 242

    ......................

    มิใช่เอะอะก็ ปลูกผัก ขายน้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋
    แล้วก็ใส่เสื้อเหลืองยืนยิ้มมมม อยู่ร่ำไป


    ...............................

    ถูกใจมากครับ

    และสิ่งหนึ่งที่อย่าพยายามขยายศก.พอเพียงไปถึงเรื่องการวิเคราะห์ความเสี่ยง เพราะเขามีคนคิดไว้อยู่แล้วหลายทฤษฎี    ไม่ต้องไปพยายามขยายความจนเหมือนลอกความคิดคนอื่นเขา


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 10 ก.ย. 50 15:59:53 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 243

    อ่านความคิดเห็นของคุณบุญชิตแล้วนับถือเลยครับว่าเป็นคนมองโลกได้กว้างมาก เห็นด้วยอย่างยิ่งในหลายๆ ประเด็นที่คุณเสนอมาครับ


    เห็นคุณบุญชิตฯ เปิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องภาษี ผมเองอยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหน่อยครับ


    ผมว่าเมืองไทยตอนนี้กฎหมายด้านภาษีของเรายังมีช่องโหว่เยอะมาก ถ้าเรามีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีจากคนรวยมาช่วยคนจนได้มากกว่านี้น่าจะดีนะครับ ผมไม่ได้บอกให้รัฐบาลขูดรีด หรือบังคับให้คนรวยจ่ายภาษีมากๆ นะครับ แต่เค้าควรจะจ่ายให้สมเหตุสมผล อย่างเช่นการตั้งมูลนิธิ อย่างที่คุณบุญชิตฯ ยกตัวอย่างไว้


    ซึ่งตรงนี้ผมว่าสังคมยังมีข้อกังขากับทางสถาบันเยอะครับว่าในแต่ละปี สถาบันมีรายได้เท่าไหร่ เพราะเท่าที่ดูจากข่าวพระราชสำนักในแต่ละคืน ก็จะมีคนถวายเงิน บางครั้งเห็นถวายพร้อมๆ กันเป็นสิบๆ ราย แล้วก็คำอธิบายว่า "เพื่อใช้จ่ายตามพระราชอัธยาศัย" แน่นอนครับ สถาบันมีสิทธิ์ที่จะใช้เงินที่ได้มา อย่างไรก็ได้ เพราะเป็นเงินที่เกิดจากความเต็มใจของทั้งผู้ให้และผู้รับ แต่คำถามที่ถามมาคือ ถ้ามีรายได้เกิดขึ้น จำเป็นต้องเสียภาษีด้วยหรือเปล่าครับ

    สถาบันได้รับเงินบริจาคอย่างเต็มที่ สำหรับ "ท่าน" เอง ผมเชื่อว่า "ท่าน" คงนำเงินที่ได้มาช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจน ไม่ว่าจะเป็นโครงการหลวง โรงพยาบาลของรัฐ หรือมูลธิต่างๆ แต่คนอื่นๆ ในครอบครัวของท่านหล่ะครับ นำเงินที่ได้ไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์กับประเทศหรือไม่ หรือว่าเอาไป "เพื่อใช้จ่ายตามพระราชอัธยาศัย"


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 10 ก.ย. 50 17:28:02 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 244

    ส่วนตัวผมไม่ขอลงไปในข้อถกเถียงเรื่องนิรุกติศาสตร์นะครับ (น่าจะแตกประเด็นไปอีกกระทู้เลยนา...)

    ผมไม่ปฏิเสธเรื่องการ "เลื่อนไหล" ของ ภาษา/ความหมาย/วาทกรรม/ฯลฯ ปัญหาของผมคือ discourse ของ "ท่าน" นั้นมันไหลไปมีผลกระทบต่อการเมืองและต่อชีวิตคนทั้งประเทศ และยิ่งไปกว่านั้น การ boost ให้ "รักชาติ" หรือสร้าง sentiment แบบชาตินิยมในลักษณะแบบ "ท่าน" นั้น ในความเห็นของผมและในโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมไทย (ผม genearlise จากบทเรียนทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่ามันมีช่องโหว่อยู่) เป็นแค่ means ที่เพื่อให้ใครบางคนบรรลุ ends บางอย่าง ผมเสนอว่า การพยายาม make sense การเลือกใช้และเลือก "ประดิษฐ์" คำ/ความหมาย/discourse ของ "ท่าน" นั้น ต้องดูบริบททางการเมืองเข้าไปประกอบด้วย ทำไม "ท่าน" ถึงเลือกที่จะ boost อารมณ์ชาตินิยมในช่วงเวลาที่ EC ขออนุญาตเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ด้วยการเปรียบเทียบ (สร้างคู่ตรงข้าม?) "ไทย" กับ "ยุโรป" ทำไมถึงต้องถ่ายทอดออกทีวี (เรื่องการถ่ายทอดนี้ทำให้ผมไม่ค่อยเชื่อว่า "ท่าน" didn't organized his speech before hand) ฯลฯ

    อืม...สิ่งที่ผมรู้สึก (อาจเรียกว่าเป็น impression ก็ได้) จากการโหมประโคมกระแสชาตินิยมในสังคมไทยในช่วงปีหรือสองปีที่ผ่านมาคือ ดูราวกับว่าเราได้สร้าง 'occidentalism' ขึ้นมา (โดยเฉพาะหลัง 19 กันยาฯ เป็นต้นมา) เรื่องนี้ผมไม่ฟันธงครับ เพราะไม่คุ้นเคยกับconcept ของ orieantalism-occidentalism ต้องรอคุณ Sa-idian (หรือท่านอื่น ๆ) มาสานต่อ...

    ยังไม่นับ speech อีกหลายกรรมหลายวาระที่ผมมองว่ามีปัญหา และ-จะว่าผมจับผิดก็ได้-ทำให้ผม question agenda และจุดยืนของ "ท่าน" มาก ๆ ในฐานะคิงในระบอบเสรีประชาธิปไตย อย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว discourse ที่ออกจากปาก "ท่าน" นั้นมันมิได้ตกอยู่แถว ๆ นั้น แต่มัน "ไหล" ไปสร้าง impact ต่อชีวิตคนทั้งประเทศ หากผมดึง Althusser กลับมาใช้อีกครั้ง discourse เหล่านั้นเป็นการกด discourse อื่น ๆ ในสังคมไว้ (หากใช้ภาษาแบบ Althusser คือเป็นการผลิตซ้ำและกดทับทางอุดมการณ์ของชนชั้นปกครอง)  และในขณะเดียวกันก็ take action บางอย่างด้วย

    เอ...ทั้งหมดนี้เป็น... royal intervention รึเปล่า???

    แก้ไขเมื่อ 11 ก.ย. 50 00:33:18

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 11 ก.ย. 50 00:26:11 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 245

    คห.28
    "น้ำตาลเนี่ย
    ถ้าหมั่นวิจารณ์บ่อยๆ ว่ามันเค็ม

    น้ำตาลจะเค็มลงไปตามคำวิจารณ์หรือครับ

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players)   - [ 29 ส.ค. 50 23:35:22 ]  "
    เห็นด้วยอย่างยิ่ง
    ความยาวของกระทู้ แสดงถึงความสนอกสนใจต่อสถาบัยอย่างยิ่งยวด
    สถาบันเป็นอย่างไร ก็เฉกเช่นน้ำตาล คงไม่กลายเป็นเกลือแน่นอน เพราะเกลือก็ต้องเป็นเกลือ น้ำตาลต้องเป้นน้ำตาล ในสายตาของผู้เฝ้ามองอย่างไม่ละสายตา


    จากคุณ : EHK - [ 11 ก.ย. 50 02:00:31 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 247

    ไม่รู้จักพระยาพิชัย  จะถูกจับหรือไม่  ไม่เห็นเป็นประเด็น
    ความคิดความเชื่อของใครก็ของมัน  อ่าน ฟัง คิดและวิเคราะห์เป็นก็พอแล้ว  จะไปด่าหรือยุ่งกับความคิดอีกฝ่ายทำไม

    แต่ก็เห็นด้วยกับ คห.28 ด้วยคน

    แก้ไขเมื่อ 11 ก.ย. 50 09:32:41

    จากคุณ : คองแคง - [ 11 ก.ย. 50 09:30:25 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 248

    อืม....พาเข้ารกเข้าพงไปไกลถึงบรรพบุรุษภาษาผมคิดว่ามันออกแนวเรื่องไม่มีประโยชน์ไปหน่อย เหมือนเถียงว่าบรรพบุรุษใครแก่กว่ากัน เพียงแต่ผมเชื่อว่าระบบไวยากรณ์น่าจะเป็นตัวบอกถึงบรรพบุรุษของภาษาได้ดีกว่าตัวคำที่นำมาใช้กัน
    เรื่อง ศ.ก. พอเพียงเพียงพออะไรนั่น ผมไม่ขอเสริมครับ เพราะผมค่อนข้างเห็นด้วยคุณบุญชิตฯ เพราะผมเชื่อว่าเรื่องจนเท่ากัน รวยล้นฟ้าหรือกู้มาบริโภคตะพึดน่ะงี่เง่าเกินการ
    ขอกลับมาคุยกะอาจารย์ซาอิเดียนต่อนะครับ(คงต้องเรียกอาจารย์ เพราะคาดว่าถ้ากลับมาเมืองไทย ผมคงได้เป็นศิษย์คนหนึ่งที่โดดคาบเรียนบ่อยที่สุด)
    อันว่าความเลื่อนไหลนั้น เราก็รับกันแล้วว่ามันไหล และจับมาใช้อย่างไร แต่ปัญหาของผมก็คือ เมื่อเราจะจ้องจับผิดด้วยมุมมองของผม(รวมทั้งเจ้าฮกฯด้วย) ก็คือมันไหลไป"ปั่นไฟ" ได้ เหมือนที่เจ้าฮกฯมันยกเรื่องการสร้างoccidentalism-orientalism ขึ้นมา แถมออกทีวีอีก
    จะสังเกตว่าช่วงนี้ Dumbledore ท่านมีอะไรแถลงออกทีวีบ่อยเหลือเกิน แถมหลายอย่างก็มีการรับลูกเป็นอย่างดีจากรัฐบาล(ความจริงก็มีมานานพอควร แต่จะเห็นได้ว่าออกนอกหน้าอย่างนี้มีไม่กี่สมัย)
    เมื่อพูดถึงวาทกรรมการจับผิดในฐานะที่Dumbledore เป็นเช่นนี้ เราคงจะพูดไม่ได้ว่า ผมหลายๆคนที่มัวจ้องจับผิดนั้น ไปจับผิดท่านเอง แต่เป็นเพราะการแถลงนั้นออกมาผ่านสื่อมวลชน รวมถึงมีการพิมพ์รวมเล่มออกมาอย่างต่อเนื่อง(ผมเคยมีกองหนังสือรวบรวมสปีชอยู่ แต่จนใจคาดว่าจะเผลอเอาไปชั่งกิโลแล้ว) ดังนั้นเหตุและปัจจัยในการจับผิดมันจึงมีครับ อย่าลืมว่ามายาคติ(ตามความเข้าใจของผม ที่โดดเรียนคาบที่ว่าด้วย บาร์ตส์บ่อยๆ)นั้นก็คือการต่อปีกต่อหางขึ้นมาจากประโยชน์พื้นฐาน ดังนั้นประโยชน์พื้นฐานของการบอกให้คนสามัคคีกันโดยพูดถึงเรื่องน่าภูมิใจของความเป็น "ชาติ" นั้นก็เกือบเป็นหน่ออ่อนๆของการโปรประกันดาอยู่แล้ว เพราะหากมีความรุ่งเรืองก็แปรว่าคุณกำลังเอาอะไรบางอย่างมารับใช้วาทะกรรมอำนาจบางอย่างอยู่(ผมไม่ได้เห็นว่าเราควรจะถล่มตัวเสียมิด แค่เห็นว่าทุกอย่างนี้มีดีมีชั่ว เรามองด้านดีได้แต่ก็อย่างลืมว่าด้านชั่วมันก็มี) และที่สำคัญคือ King God and Country ของเรานี้ปลูกฝังมานาน(ผมจำได้ว่าต้องท่องตั้งแต่เด็กๆแล้วกระมัง) ดังนั้น การเรียกเอาความเป็นชาติมานี้ พร้อมอ้างความรุ่งเรืองก็ทำให้ผมรู้สึกว่า
    ตรงนี้ มันกลับไปหาคำว่า"ประชาธิปไตย"แบบไทยอีกหรือเปล่า ที่อยู่ดีๆ Dumbledore ก็กล่าวถึงความรุ่งเรืองของไทยขึ้นมา...ผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองแอ๊บแบ๊วชอบกล
    ตรงนี้เป็นความเห็นล้วนๆครับ เพราะตำรายืนยันทั้งหลายแหล่ผมเก็บให้ฝุ่นจับที่หัวนอนมาหลายเดือนแล้ว ผิดชอบเช่นไรช่วยชี้แนะ ถือว่าตรวจข้อสอบนักเรียนปริญญาตรีคนหนึ่งนะครับ
    ป.ล. อาจารย์ซาอิเดียนเคยแต่งฉันท์ใช่ไหมครับ ลำบากดีใช่ไหมที่ต้องมาบังคับครุลหุ ทั้งๆที่ภาษาไทยไม่ค่อยมี ต้องใช้บาลีสันสกฤติเยอะมาก แต่พอมาแต่งโคลงกลอนกลับเจอว่า ตรงนั้นตรงนี้ต้องลงวรรณยุกต์ ลำบากไปอีกแบบ แต่ยังพอทำเนา
    ตรงนี้ผมถามดูเฉยๆครับ

    แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 50 04:01:12

    แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 50 03:16:04

    จากคุณ : สิงโตมีปีก (นายปลาตีน) - [ 11 ก.ย. 50 23:41:59 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 249

    แหม ไม่ถึงกับเข้ารกเข้าพงหรอกค่ะ พูดอย่างนี้นร.สายมนุษย์ฯ น้อยใจกันพอดี ปกติก็โดนจัดเป็น second rate อยู่แล้ว งบก็ได้น้อยกว่าสาขาอื่น พอๆ ไม่บ่นเรื่องนี้ดีกว่า เดี๋ยวโดนหาว่านอกเรื่องอีก

    จริงๆไม่ได้อยากพูดต่อเติมให้ไปไกลถึงอินโดยูโรเปียนเลย เพียงแต่เห็นว่ามันไม่ยุติธรรมนะ ถ้าพูดเรื่องอักษรไทยขอมกับโรมัน มิดเดิลเอจ แล้วเหมือนจะตัดประเด็นที่ท่านพูดเรื่องสันสกฤตทิ้ง นี่ก็คือตัวอย่างความเลื่อนไหลที่ repudiate เหตุผลของท่านออกไปไงคะ เราไม่อยากออกแนว defend ท่านอยู่คนเดียวนะ แต่อยากให้มองแบบมี context ด้วยว่าที่ยกขึ้นมาเนี่ย มันตัด context และประเด็นเสริม (ซึ่งจริงๆอาจเป็นประเด็นหลักก็ได้) ออกไป ทำให้การเลือกสรร utterance มาเป็นวาทกรรมเนี่ย มันโดนตัดสินด้วย bias หรือ prejudice ของคนที่วิจารณ์ท่าน ไหนๆก็อยากวิจารณ์ท่านแล้ว ลองมองแบบสองขั้วไปพร้อมๆกันมันน่าจะเกิดแรงขับเคลื่อนมากกว่ามองจากในแง่วาทกรรมอำนาจนะ

    [นอกเรื่อง เห็นพูดเรื่องฉันท์ ขอบอกว่าไม่คยลำบากใจเลยนะ เพราะไม่มีอะไรในโลกนี้เกิดจากสุญญากาศ วัฒนธรรมของเราก็ต้องได้รับอิทธิพลจากหลากหลายแหล่งอยู่แล้ว เราจะใช้คำจากบาลีสันสกฤตบ้างก็ไม่เห็นเป็นไรนิ ในภาษายุโรปเองเค้าก็ใช้คำละตินกันยกแผง อย่าง telephone ก็ละตินเห็นๆ tele = ไกล phone = เสียง คำครุลหุคำไทยแท้ก็มีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้แต่บาลีสันสกฤต เช่น อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี ที่ไม่ใช่คำไทยมีแต่อรุณกับรุจีเท่านั้นเอง บางคนแต่งกลอนแบบมีฉันทลักษณ์ยังรู้สึกง่ายกว่าแต่กลอนเปล่าด้วย ซ้ำ ว่าแต่ เอ ถ้าเกิดเดาะแต่กลอนเปล่าขึ้นมาจะโดนค่อนขอดว่าไปเลียนแบบ verse ของฝรั่งมาหรือเปล่าล่ะ]

    คือเราทำวิจัยเรื่อง Said เนี่ย เราเห็นปัญหาของการใช้วาทกรรมอำนาจอย่างมาก ตอนแรกๆก็เคลิ้มกับ argument ของ Said ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้คิดว่าวาทกรรมที่ฮีคิดขึ้นมาไม่ valid นะ แต่ไปๆมาๆ ประโยคเล็กน้อยๆ ที่ไม่มีใครคิดว่า สะท้อนอคติของชาวยุโรป Said ยังเอาไปแปลว่ามันคือ utterance ที่ดูถูกอิสลามหรือตะวันออก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Sir William Jones ที่ Said เห็นว่าเป็นผู้กรุยทางแนวคิดเรื่องการศึกษาโลกตะวันออก งานเขียนงานแปลของ Jones สะท้อนว่า ถึงแม้ตะวันออกจะเต็มไปด้วยอารยธรรมงดงาม ทั้งศิลปะ ปรัชญา งานเขียน แต่สิ่งเหล่านั้นมันจะไม่มีค่า ถ้าไม่ได้ผ่านการ present  จากชาวยุโรป มันก็ไม่มีความหมาย ซึ่งฝ่ายที่ต้าน Said ก็จะบอกว่า Said ไป politicise ทุกอย่างมากจนเกินไป การที่ Jones ลงทุนไปเก็บงานเขียนที่กระจัดกระจาย เอามารวบรวมแล้วแปลเนี่ยมันสะท้อนให้เห็นถึง Humanism ต่างหาก ถ้า Jones ไม่เคารพอารยธรรมที่แตกต่างของมนุษย์ จะลงทุนลงแรงเยี่ยงนี้ทำไม

    ปัญหาของ discourse คือ ถ้าไม่ระวัง คนวิจารณ์อาจจะ override ส่วนที่เป็น utterance ที่แตกต่าง อย่างกรณี speech คราวนี้ก็ได้ เราว่ามันน่าจะมีปัจจัยอื่นนอกจากความพ้องกันกับการที่ EU เข้ามาขอสังเกตการณ์ เช่น ผู้รับสนองพระกระแสคือ บรรดาเอกอัครราชทูต ไม่ใช่กกต. โอกาสที่เอกอัครราชทูตเข้าเฝ้าฯคือเนื่องในโอกาสอะไร (อันนี้ไม่รู้ ถ้าใครรู้รบกวนบอกด้วย) ที่ท่านพูด มันเป็นสิ่งที่ท่านเริ่มพูดเอง หรือ มีคนถามแล้วท่านตอบ เป็นต้น

    อันนี้ขอระบายนิดนึง ว่า บางครั้งเราก็แอบ "เอียน" นักรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตรงที่ท่านๆเห็นทุกคนเป็น political entity หมด เราว่าบางเรื่องมันคาบเส้นกันระหว่างการกระทำธรรมดาของมนุษย์ กับการใช้อำนาจ ถ้าเราคุยกับเพื่อน แล้วโยงเข้าไปเรื่องเหมา แล้วบอกว่า ฝ่ายซ้ายเป็นพวกชอบความรุนแรงและนิยมความเกลียดชัง วันรุ่งขึ้นเราอาจจะกลายเป็นพวกใช้วาทกรรมขวาจัดก็ได้ ทั้งๆที่เรากำลังพูดถึง "ซ้าย" ในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนเท่านั้น

    เราไม่ได้มี background รัฐศาสตร์เท่าไหร่ และเราชินกับการวิจารณ์นิยายมากกว่า 555 ดังนั้นเราจึงมีทัศนคติที่ค่อนข้าง secular และออก humanist เรายอมรับว่าเรามองท่านในฐานะมนุษย์เทาๆ ที่มีทั้งขาวและดำ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธวาทกรรมอำนาจที่ท่านมีบทบาทนะคะ เพียงแต่จะเตือนว่า ไม่ว่าจะทฤษฎีไหนมันก็มี shortcoming ของมัน ใช้อย่างมีสติ รู้ว่าจุดอ่อนของมันคืออะไร ก็ดีกว่าใช้ไปแบบไม่รู้ไม่ชี้ ตอนนี้จริงๆ discourse เทรนด์มันก็กำลังจะหาย คนหันมาใช้ทฤษฏี social narrative มากขึ้น เพราะ discourse มันไม่สนใจ subjectivity ของคนเลย ดูแต่ utterance อย่างเดียว ในขณะที่ทฤษฏี social narrative จะแบ่งระดับของ narrative ออกเป็น narrative of the self, public, conceptual, meta-narrative ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ผู้วิจารณ์ก็ยังมีโอกาสได้ศึกษา subjectivity ในระดับ narrative of the self ในขณะที่ discourse จะไม่สนใจตรงนี้ ดูแค่ว่าเค้าพูดอะไร สอดคล้องกับสถานการณ์ไหน (อาจจะน้ำเน่าหน่อยในสายตานักรัฐศาสตร์แต่) ไม่เห็นว่าเจ้าของ utterance ก็มีเลือดมีเนื้อ เข้าห้องน้ำถ่ายของเสียเหมือนคนทั่วไปนะแหละ

    อีกอย่าง เราควรจะดูแง่ reception ด้วยว่า คนที่ได้รับ impact ของ speech อันนั้นคือใคร ลองไปถามคนทั่วๆไปดูว่าเค้าโยงเรื่อง speech เข้ากับเรื่อง EU หรือเปล่า ซึ่งตรงนี่เราก็ตอบไม่ได้นะ เพราะไม่ได้อยู่เมืองไทย รู้จากข่าวอย่างเดียว เท่าที่เห็นในห้องไกลบ้านก็คือ ส่วนมากเห็นด้วยว่าคนไทยไม่ควรลืมภาษาไทย ไม่ควรกระแดะ หรือยกย่องภาษาฝรั่งเกินเหตุ เรายังไม่เห็นใครโยงเรื่องนี้ไปถึง EU ว่า บ้านเราก็เจริญรุ่งเรื่องไม่แพ้ยุโรปนะยะ ไม่ต้องเข้ามา...ก็ได้ อันนี้ก็เป็นการ check ว่า impact ทางการเมืองที่พูดๆกันนั้น มีผลในแง่ reception จริงหรือเปล่า หรือแค่ exist ในหัวนักวิชาการเท่านั้น

    ส่วน orientalism-occidentalism คงเถียงกันยาว แต่ตอนนี้ยังไม่อยากใช้คำ occidentalism เท่าไหร่ เพราะ problematic กว่า orientalism มาก ตอนนี้ยังเถียงกันอยู่เลยว่ามันคือ hostility หรือ admiration towards the west กันแน่

    [ส่วนความภาคภูมิใจในชาติ อย่าคิดว่าเป็น propaganda อย่างเดียวนะจ๊ะ จากการได้พูดคุยกับคนที่ชาติมีปัญหาเรื่องอัตลักษณ์แล้ว เราพูดได้เลยว่าการไม่มีอัตลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับ ชีวิตมันเศร้ามากนะ ลองไปคุยกับชาวเขาก็ได้ ทำไมคนยิวถึงอยากมีประเทศ ทำไมคนอินเดียนแดงถึงบอกว่า there is no life without a story ทุกคนไม่ได้อยู่ในสุญญากาศ ทุกคนมี ideology ทั้งนั้น อย่ากลัวหรือรังเกีจที่จะบอกว่าฉันก็มี ideology เพราะไม่มีใครอยู่โดยไม่มี ideology ไม่ได้ ทุกคนอยู่โดยมีความเชื่อ แม้กระทั่งพวกไม่เชื่ออะไรยังเขื่อ nihilism]  

    ปล.
    นานๆได้แลกเปลี่ยนข้ามสาขาก็ดีเหมือนกันเนอะ ยินดีที่ได้คุยกันนะคะ ทั้งคุณปลาตีนและคุณฮกหลง
    อ้อ อายุห่างกันไม่กี่ปีเรียกพี่ก็ได้จ้า
    ปล. 2 สรุปว่า Voldemorte หรือ Dumbledore กันแน่เนี่ย เรียกกันหลายแบบมาก

    แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 50 03:22:05

    จากคุณ : Sa-idian - [ 12 ก.ย. 50 03:02:27 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 250

    อันดับแรกรู้สึกดีใจมากที่อาจารย์มาตอบ เพราะคิดว่าความเห้ฯของผมจะเป็นการปิดกระทู้เสียแล้ว ๕๕
    อันดับสองคือ ผมก็ไม่ใช่นักศึกษาด้านรัฐศาสตร์โดยตรง ถ้าจะพูดกันจริงแล้ว ผมควรจะเป็นลูกศิษย์อาจารย์โดยแท้เพราะผมเรียนมาด้านภาษาและวรรณคดีรัสเซีย และอาจจะจบด้วยเกรดที่จัดได้ว่า กเฬวรากมากด้วย แต่ด้วยความที่ตำราวิจารณ์วรรณกรรมส่วนใหญ่ที่ผมหยิบมาใช้มันไปคาบเกี่ยวกับทฤษฎีทางสังคมศาสตร์เหล่านี้ เลยทำให้ผมพอรู้โดยไม่ตั้งใจ
    อันดับสาม คือ ข้อแย้งที่อาจารย์เสนอมาว่า Dumbledore ของเรานั้น ท่านแถลงออกมาเนื่องในโอกาสอะไรนั้น เป็นตัวแปรสำคัญยิ่งที่ต้องนำมาใช้ เพราะอย่างน้อย หากมีโจทย์ขึ้นมาก่อนว่า ท่านคิดอย่างไรกั๊บกรณีแอ๊บแบ๊ว (ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นอย่างนั้น เหมือนที่ผมบอกไว้ในความเห็นก่อนๆ) เนื้อแท้อาจจะไม่มีอะไรมากนอกจากการที่ท่านบอกให้เด็กรุ่นใหม่ๆ กรุณาพูดภาษาที่คุณปู่คุณตาฟังแล้วรู้เรื่องบ้าง จะได้ไม่ต้องมีช่องว่างระหว่างวัยเกินไป
    บางทีผมอาจจะต้องไปทำการบ้านเรื่อง Overinterpretion+ Kitsch มาประกอบด้วย
    ส่วนเรื่องNarrative นั้น ขอกลับไปทำการบ้านสักอาทิตย์ก่อนจะนำมาส่งนะครับ แต่เท่าที่ดูจากประเด็น Politicise และระดับของ นาเรถีบนั้น ผมคิดว่าคงยาวครับ เพราะอย่างน้อย แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดูคล้ายไม่เป็นงานเป็นการ (เพราะมิได้กล่าวกับกองทัพหรือสนช.) แต่ก็มิใช่ปรารภกับผู้ร่วมโต๊ะเสวยแน่นอน (ถ้าเป็นการปรารภกับผู้ร่วมโต๊ะเสวย {ซึ่งผู้ร่วมโต๊เสวยจะทำมันเป็น Private หรือ Public ก็ว่ากันอีกที} ผมคิดว่ามันก็คงเป็นเรื่องเล่าระดับเดียวกับที่อาจารย์บอกว่าเหมาปฏิวัติแล้วทำคนตายเวลาคุยกับเพื่อน แต่หากอาจารย์ถือไมค์อยู่หน้าห้องบรรยายแล้วพูด ก็คงพูดไม่ได้เต็มปากว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ต่อให้ประเด็นนี้จะมาในตอนที่อาจารยบรรยายเรื่องวรรณกรรมเยาวชนขายดีก็ตาม)
    แลละประด็นสำคัญคือ Dumbledore's speech นี้ มีการเตรียมไว้ก่อนหรือตอบสดๆกันแน่  
    ส่วนเรื่องฉันท์ กลอน โครง กลอนเปล่า และข้าพเจ้าร้องเพลง(Canto)นั้น ผมแค่ยกตัวอย่างในประเด็นของคำประพันธ์ เพราะตอนนั่งเรียนพุชกินตอนปี ๓ จำได้ว่ากลอนรัสเซียนเขามีบังคับพยางค์เน้นเสียงเหมือนครุ ลหุของฉันท์ที่เราแต่งกันในภาษาไทย
    ส่วนเรื่องการแต่งคำประพันธ์นั้น ผมถนัดพวกที่ฉันทลักาณ์ตายตัวแล้วมากกว่าครับ จับลงง่ายดี ไม่ต้องมายากในความง่ายเหมือนกับกลอนป่าวที่ฉันทลักษณ์หลวมๆ
    ป.ล. จะแตกประเด็นไปเรื่องภาษา Narrative อำนาจอะไรต่อดีไหมครับ ขึ้นกระทู้ใหม่เลยผมว่าก็ดี ตอนนี้รู้สึกหนามไหน่เกี่ยวทั่วตัวแล้ว เข้ารกเข้าพงไปเยอะ

    แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 50 04:02:21

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 12 ก.ย. 50 03:57:31 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 251

    แตกได้เลยเมื่อพร้อมจ้ะ
    ถ้าสนใจเรื่อง narrative ให้ไปลองค้น
    Social Theory and the Politics of Identity (1994), Craig Calhoun (ed)
    อ่านบท 'Reclaiming the Epistemological "Other": Narrative and the Social Constitution of Identity' ของ Somers and Gibson

    Identity, Narrative and Politics (2001) ของ Muareen Whitebrook

    ตอนนี้เริ่มยุ่งๆแล้ว แต่จะกลับมาถกต่อ ถ้าสนใจ
    ปล. แน่มากๆที่เรียนวรรณคดีรัสเซีย ดิชั้นยังไม่กล้า เจอ polyglossia ของ Bakhtin ไปก็บ๊าย บายแล้ว

    แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 50 04:35:17

    จากคุณ : Sa-idian - [ 12 ก.ย. 50 04:32:30 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 252

    ประเด็นของผมคือ ผมบอกว่าเป็นหน่ออ่อนตรงนี้คือ มันมีเส้นบางๆ ระหว่างการพูดถึงอัตลักษณ์ของตนเอง ที่ใช้บอกว่าตนเองเป็นใคร
    กับการโอ่ประโคมอัตลักษณ์ของตน
    แน่นอนว่า ขาวเขา คนเมือง ไทยบางกอก ลาวหลวงพระบาง หรือ หลานลาวหลวงพระบางที่ข้ามโขงมาตอนสงครามโลก และปัจจุบันอาศรัยอยู่ในบางกอก เขาย่อมมีอัตลักษณ์ของเขาอยู่แล้วครับ เหมือนที่อาจารย์บอกว่าใครไม่มีความเชื่อ หรืออกจากสูญญากาศ ก็ไม่มี พวกเชื่อทุกอย่างเป็นศูนย์ ยังเป็นสายสุญญตาเลย
    ส่วนหนังสือที่ให้มา รู้สึกชื่อของมอรีน ไวท์บรุ๊คจะค่อนข้างคุ้นตาผมเป็นพิเศษ
    ป.ล. ปริญญาตรีเมืองไทยยังไม่เจอบัคตินครับ แค่มายาคอฟสกี ซเวตาเยวา อัคมาตอฟวาพวกนี้ก็กระอักแล้ว ส่วนที่เรียก Dumbledore นั้นไม่มีอะไรมาก ดูดีกว่า Voldemort และน่าจะเหมาะสมกว่า โดยเมื่อดูจากลักษณะตัวละคร
    ขอลาไปนอนก่อนครับ

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 21:59:22

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 12 ก.ย. 50 05:27:59 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 253

    แม้วันนี้เราสิ้นแรง แลจะตายฤาแสยง วันพรุ่งจะฟื้นชาวประชา วันนี้สัจจธรรมชั่วครา พรุ่งนี้นั้นหนา คือสัจจธรรมถาวร

    จากคุณ : สหายดอกหญ้า - [ 12 ก.ย. 50 17:04:39 A:64.62.138.10 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 254

    คุณบุญชิตฯ

    ที่ผมยกตัวอย่างอะไรที่มันสุดขั้วแบบคราวที่แล้ว เพราะผมเห็นกระแสในนี้ออกไปทางไม่พอใจและกระทบกระเทียบเสียดสีตรงความ "ไม่พอเพียงสมชื่อ" หรือการใช้จ่ายในระดับที่เกินกว่าคนปกติ โดยมองจากเกณฑ์ในระดับเราๆ ซะมากกว่า

    เอาล่ะ ผมขอถามให้แน่ใจอีกครั้งว่าอะไรที่เป็นปัญหา และอะไรที่ไม่ใช่ปัญหา

    (1) คนมีรายได้น้อยใช้จ่ายน้อย
    (2) คนมีรายได้มากใช้จ่ายมาก
    (3) ระบบของการเฉลี่ยส่วนเกินจากคนที่มีรายได้มากออกไป และการเปิดทางให้คนมีรายได้น้อยสามารถเพิ่มรายได้ตัวเองให้มากขึ้น มีความบกพร่อง ไม่เป็นไปในทางที่ดีกับส่วนรวมและแต่ละฝ่ายแท้จริง

    ถ้าเศรษฐีพันล้านคนหนึ่ง จะไปอยู่ในประเทศที่มีระบบ "เฉลี่ยส่วนเกิน" ดี แล้วเขาจะกินอยู่แบบหรูหราเกินมาตรฐานของคนส่วนใหญ่ไป ก็คงไม่มีใครคอยหาเรื่องด่าว่าฟุ่มเฟือยใช่ไหม?

    แล้วถ้าประเด็นปัญหามันอยู่ที่ระบบการเฉลี่ย-กระจายทรัพยากร แต่เราจะไปเอาแต่กล่าวโทษ กล่าวโจมตีในประเด็นความฟุ่มเฟือย มันก็ไม่ใช่แล้ว

    และจากที่ผมได้อ่านที่คุณตอบมา ก็พอเข้าใจแล้วว่าเรากำลังจับประเด็นกันอยู่คนละจุดพอสมควร

    ขอทำความเข้าใจก่อน ผมไม่ได้คิดว่า ระบบทุนนิยมมันสามานย์ในตัวของมันเอง แล้วเช่นเดียวกันแนวคิดเรื่องความพอเพียง มันก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นศักดินาหรือกดขี่ในตัวของมันเองตั้งแต่แรก

    แต่เพราะมันถูกดึงเข้าไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ใหญ่กว่า ที่แต่ละฝ่ายพยายามผลักดันให้แย่งชิงพื้นที่อำนาจกันเหนือสังคมส่วนรวม แล้วเพราะกระแสทางสังคม-การเมืองที่แบ่งแยกรุนแรงอยู่ ทำให้จนถึงตรงนี้เราแต่ละคนก็ถกกันโดยไม่ได้มองแยกแยะระหว่างแนวคิดของตัวมันเองแท้ๆ กับ package ที่แต่ละค่ายเอามาประกอบเป็นระบบใหญ่อันเดียวแล้วเอามาทำตลาดแข่งกันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน

    ถ้างั้นผมจะขอละเว้นกรอบหรือ package ไว้ก่อนแล้วมาตกลงเรื่องนิยามพื้นฐาน เฉพาะที่เป็นตัวระบบเศรษฐกิจเอง ว่าเข้าใจตรงกันหรือเปล่านะครับ
    (ต้องบอกก่อนผมไม่ได้จบมาทางเศรษฐศาสตร์หรือการเงินอะไรหรอก แต่อาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับระบบกลไกของสังคมเท่าที่มีอยู่ถ่ายทอดออกมา เพราะฉะนั้นถ้ามีตรงไหนผิดก็ช่วยแก้ไขได้เลย)

    สำหรับผม แนวคิดรวบยอดของระบบทุนนิยมเสรีคือ
    - การมีตลาดเสรี ซึ่งไม่มีการแทรกแซงหรือมีน้อยที่สุด และให้มีการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวาง แล้วกลไกตลาดจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลเอง
    - การยอมรับในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเฉพาะของแต่ละบุคคล แต่ละองค์กร นั่นคือแต่ละคนก็มีสิทธิ์ที่จะครอบครองทรัพย์สินเป็นของตัวเองตามกำลังความสามารถเท่าที่เขาหามาได้ภายใต้กติกาของตลาด และสิทธิ์ที่จะถ่ายโอนทรัพย์สินให้ใคร แลกเปลี่ยนทรัพย์สินกับใครก็ได้เช่นกัน
    - แนวคิดเรื่องภาษีหรือการกระจายทรัพยากรในแบบทุนนิยม ถือว่าเป็น "ต้นทุนรวม" หรือการลงทุนชดเชยชนิดหนึ่ง ที่ทำให้มีทรัพยากรกลับไปหล่อเลี้ยงโครงสร้างพื้นฐานส่วนรวมเอาไว้

    ส่วนการเฉลี่ยส่วนเกินเช่นในรูปแบบของรัฐสวัสดิการ ที่มีการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีมรดกต่างๆ น่าจะเป็นส่วนที่นำจากสังคมนิยมมาเสริมและปรับใช้ซะมากกว่าจะเป็นทุนนิยมเสรีแต่ดั้งเดิมเองไม่ใช่หรือ?

    ส่วนแนวคิดพอเพียงจะมีหลักอยู่ที่
    - เน้นการพึ่งพาตนเอง ยืนด้วยขาของตนเองได้เป็นหลักเบื้องต้น
    - เจริญเติบโตโดยอาศัยพื้นฐานที่ตนเองมีอยู่
    - มองเป้าหมายที่ความเป็นอยู่ที่ดีตามอัตภาพ และมองว่าสุดท้ายแล้วเป้าหมายของความอยู่ดีกินดีหรือการแสวงหาทรัพยากรทั้งหมดของมนุษย์ ก็เพื่อความสุขกายสบายใจนั่นแหละเป็นหลัก แต่ถ้าความดิ้นรนที่เกินตัวมากไปแล้วกลับไม่ได้ทำให้สุขสบายมากขึ้นมากเท่ากับความเดือดร้อน ทุกข์ใจที่ตามมา มันก็กลายเป็นหลงทาง และนำไปสู่การทำลายตนเองได้ในที่สุด นั่นแหละถึงต้องมาสรุปกันที่คำว่า "พอเพียง"

    ดังนั้นภาพที่ออกมาในการโปรโมตแนวคิดพอเพียง ก็จะเป็นแนวๆ ทำไร่ไถนาซะส่วนใหญ่ ก็เพราะคนส่วนมากในประเทศเราเป็นชาวบ้าน เกษตรกร และสังคมเรามีพื้นฐานเป็นสังคมเกษตรกรรมนั่นเอง และก็เป็นชาวบ้านรากหญ้า (หรือรากแก้วก็ตามแต่) เหล่านี้นี่แหละ ที่ได้รับผลเสียจากปลุกกระแสความดิ้นรนทะเยอทะยานแบบไม่สมเหตุสมผลหลายๆ อย่างมากที่สุด

    ต่อไป ผมเห็นว่าส่วนมากแล้วระบบทุนนิยมเป็นแนวคิดที่พยายามอธิบายและแก้ปัญหาในระดับกลไกล้วนๆ ไม่ได้มีการตัดสินดี-เลวหรือชี้นำเป้าหมายแต่อย่างไร เพราะฉะนั้นมันเลยกลายเป็นทุนสามานย์ไปได้ง่ายๆ เมื่อถูกดึงไปรับใช้ความเห็นแก่ตัวของคน จนระบบสังคมโดยรวมเกิดเสียสมดุล

    ในขณะที่แนวคิดพอเพียง พยายามอธิบายและแก้ปัญหาในระดับคุณค่ามากกว่า แต่ปัญหาสำคัญคือยังไม่ได้ตอบคำถามที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ว่าจะรวยเร็วๆ ทำอย่างไร? ว่าอยากยิ่งใหญ่เป็นมหาอำนาจ ทำอย่างไร? ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจในขณะนี้

    ถ้าใช้นิยามเหล่านี้ จริงๆ แล้วทุนนิยมกับพอเพียง ก็ไม่ใช่ว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะอย่างในระบบรัฐสวัสดิการ ยังใช้แนวคิดสังคมนิยมมาถ่วงดุลทุนนิยมเลย แต่การถ่วงดุลนั้นกลับเป็นการช่วยเสริมในช่องโหว่ที่อีกระบบขาดอยู่ คือทุนนิยมสร้างโอกาสในการเติบโต ในขณะที่สังคมนิยมมีการกระจายทรัพยากร กระจายรายได้ กระจายความเสี่ยง ที่ถึงแม้จะเป็นการจำกัดเพดานความเติบโตของแต่ละบุคคลอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ก็ทำให้คนมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและได้รับการดูแลจากสังคม ถึงแม้จะพลาดล้ม ก็ยังมีสิทธิ์ที่จะอยู่รอดต่อไปได้

    เช่นเดียวกัน ถ้าใช้ทุนนิยมสร้างโอกาสในการเติบโต ในขณะที่ความพอเพียงช่วยรักษาสมดุล สร้างภูมิต้านทานในตัวเอง และช่วยไม่ให้เป้าหมายพื้นฐาน (ความมั่งคั่ง) กลับมาทำลายเป้าหมายที่สูงกว่า (ความสุขกายสบายใจ) ล่ะ จะไม่ได้หรือ?

    แต่เพราะมันถูกเอาไปจับใส่ package เป็น "ทุนนิยมสามานย์" กับ "พอเพียงแบบจารีตนิยม" นี่แหละ เลยเกิดความขัดแย้งรุนแรง และทำให้หลักการพอเพียงดูไม่น่าปลื้มจนชวนให้วิ่งไปหาทุนสามานย์แทน

    มาถึงตรงนี้ ผมอยากจะบอกอย่างหนึ่งว่าวาทกรรมเรื่อง "การเลือกข้าง" ก็อันตรายมากนะครับ มันทำให้เราไม่สามารถจะใช้ความคิดความเห็นมองอย่างอิสระได้ ว่าสิ่งที่เราต้องการจริงๆ นั้นคืออะไร แต่จะต้องไปอิงอาศัย เปรียบเทียบกับแต่ละขั้วที่แข่งกันอยู่เสมอ

    ถ้างั้นแทนที่จะหาเหตุผลเพื่อเลือกข้าง เรามาถกกันตั้งแต่พื้นฐานก่อนดีกว่ามั๊ยว่า...ระบบเศรษฐกิจมันควรจะอยู่ที่ ณ จุดไหน และควรจะตอบสนองต่อข้อกำหนดความต้องการ (requirements/specifications) อะไรของสังคมมนุษย์บ้าง

    และดังนั้น ระบบเศรษฐกิจที่เราต้องการ ควรจะมีคุณสมบัติหรือแนวทางพื้นฐานอย่างไร?


    ปล. ดูเหมือนว่าภาษาทั้งสายตะวันตก (แองโกล-แซกซอน นอร์ส) กับสายตะวันออก (อินโด-ยูโรเปียน จีน) เมื่อสืบสาวหลักฐานไปเรื่อยๆ แล้ว ก็ยังมีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดคือสุเมเรีย-บาบิโลเนีย

    ซึ่งก็แปลว่าทั้งอารยธรรมเอเชียตะวันออกแบบเราๆ และอารยธรรมตะวันตกแถบยุโรป ก็อาจไม่มีใครอ้างตัวเป็น "ผู้เจริญมาก่อน" จริงๆ ได้อยู่ดี


    จากคุณ : QuaOs - [ 12 ก.ย. 50 20:09:35 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 256

    อืม...ผมมีความรู้สึก "เอียน" แบบเดียวกันกับที่อาจารย์...เอ๊ย!!!..."พี่" Sa-idian รู้สึกกับ mentality บางอย่างของนักวิชาการสายสังคมศาสตร์/รัฐศาสตร์เช่นกัน แต่ผมขอเสนอว่า วาทกรรมอำนาจในกรณี speech ของ "ท่าน" นี้ยัง valid อยู่

    ทำไมหรือ???

    จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เราเห็นได้ว่า "ท่าน" นั้นลงมาเล่นการเมืองตลอดเวลา (ไม่มีใครเคยดึงฟ้าต่ำจริง ๆ จัง  ๆ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนะครับ มีแต่ "ฟ้า" ที่ไหลลงต่ำมาเอง) ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างอุดมการณ์ "ความเป็นไทยที่เยี่ยมยอด/เจริญรุ่งเรือง/ยิ่งใหญ่เกรียงไกร" นั้นถูกนำมา..."อุดปาก" ประชาชนคนไทย หรืออีกนัยหนึ่ง อุดมการณ์ (วาทกรรม?) "ชาตินิยม" และการสร้าง myth ทางประวัติศาสตร์ที่ใช้เป็น political means ได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์คือ myth ว่าด้วยอดีตแห่งความเจริญรุ่งเรือง (...มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งที่อาจารย์เคยเอามาสอน ชื่อ The Myths and Memories of a Nation คนเขียนรู้สึกจะสอนอยู่ LSE ชื่อ Anthony D. Smith...พี่ Sa-idian น่าจะรู้จัก ผมอ่านเล่มนี้แล้วรู้สึกว่า เอามาใช้อธิบายสังคมไทยได้ดี...อ้อ อีกเล่มคือ Mein Kampf...เขียนอย่างนี้จะโดนลบไหมเนี่ย...;p)

    ผมมองว่า บริบททางการเมืองในปัจจุบันทำให้ส่วนต่าง ๆ ของสังคมนั้น "แบไพ่" ในมือออกมาอย่างค่อนข้างชัดเจนผมเห็นด้วยกับพี่ Sa-idian ในแง่ที่ว่า...หากเราไปนั่ง politicise ทุกอย่างที่ Queen Elizabeth แกพูด คง...ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้หรือไม่ valid ในเชิงทฤษฎีนะครับ...แต่คงเป็นกิจกรรมที่ "เปล่าประโยชน์" ไปหน่อย อีกอย่าง Queen Elizabeth แกเป็น political entity ที่ไม่สามารถผลิต discourse ให้ไป "กดทับ" discourse/อุดมการณ์ อื่น ๆ ในสังคมได้ ซึ่งแตกต่างจาก "ท่าน" Theme ทางวาทกรรม/อุดมการณ์เกี่ยวเนื่องกับ "สถาบัน" และ "บุคคลนั้น" ถูกสร้างให้ "ขาว" และสังคมไทยรับรู้อะไรอย่างอื่นไม่ได้นอกจากความ "ขาว"

    นอกจากกรณีเรื่องตัวอักษรนี้ซึ่งผมมองว่าเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ หนของ speech "ท่าน" ยกตัวอย่างอีกเรื่องเช่น กรณี 25 เมษาฯ (เรื่องเลือกตั้งมั่ว-ไม่มั่ว/กกต./ศาล...) ซึ่งเป็นการชี้นำทางการเมืองเห็น ๆ (แต่ผมยอมรับว่าเป็นการ"เดินหมาก"ทางการเมืองที่ฉลาดมาก ๆ) ยังไม่นับ speech และการเลือกบทบาทในทางการเมืองต่าง ๆ ในอดีตครับ

    [เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่เห็นด้วยกับคุณ 'newworld' ว่า "ท่าน" เป็นนักประชาธิปไตย]

    ประเด็นหลัก ๆ ของผมที่ย้ำต่อเนื่องมาหลายกระทู้คือ เรื่อง The king can do no wrong ซึ่งโยงกับตำแหน่งแห่งที่ของ The King ในกรอบคิดแบบเสรีประชาธิปไตย โดยเฉพาะความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับส่วนอื่น ๆ ของสังคม และกระบวนการ check and balance political entity ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย (แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า "ภาคประชาชน" นั้น ในความเห็นผม ต้องถูก check and balance เช่นกัน...ผมไม่เห็นด้วยกับภาพ "ประชาชน" อันขาวสะอาดของ NGOs และนักวิชาการสายรัฐศาสตร์/สังคมศาสตร์เช่นกันครับ)

    การมอง "ท่าน" อย่างเป็นมนุษย์เท่ากันนั้น เกือบ ๆ จะเป็น mission impossible เลยครับ ในความรู้สึกของผม ถึงแม้ว่าหลาย ๆ ท่านจะกล่าวว่าไม่มอง "ท่าน" เป็นสมมติเทพ แต่ผมรู้สึกว่าคนไทยกระแสหลัก ก็ยังมอง "ท่าน" ในลักษณะที่ "เหนือ" กว่า "เรา"...ทำไมสังคมไทยถึงมอง"ท่าน" เป็นฟ้าล่ะครับ? หรือจะให้สุดโต่งไปเลย ผมอยากให้ลองยกเลิกประเพณีหมอบกราบราบคลานดูบ้าง...(รู้สึกจะเคยยกเลิกไปสมัยร.5 แล้วสฤษดิ์ re-invent อีกที...อันนี้ไม่แน่ใจต้องถามนักประวัติศาสตร์)

    (อันนี้ขอบ่น...อาจจะนอกเรื่องไปบ้าง) การเรียน-สอนประวัติศาสตร์ของไทยนั้น ผมมองว่ามันมีปัญหามาก คือ เราไม่สอน social history ที่จะทำให้เรารู้ "ประวัติศาสตร์" แต่เราสอน heroic history ซึ่ง การรับรู้ "ประวัติศาสตร์" (ที่ผ่านคณะกรรมการ "ชำระ" ประวัติศาสตร์...เวลาคุณเข้าส้วม อะไรที่มันสกปรกก็ต้องถูก "ชำระ" ออกไป...เป็นตรรกะของรัฐประชาชาติที่ต้องทำให้สมาชิกเลือก"ลืม"และเลือก"จำ") นั้นมันกลับมา determine ตำแหน่งแห่งที่ของเราในปัจจุบันและการมองอนาคตของสังคมไทยด้วยการสรุปจบด้วยประโยค (ที่ทำให้ผม..."เซ็ง") ที่ว่า "จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป"...

    สุดท้ายแล้ว สังคมไทยกลับมีเพดาน/กรอบทางความคิด (โดยเฉพาะความสามารถในการ make sense กับประวัติศาสตร์, การเมือง, สังคม, วัฒนธรรม ฯลฯ) ที่เรียกว่า วาทกรรมราชาชาตินิยม (+ประชาธิปไตย[+แบบไทย ๆ])

    อ้อ...เรื่องความกลัว อันนี้ขอก๊อปคห.ที่ 97 ของคุณ unlimited dream มาแปะไว้อีกทีละกัน (ความจริงชอบของคุณกรรมาชิลล์ที่โดนลบไปด้วย...)

    The current situation has reminded me of V for Vendetta:

    "But the end result, the true genius of the plan, was the fear.
    Fear became the ultimate tool of this government."

    Remember Remember....
    ...Strength through unity. Unity through faith....

    ปล. ยินดีที่ได้คุยกับอาจารย์...เอ๊ย!!!...พี่ Sa-idian เช่นกันครับ อ่านคห.พี่แล้วแอบชื่นชมมาก ๆ เอ้อ...เห็นพี่รู้เรื่องนักปรัชญาคอนทิเนนท์ดีจัง นึกว่ายูในอังกฤษเค้าไม่ค่อยสอนนักปรัชญาเหล่านี้ซะอีก...

    แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 14:55:12

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 00:05:45

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 13 ก.ย. 50 00:02:14 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 257

    อะไรที่อยากจะบอก คุณ QuaOs  บอกไปซะหมดแล้ว   ก็ขอเสริมนิดนึงนะครับ



    ในเรื่องของสถาบัน บางคนบอกว่าเบื่อ มีปิดถนนทีนึง รถติดเป็นชั่วโมงบ้าง  ต้องบอกว่าผมเองก็เบื่อครับ
    แต่อยากให้มองนิดนึงว่า ในสังคมไทยเรา ที่คนจำนวนไม่น้อย ถูกปลูกฝังกรอบความคิดให้เชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ยอมรับอำนาจที่เหนือกว่า เน้นการขอความช่วยเหลือจากอำนาจที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะสถาบัน สิ่งซักดิ์สิทธิ์ หรือผู้มีอิทธิพล บางครั้งการสร้างภาพของความศักดิ์สิทธิ์  เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเลิกได้ง่ายๆ  แต่ละพระองค์ท่านเอง อาจจะไม่ต้องการให้มีขบวนยาวหยียด มีการปิดถนน แต่ก็คงขัดกับระบบไม่ได้หรอกครับ  ยิ่งในสังคมที่ความรู้สึก สำคัญกว่าเหตุผล ภาพที่ถูกสร้างยังเป็นสิ่งจำเป็น


    คุณว่าสถาบันเอง ยินดีหรือ ที่จะไปไหนมาไหน ต้องมีรถนำขบวน  มีการปิดถนน    เกียรติยศที่ได้รับ ก็ต้องแลกกับวิถีชีวิตที่หาความเป็นส่วนตัวไม่ได้เลย แต่ละพระองค์ถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์ มีภาพสูงส่ง ล่วงละเมิดมิได้ แต่พระราชอำนาจที่แท้จริงที่ทำให้ต้องเป็นแบบนี้อยู่ที่พระองค์ท่านเองหรืออยู่กับสถาบันหรือครับ ผมว่าไม่ใช่


    ผมคิดว่าอำนาจที่แท้จริงอยู่กับกลุ่มคนในระดับที่ถัดลงมาครับ  กลุ่มนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสูงสุด เป็นคนอีกระดับในสังคมที่ใช้การยกสถาบันไว้บนหิ้งเป็นสัญลักษณ์  แล้วแอบแฝงหาผลประโยชน์อยู่มากกว่าครับ กลุ่มนี้แหละที่จะต้องสร้างภาพสถาบันให้สูงส่ง ล่วงละเมิดไม่ได้  เพื่อใช้เป็นข้ออ้างของกลุ่มตัว ในการกำจัดคู่แข่งในทางอำนาจและผลประโยชน์ของตัวออกไป  พวกนี้ บางส่วนก็เป็นพวกขวาตกขอบ  รวมทั้งพวกที่อยากเข้าร่วมเพราะโดนพวกนี้ปลุกปั่น หรือลึกๆ อาจจะหวังพึ่งพิงแอบอิงพลังอำนาจของกลุ่มนี้ก็ได้  แต่พวกขวาตกขอบอีกกลุ่มไม่ใช่พวกนี้  แต่อาจจะเป็นคนที่ติดให้ภาพที่ถูกสร้างให้ยิ่งใหญ่ และเค้าเชื่อในภาพนั้นจริงๆ จังๆ

    สถานะของสถาบัน ที่ต้องอยู่ระหว่างกลุ่มขวาตกขอบ กลุ่มกลางๆ และกลุ่มซ้าย เป็นสถานะที่วางตัวลำบากครับ  เอนเอียงไปทางไหนไม่ได้เลย เพราะจะถูกอีกกลุ่ม ใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีอีกกลุ่มทันที  ดังนั้นสถาบันจึงต้องวางเฉย กับการถูกยกแบบนี้   ทั้งไม่อาจออกมาแก้ข่าวลือต่างๆ ได้ง่ายๆ   สถาบันทำได้อย่างมากแค่การแสดงพระราชดำรัสออกมาหรือการส่งสัญญาณออกมาแบบกว้างๆ   แต่คนที่รับสัญญาณจะน้อมนำไปปฎิบัติต่อหรือไม่ ทางสถาบันไม่มีอำนาจจะไปติดตามหรือบังคับได้หรอกครับ  ดังนั้นสถาบันเอง น่าจะอึดอัดกับการถูกยกมากกว่า แต่ก็ไม่อาจต้านได้ หรือฝืนได้   ถ้าสถาบัน ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมาก สุดท้ายจะเป็นแบบเขมรได้ครับ จะสร้างปัญหามากกว่า

    ส่วนพระราชอำนาจที่แท้จริงนั้น  คือการถูกยอมรับจากทุกฝ่าย และจำนำมาใช่พร่ำเพรื่อไม่ได้ด้วย จะใช้ได้ในช่วงวิกฤติเท่านั้น และผมมองว่าพระราชอำนาจที่แท้จริง อยู่ที่ว่าจะทำให้คน หรือกลุ่มคนที่กุมกำนาจ มีพลังๆ มีบทบาทจริงๆ เกรงใจ หรือยอมรับเท่านั้น   ดังนั้น ภาพที่ศักดิ์สิทธิ์หรือน่าเคารพบูชา จึงเป็นสิ่งจำเป็นครับ และเราไม่อาจปฏิเสธได้


    ส่วนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมว่าที่คุณ QuaOs ยกมา น่าจะแจ่มชัดพอที่คุณลูกแม่โดม หรือคุณบุญชิตน่าจะเข้าใจได้นะครับ   ส่วนคำว่าพอเพียงๆๆๆๆๆ ที่ออกสื่อทุกวันนี้ หรือที่รัฐบาลปัจจุบันนำมาอ้าง  สร้างภาพ เป็นเรื่องของคนกลุ่มถัดมา ที่ไม่ได้เข้าใจปรัชญานี้จริงๆ หรือทำเป็นไม่เข้าใจ เอามาบิดเบือนเพื่อนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อจะทำ หรือไม่ทำอะไรมากกว่ามั๊ง หรืออาจใช้เพื่อขจัดกลุ่มอำนาจอีกกลุ่มไปให้พ้นทางมากกว่า   ผมไม่รู้สึกซักนิดเลยว่านายกคนนี้ เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง หรือนำพาประเทศไปในแนวทางนั้น   แล้วที่คุณบุญชิตยกเรื่องของต่างประเทศ ที่มีระบบเก็บภาษี หรืออะไรต่างๆ ผมมองว่านั่นเป็นส่วนนึงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนะนั่นหนะ


    จากคุณ : ผู้ชายหลายรัก - [ 13 ก.ย. 50 00:31:11 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 258

    ยังตามอ่านท่านผู้รู้หลาบๆท่านถกประเด็นอยู่

    เห็นด้วยกับคุณผู้ชายหลายรัก แต่ด้วยข้อเท็จจริงหลายๆอย่าง ความเห็นของคุณฮกหลงก็ดูน่าคิดเช่นกัน

    จริงหรือไม่ ที่เราถูกกดกันไว้มากจนต้องหาทางออกด้วยการ "นินทา"
    แล้วถ้าไม่มีปัญหาการแสดงออก เราจะยัง "นินทา" กันมากขึ้นหรือน้อยลง?

