ความคิดเห็นที่ 13 |
คุณ จขกท คงอยากทราบว่า ฟ้อนท์พู่กันจีน มีกี่ลักษณะ กี่แบบ
ผมขออธิบาย
โดย ผมเขียน ตัวอย่าง อักษร ประกอบ 4 ตัว
ให้คุณ จขกท ดังนี้ครับ
แบบที่ 1 ข่ายซู
อ่านง่าย ดูง่าย นิยมใช้สุด มีตั้งแต่ ยุคราชวงศ์จิ้น
จงเหยา เป็นบิดาแห่งข่ายซู
ที่ดังๆ ก็มี เหยียนเจินชิง หลิ่วกงเฉวียน
เป็นต้นแบบการฝึกหัดเขียนอักษรจีน
การเขียนช้า ร่ำไร แต่แฝงด้วยพลังความแข็งแกร่ง
แบบที่ 2 สิงซู
เป็นแบบสบายๆ พอดีๆ ไม่ช้า ไม่เร็วเกินไป
เกิดจากการนำ ข่ายซู ซึ่งเขียนช้า มาประยุกต์ กับ แบบที่ 3 (ยังไม่ได้กล่าวถึง) แบบตัวหวัด
ทำให้เกิดแบบที่คลาสสิค นัยว่า แบบนี้สวยที่สุด
ที่ดังๆ ก็มีเทพแห่งอักษรจีน หวัง ซี จือ
ยังมีแบ่งย่อย เป็นสิงข่าย กับ สิงฉ่าว อีกครับ อันนี้อย่าไปกล่าวถึง เดี๋ยว งง
แบบที่ 3 ฉ่าวซู อักษรตัวหวัด
เขียนรวดเร็ว ปานจรวด เน้นอักษรที่กลม ลดเส้น เป็นการเขียนที่ต้องยกข้อศอก เขียนยากสุด จำก็ยากสุด บางทีคนเขียนเอง กลับมาดู ก็ยัง งงงง ว่าเขียนตัวอะไร
ที่ดังๆ ก็มี จางซวี้ ฮว๋ายซู่ ถ้าอยากเขียนอักษรชนิดนี้ เรียกว่า ต้องจำ ฟ้อนท์จีนขึ้นมาอีกแบบ ทีเดียว
ทั้งหมด 1 ถึง 3
ปรมาจารย์ กล่าวไว้ว่า
ลักษณะ แบบที่ 1 ข่ายซู เชื่องช้า เหมือนคนยืนสับเท้าอยู่กับที่ ลักษณะ แบบที่ 2 สิงซู เหมือนคนวิ่งจ๊อกกิ้ง ลักษณะ แบบที่ 3 ฉ่าวซู เหมือนคนวิ่ง 100 เมตร
เพิ่มเติม แบบที่ 4 ให้ครับ
ลี่ซู อักษรทาส
อักษร แบบตัวแบนๆ
เกิดในยุค จิ๋นซีฮ่องเต้ คนประดิษฐ์ เดิมทีเป็นนายอำเภอ ดันไปติดคุก แกไม่มีอะไรทำ เลยคิดประดิษฐ์อักษร แบบใหม่ ซึ่งดูง่าย
จิ๋นซี เห็นเข้า ทรงโปรด ออกมาจากคุก มาเป็นอาลักษณ์ในวังหลวง
แบบลี่ซู ถือว่าเป็นวิวัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุด ของประวัติศาสตร์อักษรจีน ครับ
เพราะด้วยความที่ว่า มันหลุดพ้นจากอักษรภาพ pictograph
ในอดีตไม่ว่าจ้วนซู (แบบที่ 5) จินเหวิน ต้าจ้วน อักษรบรรดาเหล่านี้ ยังคงเป็นอักษรภาพอยู่ครับ
ด้วยความง่ายๆ จำง่ายขึ้น หลุดพ้นจากอักษรภาพ ทำให้ความนิยมของลี่ซู แพร่หลาย ตั้งแต่ยุคจิ๋น และรุ่งเรืองใช้กันเยอะ ตามกาลเวลา แม้กระทั่งยุคสามก๊กเองก็ตาม
อ้อลืมไป คนคิดคนประดิษฐ์ แบบลี่ซูนี้ ท่านชื่อ เฉิงเหมี่ยว ครับ เดี๋ยวแกพาลโกรธผม ที่ไม่ให้เครดิต มาหักคอผมคืนนี้
แบบสุดท้ายที่ให้ชมกัน คือแบบที่เรียกว่า จ้วนซู
ที่จริงมีมานานตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจว เอาว่ามาฮิต เป็นเสี่ยวจ้วน
ที่เขียนก็ เสี่ยวจ้วนนะครับ
ก็ท่านมหาอำมาตย์ หลี่ซือ เป็นผู้ประดิษฐ์ ให้ใช้กันทั่วราชอาณาจักรจีนเป็นครั้งแรก
จ้วนซูยังคงเป็น อักษรภาพครับ
ดูตัว นก สิครับ น่าจับมาผัดเผ็ดเสียจริง
อักษรจ้วนซู ปัจจุบันก็มีนำมาใช้แกะ เป็นอักษรตราประทับ
ขอบคุณครับ
จากคุณ |
:
นายเสลา (นายเสลา)
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ก.ย. 52 18:40:17
|
|
|
|