 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
จากคำถามว่า ไต้หวันตอนที่แยกมาตั้งรัฐใหม่ๆเคยเรียกร้องสิทธิเหนือมองโกเลียในการเข้ามารวมประเทศกับไต้หวันแต่ถูกจีนขัดขวาง
คือเรื่องมีอยู่ว่า ในปี 1949 เมื่อเจียงไคเช็คและพลพรรคก๊กมินตั๋งล่าถอยไปยังเกาะไต้หวันนั้น ก็ได้ตั้งรัฐบาลใหม่ปักหลักขึ้นที่ไทเปครับ โดยรัฐบาลนี้ก็คือรัฐบาลของสาธารณรัฐจีนและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในโลกทุนนิยมครับ อีกทั้งยังมีตำแหน่งี้ในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอยู่ ส่วนสถานภาพของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปักกิ่งก็คือ รัฐบาลเถื่อนของพวกกบฏที่ยึดอำนาจบนแผ่นดินใหญ่เอาไว้ แต่ไม่มีผู้ให้การรับรองในสหประชาชาติ (ยกเว้นบางประเทศในค่ายสังคมนิยมด้่วยกัน)
เพื่อต้องการให้มีผู้รับรองสถานภาพของรัฐบาลที่ถูกต้องของประเทศจีน ทางพรรคคอมมิวนิสต์จีนเลยตัดสินใจที่จะเจรจาเรื่องปัญหากับรัฐบาลสังคมนิยมมองโกลเลียครับ หากเท้าความไปนั้น ก่อนการล่มสลายของราชวงศ์ชิงมองโกลเลียได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. มองโกลเลียใน ยังเป็นเขตอิทธิพลของราชสำนักชิงในทางนิตินัยอยู่ และเป็นดินแดนภายใต้อธิปไตยของจักรวรรดิชิงอย่างถูกต้อง (แม้ในทางพฤตินัยจะไม่ใช่ก็ตาม) 2. มองโกลเีลียนอก ตามสนธิสัญญาที่ราชสำนักกระทำกับจักรวรรดิรัสเซียนั้น มองโกลเลียนอกเป็นเขตอิทธิพลของรัสเซียครับ แต่รัสเซียจะเคารพสิทธิในความเป็นเจ้าผู้ครองดินแดนของราชสำนักชิงต่อมองโกลเลียนอกทั้งหมด (คงจะคล้่ายๆกับสนธิสัญญาลับระหว่างสยามและอังกฤษ ว่าด้วยดินแดนตั้งแต่ตำบลบางสะพานลงไปกระมัง)
ทีนี้เมื่อเกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ปี 1911 และตามด้วยการยอมสละราชสมบัติคืนอำนาจปกครองของราชสำนักในปี 1912 ทางมองโำกลเลียเองก็เริ่มจะแตกเป็นหลายๆเสียง กลุ่มหนึ่งที่ยังนิยมราชสำนักชิงก็พยายามจะเชิญจักรพรรดิซวนทงมาเป็นจักรพรรดิของมองโกลครับ, อีกกลุ่มที่นิยมรัสเซียก็พยายามจะเคลื่อนไหวเพื่อจัดตั้งรัฐอิสระของตนเองขึ้น เพราะพวกเขาเห็นว่าพันธะที่ต้องจงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิงนั้นได้หมดลงพร้อมๆกับการล่มสลายของจักรวรรดิแล้ว ซึ่งจากการต่อสู้กันฝ่ายต้องการแยกตัวเป็นเอกราชเอาชนะได้ ในปี 1913 ข่านแห่งมองโกลก็ประกาศจัดตั้งประเทศขึ้นมาครับ และยังไปทำสนธิสัญญากับดาไลลามะที่ 13 แห่งทิเบต โดยทิเบตและมองโกลเลียได้ร่วมกันประกาศเอกราชจากรัฐบาลสาธารณรัฐจีน (รัฐบาลเป่ยหยาง) และทั้งสองแคว้นก็ร่วมกันค้ำประกันความเป็นเอกราชของกันและกันอีกด้วย ซึ่งพอทางสาธารณรัฐได้ทราบถึงการประกาศเอกราชของทิเบตและมองโกลเลียก็ไม่ยอมรับและทำการต่อต้านครับ ภายหลังกองทัพเป่ยหยางได้บุกเข้าไปล้มล้างรัฐบาลของข่านแห่งมองโกล และครอบครองมองโกลเลียอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนจะถูกบีบให้ล่าถอยออกไป
ในยุคปี 1920-1940 พรรคคอมมิวนิสต์มองโกลเลีย (ที่น่าจะเป็นชาติสังคมนิยมชาติแรกในเอเซีย) ก็เริ่มประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจปกครองดินแดนมาครับ และสามารถก่อตั้งรัฐบาลขึ้นมาได้ แต่ยังมีปัญหาคือ แม้จะมีโซเวียตพี่ใหญ่ให้การรับรอง แต่กลับไม่ได้รับการรับรองจากจีน ซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิครอบครองความเป็นเจ้าเหนือดินแดนมองโกลเลีย ทำให้สถานภาพของมองโกลเลียนั้นก็ออกจะไม่แน่นอนอยู่บ้าง จวบจนมาถึงปี 1950 เมื่อรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปักกิ่งตัดสินใจเจรจากับทางมองโกลเลียครับ โดยรัฐบาลปักกิ่งได้ยอมรับการเป็นเอกราชของมองโกลเลียนอก และมองโกลเลียก็รับรองสถานะความเป็นรัฐบาลของจีนของรัฐบาลปักกิ่งเช่นกัน
ทว่า รัฐบาลก๊กมินตั๋งที่ไต้หวันนั้น ปฏิเสธสนธิสัญญาอันนี้่ครับ เพราะรัฐบาลก๊กมินตั๋งยังถือว่ามองโกลเลียนอกเป็นดินแดนของจีน และรัฐบาลกบฏที่ปักกิ่งไม่มีสิทธิใดๆในการทำสนธิสัญญากับต่างชาติ เพราะไม่ใช่รัฐบาลที่ถูกต้องของจีน
ปี 1955 มองโกลเลียได้ยื่นเรื่องขอเข้่าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ แต่โดนตัวแทนจากรัฐบาลที่ไต้หวัน ใช้่สิทธิวีโต้ขับไล่ออกไปครับ (จริงๆมองโกลเลียได้ยื่นเรื่องของเป็นสมาชิกมาแต่ปี 1946 แล้ว แต่โดนอิทธิพลของรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานกิงบีบให้เรื่องตกไปทุกครา และช่วงนั้นโซเวียตก็ไม่ค่อยจะอยากมีเรื่องกับรัฐบาลนานกิง เลยไม่ได้สนับสนุนมองโกลเลียเท่าที่ควร) มองโกลเลียประสบความสำเร็จในการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาติในปี 1961 นั้นเอง
แก้ไขเมื่อ 09 ก.พ. 53 12:27:44
จากคุณ |
:
อุ้ย (digimontamer)
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ก.พ. 53 12:27:18
|
|
|
|
 |