ความคิดเห็นที่ 10
ธงชาติสหรัฐฯ ชื่อเต็ม United States of America หรือสหรัฐอเมริกา อักษรย่อ US หรือ USA ระบอบการปกครอง สหพันธรัฐ (Federal Republic) แบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief Executive) ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 50 มลรัฐ มีผู้ว่าการรัฐเป็นผู้นำในแต่ละมลรัฐ เมืองหลวง กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington D.C.) ที่ตั้ง ทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีมลรัฐอลาสกาอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา และมีมลรัฐฮาวายอยู่ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก เนื้อที่ ประมาณ 9,826,630 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศรัสเซียและแคนาดา อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือติดกับแคนาดา, ทิศใต้ติดกับเม็กซิโก, ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก, ทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก การแบ่งการปกครอง : ประกอบด้วย 50 มลรัฐและ 1 เขตปกครองพิเศษ (District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรุงวอชิงตัน) ได้แก่ แอละแบมา, อะแลสกา (เป็นมลรัฐที่ใหญ่ที่สุด),แอริโซนา, อาร์ตันซอ, แคลิฟอร์เนีย, โคโลราโด, คอนเนตทิคัต, เดลาแวร์, ดิสตริกต์ออฟโคลัมเบีย, ฟลอริดา, จอร์เจีย, ฮาวาย, ไอดาโฮ, อิลลินอยส์, อินดีแอนา, ไอโอวา, แคนซัส, เคนทักกี, ลุยเซียนา, เมน, แมริแลนด์, แมตซาชูเซตส์, มิชิแกน, มินนิโซตา, มิสซิสซิปปี, มิสซูรี, มอนแทนา, เนแบรสกา, เนวาดา, นิวแฮมป์เชียร์, นิวเจอร์ซีย์, นิวเม็กซิโก, นิวยอร์ก, นอร์ทแคโรไรนา, นอร์ทดาโคตา, โอไฮโอ, โอคลาโฮมา, ออริกอน, เพนซิลเวเนีย, โรดไอแลนด์(เป็นมลรัฐที่เล็กที่สุด), เซาท์แคโรไรนา, เซาท์ดาโคตา, เทนเนสซี, เทกซัส, ยูทาห์, เวอร์มอนต์, เวอร์จิเนีย, วอชิงตัน, เวสต์เวอร์จิเนีย, วิสคอนซิน, ไวโอมิง เขตการปกครองอื่นๆ : อเมริกันซามัว, หมู่เกาะเบเกอร์, เกาะกวม, เกาะฮาวแลนด์, เกาะจาร์วิส, จอห์นสตันอะทอลล์, คิงแมนรีฟ, หมู่เกาะมิดเวย์, เกาะนาวาสซา, หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, พอลไมราอะทอลล์, เปอร์โตริโก, หมู่เกาะเวอร์จิน, เกาะเวก ภูมิอากาศ : อากาศหนาว หนาวเย็นมากที่บริเวณขั้วโลกเหนือในมลรัฐอะแลสกา บริเวณที่ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi) จะค่อนข้างแห้งแล้ง และมีความแห้งแล้งมากบริเวณที่ลุ่มภาคตะวันตกเฉียงใต้ มลรัฐฮาวาย และมลรัฐฟลอริดามีอากาศร้อน ภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะมีอากาศดีขึ้นเป็นครั้งคราวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยจะได้รับความอบอุ่นจากลมของเนินเขาด้านตะวันออกของเทือกเขาร๊อกกี้ ประชากร 301,139,947 ล้านคน เชื้อชาติ อเมริกันร้อยละ 77.1, แอฟริกัน อเมริกัน ร้อยละ 4.2, อเมริกันอินเดียและอลาสกา ร้อยละ 1.5, ชาวฮาวายเอียนและชาวเกาะแปซิฟิก ร้อยละ 0.3, เชื้อชาติอื่น ๆ อีก ร้อยละ 4 ภาษาราชการ อังกฤษ ศาสนา โปรเตสแตนท์ 52% โรมันคาทอลิก 24% มอร์มอน 2% ยิว 1% มุสลิม 1% อื่นๆ 10% ไม่ระบุ10% วันสำคัญ วันชาติ 4 กรกฎาคม
แผนที่สหรัฐฯ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ จีดีพี GDP 13.16 ล้านล้าน USD (2549) สกุลเงิน USD ( 35.94 บาท ต่อ 1 USD) GDP per capita 43,800 USD (2549) GDP Growth ร้อยละ 2.9 (2549) ทรัพยากรธรรมชาติ ถ่านหิน ทองแดง เกลือ ยูเรเนียม ทองคำ อุตสาหกรรมหลัก ปิโตรเลียม เครื่องยนต์เครื่องบิน อุปกรณ์การสื่อสาร เคมีภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร อัตราเงินเฟ้อ 2.5 % (2549) 3.2% (2548) อัตราว่างงาน 4.8% (2549) ตลาดนำเข้าสำคัญ แคนาดา(16%) จีน (15.9%) เม็กซิโก (10.4%) ญี่ปุ่น(7.9%) เยอรมัน(4.8%) (2549) ตลาดส่งออกสำคัญ แคนาดา(22.2%) เม็กซิโก (12.9%) ญี่ปุ่น (5.8%) จีน (5.3%) สหราชอาณาจักร(4.4%) (2549) สินค้านำเข้าสำคัญ สินค้าอุตสาหกรรม 32.9% (น้ำมันดิบ 8.2%), สินค้าอุปโภค31.8% (รถยนต์, เสื้อผ้า, ยารักษาโรค, เฟอร์นิเจอร์, ของเล่น), สินค้าทุน30.4% (คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสาร, ชิ้นส่วนรถยนต์, อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์สำนักงาน), สินค้าเกษตร4.9% (2547) สินค้าส่งออกสำคัญ สินค้าทุน 49.0% (ทรานซิสเตอร์, เครื่องบิน, ชิ้นส่วนรถยนต์, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสาร) สินค้าอุตสาหกรรม 26.8% (วัสดุเคมีภัณฑ์) สินค้าอุปโภค 15% (รถยนต์, ยารักษาโรค) สินค้าเกษตร 9.2% (ถัวเหลือง, ผลไม้, ข้าวโพด) (2547) ข้อมูลทางการเมืองการปกครอง โครงสร้างทางการเมือง สหรัฐฯ มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมแครต (Democrat) ดังนี้ ฝ่ายบริหาร : มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่างๆของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป ฝ่ายนิติบัญญัติ : ประกอบด้วย 2 สภา คือ 1.1 วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate) 1.2 สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House) ฝ่ายตุลาการ : ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทรณ์ (Appeal Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฎีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใดๆและการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกานั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งตำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ โดยประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง สิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=95100000
จากคุณ :
Mr.Terran
- [
6 ก.พ. 51 16:54:05
]
|
|
|