ความคิดเห็นที่ 6

กนกวรรณ ด่านอุดม จากช่อง 9 อ.ส.ม.ท. มาเป็นผู้จัดช่อง 5 ในนามของ "รัศมีดาวการละคร" ละครที่โด่งดังที่สุดของเธอชุด ผู้กองยอดรัก ได้แก่ "ผู้กองยอดรัก – ยอดรักผู้กอง – ผู้กองอยู่ไหน" ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น ทิวาหวาม, เลือดขัตติยา, ผู้ชนะสิบทิศ, ศิวาราตรี, แววมยุรา, ละอองดาว, สี่แผ่นดิน, ในฝัน, ผู้ใหญ่ลีกับนางมา, น้ำผึ้งขม, ระฆังวงเดือน, สายรุ้ง, ค่าของคน, ดาวเรือง, สิ้นสวาท, อย่าลืมฉัน, เดชแม่ยาย, น้ำเซาะทราย, วงเวียนชีวิต, จ้อนกับแดง, เกียรติศักดิ์ทหารเสือ, ดรรชนีนาง, ในม่านเมฆ,หัวใจเถื่อน, สลักจิต, ทิวาหวาม,จำเลยรัก, ชื่นชีวานาวี, ขุนศึก, เคหาสน์สีแดง ฯลฯ ปนัดดา กัลย์จาฤก ในนามคณะส่งเสริมศิลปิน มี บ้า, 38 ซอย 2, บาปบริสุทธิ์, สวนทางเถื่อน, เจ้าซอใจซื่อ, หางเครื่อง, แม่น้ำ, แม่เอิบ, ตี๋ใหญ่ เป็นต้น ศรีไทยการละครของเทิ่ง สติเฟื่อง เช่น ปราสาททราย, ชุมทางรัก, ไปสู่ฉิมพลี, ลูกหว้า, คุณหญิงนอกทำเนียบ, รอยมลทิน, คู่กรรม, เมียน้อย, พิศวาส, รัศมีจันทร์, ป่านี้ไม่มีผู้ชาย, เชลยศักดิ์, เดือนดับที่สบทา, แสงสูรย์, ประสาทมืด, ทางโค้ง, อีสา, เรือมนุษย์, ผมไม่อยากเป็นพันโท, พรหมประพาส, พาร์ทเนอร์, มนต์รักอสูร เป็นต้น ... ละครช่อง 7 สี ยุคบุกเบิก สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สีในยุคก่อตั้งมีคณะละครเพียงไม่กี่คณะ เช่น คณะดาราฟิล์ม, คณะกันตนา, คณะอิทรวิจิตรภาพยนตร์, คณะพร้อมมิตรภาพยนตร์, คณะไชโยภาพยนตร์, คณะสมพงษ์ พงษ์มิตรและคณะที่สถานีโทรทัศน์ผลิตเอง คือ คณะชัชฎาภรณ์ รักษณาเวศ (นักร้องเจ้าของเพลงรางวัลชีวิต, บัญชารัก เป็นภรรยาของ พันโทชายชาญ เทียนประภาส ต่อมา พันโทชายชาญถูกมือปืนยิงเสียชีวิตด้วยปืน 11 ม.ม. ระหว่างเดินทางไปเปิดสถานีดาวเทียมย่อยที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2523) โดยคณะนี้จะมีละครออกอากาศเดือนละครั้ง ทุกวันอาทิตย์ เวลา 22.00 – 24.00 น. ขณะที่คณะละครอื่นๆ มีเวลาหลายช่วงในการออกอากาศ เช่น 19.30 – 20.00 น. , เวลา 20.30 – 21.00 น. และเวลา 22.00 – 24.00 น. ดาราฟิล์ม ภายใต้การดูแลของไพรัช สังวริบุตร เป็นคณะแรกที่เริ่มงานละครพร้อมกับการเปิดสถานี ระยะแรกทำละครจักรๆวงศ์ๆ ละครเรื่องแรกคือ "ปลาบู่ทอง" ลงทุนด้วยเงินเพียง 8 พันบาท / ตอน เรื่องอื่นๆ เช่น โกมินทร์, ยอพระกลิ่น,อุทัยเทวี, บัวแก้วบัวทอง, นางสิบสอง, ขุนแผนผจญภัย, มนุษย์ปักษี, แก้วหน้าม้า, กัญหา – ชาลี, ทาษวังหลัง, ฝนสามฤดู, พิกุลทอง, ลักษณวงศ์, แก้วพิสดาร, พานทองรองเลือด,พระทิณวงศ์ ต่อมาการสืบทอดละครประเภทนี้เป็นของบริษัท คือ สยามฟิล์ม และสามเศียรตามลำดับ เหตุที่ที่ไพรัช สังวริบุตรยังคงละครประเภทนี้อยู่ถึงทุกวันนี้ เพราะมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี วรรณคดีไทยไว้ ละครจักรๆวงศ์ๆในรุ่นถัดมา เช่น ขวานฟ้าหน้าดำ, สี่ยอดกุมาร, สิงหไกรภพ, มณีนพเก้า, น้ำใจแม่, จันทโครพ, เกราะเพชรเจ็ดสี, ดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง, เทพศิลป์ – อินทรจักร, ดิน – น้ำ- ลม – ไฟ, เวสสันดรชาดก, มโหสถชาดก, วงษ์สวรรค์ ฯลฯ ขณะเดียวกันก็ดำเนินงานการผลิตละครร่วมสมัยไปด้วย มีทั้งการนำบทประพันธ์มาจากนักเขียนมาแปรรูป รวมถึงบางเรื่องก็ใช้วิธีการสร้างพล็อตเอง เช่น แก้วนพเก้า, กระสือ, ปอปผีฟ้า, ห้องหุ่น, ปู่โสมเฝ้าทรัพย์, เทวรูปแมว, ศีรษะมาร, อีสา, ขมิ้นกับปูน, กนกลายโบตั๋น, ปราสาทมืด, ริษยา, กิ่งไผ่, ตุ๊กตา, ดาวพระศุกร์, ดอกโศก, ภาพอาถรรพณ์, คมพยาบาท, กฎแห่งกรรม, มนุษย์ประหลาด, บ้านทรายทอง, กิ่งมัลลิกา, เมียหลวง, คู่กรรม, แม่นากพระนคร, แม่นากพระโขนง, แก้วสารพัดนึก, เงา, ละอองดาว, มัสยา, บ้านสอยดาว, ทองเนื้อเก้า, ตราไว้ในดวงจิต, หลวงตา, ไผ่แดง, โอ้...