 |
ความคิดเห็นที่ 39 |
สำหรับข้อสังเกตในความเห็นที่ ๓๘ นั้น มีกรณีเปรียบเทียบคือ เมื่อครั้งที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินไปเฝ้าฯ เรียนพระราชปฏิบัติเรื่องที่จะพระราชทานพระราชวังพญาไทให้เป็นโฮเต็ล คราวนั้นมีรับสั่งว่า พระราชวังพญาไทมีค่าบำรุงรักษาดูเหมือนจะปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) ถ้าพระราชทานให้กรมรถไฟไปบริหารจัดการแล้ว จะสามารถหารายได้พอกับค่าบำรุงรักษาหรือไม่ ให้กรมรถไฟไปคำนวณดู
ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือ ค่าบำรุงรักษาพระราชวังพญาไทต่อปีเป็นเงินนับหมื่นบาท แล้วบ้านนรสิงห์กับบ้านบรรทมสินธุ์ ที่วิจิตรพิสดารยิ่งกว่าพระราชวังพญาไทปีหนึ่งจะมีค่าบำรุงรักษาเท่าไร ลำพังเงินเดือนเจ้าพระยาหรืออธิบดีในแต่ละปีคงไม่พอแก่ค่าบำรุงรักษาเป็นแน่ แล้วถ้าสิ้นรัชกาลลงแล้ว ข้าราชการบำนาญที่สมัยนั้นได้รับบำนาญสูงสุดเพียง ๒ ใน ๓ ของเงินเดือนเดิมจะแบกรับค่าบำรุงรักษาไว้ได้หรือ? ลำพังค่ารักษาเกียรติยศก็หลังแอ่นอยู่แล้ว เพราะยิ่งมีบารมีมาก ก็ต้องมีบุตรบริวารในความปกครองจำนวนมาก
นอกจากนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เคยไปประทับที่อังกฤษอยู่หลายปี คงจะได้ทอดพระเนตรเจ้าของปราสาทขนาดใหญ่ในอังกฤษที่ต้องประสบปัญหาในการบำรุงรักษาปราสาท แม้ว่าเจ้าของปราสาทเหล่านั้นจะมีรายได้จากที่ดินอันมีอยู่มหาศาลตามระบบฟิวดัลของยุโรป แต่ก็ยังต้องเปิดประสาทให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเพื่อเก็บเงินรายได้มาบำรุงรักษาปราสาทนั้นไว้
สำหรับบ้านสองหลังนั้นมีข้อสังเกตว่า ผู้ที่ได้รับพระราชทานบ้านทั้งสองนั้นต่างก็พักอยู่ที่เรือนหลังเล็ก หาได้ขึ้นมาอยู่บนตึกใหญ่ เหตุไฉนจึงเป็นเช่นนั้น แล้วเมื่อนายกรัฐมนตรีท่านนั้นไปพักค้างคืนที่บ้านบรรทมสินธุ์เพียงหนึ่งคืนแล้วไม่ไปพักอีกเลยนั้นเป็นเพราะบุญไม่ถึงหรือเปล่า?
จากคุณ |
:
V_Mee
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ก.ย. 52 08:04:12
|
|
|
|
 |