 |
ความคิดเห็นที่ 30 |
เรื่องราวบางระจันนั้นแบ่งออกเป็น 2ส่วน ส่วนที่1 ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2ส่วน 1) เรื่องราวสมัยอยุธยา เรื่องราวส่วนนี้ขาดหายไปมาก จึงมีการรวบรวมและชำระในสมัยกรุงธนบุรี 2)เรื่องราวสมัยธนบุรี เนื้อหาส่วนนี้ได้จากบันทึกในสมัยนั้น ๆ
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ถูกชำระพ.ศ. ๒๓๓๘-๒๓๕๐ เนื้อหาหนัก ๆได้มาจากสมัยกรุงธนบุรี
ส่วนที่2 ยึดเรื่องราวที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเป็นต้นแบบ ซึ่งมีการเสริมแต่งตั้งแต่สมัยร.4 จนถึงยุคปัจจุบัน เรื่องราวบางจันถูกเสริมแต่งเป็นอย่างมากในสมัยจอมพลป.
บางระจันฉบับพระราชหัตถเลขา "ขณะนั้นพระอาจารย์วัดเขาบางบวชมาอยู่ ณ วัดบางระจัน ชาวบ้านแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสุพรรณบุรี เมืองสิงห์บุรี เมืองสวรรค์บุรี อพยพเข้าไปพึ่งพระอาจารย์อยู่เป็นอันมาก
ฝ่ายพม่าส่งคนขึ้นไปเกลี้ยวกล่อม ชาวค่ายบ้านบางระจันแต่งทัพ ลงมาฆ่าฟันพม่าเสียกลางทางเป็นอันมาก พม่าจึงแบ่งกันทุกค่าย ยกขึ้นไปรบ ฝ่ายชาวค่ายบ้านบางระจันยกออกตั้งอยู่นอกค่าย ไล่ตะลุมบอนแทงฟันพม่าล้มตายเป็นอันมาก
ประมาณสองสามวันพม่ายกทัพไปตีค่ายบางระจันอีก ทำการกวดขันขึ้นกว่าเก่า ชาวค่ายบ้านบางระจันให้เข้ามาขอปืนใหญ่ สองกระบอก ปรึกษากราบทูลว่า ถ้าค่ายบ้านบางระจันเสียแก่พม่าๆ จะเอาปืนใหญ่2กระบอกนั้นเข้ารบกรุงศรี ดังนั้นจึงมิบังควร รุ่งขึ้นพม่ายกทัพไปตั้งค่าย ณ บ้านขุนโลก นายจันหนวดเขี้ยว คุมพรรคพวกประมาณ 5ร้อย ออกมาตีค่ายพม่า ตัวก็ต้องปืนตาย
อนึ่งพระยารัตนาธิเบศร์ออกไปเรี่ยไรทอง(เหลือง) หล่อปืนใหญ่ขึ้น ณ บางระจัน ครั้นพม่ายกไปตีอีก ค่ายบ้านบางระจันก็แตก ล้มตายเป็นอันมาก"
********************************************** [b]บางระจันฉบับปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายก่อนที่ไทยจะเสียกรุงครั้งที่ 2 ในแผ่นดินสมเด็จ พระเจ้าเอกทัศน์ เนเมียวสีหบดี แม่ทัพของพม่าได้ยกทัพเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ได้สั่งให้ทหารพม่า ออกปล้นทรัพย์สินเงินทองและเสบียงอาหารจากชาวบ้านหญิงสาว ชาวบ้านถูกทหารพม่าข่มเหงรังแก คนไทยเดือดร้อน และเจ็บแค้นมาก จึงชักชวนชาวบ้านให้ต่อสู้กับพม่า มีหัวหน้าคนไทย 6 คน คือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ชาวสิงห์บุรี นายดอก นายทองแก้ว ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ ได้ออกอุบายหลอกลวงพม่าไปฆ่าตายหลายครั้ง จากนั้นพากันหลบหนีไปหา พระอาจารย์ธรรมโชติ ที่วัดเขาบางนางบวช เมืองสุพรรณบุรี ท่านเป็นที่เคารพนับถือของ ชาวบ้านบางระจันในวิชาอาคมของท่านพระอาจารย์โชติได้แจก ผ้าประเจียดลงยันต์คาถาอาคมแก่ชายฉกรรจ์เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ มีชาวบ้านที่กล้าหาญติดตามมาอยู่ด้วยประมาณ 400 คน มีบุคคลสำคัญที่เป็นหัวหน้า เพิ่มขึ้นอีก 5 คน คือ ขุนสรรค์ นายจันทร์หนวดเขี้ยว นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่และพันเรือง ช่วยกันตั้งค่ายบางระจัน ขึ้นต่อสู้และขัดขวางการรุกรานของพม่า เนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าทราบว่าชาวบ้านบางระจันซ่องสุมผู้คนเตรียมอาวุธไว้ พร้อมมือและคอยดักทำร้ายทหารพม่าอยู่เนือง ๆ จึงคิดที่จะกำจัดชาวบ้าน บางระจันให้สิ้นด้วยเกรงว่าหากปล่อยทิ้งไว้ จะเป็นอุปสรรคต่อการ ยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา
ศึกบางระจัน-พม่า ครั้งที่ 1 งาจุนหวุ่น เป็นหัวหน้าคุมกำลังทหารไป 500 คน แต่ถูกชาวบ้านบางระจันโจมตีจนทหารพม่า บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
