ผมได้ขอมูลจากบอร์ดแห่งหนึ่ง อยากให้สมาชิกช่วยวิเคราะห์หน่อยครับ ข้อมูลอาจเก่าไปหน่อย
เรียบเรียงจากต้นฉบับถอดความจากภาษาลาวเรื่องอ่านศิลาจารึก 835 ปี โดยบุนมี เทพสีเมือง จากคอลัมน์มรดกลาว พิมพ์ในนิตยสารท่องเที่ยวเมืองลาว ฉบับที่ 26 ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548)
คนไทยเกือบหมดประเทศเชื่อตำราว่า อักษรไทยเป็นอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.1826 หรือ 722 ปีมาแล้ว รัฐบาลไทยจัดงานฉลองทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ.2526 ครบรอบ 700 ปี "ลายสือไทย" ของพ่อขุนฯ แล้วยังจัดงานฉลองใหญ่ เมื่อองค์กร UNESCO ยกย่องเป็นมรดกโลกทางปัญญา เมื่อ พ.ศ.2547
ประวัติศาสตร์อักษรไทยบอกไว้ชัดเจนนานแล้วว่าลาวรับอักษรพ่อขุนรามคำแหงไปใช้งานหนังสือสมัยหลังๆ แต่แล้วลาวเพิ่งค้นพบจารึกอักษรลาว ระบุศักราช พ.ศ.1713 หรือ 835 ปีมาแล้ว มีอายุเก่ากว่าอักษรไทยของพ่อขุนฯ ราว 113 ปี ถ้าเป็นจริงตามนี้ย่อมหมายความว่าอักษรลาวเก่ากว่าอักษรไทยราว 113 ปี และอักษรไทยได้จากอักษรลาว ?
อักษรลาวเก่าสุด
บทความเรื่องอ่านศิลาจารึก 835 ปี โดย บุนมี เทพสีเมือง ในนิตยสารท่องเที่ยวเมืองลาว (ฉบับที่ 26 เดือนกรกฎาคม-กันยายน ค.ศ.2005 คอลัมน์ "มรดกลาว" หน้า 40-43) ถอดความโดยสรุปดังต่อไปนี้
มีศิลาจารึกอักษรลาว อายุ 835 ปีหลักหนึ่ง สร้างขึ้นในปีจุลศักราช 532 ตรงกับ พ.ศ.1713 ค.ศ.1170 ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ในสิมวัดวิชุน บ้านวิชุน เมืองหลวงพระบาง หากเทียบใส่ศิลาจารึกรามคำแหงที่ประเทศไทย เห็นว่าศิลาจารึกอักษรลาวหลักนี้มีอายุหลายกว่า 113 ปี การสมเทียบดังกล่าว แม่นอิงใส่ตัวเลขที่บอกปีจารึกไว้ในศิลาจารึกรามคำแหงนั้น (สร้างขึ้นที่เมืองสุโขทัยในปีมหาศักราช 1208 ตรงกับจุลศักราช 645)
ศิลาจารึกอักษรลาวหลักนี้ ประดิษฐานอยู่วัดวิชุนดนนานปานใดแล้ว, วัดวิชุนมีความสำคัญแนวใด เพิ่นจึงเอาศิลาจารึกบูราณหลักนี้มาประดิษฐานไว้
สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญในวัดนี้แม่น พระธาตุหมากโม ชื่อนี้เอิ้นตามชาวบ้านนิยมเอิ้นกันมาแต่ดนนานจนเป็นชื่อที่รู้กันโดยทั่วไปตามความเป็นจริงนั้น พระธาตุนี้มีชื่อเป็นทางการว่า พระธาตุปะทุมมะเจดี แปลว่า พระธาตุเจดีย์ดอกบัว ส่วนสิมของวัดวิชุนนี้ ก็มีรูปทรงแบบสถาปัตยกรรมลาวเดิม สมัยอาณาจักรลาวล้านช้างยุคต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14
ประวัติวัดวิชุน
http://i602.photobucket.com/albums/tt109/vannakas/artsmen-dot-net_ans6999_70987098.jpg
คำอ่านศิลาจารึกอักษรลาว "หลาน กวาน ตาย ร่หาพ่อ เฮียน ๔ พี่น้องหนี เข้าป่า จุละสังกราส ๕๓๒ แต่นัน สะปาสน ใด! ไว้ แก่ตู อย่าร้อน ใจกวาน ผู้นันเบา เป็น คนร้าย ไว้ แก่ตู"
อักษรลาวได้ต้นเค้ามาจากอักษรสันสกฤต ซึ่งบ่มีตัว ฮ บ่มีวรรณยุกต์ คนลาวบูราณได้ใช้ตัว ร ออกเสียงเป็นตัว ฮ ศิลาจารึกและสำเนาจารึกที่วัดวิชุน หลวงพระบาง ประเทศลาว อ่านโดย บุนมี เทพสีเมือง ผู้เชี่ยวชาญอักษรลาวโบราณ
วัดวิชุน มีชื่อเต็มเขียนไว้ที่ป้ายหน้าวัดว่า "วัดวิชุนนะลาด" หากเขียนถูกตามเค้าศัพท์แท้แม่น "วัดวิชุละราด" (อ่านว่า วิ-ชุน-ละ-ราด แปลว่า สายฟ้า) ชื่อนี้ตั้งขึ้นตามพระนามของพระเจ้าวิชุลราช ผู้นำพาสร้างวัดนี้เมื่อ จ.ศ.874 วันเสาร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีเต่าสัน ตรงกับ พ.ศ.2055 หรือ ค.ศ.1512
