 |
ความคิดเห็นที่ 19 |
อีกอันเป็นวิทยานิพนธ์ของคุณ ณัฐวัตร จินรัตน์ ม. ศิลปากร เรื่อง การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม(ศึกษาเฉพาะเขตพุทธาวาสของพระอารามหลวงที่สร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์)
ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระเบื้องกรุไว้ดังนี้ครับ
" กระเบื้องปรุเคลือบแบบจีน เป็นวัสดุสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมให้งานสถาปัตยกรรมไทยมีลักษณะที่ได้รับอิทธิพลแบบจีนมากขึ้น(32) กระเบื้องชนิดนี้ตั้งแต่แรกเริ่มเรื่อยมาเป็นของที่สั่งเข้ามาจากเมืองจีน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อได้ตั้งเตาเคลือบขึ้นที่วัดสระเกศและได้หาช่างจีนเข้ามาเป็นครู (33) ก็เข้าใจว่าคงจะมีการผลิตกระเบื้องเคลือบปรุขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย กระเบื้องปรุเคลือบที่ใช้กันทั่วๆไปมีทั้งที่เป็นลายจีนและลายไทยที่แฝงไว้ด้วยฝีมือช่างจีน ลายที่พบมากก็คือ ลายรูปสวัสดิกะ ลายดอกไม้แบบจีน ลายแก้วชิงดวง ลายประจำยามแปลง กระเบื้องเหล่านี้มักใช้กรุตามพนักระเบียงและกำแพงแก้วของโบสถ์และวิหาร กรุตามพนักกำแพงแก้วของเจดีย์ กรุเป็นแผงลับแล ฯลฯ"
อ้างโดย (32) ไขแสง ศุขะวัฒนะ, วัดพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจีนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525), 59. (33) วอลเตอร์ ฟรานซิส เวลลา, แผ่นดินพระนั่งเกล้า , แปลโดย พันเอกนิจ ทองโสภิต, พิมพ์ครั้งที่ 2 ( กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., 2530), 115.
แก้ไขเมื่อ 08 พ.ย. 52 18:05:05
จากคุณ |
:
Oceanophila
|
เขียนเมื่อ |
:
8 พ.ย. 52 18:02:15
|
|
|
|
 |