ครั้งที่ 2 เยกิหวุ่น เป็นหัวหน้าคุมกำลังทหารไป 800 คน แต่ถูกคนไทยที่มีจิตใจฮึกเหิมว่าเคยรบชนะพม่า มาแล้ว ยกกำลังออกมาไล่ฆ่าฟัน ทหารพม่าไม่ทันตั้งตัวและ อ่อนเพลียจากการเดินทางจึงต้องพ่ายแพ้กลัไป
ครั้งที่ 3 ติงจาโบ เป็นหัวหน้าคุมกำลังทหาร 900 คน แต่ถูกชาวบ้านบางระจัน ไล่ฆ่าฟันล้มตายและทิ้ง อาวุธไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้คนไทยได้อาวุธเก็บไว้ใช้มากมาย
ครั้งที่ 4 สุรินทรจอข้องเป็นหัวหน้าคุมกำลังทหาร 1,000 คน หวังจะปราบ ให้สำเร็จ ชาวบ้านบางระจันรู้ว่าฝ่ายตน เป็นรองเรื่องกำลังคนจึงออกอุบายแบ่งกำลังเป็น 3 ทางแล้วยกเข้าตีพร้อม ๆ กัน สุรินทรจอข้องหัวหน้าตายในที่รบ นายแท่นหัวหน้าค่าย บางระจันถูกยิงที่หัวเข่า
ครั้งที่ 5 เนเมียวสีหบดีแต่งตั้งให้แยจออากาเป็นแม่ทัพ คุมทหาร 1000เศษ ยกมาตีบางระจัน แต่พ่ายแพ้กลับไป
ครั้งที่ 6 จิแก ปลัดเมืองทวาย คุมพลหลายร้อย ยกมาตีบางระจัน แต่ถูกตีแตกกลับไป
ครั้งที่ 7 เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1000เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล ๑,๐๐๐ เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตาย เป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน
ครั้งที่ 8 สุกี้พระนายกองนายทหารมอญ ได้รับอาสาเป็นแม่ทัพยกทัพ 2000เศษเข้ามาปราบปรามชาว บ้านบางระจัน สุกี้พระนายกองรู้ว่าคนไทยเป็นคนกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวและรู้ลู่ทางดี หากตน ยกทัพเข้าตีซึ่ง ๆ หน้า จะไม่สามารถเอาชนะได้ ดังนั้นสุกี้พระนายกองจึงวางแผนการรบและเดินทัพด้วยความสุขุมรอบคอบไม่รีบร้อน พอถึงบ้านบางระจันก็รีบสร้างค่ายทันที ใช้วิธีออกไปตีนอกค่ายแล้วถอยกลับไปสู้อยู่ในค่าย ชาวบ้านบางระจัน พยายามเข้าตีค่ายหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ นายทองเหม็น ขี่กระบือเข้าตีค่ายพม่าก็ถูกพม่าฆ่าตาย นายแท่น ขุนสรรค์ และนายจันทร์หนวดเขี้ยวกำลังสำคัญของไทยล้วนแต่ต้องตายในสนามรบทั้งสิ้น ชาวบ้านต่างขวัญเสีย ที่เห็นหัวหน้าของตนต้องล้มตายทีละคนสองคน จึงขอ ปืนใหญ่จากทางกรุงศรีอยุธยามาโต้ตอบกับฝ่ายพม่า ทางกรุงศรีอยุธยาไม่ส่งมาให้อ้างว่ากลัวพม่าจะมาแย่งชิงระหว่างทาง แต่ได้ส่งพระยารัตนาธิเบศร์มาช่วยหล่อ ปืนที่บ้าน บางระจัน ชาวบ้านช่วยกันเรี่ยไรเครื่องทองเหลืองจนสามารถหล่อปืนใหญ่ได้สองกระบอก แต่ปืนใหญ่ แตกร้าวใช้การไม่ได้เลย พม่าเห็นคนไทยอ่อนล้าจึงถือโอกาสเข้าตีบ้านบางระจันแตกเมื่อเดือน 8 พ.ศ.2309 รวมเวลาต่อสู้กับพม่านานถึง 5 เดือน
ศึกบางระจัน ฝ่ายไทยตายพันเศษ ฝ่ายพม่าตาย 3000เศษ *********************************************** จากประวัติศาสตร์ พม่าล้อมกรุงศรีตั้งแต่เดือน3 ซึ่งอยุธยาได้เทครัวประชากรเข้ากรุงศรีหมด บางระจันก็อยู่เขต พื้นที่ ๆรัฐบาลทำการเทครัวเช่นกัน จากบันทึกฉบับกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ บางระจันโดนพม่าตีแตกในระยะเวลาอันรวดเร็ว ส่วนบันทึกบางระจันฉบับปัจจุบัน บางระจันต้านพม่าได้ถึง5เดือนเศษ และบางระจันแตกในเดือน8 (เดือน6เข้าสู่ฤดูฝน)
จากคุณ |
:
Sarani
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ส.ค. 52 17:22:56
|
|
|
|
 |