ความคิดเห็นที่ 10
สำหรับการสงครามกล่าวโดยย่อก็คือ กองทัพฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ตอนแรก (ช่วง ๖ เดือนจากเดือนตุลา คม พ.ศ. ๒๓๖๙-มีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๙) (นับอย่างปัจจุบัน พ.ศ. ๒๓๗๐) มีกำลังประมาณ ๑๗,๖๖๐-๓๕,๐๐๐ คน ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๐ มีกำลังประมาณ ๔๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ คน(๑๒) กองทัพลาวยกเข้ามา ๒ สายหลัก คือ สายแรกยกจากเวียงจันทน์เข้ามาทาง ๒ ทาง คือ หนองบัวลำภู กับสกลนคร จากหนองบัวลำภูตรงมายึดเมืองโคราช ส่วนทางสกลนคร ยกมาทางกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ตามลำดับ สายที่สองยกมาจากจำปาศักดิ์เข้ามาทางอุบลราชธานีแล้วแยกเป็นสองทาง ทางหนึ่งยกไปทางสุวรรณภูมิ อีกทางยกไปทางศรีสะเกษ ขุขันธ? สังขะ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ประโคนชัย นางรอง การปะทะกันระหว่างกองกำลังของฝ่ายกู้ชาติเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ กับเมืองรายทางมีน้อยมาก ส่วนหนึ่งเพราะเห็นด้วยกับการกระทำของฝ่ายกู้ชาติ แต่เจ้าเมืองกรมการเมืองส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยเพราะเป็นกบฏ และเกรงจะต้องเผชิญกับการตีโต้ของฝ่ายไทย แต่เจ้าเมืองไม่มีกำลังจะต่อต้านกองกำลังของฝ่ายกู้ชาติจึงต้องทำเป็นเออออเห็นด้วยกับฝ่ายกู้ชาติ กองทัพฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ กวาดต้อนประชากรจากพื้นที่เขตโคราช-ลุ่มน้ำชีตอนต้น ๑๑ เมือง พื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลางถึงตอนปลาย ๗ เมือง พื้นที่ตอนใต้ ๙ เมือง พื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก ๘ เมือง รวม ๓๕ เมือง(๑๓) เมืองที่ใกล้กรุงเทพฯ ที่สุดคือเมืองสระบุรี เมืองศูนย์กลางการปกครองหลักของฝ่ายกรุงเทพฯ ในภาคอีสานและลาวคือเมืองโคราชก็ยึดอยู่ ๓๗ วัน ก็ถูกกวาดต้อนประชากรราว ๑๘,๐๐๐ คน หากรวมประชากรทั้ง ๓๕ เมืองที่ถูกกองทัพฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ กวาด ต้อนไปรวมประมาณ ๕๔,๓๒๐-๙๕,๒๑๖ คน(๑๔)
การกบฏของเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ครั้งนี้ "ประกาศการกู้ชาติ" ในต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๖๙ ระดมพลและฝึกทหารราว ๓ เดือน ระหว่างกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๓๖๙ (นับอย่างปัจจุบัน พ.ศ. ๒๓๗๐) แล้วจึงเคลื่อนกำลัง มายึดเมืองโคราชในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ วันที่ ๒๒ กุมภา พันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ (๒๓๗๐) รัฐบาลที่กรุงเทพฯ จึงทราบข่าวกบฏ หลังจากที่ฝ่ายกบฏได้ดำเนินการไปแล้วเกือบ ๕ เดือน วันที่รัฐบาลทราบข่าวกบฏยกกำลังมาถึงเมืองสระบุรี(๑๕) ซึ่งห่างจากกรุงเทพฯ เพียง ๑๑๐ กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทัพเพียง ๓-๔ วัน แสดงให้เห็นว่าการข่าวของไทยล้าหลังมาก แต่โชคดีของฝ่ายไทยที่กองทัพฝ่ายกบฏมิได้บุกกรุงเทพฯ แต่ตัดสินใจยกทัพกลับพร้อมกับเก็บทรัพย์จับเชลยกลับเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์(๑๖)
