 |
ความคิดเห็นที่ 10 |
|
กองทัพเรือไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และทรงว่าราชการกรมท่านั้นทรงแต่งเรือไปค้าขายในส่วนพระองค์ด้วยผลประโยชน์ที่ได้จาก การค้านี้ส่วนหนึ่งได้ทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในการ ใช้จ่ายในราชการอย่างเพียงพอจากการที่ทรงดำเนินการค้าขายภายใต้ตำแหน่งเสนาบดีกำกับ ราชการกรมท่าและทรงดำเนินการในส่วนพระองค์ด้วยนั้นทำให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรง มีความรู้ในเรื่องของเรือการเดินเรือ ทิศทางของลม ฯลฯ เป็นอย่างดีและทำให้พระองค์ทรง สามารถกำหนดระยะเวลาการเดินเรือทะเลให้เกิดความปลอดภัย เช่นเมื่อครั้งที่ทรงบัญชา การยกกองทัพเรือไปปราบกบฏที่เมืองไทรบุรี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงให้ความสนพระ ราชหฤทัยในเรื่องของเรือและการค้าทางเรืออย่างต่อเนื่อง ในรัชกาลนี้แม้ว่าการศึกกับพม่า จะยุติลงแล้วแต่อังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลเข้าคุกคามประเทศเพื่อนบ้านของไทยอยู่โดยรอบ พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงระแวงว่าอังกฤษอาจจะรุกรานไทยด้วย ประกอบกับ ญวนได้ขยายอำนาจเข้าครอบคลุมดินแดนเขมรและลาวซึ่งเคยอยู่ใต้การปกครองของไทยมาก่อน จึงทรงให้ความสำคัญกับการป้องกันประเทศและการพยายามกอบกู้อิทธิพลที่เคยมีอยู่ ู่เหนือลาวและเขมรคืนมาจากญวน ในส่วนของกองทัพเรือนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ต่อเรือรบที่ใช้ในคลองและในทะเล ให้เป็นตัวอย่าง ๑ ลำ เป็นเรือปากปลา ท้ายกำปั่นแปลง มีพลแจวตลอด ๒ ข้าง ปากกว้าง ๙ ศอก ๑ คืบ ยาว ๑๑ วา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีเจ้าภาษีนายอากรช่วยกันจัดการต่อเรือตามแบบนี้ เพื่อใช้ในราชการอีก ๓๐ ลำโดยพระราชทานเงินช่วยในการต่อเรือลำละ ๓๐ ชั่ง เรือดังกล่าวมีนามดังนี้ ๑. เรือมหาพิไชยฤกษ์ ๒. เรือไชยเฉลิมกรุง ๓. เรือบำรุงศาสนา ๔. เรืออาสาสู้สมร ๕. เรือขจรจบแดน ๖. เรือแล่นเลยลม ๗. เรืออุดมเดชะ ๘. เรือชนะชิงไชย ๙. เรือประไลยข้าศึก ๑๐. เรือพิฤกเลอสรวง ๑๑. เรือทลวงกลางรณ ๑๒. เรือประจญโจมทัพ ๑๓. เรือจับโจรทมิฬ ๑๔. เรือบินอรณพ ๑๕. เรือตลบล่องคลื่น ๑๖. เรือฝืนชลเชี่ยว ๑๗. เรือเทียวอุทก ๑๘. เรือกระหนกจาม ๑๙. เรือทรามคะนอง ๒๐. เรือผยองสมุทร ๒๑. เรือประทุษฐเมืองพาล ๒๒. เรือบำรานปรปักษ์ ๒๓. เรือจักรอมเรนทร ๒๔. เรือตระเวนวารี ๒๕. เรือตรีเพชรฆาฏ ๒๖. เรือพรหมศาสตร์นารายณ์ ๒๗. เรือลอยชายเข้าเมือง ๒๘. เรือกระเดื่องบุญฤทธ์ ๒๙. เรือพานิชภิเษก ๓๐. เรือเฉกเทพดาสรรค์ ๓๑. เรือมหันตมงคล