    มีเรื่องมาฝากให้คิด คือว่าผมชอบอ่านข่าวราชวงศ์ เห็นว่าราชวงศ์ที่คล้ายกับไทยมากแห่งหนึ่ง คือราชวงศ์สเปน(มีประวัติการร่วมมือและขัดแย้งกับผู้นำฟาสซิสม์อย่างนายพลฟรังโก) และยังมีกลุ่มก่อความรุนแรงของแคว้นบาสก์ แต่ไม่มีกฎหมาย lese majeste สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน ฆวน คาร์ลอส และพระราชินีโซเฟีย ก็ยังอยู่ในฐานะเป็นที่สักการะสำหรับผู้จงรักภักดี ไม่ทรงใช้พระราชอำนาจทางการเมือง เท่าที่เห็นก็ไม่มีใครเอาพระองค์มาแอบอ้างเล่นการเมือง หรือมีข่าวซุบซิบนินทามากมาย ทั้งๆที่ปาปาราซซีฝรั่งนี่เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าล่วงละเมิดสิทธิเจ้ากันขนาดไหน

    อีกประเทศ คือญี่ปุ่น หลังสงครามโลก ราชวงศ์ญี่ปุ่นถูกวางภาพโดยสำนักพระราชวังให้เล่นในบทที่ถูกกำหนด แม้แต่จะกล่าวข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ไม่ได้ เคยมีกรณีเจ้าฟ้าชายอากิชิโนกล่าวพาดพิงเรื่องกองทัพสหรัฐฯ แล้วถูกสำนักพระราชวังส่งจดหมายตักเตือน การรับรู้เรื่องราชวงศ์ญี่ปุ่นก็ดูเหมือนจะเลือนหายไปจากความคิดคนญี่ปุ่น มีเฉพาะวันหยุดราชการบางวัน และเทศกาลสำคัญเท่านั้นที่คนญี่ปุ่นจะคิดถึงพระราชวงศ์ ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องนินทา หรือข่าวที่เผยแพร่ออกมา

    กลับกันอีกทาง พระราชาธิบดี/พระราชินีที่เคยใช้ Royal prerogative ในฐานะ Royal intervention เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง หรือวิกฤตประเทศ กลับต้องพบกับการตรวจสอบย้อนหลัง และขุดคุ้ยประเด็นต่างๆมานินทามากมาย เช่นราชวงศ์เบลเยียม และอังกฤษ(หรือแม้แต่ไทย)

    มันก็เลยดูเหมือนว่า ในไทยนั้นขนบดั้งเดิมของการเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน" ที่ต้อง "ห่วงใยทุกข์สุขอาณาประชาราษฎร์" ในฐานะ "สมมติเทพ-สมมติราช" ยังดำรงอยู่ขณะที่โลกสมัยใหม่ ขัดแย้งกับ "ปุถุชนลักษณะ" ที่คนทำให้รับรู้ได้ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งพระเสโท ริ้วรอยบนพระพักตร์ พระสุรเสียง ที่สมัยก่อนแค่ราษฎรเงยหน้ามองเห็นก็หัวขาดแล้ว ความ"เกรงพระราชอาญา" ขององค์ "สมมติเทพ" ก็เลยลดลง เห็นแต่พระเจ้าอยู่หัวที่เป็นมนุษย์ธรรมดา หนักเข้าๆก็เลยลามปามถึงขั้นนับญาติเรียกเป็นพ่อ แต่ก็ยังจะ "ขอ" พระเดชพระคุณในพระราชสภาวะ "เทพ" อัน [มิอาจล่วงละเมิด] และ [ปราศจากข้อผิดพลาด] อยู่

    ยิ่งนานวันเข้า พระบรมราชวินิจฉัย และพระราชดำรัสก็อาจไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง เนื่องด้วยพระพลานามัยและพระชนมายุ ต้องตีความและคิดไปต่อหลายแง่มุม แต่คนไทยก็ยังให้ค่าพระราชดำรัสของพระองค์ว่าสำคัญเสมือนเทวโองการเสมอ (ผมไม่ทราบว่าเป็นความจงใจของใคร? หรืออะไร? หรือเปล่าที่เลือกนำมาเผยแพร่ในเวลาจำเป็น เพราะผมคิดว่าไม่ว่าเวลาไหนที่เกิดวิกฤต พระองค์ก็ต้องมีพระราชดำรัสพาดพิงอยู่แล้ว แต่การตัดเฉพาะบางตอนเพื่อนำเสนอ ทำให้เกิด ผลกระทบหลายๆอย่างที่เห็นและเป็นไป ตัวอย่างเช่นเรื่องภาษาไทยฯลฯ ล่าสุด ที่พระะองค์มีพระราชดำรัสพาดพิงถึงเรื่องวิทยุโฆษณาเศรษฐกิจพอเพียงจนทรงหมั่นไส้ตัวเองที่พูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ได้ออกอากาศนอกจากช่อง 9 ที่ปล่อยหลุดมา และหนังสือพิมพ์ก็นำไปเปลี่ยนแปลงอีกเยอะ[โดยเฉพาะผู้จัดการ]) ทำให้หลายๆฝ่ายนำมาโจมตีกันอยู่เรื่อยๆ สุดท้ายก็ทำให้พวกเรา? และหลายๆคน ต้องมาตั้งคำถามกับการชี้นำและสถานภาพของสถาบัน อย่างในกระทู้นี้

    สุดท้ายแล้ว สังคมไทยก็แค่อยากจะหาองค์ปฏิมา(Idol) ผู้ทรงเทวภาพแก้ไขได้ทุกปัญหา ทำในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้(หรือไม่อยากทำ) เพื่อบูชาทดแทนสิ่งที่ตัวเองไม่ทำ(เช่นความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต พอเพียง ฯลฯ)เหมือยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ไม่อยากรับพระราชอาญาลงหวาย ตอกเล็บ บีบขมับเหมือน "ครั้งบ้านเมืองยังดี" เท่านั้นเอง

    ส่วนวาทกรรมที่มาของแนวคิดลักษณะนี้ ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าวาทกรรม "ราชาชาตินิยม" ว่าด้วยการสถาปนาพระราชอำนาจนำของสฤษดิ์/การสมยอมร่วมอำนาจของถนอม/การคานอำนาจและสนองภาพของเปรม จะถูกต้องนัก แต่สงสัยเพราะว่าผมก็เติบโตมาในลักษณาการที่คุณ ลูกจ้างดีเด่น คคห. 207-208 ว่าไว้คือภาพที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วขอบเขตขัณฑสีมา ทั้งบางบก ทางเรือ ทางอากาศ ด้วยหนทางทุรกันดารต่างๆ และโครงการพระราชดำริล้วนเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ยังไม่รวมถึงพระราชกรณียกิจระดับสากลในยุคสงครามเย็นและการต่อต้านยาเสพติดพวกฝิ่นทางภาคเหนือ

    อย่างน้อยผมคิดว่า ถ้าพระองค์ทรง "เล่นการเมือง" จริง ก็ทรงเล่นด้วย "โพธิสัตต์ปณิธาน" เพื่อพสกนิกรของพระองค์เองด้วยกระมัง แต่ผมก็ไม่อยากอาจเอื้อมไปคิดแทนขนาดนั้น

    หรือว่าผมจะเป็นพวก "นกอยู่ฟ้านกหากไม่เห็นฟ้า" เนี่ย

    ผมก็เลยเล็งเห็นบางส่วนตามคคห.ของคุณผู้ชายหลายรัก ว่ามีคนกลุ่มที่อยู่ถัดมา ที่แอบแฝงพระราชอำนาจและเทวภาพของสถาบันอยู่ด้วย

    แต่สุดท้าย เมื่อฟ้าเปลี่ยนสี ความเคารพต่อเทวภาพแห่งปัจเจกสมมติเทพเฉพาะพระองค์ก็จะหมดไป เพราะฟ้าใหม่ไม่มีเทวภาพและบารมีแห่งความดีจริงๆ แม้จะโฆษณาอย่างไรมาเป็นสิบๆปีก็เหมือนจะลบล้างสิ่งที่นินทาไม่ได้ ผมว่านี่ก็คงเป็นการตรวจสอบ check and balance แบบไทยๆดี เมื่อนั้นกลุ่มที่แอบแฝงเทวอำนาจก็คงจะอยู่ไม่ได้(หรือจะใช้กลวิธีอะไรเพื่อยื้ออำนาจอยู่ ผมก็สุดจะหยั่งทราบ) แต่กว่าจะถึงตอนนั้นไทยจะร่วงหล่นไปสู้ทางเศรษฐกิจกับใครแล้วก็ไม่ทราบ(อาจจะเป็นติมอร์ตะวันออก หรือ พม่า ไม่แน่ใจ)

    ปล. คุณ New World การรัฐประหารคนที่แต่งตั้งให้ตนเองเป็นสมเด็จเจ้าพระยาแล้วปราบดาภิเษกเป็นเจ้า ถือว่าเนรคุณหรือไม่? ผมว่านี่เป็นกรณีเดียวกันกับที่คุณกล่าวถึงปรีดีน่ะ

    ฟุ้งซ่านมามากเกินไปแล้ว ผมขอกลับไปนั่งเงียบๆอ่านเรื่องที่ผู้รู้ท่านถกกันต่อดีกว่าครับ

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 02:53:33

    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 13 ก.ย. 50 02:45:05 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 259

    อืม....
    สุดท้ายเราก็ต้องการให้ทุกอย่างอยู่ในที่ของมัน
    แค่นั้นเอง


    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 13 ก.ย. 50 03:19:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 260

    คุณโกฏิดาราพูดประเด็นได้น่าสนใจ ว่าบางทีพระราชดำรัสนั้นอาจไม่ใช่คำชี้ขาดที่ต้องทำตามร้อยทั้งร้อยหรือต้องพยายามตีความเป็นนโยบายเสมอด้วยปัจจัยหลายประการ

    ฉะนั้นก็เข้าประเด็นว่าควรให้ พระองค์ท่าน fallible หรือ infallible อีกนั่นแหละ จะดีไหมว่าต่อไปหากมีนักวิขาการ(ประชาชน)ที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้านพระราชดำรัสด้วยเหตุผล?

    เกิดสักวันไมค์รวน เสียงตามทีวีเปล่งว่า "หนึ่งบวกสามเท่ากับห้า" กระทรวงศึกษาจะต้องรีบแก้ตำราคณิตศาสตร์หรือเปล่า?

    ตรงจุดนี้คิดว่าในหลวงเคยมีพระดำรัสแล้วหลายหน แต่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่เคยสนอง ผองชนยังสะดุ้งเฮือกเมื่อมีใครปริปากว่า"ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ ไม่เห็นด้วยกับพระดำรัสนี้"

    ผมว่านี่ไม่ใช่ปัญหาของคนไทยอย่างเดียวเท่านั้น โป๊บ จอห์น ปอล ตอนชราภาพมากๆ ก็มีคนคริสต์บางกลุ่มคัดค้านคำแถลงท่านด้วยเหตุผลเดียวกับที่คุณโกฏิดาราว่าข้างบน แต่กลับต้องโดนอุดปากด้วยเหตุผลว่า สันตะปาปานั้น infallible เพราะเป็นเหมือนตัวแทนพระเยซูคริสต์

    ในแง่ศาสนาอาจฟังปกติอยู่ แต่เมื่อมองในมุมการปกครองไทย(ซึ่งมีประเด็นนี้เช่นกัน)

    มันไม่เหมือนกับ Divine right ไปหน่อยเหรอครับ?

    ผมคิดว่าเหตุที่ตำแหน่งของสถาบันไทยดูอีหลักอีเหลื่อ จะอยู่สูงก็ไม่ได้แต่ลงมาก็ถูกโคลนสาดนั้นเพราะสถานการณ์บ้านเราพิเศษกว่าที่อื่นๆ ประชาธิปไตยไทยไม่ได้สู้มาเพื่อให้ได้สภาพอย่างที่เป็น แต่มีคนหยิบยื่นให้เสมอ (พฤษภาทมิฬนั้นเรียกได้ว่าประชาชนสู้และได้รับการสนับสนุนจากพระองค์ท่านจนได้ชัยชนะ แต่ทำไมนัก revisionist ชอบตัดบทบาทประชาชนออกไปก็ไม่เข้าใจ)

    ทิศทางของประชาธิปไตย(สิทธิ์ เสียงเท่ากัน ทุกคนมี accountability ของการกระทำ) จึงไปไม่ได้กับสังคมไทยที่เรียกร้องหาฮีโร่(ผู้ต้องขาวบริสุทธิ์เกินมนุษย์จะเป็นได้ที่ลอยออกมาจาก good old times)เสมอ

    ผมคิดว่าเราคงหาคำตอบไม่ได้จนกว่าสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปกว่านี้ ซึ่งจะเป็นไปยังไงนั้นไม่ขอริอาจทำนายเพราะขึ้นกับกรรมของคนทั้งชาติ

    ปัญหาจริงๆคือเราเอาแต่มองออกไปข้างนอกหวังให้เปลี่ยน แต่กลับไม่ยอมเปลี่ยนตัวเอง หรือไม่งั้นก็คิดแต่จะพลิกกระดานแบบบ้าพลังด้วยหลงตนเป็นนีโอผู้ปลดปล่อย

    ขออ้าง The motorcycle diaries นิดหนึ่งว่า "Let the world change you, and you can change the world" นะครับ

    สุดท้ายขอเสริมนิดหนึ่ง...ไม่ว่าท่านๆจะแปลเจตนาหรือเป้าหมายของสถาบันอย่างไร ก็ขอให้นึกไว้อย่างละครับว่าถ้าสิ่งนั้นดีมันก็ดีอยู่วันยังค่ำ หมื่นปีล้านปีก็ยังเป็นสิ่งดีที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง แม้กาลเวลาจะทำให้ความรู้สึกที่มีเปลี่ยนไปก็ตามที

    ""Believe in the ideal, not the idol"

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 05:19:58

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 04:12:03

    จากคุณ : The Repentant - [ 13 ก.ย. 50 03:56:31 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 261

    [คุณฮกหลง ยืนยันว่าเป็นแค่พี่จริงๆจ้ะๆ เค้าเล่นส่งเรามาเรียนรวดเดียวจบ สอนก็ยังไม่เคยสอนเลย (แต่จะเริ่มสอนเด็ก MA ที่นี่ต้นเดือนหน้า ยังเสียวๆอยู่เลย ยังป๊อดมาก) ที่รู้ continent ก็เพราะว่าเรียน comparative literature ไง คอร์สบังคับคือ modern literary criticism แล้วจะมีทฤษฎีใครล่ะ หลักๆก็ฝรั่งเศสทั้งนั้น นักทฤษฎี Anglo-American จะมาแนว postcolonial มากกว่า]

    ไม่ได้คิดว่าวาทกรรมอำนาจต่างๆที่ถกเถียงกันมาไม่ valid นะ ยังไงเราก็ปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคเดือนตุลา และเหตุการณ์ต่อๆมาไม่ได้ (ยอมรับว่าคุณเปลี่ยนความคิดเราได้ไง) แต่หลายกรณีมันสะท้อนให้เห็นปัญหา overinterpretation อย่างที่ได้บอกไป

    จุดอ่อนอีกอย่างของ discourse คือมันไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ "ตัวละคร" ในฐานะ agency เท่าที่ควร ขอนำเสนอทฤษฎี cultural production ของ Pierre Bourdieu ละกัน แต่คงอธิบายไม่ได้มาก เพราะอ่านยังไม่จบ แต่บอกได้ว่าเป็นทฤษฏีที่ทำให้ตัวละครหลากหลายมีบทบาทขึ้นมากเลย จากภาพแบนๆที่เรามองเห็นใน discourse พวกตัวละครเหล่านี้จะมีบทบาทขึ้นมาอย่างยิ่งยวด เท่าที่อ่านมาข้างบน เห็นได้ว่ามันมีตัวละครหลายตัวที่มีบทบาทโคตรๆ แต่ไม่รู้จะเอามันลงวาทกรรมได้ยังไง

    เช่น สนธิ ลิ้ม นักวิชาการสาย Bourdieu จะตั้งคำถามว่า อะไรคือ cultural production ของ สนธิ ลิ้ม และผลผลิตทางวัฒนธรรมอันนี้มีบทบาทอย่างไร Bourdieu เสนอว่าสิ่งที่ agency สร้างขึ้นมันมาจาก capital หรือทุนทางวัฒนธรรม (เป็นการขยายความหมายของ capital ให้กินความทางวัฒนธรรมด้วย) ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) ของสนธิคือการเป็นนักหนังสือพิมพ์ การมีสื่ออยู่ในมือ ซึ่งมันทำให้เกิด symbolic violence ได้ สามารถสร้างภาพของทักษิณ ของในหลวง จนเกิดกระแสเรรียกคนมาชุมนุมได้ เราสามารถเอา capital ของสนธิ ไปเทียบกับ capital ของ นปก. ได้ว่าแตกต่างกันไง เกิด symbolic violence ต่างกันยังไง

    สำหรับ "ท่าน" ประเด็นที่น่าสนใจถ้าจะศีกษา "ท่าน" ก็คือ field และ habitus (ตรงนี้ยังไม่เชี่ยวชาญพอที่จะอธิบาย แต่ wiki ช่วยเราได้ http://en.wikipedia.org/wiki/Bourdieu ) ทั้ง field และ habitus สามรถทำให้เราตั้งคำถามว่าท่านอยู่ในสถานะอะไร ซึ่งไม่ใช่แค่ king full stop แต่เป็นคิงที่ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางความไม่มั่นคงหลายๆอย่างๆ เรามองสถานะของท่านได้จาก field และวิเคราะห์ทัศนคติของท่านต่อสถานะคิงได้โดยมองจาก habitus แต่คงยาก เพราะท่านไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะพูดเรื่องส่วนตัวได้ชัดเจนพอที่เราจะเอามาวิเคราะห์

    จากนั้นเราก็มามองต่อว่าอะไรคือ cultural capital ของท่าน (ธรรมราชา สมมติเทพ เจ้าชีวิต?) และมันมี symbolic violence อย่างไร (กม. หมิ่น การห้ามวิจารณ์ โครงการหลวง) [ทฤษฎีนี้เพิ่งเริ่มอ่าน ยังไม่แน่นเท่าไหร่นะจ้ะ ขออภัย]

    และเรา ก็มีบทบาทเหมือนกัน เพียงแต่ประชาชนดูจะไม่ค่อยมี cultural capital เท่าไหร่ การลงทุนลงแรงอะไรไปมันมีแรงกระเพื่อมน้อย มี symbolic violence น้อย อย่างมาก็ violent ได้โดยการนินทา ช่องทาง underground ซึ่งก็เป็นอีก field หนึ่งที่ต่างจากคนที่มี cultural capital มากกว่า

    ที่อยากพูดเกี่ยวกับท่านก็พูดหมดแล้วค่ะ แต่จะเข้ามาอ่านเรื่อยๆ

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 05:38:16

    จากคุณ : Sa-idian - [ 13 ก.ย. 50 05:34:39 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 264

    คุณผู้ชายหลายรักครับ  

    เพียงแต่ผมมีคำถามว่า  หน้าที่ในการกำหนดกรอบนโยบายเศรษฐกิจ  มันเป็นของใคร  ครับ  


    ใครรับผิดชอบครับ  ต้นคิดคิดขึ้นมาได้  แต่ใครที่จะเอาไปปฎิบัตินั่น เขาต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ตามมา   หากนำไปทำแล้วมันไม่ดี  ไม่เห็นผล  ใครรับผิดชอบครับ  คนคิดหรือครับ   เปล่าเลย  เพราะพวกเรายกให้ไว้แล้วว่าทุกอย่างเก่งทุกอย่างดี ทุกอย่างถูกต้อง  



    ผมถามแค่นี้  


    นี่ละครับที่หลายต่อหลายคนเขาถึงบอกว่า  ใช่ว่ามีคนไปดึงฟ้าให้ต่ำ  


    หน้าที่บทบาทความรับผิดชอบควรมีอย่างไร  ก็ให้มีตามนั้นเถิดครับ  อย่าล้ำเลน  ปาดซ้าย ปาดขวา กัน  เพราะเวลามีเรื่องมีราว   มักจะหาคนรับผิดไม่เจอ  จะรับกันแต่ชอบ


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 13 ก.ย. 50 08:59:20 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 265

    ไม่ได้เข้ามากระทู้นี้นาน ทีแรกก็ประหลาดใจอยู่ ว่ายังอยู่ยั้งยืนยงมาได้ อย่างไร
    แต่พอมาอ่านความเห็นใหม่ๆ ก็ทำให้รู้สึกประทับใจในบรรยากาศการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ด้วยเหตุด้วยผล

    ผมเองก็ไม่ได้เรียนทางรัฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์
    (จบวิชาเอกวิทยาศาสตร์ วิชาโทรัฐศาสตร์) ก็มีความรู้เรื่องสังคมและการเมืองเพียงงูๆ ปลาๆ พอจะเข้าใจหลักการบางอย่างที่เคยเรียน แต่ลืมมาแล้ว ดังที่ท่านผู้รู้ในความเห็นด้านบนได้ให้ข้อสังเกตไว้

    ขอบคุณข้อมูล แนวคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจ
    และความอบอุ่นที่ยังมีผู้รักใน เสรีประชาธิปไตยที่ผมยึดมั่น (ถึงก่อนหน้านี้จะเชื่อในราชาปราชญ์ แบบเพลโต)


    จากคุณ : j (anuchitk) - [ 13 ก.ย. 50 11:24:16 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 266

    สำหรับเศรษฐกิจพอเพียง ผมยังไม่หมดคำถามและคำตอบครับ
    แต่ช่วงนี้ไม่ว่าง และภ้าจะตอบประเด็นนี้ให้ได้ดังใจ ผมต้อง
    เรียบเรียง คิด และทดสอบตัวอย่างนิดหนึ่ง เอาไว้อีกสักวันสองวัน
    จะมาตอบคุณ QuaOs เพราะดูแล้ว กระทู้นี้ยังอุ่นและหนาแน่นอยู่

    เพียงแต่ขอแยงไว้นิดหนึ่ง ว่า อย่าเอาเศรษฐกิจพอเพียง
    ไปผสมโรงกับรัฐสวัสดิการ และการกระจายรายได้เลยครับ
    เพราะของเขาคิดกันมานานแล้ว ถ้าเราจะเชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น
    ทฤษฎี ? ใหม่ แล้วเราก็ไม่ควรไปตู่เอาของที่เขาคิดเขาพัฒนากันขึ้นมา
    นานแล้วเอามาใช้
    (ผมใส่เครื่องหมายคำถาม เพราะผมเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียง
    ยังถือเป็นเพียงแนวคิด เป็นทฤษฎีไม่ได้ เพราะยังไม่มีการพิสูจน์
    และไม่อาจเป็นประทั่งปรัชญา ที่ทนต่อการตรวจสอบได้)

    อีกอย่าง รากฐานของรัฐสวัสดิการ มาจากแนวคิดแก้ทุนนิยมเดิมที่กินตัว
    ประกอบกับความที่ต้องการกระจาย "ทุน" ในสังคมออกมาทำงาน เพื่อสร้าง
    ทุนหรือประโยชน์ต่อๆกันไป ไม่ใช่ถูกเก็บงำไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของใคร

    พื้นที่มาของทุนนิยมรัฐสวัสดิการ จึงเป็นคนละเรื่องกับเศรษฐกิจพอเพียง
    แม้มันจะพาไปสู่ชีวิตที่พอเพียงได้ยิ่งกว่าเศรษฐกิจพอเพียงก็ตาม

    ถ้าคุณมาเที่ยวฝรั่งเศส อาจจะสงสัยว่า ทำไมคนเขาอยู่อพาร์ตเมนต์กันเยอะ
    ถ้าครอบครัวใหญ่ถึงจะมีบ้าน และเขาขับรถกันคันเล็กจัง เฉพาะคนมีลูกเยอะๆ
    ถึงซื้อรถใหญ่ ทำไมเขาประหยัดกัน ฯลฯ ชีวิตแบบคนฝรั่งเศสทำตามเศรษฐกิจพอเพียงหรือ ?

    ไม่ใช่ครับ ... เขาไปถึงเป้าหมายนี้ ด้วยทุนนิยมแบบรัฐสวัสดิการ

    อ้าว ว่าจะมาแยงๆเฉยๆ ดันยาวเลย

    เรื่องปิดถนน ขบวนเสด็จ ผมขอนุญาตไม่เห็นด้วยกับคุณผู้ชายหลายรัก
    ในประเด็นที่ว่า "...พระองค์ท่านเอง อาจจะไม่ต้องการให้มีขบวนยาวหยียด มีการปิดถนน แต่ก็คงขัดกับระบบไม่ได้..."
    เพราะจริงๆ ท่านเลือกได้ครับ ถ้าสังเกตขบวนเสด็จ จะเห็นว่า สั้นยาวไม่เท่ากัน
    บางขบวนมีรถเพียงสามคัน (รวมรถพระที่นั่งแล้ว) แทบไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นขบวน

    อันนี้พูดถึงพระราชวงศ์ในลำดับเดียวกันเลยนะครับ

    หรือบางพระองค์ นิยมเสด็จเป็นการส่วนตวเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดถนนก็มี
    ดังนั้น จึงไม่น่าใช่เรื่องขัดระบบ ตามระบบ อะไร แต่เป็นพระราชนิยมของแต่ละท่านเอง

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 12:25:00

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 13 ก.ย. 50 12:23:40 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 267

    ว่าแต่เปิดมาก็ดีนะประเด็นนี้ เพราะผมว่า คนปัจจุบันนี้ ความอดทนต่ำลง

    น่ากลัวเหมือนกัน ว่าเรื่องการปิดถนน อาจจะกลายเป็นปัจจัยหลัก
    ให้คนรู้สึก "ลบ" เพิ่มขึ้น และอาจจะปันใจไปหาเวบบางเวบมาดู
    หนังสือบางเล่นมาอ่าน แล้วในที่สุด ก็ "เสียคนดีของระบบ"
    ไปอีกคนสองคน หรือสิบยี่สิบคน

    เอาง่ายๆ ในสังคมเมือง หรือสังคมคนกรุง (ดูตัวอย่างได้จากหลายความเห็น
    ในกระทู้นี้)
    ชีวิตมันทันสมัย มันรีบเร่งขึ้น บางทีการเสียเวลาชั่วโมงสองชั่วโมงต่อวัน
    เพื่อหล่อเลี้ยงประเพณีบางอย่างของประเทศและสังคมเอาไว้

    ต่อไปอาจจะเป็นต้นทุนที่มันสูงขึ้น

    ซึ่งก็ควรระวังมันอาจจะเป็นก้นบุหรี่เล็กๆ
    ที่คาดไม่ถึงว่าจะเผาป่าได้ก็ได้เหมือนกัน


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 13 ก.ย. 50 12:31:31 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 268

    ตามมาดู เดี๋ยวลงคุยด้วย

    จากคุณ : Angleevil - [ 13 ก.ย. 50 12:32:51 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 269

    เห็นคุยกันเรื่อง discourse เลยอยากคุยมั่ง (หลอนนะขอรับ
    ช่วงนี้ผมอ่านหนังสือเก็บข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ เจอคำว่า discours
    นี่เต็มไปหมดเลย)

    เล่านิทานนิดหนึ่งนะ...

    ยังจำเรื่องที่ รร. แห่งหนึ่งเขาจะทำป้ายชื่อโรงเรียนใหม่ได้ไหมครับ
    ที่มีนักเรียนกลุ่มนึง พยายามขอให้เอารูปพระประจำโรงเรียน มาติดบนป้ายน่ะ

    บอกว่าพระในโรงเรียนนี้ ใครๆก็นับถือกัน ต้องติดไว้บนป้ายด้วยสิ
    เล่นเอากรรมการนักเรียนปวดหัว เพราะติดไปก็แปลก ไม่มีที่ไหนทำกัน
    นอกจาก รร. สอนศาสนา ฝ่ายที่อยากให้ติดรูปพระบนป้าย ก็ขู่ว่า
    ถ้าเป้ายใหม่ติดทั้งๆที่ไม่มีรูปพระนี่ จะร่วมมือกับพวกไม่อยากได้ป้ายใหม่
    รื้อทิ้งลงมาแน่ๆ

    อยู่มาวันหนึ่งก่อนการติดป้ายโรงเรียนไม่กี่วัน เป็นวันเกิด
    ของครูรอง ที่เป็นภรรยาครูใหญ่ นักเรียนรักท่านมาก
    พอนักเรียนไปอวยพรวันเกิดแล้ว ท่านก็พูดตอนจะกลับว่า
    ...รูปพระก็น่าจะอยู่ส่วนพระ ไม่น่าเอามาติดบนป้ายโรงเรียนนะคะ นักเรียน

    เท่านั้นเอง กลุ่มนักเรียนพวกอยากให้มีรูปพระ ก็เงียบไปหมด
    แล้วก็เลิกคัดค้านการเปลี่ยนป้ายรร.ใหม่
    ไม่ไปรวมพลังกับพวกจ้องรื้อป้าย รร.ใหม่
    ทำให้ป้าย รร. ใหม่ สามารถติดโชว์ได้ แบบใจหายใจคว่ำทีเดียว

    คุณ Sa-idian คุณ นายปลาตีน และคุณ ฮกหลง
    คิดว่านี่เป็นความประสงค์ หรือนัยยะอะไร ของครูรองหรือเปล่า
    หรือท่านพูดขึ้นมาเฉยๆ ไม่เกี่ยวกับบริบทอะไรเลย
    ประมาณ มองว่าไม่สวยก็บอกว่าไม่สวยขึ้นมาจริงๆ ไม่มีอะไร

    แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 50 12:46:01

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 13 ก.ย. 50 12:43:31 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 278

    ทดสอบครับ

    จากคุณ : ผู้ชายหลายรัก - [ 13 ก.ย. 50 21:03:22 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 282

    ส่วนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมเชื่อว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ดีครับ เพียงแต่ความเข้าใจ การตีความของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน  ทำให้แต่ละคนมองเรื่องนี้ไปคนละทาง บ้างหาว่าต้องไปทำไร่ทำนา  บ้างว่ามีมากฟุ่มเฟือยได้มาก มีน้อยฟุ่มเฟือยน้อยหน่อย ซึ่งมันไม่ใช่ครับ  ถ้าคุญเคยฟัง หรือศึกษาจากที่พระองค์ท่านสอนมา จะมีคำหนึ่งที่คนเอามาพูดต่อละเลยที่พูดถึง คือต้องใช้ปัญญาประกอบด้วยครับ ปัญญาจะบอกว่าแค่ไหนพอเพียง แค่ไหนไม่เบียดเบียนคนอื่น   ไม่ใช่มีเจ็ดหมื่นล้าน จะเอาให้ครบแสนล้าน สร้างกติกามาให้ตัวเองได้เปรียบในการแข่งขันทั้งหมด  เอาไม่รู้จักพอ สนุกกับชัยชนะในการหาได้มากๆ  จากการเอาเปรียบคนอื่น แบบนี้ไม่พอเพียงแน่นอนครับ  คำว่าพอเพียง จึงน่าจะสื่อถึงการใช้ปัญญาในการจัดหา แบบไม่ตะกละ เอาแบบไม่รู้จักพอ ซึ่งกำลังเป็นค่านิยมใหม่ของคนไทยจำนวนไม่น้อยมากกว่าครับ



     ในเรื่องกล้วยแขกเหมือนกัน ถ้าใช้ปัญญานำ แล้วทุกคนคิดแบบพอเพียง ไม่หวังจะครอบครองคนเดียว เด็กคนนั้นต้องหาวิธีขยายกิจการได้แน่ครับ และเจ้าตลาดเก่าก็ต้องรู้จักพอเพียงด้วย ก็จะไม่ใช้การทุ่มตลาด หรือการปิดกั้นคนอื่นไม่ให้เกิด เพื่อครอบครองตลาดคนเดียวด้วย ต้องพอเพียงทั้งระบบ ใช้ปัญญานำทั้งหมดครับ ซึ่งมันอาจจะอุดมคติไป แต่อย่างน้อยถ้าสร้างสำนึกดีๆ ให้คนหยุดคิดได้บ้าง หรือสร้างค่านิยมใหม่ได้ ก็ดีไม่ใช่หรือครับ  


    ส่วนเรื่องของรัฐสวัสดิการที่นำไปสู่ความพอเพียงนั้น ผมมองว่าเป็นเรื่องเดียวกันนะครับ เพียงแต่ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำกันสูงมาก และวัฒนธรรมแนวคิดแบบของเรา การใช้ระบบรัฐสวัสดิการนำไปสู่ความพอเพียง เป็นไปได้ยากครับ เพราะกลุ่มคนที่กุมอำนาจ กุมทิศทาง จะเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์มากที่สุด พวกนี้จึงไม่ยอมแน่นอนครับ ดังนั้น ต้องใช้เศรษฐกิจพอเพียงแบบที่ใช้ "ใจ" เป็นตัวนำแบบที่เป็นตอนนี้ครับ ผมเชื่อว่าถ้าทำได้ สุดท้ายไม่ว่าแนวทางไหนก็จะนำไปสู่ความพอเพียง ความไม่เหลื่อมล้ำกันสุดขั้วแบบปัจจุบันนี้ก็จะหายไป



    ผมว่าปัจจุบันทางสถาบันพยายามวางตัวอย่างดีที่สุดแล้วครับ แต่ปัญหามาจากคนชั้นปฏิบัติการ  พวกที่ต้องการสิทธิพิเศษ  ต้องการความเหนือกว่า โดยเอาสถาบันมาอ้างมากกว่า พวกนี้แหละเป็นตัวดึงฟ้าให้ต่ำตัวจริง และทำให้เราๆ ท่านๆ เกิดความเบื่อหน่าย  และกลุ่มนี้ ถึงเอาออกไป กลุ่มใหม่มาแทนก็จะเป็นแบบเดียวกัน เพราะวัฒนธรรมผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่ ความสัมพันธ์สำคัญกว่าฝีมือ  ขี้เบ่งกัน มันอยู่ในสายเลือดคนไทยไปแล้ว   ส่วนขนาดของขบวนเสด็จ ผมว่าขึ้นกับแต่ละพระราชพิธีครับ งานใหญ่ ขบวนก็ยาว  ผมว่าแต่ละพระองค์อยากเสด็จเป็นการส่วนพระองค์มากกว่า แต่ในสถานะ บทบาท กรอบ  เป็นตัวจำกัดให้ทำแบบนั้นไม่ได้ครับ   จะสังเกตุได้ว่าขบวนยาวๆ ต้องปิดถนนกันเนี่ย ช่วงเช้าๆ เย็นๆ วันธรรมดาจะไม่ค่อยมีหรอกครับ ยกเว้นเป็นพระราชพิธีใหญ่ๆ จริงๆ  แต่ละพระองค์ก็คงไม่อยากให้ผสกนิกรเดือดร้อนหรอก  แต่หลายปัญหา มาจากพวกปฏิบัติการมากกว่า ที่อาจจะชอบเอาหน้า เอาง่าย เอาสะดวกของการปฏิบัติมากกว่า ที่ทำให้ไปสร้างปัญหา สรางความเดือนร้อนให้ประชาชนได้


    จากคุณ : ผู้ชายหลายรัก - [ 13 ก.ย. 50 21:42:58 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 283

    แหม... คุณบุญชิตฯ เล่านิทานเซนซะเห็นกระจ่างเลยครับ
    เรื่อง discourse กับ overinterpretion นี้ ผมก็ชักตันกับมันเหมือนกัน  เพราะมันไหลได้เยอะมาก แล้วแต่ใครจะ "ทด" ให้มันไหลไปทางไหน รอเก็บไว้ทำวิทยานิพนธ์ต่อดีกว่า ท่าทางอาจารย์จะให้ผ่านไม่ยากเท่าไร
    ส่วนประเด็นว่าด้วยทุนทางวัฒนธรรมนั้น ต้องยอมรับว่า Dumbledore ของเราเข้าขั้น tycoon เลยทีเดียว เพราะสะสมมาตั้งแต่...นานจนผมก็ไม่รู้เมื่อไร เพราะอย่างน้อย ผมก็ได้ยินคำว่า "พระเจ้าแผ่นดิน" จากปากคนแก่ๆ แถวบ้านบ่อยๆ และอย่างที่ พี่ (ยอมเรียกพี่แล้วครับ) ก็ได้ยกตัวอย่างว่า ท่านไม่ใช่ Monarch. แต่เป็นอะไรมากกว่านั้น "ไปมาก" และภาพที่เราเห็นทุกวัน และสิ่งที่เรารู้ก็ทำให้ดอกเบี้ยของทุนนั้นสูงมากขึ้นด้วย
    และสนธิ ลิ้ม(รวมถึงหลายคนก่อนหน้า) ก็ได้อาศรัยการลงทุนในหุ้นบลูชิพนี้ด้วย
    อันนี้ตามความเข้าใจของผมเองนะครับ ตอนนี้นอนอ่านโสกราตีสอยู่ ชีวิตยังไม่ว่างพอที่จะไปอ่านงานที่พี่แอสไซน์มาเลยครับ
    ป.ล. หลังจากปรึกษากันกับเพื่อนบางคน ที่พี่น่าจะเดาได้ว่าใคร เรามีความเห็นว่า เราควรจะขอพี่
    มาสอนที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่ถูกไล่ที่จากท่าพระจันทร์มาที่ทุ่งรังสิต ได้โปรดเถอะครับ จะอยู่รอเป็นลูกศิษย์ด้วย


    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 13 ก.ย. 50 21:51:49 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 285

    พี่Sa-idianเรียนคณะอะไรครับ ฟังดูน่าเรียนดีจัง

    จากคุณ : NiGht pRincE - [ 13 ก.ย. 50 22:43:33 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 286

    รู้สึกว่าเข้ามาตอบแล้วจะกลายเป็นนอกเรื่องเข้ารกเข้าพงจัง ครั้นจะแยกออกไปก็ไม่รู้จะตั้งหัวข้ออะไร เพราะดูจับฉ่ายมากๆ

    ต้องขอขอบคุณที่ให้ความสนใจนะคะ ไม่คิดว่าจะมีคนสนใจทฤษฎีแนว cultural studies ขนาดนี้ ที่เรียนอยู่ทุกวันนี้ก็แอบสงสัยว่ากลับไปสอนที่เมืองไทยจะมีเด็กที่ไหนมันสนใจหรือเปล่าเนี่ย แต่พอได้อ่านหลายๆความเห็นก็ดีใจที่พื้นที่ของการถกเถียงกันมีมากขึ้น ทำให้มีกำลังใจที่จะกลับไปสอนค่ะ ^_^ (ที่ยังไม่อยากเป็นอจ.ก็เพราะยังคิดว่าตัวเองโก๊ะกังอยู่มาก บอกใครว่าเรียนเอกก็ไม่มีใครเชื่อ) เพราะถ้านร.ไม่กระตือรือล้น คนสอนก็จะเกิดอาการเกียร์ว่าง (เหมือนใครนะ?) ไม่ขวนขวายหาความรู้เพิ่ม แต่ถ้าแสดงความกระหายเยี่ยงนี้ คนสอนก็จะร้อนๆหนาวๆ กลายเป็นว่าไม่ทันเด็ก

    คุณน้องปลาตีนพูดเหมือนอาจารย์ ธ. ณ ท่าพระจันทร์จัง นี่ก็เคยชวนอยู่ ขอบคุณนะคะ ตอนนี้ยังไม่คิดว่าจะลงที่ไหน แต่ก็แอบมีสัญญาใจอยู่ แต่ถึงไปอยู่ที่ไหน ก็สามารถข้ามไปมา บรรยายพิเศษ ฯลฯ ได้ ว่าแต่จะยังทู่ซี้รอเรียนอยู่เหรอ ไม่อยากรีบจบหรือจ้ะ

    ที่เรียนอยู่ตอนนี้มันพูดยากนะว่าคณะอะไร เพราะมัน interdisciplinary มาก เรียกกว้างๆว่า intercultural studies ละกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะมหาลัยในอังกฤษจะชอบสาขาวิชาที่ interdisciplinary มาก เพราะมีงบมาลงเยอะ อย่างจะจัด conference ถ้าระบุว่าเป็น conference สำหรับ interdisciplinary ก็จะได้งบง่ายกว่าพวกไม่ inter ข้อดีของ interdiscipline คือ เราค่อนข้างอิสระในการวิจัย เราจะเอา เช็คสเปียร์ไปเปรียบกับพระอภัยมณีแล้วใช้ทฤษฎี narrative ก็ได้ เราจะเอาทฤษฏี psychoanalysis มาศึกษาเปรียบเทียบกวีนิพนธ์ eluard กับภาพเขียนของ monet ก็ได้ ซึ่งตรงนี้เราชอบมาก และอาจารย์ที่นี่ (ที่หนึ่งในลอนดอน) ก็เปิดกว้างด้วย ขนาดจะเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องเนื้อเพลงของ Eminem เค้ายังให้เลย ไม่เหมือนมหาลัยเก่าแก่โด่งดังในประเทศเดียวกันที่จะเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับนักเขียนคนไหน ต้องรอให้เค้าตายก่อน (แต่มีคนออกมาบอกว่า "กฏ" นี้เลิกไปแล้ว) ซึ่งความอิสระตรงนี้เป็นสิ่งที่อยากให้วงการ humanities ที่เมืองไทยเอามาใช้มากๆ นร.จะสนุกมากขึ้น รู้สึกว่าที่ชั้นเรียนมีค่า ส่วนข้อเสียก็คือ คนเรียนจะเป็น "เป็ด" ที่รู้หลายเรื่องมาก แต่ไม่รู้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งก็ยอมรับว่าจริงเป็นบางส่วน ยังไงก็ตาม ในยุค postmodern นี้ ถ้าไม่รู้จักเชื่อมโยงระหว่างความต่างที่มันมีมากขึ้นทุกวี่ทุกวัน เราก็จะไม่เข้าใจโลกที่มันสับสนมากขึ้น กำแพงระหว่าง discipline มันนอาจจะช่วยให้เราเข้าใจสังคมสมัยวิคตอเรียนหรือ "บ้านเมืองยังดี" ได้ แต่ทำให้เราเข้าใจสังคม fragmented อย่างทุกวันนี้ไม่ได้ค่ะ

    ถือโอกาสขอบคุณทุกท่านที่มาแสดงความเห็น ทำให้เรารู้สึกว่าเรายังรู้เรื่องการเมืองไทยน้อยมาก และจะตามเก็บข้อมูลเรื่อยๆ จากที่อ่านมา เรารู้สึกดีที่เห็นกระทู้นี้โปรโมต healthy discussion ค่ะ หลายคนมาจาก background ที่ต่างกัน และเกือบทุกคนก็ใจกว้างกันมากๆที่รับฟังความเห็นจากคนที่เห็นต่าง เป็นสิ่งดีที่เห็นจากพันทิปค่ะ ต้องขอบคุณ webmaster ที่สนับสนุนการถกเถียงอย่างสุภาพและมีเหตุผล

    ตอบคุณบุญชิต
    ถ้าอยู่ฝรั่งเศสก็ต้องทน discours ต่อไปค่ะ เพราะมันเกิดที่นั่น ถึงจะค่อนข้าง out แล้วแต่ก็ยังเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อยู่มาก สำหรับนร.วรรณคดี ถ้าจะเริ่มฝึกการวิจารณ์ เริ่มจาก discours นี่แหละ แล้วขยับขยายไปจับทฤษฎีอื่นจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น สำหรับตัวอย่างที่ให้มา มองในแง่วาทกรรมได้ว่า ปัญหามาจากผู้ที่เชื่อในวาทกรรม "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" และพยายามจะขยายอาณาเขตของวาทกรรมนั้นให้ครอบคลุมพฤติกรรมต่างๆในสังคม กรณีนี่คือ การทำป้ายรร. ซึ่งป้ายก็มองได้ว่ามันคือ label ที่เป็นตัวแทนและหน้าตาของรร. นอกจากนี้ยังมีวาทกรรม authority figure ที่คนไทยมักจะเชื่อตัวบุคคลมากกว่าเหตุผล นิทานเรื่องนี้จะมองแบบ bourdieu ก็ได้ การเอาพระเป็นตัวแทนก็คือ cultural production อย่างหนึ่ง ที่ผู้ทำต้องการให้เกิด symbolic violence กล่าวคือ ทำให้ภาพของรร.อยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รร.มี "อำนาจ" ในฐานะเป็นสถานที่สูงส่งทางศีลธรรม แต่ในขณะเดียวกัน ครูรองก็มี capital พอที่คำพูดของท่าน (symbolic violence) ทำให้ฝ่ายแรกต้องยอมตาม เราเอาตัวละครพวกนี้ไป apply กับตัวละครในสถานการณ์บ้านเมือง ก็จะได้คำอธิบายที่ใกล้เคียงกันค่ะ

    แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 50 03:26:51

    แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 50 03:20:27

    จากคุณ : Sa-idian - [ 14 ก.ย. 50 03:12:42 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 287

    ทฤษฎีแนว cultural studies รวมไปถึงพวกปรัชญาคอนทิเนนท์และพวกปรัชญา/ทฤษฎีทางไปรษณีย์ (พวก"post" ทั้งหลาย; postmodern, postcolonial, post-structure, post...) ทั้งหลายนั้น ส่งอิทธิพลต่อวงวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในบ้านเรามากพอควรทีเดียว และโดยเฉพาะต่อ "ฝ่ายซ้าย" และพวก "activist" (อย่างน้อย ๆ ก็เท่าที่ผมสัมผัสด้วย)  ดูได้จากพวกนี้จะหยิบนำมุมมองและวิธีการจากนักปรัชญาฝรั่งเศสไปใช้ โดยเฉพาะ Foucault, deconstruction, Derrida, Althusser ไปจนถึงพลพรรคแห่งสำนัก Frankfurt

    อ้อ คนที่ดูเหมือนจะมาแรงอีกคนคือ Jacques Ranciere

    เพราะฉะนั้น หากพี่ Sa-idian กลับมาสอนที่เมืองไทย ผมค่อนข้างมั่นใจว่า พี่จะได้รับการ treat ราวกับเป็น rock star ทีเดียว เหอ ๆ ;) ผมคงเป็นคนหนึ่งที่ขอไปซิทอินเรียนด้วย...แต่คงไม่ใช่ทู้ซี้รอเรียนแน่ ๆ ครับ

    การถกกับพี่ Sa-idian ทำให้ผมรู้ว่า ต้องแสวงหาความรู้เรื่องปรัชญา/ทฤษฎีต่าง ๆ อีกไม่น้อยทีเดียว (และทำให้ผมเริ่มอยากไปเรียนสิ่งที่พี่เรียนมั่งจัง อิอิ)


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 14 ก.ย. 50 23:25:16 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 288

    ไหน ๆ เราทั้งหลายได้ถกกันมาถึงตรงนี้แล้ว ผมขอสรุปข้อคิด+จุดยืนของผมหน่อยละกัน

    ขอย้อนกลับไปที่คำถามหลักของกระทู้ ผมว่าไม่ใช่แค่พันทิพย์หรอกครับที่ “แปลก” ไป แต่อะไร ๆ ก็ “เปลี่ยนแปลก” ไปเป็นเรื่องปกติ ยิ่งในบริบทกรณีที่เราถกกันมา “สถาบัน” และ “ท่าน” ในฐานะการครอบงำความคิดจิตใจ (hegemony) และการกดทางความคิดนั้น ดำรงอยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งรัฐไทยและสังคมไทยมีความพยายามอย่างยิ่งในการสร้างและจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของ “สถาบัน” และ “ท่าน” ให้อยู่เกินเอื้อม บวกกับ มาตราการทางการบังคับ-นอกจากทางอุดมการณ์ความคิดแล้ว-รวมไปถึงการใช้กฎหมายและการสร้างความกลัว

    [เคยมีคนตั้งข้อสงสัยว่า ศาลที่กระทำในนามพระปรมาภิไท นั้น ในการไต่สวนคดีหมิ่นฯ จะถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่???]

    นอกจากนี้ รัฐและสังคมไทย ได้ระดมแจก “แว่นตาสีขาว” ให้สมาชิกในสังคม ผ่านโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ (ในฐานะ myths and memories) และผ่านสื่อมวลชน ที่เสนอข่าว “สถาบัน” และ “ท่าน” ได้ด้านเดียวและยังต้องตกเป็นเครื่องมือในการโฆษณาให้อีกด้วย (ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “สารคดีเฉลิมพระเกียรติ”)

    การที่พันทิพย์ “เปลี่ยนแปลก” ไปนั้น อาจเป็นเพราะว่า สมาชิกในสังคมหลาย ๆ คนได้ถอดเขวี้ยงแว่นสีขาวดังกล่าวทิ้งไปเสีย เริ่มต้นการตั้งคำถาม แต่...แม้แต่การตั้งคำถามก็ยังเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นสิ่งที่โดนกดไว้ด้วยกฎหมายและความกลัว...

    อย่างที่ผมเคยว่าไว้...Nepal เป็น case study ที่ดีมาก ๆ ครับ

    ดังนั้น จุดยืน (ที่นอกเหนือไปจาก "ตีน"แล้ว) ของผมที่ผ่านมาตลอดคือ หาก “สถาบัน” หวังที่จะปรับตัวเข้ากับโลกที่ไม่อยู่นิ่งนี้ การปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคมต้องเกิดขึ้น เรื่องพื้นฐานเช่น การวิพากษ์วิจารณ์-ตรวจสอบของประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาจต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ หรือหากไม่ยกเลิกนั้น ต้องให้กฎหมายหมิ่นปรับใช้เสียใหม่ เพราะที่ผ่านมา กฎหมายฉบับนี้ถูกนำมาใช้เล่นงานศัตรูทางการเมืองและ “อุดปาก” ประชาชนอยู่เสมอ (เคยมีข้อเสนอว่า ผู้ที่จะไปฟ้องตำรวจด้วยข้อหาดังกล่าวได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจจากคิงเอง เช่นอาจเป็นสำนักพระราชวังหรือราชเลขา ฯลฯ)

    เรื่องต่อมาคือ “สถาบัน” และ “ท่าน” นั้น ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอย่างแท้จริง ปัญหาคือ หากเราดูประวัติศาสตร์ “ท่าน” นั้นมีบทบาททางการเมืองตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเลือกตั้ง หรือรัฐบาลเผด็จการ (ซึ่งผมมองว่าจะมีบทบาทมากเป็นพิเศษ) “ท่าน” เล่นการเมืองโดยที่เจ้าของประเทศอย่างผมหรือท่านอื่น ๆ นั้น ไม่สามารถ check and balance ได้

    และจะยึดโยงกับแนวคิด The king can do no wrong เพราะ The king has no action at all การที่คิงจะมีการกระทำที่เป็นทางการหรือต่อสาธารณะยังไงนั้น ต้องถูก supervised จากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเสมอ

    สำคัญที่สุดที่ผมย้ำเสมอ สังคมไทยต้องเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับคนหลากหลายจุดยืน ให้คนหลาก back ground มา “ทะเลาะ” กันได้อย่างมีคุณภาพ แต่ที่ผ่านมา สังคมไทยอบอวลไปด้วยการ “รู้รักสามัคคี” ซึ่งถูกนำมาอุดปากประชาชนตลอดมา...

    สุดท้ายแล้ว มันไหลกลับไปสู่คำถามพื้นฐานที่ว่า เราต้องการที่จะมีชีวิตทางการเมืองแบบไหน? เรามีความจำเป็น (หรือต้องการ) อำนาจการปกครองแบบใด? เราต้องการประชาธิปไตยหรือเปล่า?และที่สำคัญ เราปล่อยให้คนซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและตรวจสอบไม่ได้ มีอำนาจมากขนาดนี้ได้อย่างไร???

    แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 50 14:59:16

    แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 50 02:10:52

    แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 50 02:08:48

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 15 ก.ย. 50 02:02:21 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 289

    แหะๆๆๆ...ฮกฯ เอ๋ย So-called ฝ่ายซ้ายแล Activists ประเทศนี้ จำนวนน้อยนักที่สนใพวกแนวคิดแบบไปรษณีย์เหล่านี้จริงๆ เพราะเท่าที่ไปคลุกวงใน(กว่า)มา เขาก็ใช้เพียง"วาทกรรม"ของเขา มาเป็น "วาทเวร"ในการสร้างพระเอกในเรื่องราวใหม่เพื่อกดทับ"วาทกรรม"อื่นๆอยู่ดี ถ้าจะให้บอกว่า So-called ฝ่ายซ้าย ส่วนใหญ่เมืองไทยเป็นสายไหน
    จะให้บอกไหมว่าเป็น Stalinists
    ส่วนเรื่องวาทกรรมและทฤษฏีวัฒนธรรมต่างๆนั้น ผมว่าถึงมันอาจจะ out แต่ก็ใช่ว่าจะสิ้นสภาพไปนะครับ เผลอๆ อาจจะต้องมายำกัน เผื่อจะใช้ศึกษาโลกยุคไปรษณีย์เป็นใหญ่ที่สรรพสิ่งไหลหากันหมดนี้ได้ดีขึ้น
    ปัญหาต่อมาคือ ต้นกระทู้ ที่บอกว่าตอนนี้เว็บพันทิปแปลกๆไป ผมว่ามันไม่แปลกหรอกครับ ที่จะมีคนเริ่ม"สงสัย" อะไรมากขึ้น
    ประเทศนี้ จะเป็นอย่างไรไม่รู้ แตที่สิ่งที่ผมและขอเดาว่าไม่ใช่ผมคนเดียวต้องการคือ ประเทศที่ทุกคนเป็นเจ้าของ สามารถตรวจสอบได้ว่า สิ่งต่างๆ ที่เข้ามามีผลกับตัวเขาเป็นอย่างไร ไม่ใช่ King God Country ที่มาอุดปากทุกคนด้วยข้อหาไม่รักฃาติหรือเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีทุนอยู่สูงเหลือเกินทางวัฒนธรรม(จากหลายๆกรณีที่ยกๆกันมา) แต่ในขณะเดียวกัน คน ในประเทศนี้ ก็ยังติดกับอะไรหลายๆอย่าง ที่ทำให้เขารู้สึกว่า เขาเป็นแค่อะไรบางอย่างที่ติดที่ดินอยู่ (หรือที่พี่บอกว่ามีทุนน้อยนั่นแหละ)แค่นั้น
    เคยคุยกับเพื่อนที่เธออกแนวๆอักติวิสต์ เรื่องที่เธอมา "บ่น" ว่าทำไมนักเรียนที่ท่าพระจันทร์ ปรีดีวิทยานุสรณ์ มันไม่สนใจการเมืองอะไรกัน
    ผมเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เลยมีคำตอบว่า เพราะเขาคิดว่า เขาไม่มีอะไรจะเสียจากสังคมแบบนี้ เขาติดอยู่ใน เมตะนาเรถีบแบบนี้ไปแล้ว
    อะไรเทือกๆนี้ เพราะถ้าเขาเชื่อว่า สังคมแบบนี้ทำให้เขาเสียอะไรบางอย่างของเขาไป มีหรือที่เขาจะไม่สนใจการเมือง
    บางที บางที บางที
    ป.ล. คงรออยู่เป็นนักเรียน ป. โท ครับคุณพี่...เพราะป. ตรีขี้เกียจเรียนแล้ว ไม่อยากเป็น "นักศึกษา" อันเป็น "พลังบริสุทธิ์" แล้ว...เหนื่อย
    ป.ล.2 งานที่พี่แอสไซน์ ผมก็ยังไม่ได้ไปอ่านอยู่ดี...เริ่มรู้ตัวว่าเป็นนักเรียนที่ไม่ได้เรื่องอีกแล้ว
    ป.ล.3 มาหาเรื่องตั้งกระทู้ไม่ได้ มาตั้งสโมสรคุยกันเรื่องแนวคิดพวกนี้เลยก็ได้ครับ ยินดีจะเป็นเด็กฝึกหัดด้วยหนึ่งคน

    แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 50 22:51:35

    แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 50 20:14:55

    แก้ไขเมื่อ 15 ก.ย. 50 19:58:34

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 15 ก.ย. 50 05:05:40 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 290

    จิงค่ะจิง เห็นด้วยกับคุณนายปลาตีนมากๆเลยค่ะ ตามอ่านมาตั้งแต่แรกเลย ขอเป็นแฟนคลับคุนปลาตีนนะคะ อยากอ่านความเห็นของคุนปลาตีนเพิ่มจังค่ะ ตั้งแต่ตื่นมานั่ง F5 มาทั้งวันเลย รอไม่ไหวเลยต้องมา post เนี่ยหล่ะค่ะ แต่ยังไงก้อจะรอต่อไปนะคะ

    จากคุณ : smileypanda (Brown eyes blue) - [ 15 ก.ย. 50 18:05:43 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 291

    ชักหวั่นๆ นะครับ เรื่องมีคนขอเป็นแฟนคลับเนี่ย เริ่มระแวงแล้วว่าเพื่อนคนไหนแอบมาแกล้งกันเล่นหรือเปล่า เพราะ คนอื่นที่ความคิดความอ่านเขาเฉียบกว่าผมตั้งเยอะในบอร์ดนี้ก็มีไม่น้อย (อย่างน้อยผมก็ยอมรับฝีมือพี่ซาอิเดียนกับพี่บุญชิตฯแล้วก็เจ้าฮกฯ พอควร)
    ส่วนเรื่องตอบกระทู้เพิ่ม ตอนนี้ยังไม่มีความเห็นอะไรเพิ่มครับ ขอกลับไปทำการบ้านก่อนสักพัก


    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 15 ก.ย. 50 21:32:30 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 292

    เมื่อคืนผมฝัน...

    ผมกำลังนั่งอยู่ในสถานที่หนึ่ง แลดูคล้ายผับ ตรงหน้าผมคือเครื่องดื่มเหลืองทองในแก้วใส ฟองขาวละเมียดละไมลอยอยู่บนผิว รอบตัว ผู้คนหลากหลายสีหน้าส่งเสียงอึกทึก ณ ที่มุมหนึ่ง ผมเห็นสุภาพสตรีแต่งหน้าจัด เข้าใจเอาเองว่าหล่อนคงมีอาชีพขายความรัก...

    ทันใดนั้น...ผมเกิดญาณสำนึกอะไรซักอย่างมิอาจทราบได้ ผมรู้ตัวว่ากำลังนั่งอยู่ในย่านโซโหแห่งนครลอนดอน  เอ...นี่มันปี ค.ศ. อะไร? นึกสงสัยพลางยกแก้วบรรจุเครื่องดื่มเหลืองทองขึ้นจิบ ของเหลวรสชาติขมแต่นุ่มนวล ผมพยายามมองหน้าตาของคนรอบข้างให้เด่นชัด แต่สิ่งเดียวที่ดูราวจะปรากฎแก่จักษุคือใบหน้าเลือน ๆ เหมือนผมกำลังฝันอยู่

    ก็ผมกำลังฝันอยู่นี่หว่า...

