 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
การสถาปนา หม่อมเจ้า ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า หรือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์ ที่เรียกว่า "พระองค์เจ้าตั้ง" หรือ "พระองค์เจ้ายก" นั้นในท้ายประกาศพระบรมราชโองการ หากมีพระราชประสงค์ให้ยกบุตรของพระองค์เจ้า พระองค์นั้น ขึ้นเป็นหม่อมเจ้าด้วย มีระบุไว้ อาทิ การสถาปนาพระอิสริยยศพระโอรสธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์, สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เฉพาะที่มีพระมารดาเป็นสะใภ้หลวง หรือ มีพระมารดาเป็นเจ้า ให้มีพระอิสริยยศ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" และมีบุตรเป็น "หม่อมเจ้า" การนี้บรรดาพระโอรสธิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระองค์นั้น ก็จะมีสกุลยศที่ "หม่อมเจ้า" แต่แรกประสูติ อาทิกรณี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิติ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริบัตร แต่แรกประสูติมีสกุลยศแต่เพียงหม่อมเจ้า ต่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้น และให้บุตรเป็นหม่อมเจ้า จึงทำให้ พระธิดา จึงมีสกุลยศเป็นหม่อมเจ้า คือ หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นต้น
ต่างจากการสถาปนาพระอิสริยยศพระโอรสในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์" แต่มิได้ยกบุตรให้เป็นหม่อมเจ้า จึงทำให้ บุตรที่เกิดภายหลังจึงมีสกุลยศแต่เพียง "หม่อมราชวงศ์" ตามสกุลยศเดิมของพระบิดา คือ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์
สำหรับกรณีที่พระบิดาที่มีสกุลยศชั้น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" แต่แรกประสูติ ก็มิได้ทำให้พระโอรสธิดาที่จะเกิดภายหลังเป็นหม่อมเจ้า หากมิได้มีพระบรมราชโองการกำกับไว้ ก็จะมีสกุลยศแต่เพียงหม่อมราชวงศ์เธอ เท่านั้น
จากคุณ |
:
พระนายไวย
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ค. 53 09:32:25
|
|
|
|
 |