 |
ความคิดเห็นที่ 6 |
หลักนิยมทั่วไป สามต่อหนึ่ง ครับ น้อยกว่านี้มีโอกาสกร่อย ทั้งนี้ไม่ได้คำนึงถึงว่าฝ่ายตั้งรับไม่พร้อมหรือเน่าใน ถ้าอย่างนั้นก็อาจใช้คนน้อยกว่านี้
ภูมิประเทศแถวเชียงตุงน่ะ อุปสรรคสำคัญนอกจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงแล้ว ก็คือมาเลเรียครับ
อย่าดูถูกเรื่องโรคภัยไข้เจ็บว่าไม่สำคัญนะครับ เรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจชี้ผลแพ้ชนะการรบได้เลย ผมถามสหรัฐฯเขาว่าทำไมเขาสนใจทำวิจัยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บนักหนา เขาบอกว่า ไม่สนใจได้ไง จากการรวบรวมตัวเลขความสูญเสียของทหารเขาตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองมายันสงครามอ่าว เขาฟันธงเลยว่า สูญเสียจากยุทธการ(การรบ)ร้อยละ 15 และสูญเสียทางธุรการ(โรคภัย, อุบัติเหตุ)ร้อยละ 85
ด้วยเหตุนี้ การวิจัยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการของทหารจึงเป็นหนึ่งในความเร่งด่วนอันดับต้นๆในหัวข้อการวิจัยของเขา และเรื่องหนึ่งที่ฮิตเสมอไม่เคยจางก็คือ มาเลเรีย แม้ในปัจจุบัน
รู้ไหมว่ามาเลเรียดุที่สุดในโลกอยู่ที่ไหน? อยู่ขนาบข้างประเทศไทยครับ ทางชายแดนด้านตะวันออกติดกัมพูชา และชายแดนด้านตะวันตกติดพม่า
อย่าว่าแต่สมัย ร.4 เลย สมัยต่อมาคือ ร.5 เมื่อปราบฮ่อ กองทัพปราบฮ่อที่ส่งไปก็เกือบแย่เพราะทหารป่วยเป็นมาเลเรียหมดทั้งกอง นอนครางฮือๆ ถูกข้าศึกเข้าตีค่ายก็หาทหารเข้าประจำป้อมปราการได้ไม่ครบ แม่ทัพต้องสั่งทหารเอาลูกระเบิดผูกติดกำแพง กะว่าถ้าข้าศึกเข้าประชิดได้และท่าทางจะสู้ไม่ได้ก็กระตุกเชือกให้มันระเบิดตายไปพร้อมกัน ขนาดนั้นเลย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพพายัพก็สูญเสียเพราะมาเลเรียเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจหรอกครับที่ทหารไทยสมัย ร.4 ตีเชียงตุงไม่ได้ ผมว่าแค่ปัจจัยมาเลเรียเรื่องเดียวก็แย่แล้ว สมัยโน้นความรู้และเวชภัณฑ์ป้องกันแย่กว่าสมัยนี้มาก ความสูญเสียจากการป่วยเจ็บจากมาเลเรียคงมหาศาล
จากคุณ |
:
แอ๊ด ปากเกร็ด
|
เขียนเมื่อ |
:
วันสิ้นปี 52 08:45:26
|
|
|
|
 |