 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
อธิบายความหมายของคำ
1. เนื้อ, น้ำ คือสารที่เป็นทองคำนั่นเอง จะบริสุทธิ์มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เจือปน เช่น ทองเนื้อแปดย่อมบริสุทธิ์กว่าทองเนื้อเจ็ด หรือทองเนื้อหก
2. ขา หมายถึง หมายถึงเศษ 1 ส่วน 4 ของหนึ่งบาท (คือ 1 สลึง หรือ 25 สตางค์ เช่น ทองเนื้อเจ็ดสองชาที่ใช้ในการสร้างองค์พระรูปทองวัดไตรมิตร ก็หมายความว่า ทองชนิดนั้นเป็นทองขนาดความบริสุทธิ์ปานกลาง คือ ทองหนัก 1 หนัก คิดเป็นราคาเงิน 7 บาท 2 สลึง
3. เนื้อกษัตริย์ เป็นคำที่ใช้เฉพาะทองเนื้อแปดเท่านั้น และถือกันว่าเป็น 100 % แต่สีไม่สวยงามเท่ากับทองเนื้อเก้าซึ่งเป็นทอง 100 % เหมือนกัน แต่สีออกเป็นสีแสดดูงดงามกว่า
4. หนัก หมายถึงราคาทองคิดเป็นเงิน เช่น ทองหนัก 1 บาท ราคา 7 บาท 7 หนัก เป็นต้น ถ้าทองหนัก 1 บาท (ทองชั้นเลวที่สุด) คิดป็นเงิน 1 บาท อย่างนี้เรียกว่า หนักต่อหนัก
ในเรื่องสังข์ทองใช้คำว่า สิบสองหนัก หมายความว่า ทองหนัก 1 บาท คิดเป็นเงิน 12 บาท ซึ่งเป็นสำนวนเยาะเย้ยเพราะมากเกินไป ขนาดทองเนื้อดีวิเศษณ์สุดคือทองเนื้อเก้าหรือทองนพคุณ ยังมีราคาเพียง หนัก 1 บาท คิดเป็นราคาเงิน 9 บาทเท่านั้น ทองคำที่คิดเป็นเงิน 8 บาท 9 บาทเหล่านี้ คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเมืองเชียงแสนโบราณเท่านั้นเอง หาได้หมายถึงตลาดอื่นเมืองอื่นไม่ เพราะตลาดอื่นเมืองอื่นย่อมมีราคาแพงกว่านั้น แต่จะแพงแค่ไหนตามธรรมเนียมโบราณก็ไม่มีวันจะเรียก ทองเนื้อสิบหรือมากกว่านี้เลย คงยืนตามราคาตลาดเชียงแสนโบราณ เนื้อเก้า เป็นราคาสูงสุด
เรื่องการเรียกทองตามแบบของเมืองเชียงแสนโบราณนั้น รัชกาลที่ 4 ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายว่า
เมืองเชียงแสนแต่ก่อนมีเงินใช้น้อย มีทองคำใช้มาก ทองคำจึงราคาถูก เนื้อต่ำที่ซื้อขายกันหนักบาทหนึ่ง เป็นเงิน 4 บาท จึงเรียกว่า เนื้อสี่ ที่เนื้อสูงขึ้นไปกว่านั้น ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน 6 บาท เรียกว่า เนื้อหก ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน 7 บาท เรียกว่า เนื้อเจ็ด ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน 8 บาท เรียกว่า เนื้อแปด ทองคำหนักบาทหนึ่ง เป็นราคาเงิน 8 บาท 2 สลึง เรียกว่า เนื้อแปดเศษสอง ตามรายการที่ราษฎรซื้อขายในเวลานั้น ทองคำเนื้อสุกสูงอย่างเอก เช่น ทองบางตะพานขายกันหนักบาทหนึ่งเป็นราคาเงิน 9 บาท เรียกว่า นพคุณเก้นน้ำ ก็ที่ว่า สองสามขา ก็ดี หรือที่ว่า เศษสองสาม โดยละเอียดนั้นขึ้นไป
ทองผสมสีเหลือง ๆ ให้ดินไม่ขึ้นทุกวันนี้เรียกกันว่า ทองเนื้อริน แต่ก่อนลาวเรียก ทองเนื้อสอง เพราะขายกัน 2 หนัก ทองเนื้อรินอย่างเลว หรือ ทองสีดอกบวบ ซึง่ในเวลานั้นขายกันในราคาหนักต่อหนัก ลาวเรียก ทองเนื้อหนึ่ง แต่โบราณได้ยินว่าบ้างก็อยู่ประมาณชื่อเนื้อทองเหล่านี้ทั้งปวง เดิมเป็นธรรมเนียมของลาวเชียงแสนแลเป็นโวหาร
ในการเทียบน้ำทอง ครั้นสืบมาถึงบ้านเมืองใกล้ทะเล เงินมีเข้ามามาก ราคาทองก็แพงขึ้นเป็น 2 เท่าพิกัดขึ้น คือบางทีทองคำเนื้อนพคุณบางตะพานราคาถึง 20 หนักถึง 19 หนัก ทองคำเนื้อแปด สามัญเรียก เนื้อแปดตลาด ราคาถึง 18 หนัก 17 หนักกึ่ง
เมื่อพิจารณาตามพระบรมราชาธิบายนี้ทำให้ได้ความเข้าใจที่แน่นอนอย่างหนึ่งคือที่เรียกกันว่า ทองสีดอกบวบ นั้นก็คือทองชั้นต่ำที่มีสีเหลืองอ่อน ๆ ปนสีเขียวอ่อนเป็นทองที่ต่ำที่สุด ขนาดเกือบที่จะหมดสภาพความเป็นทองแล้ว และมีแร่ธาตุอื่น ๆ เจือปนอยู่มาก จะใช้ทำเครื่องประดับอะไรก็ไม่ได้ราคาเท่ากับเงินธรรมดา
จากคุณ |
:
หนุ่มรัตนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ก.พ. 53 14:44:22
|
|
|
|
 |