จะบอกใบ้ให้ว่าทำไมนักแปลอ่านภาษาไทยที่กรมฯแห่งนั้นเขียนไม่รู้เรื่อง จนแปลผิดเพียบเลยหละ...(ตามที่เล่าให้ฟังใน คคห6 น่ะ)
คือว่า เจ้าหน้าที่กรมฯ เขาจะใช้โครงสร้างแบบ
คคห K8588269 คืออันนี้
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8588269/K8588269.html
ที่จั่วหัวกระทู้ว่า
"ม.ราม สอบตก ยังมีโอกาสได้ G รึป่าว"
ภาษาไทยลูกเล่นแพรวพราว เวลาเขียนติดกันเป็นพืด
"จะหาประธานของประโยคไม่เจอ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าใครทำกริยาไหนในประโยค (ยิ่งในประโยคมีกริยามากๆหลายๆตัว ละยิ่งงงเป็นไก่ตาแตก เลยหละ)"
ในกระทู้ K8588269 เรื่องมันง่ายๆ ใครๆก็เดาได้ว่า คนสอบตกคือนักศึกษา (จขกท) ไม่ใช่มหาลัยรามอย่างแน่นอน แต่โครงการ intranet ของกรม มีความซับซ้อนมากๆ ซึ่งก่อนจะเขียน program ให้ทำงานได้ถูกต้อง ก็จะต้องเขียน flowchart "อย่างเคร่งครัด" ตาม business rules หรือกฎระเบียบในการประกอบกิจการของกรมฯนั่นเอง ซึ่งมีเงื่อนไขที่ซับซ้อน ผลก็คือว่า
"นักแปลไม่มีทางเดาได้ว่า ใครทำกิริยาอะไรในประโยค"
ดังนั้น ถ้าต้องแปล
"ม.ราม สอบตก ยังมีโอกาสได้ G รึป่าว"
เป็นอังกฤษ (โดยตั้งสมมุติฐานว่ามันยากซับซ้อนพอๆกับการไหลของงานของหน่วยงานที่มีกฎระเบียบที่ยุ่งยากมากๆ) นักแปลก็จะพลาดท่า แปลมาเป็น
"If Ramkhamhaeng University fails the exam, will it still have the chance to get a 'G' ?"
จริงๆแล้วนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างหนึ่งในตัวอย่างอีกตั้งหลายร้อยหลายพันตัวอย่างของ
"ลูกเล่นอันแพรวพราวในภาษาไทย ที่ฆ่านักแปลไทยเป็นอังกฤษมามากต่อมากนักแล้วอย่างโหดเหี้ยมและเลือดเย็น...!!!"
แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 52 18:55:38
แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 52 18:45:37
แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 52 18:44:01
แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 52 14:46:17
แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 52 14:37:39
แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 52 14:36:01