มาดา, หัวใจสองภาค ฯลฯ ... ช่อง 3 มาแล้ว เมื่อช่อง 3 เปิดสถานี ผู้จัดคณะแรกที่เข้าไปทำละครคือ ศรีไทยการละคร ละครเรื่องแรกๆ ที่ประเดิมการเปิดสถานีไทยทีวีสีช่อง 3 คือ เขมรินทร์ – อินทิรา, แม่หญิง, สะใภ้จ้าว แต่ละครในยุคนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ช่อง 3 มาเปิดละครสมัยใหม่อย่างจริงจังในปี 2519 เมื่อภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ (มีชูธน) เข้ามาปฏิวัติการแสดงละครแบบเก่าจากที่มีคนบอกบท เป็นนักแสดงท่องบทเอง รูปแบบของละครใกล้เคียงกับละครสมัยใหม่อย่างต่างประเทศ ภัทราวดี นำบทประพันธ์ เรื่อง ไฟพ่าย ของกฤษณา อโศกสิน มาประเดิมเป็นเรื่องแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเปลี่ยนทิศทางละครด้วยการคิดพล็อตเอง เช่น ขบวนการคนใช้, ตุ๊กตาเสียกบาล, สงครามปราสาท, นานาจิตตัง, ประชาชนชาวแฟลต, ศรีธนนชัย, ละครชุด ความรัก, ปะการังสีดำ (เรื่องนี้ซื้อบทประพันธ์มาจากประดิษฐ์ กัลย์จาฤก) ต่อมามีผู้จัดรายอื่นๆ เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, วรายุฑ มิลินทจินดา, สมชาย นิลวรรณ, อดุย์ กรีน, ถาวร สุวรรณ, วรยุทธ พิชัยศรทัต, เริงศิริ ลิมอักษร, อมรา พรหมโมบล, ศิริพร วงศ์สวัสดิ์, ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ฯลฯ ซึ่งต่างผลิตละครออกมาหลากแนว อาทิ นางทาส, อีแตน, คำพิพากษา, ม่าย, หมาๆ แมวๆ, เศรษฐีอนาถา เขาชื่อกานต์, คนเริงเมือง, เก้าอี้ขาวในห้องแดง, ด้วยปีกของรัก, ไฟรัก, แม่กระเชอก้นรั่ว, เขี้ยวพิษ, สิคีริยา, ปมพิศวาส, ดอกฟ้า-โดมผู้จองหอง, ห้องที่จัดไม่เสร็จ, ปริศนา, คลื่นเสน่หา, วิหคหลงรัง, บ้านขนนก, ดอกหญ้า-ดวงตาสวรรค์, ไม้ผลัดใบ, ถนนไปดวงดาว, ตุ๊กตามนุษย์, น้ำตาลไหม้, เงา, นางเอก, สายรุ้ง เลือดขัตติยา (แต่ไม่ได้ออกอากาศ), กฤตยา, มงกุฎฟาง, สามีตีตรา, หมูแดง, ขุนศึก, ฉุยฉาย, นางสาวโพระดก, อาญารัก, สงครามเก้าทัพ, สายโลหิต, สมเด็จพระสุริโยทัย, ทหารเสือพระเจ้าตาก, ทะเลเลือด, กำแพงหัวใจ, แก้วตาพี่ ฯลฯ ละครเหล่านี้ได้รับความนิยมจากคนดูเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มปัญญาชนในขณะนั้น เลยกลายเป็นว่ามีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายคนดูละครของสถานีโทรทัศน์สีช่อง ๓ เป็นคนในกรุงเทพฯที่มีระดับการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ไปโดยปริยาย ต่อมามีการเพิ่มคณะผู้จัดละครหน้าใหม่มากขึ้น โดยก่อนปี 2545 ช่อง 3 มีละครที่อยู่ในความทรงจำ ดังนี้ สี่แผ่นดิน, ร่มฉัตร, พ่อปลาไหล, ทรายสีเพลิง, ไอ้คุณผี, แม่พลอยหุง, เมียน้อย, รอยอินทร์, โสมส่องแสง, ผู้ชนะสิบทิศ, สี่แยกนี้อายุน้อย, เมียหลวง, เรือมนุษย์, ลายหงส์, ถ่านเก่าไฟใหม่, พลิงบุญ, ไฟในทรวง, เก้าอี้ขาวในห้องแดง, ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ, จินตปาตี *********************** ปล. สี่แผ่นดิน ยุคเวอร์ชั่น พ.ศ. 2517-2518 ค่ะ
จากคุณ :
โตมิโต กูโชว์ดะ
- [
6 มิ.ย. 52 20:04:31
]
|
|
|