 |
ความคิดเห็นที่ 37 |
สิ่งที่ผมจะบอกคือ 1)การคิดอย่างเป็นระบบ คิดเหตุผล จะทำงานได้ จะต้องมีการ "นิยาม" ก่อนเสมอครับ ถ้าไม่มีการนิยามใดๆ เลยก็จะไม่สามารถ คิดอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุผล ได้เลย
ในคณิตศาสตร์ เราต้องนิยาม เลข 1,2,3....อินฟินิตี้ แล้วต้องมานิยาม การบวก การลบ การคูณ การหาร เราจึงจะนำมา บวกลบคูณหารได้
แต่คุณพยายามจะพูดว่า "ช่วยอธิบายทีครับ ว่า ทำไม 1 ถึงเป็น 1? มันไม่มีเหตุผลเลย ดังนั้น ผมว่าคณิตศาสตร์มันไม่เป็นเหตุเป็นผลเลย เพราะขนาดแค่เลข 1 คณิตศาสตร์ยังให้เหตุผลไม่ได้เลย ทำไมมันถึงเป็น 1"
มันคือ "นิยาม" ครับ ถ้าคุณไม่ยอมรับนิยามว่า "ขาว คือ ขาว" "ดำ คือ ดำ" คิดแต่ว่า "ขาว อาจไม่ใช่ ขาว" ทุกอย่างจบ
2) แล้วคุณก็พยายามนิยามใหม่ว่า ทราย 1 กอง + ทราย 1 กอง = ทราย 1 กอง เห็นมั๊ย 1 + 1 ก็เท่ากับ 1 ได้ ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 2 บลา บลา บลา
ครับได้ครับ เพราะคุณ นิยามใหม่ มันจึงเป็นเช่นนั้นได้ ใครคิดตามไปก็ได้ผลลัพธ์เช่นนั้นเหมือนกับที่คุณคิด ไม่มีใครสามารถเถียงคุณได้ในนิยามใหม่นั้น สิ่งที่คุณคิดมันไม่ผิดเลยครับในนิยามใหม่นั้น แต่ไม่มีใครยอมรับว่า ที่คุณ นิยามแล้วคิดออกมานั้น เป็น "คณิตศาสตร์" หรอกครับ
3)ถ้าเช่นนั้นคุณคงไม่ตั้งใจ แต่อยากบอกว่าในทางวิชาการ คุณต้องเขียนให้เต็มสถานการณ์ เต็มประโยค เช่น ที่คุณยกมา "คนดี" อาจจะเป็น "คนโกง" ได้ เมื่อเวลาผ่านไป "คนดี" อาจจะเป็น "คนโกง" ได้ เมื่อคนดีเริ่มหันมาโกง "คนดี" อาจจะเป็น "คนโกง" ได้ เมื่อความโกงที่แต่ก่อนไม่รู้ ถูกเปิดโปง "คนดี" อาจจะเป็น "คนโกง" ได้ เมื่อ.....ฯลฯ
คือมีการกำหนดเงื่อนไข True จะกลายเป็น False ในสถานการณ์ไหน ไม่ใช่พูดลอยๆว่า "คนดี" อาจเป็น "คนโกง" ได้ เสียเฉยๆ
ถ้าพูด/เขียน ลอยๆแค่ "คนดี" อาจเป็น "คนโกง" ได้ มันจะถูกตีความว่ามันคือ True อาจเป็น False ได้ "อย่างไม่มีเงื่อนไข" ซึ่งไม่ต่างอะไรกับ True = False
นี่คือหลักการ การใช้ภาษาทางวิชาการครับ
แก้ไขเมื่อ 15 ธ.ค. 52 16:00:09
จากคุณ |
:
Hoo
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ธ.ค. 52 15:42:01
|
|
|
|
 |