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๘๑ ทรงโปรดฯ ให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ต่อเรือพระที่ นั่งเพื่อใช้เป็นเรือรบได้อีก ๑ ลำ คือ เรือพระที่นั่งอมรแมนสรรค์ และเรือลำนี้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัด บุนนาค) ใช้เป็นเรือรบยกกำลังไปปราบกบฏที่ไทรบุรี นอกจากนี้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลต่อมา) ยังทรงต่อเรือเพื่อใช้ในราชการอีก ๔ ลำ คือเรือพุทธ อำนาจ เรือราชฤทธิ์(พ.ศ.๒๓๗๙) เรืออุดมเดช(พ.ศ.๒๓๘๔) และเรือเวทชงัด(พ.ศ.๒๓๘๖) เรือรบที่สร้างในรัชกาลที่ ๓ ที่สามารถจัดจำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑. เรือสำหรับใช้ในแม่น้ำ เป็นเรือยาว เรือกิ่งเรือเอกไชย เรือรูปสัตว์ เรือศรี เรือกราบ เป็นเรือขบวนพยุหยาตราและใช้เป็นเรือลำเลียงกำลังพลชลมารค ๒๔ ลำคือ เรือ พระที่นั่งเอกไชย รัตนดิลก ศรีสุนทรชัย เรือพระที่นั่งเอกไชยเขียนทอง มงคลสุบรรณสุวรรณ เหรา สุดสายตา กลีบสมุทร รุ้งประสานสาย ชายลมหวล ประพาสแสงจันทร์ ตะวันส่องแสง แท่งทองหล่อ ล่อใจชื่น รื่นใจชม สมทรงสลวย ราไน สุทธาทิพย์ บัลลังก์ทอง บัลลังก์เงิน บัลลังก์แก้ว บรรทัดทอง กล้องสลัด และเรือพระที่นั่งหลวงไม่มีชื่ออีก ๑ ลำ (พระราชพง ศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์, ๒๕๐๖:๓๕๕ - ๓๕๖)นอกจากนี้ยังมีเรือที่สร้างในสมัยรัชกาลที่๑ อีก ๖๗ ลำ และสมัยรัชกาลที่ ๒ อีก ๒ ลำ ๒. รือกำปั่นแปลง คือเรือที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ต่อเป็นตัวอย่าง ๒ ลำ คือ เรือมหาพิไชย ฤกษ และเรืออมรแมนสรรค์ ต่อมาเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่และคหบดีช่วยกันต่อตามอย่างอีก ๓๐ ลำ ดังกล่าวมาแล้ว และยังมีเรือกำปั่นแปลงอีกแบบหนึ่งที่ได้รับการดัดแปลงให้มีป้อมอย่างเรือญวนเรียก ว่า"เรือป้อมอย่างญวน" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศบุนนาค)อำนวย การต่อเรือ หลังจากนั้นจึงโปรดฯให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเจ้าภาษีนายอากรช่วยกันต่ออีก รวมแล้ว ๘๐ ลำโดยพระราชทานเงินช่วยอีกลำละ ๒๐ ชั่ง เมื่อต่อเสร็จแล้วนำไปใช้ในราช การที่กรุงเทพฯ ๔๐ ลำ มีอู่อยู่ที่คลองสารหงษ์และให้ใช้ตามหัวเมืองคือสมุทรสงครามสาคร บุรี ฉะเชิงเทรา อีก ๔๐ ลำ ๓. เรือกำปั่นแล่นใบในทะเล เป็นเรือที่ใช้ลาดตระเวนตามชายฝั่งบ้างค้าขายบ้าง ได้แก่เรือแกล้วกลางสมุทร เทพโกสินทร์ ระบิลบังแก้ว จินดาดวงแก้ว พุทธอำนาจ ราชฤทธิ์ วิทยาคม อุดมเดช เวทชงัด วัฒนานาม สยามพิภพ จรจับโจร โผนเผ่นทะเล ราชรังสฤษดิ์ เนพจูน และมัจฉานุ จะเห็นได้ว่านอกจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสนพระราชหฤทัย ในเรื่องของการต่อเรือเพื่อใช้ป้องกันประเทศ และการค้าขายด้วยการส่งเสริมสนับสนุนเจ้า เมืองเสนาบดีตลอดจนคหบดีให้ช่วยกันต่อเรือไว้ใช้ในราชการจำนวนหลายลำแล้วยังมีขุนนาง ที่มีความสามารถในการต่อเรืออีกหลายคนในรัชกาลนี้คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย), เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศบุนนาค), หลวงสิทธิ์นายเวร(ช่วงบุนนาค), พระยาศรีพิพัฒน์(ทัดบุน นาค) และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ อาจกล่าวได้ว่ากิจการทัพ เรือไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแรง สนับสนุนที่สำคัญยิ่ง
จากคุณ |
:
นิดจัง
|
เขียนเมื่อ |
:
วันภาษาไทยแห่งชาติ 18:46:06
A:125.24.23.41 X: TicketID:225557
|
|
|
|
 |