    ลมเย็นปนกลิ่นฝนโชย ชายคนหนึ่งเดินเข้าประตูมา เขาเดินไปสั่งเครื่องดื่มตรงบาร์ ยืนรอชั่วระยะหนึ่ง แล้วเดินมาหาผมพร้อมแก้วในมือ

    แปลก ผมสามารถมองเห็นเครื่องหน้ารกครึ้มด้วยหนวดเคราอย่างเจนแจ้ง เขายิ้มให้ผมทางสายตาก่อนโยนเอกสารอะไรบางอย่างลงบนโต๊ะแล้วขยับจับเก้าอี้หย่อนกายลงนั่งตรงข้าม

    “สวัสดีท่าน...” เขาทักผม ยกเครื่องดื่มขึ้นจิบ
    “สวัสดีครับ” ผมตอบด้วยทีท่างง ๆ
    “ผมติดตามการถกเถียงอภิปรายของคุณมาพักนึงแล้ว” ชายผู้นี้เริ่มพูด “ผมมีปัญหากับการวิเคราะห์เรื่องชนชั้นและการผลิตของคุณและของเพื่อน ๆ คุณไม่ใช่น้อย แต่...” เขาเว้นวรรคโดยหันไปส่งเสียงอึกทึกทักทายคนที่โต๊ะข้าง ๆ “...แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุหลักที่ผมมาหาคุณวันนี้”
    “มาหาผม?” ผมทวนคำอย่างงง ๆ
    เขาพยักหน้า ยกแก้วขึ้นดื่มคำใหญ่
    “ท่านนักปราชญ์ผู้ยิ่งยงทั้งหลาย” เขาพูด จับจ้องมาที่ดวงตาผม “ได้เพียงแต่ใช้สติปัญญาอันแหลมคมยิ่งตีความอธิบายโลกนี้ไปต่าง ๆ นานา แต่จุดสำคัญนั่น...สหายข้าฯ...อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงมันต่างหาก”

    [!??!?]

    ครับ คำพูดเหล่านี้เสียดแทงใจผมอย่างลึกที่สุด ของเหลวในมือดูจะขมกว่าเดิมอีกหลายเท่า อากาศชื้นเหงาด้านนอกดูจะเยียบเย็นขึ้นกว่าเดิม
    ผมอ้าปากจะพูด
    “ไม่ต้องถามผมนะครับว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรยังไง” ชายผู้นี้ขัด “ผม...ไม่ใช่ผู้วิเศษ...แต่เป็นเพียงวิญญาณ [Specter] บางประเภทที่คอยหลอกหลอนนักวิชาการปัญญาชนอย่างคุณ โดยเฉพาะในยุคหลังคอมมิวนิสต์ล่มสลายในขณะนี้ ความหวังความฝันความตั้งใจของมนุษย์ที่เคยแลดูมั่นคง กลับลื่นไปไหลมา ยากที่จะจับมาปั้นเป็นตัวได้ ในขณะเดียวกัน ในช่วงเวลาแลดูราวกับว่า ประวัติศาสตร์ได้มาถึงจุดจบเช่นนี้เป็นช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่นักปรัชญาอย่างคุณ ๆ ทั้งหลาย ประสบปัญหาความมั่นคงทางวิชาชีพที่สุดตลอดระยะเวลา 3 พันกว่าปี  วิญญาณอย่างผมตนนี้ จะคอยหลอกหลอนพวกคุณตลอดไป”

    “พวกคุณทั้งหลายที่อภิปรายถกเถียงมานั้น” เขายกแก้วขึ้นดื่มของเหลวที่เหลือ “พวกคุณได้เสนอความฝัน ความหวัง ความตั้งใจไว้มากมาย และดูราวกับว่า พวกคุณได้มาถึงข้อสรุปร่วมประกันบางประการ [ข้อนี้ผมไม่เห็นด้วยแฮะ เรามีข้อสรุปร่วมกันจริงหรือ???] สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย มิใช่หรือ? (ซึ่ง...ให้ตายเหอะ!...นี่มันอุดมการณ์ของชนชั้นขูดรีด...แต่...เอาเถอะ...นั่นไม่ใช่ประเด็น) พวกคุณดูราวกับว่า จะเห็นปัญหาของชุมชนที่คุณอาศัยอยู่ไม่น้อย ประเด็นปัญหาคือ พวกคุณมีสำนึก [consciousness] เพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกที่คุณอาศัยอยู่หรือไม่? หรือพวกคุณพอใจที่จะสำเร็จความใคร่ทางปัญหาอยู่แค่นี้? (ซึ่ง...แน่นอนว่า หากพวกคุณเลือกอย่างหลัง ผมคงมิอาจสามารถนำบรรทัดฐานใด ๆ ไปอิงแอบแนบวัดให้ค่าทางเลือกของพวกคุณได้...เป็นเรื่องปกติที่พวกคุณคงไม่อยากจบชีวิตที่ต้นมะขาม...หึหึ)”

    เขาลุกขึ้นยืน ยิ้มให้ผมอีกหน “ผมมีประวัติศาสตร์การขูดรีดที่ผมต้องเขียนต่อให้เสร็จ ยินดีที่ได้คุยกับคุณ” แล้วคว้าเอกสารบนโต๊ะ หันหลังเดินจากไป “อ้อ!” เขาชะงักฝีเท้าที่ประตู “ผมคงจะได้เจอคุณอีกเร็ว ๆ นี้ในอนาคต”

    ภาพรอบตัวเริ่มเลือนหายไป

    แล้วผมก็ตื่น

    ???

    ปล. หลังจากตื่นแล้ว ผมแปรงฟันอาบน้ำแล้วเดินทางไปโรงเรียน ถนนหนทางเต็มไปด้วยคนใส่เสื้อเหลือง บนระบบขนส่งมวลชนเปิดเพลงเดิมซ้ำไปซ้ำมา และผมพบว่า...ระหว่างผมยังไม่สามารถตัดสินใจเลือกทางเลือกใด ๆ ได้ ผมขอหุบปากแล้วอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรีไปก่อนละกัน...


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 16 ก.ย. 50 02:24:27 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 293

    ฮกหลงฯ...ผมตีฝันคุณเป็นเลขไม่ได้ว่ะ....80 ไหม เผื่อจะแทงถูก
    บางที ที่เราสำเร็จความใคร่ทางปัญญาทุกวันนี้ ก็อาจจะเป็นเพราะเราไม่มีใครมา iืntercourse ทางปัญญาด้วยก็ได้...
    หวังว่าการสำเร็จความใคร่ทางปัญญาของเรา จะทำให้คนที่ค่อนข้างเคร่งกับมาตรฐานทางจริยธรรม ทางปัญญา เริ่มรำคาญ และอาจจะอุจาดตาเขา จนเขาเริ่มโวย....แบบที่เราเห็นบ่อยๆ แลมาบ่นกันว่า ไม่มีที่ยืน ไม่ว่าจะเป็นขวาแท้ๆ ซ้ายจริงๆ หรือ อาจจะรวมถึงซ้ายผู้ไม่เดียงสา เหลือเพียงขวาตกขอบผู้ลงทุนในหุ้นทางวัฒนธรรมที่คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
    จากการกีดกันทางการค้าเท่านั้น
    อืม...มันไม่ใช่ทุนนิยมเสรีสามานย์ที่ผมนิยมสักนิด เพราะอย่างน้อยทุนนิยมสามานย์ก็ยังพอมีที่ให้ผมลงทุนอะไรได้บ้าง
    และทุนนิยมสามานย์ ที่มีที่ตั้งจากความเห็นแก่ตัวของมนุษย์อย่างผมก็เชื่อว่า ความต้องการเสียประโยชน์น้อยที่สุดและอยากได้มากที่สุดของทุกคน น่าจะเ็ป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการนำมนุษย์มาจัดการกันเอง...ไม่ว่าจะในฐานะของปัจเจก หรือชนชั้นก็ตาม แม้ว่ามันอาจจะวุ่นวายกับการตามทวงหนี้กันบ้าง แต่ก็ดีกว่าให้เงินหายไปในบ่อที่เราตามไปงมมาไม่ได้
    หากเขาเห็นว่าการสำเร็จความใคร่ทางปัญญามันเป็นเรื่องอันตราย เขาก็จะเริ่มประกาศห้ามเอง และยิ่งถ้ามีคนสนใจจะintercourse ให้เกิด "ผลร้าย" เขาก็คงทำแท้งเอง...ก่อนจะประกาศว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องอุจาด ไม่เรียบร้อย ไม่สอดคล้องกับประเพณีอันดีงาม และกำหนดว่า เราต้องมีการประกอบกิจกรมทางวิชาการแบบใด เหมือนเรื่องอื่นๆ ที่เขาบอกว่า วิตถาร ที่ต้องห้ามทั่วไป
    แต่ก็หวังว่า จะมีคนเริ่มสงสัยว่า พวกที่ทำคุยอยู่นี้ มันสนุกนักเหรอ เข้ามาฟัง เข้ามาใช้ความคิด ใ้ช้ความเห็น ทั้งในฐานะของตัวเขาเองและในฐานะของผู้ที่ร่ำเรียนมาจากทุกอย่างในชีวิตเขา
    ในฐานะที่เขาก็มีอวัยวะที่ทำการนี้ได้และทำได้เอง โดยไม่ต้องมาแปะป้ายว่าอนุญาตให้ทำได้ เหมือนนิทานเรื่องที่มาของว่าการร่วมเพศในภาษาอังกฤษ
    แม้ว่าสุดท้าย เราจะมีแค่เพื่อนที่ทำอะไรอุจาดตา "ผู้ใหญ๋" เพิ่มขึ้นแค่นั้นเอง
    ส่วนชีิิวิตที่ไม่มั่นคงของนักปรัชญาหลัง3000ปีมานี้ ผมคงบอกอะไรไม่ได้ บางที ตอนนี้ เราอาจจะกลับไปสู้โลกของคนที่เริ่มกลับมาหาที่ไปที่มาของโลก และการเข้าใจโลกอย่างนักปราชญ์ปรีโสกราติก ผู้มีเพียงอะไรบางอย่างกว้างๆ แต่ไม่มีคำตอบแน่นอนอันเป็นสากลในโลกของมรรตัยชน เพราะหลักจากหาสิ่งที่เป็นสากลมาชั่วประวัติศาสตร์ เราก็พบว่า ทุกอย่างต่างไหล..ไปหมด และผมก็ทำใจรับว่ามีคำตอบ คำตอบเดียวแบบเดียวนั้นคงยากแล้ว เพราะคำตอบที่หลายคนอาจจะเห็นเลาๆ จากความคิดของนักเรียนปริญญาตรีปีสุดท้ายทะลึ่งๆ คนหนึ่ง ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีเลย ต่อให้มองจากมาตรฐานการใช้ของมนุษย์โลกสายพันธุ์ Homo sapien sapiens...ก็ตามทีดังนั้น จึงมิพักต้องพูดถึงในมาตรฐานอื่นๆ
    แ้ม้้้กระทั่งกระแสสำนึกของการต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างด้วย ที่อาจจะไหลไป...จนเมื่ือบางที วิญญาณเคราครึ้มตนนั้น (ผมอาจจะต้องกงเต็กมีดโกนกับโฟมโกนหนวดและอาฟเตอร์เชฟให้เขา) มาถามถึงเรื่องนี้อีกครั้ง เขาอาจจะขมวดคิ้วนิดๆ พร้อมคำถามว่า "มันใช่จริงๆเหรอ"
    แล้วตกลง....มันใช่จริงๆ เหรอ

    แก้ไขเมื่อ 16 ก.ย. 50 03:18:10

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 16 ก.ย. 50 03:05:03 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 295

    ...

    แก้ไขเมื่อ 16 ก.ย. 50 04:10:47

    จากคุณ : UnlimitedDreams - [ 16 ก.ย. 50 03:29:20 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 296

    คุณนายปลาตีนขา..........

    ก้อรุนะคะว่าความคิดเค้าดูเฉียบกว่า แต่บอกตามตรงว่ามันคงจะอยากไปอ่ะค่ะ อ่านของคนอื่นเลยไม่ค่อยเข้าใจ แต่อ่านของคุนนายปลาตีนแล้วแอบรุเรื่องกว่าน่ะค่ะ แต่ก้อชอบของคุนฮกหลงอันล่านะคะ อย่างก่าเขียนนิยายแหนะ แต่ยังไงก้อยังชอบคุนนายปลาตีนอยู่ดีค่ะ แล้ววันนี้จะ F5 รอนะค้า

    HAVE A NICE DAY KAAA


    จากคุณ : Brown eyes blue (Brown eyes blue) - [ 16 ก.ย. 50 11:28:39 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 297

    ในห้องสมุดนี้ มีผู้รู้อยู่มากมาย น่าจะเสนอทางออกได้เป็นอย่างดี

    1. ความคิดเห็นที่ 84 , 109: เป็นไปไม่ได้ คงไม่มีนักการเมือง หรือ นักวิชาการคนไหน กล้า

    2. สำหรับฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง: ทำใจ แต่ก็ยังทำตัวแปลกแยกจากคนส่วนใหญ่อยู่ดี ต่อต้านอย่างเงียบๆ

    3. ฝ่ายขวา: แจ้งเจ้าหน้าที่ จับเข้าคุกให้หมด หรือ ไม่ก็ขับไล่ ให้ไปอยู่ต่างประเทศ

    4. ???

    ภาพของนักการเมืองไทย: ทุกคนกำลังมองว่า นักการเมืองเป็นพวกหาผลประโยชน์ ไม่มีใครจริงใจทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง หวังพึ่งนักการเมืองไม่ได้ คนไทยจึงหันไปพึ่งสถาบันแทน ซึ่งสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างมากสำหรับอนาคตการเมืองไทย  รธน. ฉบับต่อไป อาจจะระบุว่า ส.ส. ต้องมาจากการแต่งตั้งเท่านั้น


    จากคุณ : UnlimitedDreams - [ 16 ก.ย. 50 13:50:33 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 298

    อ่าน คห.239 แล้วเห็นภาพชัดเลยครับ  : )

    คนไทย สาปแช่งทุนนิยมว่าชั่วช้า ทำให้คนเห็นแก่ตัว บ้าวัตถุ ฟุ่มเฟือย ฯลฯ

    ผมมาอยู่ประเทศที่ทุนนิยมเสรี กลับเห็นฝรั่งมันประหยัดยิ่งกว่าคนไทยไม่รู้กี่เท่า
    ที่สำคัญคือระบบภาษีของเขามันแข็งแกร่งมาก มันปลูกฝังให้เวลาเขาทำอะไรแล้วจะต้องคิดถึงสังคมตลอด

    ตกลงประเทศไทยมันระบบอะไรกันแน่หว่า...


    เห็นด้วยกับประเด็นของคุณบุญชิต

    ศก.พอเพียง มุ่งเน้นไปที่คนจนให้พอเพียง มากกว่าจะมุ่งไปที่คนรวย
    แม้บางคนอาจเถียงว่า ศก.พอเพียงก็สอนคนรวยด้วยเหมือนกัน

    แต่สาระสำคัญคือ จะเอาเงิน"ส่วนเกิน"ของคนรวย ไป"ช่วยเหลือ"คนจนได้อย่างไร ต่างหาก

    ในฐานะที่คุณอยู่ร่วมสังคมเดียวกัน คุณก็ต้องช่วยเหลือเพื่อนร่วมสังคมที่ยังขาดแคลน คุณมีมากแล้ว คุณก็ต้องแบ่งให้เพื่อนของคุณที่ยังไม่มี นั่นเป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่ง

    ศก.พอเพียงตอบโจทย์ตรงนี้ได้หรือไม่?


    จากคุณ : Duke! - [ 16 ก.ย. 50 14:38:43 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 299

    เห็นด้วยกับคุณ Duke นะคะ

    แต่ว่าในหลักของเศรษฐกิจพอเพียงเนี่ย เค้าclaim ว่า เศรษฐกิจ พอเพียง "takes corporate responsibility to the next level" นี่คะ นี่ถือเป็นการตอบโจทย์ที่ว่ารึเปล่าคะ


    จากคุณ : :) (Brown eyes blue) - [ 16 ก.ย. 50 20:43:23 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 300

    responsibility..คำนี้แหละครับปัญหา
    ปัญหาคือ เราเคย "รับผิดชอบ" หรือเปล่า
    หรือ รับชอบอย่างเดียว
    เพราะเท่าที่ผมพอจำได้
    เดิม ในยุคอุปถัมภ์ เรามีผู้ใหญ่-ผู้น้อย ที่ผู้ใหญ่จะต้องรับผิดชอบกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมสมัย โลกยังดีอยู่ คือเมื่อครั้งยังเป็นชุมชนเล็กๆ ที่ทุ่งรังสิตไม่ได้ถูกบุกเบิกให้เป็นนาข้าวเพื่อการส่งออก(แต่ผมก็ไม่แน่นประวัติศาสตร์ หากเป็น Bad History ก็แก้ไขให้ด้วย) แต่ปัญหาคือ เราดันติดอะไรแบบนั้นมาด้วยหรือเปล่า
    และยิ่งมาถูกขยายให้โตขึ้น ด้วยสารพัดวาทกรรม วาทเวร ว่าด้วยผู้ใหญ่ที่ขออะไรได้ เป็นที่พึ่งได้แต่ผู้เดียวมากขึ้น(หากใครเข้าใจว่าผมเน้นจะพุ่งเป้าไปที่"ท่าน" ไม่ใช่นะครับ ผู้ใหญ่ในที่นี้คือผู้หลักผู้ใหญ่ทั่วๆไปจริงๆ ประเภทที่เราเรียกเฮียขึ้นไป) และสักพักผู้ใหญ่จะมาเคลียร์ให้เองซึ่งเป็นคำตอบว่าทำไมจตุคามเรตติ้งดี
    แต่เราไม่เคยคิดถึงผลประโยชน์ของตนเอง โดยเพาะอย่างยิ่งการอ้างผลประโยชน์ของตนเองเลย (น่ายินดีที่พักหลังๆ เริ่มมีคนประท้วงกันมากขึ้น ทั้งเรื่องสนามบิน โรงงาน ฯลฯ)
    เมื่อเข้าสู่ระบบกึ่งๆ อุปถัมภ์ แต่ทุกคนถูกทำให้เป็นเสรีชนแล้ว..โดยมีรัฐเป็นผู้รองรับสิทธิ ปัญหาคือสิ่งที่รัฐรองรับมันดูเป็นนามธรรมมากไป
    และบางอย่าง ที่ไม่มีการกำหนดไว้ ก็ถือว่าเป็ฯน"สิทธิและเสรีภาพอันกระทำได้" เพราะทุกคนเป็น "เสรีชนกันหมด"
    ดังนั้น ความพอเพียง แบบมีสิบล้านใช้เก้าล้านเลยเกิดได้ เพราะเขาถือว่า เงินส่วนเกินที่เขาครอบครองนั้นจะบริจาคไปทำไม เมื่อ "ธุระไม่ใช่" เนื่องจากไม่ได้อุปถัมภ์ใครแบบเป็นจริงเป็นจังมากนักแล้ว...เหลือแต่เงินค่าจ้างตามกฏหมายกำหนดเท่านั้น
    หรือไม่เช่นนั้น เขาก็ถือว่า ความรับผิดชอบของเขาคือ...อืม...สิ่งที่เราทั้งหลายเรียกว่า ทำบุญนั่นละกัน
    อย่างที่มีคนเคยโพสต์ไว้ในนี้ล่ะครับ ถ้ากฏดี คนเลว ยังพอหาวิธีดูแลจัดการได้ แต่ถ้า กฏเลว คนดี เราคงดูได้ยาก ว่าเขาจะดีแตกตอนไหน
    บางที ถ้าจะพอเพียงกันจริง ลองให้ทุกคนคิดถึงผลประโยชน์ของตนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ลองเก็บภาษีมรดก ภาษีที่ดินเปล่า ภาษีสัดส่วนผู้ถือครองตลาด ภาษีถือครองรถยนต์ ภาษีแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และออก พรบ. ป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาดตลาดดู ดีไหม
    เอ....นี่มันแนวทางทุนนิยมสามานย์เต็มที่เลยนี่นา
    ครบ 300 ความเห็นพอดี อยู่นานเนาะ กระทู้นี้

    แก้ไขเมื่อ 16 ก.ย. 50 23:07:33

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 16 ก.ย. 50 22:06:59 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 301

    ได้ความรู้เพียบ.....



    Sa-idian แอบไปมีสัญญาใจไว้กับใคร "สักคน" เสียแล้ว??? อย่างนี้บรรดาหนุ่มน้อยหน้ามนที่กำลังปลื้มอยู่ก็เสียใจกันแย่สิ....จะเข้ามาอ่านอยู่เรื่อยๆ


    จากคุณ : คนอุดรฯ - [ 17 ก.ย. 50 03:43:42 A:86.160.94.19 X: TicketID:109703 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 302

    ^
    ^
    กรี๊ด พี่ดร ถ้าเล่นกันให้ห้องย่อยจะไม่ว่าไรเลยนะเนี่ย นี่เล่นซะกระทู้แนะนำ มีเขิน+เคือง นะจะบอกให้ (เท่านี้อีชั้นก็คิดว่าเค้าสืบว่าอีชั้นเป็นใครได้ไม่ยากแล้วล่ะค่ะ) ขอ privacy ในพันทิปนิดนึง

    แวบไป bid ของใน ebay กับตรวจแกรมมาร์ให้น้องมา ปรากฏว่ามีคนแต่งเรื่องสั้นขายซะแล้ว เดี๋ยวจะมาเมนท์ แต่ตอนนี้ดึกมากแล้ว และมีภารกิจไปตามดารา (หมดภาพนักวิชาการเลย) แต่เช้า ยกยอดไปก่อนนะจ้ะ

    ถ้าว่างจะรีวิวพวกทฤษฎีต่างๆในบล็อกละกัน เป็นการทวนไปในตัว เพราะรู้สึกว่าเราออกนอกประเด็นไปเยอะมาก ผิดวัตถุประสงค์กระทู้


    จากคุณ : Sa-idian - [ 17 ก.ย. 50 07:17:22 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 303

    มาปรบบบบบบบบบบบบบบบบบมือดังๆ
    ให้ "ความคิดเห็นที่ 239"
    ของท่าบุญชิต ด้วยคน


    จากคุณ : กรรมาชิลล์ (กรรมาชิลล์) - [ 17 ก.ย. 50 14:24:23 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 304

    อ้าว!! พูดเองไม่ใช่หรือจ๊ะที่คคห 286 ว่ามีแอบไปมีสัญญาใจกับใครไว้แล้ว


    ชอบความเห็นของทุกคน จะรออ่านต่อ


    จากคุณ : คนอุดรฯ - [ 17 ก.ย. 50 15:25:16 A:193.195.73.66 X: TicketID:109703 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 305

    #300

    นั่นเรียกทุนนิยมเฉยๆ ไม่ "สามานย์" ครับ


    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 18 ก.ย. 50 03:18:03 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 306

    ถกกันได้น่าสนใจดีครับ แต่อ่านแล้วเหนื่อย

    จากคุณ : บันลือ - [ 18 ก.ย. 50 08:23:23 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 307

    Forbes เพิ่งประกาศสิบอันดับ Royals ที่รวยที่สุดในโลก

    http://www.merryroyals.com/2007/08/30/the-worlds-richest-royals/

    Royals สี่ประเทศแรกรวยจากการขายน้ำมัน แต่รู้สึกแปลกๆที่ประเทศโลกที่สามที่ประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ต่อปีต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ จนมากๆนั่นเองแต่กลับมีบุคคลที่สามารถติดได้ถึงหนึ่งในห้าโดยที่ไม่ได้ค้าขายอะไรชัดเจน

    เพื่อนวิจารณ์ว่า แม้แต่ราชวงศ์ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่าบ้านเรา ยังไม่มีทรัพย์สินมากมายขนาดนี้ เพราะได้มีการจัดการให้สินทรัพย์เช่นที่ดิน วัง สวนสาธารณะ ฯลฯ เป็นของรัฐส่วนกลาง และแทบจะไม่มีงบเดินทางต่างประเทศให้ อยู่กันเงียบๆ เรียบๆ

    คุณเห็นว่าอย่างไรกัน?


    จากคุณ : Individualism - [ 18 ก.ย. 50 21:27:14 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 308

    ขอเข้ามาชื่นชมกระทู้นี้ครับ หลังจากไม่ได้เข้าห้องสมุดมาหลายเดือน

    เป็นรสชาติที่ตื้นตันของการใช้เหตุึผลและปัญญาที่ไม่ค่อยได้เจอในพันทิพเท่าไรนัก


    จากคุณ : อัศวินม้าเขียว - [ 19 ก.ย. 50 00:47:10 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 309

    คห 307  คิดได้ แต่พูดไม่ได้ครับ

    พอเพียง ครับ พอเพียง


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 19 ก.ย. 50 10:01:29 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 310

    เฮ้อออออ !!!!!!!! อ่านข้อมูลจาก Re 307 แล้วก็ได้แต่ปลงครับ จะมีคนไทยสักกี่คนที่รู้เรื่องนี้ และคนที่รู้จะมีสักกี่คนที่กล้าตั้งคำถามกับเรื่องนี้


    แต่อย่างที่หลายคนมักจะพูดหล่ะมั้งครับว่า เป็นกิจส่วนพระองค์ ไพร่ฟ้าอย่างเราๆ มิบังควรก้าวก่ายและจาบจ้วง


    อ่านข่าวนี้แล้ว เหมือนตลกร้ายนะครับ ประเทศโลกที่สาม อย่างประเทศไทย มีราชวงศ์ที่รวยติดอันดับโลก แต่เรายังมีประชากรที่ยากไร้ ไม่มีแม้ข้าวจะกิน แต่คงไม่เป็นไรมั้งครับ เพราะหัวใจของเศรษฐกิจพอเพียงคือ มีมากใช้มาก มีน้อยก็ใช้น้อย อยู่กันไปแบบสมถะไปอย่างนี้หล่ะดีแล้ว


    แต่ว่าไป คนไทยส่วนใหญ่ อาจจะไม่ต้องการอาหารทางกายก็ได้มั้งครับ แค่ได้ชื่มชมในพระบารมี ที่ยิ่งใหญ่ ก็คงอิ่มใจกันมากแล้ว


    สามารถอ่านรายละเอีดยเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างครับ

    http://www.forbes.com/2007/08/30/worlds-richest-royals-biz-royals07-cx_lk_0830royalintro.html

    http://www.forbes.com/2007/08/30/worlds-richest-royals-biz-royals07-cx_lk_0830royalintro_slide_6.html?thisSpeed=15000

    ปล. แก้ไขเพิ่ม link ข้อมูลของ Forbes ครับ

    แก้ไขเมื่อ 19 ก.ย. 50 13:38:26

    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 19 ก.ย. 50 13:29:33 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 311

    ท่อน้ำเลียงค่ะ เงินเดี๋ยวนี้มันหายาก ได้นิดได้หน่อยก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย

    คำว่าศักดิ์ศรีเดี๋ยวนี้กินไม่ได้


    จากคุณ : MuayBig - [ 19 ก.ย. 50 15:23:15 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 312

    วันนี้ google เล่นๆ ไปเจอข้อมูลนี้มา เลยเอามาฝาก จขกท นะ

    http://www.alertnet.org/thenews/newsdesk/HRW/08be3f867564c3dbcb51222fcd6c2408.htm

    Since September 19, 2006, the government has been active in silencing cyber critics and dissidents. Many political websites established in opposition to the coup have been harassed or blocked. The authorities are also monitoring critical opinions and debates on popular the opinion boards of Prachathai (www.prachathai.com) and Pantip.Com (www.pantip.com). They have issued warnings to both websites that they, too, would be shut down if they failed to remove opinions critical of the military authorities. Freedom of expression on the internet suffers a serious blow with the enforcement of the Computer-Related Offences Act, which has given the authorities impetus to be even more aggressive in policing online content. (For detailed comments on internet censorship since the coup, see "Military-Backed Government Censors Internet" at http://hrw.org/english/docs/2007/05/23/thaila15996.htm.)


    จากคุณ : สาวใหม - [ 19 ก.ย. 50 22:10:00 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 313

    ค. 307 ครับ ผมคงอยู่ในฐานะที่จะให้ความเห็นไม่ได้ครับ เพราะทรัพย์สินที่บอกนั้น ยังไม่รู้ว่า ตรงไหนเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ตรงไหนเรียกว่า Crown Asset (ซึ่งตรงนี้น่าจะเอาเป็นกองทุนการลงทุนของรัฐ แบบเตมาเสกของสิงคโปร์ก็ดี) แต่ประเด็นคือ ทำไม เราถึงไม่เคยสงสัยกับเรื่องนี้ (นอกจากพวกนอกรีตหลายๆ คนที่จ้องจะคอย "จับผิด")
    คงเป็นเพราะ แนวคิดที่โดนวาทกรรมของ 1. "พระเจ้า"แผ่นดิน 2. บุญญาบารมีที่สะสมมานานในเมืองไทย และ 3.นิสัยธุระไม่ใช่ไปเสียทุกเรื่องของคนไทย (โดยเฉพาะ เรื่องของผู้ใหญ่กว่า)
    อาจจะเป็นอย่างคุณ seabreeze พูดไว้ก็ได้ครับ ว่า พสกนิกรชาวไทย แค่ได้ "ชื่นชมพระบารมี" ก็ยินดีแล้ว และเราก็ยังเชื่อว่า "ท่าน" มี พระบารมี "ที่จะคุ้มเกล้าเราอยู่"...ดังนั้น อย่าไปตั้งคำถามเลยครับ
    เพราะว่าการตั้งคำถาม เป็นวิธีแรกในการทำลายความศักดิ์สิทธิ์(เหมือนที่ทำไมโซเวียตต้องเก็บคนที่กล้าตั้งคำถามกับระบบของสหภาพน่ะ)
    ป.ล. ผมไม่ใช่ซ้ายพยาบาทร้อนวิชา เพราะอย่างน้อย ผมก็ยังไม่ได้ยึดถือแนวทางมาร์กซ์ เลนิน เหมา สตาลิน และผมยังยอมรับกับการตั้งคำถามทุกอย่าง
    ขอให้ทุกคนมีที่ยืนและเชิดหน้าได้อย่างสง่างามครับ
    ครบรอบ 1 ปีพอดี

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 50 02:28:13

    แก้ไขเมื่อ 19 ก.ย. 50 22:25:04

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 19 ก.ย. 50 22:24:04 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 314

    เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผมเป็นได้สองอย่างเท่านั้นครับ

    class politic หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นระบบชนชั้นวรรณะแบบนุ่มนวล

    กับ

    เทพนิยายพาฝัน


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 20 ก.ย. 50 02:19:57 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 315

    แหม นึกถึงหนังสือ animal farm ขึ้นมาเลย ใครช่วยอธิบายทีค่ะว่ามันต่างกันมั้ย

    จากคุณ : horseshoes - [ 20 ก.ย. 50 05:00:00 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 316

    เข้ามาโหวตทุกวันเลยค่ะ
    ชอบกระทู้นี้จริง ๆ


    จากคุณ : คลังพลอย - [ 20 ก.ย. 50 08:38:27 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 317

    คห 315  จำเรื่องนั้นไม่ได้แล้วครับ  ลืมแล้ว อ่านสมัยเป็นเด็ก

    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 20 ก.ย. 50 09:15:44 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 318

    วันนี้ว่างช่วงเช้า เอาเสียหน่อย ไม่รู้รออ่านกันไหมนี่
    โห แต่กระทู้ยังอุ่นดีจริงๆ ไม่น่าเชื่อเลย

    ขอถามคำถามคุณ QuaOs #254 ก่อน ว่าอะไรที่เป็นปัญหา
    และอะไรที่ไม่ใช่ปัญหา

    >>>(1) คนมีรายได้น้อยใช้จ่ายน้อย <-- ไม่เป็นปัญหา
    >>>(2) คนมีรายได้มากใช้จ่ายมาก <-- ค่อนข้างจะเป็นปัญหา หาก การใช้จ่ายนั้น
    เป็นการใช้จ่ายที่นำกำลังความสามารถในการหามี หาได้ ของมวลรวมประเทศชาติไปใช้

    เช่นคนรวยคิดว่า เงินฉันๆ ซื้อเฟอรารี่ คันละ 20 ล้าน หรือเครื่องบินลำละ
    300 ล้านก็เรื่องของฉัน

    แต่เงินที่ได้มา มันคือการดึงเอาผลผลิตภายในประเทส ประเทศที่ขายได้แค่ข้าว กุ้งแช่แข็ง และกิจการทางเพศ ออกไป

    รถคันละ 20 ล้าน ส่วนหนึ่งจึงมาจากน้ำพักน้ำแรงของน้องๆ
    แถวพัทยา พัฒนพงศ์ ไปด้วย
    .......................................................................
    >>>(3) ระบบของการเฉลี่ยส่วนเกินจากคนที่มีรายได้มากออกไป และการเปิดทางให้คนมีรายได้น้อยสามารถเพิ่มรายได้ตัวเองให้มากขึ้น มีความบกพร่อง ไม่เป็นไปในทางที่ดีกับส่วนรวมและแต่ละฝ่ายแท้จริง
    .......................................................................
    มีความบกพร่องตรงไหนครับ ? รบกวนอธิบาย ?
    .......................................................................
    >>>ถ้าเศรษฐีพันล้านคนหนึ่ง จะไปอยู่ในประเทศที่มีระบบ "เฉลี่ยส่วนเกิน" ดี แล้วเขาจะกินอยู่แบบหรูหราเกินมาตรฐานของคนส่วนใหญ่ไป ก็คงไม่มีใครคอยหาเรื่องด่าว่าฟุ่มเฟือยใช่ไหม?
    .......................................................................

    ไม่นะครับ ดูอย่าง ปารีส ฮิลตัน ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงรู้สึกว่า เธอแย่ ?

    .......................................................................
    >>>แล้วถ้าประเด็นปัญหามันอยู่ที่ระบบการเฉลี่ย-กระจายทรัพยากร แต่เราจะไปเอาแต่กล่าวโทษ กล่าวโจมตีในประเด็นความฟุ่มเฟือย มันก็ไม่ใช่แล้ว
    .......................................................................

    ทำไมจะไม่ใช่ละครับ ? ในเมื่อความฟุ่มเฟือยที่มีอยู่จริงในสังคม
    มันคือการบริโภคเกินส่วน ที่ดึงเอาทรัพยากรทุนจากสังคมไปใช้

    .......................................................................
    >>>ดังนั้นภาพที่ออกมาในการโปรโมตแนวคิดพอเพียง ก็จะเป็นแนวๆ ทำไร่ไถนาซะส่วนใหญ่ ก็เพราะคนส่วนมากในประเทศเราเป็นชาวบ้าน เกษตรกร และสังคมเรามีพื้นฐานเป็นสังคมเกษตรกรรมนั่นเอง และก็เป็นชาวบ้านรากหญ้า (หรือรากแก้วก็ตามแต่) เหล่านี้นี่แหละ ที่ได้รับผลเสียจากปลุกกระแสความดิ้นรนทะเยอทะยานแบบไม่สมเหตุสมผลหลายๆ อย่างมากที่สุด
    .......................................................................

    ตรงนี้ต้องย้อนถามกลับว่า ทำไมคุณมองว่า ความทะเยอทะยานของ
    ชาวไร่ชาวนา ชาวรากหญ้า เป็นเรื่อง ไม่สมเหตุสมผล ?
    ต้องคนในเมืองหรือ ถึงควรทะเยอทะยาน

    คุณเตือนว่า การ "เลือกข้าง" เป็นเรื่องอันตราย แต่คุณก็เผลอเลือกข้างไป
    แล้ว โดยตกเป็นเหยื่อที่ถูกครอบงำ ของวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
    แบบเต็มๆไปเลย ว่าคนที่ทำภาคเกษตร ไม่ควรทะเยอทะยาน ...
    ปลูกผักเลี้ยงปลาไปน่ะดีแล้ว...

    .......................................................................
    >>> ต่อไป ผมเห็นว่าส่วนมากแล้วระบบทุนนิยมเป็นแนวคิดที่พยายามอธิบายและแก้ปัญหาในระดับกลไกล้วนๆ ไม่ได้มีการตัดสินดี-เลวหรือชี้นำเป้าหมายแต่อย่างไร เพราะฉะนั้นมันเลยกลายเป็นทุนสามานย์ไปได้ง่ายๆ เมื่อถูกดึงไปรับใช้ความเห็นแก่ตัวของคน จนระบบสังคมโดยรวมเกิดเสียสมดุล
    .......................................................................

    นั่นคือสิ่งที่เป็นรูปธรรมครับ การตัดสินดี-เลว หรือชี้เป้าหมาย ปัญหาคือ ใครเป็นคนชี้ ? และคนที่ชี้ มีสิทธิอะไรที่จะมา "ชี้" ?

    อย่าลืมว่าเรื่องดีเลว ไม่ใช่ว่า ฆ่าคนแล้วเลว ลุกให้คนแก่นั่งแล้วดี
    แต่มันมีเรื่องรีๆ แบบ "เกษตรกรไม่ควรทะเยอทะยาน หรือไม่ควรใช้มือถือ"
    อยู่มากกว่านะ

    .......................................................................
    >>> ในขณะที่แนวคิดพอเพียง พยายามอธิบายและแก้ปัญหาในระดับคุณค่ามากกว่า แต่ปัญหาสำคัญคือยังไม่ได้ตอบคำถามที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ว่าจะรวยเร็วๆ ทำอย่างไร? ว่าอยากยิ่งใหญ่เป็นมหาอำนาจ ทำอย่างไร? ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจในขณะนี้
    .......................................................................

    ก็ต้องถามอีกว่าใครกำหนด "คุณค่า" ละครับ
    และถ้าคุณคิดว่า ทำไมคนส่วนใหญ่อยากรวยเร็ว ?
    เพราะเขาโลภ ? หรือเพราะมันเป็นอย่างที่คุณว่าในความเห็นก่อนๆ จริงๆ
    ว่า ระบบสังคมในตอนนี้ ถ้าไม่อยากถูกกิน ก็ต้องเป็นนักล่า
    คือ อยากรวยเร็ว

    ทำไมคนในประเทศทุนนิยมจัดๆ หลายประเทศ คนส่วนใหญ่
    กลับไปค่อยอยากจะรวยเร็วๆมากนัก  ?


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 20 ก.ย. 50 13:23:40 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 319

    อันนี้ตอบรวมๆ เพราะไม่รู้จะตอบใครยังไง

    สรุปว่า ผมพบแล้วว่า ปัญหาของเศรษฐกิจพอเพียง
    คือไม่มีใครเข้าใจอะไรจริงๆ สักอย่าง สักคน

    ทุกคนตีความไปอย่างที่แต่ละคนเข้าใจ
    (หรืออยากเข้าใจ)

    บางคนที่นิยม ก็ตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า เศรษฐกิจพอเพียง
    คือของดี ของวิเศษ ที่ดีแบบไม่ต้องสงสัย
    แม้จะไม่เข้าใจอะไรเลย ก็บอกว่ามันดี
    อะไรดีๆ คือ "เศรษฐกิจพอเพียง"
    อะไรเลวๆ คือ "ระบบตรงข้าม" (ที่ส่วนใหญ่มองว่า ทุนนิยมสุดๆ คือปัญหา
    แต่ผมกลับมองว่า ปัญหาที่แท้จริง คือ ทุนนิยมที่ไม่สุดทาง มากกว่า)


    ดีขนาดที่ว่า ไปตู่เอาแนวคิดคนอื่น ที่เขาคิด ทดลอง วิพากษ์ วิจารณ์
    ปรับปรุงกันมานานมากแล้ว ในระบบอื่นๆ ทั้ง การิเคราะห์ความเสี่ยง
    แบบทุนนิยม รัฐสวัสดิการ ของทุนนิยมเชิงสังคม เอามายัดใส่แฟ้ม
    "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่างหน้าตาเฉย ก็ได้ เพราะเชื่อว่ามันดี

    เหตุที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงยังงงๆกัน ส่วนหนึ่ง คือ ต้องยอมรับว่า
    กำเนิดของมันนั้น ไม่ได้เกิดมาตามธรรมชาติ หรือวิชาการ
    คือไม่ได้มาจากการวิเคราะห์ สังเกต สังเคราะห์ และวิพากษ์วิจารณ์
    จนกระทั่งหลักมันนิ่ง และคงทนต่อการพิสูจน์

    แต่มันเกิดจากการที่เชื่อว่า นี่คือบัญชาจากฟ้า คือสิ่งที่ดี แน่นอน
    ดี โดยไม่ต้องสงสัยไว้ก่อน จากนั้น ก็พายามรวบรวมเอาคำพูด
    ต่างๆที่เกี่ยวข้อง หรือน่าจะเกี่ยวข้อง ต่างกรรม ต่างวาระ
    มารวบรวมกัน แล้วเรียกว่า "ปรัชญา"

    ปรัชญาที่ปะติดปะต่อกันไม่ค่อยลง งงๆ กันทั้งผู้รวบรวม ผู้อ่าน
    และผู้ตีความ

    ต่างจาก "ทฤษฎี" อื่นๆ ที่ผู้เสนอ ร้อยเรียงมาในรูปที่เข้าใจได้
    ว่าผ่านการสังเคราะห์ ตกผลึกมาแค่ไหน

    ถามว่ามีทฤษฎีไหนในโลกบ้าง ที่ต้องไปไล่จับเอามาตีความกันเอง
    ในโอกาสต่างๆ กันไปเช่นนี้ ?

    และ "ปรัชญา" หรือ "ทฤษฎี" ที่กำเนิดมาแบบพิกลเช่นนั้น
    เราแน่ใจ จนจะนำมาถือเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ
    แน่ใจแล้วหรือ ?
    ได้ถามเพื่อนร่วมประเทศ กันหรือยัง ?


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 20 ก.ย. 50 13:43:11 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 320

    แหม หลายท่านถกกันได้น่านับถือในความรู้ความสามารถจริงๆ แต่โชคดีที่คนประเภทช่างคิด แต่ทำอะไรไม่เป็น มักประสบความสำเร็จเฉพาะในโลกตำรามากกว่าชีวิตจริง เพราะนักแพล่มพวกนี้แหละ ที่หากพอจะมีโอกาสได้ปกครองบ้านเมืองบ้างยามฟลุค ก็มักเลวร้ายเสียยิ่งกว่าผู้คนที่ตนเคยวิจารณ์ เพราะความขาดแคลนคับแค้นที่ตนเคยมีมาในอดีตเป็นแรงกดดัน
    ดิฉันมีเพื่อนประเภทนี้ ทั้งแนวคิดและอุดมการณ์เพื่อสังคมสูงส่ง ที่เคยได้เป็นถึงรัฐมนตรี แต่กลับเปลี่ยนเป็นคนละคน โกงกินมูมมามจนเกือบท้องแตกตาย
    เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะวิจารณ์ใคร ถามคำถามใส่กะโหลกตัวเองสักนิดว่า ตัวมีความดีงามถึง เสี้ยวธุลีคนที่คุณวิจารณ์หรือไม่


    จากคุณ : บงบุษบา (บงบุษบา) - [ 20 ก.ย. 50 14:50:52 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 321

    ^
    ^
    ^
    นั่นน่ะสิครับ ความเลวร้ายของนักการเมือง หรือคนที่มีอุดมการณ์
    สามารถถูกตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ ไปยัน
    ก่นด่าได้อย่างเสรี จนสามารถรู้ได้ว่า อุดมการณ์นั้นเอาเข้าจริงๆ
    ทำอะไรไม่ได้ ถ้ามีโอกาส กูก็โกง เป็นเสียเอง

    ในขณะที่ในบางส่วน เราปรากฎแต่ความดีงามให้เห็นจริงๆ
    ซึ่งก็ไม่แปลก ว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงคิดว่า การเมืองมีปัญหา
    แต่นอกจากการเมือง ไม่มีปัญหา

    หวังว่าคงไม่มีนักการเมืองคนไหนบ้าพอ
    ที่จะออกกฎหมายห้ามวิพากษ์วิจารณ์ ห้ามหมิ่น ผู้ทำอาชีพการเมือง
    เพื่อให้ฝ่ายการเมืองจะได้ปรากฎแต่ภาพออกมา ว่า
    มีความดีงามในทุกเสี้ยวธุลีบ้าง

    ประมาณ ดีงาม แบบ แอบโซลูทลีดี๊ดี ดีจนไม่เชื่อว่าเป็นมนุษย์บนโลก
    อะไรแบบนั้นเจียว

    โชคดีที่ยังไม่บ้ากันขนาดนั้นนะ

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 50 15:29:07

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 20 ก.ย. 50 15:00:54 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 322

    ดีใจค่ะ
    ที่ประเทศไทยยังมีคนที่มองไปข้างหน้า มองความเป็นจริงกันอย


    จากคุณ : ฟหกด - [ 20 ก.ย. 50 15:57:43 A:58.64.77.88 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 323

    เข้าใจค่ะ
    แต่อย่าให้ถึงกับเห็นใครดีไม่ได้ มันขวางหูขวางตาเลยนะคะ
    มนุษย์ปุถุชนมีดีบ้างเสียบ้าง ท่านที่คุณวิจารณ์มีส่วนดีมากมายจนส่วนเสียที่บางคนพยายามขุดคุ้ย( หรือเปรี้ยวปากอยากวิจารณ์) ฟังยังไงก็ฟังไม่ขึ้น
    ในฐานะที่เป็นนักคิด นักวิจารณ์ เรื่องบ้านเมือง คุณบุญชิตว่า นักการเมืองบ้านเราที่มีอยู่พร้อมที่จะดูแลบ้านเมืองแล้วหรือคะ ถ้าใช่ มาตรฐานที่คุณบุญชิตพอใจและคาดหวังมันต่ำเสียเหลือเกินค่ะ
    ที่ผ่านมาหลายปี เราร่มเย็นใต้พระบรมโพธิสมภารจริงๆค่ะ ไม่งั้นบ้านเมืองลุกเป็นไฟมานานแล้ว พวกคุณไม่ได้นอนตาหลับแบบนี้หรอกค่ะ
    ถ้าคับแค้นกันนัก ลองจัดตั้งรัฐบาลกันในกระทู้นี้ก็ได้ค่ะ ใครจะเป็นประธานาธิบดี หรือรัฐมนตรีคะ แล้วอย่าแย่งกันนะคะ เอาแค่พอชุ่มชื่นใจก็พอ


    จากคุณ : บงบุษบา (บงบุษบา) - [ 20 ก.ย. 50 16:04:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 324

    ^
    ^
    ^
    หมดคำอธิบายครับ เพราะคิดว่าคงคุณคงไม่พร้อมจะรับฟังเหตุผลจากใครๆ


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 20 ก.ย. 50 16:57:26 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 325

    ^
    ^
    ^
    ^
    "ร่มเย็นใต้พระบรมโพธิสมภาร ไม่งั้นบ้านเมืองลุกเป็นไฟมานานแล้ว"

    คุณเคยนึกสงสัยมั้ยว่า จริงๆแล้วถ้าในอดีตบ้านเมืองได้มีโอกาส "ลุกเป็นไฟ" ซักครั้ง ผ่านความยากเข็ญต่อสู้ปฎิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองซักครั้ง ประชาชนและฝ่ายต่างๆได้ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและอุดมการณ์จนถึงที่สุดจริงๆ เอาให้เคลียร์ไปเลย แทนที่จะมีใครบางคนออกมา "หยุด" มาเบรกการขัดแย้งไว้ซะทุกครั้งอย่างที่เป็นมา บ้านเมืองทุกวันนี้ ระบบการปกครองทุกวันนี้ เราอาจจะเทียบทันทางประเทศที่เค้าเจริญแล้วก็เป็นได้ เพราะประชาชนคงจะรู้จักช่วยตัวเอง พึ่งตัวเอง ปกป้องสิทธิตัวเองมากกว่านี้ และได้มีส่วนร่วมกับการเมืองการปกครองมากกว่านี้ แทนที่อำนาจจะไปสุมอยู่กับชนชั้นสูงอย่างที่เป็นมา นักการเมืองอาจกลับต้องเกรงใจกระแสประชาชน ไม่ใช่ให้ประชาชนหวาดกลัวนักการเมืองหรือเบื้องสูงเสียดฟ้าอย่างทุกวันนี้ ก็เพราะความคิดแบบคุณที่เจ้าแผ่นดินจะคอยปกป้องให้ความร่มเย็นไปตลอดนี่แหละ ที่ทำให้คนไทยไม่ต้องการรับผิดชอบใดๆ ไม่อยากรับรู้อะไรอย่างทุกวันนี้

    เหมือนที่บางคนเคยสงสัยว่า ถ้าสยามในอดีตตกเป็นเมืองขึ้นอังกฤษหรือฝรั่งเศส เราอาจเทียบเท่าสิงคโปร์แล้วก็ได้ หรือเราอาจจะยังล้าหลังเหมือนลาว เหมือนเวียดนาม ซึ่งอันที่จริงก็ใกล้จะทันเราแล้ว กำลังดูดเงินลงทุนจากต่างชาติไปจากเราหมด

    เราเชื่อว่า จริงๆแล้วถ้าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกสังคมมนุษย์ ประเทศเราคงจะไม่ต้องอยู่จุดนี้แล้ว ณ วันนี้ แต่เพราะว่ากลไกนั้นโดนชะงักไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า จะด้วยความจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม มันทำให้ประเทศเราไม่ได้ก้าวไปไหนเลยในด้านการเมืองการปกครองตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรก คุณเห็นมั้ยล่ะว่ามันเป็นวัฎจักรแค่ไหน วนเวียนอยู่ในอ่าง แล้วมันดีกับประเทศตรงไหน กระหน่ำคอรัปชั่นกันใต้พระบรมโพธิสมภาร เอารถถังปืนกลมายึดอำนาจกันก็ใต้พระบรมโพธิสมภาร อำนาจปกครองประเทศก็ผลัดเปลี่ยนมือกันไปกันมาอยู่ไม่กี่พรรคไม่กี่พวกไม่กี่ฝ่าย โยนกันไปโยนกันมา ผลัดกันกินผลัดกันใช้ คนเดือดร้อนคือใคร?

    ไม่ใช่ว่าไม่สำนึกในบุญคุณและความดี แต่เราคิดว่าถ้าไม่ทำอะไรไม่ฉุกคิดอะไรไม่เริ่มอะไรกันตั้งแต่ตอนนี้ ประเทศไทยก็คงเป็นแบบนี้ต่อไปอีกสิบอีกร้อยปี แทนที่จะมีโอกาสได้พัฒนาอย่างจริงจัง


    จากคุณ : Individualism - [ 20 ก.ย. 50 17:35:17 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 326

    ณ โถงถ้ำกว้างขวางอวลอับกลิ่นสาบ มีมนุษย์กลุ่มน้อยคอยโยนฟืนเติมไฟให้ส่องสว่างเสมอ ไฟกองใหญ่เฉิดแสงกลืนความมืดส่งเสียงปะทุเชื้อปุปะสาดแสงนวลฉายภาพหมู่มนุษย์มากมายถูกตรึงหลักปักดินมัดแขนล็อกคอไม่อาจหันไปมองเบื้องหลังว่ายังมีไฟกองใหญ่อยู่พร้อมด้วยมนุษย์กลุ่มหนึ่งซึ่งไร้พันธนาการคอยก่อฟืนจุดไฟอยู่ ใครคนหนึ่งในหมู่มนุษย์นั้นคว้ากิ่งไม้ในกองฟืน "เล่นเงา" กับเปลวเพลิงลุกโชติ ภาพเงามัวปรากฏบนกำแพงหินพนังถ้ำเบื้องหน้าเหล่ามนุษย์ผู้ถูกพันธนาการ การเล่นเงาดำเนินเรื่อยจนเหล่าผู้ถูกพันธนาการ เข้าใจว่า นี่ คือ "ต้นไม้"
    และต้นไม้นั้นก็หยั่งรากลึกลงในสำนึก
    "นี่เป็นต้นไม้" เหล่าผู้ถูกตราตรึงขานรับเป็นทอดๆ
    "นี่เป็นต้นไม้?" มนุษย์ผู้หนึ่งพึมพำ และมนุษย์ผู้นั้นสลัดหลุดจากพันธนาการ หันไปพบกองไฟ กิ่งไม้ และเหล่ามนุษย์ผู้เป็นเสรีจากหลักปักดิน (ซึ่งมนุษย์ผู้หนึ่งสงสัยว่าพวกนี้อาจจับมนุษย์คนอื่นๆตรึงหลัก) มนุษย์ผู้นั้นหลบหลีกไปยังปากถ้ำ อาทิตย์สาดแสงแยงตาพร่ามัว ครู่หนึ่งดวงตาเริ่มชินแสง มนุษย์ผู้นั้นพบ "ต้นไม้จริง" ตระหง่านผลิใบเขียวอยู่ทั่ว มนุษย์ผู้นั้นวิ่งกลับเข้าถ้ำเที่ยวบอกกล่าวมนุษย์ในพันธนาการถึงสิ่งที่ตนพบ ไม่มีใครเชื่อ และกล่าวว่าสิ่งที่พวกตนเห็นบนพนังถ้ำนั่นแหละคือต้นไม้
    "ไม่จริง ต้นไม้ที่แท้มีใบเขียว" มนุษย์ผู้นั้นยืนกรานเสียงแข็ง
    ไม่นานถ้ำที่เคยมีเพียงเสียงปะทุเชื้อฟืนกลับดังก้องด้วยคำประกาศของมนุษย์ผุ้นั้น ถึงเรื่อง ต้นไม้ที่แท้ กองฟืน กิ่งไม้ และกลุ่มมนุษย์ผู้เป็นอิสระ
    แต่ก็อีกไม่นานเช่นกันที่เสียงนั้นดังอยู่ มนุษย์ผู้นั้นถูกสังหาร เปล่าจากน้ำมือมนุษย์อภิสิทธิ์ชนที่กลัวว่ามนุษย์ในพันธนาการจะรู้ว่าพวกตน "เล่นเงา"
    แต่จากน้ำมือของมนุษย์ในพันธนาการที่ปลดแอกตนออกมาฆ่าเพื่อรักษาความ "จริงแท้บนพนังถ้ำ" เอาไว้

    --------------------------------

    คุณ บงบุษบาเคยได้ยินนิทานเรื่องนี้ไหมครับ ผมไม่ได้แต่งเองหรอก ใครคนนึงเมื่อนมนานกาเลเขาเล่าไว้ ผมก็เลยเอามาเล่าต่อ แน่นอนว่าการเล่าต่อๆ กันมันย่อมมีแต่งเสริมเติมลดได้
    ผมตั้งข้อสงสัยว่า มนุษย์ที่ถูกพันธนาการสมควรจะฆ่าเขาไหม หรือตัดลิ้นไม่ให้เขาพูดไหม ผมคิดว่าไม่ ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาพูดความจริง แต่เพราะ มันทำให้เราได้เลือก เลือกว่าจะนั่งมอง "เล่นเงา" ต่อไป หรือจะหันไปมองกองไฟ กิ่งไม้ อิสระชนกลุ่มนั้น ตั้งคำถามกับเขาว่า "เล่นเงา" ทำไม หรือไปดูโลกนอกถ้ำด้วยกัน ดูต้นไม้จริงๆ ว่าสีสันเป็นอย่างไร
    แล้วบางที ใครบางคนก็อาจมาประกาศต่อหน้าเราว่า

    "ขอต้อนรับสู่เมตทริกซ์"


    จากคุณ : กัปปะ. บึงปิศาจ - [ 20 ก.ย. 50 18:37:33 A:58.137.54.34 X:58.137.54.35 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 327

    ว่ากันเก่ีียวกับเรื่องความดีนี่ โดยตรรกะทฤษฎีคืองี้ครับ ถ้าสังคมมีคนดีมากๆ สังคมจะเป็นสังคมที่ดี  แม้ว่าทุกคนในสังคมจะไม่ใช่คนดีทั้งหมดแต่คนดีจะต้องควบคุมคนไม่ดี ถ้าคนดีมาบริหารประเทศ ประเทศก็จะดี ฯลฯ นับว่าเป็นการ บริหารประเทศด้วยหลักการอันเป็นนามธรรมและจัดการให้ป็นไปตามนัั้นโดยอาศัยแต่ความศรัทธาโดยแท้

    ด้วยวิถีทางนี้ การโฆษณาประชาสัมพันธ์เรื่องความดีนั้นจึงต้องส่งเสริมให้หนัก เริ่มจาก คุณธรรมนำไทย ทำดีให้เด็กดู ฯลฯ  พูดกันแต่เรื่องความดีคนดีกันทั้งวันทั้งคืน ให้คนศรัทธา ว่าความดีสำคัญที่สุดและจะแก้ไขได้ทุกปัญหา ประเทศเจริญก้าวหน้าเพราะความดี  ความพอเพียงก็เช่นกัน

    แต่ปัญหาของทฤษฎีนามธรรมในทางปฏิบัติก็คือ แล้วยังไงถึงเรียกว่าดี แค่ไหนถึงเรียกว่าพอ เถียงกันทั้งปีทั้งชาติก็ไม่จบ ไม่ว่าจะยกทฤษฎีอื่นใดของใครมาสนับสนุน ก็ยังคงมีข้อให้แย้งเสมอ

    ในสังคมคนดีนี่ คนรวยจะตั้งมูลนิธิ ทำบุญทำทานเพราะใจดี แต่ในระบอบทุนนิยมรัฐสวัสดิการ คนรวยตั้งมูลนิธิเพราะอยากจะหลบภาษี  และปรากฏว่าในความเป็นจริง เราหาคนรวยที่อยากหลบภาษีได้มากกว่าคนรวยที่ใจบุญสุนทานตายแล้วอยากไปสวรรค์หลายเท่าเลยครับ ดังนั้น ถ้าไม่สนใจจะนับว่าสังคมไหนมีคนดีมากกว่ากัน จะพบว่า ระบอบทุนนิยมรัฐสวัสดิการจะมีประสิทธิผลดีกว่าการนิยมคนดีแบบไร้ทิศทางโดยไม่มีระบบดีๆมารองรับเสมอ ชาติอื่นเขาถึงได้เจริญกว่าเรามากมายอย่างนั้นน่ะ

    แต่อย่างหนึ่งที่จะบอกคือ แนวคิดเรื่องคุณธรรมนำไทยนี่เป็นแนวคิดที่เน้นความดีที่สมบูรณ์ คนคิดอาจจะหวังดีโดยไม่มีประสงค์ร้ายใดๆเลยก็ได้  และถ้าจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลพิสูจน์ก็คงพอได้เห็นกันบ้างแล้วว่าระบบไหนจะพาชาติรอดหรือไม่รอดในสังคมโลกเขี้ยวลากดินนี่(ดูเจบิค/อียู/บุช เขาทำกับรัฐบาลคนดีของเราสิครับ)

    ยังไงก็อย่าให้อคติใส่ร้ายกันเกินจริงแล้วกันครับ

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 50 21:09:50

    จากคุณ : KAVINT - [ 20 ก.ย. 50 19:53:35 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 328

    Savoy...
    ++++++++++++
    วันนี้มีไอเดียตอบแค่นี้....ผมก็ไม่เชื่อว่า นักการเมืองที่ไหนในโลก ก็ไม่พร้อมกับการเป็นนายละครโรงหุ่นกระบอก...เขาเป็นคนที่รับจ้างทำหน้าที่ในสภาแทนเรา...
    เราเคยคิดว่าเราเป็นนายจ้างไหมล่ะครับ...
    +++++++++++++
    ดีใจที่พี่บุญชิตกลับมาตอบกระทู้ครับ....
    ป.ล. ผมขอตำแห่ง Bundeskanzler นะัคับ กับรัฐบาลเด็กเล่นที่มีคนท้าให้ตั้ง

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 50 22:34:01

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.ย. 50 20:06:05

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 20 ก.ย. 50 19:54:22 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 329

    ดีใจครับที่ยังเห็นกระทู้นี้งอกขึ้นมาเรื่อย ๆ

    ขออนุญาตแก้คุณบงบุษบาด้วยความเคารพนะครับ

    นักการเมือง ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลบ้านเมือง อย่างน้อย ๆ ตามกรอบคิดทั่วไปแบบประชาธิปไตย พลเมือง (citizen) ต่างหากที่มีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองผ่านอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ โดยการเลือกผู้แทนตัวเองเข้าไป

    ผู้คนดังกล่าวนั้น สามารถถูกตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา สามารถออกทีวี "จับผิด" ได้ตลอด 24 ชม.โดยไม่ต้องเผชิญกับโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี...

