 |
ความคิดเห็นที่ 34 |
ในความเห็นที่ 21 จริงๆ แล้วในวงวิชาการเรียกตัวอักษรแบบนี้ว่า อักษรกวิ เป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะของอินเดียใต้เช่นเดียวกับอักษรเขมรโบราณและมอญโบราณ เพียงแต่อักษรลักษณะนี้กระจายอยู่ในบริเวณที่เป็นอาณาจักรศรีวิชัย คือบริเวณที่เป็นภาคใต้ของไทย คาบสมุทรมาเลย์ ชวา อาจจะเลยไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ด้วย
หลักจารึกในเมืองไทยที่ใช้อักษรชุดนี้ได้แก่ จารึกที่ฐานพระพุทธรูปวัดหัวเวียง ไชยา รวมทั้งจารึกวัดหัวเวียง ที่พูดถึงกษัตริย์จันทรภาณุ ซึ่งมาตีความกันเป็นจตุคามรามเทพนะแหละ ก็ใช้อักษรแบบนี้เหมือนกัน ดูเปรียบเทียบได้ที่
http://www2.sac.or.th/databases/jaruk/th/img_large.php?f=/261_1.jpg
ส่วนจารึกบนแผ่นทองแดงนี้ เขาให้ข้อมูลย่อๆ ว่าอย่างนี้ครับ The oldest of these paleographs, inscribed in copper plate and bearing a Saka date of 850, was discovered in southern Luzon. The script relates to an ancient Malay language although it is similar to other Indonesian paleographs. A second one, dating from the 14-15th century, inscribed in a piece of silver associated with Ming dynasty burials, was found in the island of Mindanao and a third from the same period was inscribed on the shoulder of an earthenware pot excavated in the Batangas province on the island of Luzon.
เขาอ่านได้ศักราช 850 (พ.ศ.1471) แต่ผมอ่านได้เป็น 833 (พ.ศ.1454) ผิดกันหลายปีทีเดียว
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ ได้ความรู้มากทีเดียวครับ
จากคุณ |
:
คนอ่านจารึก (กานต์กะอันดา)
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ม.ค. 53 15:22:41
|
|
|
|
 |