|
ความคิดเห็นที่ 101 |
ฮ่ะฮ่ะฮ่า คุณ Navarat.C ปล่อยอารมณ์ขัน คลายความเมื่อย ดีครับ
เห็นท่านเจ้าคุณฯ เรียกชื่อเมืองพม่าเป็นภาษาไทย นึกสนุกด้วย ขออนุญาตนะครับ ในพงศาวดารไทยใหญ่ ของกรมพระนราธิปฯ พระองค์ท่านก็เรียกเมืองพม่าเป็นภาษาไทย
- โกชาญพญี - โกสัมพี - โมคอง = เมืองก้องหรือเมืองคัง (เมาหลวง) - โมนยิน = เมืองยาง - เมืองกาย = เมืองกุ้ง - สองสุด = สบโชค - วุนโส = เวียงเสือ - โมฮลาย = เมืองเลง - ตะโก้ง = ทุ่งกุ้ง - สะแปนะโค = จำปานคร
คราวนี้เอาเป็นเรื่องเป็นราวตามตำนานการกำเนิดชนชาติไทยใหญ่บ้างนะครับ
....พระเจ้าราชาธิราชกรุงจีนพระองค์หนึ่งทรงพระนาม พระเจ้าอุทิพวา (อุทัยฟ้า) พระมเหสีทรงนาม เกียนนะยาเทวีมหาถี ประสูติราชธิดาพระเนตรบอดทรงนาม สอฮะลา ชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ปรากฏชัดแน่แล้วว่าจะทรงมองไม่เห็น ก็จับลอยแพ ณ ทะเลสาบตะลีพัด ไหลลงแม่น้ำหนองแส ไหลเรื่อยไปถึงแม่น้ำแม่กิ่ว (แม่แก้ว) คือ อิระวดี ถึงเมืองตะโก้ง (ทุ่งกุ้ง) ถึงหาดที่ปากน้ำแม่ช่องมวกเหนือเมืองสะแปนะโค (จำปานคร) แพก็ติดกิ่งไม้อยู่ที่นั่น พยัคฆ์เผือกตัวหนึ่งซึ่งเป็นสามีของนางในอดีตชาติ บังเกิดความพิศวาส ....x x x.... บังเกิดบุตรด้วยกัน ๔ องค์ มีนามว่า โสกอพวา (เสือกอฟ้า) , โสงันพวา (เสืองันฟ้า) , โสกยันพวา (เสือยันฟ้า) , โสหันพวา (เสือหาญฟ้า) ....
... เมื่อกุมารทั้ง ๔ ทรงพระเจริญ นางสอฮะลาประทานธำมรงค์ เครื่องสำแดงราชสกุล และให้กลับไปเฝ้าพระอัยกาพระเจ้าโว่งตี่ (วั่งตี่) กุมารทั้ง ๔ ก็ลาพระมารดากลับไปเฝ้าพระเจ้าราชาธิราชกรุงจีน พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวของพระมารดาให้ฟังจนสิ้น พร้องทั้งแสดงพระธำมรงค์เป็นพยานคำกล่าวนั้น พระเจ้ากรุงจีนทรงสดับเรื่องราวแล้วก็รับเป็นพระหลานขวัญ กุมารทั้ง ๔ อยู่เรียนรู้ขัตติยะศิลปศาสตร์ถ้วน ๓ ศก ก็ถวายบังคมลาพระเจ้าตาจะกลับสู่บ้านเมืองเวิ้งแม่กิ่ว (แม่แก้ว) พระเจ้าตาโปรดประทานฆ้องอัน ๑ แก่พระราชนัดดาองค์ใหญ่ มีดเล่ม ๑ สำหรับพระราชนัดดาองค์รอง นกยางตัว ๑ แก่พระราชนัดดาที่สาม แต่พระราชนัดาองค์น้อยทรงตรัสให้ไปขอนครแก่พญาพยัคผู้เป็นบิดา ๔ กุมารก็ถวายบังคมออกเดินทาง ...
... ถึงภูมิสถานอันหนึ่งชั้นเชิงดูชอบกล ฆ้องที่พระราชทานมาก็ลั่นหุ่ย ๆ ๆ ขึ้นมาเอง ๓ ลา เป็นนิมิตร พระกุมารองค์ใหญ่ก็ลงหลักปักฐาน ณ ที่นั่น ให้นามเมืองว่า เมียนกองญี (เมืองฆ้องใหญ่) ครั้นภายหลังให้ชื่อว่า เมืองก้อง พม่าเรียกโมคอง เราเรียกเมืองคัง พระอนุชาทั้ง ๓ ก็ลากลับมาโดยมรรคานิเทศ เรื่อยมาจนกระทั่งมีดที่พระเจ้าตาประทานให้หลุดจากหัตถ์พระกุมารองค์รองปักอยู่ที่พื้นเป็นอัศจรรย์ กุมารองค์รองจึงสร้างบ้านแปลงเมือง ณ ที่นั่น ให้นามเมือง เมียนมีดญี (เมืองมีดใหญ่) พม่าเรียกโมเมียก เหลือ ๒ กุมารพี่น้องก็ลาพระเชษฐาออกเดินทางเรื่อยมา ถึงทุ่งนาแห่งหนึ่ง นกยางก็โกญจนากัปนาทขึ้น พระกุมารที่ ๓ จึงลงหลักที่นั่นให้นามเมืองว่า เมียนยางญี (เมืองยางใหญ่) ภายหลังเหลือแค่ เมียนยาง พม่าเรียก โมนยิน เหลือกุมารองค์น้อยกลับถึงบ้านเมืองที่เวิ้งแม่กิ่ว (แม่แก้ว) พญาเสือเผือกผู้บิดาจึงมอบบ้านเมืองให้สร้างเป็นมหานครให้นามว่า เมืองเสือญี (เมืองเสือใหญ่) ต่อมาเปลี่ยนนามเป็นเวียงเสือ พม่าเรียกว่า วุนโส ...
กุมารทั้ง ๔ พระองค์นี้เป็นต้นสกุลของพวกไทยทั้งหลาย
ผมสันนิษฐานว่าเมื่อพระกุมารทั้ง ๔ ถวายบังคมลาพระเจ้าตามานี้ โปรดฯ พระราชทานทหารให้มาช่วยสร้างเมืองด้วย แหะแหะแหะ
(เดาล้วนๆ ) == > หัวเมืองพวกนี้คงเป็นเมืองของไทยใหญ่มาแต่ก่อน พม่ามาเรียกชื่อมืองตามสำเนียงพม่า เลยฟังเป็นเมืองพม่าไปครับ
ได้อ่าน กาเลม่านไต (ท่องเที่ยวเมืองม่านเมืองไต) ท่านว่าภาษาไทยใหญ่กับภาษาไทยเราเหมือนกัน แปร่งๆ ไปเท่านั้นเอง ประกอบกับภาษามือแล้วพอจะคุยกันรู้เรื่องครับ
"กาเลม่านไต" เป็นหนังสืออีกเล่มที่น่าอ่าน เป็นหนังสือดีที่คุ้มค่าราคาคุ้มเวลาที่อ่าน ศึกษาภัณฑ์ ราชดำเนิน น่าจะมีอยู่ครับ ไม่แพงเลย
ราตรีสวัสดิ์ครับ
แก้ไขเมื่อ 09 ต.ค. 52 21:59:46
แก้ไขเมื่อ 09 ต.ค. 52 21:51:34
จากคุณ |
:
กัมม์
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ต.ค. 52 21:45:20
|
|
|
|
|