    นักการเมืองอาจเลวอาจดี อาจซื่อตรงอาจคอรัปชั่น หรืออาจยืนอยู่บนพื้นที่สีเทา แต่เราสามารถมีกระบวนการ check and balance ได้

    ในขณะที่ "ท่าน" นั้น เราไม่อาจมั่นใจได้ว่า ยืนอยู่บนพื้นที่สีไหน เราได้มีแต่การบอกเล่าและการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อทั้งหลายว่า "ท่าน" นั้นสีขาว โดยไม่มีการตรวจสอบใด ๆได้เลย

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 00:07:12

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 21 ก.ย. 50 00:06:07 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 330

    อ่านความเห็นในกระทู้นี้แล้วสนใจอยากแสดงความเห็นบ้าง (ปรกติไม่ค่อยชอบโพสต์ข้อความในเวปบอร์ดนัก) แต่ไม่รู้ว่าเป็นการขุดเรื่องยาวไปหรือเปล่า
    ประเด็นแรกที่อยากจะขอแสดงความเห็น ความเห็นที่ 227 เรื่องของการโต้ตอบทางจดหมายกับหนังสือพิมพ์ของ ร.6 ไม่น่าจะบอกได้ว่าเป็นนักประชาธิปไตย หรือว่าให้เสรีภาพในการวิจารณ์หรือเปล่านะครับ เพราะถ้าดูบริบททางประวัติศาสตร์แล้ว ในยุคนั้นเจ้าของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ (ผมไม่แน่ใจว่าทั้งหมดหรือเปล่า) เป็นฝรั่ง หรือว่าให้ง่ายเข้าคือ อยู่ในบังคับของต่างชาติ เพราะฉะนั้นแล้วกฎหมายของสยามจึงทำอะไรไม่ได้ ทั้งที่จริงๆนั้น ในสมัยร.5ก็มีการพยายามควบคุมความเห็นของหนังสือพิมพ์ด้วยการออก พ.ร.บ. เกี่ยวกับการพิมพ์ออกมา เพื่อที่จะจัดการกับการวิพากษ์วิจารณ์พวกนี้ แต่ก็อย่างที่กล่าวไปว่าเจ้าของโรงพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นคนในบังคับต่างชาติ กฎหมายที่ออกมาก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี
    (ขอเชิงอรรถเล็กน้อยครับ เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่เสียไปนั้น ก็ยังไม่พบหลักฐานที่แสดงว่าตอนเซ็นสนธิสัญญากับฝรั่งนั้น ร.4 จะอิดเอื้อนใดใด อาจเพราะรู้สึกว่าฝรั่งกับสยามยังไงก็แยกกันไม่ยากอยู่แล้ว แต่ก็มีปัญหาภายหลังคือ พม่า ลาว และอีกหลายๆ เชื้อชาติ ที่เป็นอาณานิคมก็ชอบอ้างว่าตัวเองเป็นคนในบังคับของอังกฤษ ของชาติที่ตัวเองเป็นอาณานิคมกัน ซึ่งพวกนี้แยกกับพวกสยามยาก ก็เลยเพิ่งจะรู้สึกว่าสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเป็นปัญหา และเป็นหนึ่งในเหตุผลการร่างประมวลกฎหมายฉบับแรกของสยามคือ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127)

    ขอยกตัวอย่างคนที่อยู่ในบังคับสยาม ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองนะครับ คนแรกคือเทียนวรรณ สามัญชน ผู้ซึ่งไม่เคยไปเรียนต่างประเทศ และพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ผู้หาญกล้าถวายความเห็นต่อ ร.5 ให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปาลิเมนต์ (Parliament) และถูกร.5 วิจารณ์อย่างหนัก ถึงขั้นไล่ให้กลับไปดูแลลูกตัวเองให้ดีก่อนแล้วค่อยมายุ่งเรื่องการเมือง และต่อมาติดคุกถึง17ปี ด้วยข้อหาฎีกาในคดีที่ยังไม่ถึงฎีกา (ซึ่งโทษจริงๆ แค่ปรับ)(มีการยืนยันว่าร.5 ทราบถึงกระบวนการพิจารณาคดีของเทียนวรรณทุกขั้นตอน แต่ไม่ทราบว่า ร.5 ทราบว่าเทียนวรรณโดนขังอยุ่ถึง17ปีหรือไม่) และเมื่อพ้นโทษก็ถูกหาว่าบ้าบ้าง ฟั่นเฟือนบ้าง แต่ในบั้นปลายนี้ก็ได้รับการอุปถัมป์จากลูกของ ร.5 (ผมจำไม่ได้ว่าเป็นกรมฯ ราชบุรี กับใคร หรือเปล่า 2คน)
    คนต่อมาคือพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ที่ได้ถวายสารทูลขอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปาลิเมนต์ ซึ่งขณะนั้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นเอกอัคราชทูต ประจำอังกฤษ ทั้งที่ ร.5 เป็นผู้ที่มีสารส่งไปถามความเห็นของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก่อนเอง (และมีการส่งสารย้ำไปถามความเห็นถึง 2 ครั้ง) ซึ่งเมื่อพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถวายสารตอบกลับไป (พร้อมกับได้ขอคำปรึกษาและร่วมลงนามกับเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่หลายคนในสถานทูตด้วย) ก็ถูกเรียกตัวกลับทันที และหลังจากนั้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ไม่ได้รับบทบาททางการบริหารอีกเลย และสุดท้ายถูกบีบให้ลาออกจากราชการ ต้องไปบวชที่ศรีลังกา และเมื่อสึกออกมาหลังจากการสวรรคตของ ร.5 ก็ถูกฟ้องยึดทรัพย์จะไม่เหลือทรัพย์สินใดใด ต้องเช่าบ้านของกรมฯราชบุรีอยู่

    เรื่องหลวงประดิษฐมนูธรรม ที่ต่อมาเป็นหนึ่งในคณะราษฎร (ราด-สะ-ดอน) ยึดอำนาจ ร.7 นั้น ผมไม่คิดว่าจะเรียกว่าเป็นการอกตัญญูได้ เพราะถ้ามองว่าทุนที่หลวงประดิษฐฯ ได้รับไปศึกษานั้น ไม่ใช่ทุนจากเงินของ ร.7 เป็นทุนจากเงินของชาติ เหตุผลของหลวงประดิษฐฯ ในการยึดอำนาจก็บอกว่า เพื่อที่จะให้ชาติจำเริญต่อไป ก็เท่ากับว่า ร.7 ไม่ได้มีบุญคุณกับหลวงประดิษฐฯ แต่เป็นชาติต่างหากที่มีบุญคุณกับหลวงประดิษฐฯ และหลวงประดิษฐฯ คิดว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้จะเป็นการทำให้ชาติเจริญขึ้น ก็เท่ากับว่าหลวงประดิษฐฯ กตัญญูต่อชาติ ไม่ได้แปลว่าอกตัญญูแต่อย่างใด (ผมเพียงแต่พยายามคิดในมุมของหลวงประดิษฐฯ ไม่ได้แปลว่าหลวงประดิษฐฯ จะคิดเช่นนั้นจริง หรือผมจะคิดเช่นเดียวกับหลวงประดิษฐฯ ได้นะครับ)

    ควมเห็นเรื่องเดือนตุลา ผมไม่ทราบว่าหมายถึงตุลาปีไหน แต่ถ้าเป็น19 ผมไม่คิดว่าการนองเลือดนั้นจะเกิดจากการยั่วยุของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ เพราะถ้าหากกลับไปดูบริบททางประวัติศาสตร์แล้ว พคท. ในตอนนั้น อาจมีอิทธิพลนำในเชิงความคิดของนักศึกษาได้ แต่ไม่มีทางที่จะเข้ามานำในเชิงกระบวนการได้เด็ดขาด เพราะสมัยนั้นไม่ได้ติดต่อสื่อสารกันสะดวกเหมือนปัจจุบัน และความรุนแรงในเช้ามืดวันที่ 6 ตุลา นั้น ก็เกิดขึ้นจากกลุ่มกระทิงแดง นวพล ลูกเสือชาวบ้าน และตชด. โดยมีการปลุกระดมผ่านหนังสือพิมพ์ดาวสยาม ซึ่งเป็นหนังสือพมพ์ฝ่ายขวาสมัยนั้น (กรณีรูปถ่ายที่พูดถึงเป็นชนวนนั้น มีคนกล่าวว่าเป็นรูปจากBankok Post ด้วย ซึ่งPost ถูกเป็นจำเลยสังคมมาโดยตลอด ทั้งที่จริงๆ แล้ว Post เป็นหนังสือพิมพ์ที่เข้าข้างนักศึกษามากที่สุดในยุคนั้น และรูปที่เป็นชนวนก็เป็นคนละรูปกับที่ลงในPostด้วย : เป็นความเห็นของ อ. สมศักดิ์ เจียมฯ ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง)

    ความเห็นทั้งหมดผมเขียนจากความทรงจำอาจคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ไม่น่าจะคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญนัก

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 20:02:56

    จากคุณ : ฉันไม่รู้อะไรเลย - [ 21 ก.ย. 50 00:06:57 ]

 
 

 
 

    ความคิดเห็นที่ 332

    #326 เล่าเรื่อง allegory of the cave ของ Plato สนุกเชียว

    ว่าจะกลับมาเมนท์เรื่องสั้นของคุณฮกหลง ก็โดนงานเร่งรัดเหลือเกิน ช่วงเปิดเทอมนี่ก็นรกดีๆของอาจารย์นั่นแหละ

    คิดว่า keyword อยู่ที่ "การเปลี่ยนแปลง" "consciousness" และ "วิญญาณที่หลอกหลอนนักปรัชญา" นะ
    [ถ้าวิจารณ์เล่นๆ ตาม interpretation of dream ของฟรอยด์ เราต้องบอกว่าชายแก่คนนี้คือคนที่คุณอยากให้มาเป็น saviour นะ เป็น embodiment ของสิ่งที่คุณกลัวที่จะได้ยิน แต่ก็อยากที่จะได้ยิน ความกลัวๆอยากๆนี่เรียกว่า fatal desire ที่คนปรกติไม่อยากให้เกิดบนโลกแห่งความจริง แต่จิตใต้สำนึกเก็บเอามา process ออกมาในรูปความฝันแทน ทำให้คุณได้รับรู้ประสบการณ์นั้นในความฝัน ซึ่งตัวคุณก็ยังปลอดภัยอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน]

    "การเปลี่ยนแปลง" ในความเป็นจริงหลายๆคนก็อยากให้เปลี่ยนแหละ แต่เปลี่ยนอย่างไรน่ะสิ ที่เป็นปัญหา ในประเทศที่ช่องว่างระหว่างชนชั้นมันโคตรจะเห็นได้ชัดอย่างประเทศสารขัณฑ์นี้ เจ้าของประเทศก็ต้องการอะไรที่ไม่เหมือนกัน ไม่ได้ต้องการเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

    กรณีของประเทศไทยเป็นกรณีที่ unique มาก จะเอาโมเดลไหนมาอธิบายก็อธิบายไม่ได้ เพราะมันมี unpronounced agendas มากมาย ถ้าดูอย่างอเมริกา เราก็จะเห็นความชัดเจนตั้งแต่เริ่มสร้างประเทศมา พวก ideology ทั้งหลายของอเมริกามันก็ถูก "สร้าง" ขึ้นมามาก แม้กระทั่งเสรีภาพที่รักนักรักหนา อันที่จริงจะมองว่าเป็น propaganda ก็ได้ ถ้ามองจากในแง่วรรณคดี นิยายพวก frontiers ทั้งหลายนั้นเกิดจากการ "พร้อมใจ" ของนักเขียนที่ต้องการสร้างภาพอเมริกาว่าเป็นดินแดนแห่งอิสระ มีพื้นที่กว้างขวาง ใครอยากจะทำอะไรก็ได้ ตามความสามารถ (ก็เป็น myth ของ american dream ต่อมาจนถึงปัจจุบัน) แต่ในขณะเดียวกันการสร้างภาพว่าตัวเองอิสระเสรี ก็ต้องหาเหยื่อมาเป็นทาสเพื่อประกาศก้องถึงความเสรีของตัวเอง อย่าง Toni Morrison เองก็เถียงว่านิยายช่วงร้อยปีแรกของอเมริกาเต็มไปด้วยอิสรภาพของคนขาว และความเป็นทาสของคนดำ มองในแง่คู่ต่าง (binary opposition) คือถ้ามีเสรี ก็ต้องมีทาส เหมือนมีแสง ก็ต้องมีความมืด การสร้างทาสจึงเป็นสิ่งที่สังคมอเมริกันสร้างขึ้นเพื่อประกาศว่าชาติชั้นก็มีอำนาจ ไม่แพ้ชาติยุโรป แล้วอเมริกาก็วิ่งตาม ideology เรื่อง freedom ไปเรื่อย โดยไม่มองว่า freedom ของตัวเองไปละเมิดใครเขาบ้าง จนกระทั่งมีการเรียกร้องให้เลิกทาส สิทธิคนดำ เป็นคำถามว่า ในโลกนี้จริงๆใครเป็นเจ้าของ freedom กันแน่

    ส่วนเมืองไทยของเรา "ความแน่นอนชัดเจน" ดูจะมีอยู่อย่างเดียวที่รวมชนเผ่าดินแดนที่แตกต่างมาเป็นชาติได้ ซึ่งก็คือ "สถาบัน" นั่นแหละ ถ้าเรามองว่า freedom ของอเมริกาก็เป็น propaganda อย่างหนึ่ง สถาบันก็มีความเป็น propaganda เหมือนกัน และตอนนี้สถาบันก็กำลังถูกตรวจสอบอยู่ย่อมๆ จากช่องทาง underground มากมายทีเดียวแหละ อย่าลืมว่า ถ้าเราอยากจะให้สถาบันมีบทบาทลดลง เราก็จำเป็นจะต้องผลักดันให้มีสิ่งใหม่ๆที่สามารถ unite คนในชาติได้ ที่ไม่ว่าคนจนคนรวย ความรู้สูงความรู้ต่ำ สามารถรู้สึกร่วมได้เหมือนๆกัน ซึ่งเราคิดว่าเป็น "ประวัติศาสตร์ภาคประชาชน" เพราะปวศ.ส่วนใหญ่ก็มีศูนย์กลางอยู่ที่ชนชั้นปกครอง เรารู้เรื่องชนชั้นปกครองจากในห้องเรียน แต่เรารู้ประวัติศาสตร์ของตาสีตาสาน้อยมาก เหมือนที่ Toni Morrison พยายามทำให้คนอัฟริกันในอเมริกา เป็นการเขียนเรื่องราวของคนดำที่ไม่มีใครใส่ใจจะเขียนมาก่อน นักเขียนอินเดียนแดงอย่าง Leslie Marmon Silko ก็พยายามเล่าเรื่องราวในทำนองเดียวกัน ทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้พวก native american หรือแม้แต่ Feminist ที่พยายามทำพิพิธภัณฑ์ ค้นคว้าวิจัยว่าผู้หญิงแต่ก่อนอยู่ยังไง เพราะว่าประวัติศาสตร์จะพูดถึงแต่ผู้ชาย

    ถ้ามองจากในแง่เรา ถ้าจะสร้าง consciousness เราต้องมีนักเขียนเยอะๆ เล่าเรื่องราว ทำไดอารีความคิด ถ้าคิดแล้วปล่อยให้มันหายไป มันก็จะเหมือนคลื่นกระทบฝั่งที่แทบจะไม่ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมอะไรเลย การเขียนเป็นการ enunciate อุดมคติ ทำให้มัน exist ขึ้นมา ทำให้มันเป็น token ที่เราเอาไปพูดต่อ วิจารณ์ต่อได้ มองจากเรื่องสั้นคุณฮกหลง consciousness ในความหมายของคุณคือสิ่งที่ต้องการการกระทำที่จับต้องได้นะ ซึ่งเราว่าน่าจะเป็น ideology มากกว่า ideology is a projection of consciouness เพราะฉะนั้นเราต้อง enunciate มันออกมาค่ะ หาสื่อมารองรับ ทำให้มันเป็น ideology ที่จับต้องได้ วิพากษ์วิจารณ์ได้ สิ่งที่เราต้องการ เราคิดว่าน่าจะเป็น materiality ของความคิดเหล่านี้ ถ้าใครซักคนในนี้จะเขียนนิยายซักเรื่อง สะท้อนปัญหาของมนุษย์ เราจะอยากอ่านมากเลย บอกตามตรงว่าอยากเขียนเหมือนกัน แต่ยังหา subject+plot ที่โดนใจไม่ได้

    "วิญญาณที่หลอกหลอนนักปรัชญา" เราว่านักปรัชญาทุกคนมีผีประจำตัวหมดนะ คือคำถามที่ไม่อยากตอบ เพราะไม่รู้จะตอบยังไง ถ้าเป็น Derrida ก็คงเป็น คุณจะ deconstruct ตัวเองยังไง เพราะเที่ยวไป deconstruct คนอื่น แต่ตัวเองไม่เคยโดนถอดรื้อเลย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องยอมรับความจริงหนึ่งของสังคมว่า นักปรัชญาหลายคนพอใจที่จะเป็นแค่นักปรัชญา เพราะไม่ใช่นักปฏิบัติที่เก่ง นักปฏิบัติทุกคนก็ไม่ใช่นักปรัชญาทั้งหมด ถ้าเรา order แบบ two-in-one ได้ก็คงดี แต่ก็นั่นแหละ ถ้าโลกนี้เต็มไปด้วยความ perfect เราก็คงไม่ต้องมาถกปัญหานี้ เราก็คงไปตามทางของเราแล้วแหละ เหมือนกับตอนที่ปากีสถานจะแยกจากอินเดียแล้วมหาตมะคานธีไม่ยอม บอกเนห์รูว่าให้แต่งตั้งรมต.เป็นมุสลิมเป็นส่วนใหญ่แทน เพื่อแสดงให้เห็นว่าชาวฮินดูยอมรับมุสลิมได้ เนห์รูสวนกลับไปทันทีว่า "ถ้าอินเดียมีแต่คนอย่างคานธี เราคงไม่ต้องมามีปัญหานี้" ในความเป็นจริงคือ โลกเราไม่ว่าจะที่ไหนก็ยังมีคนเขลา คนไม่รู้ คนมีอคติ มีอวิชชา ในขณะที่เราสร้างโลกให้คนดีอยู่ เราก็ต้องสร้างพื้นที่ให้คนที่ไม่รู้ ไม่ดี มีอวิชชาอยู่ด้วยได้ โดยที่มีปัญหาน้อยที่สุด เรามีคนเก่งๆเยอะ แต่คนเก่งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโลกได้ และเราต้องอยู่กับปัญหานี้ไปชั่วกัลปาวสารค่ะ ยุคกรีกมีเพลโต้ โสคราติส มีคิงอเล็กซานเดอร์ที่อยากจะรวมชนชาติต่างๆให้เป็นชนชาติเดียวกันทั้งโลก เราจะได้อยู่กันอย่างสงบ แต่ก็ทำไม่ได้เพราะความต่างมันเข้มข้นเกินไป แต่ละชาติก็มีอารยธรรมของตัวเองอย่างฝังแน่นซะแล้ว ทุกวันนี้ก็เป็นอย่างนั้น แต่เปลี่ยนจากอเล็กซานเดอร์มาเป็นอเมริกาและประชาธิปไตยแทน

    เรามองว่า เราอยู่อย่างมี ideology ซึ่งอาจจะเป็นประชาธิปไตย พุทธศาสนา สังคมนิยม ฯลฯ ได้ แต่อย่าให้ ideology มาปกครองเราจนเรารับความแตกต่างของผู้อื่นไม่ได้

    นักปรัชญาหรือปัญญาชนทุกวันนี้ อย่าพยายามเป็นอเล็กซานเดอร์เลยค่ะ พยายามเท่าที่คุณทำได้ อย่าคาดหวังว่ามันจะเปลี่ยนแปลงชั่วพลิกฝ่ามือ เราเกิดมาเป็น generation ยุคนึงของโลกเบี้ยวๆที่จะไม่มีวันตรงได้ คนที่เค้าอยากจะเปลี่ยนโลกก็ไปหมดแล้ว ตายแล้วก็เปลี่ยนหมดไม่ได้ ทั้งเหมา สตาลิน ฯลฯ คนยุคเราก็ต่อสู้ต่อไป ลูกหลานก็คงเรียนรู้และต่อยอดไปเรื่อยๆ เราคิดว่านะ

    ทั้งหมดนี้เราอาจจะถูกสาปตอนสร้างหอคอยบาเบลก็ได้ ในพระคัมภีร์เก่าว่าไว้ ว่ามนุษย์เคารพพระเจ้าและพูดภาษาเดียวกัน แต่บังอาจคิดสร้างหอคอยสูงเพื่อสร้างทางให้ตัวเองขึ้นไปสู่สวรรค์ได้ ไปสู่ดินแดนของพระเจ้า มนุษย์เย่อหยิ่งอหังการ์ ด้วยความอยากยกตัวเสมอพระเจ้า เลยถูกพระเจ้าสาปให้พูดกันคนละภาษา คิดกันคนละอย่าง จนไม่ลงรอยกัน ทะเลาะกัน รบกัน ตีกัน ขัดแย้งกันจนไม่รู้จักจบจักสิ้น และนี่เป็นราคาที่เราต้องจ่าย "เพราะเราอยากคิดเอง" ทั้งๆที่ผู้ที่คิดเองได้มีแต่พระเจ้าเท่านั้น

    ถ้าเราเคารพ "พระเจ้า" เราอาจจะคิดเหมือนๆกัน พูดเหมือนๆกัน อยู่อย่างสงบ ก็ได้
    แต่ถ้าเราไม่เคารพ "พระเจ้า" เราจะคิดต่างกัน พูดต่างกัน ทะเลาะกัน

    ว่าแต่อย่างไหนมันสนุกกว่ากันเนี่ย?

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 03:56:47

    จากคุณ : Sa-idian - [ 21 ก.ย. 50 03:54:31 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 333

    ขอมอบให้เป็นสัญลักษณ์ของกระทู้นี้

     
     


    จากคุณ : Sa-idian - [ 21 ก.ย. 50 04:06:04 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 334

    อาจจะเป็น Original Sin มาตั้งแต่ครั้งที่อดัมและอีวากินแอปเปิลในสวนอีเดนแล้วล่ะครับ คุณ Sa-idian ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหากทั้งคู่ไม่กินผลไม้แห่งความรู้(ตามคำยุยงของซาตาน - ถ้าซาตานยุยงจริง) โลกจะเป็นยังไง ก็เหมือนกับสารพัด If clause ในโลกนี้อีกหลายๆอัน ท่คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ

    เห็นรูปคุณ Sa-idian #333 แล้วคิดถึงเกม Civilization เพราะฉากเปิดเกมของ Civilization ทุกภาคจะเปิดให้เห็นหอบาเบล(ยิ่งภาค 3 ใช้ภาพที่คุณ Sa-idian นำมาแปะเป็นปกเกมเลย)

    ใครเคยเล่นก็คงทราบว่า เวลามี We love the .......... Day ขึ้นมาในเมืองแล้ว การผลิด food และ shield ก็จะสูงขึ้นมาอย่างมาก การคอร์รัปชันก็จะลดลง เร่งสร้างวัฒนธรรม สิ่งก่อสร้าง และเงินได้มากขึ้น แต่ถ้าปรับระบบการปกครองไว้ไม่ดี จัดการผลิตไม่ดี ไม่เข้ากับเป้าหมายที่ตั้ง ต่อให้มี We Love the Monarch day, We love the President Day หรือแม้แต่ We love the despot day เท่าไร เราก็ตามไม่ทันคู่แข่งสักที เฮ้อ โดนอารยธรรมคู่แข่งส่งจรวดไป Alpha Centauri ก่อนมาหลายครั้ง เพราะมัวติดใน We Love the ...... day และ Golden Age จนไม่ยอมกดเปลี่ยนแปลงการปกครองนี่แหละ

    แต่ เอ๊ะ ประเทศไทยตอนนี้อยู่ในสภาวะ We Love ...... Day มาสองปีแล้วนี่
    แหม ก็เรากด Revolution ไม่ได้ง่ายๆเหมือนเล่นเกมนี่เนอะ

    อ่านเรื่องสั้นของคุณฮกหลงฯแล้ว ทำให้ความอยากคุย(และอยากเป็น)นักปรัชญาลดฮวบๆ ผมยังไม่อยากเจอผีนักปรัชญามาหลอกหลอนตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง(เพราะขอหวยไม่ได้) แต่เมื่อกระทู้นี้ยังอยู่ยั้งยืนยงมาจนสามร้อยกว่าๆ ก็ต้องซูฮกให้เหล่าผู้ดูแลที่เนื้อได้กินนิดหน่อยไม่ค่อยอิ่ม หนังพอได้เอามารองนั่งไม่เต็มตัวนัก แต่ก็ยังทนเอากระดูกมาแขวนคออยู่ดี เลยมาทักทายให้ท่านผู้รู้ทุกคนในกระทู้รู้ว่ายังติดตามอ่านความคิดเห็นและข้อวิเคราะห์ครับ


    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 21 ก.ย. 50 09:56:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 335

    แล้วคุณ บงบุษบา  ตอบคำถาม หรือ คิดยังไง กับ คห 307 เรื่อง ความมั่งคั่งของท่านนั้น 5 พันล้านเหรียญ  กับประเทศกำลังพัฒนา  ที่ไม่ได้มีทรัพยากรธรรมชาติใดๆ

    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 21 ก.ย. 50 10:08:40 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 336

    ไม่เห็นด้วยเอาเสียเลย แต่ดีใจที่พวกคุณพยายามเอาเหตุผลและงัดวิชาที่เรียนมาออกมาใช้กันบ้าง ดีกว่าเปลืองงบการศึกษาไปเปล่าๆ
    เผอิญดิฉันเป็นวิศวกร จึงไม่มีความสามารถในการแสดงคารมเก๋ๆที่ชาวบ้านชาวช่องส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่องแบบพวกคุณ ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงสังคมและการปกครอง คุณต้องไปศึกษาเรื่องรากเหง้าชาวไร่ชาวนาของเราตรงนี้มากกว่ามานั่งเขม่นเจ้าหรืออ่านเรื่องประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของชาติอื่นๆหรือแนวทางท่านเหมา สตาลิน คานธี มุสโสลินี ฮิตเลอร์ อริสโตเติล(เกี่ยวไหมนี่) เพราะองค์ประกอบของแนวคิดคนส่วนใหญ่ในชาติเรามันต่างกันมากๆกับต่างชาติ ทั้งการศึกษา แนวทางการสงบเสงี่ยมเจียมตัว กตัญญูรู้คุณ แบบศาสนาพุทธ ซึ่งเรื่องนี้ดิฉันว่าคุณซา-เขียนได้น่าสนใจและมองได้รอบด้านกว่าเพื่อน
    ดิฉันว่าความรู้ทางตำราในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนมันใช้ได้ไม่ถึง 50% สำหรับชีวิตจริง( 50%ที่ใช้ได้ไม่เปลี่ยนแปลง ก็กิเลส ตัณหา อิจฉาริษยา อยากมี อยากได้ อันเป็นธรรมชาติของคนนั่นเอง) และ ความรู้ทางประวัติศาสตร์และสังคมที่คุณพากเพียรเรียนกันมายิ่งนำกลับมาใช้ได้น้อยมากๆ ในโลกวิทยาศาสตร์เช่นทุกวันนี้
    เพื่อให้พวกคุณมองเห็นอีกมุม เป็นมุมมองของฝรั่งที่พวกคุณนับถือเป็นบิดาทางความคิด เขาว่า Monarch ของประเทศหนึ่งในโลกที่ 3 เป็นเหมือน Prisoner ที่ถูกกักขังไว้ด้วยจารีตและความคาดหวังของประชาชน หาได้มองเป็นเผด็จการอย่างที่คุณเห็นอยู่ไม่
    แล้วทำไม ท่าน ที่เป็นปุถุชน จึงต้องทรงลำบากเช่นนั้น นั่นเพียงเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังไม่ทันต่อกลโกงของคนส่วนน้อยที่ก้าวขึ้นมาปกครองประเทศ
    ดิฉันคงไม่เข้ามาเขียนอีก เพราะพูดไปพอสมควรแล้ว และดีใจที่มีส่วนเล็กๆทำให้กระทู้ของคนกลุ่มเล็กๆในสังคมนี้ มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก เพราะมีรสชาติกว่าการป้อยอชมเชยกันเองไปมาจนปิดกระทู้ไปในที่สุดด้วยความเลี่ยน


    จากคุณ : บงบุษบา (บงบุษบา) - [ 21 ก.ย. 50 10:35:36 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 337

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 11:00:43

    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 21 ก.ย. 50 10:51:51 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 338

    อ้าว เพิ่งเห็นคุณลูกแม่โดม
    คุณต้องไปศึกษาให้มากกว่านี้นะคะ
    บอกให้เป็นความรู้เล็กน้อยว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษ.. ไม่ได้เป็นของบุคคลค่ะ แต่เป็นของตำแหน่ง เช่นเดียวกับ วัง ทั้งหลาย ถ้าเปลี่ยนคนก็จะรับตรงนี้ไปด้วย เช่นเดียวกับบ้านพักหลวงที่คุณบางคนอาศัยอยู่นั่นแหละค่ะ
    แล้วอีกอย่าง ทรัพย์สินเริ่มต้นมาจากมรดกของรัชกาลก่อนๆและมีผู้ทำการบริหารให้จนงอกเงย ท่านคงไม่ได้ว่างขนาดมาดูแลธุรกิจมังคะ
    ดิฉันว่างานที่ท่านทำให้แผ่นดิน ให้พวกเรา คุณและคุณแม่ชื่อโดม คุณพ่อชื่ออะไรไม่แจ้งนี่ ได้นอนตาหลับทุกคืนวันเช่นทุกวันนี้ มันมีค่าเกินกว่าจะประเมินได้นะคะ ในชีวิตนี้คุณนับถือและกตัญญูต่ออะไรบ้างคะ แม้แต่ผู้ให้กำเนิดที่แท้จริง ยังไม่นับเลย กลับไปเป็นลูกมหาวิทยาลัยที่คนจบออกมาแล้ว ทำบ้านเมืองให้เป็นแบบนี้ ซะนี่
    ทีนี้ไปแล้วจริงๆ


    จากคุณ : บงบุษบา (บงบุษบา) - [ 21 ก.ย. 50 10:53:56 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 339

    ถ้าคุณ บงบุษบา ไม่เข้ามาเขียนต่อ  ก็คงจะไม่รู้จะพูดอะไรกันต่อไปอีก

    แต่การเป็นวิศวกรซึ่งเป็นอาชีพในสายวิทยาศาสตร์ ผมว่า น่าจะคิดอะไรที่เป็นเหตุเป็นผลกันได้ มากกว่าความเชื่อที่ปลูกฝังกันมา หรือข่าวที่พากันโหมประโคมความเก่ง ความดี กันเสียจนแทบจะเป็นเทพ


    รวมไปถึง การเข้าใจถึงระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีนักการเมืองเข้ามาเป็นผู้แทน  สำหรับเรื่องการโกงนั้น  เราต้องพัฒนาระบบตรวจสอบ องค์กรอิสระ  ต้องมีการพัฒนากระบวนการไปเรื่อยๆ  ไม่ใช่มีปัญหาปุ้บ วิ่งหาท่านปั๊บ  อันนี้คิดไม่เป็นวิทยาศาสตร์  และยิ่งมองในแง่การปกครองก็จะยิ่งตอบคำถามไม่ได้ว่า ตกลงบ้านเมืองเรามันเป็นระบอบอะไรกันแน่  ถ้างั้นบอกมาให้ชัดไปเลยว่า มันไม่ใช่ประชาธิปไตยหรอก แต่เป็นระบอบนี้ล่ะ ที่อยากจะเป็น อยากจะได้  

    ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า  ประเทศชาติจะอยู่ได้ก็ต้องพัฒนาองค์กร พัฒนาระบบที่จะทำให้ประเทศไปรอด   แต่นี่อะไร   วิ่งกลับไปหาบุคคล  ไปขึ้นอยู่กับบุคคล คนๆเดียว  ไม่มีระบบอะไรทั้งสิ้น   โลกข้างหน้าไม่มอง  แต่จะย้อนหลังกลับไป กว่า 75 ปี


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 21 ก.ย. 50 10:55:56 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 340

    คุณกลับไปดูละกันว่า ทำไมชาติอื่นๆเขาถึงไม่ต้องมีทรัพย์สินส่วน.....   เพราะมันเป็นของรัฐบาลไปหมดแล้ว ไม่ใช่เป็นของส่วน.....



    เหตุใดถึงยังต้องถือครองไว้ มูลค่ากว่าเท่านั้น เพื่ออะไร  ผลประโยชน์ ผลกำไรจากสำนักงานนี้ เอาไปทำอะไร  

    คุณบงบุษบานั่นล่ะ  ควรกลับไปคิดทบทวนเสียใหม่  และคิดให้มันเป็นวิทยาศาสตร์  นอกจากจะมาพร่ำเพ้อถึงการกตัญญู เพ้อฝันในสิ่งที่เขาพยายามสร้างภาพกัน   ซึ่งมันไม่เกี่ยวอะไรกันเลย  อย่างนี้เวลาตอบข้อสอบเขาเรียก ลากช้างลงรู

    ผมคิดว่า คุณไม่ควรเรียนด้านวิทยาศาสตร์หรอก   น่าจะไปเรียนด้านสังคมออกไปถึงแนวความเชื่อซะมากกว่า  น่าจะเหมาะกับคนอย่างคุณ


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 21 ก.ย. 50 11:00:00 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 341

    5555
    คุณบงบุษบาคะ เข้าแสดงความคิดเห็นบ่อย ๆนะคะ
    มีสีสันดีค่ะ อ่าน Rep คุณแล้วได้ (ฮา) ดีค่ะ

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 11:46:08

    จากคุณ : คลังพลอย - [ 21 ก.ย. 50 11:37:42 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 342

    ง่ะ ชักลามถึงสถาบัน และเรื่องส่วนตัวของผู้แสดงความคิดเห็นกันแล้ว
    เย็นๆครับ ทั้งคุณบงบุษบา คุณลูกแม่โดม(อันที่จริงผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับการใช้ชื่อสถานศึกษามาเป็นนามแฝงนะ เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการถูก "เหมารวม" และ "กล่าวโทษ" มากกว่าจะได้ส่วนดีของชื่อเสียง)

    สำหรับเรื่องสำนักทรัพย์สินส่วนฯ ที่ Forbes จัดอันดับ
    คือผมไม่ทราบว่า Royal Assets กับ Crown Assets ของไทยแบ่งแยกกันยังไง แล้ว Forbes เค้าคิดยังไง เพราะสมัย ป.พิบูลสงครามก็ยุบพระคลังข้างที่ไป แต่ก็แปลกใจว่าสำนักทรัพย์สินฯของราชวงศ์ไทยคงจะบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพมากขนาดที่ทำให้ทรัพย์โดยรวมของสถาบันฯมีมากมายมหาศาลขนาดเทียบชีคอาหรับเศรษฐีน้ำมันได้เลยทีเดียว ชนิดที่ชนะ Queen Alizabeth II  ของอดีตเจ้าอาณานิคมตะวันไม่ตกดิน ที่ทรงมีทรัพย์สินส่วนสถาบันเป็นอสังหาริมทรัพย์ทั่วเกาะอังกฤษแถมด้วยเครื่องเพชรอัญมณีระดับโลกมากมาย หรือ Prince Albert ของราชรัฐโมนาโกสุดยอดเมืองพนันมหาเศรษฐีได้ห่างลิบลิ่วขนาดนี้ ทั้งๆที่คุณภาพชีวิตประชากรไทยเมื่อเทียบกับประชากรอังกฤษหรือโมนาโก หรือแม้แต่ประเทศอาเซียนอย่างบรูไนก็ตามนั้น................(เติมคำในช่องว่างเอาเองเถิดครับ)

    ผมเชื่อว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น ต้องลงมาสู่ราษฎรตามโครงการพระราชดำริต่างๆ และผู้ด้อยโอกาส รวมถึงข้าราชบริพารที่ทรงพระมหากรุณาธิคุณชุบเลี้ยงอุปถัมภ์ตามโอกาสอยู่แล้ว (นั่นก็เป็นแค่ความเชื่อของผม-คนอื่นจะคิดยังไงไม่ทราบ เมื่อทราบว่าสำนักทรัพย์สินฯสะสมทุนมหาศาลยิ่งกว่านักธุรกิจคนใดในประเทศรวมกันเสียอีก) แต่เมื่อสถาบันเปลี่ยนผ่าน ใครจะรับประกันได้ว่าทรัพย์สินรวมของสำนักทรัพย์สินฯจะถูกนำไปใช้ประโยชน์แบบที่เคยเป็นมาอีกต่อไป ในเมื่อเราปิดกั้นโอกาสแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบไปด้วยคำว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" การรื้อสวนลุมไนท์บาซาร์ การคุกคามย่านท่าพระจันทร์ ป้อมพระกาฬและย่านการค้าเก่าแก่หลายส่วนที่เช่าที่ดินจากสำนักทรัพย์สินฯ ถูกปิดปาก เงียบหายไปจากสื่ออย่างรวดเร็ว ไม่รวมถึงพวกกาฝากที่เกาะกินตามโครงการพระราชดำริต่างๆที่อ้างความเป็น "พระราชดำริ" หากินหน้าด้านๆ อย่างคดีทุจริตค่าเวนคืนที่ดินเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หรือการประมูลงานขุดลอกคูคลองกรุงเทพฯ หรือแม้แต่พวกหัวใสที่พิมพ์ตราสัญลักษณ์บ้าง พระบรมฉายาลักษณ์บ้าง พระปรมาภิไธยบ้าง ลงบนสินค้าขายหากินอย่างไม่เกรงพระราชอาชญา ซึ่งในทัศนคติของผมนั้นเป็นการ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" อย่างร้ายกาจกว่าการตั้งข้อสงสัยในเรื่องบางเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันเสียอีก

    อ้อ คุณบงบุษบาครับ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ทรงใช้จ่ายในโครงการส่วนพระองค์นั้น รัฐบาลมีหน้าที่จัดหาขึ้นทูลเกล้าฯถวายเป็นเงินรายปีแด่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ด้วยครับรวมถึงเงินที่ผู้ศรัทธาทูลเกล้าฯถวายในวาระต่างๆมามายไม่เว้นวัน ก็เห็นว่ามากมายล้นพ้นเหลือเกินแล้ว

    แต่พระราชทรัพย์ในสำนักทรัพย์สินฯที่คุณกล่าวว่าสืบทอดมาแต่ครั้งพระบรมบุรพขัตติยราชจักรีวงศ์ (หลังรัชกาลที่ ๕ เพราะพระราชทรัพย์พระคลังข้างที่ครั้งต้นรัตโกสินทร์นั้นเรานำไปใช้ค่าปฏิกรรมสงครามกับฝรั่งเศสแลกกับอิสรภาพและเมืองจันทบุรีหมดสิ้นแล้ว) ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์อันเก็บภาษีจากราษฎรในขอบเขตขัณฑสีมา คือชาวไร่ชาวนาที่ส่งเบี้ยส่วยสาอากรฤชาธรรมเนียม เพื่อให้ทรง "ปกครอง" ตามทศพิธราชธรรม ถ้าคิดตามหลักสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว ทรัพย์ทั้งหมดควรเผื่อแผ่แก่อาณาประชาราษฎร์โดยถ้วนทั่ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสาธารณูปโภค หรือการสนับสนุนการศึกษา ดังสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจมา หาควรให้ไปอยู่ในเงื้อมมือผู้บริหารไม่กี่คนที่สั่งสม[ทุน] โดยใช้พระปรมาภิไธยอ้างเพื่อปกปิดการตรวจสอบไม่

    เรื่องรากเหง้าชาวไร่ชาวนาน่ะหรือครับ ผมคงศึกษามาคนละแบบกับคุณกระมัง จึงเห็นสภาพชาวไร่ชาวนายังแร้นแค้นอยู่จนทุกวันนี้ ฝนก็ตกไม่ค่อยจะทั่วฟ้า แบกหนี้หัวโตนอกระบบทั้งเจ๊กทั้งแกว(ขออภัย ไม่มีเจตนาดูหมิ่นเชื้อชาติ) ขูดเอานาไปขาย ถูกข้า"ราช"การดูถูกอยู่ทั้งปีทั้งชาติ ใครมีปัญญาส่งลูกเรียนได้ก็ถือว่าบุญโข  ได้เป็น"เจ้า"เป็น"นาย" กับเขาเสียที เฮ้อ แล้วคุณคิดว่ารากเหง้าชาวไร่ชาวนาเราเป็นอย่างไรครับ? ร่มเย็นใต้พระบรมโพธิสมภาร? พอเพียงจนกระแสทุนนิยมมารุกราน? จริงหรือ? ในเมื่อหลังฉากของความพอเพียงนั่นแหละที่สะสม "ทุน" มากที่สุด

    ความรู้ทางประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ย่อมใช้ได้เสมอ ยิ่งในโลกวิทยาศาสตร์อย่างทุกวันนี้ยิ่งจำเป็น เพราะเมื่อเรานำประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์มาวิเคราะห์ทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ความจริงก็ยิ่งกระจ่างชัด ยิ่งคุณกล่าวถึงการปฏิบัติ สังเกต ทดลอง แล้ว คุณบงบุษบาก็ดูเอาเถิดครับ ว่าคุณพอใจในสิ่งที่เห็นและเป็นไปหรือเปล่า?

    ความจริงคุณบงบุษบาเข้ามาก็ดีนะครับ มีสีสันเชิงวิวาทะถกแถลงกันต่อ หลังจากเงียบๆจนเกือบออกนอกเรื่องมาหลายหนแล้ว ใจนึงผมยังคิดถึงพวกคุณนอกราชการ คุณกัมม์ คุณnattaset เลยเนี่ย(แต่อีกใจนึงก็ว่า อย่าดีกว่า อยู่กันตามประสาส่วนใครส่วนมัน ความเชื่อของใครของเขา โอกาสไฟลุกมีมาก ดีไม่ดีลามเข้าไปถึงเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับประเด็น[แบบที่เกิดขึ้นแล้วข้างบน]มันจะยุ่งขิงกว่านี้ เสี่ยงให้กระทู้ดีๆโดนลบเสียเปล่า)

    อ้าว เริ่มเพ้อเจ้ออีกแล้วผม ขอกลับอาศรมไปแต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอนต่อดีกว่ากระมัง เง้อ

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 11:53:52

    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 21 ก.ย. 50 11:48:41 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 343

    แปลกใจ สมรภูมิความคิดเห็นอันแตกต่างกัน ไฉนจึงแผ่ไปถึงกระทู้ข้างบนได้  haha

    เปรียบประดุจ "ดวงแก้ว" เลอค่า คู่สยามจักรีวงศ์
    http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5814711/K5814711.html

    ความคิดมีหลายหลาก     ผิดถูกมากน้อยต่างกัน
    ความคิดที่ดีนั้น              ไม่เย้ยหยันดูถูกใคร

    ชีวิตมีหลายหลาก           ผิดถูกมากน้อยต่างไป
    ชีวิตที่ยิ่งใหญ่                อยู่ที่ใจให้ส่วนรวม

    ความคิดบริสุทธิ์             อาจมีจุดอ่อนและหลวม
    เฉลยความกำกวม           หาจุดร่วมเพื่อสังคม


    จากคุณ : เพ็ญชมพู - [ 21 ก.ย. 50 11:51:31 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 344

    ในที่สุด เราก็ได้เห็นพวกเกรียนๆ ในกระทู้นี้แล้วนะครับ คงไม่ต้องบอกว่า Reply ไหน เพราะความเกรียนมันแสดงออกมาชัดๆ ซะขนาดนั้น


    พอถกเถียงกันด้วยเหตุผลไม่ได้ ก็ตะแบงไปด่าที่บุพการีเสียเลย ไปต่อว่าถึงพ่อถึงแม่ของคุณ "ลูกแม่โดม" เค้าอีก


    ปล. แก้ไขข้อความ เพราะอาจจะพูดด้วยอารมร์มากไปครับ ขอบคุณสมาชิกท่านอื่นๆ ที่เข้ามาแนะนำครับ

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 12:48:01

    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 21 ก.ย. 50 11:55:09 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 345

    คุณไอทะเลเกินไปหน่อยนา ผมว่า = ="

    จบเรื่องแล้วก็จบไปเถิดน่อ


    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 21 ก.ย. 50 12:07:46 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 346

    คุณไอทะเลเกินไปหน่อยจริงๆ
    ผมกลับชอบที่มีคนอย่างคุณบงบุษบาเข้ามา
    เพราะเราจะได้เข้าใจมุมมอง ของคนที่คิดไม่ตรงกัน
    และเขาเชื่ออย่างนั้น เป็นเสรีภาพที่เขาเชื่อได้ คิดได้
    เหมือนที่พวกเรากำลังใช้เสรีภาพในการเชื่อ การคิด

    อย่างน้อย ผมก็เตรียมตอบกระทู้อย่างดี อย่างยาว เพราะเธอนะ
    หาวิธีอธิบายให้คนอย่างเธอเข้าใจ ว่าที่เราคุย เราไม่ใช่เด็กเล่น
    ขายของ ทำไมเราถึงคิดอย่างนี้ และคิดอย่างเธอ มันสุ่มเสี่ยง
    อันตรายต่ออนาคตของคนส่วนใหญ่อย่างไร

    ผมได้บริหารสมอง ทั้งส่วนการให้เหตุผล การเปรียบเทียบ
    ยกตัวอย่าง และการอธิบายแบบรูปธรรมเป็นนามธรรม ขัดเกลาภาษา
    มากพอๆกับช่วงที่ตอบเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทีเดียว

    เพื่อแสดงว่า คุณเป็นคนที่เคารพ ในเสรีภาพแห่งการคิด และการแสดงออก
    เพื่อแสดงว่า เรามีที่ยืนให้แก่ทุกคนที่คิดเห็น และเชื่อไม่เหมือนกับเรา

    เราอึดอัด เพราะคนไม่เคารพเสรีภาพในการคิด การถาม การวิจารณ์
    เช่นนั้นเราก็ไม่ควรกระทำเช่นเดียวกันนั้นกับคนอื่นด้วย

    หากคุณเชื่อมั่นในสิทธิเสรีภาพ คุณต้องรับมันมาทุกด้าน

    ด้วยเหตุดังกล่าว ผมขอแนะนำ ให้คุณ seabreeze_psu แก้ไขข้อความเสีย
    และขอโทษคุณบงบุษบา

    แต่คุณจะทำหรือไม่ก็ได้นะ เสรีภาพอีกแล้วครับท่าน

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 12:20:19

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 21 ก.ย. 50 12:17:55 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 347

    ที่จะเอามาตอบยาวพอๆกับเรื่องสั้นเรื่องนึง
    เลยพักไว้ก่อนดีกว่า ง่วงนอนมาก อดนอนติดต่อกันมานานแล้ว
    สมองชักล้า (ช่วงที่ไม่ได้มาตามกระทู้นั่นแล)

    แต่อ่านคำตอบของคุณบงบุษบา แล้วนึกถึงอะไรหลายๆอย่าง

    อย่างแรกคือ สงสัยไหมครับ ว่าทำไมวงการศิลปศาสตร์ และวิชาการ
    เชิงศิลป์ของไทย ถึงได้รับการยอมรับระดับโลกได้ เช่น
    งานภาพ ของคุณเฉลิมชัย งานการ์ตูนของวิสุทธิ์ พรนิมิตร
    ของเขียนชาติ กอบจิตติ หรือ ปราบดา หยุ่น

    แต่ทำไม งานเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ของคนไทย กลับไม่ค่อยได้รับ
    การยอมรับสักเท่าไร นอกจากในฐานะคนทำงานที่เก่งของฝรั่ง
    หรือญี่ปุ่น แต่ไม่ใช่ ผู้แรกริเริ่มสร้างสรรค

    อาจจะส่วนหนึ่งเพราะ คนไทยยังขาดกระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์อยู่
    แม้ในผู้ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ได้มีกระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์
    เราจึงเห็นหมอบางคน เชื่อในการบนบานศาลกล่าว อย่างเอาเป็นเอาตาย
    หรือวิศวกรโรงงานที่ต้องดูฤกษ์เดินเครื่องจักร เป็นอาทิ

    ประการที่สอง นึกถึงศาสนาเชิงเทวนิยม ที่เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น
    มาจากพระเจ้าประทานให้ จนไม่ให้ความสำคัญแก่มนุษย์ ผู้ซึ่งเป็นผู้กระทำนั้น

    ศาสนาบางศาสนา ให้ระลึกถึงพระเจ้าที่ประทานข้าวปลาอาหาร
    ว่ามาจากการประทานของพระเจ้า
    โดยข้ามชอตไปเลยว่า ปลาที่กิน ชาวประมงออกเหงื่อเผื่อแรงไปจับมา
    ข้าว ก็มาจากชาวนาที่ปลูก ขนมปัง ก็คนทำขนมปังที่ทำ

    มีบ้านอยู่ร่มเย็น ก็เพราะกรรมกร วิศวกร หรือสถาปนิก

    ลืมไปว่า จริงๆคนเราอยู่ได้ เพราะต่างคนต่างเชื่อมั่นในหลังของตน
    และทำหน้าที่สุดกำลังของตน เพราะในใจนึกถึงแต่ว่า
    เพราะพระเจ้าท่านประทานให้ๆๆๆ ไม่มีพระเจ้า
    คงอยู่ไม่ได้อย่างมีความสุข ปลอดภัย

    หลงลืมเพื่อนมนุษย์ไปเสียหมด
    ไม่ได้ทบทวนว่า มนุษย์ หรือพระเจ้ากัน ที่ทำให้ชีวิต
    ในแต่ละวันของเขา มีความสุข

    เหมือนแม่ทัพบางคน ที่รบชนะ ด้วยชีวิต เลือดเนื้อ อวัยวะ
    ของทหารนับแสนในบัญชา เพื่อปกป้องมาตุภูมิ

    แต่เมื่อชนะแล้ว กลับกล่าวว่า ขอบคุณพระราชา ที่มีบารมี
    นำทัพให้ชนะศึกได้

    แต่ลืมไปว่า พระราชาไม่ได้ออกไปรบ
    อาจจะเป็นกำลังใจให้ต่อสู้
    แต่คนที่ตาย เป็นกำแพงให้อยู่กันสงบ ก็คือไพร่ราบ พลเลว
    รวมทั้งไพร่ส่วยไพร่สม ที่ตีอาวุธ หาอาหาร มาทั้งนั้น...

    ก็แล้วแต่ความเชื่อน่ะ จะว่าไปแล้ว...

    ก็ว่ากันไป

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 12:37:55

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 21 ก.ย. 50 12:36:51 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 348

    อ่าน # ๓๔๗ แล้วนึกถึงเพลง "คนทำทาง" ของคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

    บทเพลง :

    ประวัติศาสตร์อาจมีในหลายด้าน
    แต่คนที่ทำงานไม่เคยจะเอ่ยออกนาม
    คนที่แบกหามลุยน้ำลุยโคลนคือผู้สรรค์สร้าง
    จากป่าเป็นเมืองรุ่งเรืองงามเทียมเวียงวัง
    ด้วยเลือดด้วยเนื้อของคนทำทาง
    ถางทางแต่ต้นให้คนต่อไป

    จากป่าเปลี่ยวเที่ยวไปในทุกถิ่น
    ดังโบกโบยบินพื้นดินเป็นถิ่นอาศัย
    หนาวเหน็บเจ็บใจภัยร้ายนานาชีวาว้าเหว่
    เช้าค่ำจำเจเร่ไปให้คนเดินตาม
    ทุกย่างก้าวเขาเหมือนเงาเลือนลาง
    ฝังนามฝังร่างลงกลางแผ่นดิน

    บทกวี :

    ประวัติศาสตร์อาจมี            ทุกที่และทุกสถาน
    แต่คนที่ทำงาน                  มักไม่เคยจะเอ่ยนาม
    ฝ่าฟันและดั้นด้น                คนลุยโคลนคนแบกหาม      
    เอาเหงื่อแลกงานงาม          นั้นคือคนผู้สร้างสรรค์

    จากป่าจนเป็นเมือง            อันรุ่งเรืองและลาวัณย์    
    ด้วยแรงแห่งคนนั้น             แหละคือคนผู้ทำทาง
    ชีพเขาคือบทเพลง             อันครืนเครงกระหึ่มคราง  
    ให้จำบ่ห่อนจาง                 ณ กลางใจกลางแผ่นดิน

    ชีพเขาคือใบไม้                อันคว้างไหวกลางลมริน      
    ให้เนื้อแก่ธรณินทร์            และให้นมแก่ลูกน้อย
    คนแล้วและคนเล่า            อันร่วงแล้วใช่ลับลอย    
    ถักถักทยอยทอย              คือสายเลือดที่สืบแทน

    คือธาตุอันเป็นทิพย์           ที่ตายสิบจักเกิดแสน    
    คือแก่นและคือแกน          จักแกร่งอยู่กู้ยุคสมัย
    นี้คือประวัติศาสตร์           ประชาชาติประชาธิปไตย
    คนไทยที่เป็นไท              ผู้ทำทางให้เราเดิน

    เอาบทเพลงและบทกวีมาประกอบเพื่อให้บรรยากาศทางวิชาการไม่เคร่งเครียดจนเกินไป smile

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 13:51:08

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 13:49:38

    จากคุณ : เพ็ญชมพู - [ 21 ก.ย. 50 13:45:36 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 349

    เห็นพูดถึงทรัพย์สินฯ กันอยู่พอสมควร เลยอยากจะแสดงความเห็นร่วมด้วย ด้วยการนำ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ 2ฉบับมาเปรียบเทียบให้ดูบางมาตรา (ถ้าหากรู้กันอยู่แล้วก็ขอโทษด้วยครับ) (จริงๆแล้ว พ.ร.บ. นี้มีการแก้ไข 3 ฉบับ คือ 2479, 2484, และ 2491)

    พ.ร.บ.ฯ ปี 2479
    มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
    “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินหรือสิทธิอันติดอยู่กับทรัพย์สินซึ่งมีอยู่ หรือเกิดขึ้นในส่วนใดๆ แห่งราชอาณาจักร ถ้า
    (ก) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น เป็นของพระมหาก...อยู่แล้วในเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะจำหน่ายสิ่งเหล่านั้นได้ก่อนครองราชสมบัติ
    (ข) ทรัพย์สิน หรือสิทธิเช่นว่านั้นได้ตกมาเป็นของพระองค์ในเมื่อหรือภายหลังแต่เวลาที่ครองราชสมบัติโดยทางใด ๆ จากบรรดาพระราชบุพการีใดๆ หรือจากบุคคลใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นพระมหาก...แห่งราชอาณาจักรนี้
    (ค) ทรัพย์สิน หรือสิทธิเช่นว่านั้นได้มา หรือได้ซื้อมาจากเงินส่วนพระองค์
    “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหาก... ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง
    “ทรัพย์สินส่วนพระมหาก...” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหาก...นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว

    ปี 2491
    มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
    “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหาก...อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้า ฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใดนอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหาก... ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย
    “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหาก...ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง
    “ทรัพย์สินส่วนพระมหาก...” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหาก...นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังกล่าวแล้ว”

    ปี 2479
    มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหาก...ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลังตามความในมาตรา 5 วรรคสอง นั้น เมื่อได้หักรายจ่ายที่จ่ายตามข้อผูกพันอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหาก... รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน (รวมทั้งบำเหน็จบำนาญ ถ้ามี) เงินค่าใช้สอย เงินการจร และเงินลงทุน อันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหาก...และรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินพระราชกุศลออกแล้ว ให้นำทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อทรงใช้จ่ายในฐานที่ทรงเป็นประมุข

    ปี 2491
    มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหาก... พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
    “มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหาก...ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพันรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอยเงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น
    รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหาก...ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหาก...เท่านั้น”

    ปี 2479
    มาตรา 8 ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร
    ทรัพย์สินส่วนพระมหาก...ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน
    ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้น ดังกล่าวแล้ว

    ปี 2491 ไม่มีการกล่าวถึงว่าให้แก้ไข จึงน่าเป็นการบังคับตามมาตรา 8 ของพ.ร.บ. ปี 2479

    ขอสรุปความเห็นว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องจ่ายภาษีนะครับ ไม่ใช่ไม่จ่าย ส่วนที่เหลือ... (ไม่อยากพูด)

    ขอตอบความเห็น 342 นิดหน่อยนะครับ
    "ผมเชื่อว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น ต้องลงมาสู่ราษฎรตามโครงการพระราชดำริต่างๆ"
    เท่าที่ทราบ ตั้งแต่ ยุคสฤษดิ์เป็นต้นมา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ถูกโอนไปอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล และใช้งบประมาณของรัฐบาลทั้งหมดครับ


    จากคุณ : ฉันไม่รู้อะไรเลย (ฉันไม่รู้อะไรเลย) - [ 21 ก.ย. 50 19:57:19 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 350

    #349

    ผมใช้คำผิดครับ ต้องเป็น โครงการส่วนพระองค์ เช่นโครงการผลิตเทียน นมอัดเม็ด ในสวนจิตรลดา หรือดอยคำผลิตอาหาร ที่ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อตั้งและดำเนินการ

    ขอบคุณที่ช่วยไขกฎหมายเกี่ยวกับสำนักทรัพย์สินฯ ให้กระจ่างครับ


    จากคุณ : โกฏิดารา - [ 21 ก.ย. 50 20:39:11 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 351

    ขอแสดงความเห็นต่อ กรณีมาตรา 112 หน่อยนะครับ
    มาตรา 112 วางหลักว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหาก... พระราชิ.. รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"

    ผมคิดว่ากฎหมายมาตรานี้ไม่อาจเรียกว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในความเห็นผมน่าจะหมดไปตั้งแต่การร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ.2452) แล้ว เพราะมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าล้อมาจาก มาตรา 98 ของกฎหมายลักษณะอาญาฯ ทีเดียว ซึ่งในตอนร่าง ประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2484 ได้มีการตั้งประเด็นว่า "ใช้คำว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะเป็นอย่างไร?" และ ม.จ.สกลวรรณกร วรวรรณ ตอบว่า"เวลานี้ใช้ไม่ได้ ตรงข้ามกับความเข้าใจทั่วไปแม้ในปัจจุบัน ไม่มีข้อหาทางอาญา 'หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ' ในกฎหมายไทย มีแต่ข้อหา 'หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย' พระมหาก..., พระราชิ..., รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, "บทวิจารณ์หนังสือ 'พระราชอำนาจ'," http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document9554.html)
    ซึ่งเมื่อดูในหนังสือคำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ของ ดร. หยุด แสงอุทัย ที่อธิบายมาตรา 98 นั้น ก็ไม่มีการใช้คำว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" แต่อย่างใด และหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 2 เท่าที่เห็นขายในปัจจุบัน ผมก็ยังไม่เห็นว่าจะมีเล่มไหนใช้คำว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" (ถ้ามีใครหาพบก็บอกด้วยนะครับ)
    ขอพูดถึงหลักของมาตรา 112 (ไม่รู้ว่าจะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือเปล่า)
    มาตรา 112 นั้น มีองค์ประกอบภายนอกคือ
    1. หมิ่นประมาท ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 คือ การกล่าวให้ร้ายผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง ได้รับความอับอาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
    2. ดูหมิ่น เป็นหลักการเดียวกับความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393 คือ การกล่าวดูหมิ่นต่อผู้อื่น ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าคนมักจะสับสนกับความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะมีความใกล้เคียงกัน ตอนนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะอธิบายให้รู้เรื่องได้หรือเปล่า (เพราะคืนอาจารย์ไปเกือบหมดแล้วตั้งแต่สอบเสร็จ) เอาเป็นว่าถ้าหากเป็นลักษณะของการด่าด้วยเหตุอันเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ หรือด้วยถ้อยคำหยาบคาย จะเข้าลักษณะของการดูหมิ่น
    3. อาฆาตมาดร้าย หมายถึง การขู่อาฆาตว่าจะทำอันตรายในอนาคต
    องค์ประกอบภายในคือ
    1. ผู้กระทำรู้ถึงการกระทำนั้นว่าได้ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรืออาฆาตมาดร้าย
    เงื่อนไขการรับผิด
    ผู้ถูกกระทำเป็น พระมหาก...ในรัชกาลปัจจุบัน พระราชิ..ในรัชกาลปัจจุบัน (ที่สวรรคตแล้วไม่เข้าองค์ประกอบของมาตรานี้) รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะปฏิบัติหน้าที่ (องคมนตรีไม่ใช่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)
    คุณธรรมทางกฎหมาย
    เพื่อคุ้มครองสัญลักษณ์แห่งรัฐ

    ในความเห็นผม กรณีของ วีระ มุสิกพงศ์ ที่เคยมีคนเอาฎีกามาลงไว้ (และสังเกตว่าในฎีกาศาลฎีกาก็ไม่มีการใช้คำว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแต่อย่างใด มีเพียงคำให้การของพยานเท่านั้นที่มีการใช้คำนี้) ไม่น่าจะเข้าตั้งแต่องค์ประกอบตั้งแต่องค์ประกอบภายนอกแล้ว และรวมทั้งกรณีไม่ยืนในโรงหนังด้วย ผมคิดว่าฎีกานั้นน่าจะโดนด้วยเหตุคำพูดที่ว่า “เพลงอะไรวะ ฟังไม่เห็นรู้เรื่อง” มากกว่า แต่ในความเห็นผมก็ไม่คิดว่าจะเข้าองค์ประกอบอยู่ดี การตีความของศาลในปัจจุบันที่ตีความมาตรา 112 จนเกินขอบเขตเช่นนี้ผมคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่อย่างยิ่ง
    ขอตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ในหมวดความผิดต่อพระมหาก... ในกฎหมายอาญานั้น ใน ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 นั้น มีเพียงแค่ 2มาตรา (ถ้าผมจำไม่ผิดเพราะเคยอ่านนานแล้ว) แต่ในประมวลกฎหมายอาญาปัจจุบันที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ.2499 ซึ่งเป็นรัฐบาลภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และที่สำคัญเป็นรัฐบาลของ หลวงพิบูลสงคราม กลับเพิ่มขึ้นเป็น 6 มาตรา (แหม! ใครมาว่าหลวงพิบูลฯไม่จงรักภักดีไม่ได้นะเนี่ย) ซึ่งดูน่าคิดว่า “ทำไมรัฐบาลของผู้ที่ยึดอำนาจจาก... จึงเพิ่มอำนาจการปกป้องให้...?”