มีประวัติบันทึกว่า ภายหลังที่พระเจ้าวิชุลราชได้ขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินอาณาจักรลาวล้านช้างในปี จ.ศ.863 แล้ว พระองค์ก็ได้ปรับปรุงการบริหารบ้านเมืองให้เป็นระบบระเบียบดีตามฮีตคอง ประเพณีแล้ว ก็ได้หันมาบำรุงสร้างวัดวาศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ในนั้นพระองค์ได้เป็นเจ้าศรัทธานำประชาชนสร้างวัดวิชุนขึ้นเพื่อเป็นบ่อนประดิษฐานพระบาง (ก่อนหน้านั้นพระบางยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมะโนลม)
ในการสร้างนี้เพิ่นได้กำหนดอาณาเขตกว้างขวางให้เป็นอารามหลวง (เพยวัด) สร้างสิมให้กว้างใหญ่เพื่อให้เป็นบ่อนประกอบพระราชพิธีต่างๆ เมื่อสำเร็จแล้วก็อัญเชิญเอาพระบางมาประดิษฐานอยู่ในสิมแห่งนี้ สิมวัดวิชุนหลังเก่า สร้างด้วยไม้มีค่าสูงหมดทั้งหลัง มีขนาดยาว 36 เมตร กว้าง 18 เมตร ประดับเอ้ด้วยไม้ ควัดลวดลายศิลปะที่วิจิตรจบงามหลาย มีประตูเข้า-ออก 4 ป่อง มีป่องเอี้ยม 21 ป่อง
เคียงคู่กับการสร้างสิมหลังนี้ พระนางพันตินะเชียงเบด พระอัครมเหสีของเจ้าวิชุลราช ก็ได้สละทรัพย์ส่วนพระองค์ นำพาไพร่ฟ้าประชาชนสร้างพระธาตุลูกหนึ่งชื่อว่า พระธาตุปะทุมมะเจดี แปลว่า พระธาตุดอกบัว ซึ่งตั้งโดดเด่นอยู่ด้านหน้าสิมอย่างสง่างาม ในเวลาต่อมา คงเป็นเพราะลักษณะของพระธาตุคล้ายคือ หน่วยหมากโมตัดครึ่ง คนทั่วไปจึงพากันเอิ้นว่า พระธาตุหมากโม มาจนถึงทุกวันนี้
สิมวัดวิชุน และพระธาตุหมากโม ตั้งโดดเด่นสง่างามมา 376 ปี จึงได้ถูกพวกโจรฮ่อมาม้างเพทำลายในปี ค.ศ.1888 เพื่อเอาของมีค่าสูงซึ่งประดับเอ้อยู่ยอดช่อฟ้าของสิมและยอดพระธาตุ
ปี ค.ศ.1894 พระเจ้าสักกะริน กษัตริย์หลวงพระบาง ได้ปรึกษาหารือกับคณะสงฆ์ตกลงกันทำการสร้างแปลงสิมวัดวิชุนขึ้นใหม่ เพราะสิมหลังเก่าทรุดโทรมเพพังหลาย ในการก่อสร้างปัวแปงสิมขึ้นใหม่ แม่นก่อฝาผนังและเสาด้วยดินจี่ เฮ็ดให้มีรูปทรงเดิม ภายหลังสำเร็จแล้ว บรรดานักปราชญ์อาจารย์ทั้งลาวและฝรั่งเศส ในเวลานั้น ได้ตกกันริบโรมเอาวัตถุบูราณและศิลาจารึกต่างๆ ที่มีอยู่ตามวัดร้าง วัดเก่าแก่ต่างๆ ซึ่งบ่มีการปกปักรักษาที่ดี เข้ามาเก็บเมี้ยนไว้ในสิมวัดวิชุนนี้ เพื่อป้องกันบ่ให้ถูกทำลายหรือสูญหายไป
บ่อนประดิษฐานศิลาจารึกอายุ 835 ปี
ศิลาจารึกอักษรลาวอายุ 835 ปี ได้ประดิษฐานอยู่ในสิมวัดวิชุนนี้มาแต่ท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์สิมวัดวิชุนขึ้นใหม่ ในสิมวัดวิชุนปัจจุบัน มีศิลาจารึกประดิษฐานอยู่ 6 หลัก จารึกอักษรลาว 4 หลัก อักษรธรรม 2 หลัก ทั้งหมดตั้งอยู่เทิงแท่นไม้เลียนกันเป็นแถว อยู่ทางด้านซ้ายของพระเจ้าองค์หลวง หลักที่ 1 นับจากด้านขวามือแม่นศิลาจารึกอักษรลาว อายุ 835 ปี
http://i602.photobucket.com/albums/tt109/vannakas/artsmen-dot-net_ans6998_96549654.jpg
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 15:05:33
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 15:00:28
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 14:59:30
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 14:57:08
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 14:56:01
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 14:35:52
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 14:35:09
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 14:33:38