จุดอ่อนของการเรียน การสอน ภาษาอังกฤษ ในประเทศไทย
|
|
.....จุดอ่อนจุดหนึ่งของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยก็คือ เราเริ่มต้นจาก ท่อง → เขียน → อ่าน →พูด→ ฟัง คือเริ่มต้นเรียนจากสมองซีกซ้าย แต่ถ้าเป็นการศึกษาที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยาแล้ว ต้องเริ่มต้นเรียนจาก ฟัง → พูด → อ่าน→ เขียน → ท่อง ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไปอยู่ต่างประเทศ ชั่วเวลาเพียงแค่หกเดือน จะเกิดพัฒนาการเรื่องภาษาอย่างก้าวกระโดด
ถึงแม้นักเรียนจะไม่มีโอกาสได้ไปอยู่ต่างประเทศ การนัดกันกับเพื่อนในโรงเรียนหรือคนในครอบครัว ให้พูดภาษาอังกฤษคุยกันเป็นประจำแทนภาษาไทยก็ช่วยได้ เวลาดูภาพยนตร์หรือฟังเพลงสากล ให้พยายามทำความเข้าใจความหมายไปด้วย และขณะฝึกพูดภาษาต่างประเทศ ถ้ารู้ว่าจะสื่ออะไรแล้ว ควรกล้าพูด แม้จะออกสำเนียงไม่ถูกต้อง ผิดหลักไวยากรณ์ หรือคำศัพท์ ก็ไม่ควรอาย ขอเพียงให้สื่อความหมายได้ และเมื่อสื่อความหมายได้ ในที่สุดสมองซีกขวาจะส่งสัญญานไปให้สมองซีกซ้ายช่วยหาคำศัพท์ หรือไวยากรณ์ที่ถูกต้อง หลังจากนั้นสมองซีกขวาจะรีบบันทึกไว้เป็นความทรงจำระยะยาวทันที ผู้ที่เรียนด้วยวิธีนี้ จึงไม่ลืม จำแม่น จำได้นาน
การเรียนภาษา ต้องสร้างความรู้สึกรักในภาษานั้นก่อน พยายามศึกษาถึงโครงสร้างของภาษา ลักษณะของประโยค จะมีประโยชน์กว่าการไปจำหรือท่องศัพท์โดยตรง เมื่ออ่านมากๆเข้า ความจำเรื่องคำศัพท์จะเป็นสิ่งที่ตามมาเอง นักเรียนบางคนสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษได้ แม้จะรู้คำศัพท์น้อยกว่าเพื่อนอีกคนที่ท่องอย่างเดียว แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องประยุกต์ใช้ นักเรียนที่ท่อง จะทำได้ไม่ดี การเรียนภาษาในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเป็นการสอนในเชิง ให้พูดได้ ฟังได้ อ่านได้ ไม่ใช่จำคำศัพท์ จำไวยากรณ์
นักเรียนไทยทุกคน ถึงจะไม่ชอบภาษาอังกฤษอย่างไร แต่เมื่อต้องไปอยู่ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษสักระยะ เขาจะเริ่มฟังและพูดภาษาอังกฤษได้ นั่นเป็นเพราะการเข้าไปอยู่ในสังคมที่พูดแต่ภาษานั้น ทำให้รู้ลักษณะของประโยค รู้จังหวะ รู้ธรรมชาติของภาษา เมื่อได้ยินซ้ำๆบ่อยๆ ก็จะเข้าใจความหมายแบบองค์รวม บางครั้งไม่ได้รู้ศัพท์มากไปกว่าตอนอยู่เมืองไทยเท่าใดนัก แต่สามารถพูดและฟังได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งแน่นอนว่า หลังจากนั้น ความสามารถในการอ่าน กับ การเขียน จะตามมา ( ฟัง → พูด → อ่าน→ เขียน → ท่อง )
วิธีเรียนภาษาอังกฤษโดยเริ่มต้นด้วยการฟัง แบบง่ายๆก็คือ เรียนภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ บทบรรยายกีฬา บทเพลง ข่าว เพราะ เนื้อหาภายในจะแฝงไว้ ซึ่งวัฒนธรรม และความรู้สึก ส่วนการจำคำศัพท์ได้เป็นสิ่งที่ตามมาทีหลัง ดังนั้น ถ้าพบบทเพลง บทประพันธ์ บทบรรยายหรือภาพยนตร์ ที่ประทับใจ อย่าลืมที่จะหาคำร้อง หรือบทพูด มาศึกษา เพื่อดูว่าคำศัพท์ ที่ใช้มีความหมายว่าอย่างไร การจำแบบนี้จะไม่ลืม
ที่มาของบทความ >>> จากหนังสือ "ทางลัดสู่อัจฉริยะ"
จากคุณ |
:
The science
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ก.ย. 52 09:19:59
A:202.133.176.30 X: TicketID:232819
|
|
|
|