    ขอหมายเหตุเล็กน้อย มาตรา 112 เคยได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519

    แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 50 21:38:52

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 21:40:34

    จากคุณ : ฉันไม่รู้อะไรเลย (ฉันไม่รู้อะไรเลย) - [ 21 ก.ย. 50 21:27:57 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 352

    ท่าทางคุณฉันไม่รู้อะไรเลย น่าจะเป็นนักกฎหมาย และเปิดประเด็นน่าสนใจมากเรื่องกฎหมายหมิ่นฯ

    ผมเองไม่ได้เรียนทางอาญามาโดยละเอียดโดยตรง (หมายถึงเรียนสามตัวในปริญญาตรีแล้วจบเลย) กะว่าถ้ามีโอกาส
    จะไปอ่านตำรากฎหมายอาญามาตราที่เกี่ยวข้องเสียหน่อย
    โดยเฉพาะตำรารุ่นใหม่ๆว่าเขา "อธิบาย" องค์ประกอบความผิด ของมาตราดังกล่าวไว้
    แค่ไหน เพียงไร อย่างไร เพราะสมัยผมๆจำได้อธิบายน้อยมากจนไม่น่าสนใจ
    และจำฎีกาใดๆไม่ได้เลย นอกจากกรณีคุณวีระ และผมก็จำไม่ได้
    ว่าเขาอธิบายไว้อย่างไร

    ผมอยากรู้ว่า ถ้าอัพเดทเอาฎีกา "เพลงอะไรวะ ฟังไม่รู้เรื่อง" เข้าไปแล้ว
    จะอธิบายอย่างไร การตีความกฎหมายอาญาที่ขยายผลระเบิดระเบ้อ
    ไปจนครอบคลุมถึงการหมิ่นเพลงสรรเสริญพระราชาก็ดี การยกตัวอย่างสมมติแบบเงื่อนไขที่ไม่มีทางเป็นจริง (If i were) แบบนี้ ถือว่า "หมิ่น"
    แล้ว ในทางตำรา จะอธิบายว่าอย่างไร ? เข้าใจได้แค่ไหน เพียงไร

    เพราะการตีความขยายความแบบนี้ มันน่ากลัวตรงที่ว่า เราคาดเดาไม่ได้เลย
    ว่าการกระทำเราจะผิดกฎหมายหรือไม่ และกฎหมายมุ่งคุ้มครองอะไร
    เช่น ต่อไปถ้ามีคำพิพากษาว่าคนที่วิจารณ์แนวคิดของพระราชาถือว่าหมิ่น
    คนที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่พระราชาพูดในงานวันเกิด ถือว่าหมิ่น
    คนที่กล่าวถึงพระสุนัขในทางไม่ดี ถือว่าหมิ่น คนที่เปิดเผยว่า พระราชา
    ทรงพระร่ำรวยยิ่งกว่าราชันย์แห่งแดนเกาะและแดนกาสิโนรวมกัน ถือว่าหมิ่น ฯลฯ

    เราคงต้องอยู่ในสังคมแห่งความกลัว คล้ายๆสมัยก่อน ร.๔ ที่ใครมองพระราชา
    ต้องโดนยิงลูกกะตา การเอ่ยนามพระราชาตรงๆ ทำไม่ได้ นั่นแหละมังครับ

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 23:59:56

    แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 50 23:55:37

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 21 ก.ย. 50 23:54:14 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 353

    เอาล่ะ กลับมาสู่โลกใบเดิมของเราต่อ
    พี่บุญชิตครับ...ผมศรัทธาในศาสนาแบบเทวนิยมอย่างฝรั่งอย่างหนึ่ง เพราะพระเจ้าของยิว และ มุสลิม (คริสเตียนยังกึ่งๆครับ ไม่ขอนับรวม เพราะท่ายังส่งลูกของท่านมาดู) นั้น พระองค์ไม่ทรง "วุ่นวาย" เรื่องของมนุษย์เท่าไร ตรงๆ...
    และศาสนิกชนก็มีกำลังใจในการรังสรรค์ผลงาน และวิธีเข้าถึงพระเจ้าสารพัดวิธี ทำให้ฝรั่งเขานำหน้าเราไป...(ตั้งแต่ยุคกลาง แต่ตอนนั้น พวกแขกที่ยังเปิดกว้างทางความคิดเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีในโลกตะวันตก)
    ยกเว้นที่ยิวยุ่งขิงกันทุกวันนี้ ก็เพราะพระเจ้าลงมาเจือกไว้ตั้งแต่หลายพันปีก่อน
    ...บางที...ผมก็ไม่รู้จะตอบอะไรเหมือนกัน
    ป.ล. ฝรั่งยุคกลางเขายังอ้างพระเจ้าเผากันอยู่เลย แถมชาวนาทาสติดที่ดินยุคนั้น ก็ เหอะๆๆๆ...นั่นแหละครับ โดนขูดเลือดจนเห็บไม่กล้าเกาะ เพราะไม่รู้จะดูดเลือดได้ไหม
    ป.ล. บาปกำเนิด หรือ หอคอยบาเบลก็ช่างเถิดครับ เพราะ สิ่งที่เราได้มาก็เป็นเพราะ ความฉลาดและ ความเชื่อในความสามารถของตัวมนุษย์เอง (ผลไม่ของความรอบรู้และ ความเชื่อที่จะสร้างหอคอยที่สูงจรดสวรรค์)แต่การสร้างจักรวรรดิของมนุษย์ทุกเผ่าอยู่ร่วมกันได้ และเป็นระบบที่ดีที่สุดของมนุษย์่มันเป็น Burden ของเราในฐานะมนุษย์แล้ว และอาจจะเป็น ภารกิจตลอดกาล ที่เราจะต้องสานมันต่อให้เสร็จ(แอบเอาคำ Habermas  มาใช้มั่ง)
    หรือบางที อาณาจักรนั้นอาจจะเป็นจักรวรรดิของพระเจ้าบนสวรรค์เท่านั้น

    แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 23:37:42

    แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 50 00:14:45

    จากคุณ : สิงโตมีปีก (นายปลาตีน) - [ 22 ก.ย. 50 00:05:46 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 354

    สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหา..กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ

    โดย รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์


    http://www.savefile.com/files/1051515


    จากคุณ : Live Free - [ 22 ก.ย. 50 01:06:12 A:67.15.183.14 X: TicketID:127314 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 355

    เข้ามาแจ้งข่าวหน่อยครับ กรณีคนโดนทำร้ายร่างกาย แจ้งความกัน กรณีไม่ยืนในโรงหนัง ดูท่าแล้วจะกลายเป็นเรื่องยาวนะครับเนี้ย ไปกันใหญ่แล้ว
    ความคิดของคนเรา ห้ามกันไม่หยุดฉุดไม่อยู่จริง ๆ

    เพื่อน ๆ ที่สนใจ ลองเข้าไปดูกันหน่อย

    http://sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=28316

    http://sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=28290


    จากคุณ : กายทิพย์ - [ 22 ก.ย. 50 01:10:29 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 356

    พี่ Sa-idian มาเมนท์ให้ยาวเชียว แต่ผมไม่มีเวลาตอบแลกเปลี่ยนเท่าไหร่ครับ พรุ่งนี้ต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ขอแปะโป้งไว้ก่อน ซึ่งประเด็นที่ผมสนใจคือเรื่องการ unite ชาติครับ เอ้อ...ไม่ทราบว่า พี่ Sa-idian เคยอ่านหนังสือของอ.ธงชัย วินิจจะกูลเรื่อง Siam mapped ไหมครับ? อ.ธงชัยแกเขียนเล่าประเด็นดังกล่าวได้อย่างน่าสนใจ

    ประเด็นคุณบงบุษบาทำให้ผมนึกถึงเรื่องการใช้มโนทัศน์คู่ตรงข้ามในการเมือง โดยเฉพาะในการเมืองแบบไทย ๆ ที่ทุกอย่างตั้งอยู่บนความคิดแบบดี-ชั่ว ซึ่ง ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ตั้งอยู่บนจักรวาลวิทยาแบบพุทธ ด้วย

    เรื่องความดี-ชั่วผมขอแปะ link ที่ประชาไทยไปสัมภาษณ์อ.เกษม เพ็ญภินันท์เรื่องดังกล่าวไว้

    http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5467&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

    ปล. แถมให้อีก link ครับ
    http://www.sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=28286

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 50 22:27:28

    แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 50 01:50:26

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 22 ก.ย. 50 01:44:48 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 357

    ในที่สุดเราก็โดนพาดพิงว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม แม้ผมจะมาอ่านอย่างสงบๆ

    นี่ผมว่าจะไม่พิมพ์ตอบแล้วนะ แต่ก็คิดซะว่าอ่านความเพ้อของเด็ก ม. ปลายก็แล้วกันนะครับ พี่ๆ ทั้งหลาย

    ผมนับถือในความคิดของพวกคุณในเรื่องความคิดปรัชญาต่างๆ ที่ได้เสนอมานะครับ แต่ดูเหมือนว่า... พวกคุณจะค่อนข้าง (เน้นว่าค่อนข้างนะครับ) จับผิด และดูแต่ด้านที่ไม่ดีของ "สถาบัน"  เท่านั้น  และถ้าผมอ่านไม่ตกหล่น พวกคุณไม่เคยได้กล่าวถึงด้านดีของ "สถาบัน" ซักกะนิดเลย...

    แต่ผมก็ค่อนข้างเห็นด้วยนะครับว่า เราไม่ควรมองสถาบันว่าเป็นถึง "สมมติเทพ"  แต่เราควรจะมองสถาบันในด้านของ "ประมุขแห่งรัฐ" เพราะว่าการที่เรายกย่องเป็นเทพอย่างนี้มากเกินไป ก็เป็นผลเสียในระยะยาวได้

    หลายๆ คนอาจจะคิดว่าผมเป็นพวกนิยมเจ้า  แต่ผมขอบอกไว้เลยนะครับว่า ผมนั้นมรความนับถือในฐานะที่พระองค์เป็นประมุขของพวกเรา (เพราะถ้าเราไม่นับถือประมุขของเรา แล้วจะไปนับถือใครครับ) และชื่นชมที่พระองค์เป็นพระราชาที่ทำงานหนักมากๆ  บางทีอาจจะหนักกว่าคนบางคนซะอีกนะครับ...

    ข้อความนี้ผมจะพิมพ์ไว้ว่าผมได้เคยเข้ามาเยี่ยมกระทู้ที่ดีกระทู้หนึ่ง แต่ผมคิดว่าผมจะไม่เข้ามาดูกระทู้นี้อีก หลังจากที่ผมถูกพาดพิงแล้ว ผมคิดว่าผมเคืองอยู่มากทีเดียว  ข้อความข้างบนนี้อาจจะดูใช้อารมณ์ไปหน่อย ก็ต้องขอโทษด้วยนะครับ...

    สวัสดีครับ


    จากคุณ : นอกราชการ - [ 22 ก.ย. 50 08:44:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 358

    ลบภาพดีกว่า...

    ดูแรงไปนิด...ครับ...

    แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 50 11:31:05

    จากคุณ : วิญญาณเดียวกัน - [ 22 ก.ย. 50 11:22:31 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 359

    แก้ให้ใหม่แล้วครับ...โดยลบคำที่ป้ายออกไป...

    เผื่อ..พี่ๆ เพื่อนๆ อยาก จะไปเติมอะไรดีๆ ลงไปตามใจชอบครับ....:)

    ขอให้สนุกกันนะครับ...

     
     


    จากคุณ : วิญญาณเดียวกัน - [ 22 ก.ย. 50 11:36:16 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 360

    เราคิดว่าที่พระองค์ท่านมีทรัพย์สินมากนั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากมรดกตกทอด เช่น ที่ดินของพระองค์ท่านเอง หรือมีผู้บริจาคจำนวนมาก พระราชวังหลายที่ (มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม ประมาณค่าไม่ได้) เครื่องเพชร เครื่องนิลจินดา ที่ตีมูลค่าเป็นเงินแล้วมาก เพราะเป็นของโบราณล้ำค่า และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นสมบัติตกทอดมาจนถึงพระองค์ท่าน และพระองค์ท่านก็รักษาไว้อย่างดี
    ป.ล.เห็นด้วยกับความเห็นของคุณนอกราชการ ทุกความเห็นเลยค่ะ


    จากคุณ : สา - [ 22 ก.ย. 50 14:42:43 A:222.123.184.175 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 361

    เห็นด้วยกับความเห็นคุณลูกจ้างดีเด่นด้วยค่ะ

    จากคุณ : สา - [ 22 ก.ย. 50 14:44:39 A:222.123.184.175 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 362

    เรียนถามคุณฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร(หรือท่านอื่นๆที่พอจะทราบ) เห็นว่าข้อมูลของคุณแน่นดี ผมมีข้อสงสัยอยู่ในใจมานานว่าโครงการส่วนพระองค์ (ขอโทษที่อาจจะใช้ศัพท์ไม่ถูกต้อง) นั้นนอกจากโครงการด้านเกษตรกรรมแล้ว อยากทราบว่าด้านการศึกษานั้นมีบ้างหรือไม่ เหตุผลที่ถามก็เพราะผมใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลข่าวสารทางเมืองไทยไม่ค่อยทันสมัย พอดีมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนฝูงชาวต่างชาติ แล้วเขาตั้งข้อสังเกตุมาว่าถ้าคนเรามีการศึกษาดีขึ้นจะปกครองยาก ผมอยากจะมีข้อมูลไปโต้แย้งกับเขาว่าเขากำลังเข้าใจผิด ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกๆความเห็น

    จากคุณ : CHISWICK - [ 22 ก.ย. 50 15:23:41 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 363

    โครงการด้านการศึกษา..เท่าที่ผมพอคิดออกคือ โรงเรียนไกลกังวลครับ

    แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 50 16:21:18

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 22 ก.ย. 50 16:17:50 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 364

    วังไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์แน่นอนครับ แต่จะเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ตามความเห็น 349 ซึ่งฟอร์บไม่น่าจะบ้าจี้นับไปด้วย
    เคยมีนิทานแซวคอมมิวนิสต์เรื่องนึงครับ คนอเมริกันกับคนโสเวียตคุยกัน มะกันบอกว่า "ประเทศผมมีอิสระมาก ถ้าผมสงสัยไม่พอใจอะไรประธาน่ธิบดี ผมจะส่งจดหมายไปทเนียบขาว หรือตะโกนด่าเขาที่หน้าทำเนียบก็ได้"
    "โอ้ ในโสเวียตก็เหมือนกัน" ชาวรุสตอบ "ผมจะวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิ่งไปด่าประธานาธิบดีอเมริกาที่หน้าเครมลินตอนไหนก็ได้"
    บางที ผมควรจะกลับไปหมกในหอสมุดกลางอีกพักใหญ่ๆ เผื่อจะหาอะไรมาอธิบายได้ เพราะ ผมคิดว่า น่าจะมีตัวแปรอื่นๆ อีกในการมอง
    เออ หรือเพราะผมสมาทานความคิดฝรั่งมากไป ผมควรจะหนีไปอยู่สวีเดนน่าจะดีกว่านะเนี่ย


    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 22 ก.ย. 50 16:35:09 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 365

    โครงการด้านการศึกษาของในหลวงมีเยอะแยะครับ พวกการศึกษาผ่านดาวเทียม กับพวกโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนราชประชาสมาสัย
    มูลนิธิพระดาบส เป็นต้นครับ


    จากคุณ : ไม่ได้เป็นสมาชิก - [ 22 ก.ย. 50 16:44:31 A:125.24.29.65 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 366

    คุณ "นายปลาตีน" เล่าเรื่องพระเจ้ามาก็นี่ ผมก็เลยคิดตามไปประมาณนึงนะ

    คือผมนึกถึงยุโรปยุคกลาง ยุคล่าแม่มด หรือล่าพวกอัศวินเทมปลา
    โดยพระนักบวช ต่างออกมาส่งสัญญาณให้ฝ่ายอำนาจรัฐ เช็คบิล
    โดยอ้างว่า มาจากบัญชาของพระเจ้า

    เรื่องที่ผมยังติดใจอยู่ ก็คือว่า เรื่องนี้ พระเจ้าสั่งมาจริง ผ่านนักบวชลงมา นักบวชแค่เป็นผู้นำสาร

    หรือว่า นักบวชคิดว่า พวกอัศวิเทมปลา และแม่มด เป็นอันตรายต่อพระเจ้า
    และความมั่นคงของศาสนจักร รวมถึงผลประโยชน์บางอย่าง
    เลยจัดการเอง โดยพระเจ้าไม่รู้เห็น

    หรือว่า....นักบวชไปเสนอกับพระเจ้าว่า คนพวกนั้นเป็นอันตรายต่อพระองค์
    ให้กระหม่อมจัดการดีไหมพระเจ้าข้า
    ...แล้วพระเจ้าก็นิ่ง ไม่ตอบรับ แต่ก็ไม่ห้าม...

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าใครรู้ นอกจากพระเจ้ากับนักบวช...

    แต่เมื่อคืนผมฝันร้ายครับ ฝันว่า ผู้คนจำนวนมาก มาบูชาพระเจ้า ที่แท่นบูชา

    ทันใดนั้น พระเจ้าก็ปรากฎ และเอ่ยโอษฐขึ้นมา เป้นที่อัศจรรย์
    กล่าวเป็นนัยว่า "เดี๋ยวนี้ มีพวกนอกรีตไม่เชื่อพระเจ้าเยอะ ...พระเจ้า เสียใจ..."

    ทันใดนั้น กลุ่มคนนั้นก็ทะเลาะวิวาทกันขนาดหนัก
    ฆ่ากันเลือดตกนอง หาตัวว่า ใครกันที่มันไม่เชื่อพระเจ้า
    ทำให้พระเจ้าเสียใจ ต่างคนต่างกล่าวหากัน คนที่ต้องสงสัยว่า
    จะไม่เชื่อพระเจ้า ถูกจับขังทรมาน พวกที่แสดงตัวชัดเจนว่าไม่เชื่อ
    พระเจ้า ถูกฆ่า ทั้งโดยกบิลเมือง และสหบาทา

    น่ากลัวนะ...
    ตกใจตื่นมาตีสี่ ...แม๊ ...โชคดีที่มันไม่ใช่ความจริง...

    แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 50 17:10:14

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 22 ก.ย. 50 17:07:54 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 368

    5000 ล้าน ดอลล่า สหรัฐ เอาคูณ 35  บาทโดยประมาณ  = 175000 ล้านบาท  ..... หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นห้าพันล้านบาท .....  

    ไม่เวอร์ไปหน่อยหรอครับ

    ช่วงก่อน มีผู้หวังดีเกินขนาด นำมูลค่า สินทรัพย์ส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สิ่นส่วนพระมหา.... มาบวกลบคูณหาร รวมกันได้ สี่หมื่นล้านบาท  คนในเวปประชาไทย ที่หน้ามือตามัว ก็เต้นเร่าๆ เป็นจ้าวเข้า เรียกร้องให้ตรวจสอบ ภาษีที่ตนชำระไป กันยกใหญ่  จนลืมคิดไปว่า เงินภาษี ของคนคนนึง เป็นเสี้ยวเล็กๆ เท่านั้น เงินที่เสียภาษีมาทั้งชีวิต บางทีจะนำไปสร้างสะพานลอยคนข้ามสักสะพานยังไม่ได้

    ปีที่แล้วในช่วงเวลาประมาณนี้ ถ้ายังจำได้ เกิด อุทกภัยอย่างหนัก ประชาชน หลายจัด รวมทั้งกรุงเทพ ได้รับผลกระทบ ในเมื่อรัฐบาล แก้ปัญหาไม่ได้ ใครกันที่เสียสละถ่ายเทน้ำที่เป็นปัญหา เข้าที่ดินตัวเอง เพื่อบรรเทาทุก ให้ประชาชน เพื่อไม่ให้ น้ำลงมาท่วมกรุงเทพ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น พระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระราชภาระกิจได้ประเสริฐและสมบูรณ์แบบ เท่าที่ ประมุข ของประเทศ และ พระราชาที่ประเสริฐ พึงกระทำ

    นี่เป็นเพียง ตัวอย่าง อย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ว่าคุณ คุณ หรือผม อย่างน้อยที่สุด ครั้งหนึ่งในชีวิต ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระองค์ท่านมาแล้วทั้งนั้น ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม



    โปรดใช้วิจารณญาณ นะครับ

    แก้ไขเมื่อ 22 ก.ย. 50 18:25:01

    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 22 ก.ย. 50 18:22:21 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 369

    ขออภัยที่พาดพิงคุณ นอกราชการ ครับ
    แค่กล่าวถึงในฐานะคนที่อาจจะมองคนละด้าน น่าจะได้เข้ามาเสวนากันเท่านั้น อยากให้คุณเข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยกันอีก อย่าเพิ่งปิดกระทู้หายไปไหนเลยครับ ผมขอโทษ

    ส่วนด้านดีของสถาบัน กระทู้อื่นมีเยอะแยะแล้วครับ เราทราบและรับรู้ในด้านที่ดีขององค์สถาบันหลายๆด้านเป็นอย่างดี แต่ส่วนที่สมควรวิพากษ์ก็เป็นอีกส่วนใช่ไหมครับ อุปมาเหมือนเพชรที่มีรอยตำหนิ ก็ยังเป็นเพชรดี แต่ตำหนินั้นหากสกัดเจียระไนออกให้ผ่องพิสุทธิ์ให้โลกสรรเสริญโดยปราศจากจุดพร่องย่อมดีกว่าการออกใบรับประกันแล้วโฆษณาชวนเชื่อว่าตำหนินั้นเป็นของดีที่ขายพร้อมกับเพชร จริงไหมครับ

    ผมเชื่อว่าเกือบทุกคนในกระทู้นี้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ และพระอัจฉริยภาพที่ทรงอุทิศพระองค์ทุ่มเททำเพื่อประชาราษฎร แต่สิ่งที่เรามาถกเถียงกันอยู่ที่นี่ เพราะคำว่า "เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์" (ด้วยเหตุและผล) สมควรถูกปกป้องจากการเชิดชูและเทิดทูนเกินพอดี จนกลายเป็นผลักดันให้เกิดความเกลียดชังสถาบันอย่างไม่สมควร

    ขอบคุณทุกท่านที่ยังมาร่วมเสวนากันครับ


    จากคุณ : โกฏิดารา (โกฏิดารา) - [ 22 ก.ย. 50 21:02:42 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 370

    ขอตอบประเด็นที่มีคนพูดถึงการแบ่งฝักฝ่ายในช่วงพฤษภา 35 นะครับ (จะเป็นการขุดประเด็นเก่าหรือเปล่าเนี่ย)

    ความเห็นที่ 207
    “-พฤษภาคม 2535 บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างถึงที่สุด คนไทยลุกขึ้นมาเข่นฆ่ากันเอง สถานการณ์ไม่มีท่าว่าจะสงบลง มองไม่เห็นทางออกใดๆ...
    คนๆเดียว เรียกคนสองคน ที่เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งทั้งมวลในเวลานั้นเข้าพบ กล่าวเตือนสติ ให้ทั้งสองคิดถึงชาติบ้านเมืองเป็นหลัก เลิกเอาชนะคะคานกัน เพราะสุดท้ายแล้วก็จะไม่มีผู้ชนะ มีแต่ผู้แพ้ และคนที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ...
    สถานการณ์สงบลงในทันที ทั้งคู่ประกาศยุติความขัดแย้ง ไม่กี่วันต่อมา คนหนึ่งก็ยอมถอย ลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้ชาติบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ ที่เหลือก็คือประวัติศาสตร์...”

    ผมไม่คิดว่าปัญหาจะเกิดขึ้นจากเพียงแค่จำลองกับสุจินดาได้นะครับ เพราะถ้าดูที่สาระสำคัญของเหตุการณ์นี้จริงๆนั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 การรัฐประหารของ รสช. ที่โค่น พล.อ. ชาติชายลง ซึ่งเมื่อภาพตรงนี้แล้วตัวของปัญหามันเกิดการสะสมครับ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น (ไม่อยากจะลากไปตั้งแต่ยุคเผด็จการครึ่งใบ (ซึ่งคนอื่นเรียกยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ) เพราะผมคิดว่าการแทรกแซงของกองทัพที่มีมาตั้งแต่ยุค 2490 และเพิ่งจะถูกบังคับให้ถอนตัวไปในปลายปี16-19 และกลับมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกครั้งจนเพิ่งจะถอนตัวเพราะโดนกดดันเลยยอม “ผมพอแล้ว” เมื่อตอน 31 นี่เอง และประเทศไทยก็เพิ่งได้นายกฯ ที่เป็น ส.ส. ได้แค่ไม่เต็ม 4ปีดีนัก) คนไม่ชอบทหาร แต่เกลียดนักการเมือง เลยยอมให้ทหารมาไล่นักการเมือง แต่ทหารจะมาเป็นนักการเมืองก็ไม่เอา (พูดไปแล้วก็เป็น de javu ยังไงพิกล) และหลังจากคืนวันที่ 20 ปัญหาไม่ได้ยุตินะครับ (แม้ว่าสุจินดาจะยอมลาออกในวันที่ 24 ก็ตาม) มันเพียงแค่ถูกfreeze เอาไว้เฉยๆ แล้วก็อย่างที่เห็น มันรอวันประทุมาเรื่อยๆ เมื่อโอกาสเหมาะสม (19 กันยา ปีที่แล้วคือประจักษ์พยานอย่างดีว่าคนประเทศนี้ไม่เคยเรียนรู้ที่จะทำตามระบบ) นี่ต่างหากครับคือปัญหา ปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องของจำลองกับสุจินดาขัดแย้งกันหรอก (ถ้าปัญหามีอยู่แค่นั้นมันก็สำเร็จรูปและดูง่ายจนเกินไปที่จะเกิดเรื่องราวใหญ่โตในวันที่ 17-20 พฤษภา ได้)

    ความเห็นที่ 260
    “ผมคิดว่าเหตุที่ตำแหน่งของสถาบันไทยดูอีหลักอีเหลื่อ จะอยู่สูงก็ไม่ได้แต่ลงมาก็ถูกโคลนสาดนั้นเพราะสถานการณ์บ้านเราพิเศษกว่าที่อื่นๆ ประชาธิปไตยไทยไม่ได้สู้มาเพื่อให้ได้สภาพอย่างที่เป็น แต่มีคนหยิบยื่นให้เสมอ (พฤษภาทมิฬนั้นเรียกได้ว่าประชาชนสู้และได้รับการสนับสนุนจากพระองค์ท่านจนได้ชัยชนะ แต่ทำไมนัก revisionist ชอบตัดบทบาทประชาชนออกไปก็ไม่เข้าใจ)”

    เห็นด้วยกับประโยคข้างต้นครับ แต่ขอแสดงความเห็นแย้งต่อข้อความในวงเล็บ นิดหน่อยนะครับ
    เหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภา 35 ผมไม่คิดว่าจะมีการแบ่งฝักฝ่ายชัดเจนนักว่าเป็น ฝ่ายประชาชน กับเผด็จการทหาร (ในสมัยนั้นคนชอบด่าสุว่าเป็น dictator) หรือเป็นประชาธิปไตย เผด็จการนะครับ เพราะผมว่าภาพมันมัวๆ เมื่อเทียบกับการแบ่งข้างของ 14 ตุลา และ 6 ตุลา (ซึ่งเอาเข้าจริง 14 ตุลานั้นก็มีความสับสนปนเปกันในอุดมการณ์อยู่มาก ดูได้ใน ประจักษ์ ก้องกีรติ, และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ) เมื่อเป็นอย่างนี้ผมก็คิดว่า การที่บอกว่า “...ประชาชนสู้และได้รับการสนับสนุนจากพระองค์ท่าน...” จะสามารถพูดได้ชัดเจนนัก ขอให้ดูพระราชดำรัสในวันที่ 4 ธันวาคม 2534 ดูนะครับ
    “...ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอาศัยหลักวิชาทั้งนั้น แต่บางทีหลักวิชานั้นเราไปเอาตัวอย่างมาจากแหล่งที่มีสภาพการไม่เหมือนประเทศของเรา...
    “...ในเรื่องอื่นก็เป็นเช่นเดียวกัน ระเบียบการหรือวิชาการต่างๆที่นำมาใช้ บางทีก็ไม่เหมาะสมกับสภาพของประเทศ หรือนิสัยใจคอของคนไทย...
    “...ประเทศต่างๆ ในโลกได้เห็นประจักษ์แล้วว่า ในระยะ 3 ปีนี้ ประเทศที่ตั้งหลักทฤษฎีที่เรียกว่าในอุดมคติเพื่อปกครองประเทศ ล้วนแต่ล่มสลายไปแล้ว. เมืองไทยจะสลายไปด้วยหรือ...
    “...การปฏิบัติโดยวิธีการที่อาจไม่ถูกหลักวิชานัก แต่ประกอบด้วยเมตตา ด้วยความสามัคคี คือ ‘รู้รักสามัคคี’ นี้เองก็คงจะทำให้อยู่กันได้ตลอดไป. คือแม้จะ... – เดี๋ยวนี้เป็นเรื่อง ‘ฮิต’ มาก แม้จะ... – เป็นสิ่งที่ อาจไม่ควรพูด. แม้การปกครองประเทศ การปกครองนี้ ในประเทศหนึ่ง ประเทศหนึ่ง ก็ต้องมีการมอบฉันทะให้มีผู้ที่ปกครอง... ฉะนั้นถึงต้องมีผู้แทนของปวงชน ซึ่งตามหลักของการปกครอง ก็ต้องมีผู้แทนราษฎร ที่ปัจจุบันนี้กำลังตื่นเต้นกัน...
    “...อเมริกาเขาก็มีระเบียบการเลือกตั้งประธานาธิบดี. แต่ก็เคยปรากฏว่าเขาปฏิวัติ คือมีประธานาธิบดีที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งก็เคยมี. ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งก็ได้เป็นประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี. ก็เปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักการ ของการตั้งประธานาธิบดี...
    “...เปลี่ยนได้ทั้งนั้น แต่ต้อง ไม่มีการทะเลาะกัน ถึงตีหัวกันให้ถึงเลือด...” (พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันพุธ ที่ 4 ธันวาคม 2534)

    ขออธิบายบริบททางประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นเพิ่มเติมเล็กน้อยนะครับ ช่วงก่อนวันที่ 4 ธันวาปีนั้น ได้มีการรณงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญของคณะ รสช. อย่างหนัก ยกตัวอย่างพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ เช่น “7 พรรคร่วมให้สัตยาบัน ค้านสุดตัว รธน.ไดโนเสาร์” (ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่ ประชาธิปัตย์ เอกภาพ พลังธรรม พลังสังคมประชาธิปไตย ประชากรไทย และชาติประชาชน – ผู้เขียน) (สยามรัฐ วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2534), “นศ. เล่นบทหนักเผาหุ่น ‘สุ-ตุ๋ย-เต้’ ‘ตุ๋ย’ส่งคนถาม ‘อดข้าวทำไม’” (สยามรัฐ วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2534) เหตุผลหลักในการคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญมีหลายประเด็นครับ ทั้งเรื่องของที่มา ส.ว. อำนาจหน้าที่ของ ส.ว. (de javu อีกแล้ว) ตำแหน่งประธานรัฐสภา แต่เรื่องที่สำคัญและเป็นประเด็นที่สุดคือ นายกฯ คนนอก ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง (ซึ่งผมว่าประเทศนี้สับสนพอสมควรระหว่างคำว่า “นายกฯจากการเลือกตั้ง” และ “นายกฯ จากการเป็น ส.ส.) แต่พอหลังจากพระบรมราโชวาทข้างต้น แม้ว่าพอจะมีคนคัดค้านอยู่บ้างแต่เสียงก็เบาลงไปมาก และร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ผ่านพ้นและได้รับการลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 9 ธันวาคม 2534

    และต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรม (ที่ในช่วงนั้นว่ากันว่าเป็นพรรคตัวแทนของ รสช.) ชนะการเลือกตั้ง นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมจะเป็นนายกฯ แต่ประชาชนก็ไม่เอา เพราะนายณรงค์ มีชื่อติดบัญชีดำของสหรัฐฯ ไม่สามารถขอวีซ่าเข้าประเทศได้
    เมื่อมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา เป็นนายกฯ คนก็ด่าว่าสืบทอดอำนาจ เป็นนายกฯ คนนอกที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง (ซึ่งจริงๆ น่าจะหมายความว่า “นายกฯ ที่ไม่มาจากการเป็น ส.ส.” มากกว่า ซึ่งผมก็ไม่คิดว่าจะขัดต่อหลักประชาธิปไตยแต่อย่างใด หากนายกฯ จะไม่ได้เป็น ส.ส. มาก่อน แต่สมควรหรือไม่ ผมคิดว่าไม่สมควร) และต่อมาก็เหตุการณ์พฤษภาอย่างที่ทราบกันดีนั่นแหละครับ (อย่างไรตาม ก็น่าสงสัยต่อตัวของแกนนำในการชุมนุมตอนนั้นว่าเป็นอย่างไรกันแน่ สำหรับคนที่รู้เรื่องพฤษภา 35 น่าจะพอจำคำถามอมตะของเหตุการณ์นั้นได้ว่า “ใครเผา สน.นางเลิ้ง?” ซึ่ง พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี ได้ตอบคำถามนี้ไว้แล้วในรายการจับเข่าคุย วันที่ 19 พฤษภาคม 2550 http://video.mthai.com/player.php?id=6M1179828395M0 )
    และเมื่อ พล.อ. สุจินดา ลาออก พล.อ.อ. สมบุญ ระหงษ์ เตรียมจะเป็นนายกฯ ทั้งที่ พล.อ.อ. สมบุญ ได้เป็น ส.ส. มา ประชาชนกลับไม่ต้องการ (ซึ่งประชาชนในที่นี้ก็คงไม่พ้นประชาชนกลุ่มเดิมจากเมื่อกี้นี้แหละครับ) แต่เมื่อนายอานันท์ เป็นนายกฯ ประชาชน (กลุ่มเดิมอีกครั้ง) ก็กลับยินดีต้อนรับ “ผู้ดีศรีรัตนโกสินทร์” อย่างพร้อมเพรียง (นี่ไม่ว่าถึงการที่ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ เสนอชื่อไปครั้งแรกเป็น พล.อ.อ. สมบุญ แต่ตอนกลับมาเปลี่ยนเป็น นายอานันท์ ซึ่งก็ไม่รู้ชื่อเปลี่ยนไปตอนไหน)

    เมื่อว่ามาทั้งหมดนี้ก็เลยทำให้ผมไม่แน่ใจนักว่าจะสามารถแบ่งฝักฝ่ายเป็นกลุ่มอย่างชัดเจนได้เหมือนกับ 14 ตุลา และ 6 ตุลาหรือไม่ เพราะดูจุดยืนและอุดมการณ์ของทุกฝ่ายช่างไหลลื่นเหลือเกินกว่าจะแบ่งได้ชัดเจน

    ตอบความเห็น 352
    “ท่าทางคุณฉันไม่รู้อะไรเลย น่าจะเป็นนักกฎหมาย...”
    ผมเรียนกฎหมายครับ แต่ผมคิดว่าผมไม่ใช่นักกฎหมายครับ เพราะผมรู้สึกว่าผมไม่ค่อยชอบจริตต่างๆ ของนักกฎหมายประเทศนี้นัก รวมทั้งผมคิดว่าผมไม่อาจมีจริตเช่นเดียวกับนักกฎหมายประเทศนี้ได้

    ไม่ทราบว่าพี่บุญชิตฯ ใช่คนเดียวกับที่เข้าไปโพสต์ใน blog ของ อ. ปิยบุตร บ่อยๆ หรือเปล่าครับ?

    ปล. คงไม่มีใครว่าผมเป็นพวกชอบตีความอะไรให้เป็น politicise ไปซะหมดนะครับ (ล้อเล่นนะครับ ^^;)
    ปล.2 ตอนช่วงพฤษภา ผมยังเด็กมาก ถ้าหากว่า ท่านไหนที่มีความทรงจำหรือร่วมเหตุการณ์นั้นมา จะแสดงความเห็นก็ยินดีน้อมรับความเห็นครับ (ไม่ว่าจะเพิ่มเติมหรือแย้งก็ตาม)
    ปล.3 อาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งที่ผมนับถือ ได้เคยบอกผมว่า “ประวัติศาสตร์นั้นมีเรื่องจริงเพียงแค่ 40% เท่านั้น อีก60% เป็นเรื่องที่แต่งโดยนักประวัติศาสตร์” ดังนั้น ผมจึงตีความต่อเอาเองว่า ประวัติศาสตร์ไม่อาจเป็นเรื่องจริงแท้เพียงหนึ่งเดียวได้ แต่ต้องมีการถกเถียง และวิพากษ์เชิงประวัติศาสตร์ ตีความจากหลักฐาน (แต่ไม่ใช่การยกเมฆโดยไม่มีหลักฐาน) การผูกขาดประวัติศาสตร์ว่าเป็นเรื่องจริงแท้เพียงหนึ่งเดียวแบบประเทศบางประเทศ ในความเห็นผมจึงเท่ากับเป็นการทำลายประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นแล้ว นักประวัติศาสตร์จึงไม่อาจที่จะ conservativeได้ครับ เพราะถ้านักประวัติศาสตร์ conservative ก็คือการฆ่าประวัติศาสตร์ดีดีนี่เอง (แต่ก็ไม่ใช่วิพากษ์แล้วเปลี่ยนประวัติศาสตร์มันอยู่ทุกวันนะครับ ^^)


    จากคุณ : ฉันไม่รู้อะไรเลย (ฉันไม่รู้อะไรเลย) - [ 22 ก.ย. 50 21:03:04 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 371

    ขออนุญาตเอาฎีกาที่พูดถึงเรื่องไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ ที่บทความของอ.สมชาย อ้างไว้มาลงให้ดูนะครับ (ความเห็นที่ 218) แต่ขออนุญาต ลบชื่อ จำเลยออก เพราะไม่อยากจะทำให้ใครเดือดร้อนนะครับ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1294/2521 พนักงานอัยการกรมอัยการ     โจทก์
                                                   นายXXX     จำเลย

             โจทก์ฟ้องว่า มีผู้อภิปรายเรื่องเกี่ยวกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์และเรื่องการต่อต้านราคาสินค้าที่บริเวณท้องสนามหลวง เมื่อผู้อภิปรายได้ยุติการอภิปรายและเปิดแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี ประชาชนยืนตรงแสดงความเคารพพระมหาก... จำเลยได้บังอาจกล่าวถ้อยคำว่า "เฮ้ยเปิดเพลงอะไรโว้ย ฟังไม่รู้เรื่อง" และจำเลยมิได้ยืนตรง เป็นการดูหมิ่นพระมหาก... (พระบาทสม...)และเป็นการแสดงอาการด้วยความไม่เคารพนบนอบต่อพระมหาก...ต่อหน้าประชาชน ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
             จำเลยให้การปฏิเสธ
             ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำคุก 2 ปี
             จำเลยอุทธรณ์
             ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
             จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
             ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันเวลาเกิดเหตุมีการอภิปรายที่ท้องสนามหลวงกลุ่มศูนย์นิสิตนักศึกษาอภิปรายปัญหาเรื่องข้าวสารแพงอยู่ทางด้านทิศเหนือกลุ่มของนายผัน วิสูตรอภิปรายเรื่องการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่ทางด้านทิศใต้ ด้านวัดพระแก้ว จำเลยฟังกลุ่มนายผันอภิปราย เมื่อนายผันปิดอภิปรายและเปิดแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี ประชาชนที่ฟังการอภิปรายทุกคนได้ยืนตรง ขณะที่เพลงสรรเสริญพระบารมียังไม่จบ จำเลยได้กล่าวถ้อยคำว่า"เฮ้ย เปิดเพลงอะไรโว้ย ฟังไม่รู้เรื่อง" และจำเลยมิได้ยืนตรง
             ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงในการพระราชพิธีหรือพิธีการต่าง ๆ เพื่อถวายพระเกียรติและถวายความเคารพแด่องค์พระมหาก...โดยเฉพาะคดีนี้ประชาชนที่ไปฟังอภิปรายย่อมเข้าใจว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เปิดขึ้นเป็นการถวายความเคารพแด่พระบาทสมเด็จพระ...พระมหาก...ของไทยองค์ปัจจุบัน จึงได้ยืนตรงทุกคน จำเลยเป็นนักเรียน...วิทยาลัย...ยอมต้องรู้และเข้าใจดีกว่าประชาชนธรรมดาสามัญ การที่จำเลยมิได้ยืนตรงเช่นประชาชนคนอื่นในขณะที่เพลงสรรเสริญพระบารมีเปิดขึ้น ทั้งยังบังอาจกล่าวถ้อยคำว่า "เฮ้ย เปิดเพลงอะไรโว้ย ฟังไม่รู้เรื่อง" เช่นนี้ เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาที่จะดูหมิ่นพระมหาก... ฯลฯ
             พิพากษายืน


    ( จรัญ สำเร็จประสงค์ - พิสัณห์ ลีตเวทย์ - แถม ดุลยสุข )

    ขออธิบายบริบททางประวัติศาสตร์เล็กน้อย คือ คดีนี้เกิดขึ้นประมาณ ปลายปี 17 (ตัวเลขอาจคลาดเคลื่อนเล็กน้อยเพราะหนังสือไม่ได้อยู่กับตัว) ซึ่งเป็นภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาไปแล้ว และเป็นช่วงที่กระแสการโจมตีเรื่อง "ขวาพิฆาตซ้าย" เป็นไปอย่างรุนแรงและแหลมคมยิ่ง ที่เหลือ...(เอาไว้ก่อนถ้ามีเวลาหาหนังสือจะนำมากล่าวถึงครับ)

    ที่เหลือเคยพูดไว้แล้ว ไม่อยากพูดอีก

    ปล. บทความของ อ.สมชาย อ้างเลขฎีกาผิดเล็กน้อยนะครับ คือ 1294/2541 ซึ่งจริงๆ เป็น 1294/2521 (แต่ก็ไม่เป็นสาระสำคัญเท่าใดนักครับ)


    จากคุณ : ฉันไม่รู้อะไรเลย - [ 22 ก.ย. 50 21:30:16 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 372

    อ่านแล้วก็ได้แต่ถอนใจ.. -_-'

    จากคุณ : ว่านน้ำ - [ 22 ก.ย. 50 23:01:41 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 373

    พี่Sa-idianครับ ยิ่งฟังยิ่งชอบครับ จะขอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะที่ว่า จะรังเกียจไหมครับ

    จากคุณ : NiGht pRincE - [ 23 ก.ย. 50 04:25:29 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 374

    ถึงคุณฟ้าสีครามใน ความคิดเห็นที่ 368

    สมมติว่ามีการประชุมชาวบ้านของหมู่บ้านแห่งหนึ่งอยู่
    กำนันที่เป็นประธานในวันนั้นลุกขึ้นกล่าวว่า "ทางใต้เกิดภัยสึนามิ ขอให้พวกเราลงขันกันไปช่วย"
    พวกชาวบ้านที่ได้ฟังก็พากันคิดว่า เิงินเก็บพวกตนมีอยู่ไม่กี่พันจะบริจาคเท่าไรดีล่ะ
    ฉับพลันผู้ใหญ่บ้านที่รู้กันดีว่าเป็นเจ้าของที่ดินมหาศาลและเป็นนายทุนโรงสีต่างๆ ในละแวก ซ้ำยังมีทรัพย์สินมหาศาล ลุกขึ้นประกาศว่า "ข้าจะบริจาคทีเดียวเลยแสนนึง และขอให้ลูกบ้านช่วยๆกัน"
    ทีนี้ชาวบ้านก็อิหลักอิเหลื่อกันใหญ่ เอาไงดีหว่าผู้ใหญ่บ้านนำก่อนแล้ว ถ้าไม่บริจาคเลยเดี๋ยวจะหาว่าหมู่บ้านของเราเห็นแก่ตัว ชาวบ้านเลยลงขันกันไปคนละร้อยบ้างสองร้อยบ้่าง บางคนกลัวคำครหาเลยบริจาคไปเกือบพันก็มี


    จากเรื่องข้างต้นผมขอถามคุณฟ้าสีครามว่า

    ใครกันที่เป็นผู้เสียสละ
    ก.ผู้ใหญ่
    ข.ชาวบ้าน
    ค.ถูกทุกข้อ
    ง.ผิดทุกข้อ

    รอคำตอบนะ

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 50 10:10:56

    จากคุณ : - (อัศวินม้าเขียว) - [ 23 ก.ย. 50 10:08:56 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 375

    ไม่ได้เข้ามาซะหลายวัน  ก่อนหน้านี้เคย post ข้อความแล้วหาย ก็เลยเลิก post ไปพักนึง



    เรื่องความร่ำรวยของสถาบันที่ Forb จัดอันดับมานี่ ผมก็ไม่รู้ว่าเค้าจัดจากอะไร เชื่อถือได้แค่ไหนนะครับ  แต่คิดว่าที่มีมากๆ นี่คือมาจาก สำนักงานทัพย์สินฯ  เป็นหลักมั๊ง  เพราะสำนักงานทรัพย์สินฯ เนี่ย ถือครองหุ้นของ บ. ต่างๆ ธ. ต่างๆ ไม่น้อยเลย แถมยังมีที่ดินอีกมากมาย ที่มีมูลค่าสูง  ทำเลดีๆ ให้เช่า ซึ่งแค่ตีมูลค่าทรัพย์สินก็สูงมากแล้ว แต่ที่ดินมูลค่าสูงเหล่านี้ ก็ไม่ได้ให้เช่าแพงๆ ไปซะทั้งหมดนะครับ    ยังมีหลายๆ ที่ ที่เช่ากันมาหลายชั่วคนแล้วในราคาที่ถูกมาก  มีชุมชนแบบนี้หลายที่ในกรุงเทพนะครับ ที่ปลูกบ้านเรือนเช่าที่ทรัพย์สินฯอยู่



    ถ้าอยากจะให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินหล่านี้  อยากให้เปิดเผย  ในมุมแบบกลางๆ ผมสงสัยว่าเราจะอยากรู้ไปทำไมครับ ไหนๆ  นี่ก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของเราหรือของรัฐอยู่แล้ว  แต่เป็นเสมือนสินส่วนตัวของบุคคลหรือสถาบัน



    เฉลียวกระทิงแดง หรือเจริญเบียร์ช้างก็มีทรัพย์สินไม่ได้น้อยกว่านี้เลย ทำไมไม่ถูกเรียกให้เปิดเผยบ้างหละครับ ?  ทรัพย์สินใครก็ตามที่มีมากๆ ไม่ว่าของใคร ก็ดูดกลืนมาจากผลผลิตมวลรวมทั้งหมดเหมือนกัน     ดังนั้นการเรียกร้องให้เปิดเผยทรัพย์สินที่สถาบันยึดครองฝ่ายเดียว  ผมว่าไม่เป็นธรรมต่อสถาบันเท่าไหร่นะครับ  




    บางคนอาจจะแย้งว่า สถาบันร่ำรวยขนาดนี้ ทำไมโครงการต่างๆ ยังอาศัยเงินจากรัฐบาลในการอุดหนุน  หรือทำไมรัฐบาลต้องถวายเงินรายปี ฯลฯ ซึ่งเป็นเงินที่มาจากภาษีของราษฏร



    ต้องมองอย่างเป็นธรรมด้วยว่าโครงการต่างๆ เหล่านั้น จัดทำขึ้นมาไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของสถาบันนะครับ แต่เพื่อประโยชน์ของราษฏรเป็นหลัก และหลายโครงการ ถ้าไม่ใช่จากพระราชดำริ สิ่งต่างๆ เหล่านั้นไม่อาจจะเกิดได้เองเลยจากระบบราชการของเรา  โครงการเหล่านี้เป็นเหมือนทางลัดในการแก้ปัญหาหลายๆ อย่างที่ไม่อาจพึ่งหาจากระบบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพที่เราประสบอยู่      และนอกจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับ ก็ไม่มีใครที่สามารถลัดขั้นตอนแบบนี้ได้อีก  




    ตัวอย่างนึงที่ผมได้ใช้ประโยชน์เป็นประจำ คือโครงการถนนลอยฟ้าจากปิ่นเกล้าไปออกถนนบรมราชชนนีครับ  ถ้าโครงการนี้ไม่ได้มาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาจราจรให้คนย่านนั้น  ถนนนี้คงไม่เกิด  หรือถ้าเกิดจากรัฐเอง คงมีการให้สัมปทาน ผมคงต้องเสียค่าผ่านทาง   นี่คือผลประโยชน์โดยตรงที่ผมได้รับ มองเห็นชัดๆ




    เรื่องการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันที่หลายๆ คนเรียกร้องกัน  เราต้องการให้วิพากษ์ได้ขนาดไหนหละครับ  ที่จะเหมาะสม ผมคิดไม่ออกเหมือนกัน หลายๆ คนก็คิดไม่ออก ยิ่งชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการบริการจริงๆ ยิ่งคิดไม่ออก พอคิดไม่ออกก็เลยบอก งั้นใช้แบบเดิมไปก่อนดีกว่า  เพราะอย่างน้อยเอามาใช้เล่นงานคนที่คิดไม่ตรงกันเพื่อรักษาสถานภาพตัวเองไว้ได้




    หรือการอ้างว่าคนนั้นคนนี้หมิ่นฯ หนะ แล้วใช้กระบวนการกฏหมายจัดการนั้น เป็นฝีมือของกลุ่มคนชั้นปกครองที่ใช้กฏหมายนี้ในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามเป็นส่วนใหญ่โดยเอาสถาบันมาอ้างมากกว่านะครับ  ยังไม่เห็นสถาบันออกมาฟ้องร้องคนนั้นคนนี้เองซักที  เคยเห็นแต่พระราชทานอภัยโทษให้หลังคดีสิ้นสุด  ทำไมไม่ลองมองว่าสถาบันเองก็ทำอะไรไม่ได้มากหรอกครับ เวลาเกิดเหตุการณ์เช่นนี้  ด้วยบทบาทหรือสถานะเองในปัจจุบัน



    เราถกกันด้วยเหตุผลต่อดีกว่านะครับ  กระทบกันนิดๆ หน่อยๆ ไม่เห็นต้องไปกระทบกลับเลย   สำหรับคนที่ความสำคัญของสถาบันนี้ในใจคุณคลอนแคลนไปมากแล้ว  การที่คนที่เค้ายึดมั่นหนียวแน่นจะทนไม่ได้  เผลอหลุดอารมณ์ออกมาบ้าง น่าจะยอมรับและเข้าใจได้นะครับ คุณกำลังทวนกระแสและความเชื่อที่คนจำนวนไม่น้อยถูกสอนให้เชื่อมั่นมาตั้งแต่เด็กอยู่นะครับ


    จากคุณ : ผู้ชายหลายรัก - [ 23 ก.ย. 50 10:30:13 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 376

    ถึง คุณ อัศวินม้าเขียว

    การเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ แบ่งปัน หรืออาจจะเรียกว่าการเสียสละ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อช่วย แบ่งเบาทุกขเวทนาของเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจ หรือ จากคำชักจูง ก็น่าจะเป็นผู้เสียสละทั้งสิ้น  ผมอ่านข้อความของคุณแล้วเกิดความสงสัย

    ที่ผมยกตัวอย่าง จากความเห็นที่แล้ว " ปีที่แล้วในช่วงเวลาประมาณนี้ ถ้ายังจำได้ เกิด อุทกภัยอย่างหนัก ประชาชน หลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพ ได้รับผลกระทบ ในเมื่อรัฐบาล แก้ปัญหาไม่ได้ ใครกันที่เสียสละถ่ายเทน้ำที่เป็นปัญหา เข้าที่ดินตัวเอง เพื่อบรรเทาทุก ให้ประชาชน เพื่อไม่ให้ น้ำลงมาท่วมกรุงเทพ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น พระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระราชภาระกิจได้ประเสริฐและสมบูรณ์แบบ เท่าที่ ประมุข ของประเทศ และ พระราชาที่ประเสริฐ พึงกระทำ "

    ประเด็นที่ผมยกตัวอย่าง ต่างกับที่คุณยกมา โดยสิ้นเชิง ทั้งโดยเจตนารมณ์ และความหมาย
    ผมไม่ได้หมายความว่า ผู้อื่นที่เสียสละทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังใจ ไม่ได้เป็นผู้เสียสละ ผมแค่ยกตัวอย่างเรื่องดีๆ ของคนคนหนึ่ง ที่ปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะ ประมุขของประเทศที่น่าชื่นชม เผื่อคนที่มีใจ อคติ จะได้มองเห็นด้านดี ของพระองค์ท่านบ้าง

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 50 15:07:55

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 50 15:06:40

    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 23 ก.ย. 50 11:39:32 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 377

    สมมุติว่า มี คนอยู่สามคนนะ ชื่อหนึ่ง สอง สาม
    "เฮ้ย คนชื่อสามเพื่อนนายเหรอ" หนึ่งถามสอง
    "เออ ทำไมอ่ะ" สองตอบ
    "ไม่รู้ดิ รู้สึกนิสัยไม่ค่อยดี ไม่ค่อบชอบหน้าอ่ะ"หนึ่งบอก
    "กับคนอื่นไม่รู้ แต่สามดีกับเรามากนะ นายไม่ชอบก็เรื่องของนาย มันเพื่อนเรา"
    "นายก็เพื่อนเรา แต่เราไม่ชอบสาม แต่ก็ช่างมันเหอะ กินเหล้าดีกว่า" หนึ่งบอก
    หนึ่งกับสองก็ไม่พูดถึงเรื่องสามอีกเลย และก็ยังซี๊กันเหมือนเดิม
    ถามว่าใครผิด
    1 หนึ่งผิด เพราะมองแต่ด้านไม่ดีของสาม ไม่มองด้านดี
    2.สองผิด เพราะเห็นแแต่ด้านดีของสาม ไม่มองด้านไม่ดี
    3.สามผิด เพราะมีทั้งด้านดีและไม่ดี

