|
ความคิดเห็นที่ 19 |
รศ.ธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เล่ารายละเอียดความเป็นมาของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สิ่งล้ำค่าของคนไทย เป็นวิทยาทาน ความสำคัญของ เบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี ประกอบด้วย 5 สิ่งรวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับเบญจราชกกุธภัณฑ์ ตามวรรณคดีต่างๆ ทางพุทธศาสนา เช่น อรรถถาปปัญจสูทนีภาค 3 อรรถกถาสมันตปาสาทิกา ภาค 1 มหาวงศ์ ทีปวงศ์ อภิธานัปปทีปิกาสังกิจชาดก กล่าวว่า เบญจราชกกุธภัณธ์ ประกอบด้วย ฉัตร, วาลวิชนี, พระขรรค์, อุณหิส, และบาทุกา แต่ของไทยจะประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ วาลวิชนี พระแส้และพระจามรี พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร และฉลองพระบาท ในสมัยอยุธยาเครื่องราชกกุธภัณฑ์นับเป็นของจำเป็นและของใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก โดยจะใช้เมื่อเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนสิ้นรัชกาลลง และพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เสวยราชย์ และเมื่อเราเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช 2310 คาดว่าสิ่งของเหล่านี้ได้สูญหายไป ฉะนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพฯขึ้นเป็นนครราชธานี พระองค์ได้ทรงสร้างเบญจราชกกุธภัณฑ์สำรับใหม่ขึ้นและได้มีพระราชพิธีบรมราชาพิเษกในปี 2328 ทั้งนี้พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ จะต้องผ่านกระบวนการพิธีที่เรียกว่า บรมราชาภิเษก ก่อน คือการรับสมมติขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินเพื่อเป็นพระเกียรติยศ ในพิธีจะมีการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์เช่นเดียวกับชาวยุโรปที่สวมมงกุฎ แต่ของไทยจะไม่ใช้วิธีการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ เนื่องจากหัวใจสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่ที่การถวายน้ำอภิเษก หลังการถวายน้ำอภิเษกแล้วจึงถวายของซึ่งสิ่งของเหล่านี้นับเป็นของสำคัญสำหรับบ้านเมืองมาโดยตลอด หากพระเจ้าแผ่นดินยังไม่ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก หรือยังไม่ได้รับเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระเกียรติยศจะยังไม่เต็มที่ เป็นต้นว่า ยังไม่ออกพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกเพียงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉัตรก็เพียง 7 ชั้น เพราะฉัตร 9 ชั้นจะถวายนพิธีบรมราชาภิเษก คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินจะเรียกเพียงพระราชโองการ ไม่ใช้พระบรมราชโองการ ด้วยเหตุนี้พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 นั้น เป็นพระราชกระแสรับสั่งหลังจากผ่านพิธีเหล่านี้แล้วจึงเรียกว่า พระปฐมบรมราชโองการ เพราะเป็นพระบรมราชโองการองค์แรก ก่อนหน้านั้นเป็นเพียงแต่เพียงพระราชโองการ องค์ประกอบของเบญจราชกกุธภัณฑ์ ในพระราชวงศ์จักรีมีพิธีบรมราชาภิเษกแล้วทั้งหมด 8 รัชกาล ยกเว้นเพียงรัชกาลที่ 8 ที่ไม่ได้ใช้เนื่องจากเสด็จสวรรคก่อนโดยยังไม่ได้ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และในแต่ละปีจะมีการเชิญเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ออกมาสมโภช ในพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี โดยจะประดิษฐานบนพระแท่นราชบัลลังก์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สำหรับประวัติความเป็นมาของเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ้งประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ วาลวิชนี พระแส้และพระจามรี พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร และฉลองพระบาท มีดังนี้
พระมหาพิชัยมงกุฎ สูง 66 เซนติเมตร หนัก 7,300 กรัม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 สำหรับเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี สองข้างมีจอนหูทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีเช่นกัน แต่ละชั้นประดับด้วยดอกไม้เพชร เดิมยอดพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นยอดแหลมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชสมบัติ ไปหาซื้อเพชรจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ติดไว้ที่ยอดพระมหามงกุฎ โดยพระราชทานนามว่า มหาวิเชียรมณี พระมหาพิชัยมงกุฎนี้ แต่เดิมเวลาทำพิธีบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์ก็ทรงรับจากพราหมณ์แล้วทรงใช้ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงอนุโลมตามแบบประเทศตะวันตกให้ถือว่าขณะที่สวมพระมหามงกุฎเป็นตอนสำคัญที่สุดของพิธี พราหมณ์เป่าสังข์ ไกวบัณเฑาะว์มีการประโคม ยิงสลุต และพระสงฆ์สวดชัยมงคลทั่วราชอาณาจักร
ภาพ มหาวิเชียรมณี
จากคุณ |
:
หนุ่มรัตนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ธ.ค. 52 15:45:16
|
|
|
|
|