ความคิดเห็นที่ 2 |
จากที่เคยได้ยินมานะคะ เค้าว่ากันว่าสมัยที่นิยมตะวันตกเข้ามา
ต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยวิกตอเรียของตะวันตกนู่นแหละค่ะ
เค้านิยมสามีเดียวภรรยาเดียวกันค่ะ
ระบบผัวเดียวเมียเดียวมีรากบนสายพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อสังคมเปิดรับแนวคิดตะวันตก ที่ลงความเห็นว่า การมีเมียหลายคน คือ อนารยะ ทำให้ค่านิยมของชนชั้นนำในยุคนั้นค่อย ๆ เปลี่ยนไป
แล้วพอสมัยรัชกาลที่ 7 อารยธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาอีกระลอก ทั้งพวกวัฒนธรรมและพวกทุนนิยม
ก็เริ่มมีการให้ออกกฏหมายในลักษณะ "ผัวเดียวเมียเดียว" ค่ะ
กฏหมายนั้นคือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. ๒๔๗๓
คือสมัยก่อนสังคมไทยโบราณ เป็นแบบ polygamy คือมีคู่สมรสได้พร้อมๆกันหลายคน (นับเฉพาะฝ่ายชาย) เมียหลวงเมียน้อย นับเป็นเมียถูกต้องตามกฎหมาย
กฎหมายตราสามดวงในรัชกาลที่ ๑ อิงหลักการจากสมัยอยุธยารับรองเมียน้อยว่ามีศักดินากึ่งหนึ่งของเมียหลวง แปลว่าถูกต้องตามกฎหมายทุกคน
ธรรมเนียมครอบครัวแบบนี้ฝังรากกันมาหลายร้อยปี จะเปลี่ยนให้เป็นผัวเดียวเมียเดียว ไม่ใช่เรื่องง่าย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจึงทรงริเริ่มแบบละมุนละม่อม ให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่าทะเบียนรับรองบุตร เพื่อปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ แทนธรรมเนียมดั้งเดิม
จนกระทั่งมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัว ยอมรับหลักการเรื่องการมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียว ใช้ถือมาถึงปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระองค์แรก ที่มีพระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว ไม่มีเจ้าจอมพระสนมใดๆทั้งสิ้น
อีกทั้งสมัยนั้นเริ่มมีเรื่องของสิทธิมนุษยชนเข้ามา การเขียน การเรียน การศึกษา เริ่มเป็นสิ่งที่ผู้หญิงได้รับ และเห็นว่าตนเป็นผู้ถูกกระทำ
งานเขียน นิยาย บทความต่างๆ ถูกทยอยออกมาเป็นระลอกๆ ที่ว่าไม่นิยมการมีผัวเดียวหลายเมีย โดยการต่อต้านกระแสนั้นๆจากวรรณกรรมต่างๆ
ก็ประมาณนี้ล่ะค่ะ ^^
** อ้างอิงจากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
เรียบเรียงโดยศาสตราจารย์พิเศษ ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
จากคุณ |
:
สะใภ้จ้าว
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ม.ค. 53 03:53:07
|
|
|
|