 |
ความคิดเห็นที่ 4 |
พวกที่มีมันสมอง มีความสามารถหยิบฉวยทรัพยากรและโอกาสมากกว่าผู้ใช้แรงงาน
มนุษย์มีพัฒนาการเชิงสังคม มักสร้างกฏกติกา ระเบียบวินัย กฏหมาย อันรวมถึงรํฐธรรมนูญ ขึ้นมา เพื่อให้คนทั้งหลายอยู่ร่วมกันได้
ตรงนี้เป็นเจตนาอันบริสุทธิ์ของส่วนรวมหรือสาธารณะ แล้วก็สร้างออกแบบองค์กรที่หลากหลายหน้าที่ขึ้นมารองรับนโยบาย หรือภารกิจของสังคม ในนามว่ารัฐชาติและรัฐบาล องค์กรภาคเอกชน และองค์กรอื่นอีกมากมาย (ขอไม่อธิบายขยายความในที่นี้)
องค์กรทุกชนิดย่อมมีลักษณะเป็นการปกครอง เป้นการบริหารจัดการมนุษย์และภารกิจในรูปสามเหลี่ยมยอดแหลมเสมอ ไม่มากก็น้อย
ผู้มีสมองดีและเหตุปัจจัยอื่นๆ อันเหมาะแก่ความโชคดีอะไรสักอย่าง(ขยายความตามถนัดเลยครับ) มักจะได้รับโอกาสได้รับการสนับสนุนให้ไปอยู่ข้างบนของสามเหลี่ยม ที่ได้รับอำนาจปกครองผู้คนที่อยู่ต่ำลงมา หรือปกครองคนหมู่มากข้างล่างนั่นเอง
และในสังคมที่มีคนไม่อยู่ในองค์กร หรือคนนอกองค์กร เช่นชาวไร่ชาวนา เกษตรกรทั้งหลายจำนวนหลายสิบล้านคน คนเหล่านั้นถูกรวบให้อยู่ในรัฐแต่ไม่มีสิทธิประโยชน์ในผลประโยชน์ที่องค์กรตราหรือบัญญัติไว้
ผู้คนนอกองค์กรจำนวนมากมายดังกล่าว มักต้องใช้แรงานทำมาหากินในภาคที่พึ่งพาธรรมชาติ หรืออยู่ในองค์กรโรงงาน ก็ถูกใช้ให้ทำการผลิตชิ้นส่วนที่ไม่ต้องใช้สมองมากมาย และเป็นงานซ้ำซาก ถือใครๆก็ทำได้
กลับมาที่คนชั้นบน คนชนชั้นปกครอง มีอำนาจ(Power) มีคติทางรัฐศาสตร์วลีหนึ่งที่คลาสสิคมาก กล่าวไว้นานแล้วว่า... "Power tends to corrupt, absolute power corrupts absolutely(Lord Acton)"
มันเป็นธรรมชาติด้านบวกเชิงปัจเจก(ไม่แน่ใจ) หรือเป็นด้านลบเชิงสังคม ของส่วนลึกในจิตวิญญาณมนุษย์ พอมีอำนาจมากก็ฉ้อฉล ฉ้อราษฎร์มาก แถมยังรวมหมู่อุปถัมภ์ค้ำชู ออกกฏระเบียบหรือกฏหมายเอื้อกันเอง รวมถึงสมสู่กันเองในวงศ์ตระกูล
แล้วก็กลายเป็นการกีดกันเอาเปรียบคนชั้นล่างในองค์กร และคนที่อยู่นอกองค์กร คือชาวไร่ชาวนาชาวสวน และกรรมกรผู้ใช้แรงงานไปโดย กาลเวลาที่ผ่านไป(หรือผ่านมา?)
ก็เป็นอย่างนี้มาตลอด และจะเป็นไปอย่างนี้ตลอดหรือเปล่าล่ะ?
ทำอย่างไรให้ช่องว่างแห่งโอกาส ผลตอบแทน และการเข้าถึงทรัพยากรที่มีจำกัด ระหว่างชนชั้นปกครอง คนมีสมอง ผู้ใช้แรงงาน แคบลงได้ล่ะ?
แก้ข้อความตกหล่นครับ
แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 52 15:10:53
แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 52 15:07:39
จากคุณ |
:
ขามเรียง
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ก.ย. 52 15:05:57
|
|
|
|
 |