กบฏครั้งนี้ใหญ่หลวงมากในสายตาของรัฐบาลไทย เห็นได้จากการออกคำสั่งเกณฑ์กำลังจากหัวเมืองทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ขึ้นไปจนถึงหลวงพระบาง แม้กระทั่งภาคใต้เกณฑ์ไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช แต่อย่างไรก็ตามกำลังหลักที่รัฐบาลไทยได้ใช้ในการรบจริงๆ เป็นกำลังจากภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง (พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย พิชัย ตาก เชียงทองเดิน) กองทัพไทยเดินทัพเข้าสู่ภาคอีสาน ๕ ทาง คือ เข้าอีสานใต้ทางประโคนชัย บุรีรัมย์ ตีค่ายมูลเค็งที่พิมาย สุวรรณภูมิ ยโสธร อุบล ราชธานี จำปาศักดิ์ จากจำปาศักดิ์ตีขึ้นไปตามแม่น้ำโขงผ่านเขมราฐ มุกดาหาร นครพนม สกลนคร ทัพนี้มีบทบาทเด่นที่สุด แม่ทัพคือ พระยาราชสุภาวดีหรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชาในเวลาต่อมา ทัพที่ ๒ ยกเข้ามาทางปากช่องโคราช มุ่งเข้าตีหนองบัวลำภู ทัพที่ ๓ ผ่านสระบุรี ด่านขุนทด แล้วไปทางเดียวกับทัพที่ ๒ ทัพที่ ๔ ผ่านสระบุรี เข้าตีเพชรบูรณ์ หล่มสัก ทัพที่ ๕ จากพิษณุโลก เข้าตีหล่มสัก แล้วแบ่งส่วนหนึ่งยกขึ้นไปทางด่านซ้าย เมืองเลย มีเป้าหมายที่เวียงจันทน์ อีกส่วนหนึ่งจากหล่มสัก เข้าตีเมืองหนองบัวลำภู(๑๗)
กองกำลังหลักของฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ มี ๕ แห่ง ตั้งรับอยู่ที่ค่ายมูลเค็ง ยโสธร หล่มสัก หนอง บัวลำภู และเวียงจันทน์ การรบที่ดุเดือดที่สุดคือการรบ ที่หนองบัวลำภูซึ่งฝ่ายลาวต่อต้านอย่างเหนียวแน่นในการรบวันที่ ๓-๔ พฤษภาคม และ ๑๐-๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๐ ในที่สุดฝ่ายไทยก็ตีแตกทุกแห่ง เจ้าอนุวงศ์เมื่อทรงทราบว่าหนองบัวลำภูแตกก็เสด็จหนีไปเมืองญวน กองทัพยึดเมืองเวียงจันทน์ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๐(๑๘) หลังจากรัฐบาลไทยทราบข่าวกบฏประมาณ ๓ เดือน กับ ๑ สัปดาห์ นับว่ากองทัพไทยมีประสิทธิภาพสูงทีเดียว แต่การกบฏมิได้ยุติเพียงนั้น เพราะภายหลังจากฝ่ายไทยเก็บทรัพย์ จับเชลยกลับมาแล้ว เจ้าอนุวงศ์ซึ่งเสด็จลี้ภัยการเมืองอยู่ในเมืองญวน ๑ ปี ๗๘ วัน(๑๙) ก็เสด็จกลับเข้าเมืองเวียงจันทน์อีก พร้อมกับคณะทูตญวนซึ่งเดินทางเข้ามาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้เจ้าอนุวงศ์
ใน วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ หลังจากมาถึงเวียง จันทน์ได้ไม่ถึง ๒ วัน ทหารลาวก็ฆ่าฟันทหารไทย ๓๐๐ คน ที่รักษาการณ์ในเวียงจันทน์ตายเกือบหมด เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้รวบรวมกำลังทหารแถวเมืองเสลภูมิ ยโสธรยกกลับมาตีโต้กองกำลังของฝ่ายลาวซึ่งนำโดยราชวงศ์ที่บ้านบกหวานใต้เมืองหนองคายลงมาเล็กน้อย สู้กันจนแม่ทัพทั้งสองบาดเจ็บ แต่ในสุดกองทัพลาวก็แตก ทัพไทยเข้ายึดเวียงจันทน์ได้เป็นครั้งที่สองในวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๑(๒๐)
ส่วนเจ้าอนุวงศ์เสด็จหนีไปเมืองญวนเหมือนครั้งก่อน แต่ไปไม่รอดเจ้าน้อยเมืองพวนได้แจ้งที่ซ่อนของเจ้าอนุวงศ์ให้ฝ่ายไทยทราบ ฝ่ายไทยจึงจับเจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ส่งกรุงเทพฯ พร้อมทำลายเมืองเวียงจันทน์เสียราบ เจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ถูกขังประจานที่ท?องสนามหลวง ๗-๘ วัน ก็ป่วยเป็นโรคลงโลหิตพิราลัยเมื่อชันษาได้ ๖๑ ปี ครองราชย์จาก พ.ศ. ๒๓๔๗-๗๐ รวม ๒๓ ปี(๒๑) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของเวียงจันทน์
จากคุณ :
ดวงจำปา (สิคีรียา)
- [
9 พ.ค. 51 03:57:28
]
|
|
|