 |
ความคิดเห็นที่ 19 |
ผมไม่มีความรู้มากพอที่จะแนะนำว่าคุณ panote ควรอ่านอะไรก่อน แต่อยากฝากไว้ว่าที่มาร์กซ์ว่านายทุนขูดรีดแรงงานนั้น ความจริงผู้ขูดรีดลำดับแรกคือเจ้าของที่ดิน เพราะนายทุนเองก็ถูกขูดรีดโดยเจ้าของที่ดินเหมือนกัน แต่แรงงานอ่อนแอกว่า จึงถูกนายทุนขูดรีดเป็นลำดับรอง (แม้เจ้าของที่ดินกับนายทุนอาจเป็นคนเดียวกัน แต่ในการวิเคราะห์เราก็ต้องแยกเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างประเภทกันออกจากกัน)
จากเอกสารเรื่อง Henry George and Karl Marx ที่ Frank McEachran เสนอในการประชุมระหว่างประเทศของกลุ่มผู้นิยมจอร์จที่ลอนดอนในเดือนกันยายน ค.ศ.1936 http://www.cooperativeindividualism.org/mceachran_hgeorge_and_kmarx มีข้อความตอนหนึ่งว่า พวกเสรีนิยมอ้าง และแม้แต่มาร์กซ์เองก็เห็นด้วย ว่ามูลฐานหลักของการขูดรีดโดยทางประวัติศาสตร์คือ การกั้นรั้วล้อมที่ดิน และถ้าที่ดินเป็นเสรีอย่างแท้จริง [น่าจะหมายถึงไม่ถูกเก็งกำไรเก็บกักไว้] การผูกขาด มูลค่าส่วนเกิน ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ (The Liberals claim and even Marx himself agreed, that the fundamental basis of exploitation was "historically land enclosure and that if the land had been really free no monopoly of "surplus value" could have grown up.)
มาร์กซ์เองกล่าวไว้ว่า ในสังคมปัจจุบันเครื่องมือของแรงงานถูกผูกขาดโดยเจ้าของที่ดิน (การผูกขาดกรรมสิทธิ์ที่ดินถึงกับเป็นมูลฐานของการผูกขาดทุน) และนายทุน . . . นายทุนปกติมิใช่เจ้าของที่ดิน แม้แต่ที่ดินอันเป็นที่ตั้งแห่งโรงงานของเขาเอง (จาก Marginal Notes to the Programme of the German Workers Party Written by Karl Marx, เม.ย./พ.ค. 1875 ตีพิมพ์ใน Die Neue Zeit, No. 18, Vol. I, 1891, พร้อมด้วยฉบับตัดย่อ ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน http://www.oppressedpeople.org/library/cgp75.html )
และใน Das Kapital, vol. III, p. 901-2 คาร์ล มาร์กซ์ได้กล่าวว่า - "จากมุมมองของรูปแบบทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นของสังคม การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง แม้แต่สังคมหนึ่ง หรือแม้แต่ทุกสังคมรวมกัน ก็ไม่ใช่เจ้าของแผ่นดินโลก พวกเขาเป็นเพียงผู้ครอบครอง ผู้ใช้แผ่นดินโลก และจะต้องส่งต่อไปยังชนรุ่นหลังๆ ในภาวะที่ดีขึ้น เสมือนบิดาที่ดีของครอบครัว" (จาก http://www.progress.org/geonomy/thinkers.html )
ดังนั้น ที่ว่าโลกเราพ้นจากระบบเจ้าที่ดินแล้วมาเป็นทุนนิยม ก็ไม่จริง แต่เป็นระบบผสมที่ดินนิยมกับทุนนิยม โดยที่ดินนิยมมีอิทธิพลสูงกว่า โดยเฉพาะคือทำให้เกิดวิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ค.ศ.2008-09 ที่ลามไปค่อนโลกก่อความเสียหายมากมายทั้งแก่คนรวยคนจน วัฏจักรเช่นนี้ได้เกิดมาแล้วเป็นระยะ ๆ และจะเกิดขึ้นอีกเรื่อย ๆ โดยมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ๆ เพราะนวัตกรรมทางการเงิน ถ้าโลกเรายังไม่แก้ปัญหาที่ดินตามแบบที่เฮนรี จอร์จเสนอ ซึ่งตรงกับครึ่งเดียวของแผนข้อ 1 ใน 10 ข้อของ The Communist Manifesto ของมาร์กซ์
แก้ไขเมื่อ 21 มี.ค. 53 17:40:40
จากคุณ |
:
สุธน หิญ
|
เขียนเมื่อ |
:
21 มี.ค. 53 10:55:38
|
|
|
|
 |