 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
หากอธิบายว่าร้านนี้ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1853 (พ.ศ. 2396) ได้ตราประจำพระองค์ของพระราชินีอลิซาเบธ ซึ่งแสดงว่าร้านนี้ส่งหนังสือให้สำนักพระราชวัง บรรยากาศจึงขลังมาก ขายหนังสือเชคสเปียร์เล่มละ 5 ล้านปอนด์ เป็นต้น "เดินเข้าไปในร้าน ไม่รู้หรอกว่าเขาขายหนังสือเล่มละเป็นแสนเป็นล้านปอนด์ เรียกว่าเดินหลงเข้าไป แต่งตัวก็เละๆ แต่เขาคงชื่นชมในความกล้า แล้วเห็นว่าเราสนใจเรื่องนี้จริงๆ ช่างซักถามโน่นถามนี่ บางทีคนขายหนังสือร้านไฮโซในลอนดอนก็เหงาเหมือนกันนะ" ธวัชชัย บอกพร้อมเสียงหัวเราะ
นอกจาก ส.ค.ส.ฉบับแรกของสยาม ค.ศ. 1866 เอกสารเก่าที่ซื้อมาครั้งนี้ยังมี ส.ค.ส.ฉบับพิมพ์แผ่นแรกของสยาม ค.ศ. 1867 ทั้งสองฉบับอยู่ในสภาพดีอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีอายุร้อยกว่าปี ไม่ขาดชำรุด เปื่อยยุ่ย หรือปรุพรุน เช่นเอกสารโบราณส่วนใหญ่ คงเป็นเพราะที่อังกฤษนั้น สภาพภูมิอากาศและการดูแลรักษา เอื้ออำนวยให้เอกสารสำคัญนี้ยังคงสภาพสมบูรณ์ คุณค่าของ ส.ค.ส.สองฉบับนี้ ธวัชชัยมองคุณค่าในบริบทประวัติศาสตร์ และทำให้เขาหาคำตอบต่อไปว่า ส.ค.ส.ฉบับแรกของโลกนั้นเป็นความคิดของ เฮนรี โคล และออกแบบโดยจอห์น คาลคอตต์ ฮอร์สลี ชาวอังกฤษ พิมพ์ 1,000 ใบ จำหน่ายที่กรุงลอนดอนเมื่อ ค.ศ. 1843 (พ.ศ. 2386) ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
"การส่งบัตรอวยพรจึงเป็นธรรมเนียมตะวันตก เพราะฉะนั้นการส่ง ส.ค.ส.ของรัชกาลที่ 4 จึงมีนัยสื่อให้ตะวันตกเห็นว่า เมืองสยามไม่ได้ป่าเถื่อน ที่ฝรั่งจะใช้เป็นข้ออ้างมาครอบครองเราได้ เรารู้ธรรมเนียมอารยะที่ต้องส่งการ์ดกันทุกวันปีใหม่ แล้วถ้ามองทะลุผ่านลายพระหัตถ์ภาษาอังกฤษ 30-40 บรรทัดนี้ เราจะเห็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของพระองค์ท่าน นักประวัติศาสตร์หลายคนอาจมองในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ว่าเราเป็น รัฐกันชน ระหว่างอินโดจีนกับพม่า แต่คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ที่ทวีปเอเชียมีแค่ไทยกับญี่ปุ่นที่ไม่ตกเป็นอาณานิคม ถ้าเราไม่ได้พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระปรีชาเช่น ร.4-5 ก็ไม่แน่ว่าการเป็นรัฐกันชนจะต้านจักรวรรดินิยมได้เพียงพอหรือเปล่า วันนี้เราอาจไปยืนเคารพธงชาติของคนอื่นก็เป็นได้"
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
จากคุณ |
:
หนุ่มรัตนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
3 ม.ค. 53 10:46:52
|
|
|
|
 |