 |
ความคิดเห็นที่ 15 |
“พระนริศ” (Prae Naerih) และ “พระนริศราชาธิราช” ตรงกับคำให้การชาวกรุงเก่า (โยทธยา ยาสะเวง) จากการสอบปากคำ เชลยศึกชาวศรีอยุทธยาเมื่อครั้งเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เรียกพระองค์ว่า “พระนริศ” และคัมภีร์สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน (สมัยที่ยังดำรงสมณศักดิ์พระพิมลธรรม) ซึ่งรจนาเป็นภาษาบาลีใน พ.ศ.๒๓๓๒ เรียกพระองค์ว่า “พระนริสสราช” (นริสสราชา) อัน มีความหมายเช่นเดียวกับพระนามว่า “สมเด็จพระนเรศ”
พระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ที่สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่๔ (สมเด็จพระนารายณ์) โปรดให้เรียบเรียงขึ้นใน พ.ศ.๒๒๒๓ เรียกสมเด็จพระนเรศต่างออกไปว่า “สมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้า” แต่ด้วยสาเหตุที่พระองค์สวรรคตอย่างปัจจุบันทันด่วนที่เมืองหาง (ห้างหลวง) ระหว่างยกทัพขึ้นไปตีเมืองอังวะ
สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. “สมเด็จพระนเรศวร” พระนามแปลกปลอมของ “สมเด็จพระนเรศ”. ศิลปวัฒนธรรม ๒๗, ๓(๒๕๔๙) : ๔๒-๔๓.
จากคุณ |
:
เต๋านีโอ
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ธ.ค. 52 01:55:08
|
|
|
|
 |