ความคิดเห็นที่ 18
ในฐานะที่แอน เป็นคนที่ได้ใช้ภาษาอังกฤษมากที่สุดในการดำรงชีวิตคนหนึ่ง เพราะได้ใช้ชีวิตไปอยู่ ไปเรียนที่อเมริกามานานหลายปี ตอนแรกก็ไปเรียนปรับภาษาก่อนต่อมาก็เข้ามหาลัยที่นั่น ก็เรียนร่วมกับเพื่อนชาวอเมกันหมด
+++จุดประสงค์หลักของการเรียนภาษาคืออะไร+++ หืม (อันนี้ทุกคนต้องรู้) ก็เพื่อที่จะได้ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกันได้ใช่ไหมหล่ะ (ไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ก็ตอบได้).... แกรมม่า ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยผูกคำให้เป็นประโยคทำให้รู้ว่าตำแหน่งของคำต่าง ๆ ที่จะพูดต้องเรียงต่อกันไง จะได้เรียบเรียงเป็นถ้อยคำสื่อสารได้......แต่ไม่ใช่หัวใจทั้งหมด สมมุตว่า สะกดผิด วางตำแหน่งหน้าที่คำเพี้ยนไปหน่อย หรือพิมพ์ตกหล่นคำบางคำในประโยค เชื่อไหมค่ะ ว่าผู้รับสารอ่านโดยรวม ก็ยังเข้าใจได้ ลองอ่านตามตัวอย่างนี้นะคะ ให้อ่านข้ามคำใน(-) ดูนะคะซึ่งถูกแอนสมมุตว่าได้พิมพ์ตกหล่น หรือเป็นคำสะกดที่ถูกต้อง
Do we need to study gramma(r) to learn a language? The short answer is "no". People sometime(s) describe grammar as the "rules" of (a) language; but in fact no language has rules. If we use the word "rules", I suggest that somebody created (the) rules first (and) then spoke (the) language, like a new game. But languages did not start like that.
Languages started by people make(ing) sounds which evolved into words, phrases and sentences. No commonly-spoken language is fix(ed).
All languages change over time. What we call "gra(m)mar" is simple(y) a reflection of a language at a particular time(.)
อืม อ่านแล้วได้เนื้อหาไหมคะ เข้าใจละนะ+++++
อีกอย่างเวลาอ่านหนังสือไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไร ผู้อ่านก็ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกตัวอักษร เช่น ยืนอ่านหนังสือพิมพ์ฟรี ที่แผงลอยหน้าร้านเซเว่น อยากรู้ผลบอลกะผลวิจารณ์แค่นั้น ก็อ่านเร็ว ๆ เด๋วแม่ค้าด่า ก็อ่านให้จับใจความได้ เอาเนื้อหาที่ต้องการ ก็จบ ไม่เห็นต้องซื้อเพื่อจะเก็บข้อความนั้นไว้เป็นที่ระลึกมาวิเคราะห์โครงสร้างวิธีการเขียนของนักข่าวเลย จริงไหมคะ
แอนขอบอกได้เลยว่า แกรมม่า ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลยึดติด ยิ่งมุ่งเรียนถ้าจำไม่ได้ ก็กลายเป็นหมดความมั่นใจ กลัวผิด ไม่กล้าใช้ภาษาอังกฤษ (เรียนเท่าไรก็ไม่จบสักที มันเยอะเหลือเกิน เรียนแล้วก็จำไม่ได้หมดหรอก ลืมชัวร์) +++ระบบการเรียนภาษาคนไทยถูกปลูกฝังว่าถ้าแกรมม่าผิด คือคุณแย่ ล้มเหลวด้านการเรียนภาษา+++ เป็นการปลูกฝังความคิดที่_ _ _ย มาก ถึงแม้ว่าจะไม่รู้ทั้งหมด แต่ก็นำมาใช้ได้แล้ว มิน่า เด็กไทย....นะ เรียนภาษาตั้งแต่อนุบาล จนจบปริญญาตรี เจอฝรั่งถามทางก็วิ่งหนีซะแล้ว
การใช้แกรมม่าแบบถูกเป๊ะ ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สำหรับทุกคน อย่างเช่นถ้าคุณเป็นนักแปล นักแต่งหนังสือ เป็นต้น อืมอันนี้ก็จำเป็น ขอบอกนะแม้แต่อาจารย์อเมริกันแท้ๆที่สอนแอน เค้าเขียนบนกระดานหน้าชั้น ก็ยังตกแกรมม่าเลย คำศัพท์บางคำก็สะกดไม่ถูก ยังหันหน้ามาถามนักเรียนเล้ย เขียนตกหล่น จริง ๆ นะ (ไม่ได้เป็นคนเดียวนะ ขนาดเป็นอาจารย์มหาลัยชื่อดังของนิวยอร์คนะ) อาจารย์กะนักเรียน ก็ไม่ได้ใส่ใจแกรมม่าบนกระดานหรอก จดจ่อที่เนื้อหา ต่างหาก มีแค่วิชาเดียวที่ อ.เคร่ง คือวิชาจดหมายธุรกิจ แอนก็เห็นเพื่อน ๆ คนอเมริกันแท้ ๆ ได้รอยขีดแก้ปากกาแดงลายเต็มหน้ากระดาษเหมือนกันแหละ อ.เค้าแก้แกรมม่าให้
แอนมีเพื่อนที่มาจากประเทศ Mexicoนะ เค้ามาทำงานหาเงินเป็นคนหั่นผักกะปั่นจักรยานส่งอาหารที่ร้านอาหารเพื่อน ตอนมาใหม่ ๆ พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย เค้าอยู่เมกาได้แค่ 2 ปี แอนเจออีกที ด่าเป็นภาษาอังกฤษตอบโต้กันได้เลย เก่งนะ ไม่ได้ไปโรงเรียน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่พูดได้หาเงินได้ เก่งกว่าคนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษมา10กว่าปีอีก แต่พูดไม่ได้เล้ย..
ภาษาที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน ของคนส่วนใหญ่ คือภาษาพูด มากกว่าเขียนนะ ต่อให้คุณใช้แกรมม่าถูกเป๊ะ ๆ แต่อ่านออกเสียงไม่ได้เรื่องเลย อ่านก็ มะ-ถุ- คระ-จา- ขะ-จาย จริงไหม... คนไทยขา คำว่า vegetable อ่านออกเสียงว่าไง ไม่ใช่ เว้ด- เจท-เท-เบิ้ล นะคะ พูดทั้งวัน ฝรั่งก็ไม่รู้เรื่องนะ
จากคุณ :
แอน
- [
28 มิ.ย. 51 06:15:13
A:117.47.228.71 X:
]
|
|
|