 |
ความคิดเห็นที่ 17 |
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของราชอาณาจักรกัมพูชา....
๑. กัมพูชายังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากจนมากประเทศหนึ่ง ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงให้ความสำคัญอย่างสูงสุดต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศเพื่อมุ่งขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทให้ดีขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ (National Strategic Development Plan - NSDP) ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓ ยุทธศาสตร์ลดความยากจนแห่งชาติ (National Poverty Reduction Strategy - NPRS) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (Cambodias Millennium Development Goals - CMDGs) ซึ่งล้วนแล้วแต่มีจุดมุ่งหมายให้กัมพูชาก้าวเดินไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงและยั่งยืน
๒. รัฐบาลปัจจุบันซึ่งนำโดยสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายและประกาศใช้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม (จัตุโกณ) เพื่อการเจริญเติบโต การจ้างงาน ความเสมอภาคและประสิทธิภาพในกัมพูชา (Rectangular Strategy for Growth, Employment, Equity and Efficiency in Cambodia) ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
+ หลักการภายใต้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม
- เป็นวาระแห่งชาติของกัมพูชาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่กัมพูชากำลังเผชิญอยู่และการพัฒนาศักยภาพของกัมพูชา ได้แก่ การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ, ส่งเสริมการสร้างงาน, การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการของรัฐบาลเพื่อประกันความเท่าเทียมกันและความเป็นธรรมในสังคม, การเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของรัฐบาลในการดำเนินโครงการปฏิรูปในทุกสาขาเพื่อลดความยากจนและบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน - ความสำคัญของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม ได้แก่ การมุ่งพัฒนาประเทศเพื่อต่อยอดจากยุทธศาสตร์สามเหลี่ยม (ตรีโกณ หรือ Triangular Strategy) ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการดำเนินงานของรัฐบาลชุดก่อน โดยมีวัตถุประสงค์ ๙ ประการ ได้แก่ การขจัดความยากจนและหิวโหย, การจัดระบบการศึกษาขั้นต้น ๙ ปี, การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ, การลดอัตราการตายของทารก, การปรับปรุงระบบสาธารณสุข, การต่อสู้กับโรคติดต่อร้ายแรง (HIV/AIDS มาลาเรีย ฯลฯ), การปกป้องสิ่งแวดล้อม, การสร้างหุ้นส่วนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา, การเก็บกู้ทุ่นระเบิดและการช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย ทั้งนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานของการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยมุ่งพัฒนาและนำประเทศไปสู่การเติบโต การจ้างงาน ความเท่าเทียมกัน และความมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกื้อกูลต่อการปฏิรูป ทางการเมือง และความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
+ โครงสร้างของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม ประกอบด้วย
- ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) โดยมุ่งเน้นการปฏิรูป ๔ ประการ ได้แก่ การต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง, การปฏิรูปกฎหมายและการศาล, การบริหารสาธารณะ, การปฏิรูปกองทัพ โดยเฉพาะการลดจำนวนกำลังพลและหันไปเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรและอาวุธยุทโธปกรณ์ - สร้างเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ ความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพทางการเมือง และระเบียบทางสังคม, การสร้างหุ้นส่วนด้านการพัฒนาซึ่งรวมถึง ภาคเอกชน ประเทศผู้บริจาค และประชาชน, การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการคลัง, การบูรณาการกัมพูชาเข้าสู่ภูมิภาคและโลก - ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยมยังได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศใน ๔ สาขาหลัก ได้แก่ ด้านการเกษตร, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, การพัฒนาภาคเอกชนและสนับสนุนการสร้างงาน, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสาธารณสุข - ยุทธศาสตร์การลดความยากจนของรัฐบาล ได้แก่ การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพ และจัดระเบียบทางสังคมโดยใช้มาตรการซึ่งสนับสนุนกฎเกณฑ์และความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย การเคารพในสิทธิมนุษยชนและความเป็นประชาธิปไตย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความมั่นคงให้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว, การรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนประมาณร้อยละ ๕ - ๗ ต่อปี, การส่งเสริมการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันระหว่าง คนรวยกับคนจน ระหว่างเมืองกับชนบท และระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง, การพัฒนาการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
....ปัจจุบันกัมพูชากำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจไว้ ๘ ประการ ได้แก่
๑. การฟื้นฟูระบบชลประธานเพื่อการเกษตร ๒. การพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคม ๓. การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ๔. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ๕. การสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ๖. การพัฒนาการท่องเที่ยว ๗. การสำรวจและใช้ทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน ๘. การพัฒนาการค้า การเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดี โดยธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ ๙.๕ และ ๙ ในปี ๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑ ตามลำดับ อันเป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีมากขึ้น การไหลเข้าของการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ และผลผลิตการเกษตรขยายตัว ขณะที่อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ การก่อสร้าง และการท่องเที่ยวก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
.................................................................................................
ในภาพ : ท่าอากาศยานแห่งชาติเสียมราฐ
จากคุณ |
:
นกสุโขทัย
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.ค. 52 16:39:57
|
|
|
|
 |