 |
ความคิดเห็นที่ 6 |
เครื่องจองจำ ๕ ประการ ประกอบด้วย ตรวนใส่เท้า ๑, เท้าติดขื่อไม้ ๑, โซ่ล่ามคอ ๑, คาใส่คอทับโซ่ ๑, มือทั้งสองสอดเข้าไปในคา และไปติดกับขื่อทำด้วยไม้ ๑ (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙, ก้าวหน้า, ๒๕๐๘)
จดหมายของบาทหลวงฝรั่งเศส มองซิเออร์ เลอบอง อธิบายตอนที่ถูกตรึงด้วย "คา" ว่า
"วิธีการที่เจ้าพนักงานได้เอาเราเข้าผูกกับหลักคานั้น ก็คือผูกเราทั้ง ๖ คนเรียงเป็นแถวเดียว หันหลังตรงกับที่ประทับ หลักที่ผูกเรานั้นก็เป็นคาในตัว เพราะต้องเอาศีรษะรอดเข้าไปในหลัก จนหันตัวไปไหนไม่ได้"
บาทหลวงปาลเลกัวซ์บันทึกผลของการจองจำ ๕ ประการ โดยเฉพาะการใส่ "คา" ที่คอนักโทษว่า
"คือไม้ยาวสองแผ่น ประสานกันตรงรอบคอนักโทษ คานั้นจะหนักน้อยหรือหนักมาก แล้วแต่ขนาดของโทษานุโทษ นอกจากจะหนักแล้ว ยังขัดข้องต่อการเคลื่อนไหวอิริยาบถอีกด้วย และข้อสำคัญทำให้ไม่ได้รับการพักผ่อนหลับนอนเลย" (ปาลเลกัวซ์, เล่าเรื่องเมืองไทย แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร, ก้าวหน้า, ๒๕๐๖)
ภาพด้านล่างคือภาพขุนแผนต้องโทษ ถูกจองจำ ๕ ประการ (ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร)
แก้ไขเมื่อ 23 พ.ย. 52 23:32:23
จากคุณ |
:
วศินสุข
|
เขียนเมื่อ |
:
23 พ.ย. 52 23:25:11
|
|
|
|
 |