ส่วนของปรัชญาอี้จิง และหยินหยางนั้น
(อี้จิง และหยินหยางไม่ใช่ของเต๋าขอรับ
เพียงแต่โดนกลืนมาภายหลัง)
ดำ กับ ขาว แยกกันอยู่อย่างชัดเจน
เพียงแต่ว่า ขาว (มี) และ ดำ (ไม่มี) นั้น
จะมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกัน
ใน ขาว (มี) นั้น มีดำ (ไม่มี) เข้มแข็งอยู่กลุ่มหนึ่ง
ใน ดำ (ไม่มี) นั้น มีขาว (มี) เข้มแข็งอยู่กลุ่มหนึ่ง
ที่ต้องมีกึ่งกลางระหว่างกัน เพราะเป็นสมดุลของธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ความสมดุลของ ขาว (มี) กับดำ (ไม่มี) จะคงอยู่ตลอดไป
ขาว (มี) ไม่สามารถ เป็นดำ (ไม่มี) ได้
ดำ (ไม่มี) ก็ไม่สามารถเป็น ขาว (มี) ได้
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงธาตุของตัวเองได้
ลักษณะของ ขาว (มี) และดำ (ไม่มี)
จึงต้องแยกกันออกอย่างชัดเจน
ในขณะที่ฝ่ายพุทธเซ็นนั้น เห็นว่า
ขาว (อัตตา) และดำ (อนัตตา)
เป็นสิ่งเดียวกัน และไม่เป็นสิ่งเดียวกัน (นิพพาน)
มันหมุนเวียนเปลี่ยนไป เหมือนที่คุณ Mpon บอกไว้นั่นล่ะขอรับ
เพียงแต่ว่า ลักษณะของมัน ก็ยังคงแยกกันออกอย่างชัดเจนอยู่นั่งเอง
เรื่องของ อี้จิง และ หยินหยาง ก็เป็นดังนี้ ขอรับ
ปล. ที่สมัยโบราณ ฝ่ายพุทธ กับ ฝ่ายเต๋า เถียงกันหูดับตับไหม้
ก็เพราะเรื่องนี้เองขอรับ ฝ่ายหนึ่งบอกว่า มันแยกจากกัน อีกฝ่ายบอกไม่ได้แยก
ก็เป็นเช่นนี้แล ฯ
แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 21:21:22
แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 21:23:10
แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 21:28:27
แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 21:29:17