    ตอบหน่อยเหอะ


    จากคุณ : ช่างไทย - [ 23 ก.ย. 50 16:20:55 A:124.121.121.168 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 378

    แหะๆ ตามประเด็น ไม่ทัน..........แต่เอาเป็นว่า ขอเป็น กองเชียร์แล้วกันครับ(ฮา).........เข้ามาสนับสนุน คุณ "ฉันไม่รู้อะไรเลย" "ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร" "ลูกแม่โดม"และคุณ "บุญชิตฯ (Players)".........คนหลังนี่ติดตามอ่านบ่อยๆ

    สถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ ผมว่าต้องใช้ ทฤษฏี วิภาษวิธี (diarectic) มาวิเคราะห์จะเห็นได้ชัดเจน

    1.ทุกสิ่งล้วนมีการเปลี่ยนแปลง
    2.ทุกสิ่งล้วนมีความขัดแย้ง
    3.ความขัดแย้งภายในจะพัฒนาและเปลี่ยนแปลง
    4.การเปลี่ยนแปลงจะเกิดการเปลี่ยนแลงอย่างช้า(เชิงปริมาณ)ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน(เชิงคุณภาพ)


    จากคุณ : atk - [ 23 ก.ย. 50 16:33:48 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 379

    กลับมาตอบคุณฟ้าสีครามครับ
    ผมขอสนับสนุนคุณตรงที่บอกว่า

    "การเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ แบ่งปัน หรืออาจจะเรียกว่าการเสียสละ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อช่วย แบ่งเบาทุกขเวทนาของเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจ หรือ จากคำชักจูง ก็น่าจะเป็นผู้เสียสละทั้งสิ้น"

    ครับผมก็เถียงไม่ได้(และไม่เถียง) ที่่ว่าท่านเป็นผู้เสียสละ
    แต่ให้คิดอีกทีหนึ่ง จากตัวอย่างข้างต้นของผม ผมถามว่าผู้ใหญ่ที่บริจาคมากกว่านี่ถือว่าเ็ป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่กว่าชาวบ้านที่บริจาคน้อยหรือเปล่า
    ผมไม่ได้บอกว่าผู้ใหญ่้ไม่มีดี แต่ผมก็ไม่ค่อยเห็นใครยกย่องชาวบ้านกันสักเท่าไร ทั้งที่การเสียสละของเขามัน "คิดราคา" กับเขามากกว่ากับผู้ใหญ่ซะอีก
    (คนที่มีที่ดินเป็นแสนไร่บริจาคที่ให้น้ำท่วมบางส่วน กับคนที่ทั้งชีวิตมีที่ดินไม่ถึงไร่แต่บริจาคที่ให้น้ำท่วมเหมือนกัน คนไหนได้ผลกระทบมากกว่ากันครับ แล้วทำไมคนส่วนมากจึงชอบยกย่องแต่คนแรก)

    ผมว่ากระบวนการกลายเป็น anti-roya.. นี่มันเกิดเพราะอย่างนี้ครับ
    1.สังคมยกย่องบูชาท่านกันมากเกิน
    2.นาย ก เป็นคนหนึ่งในสังคม ที่เคารพท่าน
    3.นาย ก รู้สึกว่ามีการยกย่องมากเกินไป
    4.สังคมบอกว่านาย ก ไม่ควรคิดเช่นนั้น
    5.นาย ก หมั่นไส้สังคม
    6.นาย ก เริ่มแอนตี้ท่าน
    7.สังคมต่อว่านาย ก
    8.นาย ก แอนตี้ท่านหนักขึ้น


    จากคนที่เคยเคารพ มาเจอการเคารพแบบไร้สติ และที่สำคัญคือบอกว่าไม่เคารพไม่ได้
    อันก็กลายเป็นแอนตี้ได้เหมือนกัน

    แก้ไขเมื่อ 24 ก.ย. 50 03:39:49

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 50 19:42:42

    จากคุณ : -"- (อัศวินม้าเขียว) - [ 23 ก.ย. 50 19:40:42 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 381

    ถึงคุณผู้ชายหลายรักใน ความคิดเห็นที่ 375

    ผมว่าที่หลายคนต้องการให้มีการตรวจสอบเพราะอย่างนี้ครับ

    1.ทรัพย์สินมหาศาลนั้นเสียภาษีหรือไม่
    2.ทำไมสนง.ทรัพย์ฯ จึงคงสภาพกึ่งรัฐ-กึ่งเอกชนได้(อาศัยความได้เปรียบแบบรัฐ แต่กอบโกยแบบเอกชน)

    มั้งนะ


    จากคุณ : อัศวินม้าเขียว - [ 23 ก.ย. 50 19:52:50 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 382

    เรียนคุณ อัศวินม้าเขียว

    ในกระทู้นี้ เราพูดถึง ในหลวงใช่หรือไม่ ?? หรือพูดถึง ชาวบ้าน ตาดำๆ คุณต้องแยกแยะให้ออกเสียแล้วครับ

    ที่คุณว่า
    >>>
    ผมว่ากระบวนการกลายเป็น anti-roya.. นี่มันเกิดเพราะอย่างนี้ครับ
    1.สังคมยกย่องบูชาท่านกันมากเกิน
    2.นาย ก เป็นคนหนึ่งในสังคม ที่เคารพท่าน
    3.นาย ก รู้สึกว่ามีการยกย่องมากเกินไป
    4.สังคมบอกว่านาย ก ไม่ควรคิดเช่นนั้น
    5.นาย ก หมั่นไส้สังคม
    6.นาย ก เริ่มแอนตี้ท่าน
    7.สังคมต่อว่านาย ก
    8.นาย ก แอนตี้ท่านหนักขึ้น

    ผมว่าผมก็เป็นคนหนึ่งในกระบวนการแบบนี้หละครับ
    จากคนที่เคยเคารพ มาเจอการเคารพแบบไร้สติ และที่สำคัญคือบอกว่าไม่เคารพไม่ได้
    อันก็กลายเป็นแอนตี้ได้เหมือนกัน <<<

    แบบนี้คุณควร แอนตี้ คนที่เคารพท่านแบบไร้สติ หรือ แอนตี้  "ท่าน" ที่ถูกคนเคารพ กันครับ


    โครงการพระราชดำริ ถนนลอยฟ้า ตรงปิ่นเกล้า บรมราชชนนี ที่คุณชายไร้รัก กล่าวถึง ผมก็ได้ใช้ประจำ แก้ปัญหารถติดของคนกรุงเทพ ได้มากทีเดียว คุณๆในที่นี้ คงได้เคยประทับรอยยางล้อรถกันมาบ้าง
    แปลกหรือไม่ มีคนมาพูดถึงด้านดีๆ กลับไม่มีคนสนใจ  ทีเรื่องจริงหรือ เท็จยังไม่รู้ ที่ฝรั่ง จัดอันดับไว้ในเวปเมืองนอก กลับควาญหากันมาเป็นหลักฐาน สนับสนุนกันยกใหญ่ 175000 ล้านบาท เค้าเอาเกณฑ์ จากไหนมาประเมิณ กัน

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 50 20:30:04

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ย. 50 20:28:45

    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 23 ก.ย. 50 20:07:25 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 383

    คุณฟ้าสีคราม 382 ครับ
    มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย


    จากคุณ : กรรมาชิลล์ - [ 23 ก.ย. 50 21:26:24 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 384

    เรียนคุณฟ้าสีคราม (ขอตอบอีกครั้ง ก่อนที่จะไม่เข้าพันทิพไปอีกเกือบอาทิตย์)

    ที่คุณว่า
    "ในกระทู้นี้ เราพูดถึง ในหลวงใช่หรือไม่ ?? หรือพูดถึง ชาวบ้าน ตาดำๆ คุณต้องแยกแยะให้ออกเสียแล้วครับ"

    ตรงนี้ผมไม่เข้าใจจริงๆ ครับ ว่าคุณต้องการสื่ออะไร และหมายถึงอะไร ถ้าหมายถึงให้แยกท่านออกจากชาวบ้านตาำดำๆ ในกรณีแก้มลิงกันน้ำท่วมกทม. เห็นจะแยกไม่ได้ล่ะครับ เพราะไม่ใช่ท่านเท่านั้นที่สละที่ส่วนตัวให้น้ำท่วม เพราะชาวบ้าน"ตาำดำๆ" อีกไม่รู้เท่าไรที่ต้องสละที่ (ที่ๆตนจะใช้ทำไร่ทำนา) สละเพื่อให้คนกรุงเทพปลอดภัยจากน้ำท่วม

    อีกกรณีที่คุณว่า
    "แปลกหรือไม่ มีคนมาพูดถึงด้านดีๆ กลับไม่มีคนสนใจ"
    ขอบอกว่าแม้จะแิอนตี้อย่างที่สุด(ซึ่งผมคงไม่ใช่) ก็สนใจครับว่าท่านมีความดี
    แต่ความดีนั้นถูกพวกคลั่งฯ ยกย่องเชิดชูเสียเกินเลยจนท่านจะกลายเป็นบางสิ่งที่เหนือมนุษย์ไปอยู่แล้ว
    แล้วเมื่อพวกคุณพูดด้านดีเสียจนเกร่อไปหมดทั้งบ้านเมืองแล้ว พอพวกผมจะนำเสนอด้านที่ไม่ดีบ้่างกลับถูกหาว่าจ้องจับผิด ไม่มองด้านดี(ก็อย่างที่บอก ด้านดีๆ นั้นพวกคุณจาระไนมาหมดและเชิดชูจนสุดโต่งไปแล้ว) แย่ทึ่สุดก็คือกล่าวร้ายคาดโทษพวกเราอย่างเสียหาย
    แล้วอย่างนี้จะไม่ให้คนบางคนหมั่นไส้ได้หรือครับ

    บางทีการกลายเป็น anti-roya..กับการวิพากษ์มันก็กลายเป็นเรื่องเดียวกันด้วยเหตุผลฉะนี้แหละครับ

    ซึ่งถ้าคุณพิจารณาให้ดีั จะเห็นผลเสียลึกๆของลัทธิบูชาเจ้าไม่ลืมหูลืมตาได้นะครับ
    ก็ตรงที่มันทำให้คนบางคนเอียนข้อดี และโหยหาข้อเสียไง

    ตรงนี้เหมือนกับว่าสังคมมีคน 2 พวก
    1.ดูแ่ต่ด้านดี เชิดชูสุดฤทธิ์
    2.หาข้อเสียมาวิพากษ์วิจารณ์
    พวกแรกมีเกือบ 99% พวกสองมีกระจ้อยร่อย
    เราเป็นคนส่วนน้อยขนาดนี้เพื่อนำเสนออีกด้าน แล้วทำไมคุณถึงมาย้ำอยู่เสมอว่า "ทำไมไม่มองด้านดีบ้าง" มันไม่ค่อยสมเหตุผล ถ้าผมถามกลับว่า "ทำไมสังคมมไ่ม่มองด้านเสียบ้าง" นี่น่าจะมีเหตุผลกว่านะ เหมือนกับในบริษัทหนึ่งกำลังจะประเมินผู้นำ คนในบริษัุท 99 คนพูดแต่ข้อดีของผู้ำนำคนนั้น พอผมเป็นคนเดียวที่พูดข้อเสียขึ้นมา อีก 99 คนก็รุมใส่ผมว่า "ทำไมไม่มองด้านดีบ้าง" อ้าว เป็นงั้นไป พอเห็นภาพยังเอ่ย


    จากคุณ : อัศวินม้าเขียว - [ 23 ก.ย. 50 22:40:58 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 385

    ด้วยความเคารพนะครับ ผมไม่ค่อย get ประเด็นคุณ CHISWICK กับคุณ ฟ้าสีครามเท่าไหร่ ต้องการเสนออะไรเหรอครับ???

    ทำไมเราต้องตรวจสอบทรัพย์สิน...เพราะ "ท่าน" เป็นประมุขแห่งรัฐไงครับ การใช้จ่ายใด ๆ ของประมุขแห่งรัฐคือการใช้จ่ายแห่งรัฐ ซึ่งพลเมืองมีสิทธิในการ check and balance ครับ

    เรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหา...นั้น หากเรามองตามพรบ.ที่คุณฉันไม่รู้อะไรเลยมาแปะไว้ เราจะเห็นว่า   ทรัพย์สินส่วนนี้จะนำมาใช้จ่ายได้ "ตามใจ" ซึ่งโดยไอเดียแล้ว ทรัพย์สินส่วนนี้ต้องเป็นทรัพย์สินของ "รัฐ" ประมุขแห่งรัฐจะใช้ทรัพย์สินส่วนนี้นั้นต้องมีการตรวจสอบและขีดเส้นกำหนดว่า จะใช้อะไรได้หรือไม่ได้ แม้แต่ประเทศที่ประมุขแห่งรัฐเป็นประ
    ะานธิบดีอย่างอเมริกาหรือฝรั่งเศส ประมุขแห่งรัฐไม่สามารถใช้จ่ายทรัพย์สินของรัฐแบบ "ตามใจ" ได้

    ยกเว้นในรัฐที่เป็น absolute monarchy...


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 23 ก.ย. 50 22:44:44 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 386

    กลับมาอีกครั้ง ขอตอบคำถามที่ติดค้างคุณ บุญชิตฯ ไว้ก่อนก็แล้วกัน จาก #318

    ตกลงว่าระบบรัฐสวัสดิการเป็นส่วนที่พัฒนามาจากทุนนิยมหรือครับ? เพราะที่ผมเข้าใจมาตลอดคือ "ระบบทุนนิยมมีจุดแข็งในการสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานรวบรวมทรัพยากร แต่มีจุดอ่อนในเรื่องการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึง ส่วนระบบสังคมนิยมจะกลับกัน คือมีจุดแข็งในเรื่องการกระจายทรัพยากร แต่มีจุดอ่อนที่การสร้างแรงจูงใจให้รวบรวมทรัพยากร ส่วนระบบรัฐสวัสดิการเป็นการผสมผสานที่ใช้หลักบางอย่างของสังคมนิยมมาอุดจุดอ่อน ช่วยเสริมในส่วนที่ทุนนิยมตอบปัญหาไม่ได้"

    ในข้อ (3) ต้องขออภัยที่เขียนไปแล้วอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ผมหมายความว่า ถ้า "ระบบเฉลี่ยส่วนเกินบกพร่อง มีการชดเชยน้อยเกินไป" ทำให้การสะสมของคนส่วนหนึ่ง เป็นการไปติดค้างกับส่วนรวม
    ...และนั่นก็จะไปเป็นปัญหาเรื่องความไม่อิสระอย่างที่คุณว่า เพราะส่วนรวมก็จะตั้งแง่เอากับบุคคลแต่ละคนได้ว่า "ถึงเขาจะมีมาก เขาก็ไม่มีสิทธิ์ใช้มากตามสัดส่วนที่เขามี เพราะที่เขามีมากนั้นมีส่วนของคนอื่นๆ ปนอยู่ด้วย" ...ซึ่งมันน่าจะไปขัดแย้งกับหลักการทุนนิยมเรื่องการยอมรับในกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเต็มๆ

    แต่ถ้าในกรณีเช่นนั้น เราควรจะตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาไปที่การไม่ยอมรับว่าเขาควรมีสิทธิ์ใช้มากตามส่วน หรือจะปรับให้มีการชดเชยกลับมาสู่ส่วนรวมมากขึ้น แล้วถ้าเขายังมีมากอยู่แค่ไหนก็ปล่อยให้เขาใช้ไปตามเรื่องของเขาดีล่ะ?

    สรุปว่า
    - คนมีน้อยใช้น้อย ตรงนี้ไม่เป็นปัญหา
    - คนมีน้อยใช้มาก ย่อมเกิดปัญหากับตัวเขาเองและไม่ช้าก็จะพังไปเอง
    - คนมีมากใช้น้อย ไม่น่าจะเป็นปัญหา (แต่ถ้ามองตามหลักของการหมุนเวียนทรัพยากรอาจเป็นปัญหา)

    ถึงยังไงผมก็เห็นว่า ประเด็นปัญหามันน่าจะอยู่ที่ "คนทำไม่ได้รับเท่าส่วนที่เขาควรจะได้รับจริงๆ" หรือ "คนที่ทำน้อยได้น้อยอยู่แต่จริงๆ เขาควรจะมีโอกาสทำได้มากกว่านี้" มากกว่าจะอยู่ที่ "การที่คนมีมากจะใช้มากตามส่วนของเขา"

    กรณี ปารีส ฮิลตัน ผมไม่ขอวิจารณ์เพราะไม่รู้จักวงการไฮโซฝรั่ง แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากบุคลิก การวางตัว การแสดงออกบางอย่างของเขามากกว่า เศรษฐีในโลกนี้ก็มีอยู่จำนวนมาก (ไม่ต้องนับถึงระดับบิล เกตส์หรือจอร์จ โซรอสก็แล้วกัน) แต่เขาก็มีการกินอยู่และสะสมของแพงๆ กันโดยที่ไม่ค่อยมีใครไปคอยเพ่งเล็งพวกเขาในเรื่องนี้กันสักเท่าไหร่

    ทีนี้คำว่า "ความทะเยอทะยานที่ไม่สมเหตุสมผล" กับการเน้นไปที่ภาคเกษตร ผมไม่ได้บอกเลยว่าเกษตรกรไม่ควรทะเยอทะยาน ถ้าเขาอยากจะมีรายได้เพิ่ม เพื่อจะได้มีมือถือ มีรถใช้ นั่นก็เป็นเรื่องของเขาโดยแท้ และก็ไม่ใช่ว่าคนๆ นึงมาจากภาคเกษตร ก็สมควรต้องอยู่แต่กับภาคเกษตรตลอดไป
    แต่มันก็น่าคิดว่า
    "แล้วทำไมคนเราจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีศักดิ์ศรี ด้วยการทำเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงปลา ไม่ได้ล่ะ?"

    มองในภาพรวมแล้ว เราจะเลือกแก้ปัญหาที่ภาคเกษตรถูกทอดทิ้งและเสียเปรียบ ด้วยการปลุกกระแสส่งเสริมให้คน สังคมหรือประเทศดิ้นรนเพื่อหนีไปเป็น "อย่างอื่นที่ดีกว่าภาคเกษตร" เท่านั้นหรือ? หรือจะหันกลับมาใส่ใจพัฒนาภาคเกษตรให้เข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ และสังคมไปด้วย?
    ...อย่าลืมนะครับว่าสุดท้ายแล้ว งานภาคเกษตรก็คือสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตพลเมืองในโลกนี้อย่างแท้จริง และเป็นรากฐานของกลไกเศรษฐกิจทั้งหมด

    บางที "แนวคิดพอเพียง" อาจจะเป็นที่รวมของหลักการที่ดูเหมือนจะพื้นๆ จนไม่น่าสนใจ อาจจะกำลังถูกปั่นกระแสจนเฟ้อหรือถูกหยิบไปตีความตามชอบใจต่างๆ กันเพื่อรับใช้วาระ/วาทกรรมของแต่ละฝ่าย
    แต่สิ่งที่ผมมองเห็นคุณค่าในทางรูปธรรมได้ชัดที่สุดในนั้นคือ "การพึ่งตนเองในความเป็นอยู่ระดับพื้นฐานได้" นั่นแหละ


    ถึงยังไงผมก็เห็นด้วยอยู่อย่างนึงว่าแนวคิดเรื่องความพอเพียง ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องมาบังคับหรือกะเกณฑ์กันให้ใครต้องพอแค่นี้ หรือแค่นั้นเลย แต่ควรเป็นการนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การตระหนักถึงความพอเพียงจะมีประโยชน์กับตัวเขาเองโดยรวมและในระยะยาวอย่างไร มากกว่า

    อย่างที่ผมว่า "ทุนนิยม มองและแก้ปัญหาในระดับกลไก และแนวคิดพอเพียง มองและแก้ปัญหาในระดับคุณค่า" นั้น

    ความหมายคือแต่ละระบบ มันก็มี scope และ function เฉพาะของมันเอง ไม่ใช่ว่าจะต้องไปพยายามให้ระบบหนึ่งครอบงำทั้งหมด หรือต้องให้รับผิดชอบกับผลทุกส่วนที่เกิดขึ้น ทุนนิยมก็อยู่ในที่ของมัน และพอเพียงก็มีพื้นที่ใช้งานของตนเองอยู่นั่นเอง และถ้ารู้จักปรับเอาระบบต่างๆ มาเสริมกันได้ลงตัวก็จะมีความคงทน ยั่งยืนในภาพรวมทั้งหมด

    ขอแถมอีกนิดสำหรับวันนี้ ลองนึกถึงกรณีตัวอย่างที่เป็นข้าราชการ (ที่มักจะถูกจัดให้ไปอยู่ในกลุ่ม "ศักดินา") ดูบ้าง เช่นหนี้สินมากมายของข้าราชการครูที่เรามักได้ยินกัน
    พวกเขาถูกกดขี่ ถูกกีดกันโอกาสจากใครหรือ? หรือเป็นเพราะ "ความไม่พอเพียง" ของพวกเขาเองกันแน่?
    แล้วถ้าเขาพยายามนำหลักความพอเพียงมาใช้บ้าง จะเป็นอย่างไร? ตัวเขาจะเดือดร้อนมากขึ้นหรือเปล่า? จะมีศักดินาที่ไหนได้เปรียบ ได้ผลประโยชน์จากการที่เขารู้จักพอเพียงหรือไม่?


    จากคุณ : QuaOs - [ 23 ก.ย. 50 23:23:19 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 387

    นั่นน่ะซี ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่า แค่พูดด้านเสียขึ้นมา (ซึ่งที่จริงไม่ใช่การพูดด้านเสียด้วยซ้ำ แค่พูดว่าควรตรวจสอบว่ามีด้านเสียหรือไม่) แล้วก็มาแย้งว่า ทำไมไม่มองด้านดีบ้าง แย้งอย่างนี้หมายความว่ายังไง สรุปจะให้มีแต่ด้านดี อย่าไปคาดเดาหรือมองว่ามีข้อเสียเด็ดขาด ข้อมูลที่จะชี้นำไปสู่ด้านเสีย ก็ห้ามสนใจ อย่างนั้นใช่ไหม ถ้าแย้งอย่างนี้ ก็สรุปได้อย่างนี้ สรุปเป็นอื่นไม่ได้ ถ้าต้องการผลสรุปอย่างนี้ ก็ไม่เป็นไร เป็นเสรีภาพในความเชื่อ แต่อย่าบอกนะว่าตัวเองเป็นคนมีเหตุผล

    จากคุณ : เอี้ยเสียวเฮียบ - [ 23 ก.ย. 50 23:28:20 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 388

    เรียน คุณ อัศวินม้าเขียว

    เรียนคุณอีกครั้ง ที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น ไม่ได้หมายความว่า ท่านเสียสละ แล้วชาวบ้านตาดำๆ ไม่เสียสละ พูดไปหลายรอบแล้ว ว่าผมแค่ยกตัวอย่างด้านดี ของบุคคล คนหนึ่งเท่านั้น ที่พวกคุณได้กล่าว ด้านไม่ดี มาหลายๆ ด้าน ข้างต้น ผมกล่าวถึง A พวกคุณก็กล่าวถึง A  ไม่ได้ กล่าว ถึง B C D .. Z เลย ผมก็ได้อธิบายไว้ชัดเจนที่สุดแล้ว ไม่ทราบว่า คุณ สงสัยอะไรอีก

    ผมสนับสนุน และก็ เห็นด้วยที่ว่า ไม่ควรยกบูชา จนลายเป็น เทพ เป็นเทวะ จนเกินสภาพความเป็นจริง พระองค์ท่าน ก็ทรงเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ต่างกันจาก ประชาชนอย่างเรา ตรงที่ ทรงมีพระราชฐานะ เป็นพระมหา... และเป็นประมุขของประเทศ ผมถึงว่า แบบนี้ผิดที่ คนยกยอปอปั้น จนเกินเหตุ เพื่อประโยชน์สิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือ ผิดที่คน ที่ถูกยกยอปอปั้นกันแน่

    เรียนคุณ ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร   ผมยอมรับว่า ไม่มีความรู้ เรื่องนั้นเลย เท่าที่ทราบมาอย่างคร่าวๆ พระมหา... ไม่ได้ทรงอยู่ในฐานะที่ต้องเสียภาษี หรืออย่างไรไม่ทราบ  ถ้าอยากให้ เสียภาษี คุณต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว กระมัง หรือไม่ก็เรียกร้องให้ก่อตั้งองค์กร ขึ้นมาตรวจสอบ การใช้จ่าย ของสถาบัน แบบนี้ถึงจะเห็น ผลกว่าครับ ดีกว่ามาเรียกร้องกันอยู่ในนี้ มันไม่ได้ สัมฤทธิ์ผลอะไรขึ้นมา

    ถามอีกนิด เงินที่ ประชาชน พร้อมใจกัน ทูลเกล้าฯ ถวายกันปีนึง อย่างมากมาย เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศรัย แบบนี้ สามารถใช้สอยได้อย่างตามใจหรือไม่ครับ

    ด้วยความเคารพ


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 23 ก.ย. 50 23:51:44 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 390

    อ่านมาก็งงๆๆ ทั้งได้ความรู้ ทั้งได้ความงง ๆๆๆๆๆๆๆ
    แต่ก็ดีมีทั้งค้าน ทั้งสนับสนุน ไม่ใช่ไปในแนวทางเดียวกันซะหมด

    เรามะได้เรียนสังคม ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมืองการปกครองมาซะด้วยซิเลยไม่ค่อยรู้จักแนวคิดทฤษฏีทั้งหลาย...... บางครั้งทฤษฎีเนี่ยมาใช้กับคนไทยไม่ได้นะคนไทยเนี่ยเหนือความคาดหมายเหลือที่จะเดา บางคนเค้าก็ว่า (บางคนนะ) คนไทยลืมง่าย เห่อฝรั่ง เห่อตะวันตก เอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใครก็ไม่รู้ว่าทฤษฏีตะวันตกกับวัฒนธรรมตะวันออกเนี่ยจะปั่นเข้ากันได้มั้ยวานท่านผู้รู้บอกเราเอาบุญเถิด

    สังคมเปลี่ยนไป ความคิดคนก็เปลี่ยนไป ตามระยะเวลา (มั้ง) เรียนมามากก็เริ่มมีความคิดใหม่ๆมาก .....หัวนอกก็มาก....เสรีภาพก็มาก.....สิทธิก็มาก...ศักยภาพก็มาก...วิ่งตามหาความเท่าเทียมกันทุกวี่ทุกวัน....ลืมรากเหง้าของตัวเองซะง้าน
    สังคมชนบท---->วิ่งหาสังคมเมือง --->วิ่งไปวิ่งมาบินไปนอกประเทศ--->วิ่งไปวิ่งมาเอ๊าๆๆ ไปอยู่นอกโลกซะแร้ววววววววววว...เฮ้อ มนุษย์หนอ คนหนอ
    ไม่มีความพอดีตามหาความทัดเทียม ความทันสมัยกันจัง

    ทุกอย่างมันก็อยู่ที่ความพอดี...โลกมีวิวัฒนาการเนอะมีการเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนบทบาท สังคมไทยฉันใดก็ฉันนั้นเปลี่ยนผันไปตามโลกตามเวลา ลมฟ้าอากาศ มีแดดก็ร้อน พอฝนตกก็หนาว ตกมากก็น้ำท่วมมาก ตกน้อยก็แล้ง สดุดซักนิด คิดซักหน่อยคนไทยส่วนใหญ่ (ส่วนใหญ่) ก็มีอาชีพเกษตรกรรมยังยึดติดกับค่านิยมเดิมๆ ที่ได้รับการปลูกฝังกันมาดั้งเดิมตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย....บรรพบุรุษตั้งแต่จำความได้ว่าสถาบันใดควรเคารพ และเทดทูล สิ่งใดดีหรือไม่ดีก็เก็บไว้ในใจ บางครั้งการมีศูนย์รวมจิตใจมันก็ดีไม่ใช่หรือ....เราๆๆ...ท่านๆๆๆ

    ..............เสรีภาพบางทีก็ควรมีขอบเขต...............ความคิดน่ะห้ามกันไม่ได้ มองดูรอบๆ ตัวเราอย่าไปมองไกล อย่าไปเปรียบเทียบกับใคร..ทิศนี้ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่ทิศตะวันตก อย่าไปเลียนแบบเค้าเลย เด๋วนี้คนน่ะแสวงหาแต่ค่าทางวัตถุไม่มองหาค่าทางจิตใจ แทนคุณแผ่นดินดีกว่า

    เรายังไม่อยากให้ใครมารู้เรื่องของเรา แระเราจะไปรู้เรื่องของเค้าทำไม

    เมื่อฟ้าส่งมาเกิดก็เลือกที่จะเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะทำความดีได้

    เคยมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าเลือกได้จะไม่เกิดมาเป็นแบบนี้เงินทองไม่ต้องการ ต้องการความสุขอิสระในชีวิตเท่านั้นเพียงแต่ท่านๆๆ ไม่เคยรู้ ไม่ได้รู้ และก็ไม่มีโอกาสที่จะรู้


    จากคุณ : ป.ปลา - [ 24 ก.ย. 50 00:11:57 A:202.14.117.33 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 391

    ผมก็ได้เห็นอะไรชัดเจนขึ้นระดับนึงแล้วครับ
    ความจริงจะเป็นอย่างไรให้ผู้อ่านกระทู้นี้ อ่าน-เปรียบเทียบ-ตัดสินเองแล้วกัน


    จากคุณ : อัศวินม้าเขียว - [ 24 ก.ย. 50 00:12:37 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 392

    คนเรา มีทั้งด้านดี และไม่ดีบ้างปะปนกัน ที่ผมแย้งว่าให้มองด้านดีบ้าง ก็ไม่เห็นผิดตรงไหน หรือคุณ เอี้ยเสียวเฮียบ มองแต่ด้านเสีย ของคน ข้อมูลที่ชี้นำไปสู่ด้านเสีย ได้พิจารณาตรวจสอบแล้วหรือเปล่า ว่าจริงไม่จริง  ทุกคนมีสิทธิรับรู้ข่าวสารข้อมูล ครับ แต่ควรจะชั่งน้ำหนักข้อมูลนั้นเสียก่อน ไม่ใช่มีแค่ข้อมูล ออกมาจริงเท็จไม่รู้ บางท่านก็เหมารวมไปว่าจริง โดยไม่ได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ คนมีเหตุผลน่าจะแยกเยอะออก

    * ข้อมูลที่ผมอ้างถึง หมายถึง 175000 ล้านบาท สิ่งเดียวเท่านั้น ไม่ได้อ้างถึงสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากนี้ ที่กล่าวมาข้างต้น ก็เริ่มจากสิ่งนี้ สิ่งเดียว เดี๋ยวจะเกิดการเข้าใจประเด็นผิด *

    ด้วยความเคารพ และ ราตรีสวัสดิครับ ( พักผ่อนเยอะๆ ร่างกายจะได้สดใสนะครับทุกคน )


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 24 ก.ย. 50 00:27:35 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 393

    เจ้าตัวเลขคือต้นเหตุแห่งปัญหา รึป่าวเนี่ย?????

    ฝรั่งว่าเค้าว่ามีตัวเลขเยอะใช่มั้ย คนไทอย่าเฮาๆ ขอฟันธงว่า

    ตัวเลขก็คือตัวเลขบางทีตัวเลขที่เค้าว่าดูเยอะแยะ

    แต่.......บาง......ในบัญชีมีตัวเลขไม่ถึงแปดหลักก็มีนะท่านๆๆๆ

    อย่าเชื่อคำพูดของคนโดยการฟังเพียงอย่างเดียว (เอ๊ะ จะใช้ได้ปะเนี่ย)

    อาวสมองปายคิดซิว่าจะทำยังไงให้คนไทยได้กินข้าวอิ่มทุกๆๆบ้านดีกว่า


    จากคุณ : ป.ปลา - [ 24 ก.ย. 50 00:46:36 A:202.14.117.33 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 395

    1. constitutional monarchy กำหนดบทบาทของพระมหา... ต่างกันไป แต่ของไทย ระหว่าง นิตินัย กับ พฤตินัย ยังสับสนอยู่มาก หลักเกณฑ์หลักการใช้ไม่ได้ เพราะมันเหมือนมีมือมืดๆ เข้ามายุ่งเกี่ยวตลอดเวลา ซึ่งมือมืดๆ นี่ ก็ไม่รู้เป็นของใครกันแน่ คนนั้นจริงๆ หรือ พวกหาผลประโยชน์จากคนๆ นั้น ไม่มีใครทำให้เคลียร์ได้ เลยเอาคุยกันที่ลับแทน
    ประเด็นเรื่องความร่ำรวย หรือ เศรษฐกิจพอเพียง ไม่น่าจะใช่เรื่องหลัก เรื่องหลักคือการวิพากษ์วิจารณ์และความโปร่งใส
    (แต่ถ้าจะกลับไปเป็นแบบ Absolute monarchy ผมก็ไม่ขัด แต่อยากให้มันเคลียร์ๆ แค่นั้นเอง)

    2. บางคนคลั่งตัวบุคคล บางคนคลั่งสถาบัน แต่ละคนก็มีเหตุผลของตัวเอง โดย brain... หรือ propa... ก็แล้วแต่ แต่ว่า มนุษย์ไม่เคยมีใครเป็นอตมะ (แต่ถ้าเป็นเทพ นี่ผมไม่รู้ เป็นอมตะหรือป่าว) ถ้าคุณต้องการให้สถาบันอยู่คู่กับสังคมไทย ควรจะช่วยกันเีีรียกร้องให้ สามารถวิพากษ์วิจารณ์ (ไม่ใช่หมิ่นประมาทว่าร้าย) และ ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องอยู่้ในบทบาทของ Constitutional Monarchy ทั้งในทางนิตินัยและพฤตินัย

    3. ถ้าบอกว่า ทุกอย่างดีอยู่แล้ว ใครต้องการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง ก็ไล่ให้ไปอยู่ประเทศอื่นซะ  อนาคตก็ยากที่จะคาดเดาว่าผลออกมาจะเป็นเช่นไร  
    อยากให้ลดความคลั่งลงมาบ้าง แล้วมองด้วยเหตุผล

    ป.ล. การประกาศตัวว่่าเป็น anti-roy... นี่น่าจะผิดกฎหมาย รธน. หรือป่าว ???


    จากคุณ : UnlimitedDreams - [ 24 ก.ย. 50 01:27:14 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 396

    ตอบ 392 พูดออกมาลอยๆไม่ผิดครับ แต่พูดผิดกาลเทศะ เหมือนเพื่อนของคุณกำลังคุยเรื่องรีวิวร้านอาหารร้านหนึ่งว่ารีวิวบอกว่าดี ขัดกับข่าวลือหนาหูในด้านลบ ซึ่งใครๆก็รู้ คุณก็โผล่พรวดเข้าไปบอกว่าทำไมไม่มองข้อเสียบ้าง รีวิวดีนี้มาจากไหนไม่รู้ไม่ได้ตรวจสอบ คนเค้าว่าร้านนี้ไม่ดีตั้งเยอะ ฉันต้องเตือนพวกแกไม่งั้นพวกแกจะเชื่อเอาว่ามันดี

    ทำอย่างนี้บ่อยๆเพื่อนคงรำคาญตาย คงเข้าใจนะครับ

    ที่ผมอยากเห็น คือการนำเสนอข้อมูลครับ จริงบ้างไม่จริงบ้างไม่เป็นไร แต่ไม่ต้องการให้ใครมาคอยห้ามไม่ให้ผมใช้วิจารณญาณของตัวเอง หรือพูดเอาดื้อๆว่า 'ข้อมูลยังไม่ได้ตรวจสอบ มองอีกด้านดีกว่า'

    ขอแค่นี้นะครับ เดี๋ยวหลงประเด็น


    จากคุณ : เอี้ยเสียวเฮียบ - [ 24 ก.ย. 50 05:01:34 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 397

    ^^

    ^^

    อืม  คิดแบบนี้เหมือนกันครับ  

    เพราะไม่งั้นสุดท้าย  คงพูดอะไรไม่ได้เลย  


    ได้แต่ แบะ แบะ แบะ  

    ท้ายที่สุด  มีใครตอบคำถามได้หรือยังว่า สนง.ทรัพย์สิน ที่บริหารทรัพย์สินได้กำไร  ผลกำไรนั้น เอาไปทำอะไร เพื่ออะไร แล้วใครเป็นคนเบิกจ่าย  กำไรต้องเสียภาษีหรือไม่  ถ้าไม่เสีย  ทำไมไม่ต้องเสีย


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 24 ก.ย. 50 10:36:06 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 398

    ปีก่อนเคยมีถกเรื่องทรัพย์สินในห้องนี้มาแล้วและเขาก็ชี้แจงได้พอควรว่ามีอะไรบ้าง ได้มาเท่าไร เสียภาษีเท่าไร กระทู้นั้นน่าจะมีอยู่ในคลังกระทู้เก่านะครับ คนที่ตอบได้ช่วงนี้เขาไม่ได้เข้ามาเพราะผมยังไม่เห็นล็อคอินเขาเลย

    หรือจะลองตั้งกระทู้ใหม่เรื่องนั้นก็ได้นะครับ เผื่อคนที่เขาตอบได้เขาผ่านมาเห็นจะได้ตอบให้กระจ่างเพราะบางทีเขาอาจจะไม่ได้เขามาในกระทู้นี้


    จากคุณ : [[Joachim]] - [ 24 ก.ย. 50 13:14:24 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 400

    ระยบราชการเชื่องช้า อืดอาด อุ้ยอ้าย ทำให้เสถียรภาพ ในการบริการ ความทุกข์ร้อน ของประชาชน ไม่ทันการ  จึงเป็นการเปิดทางให้โครงการทั้งหลายได้ทดแทน รวดเร็วขึ้น  


    ดังเช่น รายการต่าง ๆ ในทีวี ที่เอาคนพิการ คนแก่สูงอายุ ที่ดูน่าเอน็จ อนาจ ใจมาออก  หากความถ่างของความเสมอ ทัดเทียม ไม่ถ่าง ออก ขนาดนี้ ก็คงไม่ต้อง มี รายการ  เช่นนั้นออกมา แสดงถึง ความอับยศ ของ ราขการ หน่วย นั้น ๆ หรือ

    เมื่อไรล่ะ


    จากคุณ : เต้าเม้ง - [ 24 ก.ย. 50 13:24:54 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 401

    กลายเป็นว่า พูดให้เห็นถึงด้านดีบ้าง นี่เป็นการผิดกาลเทสะ เสียแล้ว กระทู้นี้ ในสายตา ของคุณ เอี้ยเสียวเฮียบ แสดงความเห็นได้ แต่ด้านเสีย หรืออย่างไรครับ  กรุณา ย้อนขึ้นไปดู ประเด็นของเจ้าของกระทู้ด้านบนสักนิด ครับ

    เรียนคุณลูกแม่โดม

    ผมว่าถามอยู่ในนี้ ไม่หายข้องใจหลอกครับ    สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา...  173 ถ.นครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300    Tel : 02-687-3379-82
    ที่นั่นมีคำตอบ ให้คุณ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องเสียด้วย  

    อยากรู้อะไร สงสัยอะไร ถามไปเลยครับ ดีกว่าวกวน คิดกันไปมา อยู่ในนี้ ไปจนถึง 1000 reply คุณก้ไม่ได้ คำตอบ  ย้ำอีกนิด ถ้าอยากรู้จริงๆก็ควรจะถามนะครับ เกรงว่าจะอยากรู้ไม่จริง

    ขออีกนิด 400 reply แล้วไม่เบื่อกันบ้างหรอครับ

    ขอแค่นี้เช่นกันนะครับ เดี๋ยวจะ ผิดกาลเทสะมากไปกว่านี้  หากความเห็นของผม ทำให้ใครขุ่นเคืองใจ ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

    ขอบคุณ ครับ

    แก้ไขเมื่อ 24 ก.ย. 50 13:58:30

    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 24 ก.ย. 50 13:39:44 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 403

    เถียงกันเรื่องเงินขวัญถุงไป ก็เท่านั้นแหละครับ...ผมก็ยังไม่รู้กลไกการจ่ายภาษี ทั้งของสำนักงานทรัพย์สินฯ และเหล่า Billionaire ไทยเลย ว่าจ่ายกันครบ อย่างในตำราไหม
    เห็นหลายคนบอกว่า พวกนักเรียนอย่างพวกผมนี่ หลับหูหลับตาตามก้นฝรั่งกันเหลือเกิน เอะอะก็เอาทฤษฏีฝรั่งมาจับ โดยไม่มองนั่นมองนี่..อืม
    ผมบอกได้แค่ว่า ผมยังหาทฤษฏีไทยแท้ๆ มาจับ หรือ(อะไรไทยๆหลายอย่าง ที่บอกว่าเป็นทฤษฏี) แล้วทำให้ลูกลาวหลานแกวอย่างผมเข้าใจความเป็นมาและเป็นไปสังคมนี้ไม่ได้ครับ เหมือนคุณพยายามจะตัดต้นไม้ แล้วสังคมคุณไม่มีขวาน จนกระทั่งวันหนึ่ง มีคนบุกป่าฝ่าดงเอาขวานมาขายให้ แล้วคุณก็ใช้มันตัดไม้ได้ดี..ดังนี้และดังนั้น จะหาว่าคุณบูชาคนต่างแดนออกนอกหน้าไม่ได้..เพราะคุณไม่ได้เอาขวานไปตกปลาแล้วบอกว่า มันเป็นของวิเศษที่คนต่างถิ่นเข้ามาสักหน่อย ใช้ทำอะไรก็ไม่ผิด
    คุณ ป. ปลาครับ เราไม่อยากให้ใครมารู้เรื่องของเรา เราก็ไม่ควรรู้เรื่องของใคร แต่มันก็มีระดับครับ เหมือนว่า ผมคงไม่อยากบอกให้ใครรู้ว่าชอบไปอาบอบนวดที่ไหน แต่ถ้าผมทำเงินของสำนักงานหายไปสักสองสามหมื่น ผมคงอ้างว่าเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ได้แน่ เพราะถึงการรับผิดชอบจะเป็นของผม แต่มันก็กระทบถึงคนอื่นๆ
    ป.ล. พี่บุญชิตครับ ตกลงฝันของพี่ ตีเป็นเลขได้ไหมครับ...เผื่อวันที่หนึ่งนี้ผมอาจจะมีความหวังอะไรขึ้นมาบ้าง

    แก้ไขเมื่อ 24 ก.ย. 50 15:01:05

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 24 ก.ย. 50 14:38:32 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 408

    เรื่องตามก้นฝรั่ง เห็นจะเป็นเรื่องน่าเบื่อ ที่ต้องพยายามตอบกันต่อไป

    ขอยกตัวอย่างที่ตอบไว้เสมอ คือ "ไฟฟ้า"

    ไฟฟ้านี่มันมีอยู่แล้วในธรรมชาตินะ เมืองไทยก็มี ฝรั่งก็มี จีน ลาว แขก
    ต่างก็มีไฟฟ้าหมด เพราะมันมีอยู่แล้วในอากาศธาตุ

    แต่บังเอิญคนที่ค้นพบนี่ เป็นฝรั่ง

    เช่นนี้จะปฏิเสธไหม ว่าเราไม่ควรใช้ไฟฟ้า ที่ผ่านการวัดค่าเป็นโวลต์
    เป็นวัตน์ นะ เพราะมันตามตูดฝรั่ง
    ควรหาทางค้นคว้าพลังงานไฟฟ้าแบบไทยๆ มาดีกว่า ?

    เรื่องประชาธิปไตย การถ่วงดุลยอำนาจ นี่ก็เหมือนกัน
    ฝรั่งมันคิด แต่มันคิดมาจากธรรมชาติของมนุษย์ไง
    ธรรมชาติว่า ใครก็ตามที่มีอำนาจมากในตัว แล้วไม่มีการตรวจสอบ ถ่วงดุลย

    มันจะพาไปสู่การใช้อำนาจแบบก่อความเดือดร้อนให้คนอื่นได้

    ธรรมชาติของมนุษย์ เหมือนคนเราต้องหิวข้าว หิวน้ำ นั่นแหละ

    ไม่เห็นจะเคยยกเว้น ลงดูประวัติศาสตร์ ของ ไทย จีน ฝรั่ง แขก ญี่ปุ่น ก็ได้
    อำนาจที่ขาดการตรวจสอบ ลงท้ายอย่างไร ?
    อำนาจที่ไม่มีใครคาน ส่งผลอย่างไรต่อคนที่อยู่ใต้อำนาจ

    โอเค มันก็เหมือนไฟฟ้า เทคโนโลยีเรายังจำกัด
    เราเอาเทคโนโลยีฝรั่งมาใช้งงๆ มันก็มีไฟดูด ไฟช๊อตกันบ้าง
    แต่เราจะแก้ไข โดยการเลิกใช้ไฟฟ้า เพระบอกว่า มันเป็นของฝรั่ง
    มาทำพิษ อยู่กันแบบจุดใต้จุดคบ ก็ดีอยู่แล้ว

    หรือจะพยายามหาทางให้ไฟฟ้ามันไม่ดูด ไม่รั่ว ไม่ช๊อต กันดี ?

    แก้ไขเมื่อ 24 ก.ย. 50 16:40:25

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 24 ก.ย. 50 16:21:52 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 409

    คุณ "นายปลาตีน"

    ลองแทง 609 ดู
    เลขโปรดของผมเอง
    จาก บุปผาราตรี

    ถูกแล้วอย่าลืมปิดทอง


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 24 ก.ย. 50 16:43:39 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 410

    คุณฟ้าสีครามครับ  อยากรู้จริงๆ ครับ  ไม่ใช่อยากรู้ไม่จริง  


    และเชื่อว่า หลายคนอยากรู้เช่นกัน  และต้องการคำอธิบาย


    คุ้นๆมั๊ยครับ เหมือนที่พวกเราต้องการคำอธิบายหลายร้อยหลายพันเรื่อง จากนายกคนก่อน


    ตอนนี้ เพื่อความยุติธรรม  ผมก็อยากได้คำอธิบายในหลายๆเรื่องเหมือนๆกัน


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 24 ก.ย. 50 16:46:05 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 411

    ตอนแรกคิดว่านำ พ.ร.บ. ทรัพย์สินฯ มาลงเปรียบเทียบไว้แล้วจะไม่อยากพูดอะไรเกี่ยวกับ พ.ร.บ. นั้นแล้วเชียว แต่ท่าทางว่าเรื่องจะไม่จบ ขอตอบประเด็นนี้หน่อยละกันนะครับ

    ตอบความเห็น 360
    พระราชวังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินครับ ตาม พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหาก...(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 เพราะฉะนั้นแล้ว ไม่อาจที่จะคิดรวมเป็นทรัพย์สินของพระองค์ได้ครับ

    ตอบความเห็น 375
    “ถ้าอยากจะให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินหล่านี้  อยากให้เปิดเผย  ในมุมแบบกลางๆ ผมสงสัยว่าเราจะอยากรู้ไปทำไมครับ ไหนๆ  นี่ก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของเราหรือของรัฐอยู่แล้ว  แต่เป็นเสมือนสินส่วนตัวของบุคคลหรือสถาบัน

    เฉลียวกระทิงแดง หรือเจริญเบียร์ช้างก็มีทรัพย์สินไม่ได้น้อยกว่านี้เลย ทำไมไม่ถูกเรียกให้เปิดเผยบ้างหละครับ ?  ทรัพย์สินใครก็ตามที่มีมากๆ ไม่ว่าของใคร ก็ดูดกลืนมาจากผลผลิตมวลรวมทั้งหมดเหมือนกัน     ดังนั้นการเรียกร้องให้เปิดเผยทรัพย์สินที่สถาบันยึดครองฝ่ายเดียว  ผมว่าไม่เป็นธรรมต่อสถาบันเท่าไหร่นะครับ”

    เป็นทรัพย์สินของเราหรือเปล่า? ประเด็นนี้ผมไม่แน่ใจว่าคำว่าเราหมายถึงเราในแบบเอกพจน์ หรือพหูพจน์ ถ้าในแบบเอกพจน์ ก็ยอมรับครับว่าไม่ใช่แน่ๆ แต่ถ้าหมายถึงแบบพหูพจน์ซึ่งพยายามจะ (บอกว่า) เป็นความหมายเดียวกับของรัฐแล้ว สถานะดูจะไม่ชัดเจนนักนะครับว่าเป็นของรัฐหรือไม่ เพราะอย่างที่ผมได้ยกประเด็นที่เป็นประเด็นหลักในบทความของสมศักดิ์ เจียมฯ ไปแล้วถึงความคลุมเครือของสถานะของสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงตอบประเด็นนี้ได้ไม่ชัดเจนครับ
    “...เป็นเสมือนสินส่วนตัวของบุคคลหรือสถาบัน” ถ้าใช้คำว่า “เสมือน” ก็คงจะใช่ละนะครับ เพราะว่า “รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหาก...ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใดๆ...” (มาตรา 7 วรรคสาม พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491) แต่คำว่า “เสมือน” ก็ไม่ได้เป็นจริง แล้วสิ่งที่เป็นจริงคืออะไร? ขอให้แยกนะครับว่าตกลงเป็นของ “บุคคล” หรือว่าของ “สถาบัน” เพราะสองสถานะนี้มีความแตกต่างกันเป็นอย่างยิ่งในทางหลักการ เพราะสถาบันเป็นสิ่งผูกติดกับตำแหน่ง และระบบ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วย่อมต้องถูกตรวจสอบได้ แต่ถ้าเป็นบุคคล นั่นคือปัจเจก ซึ่งอย่างที่เห็นในบทนิยามในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ฯ ข้างต้นที่อ้างถึง ว่ามีการแบ่งทรัพย์สินออกเป็นสามกองคือ ทรัพย์สินส่วนพระมหาก... ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
    เหตุผลที่แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 3 กองนั้น ความต่างระหว่างทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เห็นชัดเจนเลยนั่นคือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ “ต้องเสียภาษี” ในขณะที่ ทรัพย์สินส่วนพระมหาก... นั้น “ไม่ต้องเสียภาษี” ครับ (มาตรา 8 พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ)

    “เฉลียวกระทิงแดง หรือเจริญเบียร์ช้างก็มีทรัพย์สินไม่ได้น้อยกว่านี้เลย ทำไมไม่ถูกเรียกให้เปิดเผยบ้างหละครับ ?”

    ถ้าเฉลียว หรือเจริญ มีตำแหน่งในทางการเมืองก็ต้องมีการตรวจสอบเหมือนกันละครับ เพราะว่ามันเป็นเรื่องของบรรษัทภิบาล ที่ต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อีกอย่าง ถ้ามีใครสงสัยเรื่องเงินของคุณเฉลียว หรือคุณเจริญ ก็ไปขอข้อมูลจากกรมสรรพากรได้ครับ แต่ในขณะเดียวกัน สำนักงานทรัพย์สินฯ “ไม่ต้องจ่ายภาษี”นะครับ (มาตรา 8 วรรคสอง พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ) แล้วถ้ามีคนสงสัยเรื่องเงินของสำนักทรัพย์สินฯ ผมจะไปถามสรรพากรก็ไม่ได้แล้วครับ อย่าบอกว่าให้ไปถามทรัพย์สินเองนะครับ เพราะเคยมี อ. ประวัติศาสตร์คนหนึ่งไปถามมาแล้ว “นอกจากไม่ได้คำตอบแล้วยังได้รับคำตอบที่ไม่ตรงคำถามด้วย”

    “เรื่องการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันที่หลายๆ คนเรียกร้องกัน  เราต้องการให้วิพากษ์ได้ขนาดไหนหละครับ  ที่จะเหมาะสม ผมคิดไม่ออกเหมือนกัน หลายๆ คนก็คิดไม่ออก ยิ่งชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการบริการจริงๆ ยิ่งคิดไม่ออก พอคิดไม่ออกก็เลยบอก งั้นใช้แบบเดิมไปก่อนดีกว่า  เพราะอย่างน้อยเอามาใช้เล่นงานคนที่คิดไม่ตรงกันเพื่อรักษาสถานภาพตัวเองไว้ได้”

    ผมไม่คิดว่ากฎหมายมันจะเป็นปัญหาเท่ากับการตีความของศาลนะครับ ถามว่าระดับไหนจึงจะเหมาะสม ผมก็ตอบว่า “อย่างที่ศาลไม่ควรตีความเกินเลยจากตัวบท” ซึ่งหลักกฎหมายอาญานั้น ต้องตีความตามตัวอักษร ห้ามเทียบเคียง (Analogy) เพราะจะทำให้ขอบเขตของการลงโทษนั้นเกินเลยไปได้ เพราะกฎหมายอาญานั้นมีบทลงโทษอยู่จึงต้องจำกัดการตีความ อย่างที่เคยแยกองค์ระกอบไว้แล้วใน “ความเห็นที่ 351” นั่นแหละครับ ซึ่งในปัจจุบันนี้ศาลตีความมาตรา 112 ไปซะจนเกินเลยไม่มีขอบจำกัดเสียแล้ว อีกหน่อยคงห้ามเอ่ยนามพระเจ้าโดยไม่มีเหตุอันควรกระมัง และหลักการหมิ่นประมาทก็ควรที่จะใช้เหตุยกเว้นความผิด ตามมาตรา 329 และเหตุยกเว้นโทษตามมาตรา 330 ได้ด้วย (ปัจจุบันใช้ไม่ได้) เท่านี้เองครับที่ผมต้องการ

    “หรือการอ้างว่าคนนั้นคนนี้หมิ่นฯ หนะ แล้วใช้กระบวนการกฏหมายจัดการนั้น เป็นฝีมือของกลุ่มคนชั้นปกครองที่ใช้กฏหมายนี้ในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามเป็นส่วนใหญ่โดยเอาสถาบันมาอ้างมากกว่านะครับ  ยังไม่เห็นสถาบันออกมาฟ้องร้องคนนั้นคนนี้เองซักที...”

    เห็นด้วยกับประเด็นนี้ครับ มันจึงเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของมาตรานี้เลย ผมคิดว่าควรจะแก้กฎหมายให้ผู้ที่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นบุคคลเฉพาะ เช่น อัยการสูงสุด หรือสำนักราชเลขาฯ ไม่ใช่ว่าใครก็ฟ้องได้แบบในปัจจุบัน มันถึงได้ถูกกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไงครับ

    ความเห็นที่ 388
    “...เท่าที่ทราบมาอย่างคร่าวๆ พระมหา... ไม่ได้ทรงอยู่ในฐานะที่ต้องเสียภาษี หรืออย่างไรไม่ทราบ  ถ้าอยากให้ เสียภาษี คุณต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว กระมัง หรือไม่ก็เรียกร้องให้ก่อตั้งองค์กร ขึ้นมาตรวจสอบ การใช้จ่าย ของสถาบัน แบบนี้ถึงจะเห็น ผลกว่าครับ...”

    เท่าที่ทราบมาเช่นกัน ไม่มีมาตราไหนในรัฐธรรมนูญบอกว่าพระมหาก... ไม่ต้องเสียภาษี แล้วรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ว่าด้วย “ที่มาของอำนาจ การใช้อำนาจ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ” การเสียภาษี มันเกี่ยวกับส่วนไหนของรัฐธรรมนูญเหรอครับ? และตัวของพระมหาก... ก็ต้องเสียภาษีนะครับ ไม่ใช่ไม่เสีย (มาตรา 8 วรรคสาม พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ) คงไม่ต้องแก้อะไรหรอกครับ แค่ทำอะไรให้กระจ่างก็พอ แต่ตัวของสำนักทรัพย์สินฯ สิครับ น่าคิด เพราะนอกจากไม่เสียภาษีแล้ว ยังไม่มีองค์กรไหนเข้าไปตรวจสอบด้วย ถ้าให้ตั้งองค์กรใหม่ ก็ไม่จำเป็นหรอกครับ เพราะมี ป.ป.ช., ค.ต.ง., ผู้ว่า ส.ต.ง. และสำนักงานฯ ที่จะทำหน้าที่อยู่แล้ว แต่ไม่เคยเข้าไปทำหน้าที่ได้เลย (ด้วยเหตุผลใดผมไม่ขอพูด ลองอ่านจากบทความที่เคยอ้างอิงถึงในความเห็นก่อนดูเองละกันครับ)

    สำหรับผมใครจะรวยเท่าไหร่ อย่างไร ผมไม่ได้ให้น้ำหนักสนใจนัก เพราะผมไม่คิดว่าคุณธรรมจริยธรรมของคนจะผูกติดกับเรื่องเงินอย่างเดียว แต่สิ่งที่ผมสนใจคือความเป็นระบบส่วนนี้ต่างหากครับคือสิ่งที่ผมให้น้ำหนักมากกว่า check and balance เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของระบบการเมืองที่ดี แต่ “หลักเสมอภาค” ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกันในระบบการเมืองที่ดี “หลักเสมอภาค” ไม่ได้แปลว่า ทุกคนเท่ากันหมดนะครับ (ไม่อย่างนั้นภาษีรัชชูปการที่เคยเก็บมาก่อนช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองก็คงจะเป็นสิ่งที่คนยอมรับไปแล้ว) แต่หลักการสำคัญคือ “พึงปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญอย่างเดียวกันให้เหมือนกัน ปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญต่างกันให้ต่างกัน” นี่ต่างหากครับหลักเสมอภาค

    ความเห็นที่ 397
    “ท้ายที่สุด  มีใครตอบคำถามได้หรือยังว่า สนง.ทรัพย์สิน ที่บริหารทรัพย์สินได้กำไร  ผลกำไรนั้น เอาไปทำอะไร เพื่ออะไร แล้วใครเป็นคนเบิกจ่าย  กำไรต้องเสียภาษีหรือไม่  ถ้าไม่เสีย  ทำไมไม่ต้องเสีย...”

