ความคิดเห็นที่ 19
เวลาใช้ภาษาอังกฤษ เราต้องไม่เอาเสียงในภาษาไทยเป็นหลักครับ เราต้องยึดตามที่สากลเค้าใช้กัน
เหมือน กรุงเทพฯ => Bangkok (ตัวอย่างนี้ อาจดูห่าง เพราะคนละคำ ... เอาใหม่ อิอิ) เหมือน สยาม => Siam (อ่าน ไซแอม และ ไม่สะกดตามคำไทยที่เรียก สะ-หยาม Sayam) เหมือน ธรรมะ => Dharma ไม่ใช่ Thamma เหมือน พุทธ => Buddha ไม่ใช่ Phuttha หรือ Putta
ดังนั้น สากล (คือภาษาอังกฤษ) ว่าไง เราก็ต้องว่าตามครับ
เหตุที่สะกด Suvarnabhumi เพราะว่า คำนี้ เป็นคำสันสกฤต วงการศึกษาระดับนานาชาติรู้จักคำนี้กัน เพราะว่า ทางอินเดียเค้าก็ใช้คำนี้ ดังนั้น เพื่อความเป็นสากล เราถึงสะกดตามที่อินเดียใช้ในภาษาอังกฤษครับ
คิดว่า คุณนกฮูกฯ คงพอเข้าใจนะครับ
======================== ส่วนชื่อจังหวัดต่างๆ ของไทย เป็นอีกเรื่องครับ นั่นคือ เป็นการเขียนตามการออกเสียงแบบไทย "แต่" ได้สร้างกฎบางประการขึ้นมาเพื่อสร้างความแตกต่าง ของเสียงที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัว "h" เข้ามาช่วย แต่ ปัญหามันอยู่ที่ ph มันไปตรงกับเสียงในภาษาอังกฤษว่า "ฟ" ..... แต่จะว่าไปแล้ว ศัพท์ที่มี ph จะมีรากมาจากภาษากรีกโบราณ ... เคยได้ยินว่า ในภาษากรีกโบราณ ph ตรงกับ พ ส่วน p ตรง ป ที่ไม่ตรงกับ ฟ ก็เพราะว่า ในภาษากรีกมีตัว ฟิ ที่ออกเสียง ฟ อยู่แล้ว
เรื่อง ฟูเก็ต (Phuket) อันนี้ เป็นการสะกดตามราชบัญฑิตยฯ ครับ โดย ใช้ h เพื่อแยกเสียงที่ใกล้กัน แต่ฝรั่งอังกฤษไม่มี (คือ ป กับ พ) เพื่อให้เห็นความแตกต่างตามหลักการ การบัญญัติตัวอักษรโรมัน ให้เป็นอักษรสากล "แต่" ก็ต้องยึดหลักตามที่ภาษาเหล่านั้นกำหนดใช้ "ไม่ใช่ยึดหลักตามเสียงของภาษาอังกฤษ" เช่น ที่รู้จักกันดีคือ Pinyin ของจีน กับ Quoc Ngu เวียดนาม ครับ แม้แต่ อักษรโรมัน ที่ใช้ถอดเสียงภาษาสันสกฤต-บาลี เอง ก็จะออกเสียงแบบภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ถ้าคำเหล่านั้น เป็นชื่อเฉพาะที่ใช้กันแพร่หลายในภาษาอังกฤษ ก็อนุโลมครับ เช่น Suvarnabhumi หรือ Beijing
ของไทย เค้าเทียบไว้ ประมาณนี้ครับ ค (k), ข (kh) ต,ฏ (t), ถ,ท,ธ, ฐ,ฑ,ฒ (th) ป (p), พ,ผ,ภ (ph)
ถ้าเป็นสูตรสันสกฤต / บาลี -โรมัน การใช้ h เป็นตัวช่วย จะดูเป็นระบบมากกว่า เช่น ก (k) --- ข (kh) --- ค (g) --- ฆ (gh) จ (c) --- ฉ (ch) --- ช ( j ) --- ฌ ( jh ) ต (t) --- ถ ( th ) --- ท (d) --- ธ (dh) ป (p) --- ผ (ph) --- พ (b) --- ภ (bh) ===> ภูมิ = bhumi
จากคุณ :
[-_-]_V (Hotacunus)
- [
28 ม.ค. 52 03:18:25
]
|
|
|