 |
ความคิดเห็นที่ 6 |
^ ^ จากตัุวอย่างข้างบนนี้ นักแปลที่ยังไม่ชำนาญ ถ้าเปรียบเทียบ source text กับ target text ตามที่เราแปลไปให้ดู จะงงมากๆ ว่า
มันเป็นมาได้อย่างไรกัน
ก่อนที่จะเป็นมาได้เช่นนั้น มันเป็นมาอย่างนี้ นั่นก็คือ ใช้ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ในการ restate the source text differently
นั่นก็คือ
จาก Source text แบบนี้นะ On April 12, 2000, before me, Adele Yoshioka, Notary Public, personally appeared Martha Mikita personally known to me or proved to me on the basis of satisfactory evidence to be the person whose name is subscribed to the within instrument and acknowledged to me that she executed the same in her authorized capacity, and that by her signature on the instrument the person, or the entity upon behalf of which the person acted, executed the instrument.
เราแปลอังกฤษเป็นอังกฤษก่อน เพื่อให้ได้ใจความที่แปลเป็นไทยได้ง่าย และจะได้อะไรแบบข้างล่างนี้
*****A restatement of the source text:
On April 12, 2000, Martha Mikita personally appeared before me, Adele Yoshioka, Notary Public.
I personally know her or have satisfactory evidence to prove that she is the person who subscribed her name to the enclosed instrument.
By her signature on the instrument, I also acknowledge that the person or the entity, on behalf of which she acted, executed the instrument.*****
ให้สังเกตดูดีๆว่า source text มีแค่ประโยคเดียว แต่ a restatement of the source text มีตั้ง 3 ประโยค แน่ะ แต่ลำดับคำ มันแปลเป็นไทยได้ง่ายกว่า
ทีนี้ พอดูแล้วคงหายงง แล้วนะว่าทำไมคำแปลมันถึงออกมาได้อย่างนี้
Target text: *****เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 มาธา มิกิตะ มาปรากฏตัวต่อหน้าข้าพเจ้า แอดเดอเล โยชิโอกะ ซึ่งเป็นนิติกร ข้าพเจ้ารู้จักบุคคลผู้นี้โดยเป็นการส่วนตัว หรือมีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่า บุคคลผู้นี้ เป็นบุคคลที่ลงนามในเอกสารซึ่งแนบมานี้ จากลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว ข้าพเจ้ายังรับรองอีกด้วยว่า บุคคลผู้นี้ ได้จัดทำ (ลงนามใน) เอกสารฉบับดังกล่าว หรือองค์กร ซึ่งบุคคลผู้นี้กระทำการแทน ได้จัดทำ (ลงนามใน) เอกสารดังกล่าว***** ......................................................................
และนี่คือข้อพิสูจน์เรื่องที่ผู้สนใจเรียนการแปลเข้าใจผิดหลงคิดว่า
"แปลอังกฤษเป็นไทย เขียนภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่งก็แปลได้"
จริงๆแล้วถ้าแปลภาษาอังกฤษที่ sentence structure ไม่ค่อยซับซ้อน เช่นแปลนิยายเด็กวัยรุ่น นักแปลอ่านภาษาอังกฤษเข้าใจ แต่เขียนภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลย ก็ยังพอแปลออกมาเป็นภาษาไทยได้ดี แต่ถ้าไปเจอภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากฎหมายซึ่งมี sentence structure ที่ซับซ้อน การเขียนภาษาอังกฤษได้ดี จะช่วยในการตีความ source text และในการจัดลำดับคำศัพท์ target text ได้
"เนื่องจากว่ารู้วิธี "ชำแหละ(แยกส่วน)" ประโยคนั่นเอง"
แก้ไขเมื่อ 21 ธ.ค. 52 18:44:04
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ธ.ค. 52 18:31:06
|
|
|
|
 |