    อ่านดูละกันครับ
    “มาตรา 6  รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหาก...ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น
    (วรรคสอง)  รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษ...ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหาก...เท่านั้น”
    “มาตรา ๘  ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร
    (วรรคสอง)  ทรัพย์สินส่วนพระมหาก...ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน
    (วรรคสาม)  ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้น ดังกล่าวแล้ว”


    จากคุณ : ฉันไม่รู้อะไรเลย - [ 24 ก.ย. 50 16:48:38 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 412

    ทำไมต้องลบ คห.เราด้วย

    จากคุณ : ไม่เข้าใจ - [ 24 ก.ย. 50 17:59:55 A:58.8.118.134 X: TicketID:156112 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 413

    เรื่องสำนักงานทรัพย์สินฯ... ตอบไปแล้ว โบ๋ไป 2 รู ไม่ขอพูดถึงอีกก็แล้วกันครับ เฮ้อ! ยังไม่ได้ว่าอะไรเลย เหนื่อยแรงเปล่า จริงๆ...
    ปล. คำตอบแทบทุกคำถามที่ถามมามันอยู่ใน พ.ร.บ. อยู่แล้วละครับ กลับไปอ่านให้เข้าใจจะดีกว่า


    จากคุณ : ฉันไม่รู้อะไรเลย - [ 24 ก.ย. 50 18:45:59 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 414

    ความคิดเห็นที่ 412  

    ทำไมต้องลบ คห.เราด้วย

    จากคุณ : ไม่เข้าใจ - [ 24 ก.ย. 50 17:59:55 A:58.8.118.134 X: TicketID:156112 ]
    **************
    เพื่อความมั่นคงครับ อย่าคิดมาก


    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 24 ก.ย. 50 23:22:48 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 415

    การ unite ชาติ หรือการถือกำเนิดขึ้นของ รัฐ-ชาติในบริบทของสยามนั้น เป็นสิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นสมัยร.5 มานี่เองนะครับ และเครื่องมือสำคัญในการสร้างสำนึกเรื่องชาติในหัวของคนสยามคือ การจัดการconcept เรื่องพื้นที่ใหม่ เช่น การปรับเปลี่ยนแง่มุมจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ และที่สำคัญคือ ผ่านการทำแผนที่ ที่สร้างขอบเขตชายแดนให้กับสยามอย่างชัดเจน (ธงชัยใช้คำว่า geo-body) พูดอีกอย่างคือ สร้าง “ร่างกาย” ให้กับชาติผ่านการทำแผนที่ กระบวนการดังกล่าวนี่เองทำให้คนสยามสามารถ “จินตนาการเรื่องชาติ” ได้

    ดังนั้น ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ในแง่ที่ว่า “สถาบัน” เป็นเครื่องมือหลัก ๆ ในการ unite คนในชาติหรือเป็นการสร้างสำนึกเรื่องชาติให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในฐานะชาติไทยในฐานะการ “นำเข้า” concept มาจากตะวันตก (เอ...การที่เรามีรัฐ-ชาตินี่เราเดินตามก้นฝรั่งเปล่าเนี่ย???) ตรงกันข้าม ผมกลับมองว่า สิ่งหลักที่ unite คนในชาติ (โดยเฉพาะกรณีไทย) เข้าด้วยกันได้ คือการสร้างความทรงจำร่วมและ myth ว่าด้วยการ unite ชาติด้วยสถาบัน (และวีรบุรุษทั้งหลาย) ต่างหาก ความทรงจำของชาติดังกล่าวถูกผลิตและผลิตซ้ำผ่าน mass schooling ของร.5 โดยเฉพาะในปัจจุบัน สื่อมีบทบาทสำคัญในการขีดเส้นตอกย้ำ myth ดังกล่าวของชาติ เช่น หนังเกี่ยวกับวีรบุรุษของชาติต่าง ๆ นานา หรือการเขียนนิยายขายดีของทมยันตีเป็นต้น

    [ความน่ากลัวอย่างหนึ่งของสถาบันที่ (ถูกทำให้เชื่อว่า) unite คนในชาติคือ มันได้กลืนกิน “ความแตกต่าง” และสร้าง “ความเป็นอื่น” (ปกติผมล่ะเอียนเลี่ยนกับภาษาพวกนี้จริงเชียว...แต่นึกคำอื่นไม่ออกง่ะ) เช่น กรณีที่เป็นรูปธรรมที่สุดอย่างหนึ่งคือ ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยข้อห้ามทางศาสนาแล้ว ไม่สามารถทำความเคารพ  “ท่าน” หรือ “ท่านไหน ๆ” ได้เลย และด้วยบุคลิกลักษณะของสังคมไทยที่ถูกกลืนกินความแตกต่างไปแล้ว...ผลลัพธ์คืออะไรคงไม่ต้องกล่าวถึง หรือใครที่อ่านบอร์ดฟ้าเดียวกันอยู่เสมอ ๆ จะเห็นถึง “ความน่ากลัว” ในการสร้างความเป็นอื่นได้อย่างดี และทำให้ผมไพล่ไปนึกถึงความน่ากลัวในบรรยากาศแบบก่อนและหลัง 6 ตุลาฯ ทุกที]

    ผมเคยคิดเล่น ๆ อยู่เสมอว่า อันที่จริงสถาบันและ “ท่าน” เป็นเพียง identity หรือ character บางอย่างของกระแสชาตินิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวมาก ๆ ของไทย คือเรานิยามชาติหรือความเป็นชาติของเรากับตัวสถาบันและบุคคล (หรืออาจรวมไปถึง “อุดมการณ์” บางอย่าง)

    ดังนั้น สิ่งที่ผมพยายามทำมาในหลายความเห็นข้างต้นคือ การ “ยืนยันในหลักการ” ว่า ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่าง “ท่าน” และ ส่วนอื่น ๆ ของสังคมที่ผ่านมานั้น ไม่เป็นผลดีต่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะอุดมการณ์ (วาทกรรม?) “ชาตินิยม” ในรูปแบบไทย ๆ นั้น กลับปิดพื้นและไม่สร้างที่ยืนให้กับความแตกต่างได้เลย

    ผมมองว่า “ท่าน” นั้น จะเป็นคนดีหรือไม่ดีในเชิงศีลธรรมหรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นเลยแม้แต่น้อย แต่หลักการสำคัญคือ การ check and balance การวิจารณ์ จากประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ และ...โอเค...หลักความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน (ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากเราไม่ตั้งคำถามหรือยกเลิกจารีตบางอย่างเช่น การหมอบกราบราบคลาน หรือการยืนถวายความเคารพในโรงหนัง ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนแบบเรียนประวัติศาสตร์ที่เน้นความทรงจำแบบราชาชาตินิยม และเขียนอดีตราวกับว่า ชีวิตการเป็น “ไพร่” หรือ “ข้าพระบาท” นั้น เป็นสิ่งที่สร้างความสุขแก่ชีวิตเหลือเกิน)

    และตามความเห็นของผมคือ ที่ผ่านมานั้น “ท่าน” มิได้มีบทบาทในทางที่เป็นผลดีต่อหลักการที่ประเทศนี้...พูดถึงอยากได้ตลอดเวลาอย่าง “ประชาธิปไตย” เลยแม้แต่น้อย (ถ้าผมจำไม่ผิด Michel Connors ใช้คำว่า ‘talking democracy’)

    สิ่งที่ทำให้ผม frustrated มาก ๆ คือ ผมรู้สึกว่า ความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ “สถาบัน” และ “ท่าน” ลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและเป็นเพียงสัญญลักษณ์ในการปกครองประเทศนั้นโดยไม่มีอำนาจที่แท้จริงในการบริหารประเทศ เพราะ “ท่าน” ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งมา (ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของรัฐที่มีประชาชนเป็นเจ้าของ...ครับ...ฟังแลดูอุดมคติมาก...มันถึงเป็น “หลักการพื้นฐาน”ไงครับ) ไม่สามารถทำได้โดยไม่ผ่านความรุนแรงอะไรบางอย่างในระดับนึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเรายังไม่นำ so-called การตรวจสอบจากช่องทาง underground ต่าง ๆ ขึ้นมาไว้อยู่บนดิน การ “ปะทุ” นั้นเกิดขึ้นได้ง่าย...อีกครั้งครับ...Nepal เป็นกรณีที่น่าดูเป็นตัวอย่าง

    แต่สุดท้ายแล้ว ผมเห็นด้วยกับพี่ Sa-idian ในแง่ที่ว่า เราก็ต้อง cultivate ความรู้ของเราไปเรื่อย ๆ และ...หวังว่า เมื่อยามสนธยามาถึง สัตว์ทรงปัญญาแห่งเทพีมิเนอร์ว่าจะกางปีกออกบินเสียที...


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 25 ก.ย. 50 03:11:19 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 416

    I appreciate learning lots of perspectives from the topic indeed.

    จากคุณ : Fah Lan - [ 25 ก.ย. 50 10:05:42 A:165.228.97.129 X: TicketID:091427 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 417

    ขอ Bookmark ไว้หน่อยครับ
    แม้จะยังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
    (ศัพท์ภาษาอังกฤษเยอะเหลือเกิน)


    จากคุณ : Oakyman - [ 25 ก.ย. 50 12:07:17 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 418

    สำหรับพวกที่วิจารณ์เกี่ยวกับพระประมุขของประเทศในแง่ลบนั้น อยากจะถามว่ายังเป็นคนไทยอยู่หรือ ถึงได้มีความคิดแบบนั้น ทำไมไม่นึกถึงพระคุณของท่านที่มีต่อแผ่นดิน เรากล้าพูดได้เลยว่าเราภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทยและมีพระองค์เป็นประมุขของประเทศ ไม่มีประมุขของประเทศไหนที่จะทำเพื่อประชาชนได้ขนาดนี้ อยากจะถามว่าคุณอยากให้ใครมาเป็นประมุขของประเทศล่ล และเขาคนนั้นจะเสียสละและทำให้ประเทศได้มากขนาดนี้หรือไม่ ขอให้คิดถึงพระคุณของท่านก่อนที่จะวิจารณ์ และขอให้ย้อนดูตัวเองว่าทำอะไรให้ประเทศบ้างถึงกล้าวิจารณ์พระประมุขของไทยขนาดนี้ ไม่รู้สึกระอายแก่ใจเลยหรือ

    จากคุณ : เจน - [ 25 ก.ย. 50 14:04:29 A:210.213.10.2 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 419

    ^^

    ^^


    ไปกันใหญ่

    เขาพูดกันเรื่องนี้


    พวกเล่นลากไปบุญคุณ กตัญญู  เอาอีกแล้ว  

    ยังจะมีมาอีกมั้ยเนี่ย


    ความเห็นที่ 347 เขาคงตอบคำถามเรื่อง บุญคุณ   ของคุณแล้วนะครับ

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 14:15:50

    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 14:11:49 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 420

    ^
    ^
    ^
    ดูเจ้าของกระทู้สิคะ ว่าพูดเรื่องไหน แล้วคุณลูกแม่โดม พูดเรื่องไหน

    ตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่าไม๊คะ เอาเป็นประเด็นประเด็นไป เกรงใจเจ้าของกระทู้เค้า


    สิ่งไหน ที่พวกคุณไม่ชอบ เห็นและมันขัดใจ ไม่เป็นธรรม ไม่อะไรต่างๆ นานา
    แต่สังคมยอมรับ มันก็ต้องเป็นไปตามนั้น ประชาธิปไตย ไม่ใช่เพื่อคุณ คนเดียว
    ไม่จำเป็นต้องถูกใจคุณทุกอย่าง และไม่จำเป็นต้องถูกใจทุกคน
    ในเมื่อส่วนใหญ่ในสังคมเห็นด้วยและยอมรับ มันก็ต้องเป็นไปตามนั้น
    ถ้าอยากจะให้เป็นไปตามที่คุณชอบ ก็ต้องทำให้สังคมยอมรับ

    แต่คงไม่ใช่ ประกาศเจตนารมณ์ แบบปิดประตู อยู่ในนี้ ยัดเยียดกันไปมา
    รับข้อมูลซ้ำซาก ซ้ำไปซ้ำมามันก็ไม่ต่างอะไรกับเขียนหนังสือไว้อ่านคนเดียว

    หวังว่าคงเข้าใจนะ อุมดมการณ์มี แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ
    พูดกันไปอีกร้อยปี ก็ไม่สำเร็จ


    จากคุณ : เจน - [ 25 ก.ย. 50 14:44:22 A:210.213.10.2 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 421

    ^^

    ^^


    ใคร คือ คนส่วนใหญ่ ที่คุณเจนว่าไว้ครับ



    ประชาธิปไตย ในเมืองไทยตอนนี้ เป็นของ คนส่วนใหญ่   หรือ เป็นของคนที่มีอำนาจ ครับ คุณเจน

    ตอบได้หรือเปล่าครับ  

    อย่ามาอ้างคำว่า ประชาธิปไตย เลยครับ  ฟังไม่ขึ้นแม้แต่นิดเดียว

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 15:15:51

    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 15:09:41 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 422

    สวัสดีครับ คุณลูกแม่โดม

    โทรไปกรมทรัพย์สินฯ ให้หายข้อข้องใจยังครับ

    เก็บไว้นานไม่ดี โทรไปถาม ให้เคลียร์ๆ เลยดีกว่า


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 25 ก.ย. 50 15:15:22 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 423

    คุณฟ้าสีคราม ครับ สำหรับตัวผมน่ะ ได้คำตอบตั้งแต่ ที่คุณอะไรมาโพสต์กฎหมายแล้วครับ  



    เพียงแต่ไม่ได้เหตุผลเท่านั้นครับ  ซึ่งคนทั่วไปที่ยังพอมีสติ ยังพอมีความคิด ก็คงพอรู้ว่า โทรไปถามสำนักงานนั่น  คำตอบสำหรับเหตุผลว่า ทำไมยกเว้น เขาคงตอบไม่ได้  เขาก็คงตอบได้ตามกฎหมายเช่นกัน


    ไม่ทราบว่า  คุณฟ้าสีคราม  พอจะหาเหตุผลได้หรือไม่ครับ


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 15:20:32 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 424

    ผิดแล้วหละครับ เค้ามีเหตุผลให้คุณอยู่แล้ว

    เพียงแต่ คงไม่ถูกใจคุณเท่านั้นเอง คุณเลยไม่ยอมรับ

    ก็แค่นั้นเองครับ จริงหรือปล่าว

    ถ้าอยากได้เหตุผลที่ถูกใจ ก็คงไม่ต้องถามคนอื่น

    ถามเองตอบเอง ถูกใจ สบายใจ ครับ


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 25 ก.ย. 50 15:27:30 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 425

    ไม่น่าบังเอิญมาเจอกระทู้นี้เลย หดหู่มาก

    สรุปแล้วอยากให้ท่านเป็นแบบเรา หรืออยากเป็นแบบท่าน

    อยู่ในประชาธิปไตยทำไมไม่ไปเรียกร้องสิทธิ์ในสิ่งที่มีประโยชน์กว่านี้

    สรุปแล้วคุณนับถือศาสนากันหรือป่าว เพราะศาสนามีแค่คำสอนกับสัญลักษณ์

    คุณกราบพระได้สนิทใจหรือไม่ คุณเคยสวดอ้อนวอนหรือไม่

    ดีที่เราอยู่ในประชาธิปไตย ที่มีคนส่วนมากยอมถูกด่าว่าบ้าลัทธิจ้าว

    ยังดีที่มีคนส่วนน้อยคิดแบบในกระทู้นี้

    อย่ามาอ้างว่าการยึดติดไม่ทำชาติพัฒนา

    เพราะตอนคนจะทำเลวไม่นึกถึงอะไรอยู่แล้ว มากกว่าคนทำดีที่มีสิ่งยึด
    เหนี่ยว

    แล้วอย่าเอาความคิดตนเองเป็นที่ตั้งแทนคนอื่นๆ

    สรุปแล้วพวกคุณไม่มีความสุขที่อยู่ในสภาพนี้ ก้อต้องทนรับกันต่อไป

    มีใครบ้างที่ไม่อยากเห็นการกินอยู่ที่ดีในสังคมตัวเอง

    แต่สิ่งที่พวกคุณอ้างมาไม่ใช่ปัจจัยหลักในการพัฒนาประเทศเลยสักนิด

    การจะออกรบถึงจะมีอุดมการณ์แต่ไม่มีผู้นำก้อเท่านั้น

    ไม่มีใครไม่เคยชื่นชมนักรบและทหาร ที่เสียสละในการออกรบ

    และนักรบย่อมเต็มใจไปรบ

    ถ้าไม่เต็มใจไปรบภายใต้การนำของผู้นำ ก้อเท่ากับยอมรับชะตากรรม

    ในการแพ้สงคราม


    จากคุณ : เพื่ออะไร (จ๋าจ๊ะbegin) - [ 25 ก.ย. 50 15:32:40 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 426

    เหตุผล คือ กฎหมายว่าไว้อย่างนั้น  นี่ไม่ใช่เหตุผลครับ  


    หรือ ในความคิดคุณฟ้าสีคราม นี่คือ เหตุผล  


    ถ้าใช่  ผมก็คงไม่ต้องคุยอะไรกับคุณฟ้าสีครามต่อ เพราะเหตุผลของคุณมีแค่นี้


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 15:35:17 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 427

    อ่านแล้วเหมือนกงล้อประวัติศาสตร์กำลังหมุนอยู่เลย
    ขอบคุณทุกความเห็นครับ :)


    จากคุณ : Foucault lover - [ 25 ก.ย. 50 15:50:27 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 428

    #425

    ผมนับถือศาสนาครับ แต่ไม่เคยสวดอ้อนวอน
    (การขอว่า "ถ้ากรรมจะให้เป็นเช่นนี้หรือเช่นไร ก็ขอให้บันดาลส่งผลโดยเร็วก็ดี
    ไม่อยากรอนาน" เช่นนี้เรียกอ้อนวอนไหม ? นี่คือการขออย่างมากที่สุด
    ในการสวดมนต์หรือทำวิปัสนาเมื่อกลัดกลุ้ม)

    ผมชอบศาสนาพุทธ ที่ให้ไตร่ตรองและปฏิบัติก่อน จึงเชื่อ

    และผมอาจจะไม่ค่อยเห็นใครทราบซึ้งในบุญคุณของเพื่อนมนุษย์
    ผู้ทำหน้าที่ของตน
    เสียเท่าใดนัก นอกจากยกเป็นข้อดีของพระเจ้า

    ถึงขนาดมีเพลงแต่งให้กันว่า โอย พวกมนุษย์นั้นเหลวไหลเลอะเทอะ
    ปานดินโคลน ไม่มีอะไรหรอก ถ้าไม่มีพระเจ้า ตายไปนานแล้ว
    คนฟังก็ปลาบปลื้ม ไม่รู้ว่ากำลังถูกหลอกด่า

    หรือน่าขำ คือ เวลาบอกว่า ประเทศเลวร้ายนัก เห็นแก่ตัว ละโมบ
    ฉ้อโกง จะด่ากันเอง ว่าเป็นเพราะคนร่วมประเทศ "โง่ เห็นแก่ตัว เห็นแก่เงิน
    ขายเสียง เชื่อนักการเมือง"
    แต่พอเวลาบอกว่า ประเทศดี ประเทศสงบร่มเย็น มีความสุข อุดมสมบูรณ์
    (มันประเทศเดียวกัน แน่เหรอวะเนี่ย) ก็บอกว่า "เพราะพระเจ้าดลบันดาล"

    อะไรดีๆ พระเจ้าทำ อะไรเลวๆ ฝีมือมนุษย์ดิน มนุษยโคลนหมด

    เป็นอย่างนั้นไป ?

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 15:56:24

    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 25 ก.ย. 50 15:54:02 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 429

    ผมถามคำถามคุณไม่กี่คนนะครับ

    ตอบตามตรง


    ว่า


    ตอนนี้ พวกคุณกำลังยึดติดสถาบัน หรือ พวกคุณยึดติดตัวบุคคล กันแน่


    สิ่งที่หลายๆท่านในที่นี้ เขาถกกัน เขาไม่ได้หมายถึงตัวบุคคลเลย  เขากำลังพูดถึงหลักการ  เพราะว่า หลักการเท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศไปได้  ตัวบุคคลไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า   หากเราไม่พัฒนาหลักการที่จะทำให้เราพึ่งพาตัวเองได้


    เมื่อเวลานั้นมาถึง  ผมไม่ทราบว่า คำตอบของพวกคุณๆ  ยังเหมือนเดิมหรือเปล่า

    คุณฟ้าสีคราม  คุณเจน คุณจ๊ะจ๋า และคุณบงบุษบา  ตอบได้หรือไม่ครับ


    ผมยังไม่เห็นใครในที่นี้ ไปดูหมิ่น ดูถูก ตัวบุคคลแม้แต่คนเดียว  รวมถึงตัวผมก็ไม่ได้ดูหมิ่นตัวบุคคล  ทั้งหมดทั้งปวง เขาพูดกันแต่หลักการเท่านั้นเอง


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 15:56:55 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 430

    เหตุผลก็คือ เหตุผล สิครับ กฎหมายก็คือกฎหมาย เกี่ยวไรกัน

    ที่คุณอยากรู้เหตุผล ก็ถามเหตุผล สิครับ จะถามกฎหมายทำไม

    อยากรู้ แต่ไม่ถาม ผิดหูผิดตา ดื้อดึง ก็เลยไม่รู้

    ผมเห็นคุณอยากรู้ข้อมูล ก็หาแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องมาให้

    กลายเป็นว่าผมไม่มีเหตุผล

    อยากรู้เรื่องข้าว ไม่ถามชาวนา แต่ไปถามชาวสวน คงจะได้คำตอบ หละคับ

    เหตุผลผมก็มีแค่นี้ ไม่ทราบว่า พอหรือไม่



    ขอโทษอีกที่ ที่เข้ามามีส่วนร่วม ขอเคลียร์งานก่อนนะครับ ไว้โอกาสหน้าจะมีส่วนร่วมใหม่


    จากคุณ : ฟ้าสีคราม (wenxuan1983) - [ 25 ก.ย. 50 16:04:58 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 431

    กระทู้เถียงกันมันส์หยด อ่านไปนิดหน่อย
    ลิงค์มาจากเฉลิมไทย ขออ่านก่อนนะครับ


    จากคุณ : superblackpig - [ 25 ก.ย. 50 16:07:31 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 432

    เป็นกระทู้ที่ดีครับ ต้องเข้ามาอ่านวันละสามเวลา
    ขอบคุณพันทิปที่คงกระทู้นี้ไว้ให้ ไม่รีบกำจัดออกไป
    อ่านแล้วบังเกิดพุทธิปัญญามากมาย โดยท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย
    ที่ได้มาร่วมอภิปรายกัน ณ มหาสมาคม แห่งพันทิป ห้องสมุดนี้

    ด้วยจิตคารวะ


    จากคุณ : กายทิพย์ - [ 25 ก.ย. 50 16:10:18 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 433

    คิดว่า  คุณฟ้าสีคราม  คงไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย

    เพราะ กฎหมายทั้งหลายที่เขาออกมา มีเหตุผลประกอบทั้งนั้นครับ  


    ถ้าคุณเขียนเช่นนั้น กลายเป็นว่า  กฎหมาย คือ กฎหมาย ไม่มีเหตุผล

    อันนี้ ผิดข้อเท็จจริงนะครับ


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 16:12:55 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 434

    คุณฟ้าสีครามครับ ผมโทรไปถามที่สำนักงานทรัยพ์สินมาแล้วนะครับ ตามที่คุณได้ให้เบอร์เอาไว้


    ผมถามเจ้าหน้าที่ผู้หญิงคนหนึ่งที่ได้รับสาย ได้สอบถามข้อมูลเพิ่มมาบางส่วน และผมได้ post เอาไว้ใน Reply ที่ 404 แต่ความเห็นถูกลบออกไปครับ ผมไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นครับ ทำไมความเห็นถึงหายไป ???


    แต่เท่าที่สอบถามมา ก็ได้คำตอบที่ไม่เคลียร์เท่าไหร่ครับ เพราะเจ้าหน้าที่เองก็ไม่สามารถให้ข้อมูลได้อย่างชัดเจน อาจจะเป็นเพราะผมไม่มีความรู้ด้านภาษี และคุยกันโดยปากเปล่า ไม่มีเอกสารใดๆ หรืออาจจะเพราะว่าข้อมูลหลายๆ อย่างอาจจะไม่สามารถเปิดเผยได้ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เค้าบอกว่ารายละเอียดสามารถหาอ่านได้ในเว็บไซต์ แล้วเค้าก็ให้ URL ของ website มาครับ http://www.crownproperty.or.th/history.php (ทั้งๆ ที่จริงๆ ผมก็มีแล้วครับ จากการ search จาก google.com)


    ด้วยความที่พิมพ์อธิบายไปแล้ว ในความเห็นที่ 404 ผมไม่อยากจะพิมพ์ซ้ำอีกครับ แต่สรุปคร่าวๆ เท่าๆ จำได้นะครับ ถ้ามีความผิดพลาดหรือข้อมูลใดคลาดเคลื่อน รบกวนผู้รู้ท่านอื่นๆ ทักท้วงได้ครับ


    เรื่องการจัดอันดับมหาเศรษฐีที่เป็นราชวงค์ที่ร่ำรวยนั้น ทางเจ้าหน้าชี้แจ้งและยืนยันว่าทางนิตยสาร Forbes จัดอันดับ โดยที่ไม่ได้ขอข้อมูลจากทางสำนักงานทรัพย์สิน และทางสำนักงานเองก็ไม่ทราบว่าทางนิตยสาร Forbes ไปเอาข้อมูลมาจากไหน


    ส่วนเรื่องการเสียภาษีนั้น เท่าที่สอบถามเค้าแจ้งว่า สามารถบ่งทรัพย์สินออกเป็นสองส่วนครับคือ


    1) ทรัพย์สินส่วนพระองค์ อันนี้ต้องเสียภาษีอากรครับ


    2) ทรัพย์สินส่วนพระมหากษ... อันนี้ไม่ต้องเสียภาษีอาการครับ


    ผมไม่ค่อยเข้าใจถึงความแตกต่างของทรัพย์สินทั้งสองอย่างเท่าไหร่ครับ เพราะไม่มีความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินและโครงสร้างภาษีเท่าใดหนัก อาจจะต้องรอให้ผู้เชียวชาญด้านนี้มาอธิบายเพิ่มเติมครับ


    ส่วนถ้าใครสงสัยเกี่ยวทรัพย์สินส่วนพระมหากษ... ว่าทำไมอย่างแรกต้องเสีย แต่อย่างที่สองถึงไม่ต้องเสียภาษี อันนี้ผมเองก็ไม่ทราบครับ แต่เจ้าหน้าที่เค้าบอกว่า ทำไปตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ที่ประกาศไว้นานแล้ว ซึ่งมีทั้งหมด 3 ฉบับ ดังรายละเอียดที่ Reply 349 ครับ


    สรุปง่ายๆ ก็คือไม่ต้องเสียภาษี เพราะมีประกาศว่าไม่ต้องเสียครับ


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 25 ก.ย. 50 16:22:22 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 435

    เพิ่มเติมนิดหนึ่งครับ

    หลายคนอาจยังสงสัยว่า แล้วพระราชกิจจานุเบกษาคืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมถึงมีผลเกี่ยวข้องกับสังคมไทย ขอสรุปย่อๆ นะครับ  อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด


    พระราชกิจจานุเบกษา คือเอกสารแสดงข่าวสารของทางราชการ เพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบโดยทั่วถึงกัน โดยเริ่มพิมพ์หมายประกาศต่างๆ มีลักษณะอย่างหนังสือพิมพ์ข่าว ใช้ชื่อว่า "ราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และยังคงมีอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา คือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี


    ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก website ของหน่วยงานสำนักคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา

    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/index/index.htm


    ส่วนที่ว่าทำไมพระราชกิจจานุเบกษาถึงสำคัญ และมีผลบังคับใช้ในการเสียภาษี อันนี้พยายามค้นใน website แล้วครับ แต่ว่าไม่พบข้อมูล หากใครมีความรู้ หรือทราบข้อมูลตรงนี้สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้เลยครับ


    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 25 ก.ย. 50 17:01:12 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 436

    ^^

    ^^  

    เอ่อ  คุณลมทะเล  ครับ   ราชกิจจานุเบกษา  สำคัญสำหรับกฎหมายทุกฉบับครับ  สิ่งที่ประกาศในราชกิจจา คือ การประกาศให้รับรู้ว่า กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว  ทุกคนต้องรับทราบครับ  ไม่ใช่สำคัญเฉพาะเรื่องภาษีครับ


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 17:23:31 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 437

    ไม่รู้จะว่าไงดี มันยุบยับมากมาย อ่านแล้วพาลปวดเศียร เป็นอันว่า

    ในประวัติศาสตร์ทุกอย่างเมื่อมีเกิด ก็ล้วนมีดับ มีรุ่งเรืองก็มีเสื่อมถอย มีผ่านมาก็ต้องมีผ่านไป มีรักก็ต้องมีชัง มีเหตุก็ต้องมีผล มีขาวก็ต้องมีดำ แต่สุดท้ายแล้วก็ล้วนแต่ไม่มีอะไรเลย และความไม่มีอะไรเลยนี่เองก็คือธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์

    ปรัชญาข้อนี้ผมถือเป็นความจริงแท้ ที่ยิ่งกว่าเรื่องการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้ารุ่งเรือง หรือการที่ใครจะคิดดี คิดร้าย คิดเล็กคิดน้อยยังไงเสียอีก

    ยึดมากก็ทุกข์มาก

    จะว่าไปแล้ว พล่ามอะไรอยู่เนี่ยเรา โทดทีที่นอกเรื่อง


    จากคุณ : A,The Martial Artist (หมื่นกระบี่สู่หนึ่ง) - [ 25 ก.ย. 50 17:24:04 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 438

    เข้ามาทุกวัน แต่ไม่ได้โพสต์ทุกวัน

    คห 429 ที่คุณลูกแม่โดมโพสต์ไว้ ตรงกับใจเราเด๊ะ

    บางคนในนี้กำลังสับสนของการถกกันในกระทู้นี้

    เราถกกันถึงสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นสถาบันที่คงอยู่มา โดยเปลี่ยนผู้นำมาเก้าครั้ง

    ไม่มีใครบอกเลยว่า "ท่าน" ไม่ดี มีแต่ตั้งข้อวิจารณ์ว่า การมี "สถาบัน" แบบนี้ไม่ดีอย่างไร

    คนที่ปกป้อง คนที่เอะอะก็ "คนไทยรึเปล่า" เวลาเจอกระทู้แนวนี้ คุณยึดติดกับตัวผู้นำ มากกว่าหลักการแล้วล่ะ

    ใช่ พวกเราโชคดีที่ผู้นำลำดับที่เก้านั้นตั้งอยู่ในธรรม และทำงานหนัก บำเพ็ญตนเพื่อประชาชน

    แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น

    เพราะหาก "สถาบัน" นี้คงอยู่ต่อไป ก็คงต้องมีลำดับที่สิบ ทีนี้แหละคือคำถาม

    "ถ้าผู้นำลำดับที่สิบ ไม่ดำรงอยู่ในธรรมล่ะ?" (เช่น ใช้เงินเพื่อความสุนทรีย์สุขสบายส่วนตัว ใช้อำนาจในทางที่มิชอบ มีข่าวเสียหายออกมาเป็นระยะๆ ฯลฯ เป็นต้น)

    "เรามีระบบอะไรที่จะควบคุม ตรวจสอบ เพื่อที่เราจะได้รับรู้ข้อมูลที่มีความสำคัญกับประเทศชาติ? เรามีแหล่งข้อมูลอะไรที่นอกเหนือไปจาก "ข่าวในพระราชสำนัก รายงานพระราชกรณียกิจ"??"

    "เรามีอะไรมารองรับและการันตีว่า ถ้าเกิดกรณีที่ผู้นำไม่อยู่ในทศพิศราชธรรม เราจะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ สามารถส่งเสียงน้อยๆของเรารวมกัน เพื่อก่อให้เกิดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง โดยที่เราจะไม่ต้องกลัวถูกจับเข้าคุกบ้าง?"

    หรือว่าเมื่อวันนั้นมาถึง พวกคุณก็ยังคิดว่า ฉันไม่ต้องการระบบพวกนี้ ฉันเชื่อมั่นว่าคิงทุกพระองค์ต้องเป็นมนุษย์ที่ดี เป็นเทพมีธรรมโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าเค้าจะเป็นใครมาจากไหนก็ตาม? ฉันเชื่อมั่นในตัวท่าน และฉันไม่ต้องการตรวจสอบใดๆ ไม่ต้องการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆทั้งสิ้น?

    ถ้าเป็นแบบนั้น เราคงไม่ต้องรอให้ใครมาถามเราว่า "คนไทยรึเปล่า?" เพราะเราก็คงไม่อยากเป็นนักหรอก ถ้าคนไทยต้องคิดแบบนั้น

    พวกคุณพอจะเข้าใจตรงนี้กันมั้ย? พวกคุณมองไกลๆกันหน่อยดีมั้ย อย่าหลับหูหลับตาเพียงเพราะว่าเราบังเอิญโชคดีที่ผู้นำสถาบันองค์ปัจจุบันท่านดีกว่ามาตรฐาน ดีกว่าราชวงศ์ทั่วโลก

    ระบบป้องกัน "สถาบันเป็นพิษ" อาจมาในรูปกฏหมาย พระราชบัญญัติ อย่างเป็นทางการ ที่อาจเน้นการแยกแยะอำนาจอย่างแท้จริง และการจำกัดงบประมาณทรัพย์สินรายจ่ายให้แค่ "พอเพียง" และ "เหมาะสม"

    หรือมันอาจจะเกิดขึ้นในรูปของ Tabloid อย่างที่เจ้าชายแฮร์รี่ วิลเลี่ยม ไดอาน่า เจ้าชายเฟรเดอริกกับเจ้าหญิงแมรี่จากเดนมาร์ก และราชวงศ์อื่นๆเกือบทั่วโลก ที่สามารถมีรูปลงหน้าปกนิตยสารได้ มีการวิพากษ์วิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ได้โดยไม่มีใครโดนยิงเป้าหรือลากเข้าคุก อย่างน้อยมันก็ทำให้คนชนชั้นสูงเหล่านี้รู้ว่า "เฮ้ ประชาชนจับตามองเราอยู่นะ เค้าสนใจนะว่าเราจะทำดีหรือไม่ดี" มันก็เป็น deterrent อย่างนึง

    และสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ทำกับ "สถาบัน" จริงๆควรทำกับชนชั้นปกครองทุกระดับ แม้แต่ผู้ใหญ่บ้าน

    แต่ทุกวันนี้ เมืองไทย ทำไม่ได้ แม้แต่คิดก็ยังแทบจะคิดไม่ได้ กลายเป็นเรื่องผิดร้ายแรง แล้วก็มานั่งแปลกใจกันว่าทำไมเมืองไทยมันมีคอรัปชั่น มีอำนาจมืด มีโดนอุ้ม มีกรณีหงิกรอด ฯลฯ อีกมากมายแบบนี้

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 18:01:53

    จากคุณ : Individualism - [ 25 ก.ย. 50 17:50:20 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 439

    พักหลังๆ กระทู้นี้เริ่มเดือดขึ้นอีกครั้งนะครับ บางเรื่องราวก็เป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเคยคุยกันจนไม่มีอะไรจะคุย (ก็สี่ร้อยกว่าความเห็นแล้วนี่) แต่บางเรื่องก็เป็นประเด็นใหม่ เช่น ประเด็นทางกฏหมาย

    ผมอยากเห็นการอธิบายโต้แย้งกันด้วยเหตุผลมากกว่าอารมณ์นะ พักหลังนี่ทั้งคุณ ฮกหลง,นายปลาตีน,Sa-idian ก็หายกันไป เข้าใจว่าทั้งสามคนหมดประเด็นจะถกแล้ว กลุ่มที่เข้ามาใหม่ คุณฉันไม่รู้อะไรเลยก็อธิบายประเด็นกฎหมายสนุกทีเดียว แต่อีกหลายคนก็เข้ามาเขียนเพราะอารมณ์แล้วก็จากไป...พักนึงหลังจากมีคนเขียนจุดอารมณ์เดือดก็เข้ามาเขียนโต้แบบเดือดๆ ต่อ

    "ผมเกลียดคนที่คิดต่างจากผม แต่เกลียดคนที่ไม่ยอมให้อีกฝ่ายแสดงความคิดเห็นยิ่งกว่า" จำได้ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยเอาไว้ด้วย แต่นี่เป็นคำกล่าวของ ฟรานซิส เบคอน

    ผมประทับใจกระทู้นี้นะครับ เพราะเราโต้แย้งกันด้วยเหตุผล


    จากคุณ : กัปปะ. บึงปิศาจ (kappasai) - [ 25 ก.ย. 50 17:53:17 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 440

    ตั้งสติ คิดถึง Nietzsche ไว้ครับพี่บุญชิต ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่า การสำนึกว่าตัวเองมีอยู่มันจะบาปขนาดนี้ ต้องสำนึกว่าลอร์ดจัดทุกอย่างให้เรา
    ผมเป็นคนถือศาสนาเทวนิยมครับ เพราะผมเชื่อว่าทั้งโลกและจักรวาล ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่พอดี พระเจ้าในศาสนาตะวันตกนี่ ไม่เคยประทานอะไรมาเป็นพิเศษ...ปล่อยให้โลกเป็นของมนุษย์ และมนุษย์จัดการกันเอง
    ส่วนเรื่องเสียงส่วนใหญ่นั้น(ตามที่ข้างบนกล่าวมา) ตามระบบประชาธิปไตย(อย่างฝรั่ง) เขาต้องมีที่ให้ตรวจสอบ และมีที่ยืนให้กับเสียงส่วนน้อยอยู่แล้ว มิใช่ เสียงส่วนน้อยต้องถูกจับเผาทั้งเป็นหรืออะไรเทือกๆนี้
    ป.ล. สาเหตุที่จีนต้องแพ้สงครามกับพวกฝรั่ง ก็เพราะเขาคิดว่า เขาเป็นศูนย์กลางของโลก แบบเขาดีที่สุดไม่ใช่หรือครับ
    ป.ล. 2 ผมคิดว่าผมก็ได้รับ "พระมหากรุณาธิคุณ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากพอสมควรครับ อย่างน้อยก็ในนี้
    ป.ล.3 ตามหลายๆความเห็นที่ถามเรื่อง คนไทยหรือเปล่านั้น ผมมีบัตรประชาชนไทยครับ เพราะตระกูลผมเข้ามาอยู่ในไทย4 ชั่วคนแล้ว แต่ถ้านับสายเลือด ผมก็ลาวหลวงพระบางผสมพวกจามกับญวณไปตามเรื่องตามราวนั่นแหละ แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมทำถูกกฏหมายไทย ถือว่าไม่ได้สร้างปัญหาอะไรกับแผ่นดินที่ผมมา"อาศรัย"เขาอยู่นัก

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 19:28:54

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 18:57:48

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 25 ก.ย. 50 18:53:48 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 441

    มาลงชื่อด้วยคนว่าตามอ่านเรื่อยๆ ก็ดีค่ะถ้าโต้กันด้วยเหตุด้วยผล (แต่บางทีก็เห็นว่ากระแทกแดกดันกันด้วยคำบาดๆ ไม่ค่อยอยากให้มีหรอกนะคะ) แต่ว่าชาวบ้านอย่างเราไม่ค่อยเข้าใจกับพวกศัพท์แสงทางนี้หรอกค่ะ ก็ต้องอ่านช้าๆ และพยายามจะเข้าใจคนสายศิลป์พูดกัน (เรียนทางการแพทย์ค่ะและงุนงงกับอะไรที่เป็นกฎหมาย การเมืองการปกครอง)

    ขอออกตัวก่อนว่าเราก็เป็นคนหนึ่งที่เทิดทูนในหลวงและพระเทพเป็นชีวิตจิตใจ(เรียกว่าแฟนคลับก็ได้) แต่ไม่รู้ว่าคืออาการคลั่งเจ้าอย่างที่คุณๆพูดกันหรือเปล่านะคะ เพราะก็ไม่เคยคิดว่าท่านเป็นถึงขนาด"เทพ" ทำอะไรไม่มีผิดขนาดนั้น และที่บ้านนอกก็ไม่น่าจะมีใครคิดอย่างนั้น(เท่าที่เห็น)
    ก็จำได้ว่าตอนเด็กๆเคยถามแม่ ว่าท่านจะเคยทำบาปไหม แม่ก็บอกว่าท่านเป็นปุถุชน ทำไมจะทำไม่ได้

    แต่ทุกวันนี้ที่เคารพท่านและพระเทพก็เพราะเป็น Idol ของเราในเรื่องความเก่งทางสมองหลายด้าน (แต่คงไม่ครบทั้งแปดด้าน) หาคนทั่วไปที่จะเป็นแบบนี้ได้ยาก(คงเพราะท่านมี"โอกาส"ด้วย) และเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เป็นคนมัธยัสถ์ขึ้น ดูจากพระกิจวัตร อย่างหลอดยาสีฟันแบบแต๊ดแต่ ดินสอกุดที่ยังอุตส่าห์ต่อด้ามให้ยาวเพื่อจะเขียนให้หมดแท่งจริงๆ รองเท้าก็ขาดแล้วซ่อมขาดแล้วซ่อมซ้ำไปซ้ำมา ทั้งๆที่มีปัญญาจะซื้อหรือจะเอาสักกี่คู่ก็ได้ ตัวพระเทพเองท่านก็ใส่แต่เสื้อผ้าซ้ำๆ เหมือนหรือประหยัดกว่าคนทั่วไป เราก็ทำแบบท่านทั้งสองมาตลอดค่ะ ไม่รู้เรียกว่าพอเพียงได้ไหม

    ที่คุณๆสงสัยกันเราก็เห็นด้วยที่มีประเด็นพวกนี้ขึ้น ด้วยเหตุผลของ คุณ Individualism ที่ว่า "ถ้าผู้นำลำดับที่สิบ ไม่ดำรงอยู่ในธรรมล่ะ?" เราก็คิดว่าถึงวันนั้น ประชาชนทั่วไปก็คงคิดเหมือนเราเองว่า ประเทศนี้ไม่ต้องมีระบอบกษั....ก็ได้ ไม่มีใครคิดจะให้บ้านเมืองมีอะไรแปลกๆหรอกนะคะ
    ถ้ามีอะไรแย่ๆ เกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ มันก็ต้องมีทางของมันอยู่ดี (อันนี้มีจินตนาการในใจ...)

    ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เราก็ไม่เคยมีความรู้อะไรเลย ได้จากกระทู้นี้แหละค่ะ ความคิดเราว่าไม่ว่ามีเยอะมีน้อย ท่านคงไม่ได้จะอยากได้เยอะๆ เพราะคิดว่าท่านก็คงใช้เพียงน้อยอยู่แล้ว อันนี้ไม่มีความคิดเห็น เพราะคิดไม่ออก

    ยังไงจะตามอ่านต่อ ถ้ากระทู้อายุยืน แต่ไม่อยากอ่านคำพูดเหน็บแนมกันนะคะ มันเด็กมากๆ ผิดกับความรู้ที่ดูเหมือนมีสูง ไม่รู้ว่าวัตถุประสงค์ของผู้ตอบกระทู้หมายถึงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่าจริงๆหรือเปล่า หรือแค่จุดประกายให้ฉุกคิด แต่คิดว่าถ้ากระทู้อยู่นานๆน่าจะถึงพระเนตรพระกรรณแน่นอน (แต่ก็แล้วแต่ว่าบุคคลผู้หนึ่งจะกราบทูลฯหรือเปล่า 555)

    เช็คแล้วไม่มีอะไรให้ลบคห.นี้นะ


    จากคุณ : รักในหลวง รักพระเทพค่า (Baby Lady) - [ 25 ก.ย. 50 18:58:51 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 442

    ผมขออภัยทุกท่านที่นับถือศาสนาเทวนิยมครับ ลืมนึกประเด็นนี้ไป
    คิดแค่ว่ายกตัวอย่างให้เห็นภาพ ไม่ได้นึกว่า เหมือนกำลังมาต่อว่าพระเจ้า

    "พระเจ้า" ที่ผมกล่าวถึงในทุกความเห็น ไม่ได้หมายถึงพระเจ้าในศาสนาใดทั้งสิ้น

    หมายถึง "เทพเจ้า" อันทุกคนนิยมอ้างนามเพื่อความชอบธรรม
    คือ พระเจ้าของคำคือคำกลางๆ คำว่า God น่ะครับ

    แต่ต่อไปจะพยายามใช้ว่า Lord ก็ได้

    ปล. ความเห็นข้างบนนี้ (441) แรงใช้ได้นะครับ


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 25 ก.ย. 50 19:33:02 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 443

    ^^

    ^^

    ตามที่คุณสงสัยมานั่นล่ะครับ เราถึงต้องพัฒนาระบบให้รองรับกับอนาคตที่อาจเกิดขึ้น  


    นั่นคือ สิ่งที่หลายๆคนเขาพยายามให้เหตุผล  ถกเหตุผลกันอยู่ตอนนี้ครับ   เรื่องทรัพย์สินก็คงเป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน  ว่า ในอนาคตจะเป็นอย่างไร และสมควรเป็นเช่นไร  


    หรือ คุณคิดว่า ควรปล่อยให้มันเป็นไป ผ่านไปตามกาลเวลา  ไว้รอให้เกิดเหตุการณ์นั้น  แล้วพวกเราคนไทยก็ยอมรับมันตามที่มันจะเป็น  


    ถ้าคิดเช่นนั้น  การพัฒนาต่างๆ ก็คงจะไม่เกิดขึ้นแน่นอนครับ


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 25 ก.ย. 50 19:38:14 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 444

    ^
    ^
    ^
    มีหมอหลุดเข้ามาหนึ่งคน ก็ทำใจนิดนึงครับ เวลาผมไปหาหมอผมก็ไม่รู้จะเถียงอะไร ได้แต่เล่าอาการให้ฟังเหมือนกัน
    ในฐานะนิยมเป็น idol ผมว่าก็เป็นเรื่องปกติ เหมือนที่ เลดี้ไดอานา สเปนเซอร์ก็เป็นไอดอลของหลายๆคนทั่วโลก
    ความจริงตรงนี้ผมก็เห็นหลายคนตอบไว้แล้ว แต่ปัญหาต่อมาคือ การผูกเอา สามสีบนธงมาเป็นสิ่งที่ต้องบังคับให้คนไปทางเดียวกันหมด มันเป็นสิ่งที่ผมรับไม่ค่อยได้ครับ
    พูดกันตามตรง แม่ผมก็ยังถือว่าตัวเองเป็นข้าราชการอยู่ และแกก็ไม่เคยอ้างความภักดีนอกหน้าไปไล่จัดการใคร หรือบังคับให้คนหยุดเถียงแก(โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผมเองว่า ด้วยเหตุผลว่า"ชั้นเป็นแม่เธอนะ")
    อย่างที่ว่าไว้ ทุกอย่างมันคงมีทางออกของมันเองน่ะครับ
    ป.ล. พี่บุญชิตครับ ผมก็ไม่ได้คิดมากอะไรเรื่องคำว่าพระเจ้าหรอก แค่ผมอยากยกตัวอย่างจากสิ่งที่มีอำนาจสูงสุด จนทำให้ยุโรปตกอยู่ใน "ยุคกลาง" เป็นพันปี น่ะครับ

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 19:48:07

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 19:40:26

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 25 ก.ย. 50 19:38:36 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 445

    ที่หลายคนในนี้คิดว่าควรจะมีการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อำนาจของสถาบัน
    แต่ผมเห็นว่า ตามกฎหมายแล้วสถาบันไม่ได้มีอำนาจอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลย
    เช่น สมมุติสภาร่างกฎหมายขึ้นไป ถึงท่านไม่เซ็น กฎหมายนั้นก็ประกาศใช้ได้อยู่ดี
    เป็นต้น

    อำนาจของสถาบันที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่
    เป็นอำนาจที่เกิดจากความจงรักภักดีของประชาชนส่วนใหญ่๋ที่มีต่อสถาบัน และมันเกิดขึ้นเพราะสถาบันมีผลงานช่วยเหลือประชาชนอยู่จริง
    สถาบันของไทยนี้มีผลงานอย่างมากมาย เป็นสถาบันที่ดี เป็นที่พึ่งไ้ด้ คนถึงได้รัก ถึงได้มีอำนาจขึ้นมา แต่เป็นอำนาจที่อยู่ในใจคน

    ถ้าสถาบันไม่ได้มีผลงาน ก็ไม่เป็นที่รักของประชาชน ประชาสัมพันธ์อย่างไรคนก็ไม่เชื่อถือ ถ้าเป็นเช่นนี้สถาบันก็จะไม่มีอำนาจ เพราะอำนาจของสถาบันอยู่ในใจของประชาชน ไม่ได้อยู่ในกฎหมาย

    ในความคิดเห็นของผม ระบบตรวจสอบและถ่วงดุลย์อำนาจของสถาบันจึงไม่น่าจะมีความจำเป็น เพราะกลไกของสถาบันกับจิตใจของประชาชนนั้นถ่วงดุลย์อำนาจกันเองอยู่แล้ว


    จากคุณ : ขอแสดงความคิดเห็น - [ 25 ก.ย. 50 20:34:41 A:125.24.18.93 X: ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 447

    ^^^

    อืม....คุณขอแสดงความคิดเห็น

    คุณพูดถูกนะว่า "ตามกฎหมายแล้วสถาบันไม่ได้มีอำนาจอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลย"

    เพราะ

    "The King can do no wrong"

    แต่2-3 ปีที่ผ่านมาหลายฝ่ายไม่ได้คิดแบบนี้ เริ่มตั้งแต่หนังสือของนายประมวล(ซึ่งเป็นหนังสือที่ห่วยมาก อ.สมศักดิ์ เจียมฯ แห่งธรรมศาสตร์วิจารณ์เสียเละตุ้มเป๊ะ)......พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมไปถึงสถาบัน องค์มนตรี คมช..ไม่ได้คิดเช่นนั้นเลยนะครับ

    วัน 19 กันยา.........บอกนัยยะทั้งหมดอยู่แล้ว

    จริงๆแล้ว

    ไม่ต้องตรวจสอบถ่วงดุลย์แบบพรรคการเมืองอะไรหรอกครับ แค่ "ยกเลิกกฏหมายหมิ่นฯก็พอ"

    แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 50 23:34:06

    จากคุณ : atk - [ 25 ก.ย. 50 23:32:12 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 448

    เห็นด้วยกับ # 438 ครับ หลายคนยึดติดอยู่กับตัวบุคคล โดยไมได้นึกถึงสถาบัน อย่าลืมว่าไม่มีบุคคลใดอยู่ค้ำฟ้า ถ้าเมืองไทยถึงเวลาที่ต้องมีลำดับที่ 10

    แล้วตอนนั้นประเทศไทยจะเป็นอย่างไร มีใครพอจะคาดการณ์ได้ไหม

    ผมว่าไม่ว่าจะพวกไหน ก็น่าจะมองออกว่าประเทศไทยคงไม่เป็นเหมือนที่ผ่านมาแน่ๆ แต่จะเปลี่ยนแปลงไปทางใด คงต้องรอดูกันไป

    แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 01:21:11

    จากคุณ : กัซจัง - [ 26 ก.ย. 50 01:10:31 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 451

    2. อย่างที่คุณบุญชิตและหลายๆท่านได้พูดย้ำเสมอ ว่าการวิพากษ์วิจารณ์นี่ ไม่ได้วิจารณ์เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามตกไป เถียงไม่ได้ ต้องยอมรับความเห็นฉันอย่างเดียว แต่เป็นการวิพากษ์ให้ทุกๆฝ่ายได้ใช้พื้นที่อย่างเท่าเทียมกัน ถึงจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็ต้องมีโอกาสแสดงความคิดเห็น อย่างสุภาพและมีเหตุผล ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงกระทำในระบอบประชาธิปไตย ไม่ให้ปิดพื้นที่ของผู้ที่ไม่เห็นด้วย แล้วก็เงียบ ไม่ต้องพูด ไม่ต้องเถียง

    เราอยากให้หลายๆคนลองย้อนกลับไปคิดว่า เรา "เสีย" อะไรไปกับการนิ่งเงียบ การไม่พูด การไม่คิด ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้บ้าง ระบบความคิดของคนไทยส่วนใหญ่คือ คุณมี "ธง" หรือข้อสรุปในใจอยู่แล้ว และคุณจะคิดทุกอย่างให้มุ่งไปสู่ข้อสรุปอันนั้น อาศัยสิ่งที่เรียกว่า "สามัญสำนึก" แต่ไม่เคยคิดว่า "สามัญสำนึก" มันก็ไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ ไม่ได้มีอยู่เองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมานานจนเป็นที่ยอมรับ แล้วเราก็หยิบมาใช้โดยไม่ตั้งคำถาม วิธีคิดแบบนี้ไม่เป็นผลดีต่อประชาธิปไตยเลยค่ะ เพราะแทนที่คุณจะคิด "วิธี" ที่นำไปสู่ข้อสรุป คุณจะมานั่งยึดติดกับตัวบุคคล กับฮีโร่ แล้วตัวเองก็หลบอยู่ในมุมมืด ไม่คิด ไม่พูด เหมือนเด็กนร.ที่นั่งหลังห้องน่ะค่ะ ครูถามอะไรก็ไม่ตอบ มานั่งเช็คชื่อไปอย่างนั้น ขอให้เรียนจบอย่างเดียว ถามว่าเด็กคนนั้นได้อะไรหรือคะ การยึดติดกับใบปริญญาก็เหมือนยึดติดตัวบุคคลนะแหละ และคนในประเทศนี้ก็คิดอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ด้วย วิธีคิดอย่างนี้ทำลายพัฒนาการของประเทศนี้ไปมากนะคะ คุณไม่ควรมองข้ามเลย

    ขอย้ำว่า จงรักภักดี ไม่ใช้การใส่เสื้อเหลืองแล้วบอกว่าตายแทนได้ แต่เป็นการนำเอาสิ่งดีๆที่ท่านสร้าง ไปต่อยอด ทำให้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้ตกทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบไป ไม่ใช่จบแค่ที่รุ่นของ "ท่าน" และพวกคุณ การที่หลายคนยึดติดกับ "ท่าน" จนไม่ใส่ใจที่จะพัฒนา ต่อยอด มันไม่เป็นผลดีกับลูกหลานที่จะโตขึ้นในยุคที่ไม่มี "ท่าน" เลยนะคะ คิดกันให้ยาวๆค่ะ

    3. ขออธิบายจุดยืนว่า เราก็ยังเป็นกลางนะ เราเห็นด้วยกับหลายๆท่านเรื่องการแทรกแซงประชาธิปไตย แต่เราไม่เห็นด้วยในบางกรณี เพราะ overinterpret เกินไป ซึ่งอาจเป็นเพราะทฤษฎีบางทฤษฎีไม่เอื้อให้คุณมองจากมิติอื่นก็ได้

    4. อีกอย่างคือ เราเบื่อการนินทาค่ะ และหลายคนหาทางออกเรื่องวิจารณ์ไม่ได้โดยการตั้งกลุ่มนินทาใต้ดิน เราอ่านไปจิตก็ตก และคิดว่า ถ้าคนเรา desperate ขนาดไปจับกลุ่มคุยเรื่องไม่เป็นมงคลได้ ถึงแม้จะเสี่ยงกับคุกตะราง สังคมเรานี่ก็น่าเป็นห่วงนะ เพราะขนาดทางออก ยังเป็นทางออกที่ไม่สร้างสรรค์เลย เราถึงได้อยากให้กระทู้นี้เป็นตัวอย่างการวิพากษ์วิจารณ์ที่อยู่ในขอบเขต อ่านแล้วจิตไม่ตก อ่านแล้วอยากมีส่วนร่วม ช่วยกันคิด ช่วยกันหาทางออก ให้ทุกคนได้ใช้พื้นที่ในสังคมร่วมกัน ไม่ใช่กีดกันคนอีกกลุ่มออกด้วยคุกตะราง เพียงเพราะเห็นต่างกัน นี่แหละค่ะ เราถึงได้ชื่นชมเว็บมาสเตอร์ ถ้าเรามีกระทู้แบบนี้ได้ เราก็จะเริ่มเปิดพื้นที่การวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ได้ เราแอบหวังว่า ถ้าเราเริ่มได้ที่กระทู้นี้ การค่อยๆเปิดพื้นที่การวิจารณ์ก็น่าจะมีขึ้นได้ในประเทศนี้ และปิดช่องทาง underground ที่มันสกปรก เต็มไปด้วยคำหยาบคาย ไม่ทำให้จิตใจของคนดีขึ้น นอกจากระบายความใคร่ในกมลสันดานไปวันๆ ถ้าทำได้ก็จะเป็นผลดีต่อสถาบันด้วย

    5. เรื่องตามก้นฝรั่งนี่ก็พอเถอะค่ะ ถ้าจะเอาอะไรไทยๆหมด ก็เลิกใช้คอมพิวเตอร์ ทีวี รถยนต์ ฯลฯ ได้เลย ทฤษฎีหลายทฤษฎีคนคิดยังไม่ใช่ฝรั่งเลย อย่าง Said จริงๆก็เป็นคนปาเลสไตน์ที่โตที่อเมริกา ถ้ามากีดกันหมด เราตามโลกนี้ไม่ทันหรอกค่ะ อีกอย่างทฤษฎีก็เป็นเครื่องมืออย่างนึง ที่ทำให้เราเข้าใจอะไรๆ ได้ลึกมากขึ้น แต่ไม่ใช่สิ่งที่ปกครองเรา เราต้องรู้จักวิธีใช้ค่ะ

    พวก babel หรือ god นี่เป็นอุปลักษณ์นะคะ พูดเพื่อให้เกิดภาพ เข้าใจได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นตามตัวอักษรนะคะ

    เรื่องการ unite ประเทศ ด้วยสถาบันปกครอง ในยุคก่อนเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ค่ะ เพราะหลายๆวัฒนธรรมก็เริ่มอย่างนั้น อัตลักษณ์แห่งความต่างเพิ่งเกิดขึ้นยุค modernism และ postmodernism ในศตวรรษปัจจุบันนี่เอง เพียงแต่เรายังพูดไม่ได้เต็มปากว่าของเรา postmodern หรือยัง ตราบใดที่คนชายขอบยังไม่มีสิทธิ์มีเสียง และสังคมยังไม่ได้เป็นพหุสังคมอย่างจริงจัง ทุกวันนี้เราแค่ pretend to be postmodern เท่านั้น เราว่าคำนี้น่าจะดีกว่าคำว่า "ซ้าย" นะ เพราะดูจะมีพื้นที่ให้คนหลายกลุ่ม หลายความคิดเห็น ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นซ้ายหรือขวา

    สาธุ ขอให้ไม่โดนลบด้วยเทิ้ดดด


    จากคุณ : Sa-idian - [ 26 ก.ย. 50 04:16:27 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 453

    เราพยายามจะโพสต์ข้อความข้างล่างนี่ค่ะ แต่โดนอุ้มไปหลายครั้งแล้ว ไม่รู้ว่าติดคำว่าอะไร ขอลองใหม่นะคะ

    --------------------------------------------------------------------------

    เข้ามาอีกรอบ เปลี่ยนประเด็นไปแล้ว ก็ดีค่ะ ได้ความรู้ด้านกม.ด้วย

    คุณกัปปะ ที่เราไม่มีอะไรจะเขียนเพราะว่าเขียนไปหมดแล้วค่ะ แล้วรู้สึกยิ่งเขียนยิ่งนอกเรื่องด้วย ที่ว่าจะเขียนเกี่ยวกับที่เรียนก็ยังไม่ว่างเขียนเลย เพราะช่วงนี้เปิดเทอม เตรียมเอกสารสอนเยอะมาก ประชุมอีกมากมาย เวียนหัวค่ะ

    ขอสรุปประเด็นที่อาจจะยังไม่เคลียร์ ที่เรารู้สึกนะคะ

    1. หลายคนในที่นี้ยังเข้าใจว่า การวิจารณ์ที่เราพูดถึงนี่ เป็นการวิจารณ์ในด้านลบ ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ใช่นะคะ นี่ก็สะท้อนปัญหาระบบความคิดของคนไทยอย่างชัดเจน ด้วยตรรกะที่ว่า ถ้าไม่ขาว ก็ดำ ถ้าไม่ชื่นชม ก็รุมด่า หลายท่านที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในที่นี้ do not want to abolish constitutional monarchy altogether เพียงแต่ว่า monarchy ต้องปรับตัวให้เข้ากับหลักประชาธิปไตย ลดการแทรกแซง และมีความโปร่งใสมากขึ้น

    หลายคนเชื่อว่า "ท่าน" เป็นคนดีค่ะ เราเองก็เชื่อตลอดว่า "ท่าน" เป็นคนดี ในขณะเดียวกัน เราก็เชื่อว่า "ท่าน" เป็นมนุษย์ด้วย คุณงามความดีที่ท่านได้กระทำมา เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง ไม่ใช่เพราะท่านเป็นเทวดาที่เสกอะไรได้ในพริบตา แต่เพราะท่านเป็นมนุษย์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่าง
    มาก ต่อสู้กับหลายฝ่าย เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน ท่านก็ทำพลาดได้ และเรากำลังพูดว่าสิ่งที่ท่านพลาด หรือทำไม่ถูกต้องนัก มีทางแก้อย่างไร เพราะทุกวันนี้ ท่าน "ดี" เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าต่อไปคนที่จะมาแทนท่านไม่ดีเท่าท่าน เราจะยังจะทำเหมือนเดิมหรือเปล่า เราถึงได้มาพูดเรื่องหลักการยังไงคะ ทุกวันนี้ lese majeste "อาจจะ" เป็นที่รับได้ของคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าต่อไปมีกม.นี้แล้วคนรับไม่ได้มากขึ้น เพราะปกป้องคนที่เราไม่อยากปกป้อง เราจะยังอยากมีกม.นี้อยู่หรือเปล่า


    -------------------------------------

    คำที่คิดว่าน่าจะติด เราพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษละกัน

    แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 04:26:00

    แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 04:24:53

    จากคุณ : Sa-idian - [ 26 ก.ย. 50 04:23:37 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 454

    man ... เข้ามาดู

    จากคุณ : Mr. Fusion - [ 26 ก.ย. 50 05:46:57 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 456

    มาติดตามกระทู้ดีๆครับ

    อ่านนานมาก ไม่เคยเข้า โต๊ะนี้เลย ที่เจอกระทู้นี้บังเอิญจริงๆ
    หลายๆอย่างที่ผมสงสัยมานาน ผมก็ได้รับคำอธิบายแล้ว
    เหลือแต่ว่า เราจะเดินไปทางไหนกัน

    วันนั้นมันต้องมาถึงเข้าซักวันครับ พวกเราจะยอมรับความจริงกันตั้งแต่ตอนนี้ และหาทางที่ถูกต้องได้ไหม..............


