 |
ความคิดเห็นที่ 65 |
ปรากฏการณ์ทางสังคมใช่วงหลายปีที่ผ่านมา แน่ชัดว่า เป็นการแบ่งข้างทางสังคม(ไม่ใช่การเมืองนะครับ) เป็นกลุ่มใหญ่ สองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มทุนนิยมเก่า และกลุ่มทุนนิยมใหม่
ทั้งสองกลุ่ม ต่างพยายามหาที่อิง พิง พาด เกี่ยว เกาะ จับ ยึด เอาสถาบันใกล้ตัวเอง ให้มากที่สุด ทั้งแง่บวกและแง่ลบ ด้วยโดยใช้เครื่องมือ คือ การสื่อสาร
ย้อนกลับไปสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จากหลักฐานเท่าที่ปรากฏ นั้น ระบบทุนนั้นอยู่ภายใต้การครอบครอง ของสถาบันสูงสุด ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งที่เข้มแข็ง ผู้นำสถาบันสูงสุดนั้นผมไม่คิดว่าเป็นสายนักรบ หากแต่เป็นสายบริหาร จัดการเงินทุนมากกว่า การรบในสมัยก่อนเป็นเพียงเครื่องมือในการ แสวงหาแหล่งทุน ทรัพยากร และผู้สนับสนุน
การจัดการเรื่องทุนของสถาบันสูงสุดประสบปัญหามาโดยตลอดนับตั้งแต่ สิ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลก ประเทศไทยก็ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
การล้มเจ้าในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็อยู่บนพื้นฐานของการรักษา อำนาจการจัดการเรื่องทุนและทรัพยากร (ผลผลิตและแรงงาน) ด้วยการคานอำนาจของกลุ่มทางการเมือง เช่น ตำแหน่งวังหน้า,วังหลัง สมุหนายก,สมุหกลาโหม ฯลฯ สถาบันสูงสุด ก็ไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ในการควบคุมระบบทุนทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีความขัดแย้งกันมาโดยตลอด ที่เห็นชัด ก็คือ สมัยรัชกาลที่ ๔ จนเหมือนกับว่ามีพระเจ้าแผ่นดิน สองพระองค์ในรัชกาลเดียว, ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มีการคานอำนาจกัน ระหว่างสถาบันกับผู้สำเร็จราขการ จนเมื่อมีการเลิกทาส, การปฏิรูปการบริหารราขการแผ่นดิน และการตั้งสภาที่ปรึกษา
การล้มเจ้าก็ยังมีต่อมาเรื่อยจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ กลุ่มข้าราชการรุ่นใหม่ ที่เป็นผลมาจากการปฏิรูปการการศึกษา ทำให้เกิดชนชั้นทางสังคม ขึ้นมาเพื่อต่อรองอำนาจการจัดการแหล่งทุนโดยอาศัยบทบาททางการเมือง สถาบันสูงสุดก็มีสถานะเป็นปัจเจกบุคคล มีการลงทุน, กำไร,ขาดทุน การถูกหนีหนี้หรือการเบี้ยวหนี้ โดยนักลงทุนก็มี
ความล้มเหลวในการจัดการระบบทุน ของสถาบันมาสิ้นสุดในสมัยรัชการที่ ๗ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่เราเชื่อกันว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่ประชาธิปไตยนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่การ ย้ายขั้วอำนาจในการบริหารจัดการแหล่งทุนและทรัพยากรเท่านั้น โดยอาศัย เครื่องมือสำคัญหรือ ทหารและรัฐสภา
เมื้อรัชกาลปัจจุบัน สถาบันสูงสุดต้องปรับบทบาทในการรักษาอำนาจการ บริหารจัดการแหล่งทุนอย่างชัดเจน และประสบความสำเร็จจากพระราชกรณียกิจต่างๆที่ส่งผลในทางบวก ต่อสัญลักษณ์ ของการเป็นสถาบันสูงสุด
แต่ดังที่กล่าวไว้ในความเห็นบนๆ ว่า สถาบันและหนวยทางสังคมอื่นๆ เหมือนยืนอยู่บนไม้กระดานที่มีลูกเหล็กทรงกลมอยู่ด้านล่าง การรักษาสมดุลย์จึงเกิดขึ้นอย่างไม่มีทางเลี่ยง แต่ด้วยความที่สถาบันสูงสุด ได้มีการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาไปจนถึงจุดสูงสุด ในช่วงสงคราม ฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย สถาบันจึงเหมือนแกนกลางของกลุ่มผลประโยชน์ ที่หว่วยทางสังต่างๆพยายามยึด เกาะ กุม เกี่ยว อิง อ้าง เอาไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเองให้มากที่สุด
ทหาร, นักธุรกิจ,นักลงทุน, ข้าราชการ, นักการเมือง ใช้ประโยชน์ จากสถาบันมาโดยตลอด ทั้งในเรื่องความจงรักภักดี, เฉลิมพระเกียรติ, พระปรีชาสามารถ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกาะแกนกลางของสถาบันไว้ได้ การสมประโยชน์, การฉวยประโยชน์และความร่วมมือก็จะตามมาด้วยนั่นเอง
จากคุณ |
:
q_cosmo
|
เขียนเมื่อ |
:
8 เม.ย. 53 09:48:59
|
|
|
|
 |