    จากคุณ : xnone - [ 26 ก.ย. 50 10:04:49 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 457

    ู^
    ^
    ^
    ^
    เย้.........ในที่สุดเขาก็มา
    ป.ล. ดูเหมือนกลายเป็นพวกฟานาติกชอบกล...ผมไม่ใช่พวกคลั่งศาสนานะครับ

    แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 11:14:00

    แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 11:13:11

    จากคุณ : นายปลาตีน (นายปลาตีน) - [ 26 ก.ย. 50 10:07:13 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 460

    เพิ่งรู้ตัวว่าโพสต์ซ้ำ(เลขคห.มันข้าม) ไม่รู้ทีมงานเว็บหรือสมาชิก

    ไม่ทราบว่าใครพอจะกรุณาบอกหน่อยได้ไหมคะว่าข้อความไหนมันไม่ค่อยดี


    จากคุณ : Baby Lady - [ 26 ก.ย. 50 14:00:05 ]
 
 

 
 

    ความคิดเห็นที่ 463

    อ่านความคิดเห็นของคุณ ซาอิเดี้ยน แล้ว ชอบจังค่ะ โดยเฉพาะ ๔๕๑

    จากคุณ : horseshoes - [ 26 ก.ย. 50 15:46:05 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 464

    อยากจะขอแนะนำหนังสือและบทความให้ลองอ่านดูนะครับ คิดว่าน่าจะทำให้หายข้องใจเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินฯ เศรษฐกิจพอเพียง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้บ้าง (คราวก่อนเคยโพสต์ไปแล้วแต่โดนดูด ไม่ทราบว่าเป็นเพราะชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อคนเขียน หรือว่า review ของผมเอง) หวังว่าคงจะไม่โดนดูดอีกนะครับ
    สำหรับผู้จงรักภักดีขี้ตกใจครับ บทความ หนังสือ และงานวิจัยที่อ้างถึง ไม่มีเล่มไหน ฉบับใดที่ต้องห้าม และการreviewของผมก็ไม่มีส่วนใดเกินเลยไปจากเนื้อหาในบทความเลย และการโพสต์ครั้งนี้ผมได้พยายามตัด reviewทั้งหมด ที่จะทำให้ผู้ขี้ตกใจทั้งหลายไม่พอใจแล้ว หวังว่าคงจะเห็นใจและไม่ลบนะครับ

    สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหาก...คืออะไร?.” ฟ้าเดียวกัน (มกราคม – มีนาคม 2549): 67 – 93.

    เป็นบทความที่ตั้งคำถามกับสถานะในทางกฎหมายของสำนักงานทรัพย์สินฯ

    พอพันธ์ อุยยานนท์. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหาก...กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร เรื่อง โครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ. (เอกสารอัดสำเนา)

    เป็นงานวิจัยที่พูดถึงการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในธุรกิจต่างๆ และอธิบายถึงสาเหตุที่ทำไมธุรกิจต่างๆของสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับการลงทุนขององค์กรอื่นในธุรกิจเดียวกัน (ซึ่งผมคิดว่าบทความนี้ยังให้รายละเอียดที่ไม่มากพอกับที่ผมต้องการ)
    บทความนี้ที่ผมมีเป็นเอกสารอัดสำเนา แต่ผมเห็น ความเห็นที่ 354 ได้ทำลิงค์ไว้ให้ดาวน์โหลดแล้ว (ไม่ทราบว่าลิงค์ยังใช้ได้หรือเปล่าเพราะไม่ได้ลองกด) (ขอบคุณความเห็นที่ 354 ด้วยครับ) (งานวิจัยนี้ได้รับทุนของ สกว. ครับ เพราะฉะนั้นปลอดภัยแน่นอนครับ)

    ปราการ กลิ่นฟุ้ง. “เก็บภาษีมรดกในประเทศสยาม: ความเป็นมาของการตราพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476.” ฟ้าเดียวกัน (มกราคม – มีนาคม 2550): 112 – 129.

    ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนบทความนี้ (แต่ผมยังไม่ได้ค้นวิทยานิพนธ์เล่มดังกล่าว) ซึ่งหากวิเคราะห์ดู เรื่องภาษีมรดกนี้มีส่วนเกี่ยวพันอยู่กับ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯ ด้วย และคงเป็นคำตอบให้คุณ “ลูกแม่โดม” “seabreeze_psu” ได้บ้างครับ ว่าทำไมถึงต้องแบ่ง ทรัพย์สินออกเป็น 3 กอง (ไม่ใช่ 2 กองนะครับ จากที่เคยโพสต์ พ.ร.บ. ไว้แล้ว)

    ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมดเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2550.

    เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ไม่แน่ใจว่าปี47 หรือ 48 หรือเปล่า? ที่เพิ่งจะได้รับการตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ ภายในพูดถึงการสถาปนาพระราชอำนาจนำ (Royal Hegemony) ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเศรษฐกิจพอเพียง และมีกรณีตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียงให้ดูด้วย (ถ้าอ่านดูจะพบว่ามีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ว่ามีความสำเร็จหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร)

    ปล. ผมอยากตอบมากกว่า และละเอียดกว่านี้นะครับ แต่ตอบอะไรมากไม่ได้ กลัวโดนดูด
    ปล.2 ผมพอเข้าใจเหตุผลแล้วว่าทำไม The prison notebook ของ Gramci มันถึงได้(จำเป็นต้อง) เขียนให้อ่านไม่รู้เรื่องขนาดนั้น (แต่ไม่ได้แปลว่าผมเป็น Gramciนะครับ เพราะสติปัญญาผมคงไม่อาจเทียบกับเขาได้ และในทางความสามารถการใช้ภาษาผมก็ไม่ถึงขั้น ไม่อย่างนั้นความเห็นผมคงไม่โดนดูด)


    จากคุณ : ฉันรู้ว่า... (ฉันไม่รู้อะไรเลย) - [ 26 ก.ย. 50 16:19:48 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 465

    ขอสนับสนุน คคห.ที่ 451 ด้วยค่ะ

    หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประกายเล็กๆ ที่นำไปสู่การรับรู้ 2475 ในแง่ที่เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง มิใช่เนื้อเรื่องเหมือนละครหรือเรื่องเล่าอย่างที่เล่าๆ กันผ่านนวนิยาย

    2475 เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นการล้มโครงสร้างระบบศักดินาไทยที่มาอย่างยาวนาน เป็นปรากฏการณ์เชิงประวัติศาสตร์ และเป็นดอกผลอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สุดงอมเต็มกำลัง

    ไม่ใช่เรื่องของเด็กนอกที่อยู่ดีๆ ลุกขึ้นมาล้มเจ้า
    ไม่ใช่เรื่องชิงสุกก่อนห่าม

    และหวัง......ว่าจะมีการมองว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าสมควรจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะพระเจ้าแผ่นดินพระองค์สุดท้ายแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ที่ได้ทรงทำทุกอย่างเพื่อรักษาระบอบนั้นไว้จนสุดพระกำลัง ในภาวะที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินมากที่สุด


    จากคุณ : AntiSpam (อันตราคนี) - [ 26 ก.ย. 50 16:22:36 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 466

    ปชช.ตั้งเครือข่ายชนสนง.ทรัพย์สินฯ
    ------------------------------------------------------

    โดย Post Digital 26 กันยายน 2550 14:42 น.

    5ชุมชนใหญ่ในพื้นที่กทม.ตั้งเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดิน
    เรียกร้องความเป็นธรรม จากการถูกไล่ที่

    นายสมชาย ว่องวัฒนโรจน์ ประธานเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดิน
    ชุมชนต่างๆ ได้ร่วมกันเป็นเครือข่ายฯ

    เนื่องจากตั้งแต่ปี 2545 ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ถูกสำนักงานทรัพย์สินฯ
    ไล่ที่อย่างไม่เป็นธรรม ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า
    ว่าจะนำที่ดินเหล่านี้ไปทำอะไร เพื่อใคร
    เพราะเท่าที่ทราบส่วนใหญ่มีการนำไปให้กลุ่มทุนดำเนินธุรกิจ


    ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำแหน่งของพื้นที่แต่ละแห่ง
    ไม่ว่าจะเป็น สะพานปลา สวนลุมพินี เจริญกรุง 64 คลองถม และบางกอกบาซาร์ ราชดำริ
    ได้มีนักธุรกิจเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากความรุ่งเรืองในพื้นที่


    ทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ต่อสัญญาให้ชาวบ้าน
    แต่กลับไปต่อสัญญาให้เอกชนเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน


    นายสมชาย กล่าวว่า หลังจากเครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือ
    ต่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
    เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานของคณะผู้บริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ ไปแล้วนั้น

    จากนี้ ทางเครือข่ายฯ จะได้ยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อไป ......


    จากคุณ : atk - [ 26 ก.ย. 50 20:03:45 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 467

    กรรมเป็นเครื่องกำหนด

    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    ไม่มีใครหนีกฎแห่งกรรมไปได้ครับ


    จากคุณ : ID5450 - [ 26 ก.ย. 50 21:24:21 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 468

    มาใหม่อีกที
    มาบอกว่าไม่ใช่แพทย์นะคะ

    มีคห.เพิ่มเติมบางอย่าง ไม่ทราบว่าเราเข้าใจผิดหรือเปล่า ว่า Dumbledore คือคำที่คุณใช้เรียกในหลวง
    ส่วนตัวเราว่ามันไม่เหมาะสมนะคะ
    เคยมีเพื่อนเราเรียกพ่อเราว่า “มนต์สิทธิ์” ซึ่งจริงๆแล้วเป็นคำที่ปกติมากเพราะคุณมนต์สิทธิ์ก็ไม่ได้มีอะไรไม่ดีหรือเป็นคนเลว ฟังดูคงไม่มีเหตุผลที่จะไม่พอใจ แต่มันก็ปรี๊ดเหมือนกันนะคะ เพราะรู้ว่าถึงเพื่อนจะไม่ได้มีเจตนาล้อเลียนแค่พูดเล่นๆ แต่เราก็คิดว่ากับพ่อเราไม่เห็นต้องเอามาพูดเล่นเลย และเรียกตามปรกติก็ได้

    ไม่ต่างกันนะคะ ในหลวงท่านเป็นที่ศรัทธาของคนกลุ่มใหญ่ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งก็หมายความว่าเป็น “พระเจ้า” ของแผ่นดิน (นึกถึงกระทู้เกี่ยวกับพระเจ้าในหว้ากอเลย คนละเรื่อง) เรื่องเกี่ยวกับความศรัทธาความเชื่อก็ถือว่าท่านอยู่สูง “เป็นศูนย์รวมจิตใจ” ก็ไม่ใช่แค่คำสวยหรูดูดี แต่มีคนส่วนมากที่รู้สึกว่าท่าน“เป็น”เช่นนั้นจริงๆ ถ้าเป็นความเชื่อทางพุทธก็คือที่ท่านได้มาอยู่ตรงนี้ แสดงว่ามี “บุญญาธิการ”และ“บารมี” พูดง่ายๆก็คือสะสมกรรมดีมามาก ไม่งั้นไม่ได้เป็นถึงคิง เพราะฉะนั้นก็ไม่แปลกเลยถ้า จะมีใครผ่านมาอ่านเห็นคุณเรียกท่านว่า Dumbledore แล้วปรี๊ดบ้าง

    อีกประการคห.ของคุณนายปลาตีนใน reply นึงที่กล่าวเกี่ยวกับพระเจ้าของยิวและอิสลามว่า “พระองค์ไม่ทรง "เจือก" เรื่องของมนุษย์เท่าไร ตรงๆ...” เราเข้าใจว่าความคิดของคุณคงรู้สึกว่าในหลวงไม่น่าจะมาข้องในทางการเมือง (ก็ไม่รู้นะคะ) แต่ว่าจากคำพูดของคุณเราก็ตีความหมายได้อย่างเดียวว่าพระเจ้ายังไม่เจือกเลยแต่คนๆนี้.......ขอคำว่า เจือก ได้ไหมคะ ใช้กับเราเราก็ไม่ชอบ (แล้วไม่ค่อยจะได้ยินคนพูดเท่าไหร่ด้วย)  ถ้าใครมาพูดกับเราว่า “คุณอย่าเจือก”เราก็ปรี๊ด (เหมือนกัน)
    คงไม่ปฏิเสธว่าเจือกไม่สุภาพ ขอให้ให้เกียรติท่านในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง กับในฐานะที่ท่านเป็นคนสูงอายุคนหนึ่งที่เห็นโลกมามากและทำประโยชน์แก่บ้านเมืองมามากเช่นกัน

    หากเข้าใจผิดขออภัยมาก่อนล่วงหน้านะคะ ถ้าเห็นว่าเกรียนมากก็เก็บไว้ด่าในใจ อย่าถึงขนาดไล่ให้ไปเรียนอะไร..อย่างที่คุณลูกแม่โดมบอกคุณวิศวกรเลยนะคะ ( จริงๆ ที่คุณลมฯ บอกว่าคุณบงฯ ตะแบงด่าบุพการีคุณลูกแม่โดมนี่ออกจะเกินไปนะคะ ไม่รู้ว่าด่าตอนไหน)
    ด้วยความเคารพ


    จากคุณ : Baby Lady - [ 26 ก.ย. 50 21:39:47 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 469

    มันเป็นคำที่หยิบมาใช้ง่ายที่สุด แค่นั้นเองครับ
    คือ จะบอกว่าอย่างไรดี ปัญญาของคำว่า Dumbledore นั้นก็เพราะว่า เคยมีกลุ่มหนึ่ง เผลอเรียกแทนท่านด้วย "ผู้ไม่ควรเอ่ยนาม" ในเรื่องเดียวกัน แล้วผมคิดคำอื่นไม่ออก เลยหยิบคำที่ดูดีกว่าผู้ไม่ควรเอ่ยนามมาแค่นั้นเอง
    อืม คำว่า เจือก นั้นดูไปก็ยอมรับว่าเลวร้ายพอควร แต่ตอนนั้นผมก็ไม่ได้คิดอะไรมากมายนักนอกจากหาคำที่แปลว่า มาวุ่นวายในสิ่งทีไม่สมควรวุ่นวาย เพราะผมเชื่อว่าเหตุการณ์ทุกอย่างน่าจะมีทางออกของตนเอง และที่สำคัญคือ ผมไม่ได้โจมตีไปที่ พระเจ้าโดยตรง แต่มุ่งไปที่ การเชื่อโดยไม่คิด(ทำนอง Divine Mandate) อันสร้างปัญหามานักต่อนักแล้วครับ
    ขออภัยจริงๆ ที่บางคำอาจจะทำให้รู้สึกระคายเคือง แต่จะว่ากลอนพาไปก็คงไม่ผิดนัก เพราะผมไม่ได้ร่างคำตอบกระทู้ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วจึงมาพิมพ์ตอบในภายหลัง หากมีคำใดที่เผลอหลุดไป ก็คงเป็นเพราะความอ่อนด้อยความสามารถในการใช้ภาษาไทยของผมเอง ที่อาจจะทำให้มันดูแรงจนเกินไปในสายตาของหลายๆคน

    แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 50 22:19:49

    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 26 ก.ย. 50 21:55:38 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 470

    "ยุ่ง" สุภาพค่ะ

    จากคุณ : Baby Lady - [ 26 ก.ย. 50 22:07:05 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 471

    ได้เข้าพันทิพเร็วกว่าทีคิดไว้แฮะ มีประเด็นที่อยากโต้แย้งเต็มเลยโดยเฉพาะคุณฟ้าสีคราม แต่ดูจากการโต้แย้งของคุณฟ้าสีครามกับท่านอื่นแล้วรู้สึกว่าบางครั้งเหตุผลก็ไร้ค่า


    ตัวผมได้ไปตอบกระทู้ http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A5854804/A5854804.html
    เรื่องการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญในโรงหนังมาครับ

    อยากเอามาให้อ่านกัน เป็นการแลกเปลี่ยนเล็กน้อยครับ(ด้วยความเจียมตัว)

    "แรกสุดเลยเรื่องการเคารพ k เนี่ยควรแยกให้ออกระหว่างความเป็นk กับความเป็นบุคคล
    ถ้าจะเคารพท่านก็เคารพที่ท่านเป็นคนที่ทำงานหนักเพื่อคนส่วนรวม(ตรงนี้ให้ไปอ่านคห.คุณลูกจ้างดีเด่น) ซึ่งเป็นสากลที่เราต้องยกย่องเคาระ แต่กลายเป็นว่าพวกขวาตกขอบหลายๆคน (รวมทั้งหลายคห.ในนี้) ชอบจับสองอย่างนี้มาฟิวชั่นกัน แล้วอ้างว่าเราต้อง เคารพท่าน เพราะท่านเป็น"ท่าน" ไม่ใช่เพราะท่านเป็นสิ่งที่ท่าน"ทำ"

    ประเด็นต่อมาคือเมื่อเราเคารพความเป็นบุคคลที่ดีของท่านแล้วเราต้องแสดงออกยังไง
    ทำไมต้องยืนในโรงหนัง

    ผมเชื่อว่าต้องมีคนบอกว่าเหตุผลคือเพราะท่านเป็น k
    อย่างนี้ด้วยตรรกะมันก็กลับไปมองว่าเราไม่ได้เคารพท่านที่การกระทำอีกต่อไป แต่เราเคารพท่านที่ตำแหน่ง ซึ่งมันขัดแย้งกับเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สุดๆ เพราะมันบ่งในตัวว่าคนบางคนเหนือ กว่าคนอื่นโดยไม่มีเหตุผล เพียงแค่คนนั้นบังเอิญเป็นลูกของคนที่อุปโลกน์ตัวเองให้เหนือกว่าคนอื่นมาก่อน

    ผมเคารพแม่ผมก็ไหว้แม่ ผมไม่เคารพเหลี่ยมไม่เคารพหมัก เจอหน้ามันผมก็ไม่ไหว้ คนไม่ดีก็ไม่ต้องเคารพ คนทำดีก็ต้องเคารพ โอเคท่านทำดีผมต้องเคารพ แต่ทำไมผมต้องยืนเคารพท่านในโรงหนัง ทำไมต้องทำอะไรให้แปลกไป
    ในเมื่อท่านก็มีความเป็นมนุษย์เท่ากัน

    ถ้าผมได้พบในหลวงผมจะยกมือไหว้ แต่ผมไม่ต้องการยืนในโรงหนัง
    แค่รู้สึกว่าเป็นการรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และอยากจะหลุดจากวัฒนธรรมศักดินา-อำนาจนิยมซะที

    ปล.แต่ในความจริงผมก็ยืนนะ เพราะในโรงเราอธิบายอะไรไม่ได้ ไม่อยากเป็นวิชิตชัย อมรกุล เวอร์ชั่นโรงหนัง
    ปล2.อยากรู้ว่าวิชิตชัย อมรกุลเป็นใคร ก็ลองเสิร์ชดูครับ เผลอๆ อาจมีรูปให้ดู"


    จากคุณ : อัศวินม้าเขียว - [ 26 ก.ย. 50 23:03:47 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 473

    แล้วที่พึ่งโพสต์ไปก็โดนดูด...ประเด็นที่ตั้งใจจะกล่าวถึงคือ "บุคคล" กับ "สถาบัน" นั้น ในบริบทการเมืองไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใกล้นั้น ไม่สามารถแบ่งแยกสองอย่างนี้ได้ราวกับตัดเต้าหู้หรอกครับ

    แล้วจะกลับมาพยายามอีกที

    แก้ไขเมื่อ 27 ก.ย. 50 00:05:01

    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 27 ก.ย. 50 00:03:53 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 474

    อืม ว่าแล้วเชียว วิชิตชัยเนี่ย ชื่อคุ้นๆ
    สปอยล์เลยล่ะกันนะครับ
    คนที่ถูกผู้ "จงรักภักดี"(ขอเน้นตรงนี้และอธิบายตรงนี้ว่าหมายถึงกลุ่มฟานาติกที่ถูกปลุกปั่นด้วยอุดมการณ์สามสีบนธง จนไม่มองว่าคนอื่นเป็นมนุษย์)แขวนคอใต้ต้นมะขาม ในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙
    หวังว่า เราจะมีมารยาทกันมากกว่า ๓๑ ปีที่แล้วนะครับ
    ป.ล. HM Blue มีแล้ว ถ้าผมอยากให้มี HM Bossa ผมจะโดนหาว่าดึงฟ้าลงต่ำไหมเนี่ย


    จากคุณ : นายปลาตีน - [ 27 ก.ย. 50 00:34:23 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 475

    ตาม นายปลาตีน เข้ามาอ่านค่ะ  แต่ด้วยพลังที่มี  คงอ่้านทั้ง ๔๗๔ รีพลายไม่จบในวันเดียว  แต่ขออนุญาตชื่นชมกระทู้นี้มากๆ สำหรับคนตามอ่านอย่างเรา คงต้องค่อยๆอ่านค่อยๆย่อยไป
    หลายๆความเห็น  หลายๆทฤษฎีที่เอามาถกกัน  ทำให้"ไฟ" และกำลังใจในการเรียนหนังสือโหมพึ่บพั่บเลย  
    โดยเฉพาะคุณ Sa_idian
    ขออนุญาตเป็นลูกศิษย์รุ่นเดียวกับนายปลาตีนเลยนะคะ  กำลังเรียนวรรณคดีอยู่เหมือนกัน ไม่ใกล้ไม่ไกล  แต่กว่าจะรู้ให้ทันนี่คงต้องไปอ่านอีกหลายปี

    คือว่านอกเรื่องไปไกลจากกระทู้มากๆ  ปกติเอาแต่อ่าน ไม่เคยโพสต์
    วันนี้อยากโพสต์บอกว่า กระทู้นี้ เจ๋งมากๆ


    จากคุณ : ange du riz - [ 27 ก.ย. 50 01:46:34 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 476

    อีกหนึ่งสุดยอดกระทู้ครับ ถึงกับตามมาจากห้องอื่นเลย
    ส่วนตัว ผมเป็นคนรุ่นใหม่ และไม่ค่อยมีความรุ้อะไร
    เกิดมาท่านก็อยู่ในฐานะที่สูงที่สุด แบบที่ผมไม่เคยสงสัย
    คือเกิดมาพ่อแม่บอกอย่างนี้ ก็เชื่อเลยเหมือนศาสนา
    แต่พักหลังๆนี่รู้สึกว่า จะมีคนไปดึงท่านลงมาเพื่อผลประโยชน์ตัวเองกันมากเหลือเกิน
    จนเหมือนไม่มีความเคารพกันแล้ว ต่างจากเมื่อสิบยี่สิบปีก่อน (ผมไม่ทราบว่าก่อนหน้านั้น ท่านจะเกาะเกี่ยวกับการเมืองอย่างไร)
    แต่เมื่อสิบยี่สิบปีก่อน ตั้งแต่ผมจำความได้ ก็ไม่ได้มีการไปดึงท่านลงมาโจมตีฝ่ายตรงข้ามกัน
    หรือไม่พอใจท่านก็โจมตีกันตรงๆอย่างนี้
    แต่คิดอีกที ผมก็เคารพแบบไม่มีเหตุผลเหมือนกัน
    หมายถึง ฐานะเทพเจ้าที่เป็นอยู่ ผมเกิดมาก็นับถืออย่างนี้แล้ว
    อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงตัวบุคคล ไม่มีใครเป็นกลางได้ร้อยเปอเซนต์หรอกครับ ถ้ายังเป็นมนุษย์
    แต่ผมก็เชื่อว่า อย่างไรสิ่งที่ท่านทำคงไม่ทำร้ายประเทศชาติแน่ๆ อย่างน้อยคิดในแง่มนุษย์
    ท่านก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำเช่นนั้น เพราะท่านก็อยู่ในฐานะที่สูงที่สุดอยู่แล้ว

    เรื่องการตรวจสอบ พูดถึงระบบ มันอาจจะจำเป็นก็ได้ ในกรณีที่อยากให้ระบอบนี้อยู่ยืนยง
    ่อย่าลืมว่า ฐานะของใครก็ตาม ที่ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นแม้แต่คิดจะแตะ มีแต่จะทำให้ล่มจม
    ถ้าผู้อยู่ในฐานะนั้น ไม่ได้มีคุณธรรมมากพอ


    จากคุณ : Varga - [ 27 ก.ย. 50 10:17:00 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 477

    หากคุณ Baby lady  จะอ่านอย่างละเอียด และใช้ใจที่มีเปิดกว้าง  ก็จะรู้ว่า ทำไมผมถึงต้องไล่ให้ไปเรียนใหม่   และสิ่งที่คุณลมฯ ต่อว่าไปนั้น ก็ไม่ได้เกินจริงแม้แต่นิดเดียว


    รบกวนไปอ่าน คห 338 ให้ดี


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 27 ก.ย. 50 12:54:05 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 478

    จริต นี่สำคัญจริงๆ แต่ละคนก็ดัดจริตตัวไปได้ต่างๆ นานา ตัวชอบอย่างนั้น ฟังแล้วไม่สมเหตุสมผลอย่างที่ตัวคิด แล้วทำอย่างไรล่ะ จึงจะเห็นตามความเป็นจริง อันนี้เล่าให้ฟัง บอกให้ทำไม่ได้ แต่ละท่านคงต้องค่อยๆ พิจารณาดู จะดีหรือไม่ ถ้าจะเริ่มด้วยการหาว่า จริตของตัว น่ะเป็นอย่างไร ท่านอาจจะได้รู้ว่า จริตของท่าน มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของท่านมากน้อยเพียงใด

    จะทำการใดๆ พระท่านว่า ต้องมีปัญญา ปัญญาที่จะทำให้มีตาทิพย์ ที่เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราตามความเป็นจริง มิใช่อุปโลกย์ขึ้นตามใจตัว หรือเชื่อตามสิ่งที่ได้ยิน หรือได้ฟังมา โดยมิได้ตรวจสอบอย่างเข้มข้น

    เศรษฐกิจพอเพียงก็เช่นกัน ต้องใช้ด้วยปัญญาที่มองตนเองได้อย่างเข้าใจทะลุปรุโปร่งแล้ว ถ้าไม่เข้าใจตัวเอง ก็จะไม่รู้ว่า วิธีการไหน ที่เหมาะสำหรับตัวเอง เริ่มจากทำตัวเองให้เป็นสุขก่อน

    คนจนไม่มีจะกิน จะพอเพียงได้อย่างไร กบในกะลาอย่างเราจะตอบอย่างไรดีล่ะ ในเมื่อก็เคยเห็นทั้งคนที่เคยไม่มีจะกิน ทำมาหากินจะร่ำรวย และก็เคยเห็นคนที่เคยไม่มีกินอย่างไร ทุกวันนี้ก็ไม่มีกินอยู่อย่างนั้น

    เศรษฐกิจพอเพียง จะใช้การได้ดี ก็สำหรับผู้ที่มีปัญญาเห็นแจ้งในตัวเองแล้วเท่านั้น อีกทั้งยังควรจะรอบรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล หรือวิทยาการต่างๆ แต่ถ้าเรายังไม่มีปัญญา จะทำอย่างไรล่ะ งอมืองอเท้า รอเทวดาส่งนกกระยางลงมาให้กระนั้นหรือ รอโลกพระศรีอาริย์ ว่าจะมีโรงเรียนสำหรับเด็กทุกคน เมื่อเจ็บป่วยก็ได้รับการรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าหมอ ประชาชนอยู่กันอย่างหน้าชื่นตาบาน หรือว่า รอว่าเมื่อไหร่ จะมีเลขเด็ดๆ อยู่ในมือ จะได้เอาเงินไปซื้อมือถือ กระนั้นหรือ

    ปัญหาอาจจะไม่ใช่ จะมีภาษีมรดก หรือไม่ อาจจะไม่ใช่ ว่า ผู้มีอำนาจบารมีซึ่งใช้ภาษีประชาชน จะถูกตรวจสอบมากน้อยขนาดไหน

    ปัญหาอาจจะอยู่ที่ คนไทยนั้นมีปัญญา พอที่จะเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้แล้วหรือยัง มีปัญญาเพียงพอที่จะดำรงชีพในโลกโลกาภิวัฒน์แล้วหรือยัง มีปัญญาพอที่จะบอกว่า วันนี้ฉันดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร รู้หรือยังว่า สิ่งที่แวดล้อมอยู่ จริงๆ แล้วคืออะไร

    สิ่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงได้ บางอย่างก็ได้แต่ตระหนักรู้ว่า เป็นทุกข์ เท่านั้น ไม่ว่า จะเป็นความเจ็บป่วย ความตาย หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำได้แต่ตระหนักรู้ว่า เป็นเรื่องธรรมดา สังคมที่เจ็บป่วย บางโรคก็แก้ไขได้ทันที ฉีดยานิดหน่อยก็หาย แต่บางโรคมันเป็นมานาน จนกลายเป็นความพิกลพิการ ที่อาจจะไม่เหมาะสำหรับการดำรงอยู่ในโลกหมุนเร็วกว่าเดิม ฉีดยาอาจจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมา คงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องสมาน ในอีกแง่หนึ่ง ก็ปล่อยทิ้งไว้ เดี่ยวก็ตายไปเอง ก็เท่านั้น

    ทำไมหนังไทยจึงโด่งดังในตะวันตก แต่ขายในเมืองไทยไม่ได้ ต่างจากหนังอินเดีย ที่ใหญ่โตมโหฬาร ไม่น้อยกว่าหนังตะวันตกหลายๆ เรื่อง ปัญหาอยู่ที่คนทำ หรือคนดู หรือจริงๆ แล้ว หนังไม่เป็นปัญหา ความคิดต่างหากที่เป็นปัญหา

    ทำไมโทรทัศน์จึงมีแต่ละครที่ผู้มีการศีกษาจำนวนไม่น้อยเรียกว่า ละครน้ำเน่า (ดูกันไปได้อย่างไร ไร้เหตุไร้ผล เอาแต่กรีดร้อง น่ารำคาญ) แต่กลับเป็นที่ชมชอบของแม่ค้าแม่ขาย ตลอดจนชาวบ้านผู้หาเช้ากินค่ำ (ไม่ต้องคิดมาก แค่ดูเอาสนุกๆ ขำๆ ว่างั้นไป)

    ในเมื่อยังไม่มีปัญญา ที่รู้แจ้งในตัวเอง แล้วเราจะอยู่ได้อย่างไรล่ะ อยู่ด้วยเชื่อในสิ่งที่ผู้อ้างว่ามีปัญญาทั้งหลาย บอกเล่าอย่างนั้นหรือ เชื่อในเอกสารฉบับนั้น ฉบับนี้ ที่ถ้าสืบไปยังแหล่งต้นตอจริงๆ ก็อาจจะพบว่า มีที่มาจากตรรกะ เหตุผล ทั้งที่เป็นความจริง หรือเป็นเพียงสิ่งที่นั่งเทียนเขียนขึ้นมาก็ได้ หากจะพูดให้เป็นวิชาการก็คือเป็นเอกสารที่เกิดจากการใช้ทฤษฎีสมคบคิดอย่างแยบคาย

    ในเมื่อไม่มีปัญญา ก็แสวงหาปัญญานั้นสิ พระท่านว่า ปัญญา นั้นรู้แจ้ง ได้ด้วยตัวเองว่า สรรพสิ่งนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ว่าแต่ คุณหรือผม จะมีเวลาได้พิจารณาตัวเอง สักเท่าไร ถ้ารู้จักตัวเองได้ ก็จะได้ปกครองตัวเองได้ มีอิสระภาพในพื้นที่กว้างศอกยาววา นี้สักที ไม่ต้องรอนกกระยาง ไม่ต้องรอพระศรีอาริย์

    ว่าแล้ว ก็ไปทำตัวเป็นชนชั้นกลาง เป็นมนุษย์เงินเดือนกันต่อไป ...

    จะไปบริจาคซื้อจานดาวเทียม เพื่อการศึกษาของน้องผู้ห่างไกล หรือ
    จะไปบริจาคทุนการศึกษาแก่น้องๆ หน้าใส หรือ
    จะเกาะพ่อเกาะแม่กินไปเรื่อยๆ หรือ
    จะทำการอื่นใด ก็ตามสะดวก

    ท่านที่ทำงาน ก็ยังทำงานเหงื่อหยดอยู่เช่นเดิม ท่านที่ไปเที่ยว ก็ยังไปเที่ยวอยู่เช่นกัน

    ปล.
    ยามเกิดความขัดแย้ง ก็ต้องประเมินอยู่ ว่าคู่ขัดแย้งนี้ ตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ หากตัวใหญ่ก็ต้องตีจนตัวเสมอๆ กัน จะได้ไม่เสียเปรียบมาก ยิ่งสูงก็ต้องดึงมาต่ำ จะได้สู้กันสะดวก หากเล็กกว่า ก็ยิ่งดี จะได้กลืนได้ไม่ติดคอ

    หากไม่มีความขัดแย้งแล้วไซร้ ไม่ว่าใหญ่ หรือเล็ก ล้วนอยู่ร่วมกันได้ อาจจะไม่ยุติธรรมนักหรอก หากเอาบรรทัดฐานของกรูไปวัด นั้นสิ มรึงจะไปวัดหาพระแสงของ้าวอันใด...

    ฝอยไปเยอะไปแล้ว ...

    แก้ไข... คำผิด
    อาจเลอะไปบ้าง ก็ขออภัยท่านทั้งหลายด้วย หากเรื่องที่ผมสนใจ ไม่ได้อยู่ในความสนใจของท่าน ก็ถือว่า เป็นบทความแก้สมองฝ่อบทความหนึ่งล่ะกัน

    แก้ไขเมื่อ 27 ก.ย. 50 20:19:36

    แก้ไขเมื่อ 27 ก.ย. 50 20:18:03

    จากคุณ : เกาะรั้ว (เกาะรั้ว) - [ 27 ก.ย. 50 17:18:28 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 479

    ^^

    ^^


    ขำจังครับ


    Go so big   =  ไปกันใหญ่  


    :)


    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 27 ก.ย. 50 17:55:06 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 480

    เรื่องความเป็น “ไทย”
    ในยุคสร้างความเป็นไทยสมัยหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกฯ ได้มีการประชุมในสภาว่า “อะไรคือความเป็นไทย?”
    ประยูร ภมรมนตรี ซึ่งเป็น ส.ส. ประเภท 2 (ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นรัฐมนตรีขณะนั้นด้วย) ได้อภิปรายแสดงความเห็นว่า “อะไรก็ตามที่คนไทยชอบ สิ่งนั้นเป็นไทยหมด”
    ในความเห็นของอาจารย์รัฐศาสตร์ท่านหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่า “นี่คือการค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของคนสมัยนั้น... ในเมื่อมันเป็นยุคที่เพิ่งสร้างชาติ... อะไรก็ไม่มีเป็นของตัวเองสักอย่าง... มาเถียงกันว่าอะไรไทยอะไรไม่ไทยจะเหลือที่มันเป็นไทยบ้าง... ถ้าเถียงกันอยู่อย่างนั้นยุ่งตายห่....”

    นี่เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในห้องบรรยายของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่นำมาเล่าให้ฟังไม่มีเหตุผลอะไรมากหรอกครับ แค่นึกขำของการอ้างความเป็นไทยของคนสมัยนี้ที่ชอบชี้ว่านู่นไทย นี่ไม่ไทย แล้วเอาเกณฑ์ที่ไหนมาวัดได้กันแน่ว่าอะไรไทยไม่ไทย เพราะเอาเข้าจริงสิ่งที่ “so called กันว่าไทย” ในสมัยนี้ ผมก็ยังนึกไม่ออกว่าอันไหนเป็นไทยแท้สักอย่างหนึ่ง ตรงข้าม การเป็นไทยแท้ๆ ต่างหากที่คนสมัยนี้รับไม่ได้ ยกตัวอย่าง ลองนึกภาพผู้หญิงสมัยก่อนยุคมาลานำไทยของหลวงพิบูลฯ ดูก็แล้วกันครับว่าใส่อะไร (ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงใบปลิวโฆษณาการแต่งกายอย่างไทยที่รัฐบาลสมัยนั้นโฆษณา)
    และถ้าจะมาเรียกร้องความเป็นไทยกันมากนัก จะบอกทำไมครับว่าประเทศนี้เป็นประชาธิปไตย ประชาธิปไตยมันไม่ใช่ของไทยนะครับ จะตะแบงไปว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยก็ดูขำไปหน่อย เพราะเอาเข้าจริงระบบการเมือง ทฤษฎีการเมืองต่างๆ ก็เอามาจากฝรั่งทั้งนั้น (ความหมายของประชาธิปไตยยุคก่อนทศวรรษ 2470 นั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกับที่รู้จักในปัจจุบันนี้ แต่หมายถึงการปกครองที่มีประชาชนเป็นใหญ่ มีประมุขจากการเลือกตั้ง และมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นคราวๆ ไป ซึ่งตรงข้ามกับการปกครองแบบราชาธิปไตย ดูความหมายที่สอดคล้องกันนี้ได้ใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, ความคิด ความรู้ และ อำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475. และ ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1.ซึ่งแม้แต่ในความหมายนี้ก็ยังไม่ใช่ของไทยอยู่ดี.) วาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทย ถ้าความทรงจำผมไม่คลาดเคลื่อนนักน่าจะเพิ่งเกิดในยุคสฤษดิ์เท่านั้นเอง

    เมื่อกล่าวว่าความเป็นไทย (ที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน) เพิ่งเป็นรูปร่างเมื่อเพียงช่วงทศวรรษ 2480 นี้เอง และการสร้างชาติที่มีรูปร่างเป็นขวานทองในปัจจุบันก็เพิ่งเกิดผ่านการทำแผนที่ในยุค ร.5 (ตามที่ความเห็นที่ 415 ได้แสดงความเห็นไว้) ก็อาจจะบอกได้ครับว่าการสร้างชาติเป็นฝีมือของชนชั้นนำจริงๆ แต่ต้องตั้งคำถามว่า สิ่งที่ so called ว่า “คนไทย” นั้นเกิดขึ้น และมีสำนึกความเป็นชาติตั้งแต่เมื่อไหร่? และผ่านอะไร? ในความเห็นผม ในยุคมาลานำไทย มีประโยคที่ติดหูอยู่ประโยคหนึ่งคือ “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย” ซึ่งก็หมายถึงตัวหลวงพิบูลฯเอง ยุคต่อมาก็มีประโยค “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบต่อผู้เดียว” มาแทนที่ แต่ในยุคปัจจุบัน.... (ผมไม่ทราบ)

    ถ้าถามว่าคนสมัยก่อนมีสำนึกความเป็นชาติไหม? ผมคิดว่าไม่มี สังเกตง่ายๆ การรบสมัยก่อนรบกันเพื่อต้องการอะไร? พอรบชนะก็กวาดต้องผู้คนกลับไป ส่วนเมืองก็เผาทิ้ง นี่คือจารีตสมัยก่อน เพราะที่ดินแถบภูมิภาคนี้มีมาก แต่คนมีน้อย สิ่งที่ต้องการในภูมิภาคนี้จึงเป็นแรงงาน ไม่ใช่ที่ดิน การอพยพย้ายถิ่นในแถบภูมิภาคนี้ก็มีเป็นปรกติ คนไม่ได้มีสำนึกเรื่องดินแดน เมื่อเป็นเช่นนั้นการเกิดสงคราม ไพร่ก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองเสียอะไรไปเลย ความรู้สึกสูญเสียกลับเกิดจากชนชั้นนำที่จะเสียอำนาจมากกว่า
    ความคิดเรื่องดินแดนน่าจะเพิ่งเริ่มเกิดขึ้นตอนช่วง ร.4 และเพิ่งปรากฎชัดเจนในกรณี ร.ศ. 112 สมัย ร. 5 เท่านั้น ในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำของภูมิภาคนี้ได้เป็นชมชนมาก่อนที่จะมีรัฐชาติเกิดขึ้นเสียอีกและเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากกว่าชาติพันธุ์ที่เรียกว่า “ไทย” เสียอีก
    เมื่อเป็นเช่นนี้คงต้องตั้งคำถามใหม่แล้วกระมังว่า “คนไทยคืออะไร?” ก่อนที่จะถามถึงความเป็นไทย และถามว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า “การก่อกำเนิดของรัฐชาติในปัจจุบันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? และทำไมจึงเกิดขึ้นมา?” ก่อนที่จะไปบอกให้ใครเขาไปอยู่ชาติอื่น และ “ศูนย์รวมใจนั้นมีความหมายอย่างไร? และมีเพื่ออะไร?” ก่อนที่จะมาว่าใครต่อใครว่าไม่สำนึกบุญคุณ

    ปล. ความเห็นครั้งนี้อาจจะยาวและเพ้อเจ้อไปบ้าง แต่ก็หวังว่าจะไม่ถูกลบนะครับ


    จากคุณ : ฉันรู้ว่า... (ฉันไม่รู้อะไรเลย) - [ 27 ก.ย. 50 18:17:28 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 481

    อ่านมา 480 โพสต์ มีประเด็นให้โต้ประมาณ 30 ประเด็น
    แต่แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว ขี้เกียจไปเปิดตำราหาทฤษฏี แล้วมาพูดไทยคำฝรั่งคำ

    ตอบจขกทคนเดียว แบบ ลูกทุ่งก็แล้วกัน

    ว่าพักหลังๆนี้ไม่ใช่เฉพาะที่นี่หรอกค่ะ ที่มีทู้ทำนอง matrix เต็มไปหมด
    ประชาไท ฟ้าเดียวกัน พลเมืองภิวัฒน์นะ ที่สิงสถิตของเขา
    ว่างๆ ไปจิ๊กเบอร์บัตรประชาชนใครมาได้ ก็มาโพสต์บ้าเลือดบนพันทิปสักที
    ถ้าเอา IP ตัวแรงๆที่นี่ ไปเช็คกะ IP บนเวบเหล่านั้น จะได้เจออะไรดีๆ ฮา

    อิฉันนะพวกจงรัก ขนาดไม่ได้ขวาตกขอบ เจอโพสต์พวกนี้ทีไรมันเหมือนจี๊ดขึ้นมาทุกที
    ต้องเข้าไปต่อปากต่อคำด้วย ไม่รู้จะแลกไปทำไม แต่มันอดไม่ค่อยได้นะ

    สำหรับอิฉันนะ วิจารณ์ได้ไม่ว่ากัน ถ้าไม่ใส่ร้ายป้ายสี แนะแหน ด่าพ่อล่อแม่ กระจายข่าวลือ หรือแต่งเรื่องขี้นมาสนุก อย่างที่หลายคนชอบทำกัน

    หลักง่ายๆ

    1. สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกมีได้ แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำให้เขาเสียหาย ไม่ว่าจะเกี่ยวกับคนธรรมดา หรือ ไม่ธรรมดา
    2. ไม่ว่าสังคมไหน สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก จะโดนจำกัดจากสังคม จะมาปาวๆว่า สิทธิข้าไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับศรัทธา เช่น ศาสนา กะ ษัต ริ ย์ หรือ เผ่าพันธุ์ เพราะมันต่อยปากกันง่ายๆ

    อิฉันเองไม่ใช่คนรุนแรง แต่ใครมาว่าท่านต่อหน้าอิฉัน อาจขว้างของใส่ทั้งๆที่รู้ว่าผิดเรื่องทำร้ายร่างกาย ไปเจอคนที่มันแรงกว่านี้ ก็อาจถึงขนาดตื้บกัน อย่างนี้มันบอกยากว่าใครถ่อยกว่าใคร คนยั่วยุ หรือคนเลือดร้อน

    ไปละ เดี๋ยวยาว พูดมากแล้วหยุดไม่ได้อ่ะ


    จากคุณ : อำแดงมา - [ 27 ก.ย. 50 22:21:06 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 483

    หลังจากอ่านมาหลายวัน ขอพูดสั้นแล้วกันนะครับ ว่ามีหลายๆความเห็นคิดไม่เป็นวิทยาศาสตร์เลย ค่อนข้างจะเป็นไปทาง emotion มาก แต่ก็มีหลายความเห็นให้ความรู้ดีครับ

    แก้ไขเมื่อ 28 ก.ย. 50 05:44:51

    แก้ไขเมื่อ 28 ก.ย. 50 05:44:04

    แก้ไขเมื่อ 28 ก.ย. 50 05:30:45

    จากคุณ : Penoracle - [ 28 ก.ย. 50 05:30:09 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 484

    ผมขอตอบคำถาม เกี่ยวกับว่า

    ทำไมนิติบุคคลแห่งนั้นไม่ต้องเสียภาษี
    ภายหลังที่ขับไล่ ท่าน ปรีดีย์พนมยงค์
    ผู้ซึ่งเป็นผู้ที่คัดค้าน การก่อตั้งองค์กร คือ องคมนตรี
    เพราะจะแทรกแซงการบริหารงานของรัฐบาลที่มาจากการเงือกตั้งของประชาชน และ ยังมีคนสนิท เป็นผู้กำกับดูแลนิติบุคคลแห่งนี้อีกด้วย ออกนอกประเทศ
    ด้วยข้อหา ลอบประพระชนม์
    ก็ได้มีการแก้ไขให้ไม่ต้องเสียภาษี
    และพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้น ก็ คือ พรรคประชาธิปัติ
    เพื่อนสมาชิกคงต่อภาพได้นะครับไม่ต้องพูดมาก

    และการที่นิติบุคคลแห่งนี้ไม้ต้องเสียภาษีรายได้
    ทั้งที่ประกอบธุรกิจทำให้ได้เปรียบกิจการประเภทเดียวกันเป็นอย่างมาก
    ถามว่า
    ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของใคร
    เพราะ ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประทศไม่ได้รับผลประโยชน์
    จากการไม่เก็บภาษีเลยแม้แต่น้อย
    โครงการต่าง ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล
    ซึ่งงบประมาณนั้น มาจากเงินภาษีอากรของประชาชนทั้งสิ้น
    เพื่อนสมาชิกช่วยกรุณาตอบหน่อยได้ไหม อย่าอ้างบุญคุญ
    เพราะผมทำงานผมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ
    แต่นิติบุคคลแห่งนี้ไม่ต้องเสียภาษีรายได้
    แต่กลับถูกนำมาอ้างว่าเป็นบุญคุณ
    นอกจากไม่เสียภาษีรายได้แล้ว

    เมื่อกิจการล่มจนรัฐบาลต้องเข้าไปอุ้มกิจการไว้
    โดยผ่านทางกองทุนฟื้นฟู
    แต่นิติบุคคลแห่งนี้ไม่สามารถหาเงินมาซื้อคืนหุ้น
    เพื่อรักษาสัดส่วนในการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

    ด้วยการนำเอาที่ดินที่ถูกหน่วยงานราชการเช่าไว้
    ซึงไม่มีมูลค่าใด ๆ มาบังคับแลกเปลี่ยนกับหุ้น
    โดยที่ทางรัฐบาลในขณะนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้
    แบบนี้ เพื่อนสมาชิกยังคิดว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องอยู่อีกหรือ ?


    บุคคลที่เป็นที่เคารพศรัทธานั้ยไม่มีทางที่จะเสื่อมได้ด้วยบุคลอื่น
    นอกจากเสื่อมด้วยตัวเอง
    ศรัทธาที่ประชาชนมอบให้นั้นมีความบอบบาง
    ถ้าผู้นั้นไม่รักษาศรัทธานั้นไว้
    ด้วยการครองตนให้ยึดมั่นในความดี ความถูกต้อง
    คนที่เคยเลื่อมใสศรัทธา ในคุณงามความดี ในความถูกต้อง
    เขาหมดความศรัทธาจะไปโทษคนที่ไม่ศรัทธาได้อย่างไร

    กรรมเป็นเครื่องกำหนด ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    แก้ไขเมื่อ 28 ก.ย. 50 11:48:10

    แก้ไขเมื่อ 28 ก.ย. 50 10:38:28

    จากคุณ : ID5450 - [ 28 ก.ย. 50 10:34:32 ]

 
 

    ความคิดเห็นที่ 486

    อิฉันไม่เห็นว่า การแลกหุ้นไทยพาณิชย์ โดยใช้ที่ดินกลางเมืองนั้น เป็นการทำชั่ว
    เพราะที่ดินที่เก็บค่าเช่าไม่ได้ ควรไปอยู่ในมือของรัฐ เพื่อการขายหรือพัฒนา
    จะมาทิ้งให้เป็น ที่ดินเช่าฟรี หรือ สลัมกลางเมืองไปทำไม

    ไหน ไหน พูดเรื่องชั่ว ชั่วมันแล้วแต่คนมอง แถมใช้คำนี้มันมีนัยยะว่า ต้องกำจัด
    คุณมองว่าสถายันที่อิฉันเคารพทำชั่ว
    อิฉันก็มองว่า การคิดล้มล้างสถาบันนะชั่ว

    คุณไม่ศรัทธา อิฉันศรัทธา
    บอกได้อย่างเดียว แหลมมาไม่มีประณีประณอมค่ะ


    จากคุณ : อำแดงมา - [ 28 ก.ย. 50 11:45:38 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 1

    ในที่สุด กระทู้นี้ ก็เดี้ยงจนได้

    จากคุณ : ลูกแม่โดม - [ 28 ก.ย. 50 13:54:44 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 2

    เสียดายจังเลยครับ พอจะมีคนมากู้กระทู้นี้ได้หรือเปล่าครับ เพราะข้อมูลและความคิดเห็นหลายๆ อย่างมีประโยชน์ และน่าจะเก็บเอาไว้

    จากคุณ : seabreeze_psu - [ 28 ก.ย. 50 14:55:04 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 3

    ง่า.....เกิดอะไรขึ้น

    มีใครได้เซฟกระทู้นี้ไว้รึเปล่าครับ???


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 28 ก.ย. 50 21:09:41 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 4

    อ้อ แถมกระทู้ที่เฉลิมไทยให้อีกอัน...มันมาอีกแล้ว

    http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A5853504/A5853504.html


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 28 ก.ย. 50 21:29:09 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 5

    ผมเซฟทันนะ คือเซฟไว้เมื่อสองสามวันก่อน ก็พลาดหลายความเห็นอยู่ กระทู้ข้างบนนั่น มันกระทู้ล่อเป้าเอาคนมายำกันไม่ใช่เหรอ ผมอ่านความเห็นแรกก็รู้เลยว่าเดือด กลับมาที่นี่ดีกว่า

    แต่ที่นี่ก็เดี้ยงแล้งดิ


    จากคุณ : กัปปะ. บึงปิศาจ (kappasai) - [ 28 ก.ย. 50 21:54:15 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 6

    ให้เข้า google.com
    ใช้ keyword ว่า
    "K5764337.html"
    แล้วจะเจอนะครับ
    เลือกอันทีี่หัวข้อดังนี้ครับ
    "PANTIP.COM : K5764337 พักหลัง เวปพันทิป แปลกๆ ไปนะครับ [ประวัติศาสตร์]"
    แล้วกด
    "หน้าที่ถูกเก็บไว้"
    แล้วมันก็จะโชว์ขึ้นมาครับ
    อย่างไรก็ดี
    มันจะเก็บได้ถึงแค่ คหที่ 282 เ่ท่านั้น

    แต่...ผมเซฟเก็บไว้น่ะครับ
    จนถึงความเห็นที่ 395 เลย
    ตอนนี้บนสุดคือ 113
    เอามาปะติดปะต่อกันก็จะได้ครบพอดี

    ใครที่อยากได้ เขียนเมลไว้ครับ
    แ้ล้วจะส่งไปให้


    จากคุณ : EAGo - [ 28 ก.ย. 50 22:12:06 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 7

    พวกร้อนวิชา

    จากคุณ : แมวสยาม - [ 29 ก.ย. 50 00:42:50 A:124.120.6.150 X: ]
 
 

 
 

    ความคิดเห็นที่ 9

    เรียนคุณอำแดงครับ ผมไม่อยากที่จะเอ่ยชื่อ แต่ในเมื่อคุณเอ่ย
    ก็ดี สำนักงานทรัพสินญ์ ทำไมไม่เอาที่ดินที่มีมูลค่าทางธุรกิจ เช่น
    บริเวณวังเพชรบูรณ์ ที่เป็นที่ตั้ง ของ Central World
    มาแลกกับหุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ครับ
    ทั้งที่บริเวณนั้นมีมูลค่ามหาศาล เก็บค่าเช่าได้มหาศาล

    ทำไมต้องเอาที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท มาแลก
    และที่บริเวณนี้รัฐบาลหาผลประโยชน์ไม่ได้
    เพราะหน่วยงานราชการเช่าทั้งหมด

    อย่าลืมนะครับ ว่า กองทุนฟื้นฟู ต้อง คือ หนี้ของรัฐบาล
    และรายได้ของรัฐบาล ก็มาจาก ภาษีเงินได้ของประชาชน
    แล้วมันถูกหรือครับที่จะเอาเงินภาษีของประชาชนไปอุ้มกิจการแบบนี้
    แล้วแถมยังเก็บภาษีรายได้ไม่เสียด้วย

    ตัวผู้บริหารของทรัพสินย์ยังมาพูดว่าที่รอดจากวิกฤติเศรษฐกิจมาได้เพราะ เศรษฐกิจพอเพียงทั้งที่ตนเองคือ ทุนนิยมสุดตัว

    แบบนี้ถูกต้องไหมครับ


    จากคุณ : ID5450 - [ 29 ก.ย. 50 11:17:22 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 11

    สงสัยต้องเปิดกระทู้ใหม่ มีประเด็นที่แน่นอน แต่เกรงว่า มันจะถูกลบโดย WM หรือสมาชิกท่านอื่นเสียก่อน
    กระทู้อยู่รอดมาได้ ก็ถือว่าสังคม(Internet) เปิดกว้างมากกว่าแต่ก่อนมากแล้ว


    จากคุณ : UnlimitedDreams - [ 29 ก.ย. 50 13:20:16 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 12

    หึหึ

    กระทู้นี้ สุดยอด

    กระทู้เดี้ยงกระจาย

    เฮ้อออ


    จากคุณ : LAPD21 - [ 29 ก.ย. 50 14:49:40 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 13

    ปรึกษาครับ ...
    เราควรตั้งกระทู้ใหม่แล้วนำบทสนทนาความเห็นต้น ๆ ไปปะไว้ตอนต้นไหม
    มีอีกหลายประเด็นที่เหมือนยังคุยกันไม่จบ และผมก็ไม่อยากให้บทสนทนาดี ๆ เกิดขึ้นได้ยาก ๆ เช่นกระทู้นี้หายไปเฉย ๆ

    ???


    จากคุณ : ฮกหลงผู้หยั่งรู้ฟ้ามหาสมุทร - [ 29 ก.ย. 50 20:31:43 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 14

    แอบเศร้า...
    จะมีใคร (WM) ซ่อมกระทู้นี้ได้ไหมครับ?
    ถ้าเกิดตั้งกระทู้ใหม่จะรอดพ้นการโดนลบหรือเปล่า? ผมว่ามีความเสี่ยงสูงนะ กระทู้แบบนี้อยู่รอดในพันทิปยากซะด้วยสิ...
    แต่ถ้าหากไปตั้งกระทุ้ใหม่จริงๆก็หวังว่าบรรยากาศการสนทนาจะใกล้เคียงกับกระทู้นี้นะครับ


    จากคุณ : ฉันรู้ว่า... (ฉันไม่รู้อะไรเลย) - [ 29 ก.ย. 50 20:55:48 ]
 
 

    ความคิดเห็นที่ 15

    http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5868182/K5868182.html

    ผมไปตั้งกระทู้ใหม่ให้นะครับ
    เห็นคุยกันในกระทู้เดี้ยงๆนี้แล้วเห็นใจจริงๆ

    แต่ถ้ามันหายไป แสดงว่า WM ท่านคงเห็นว่า คุยกันมาพอแล้ว
    ผมก็คงจะว่ากระไรไม่ได้อีก เพราะเป็นที่และความรับผิดของท่าน


    จากคุณ : บุญชิตฯ (Players) - [ 29 ก.ย. 50 22:20:53 ]
 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom