ความคิดเห็นที่ 1 |
... การอนุรักษ์โบราณสถานเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและมีกระบวนการของการสำงานสลับซับซ้อนอยู่มาก สิ่งที่สำคัญคือผู้ทำโครงการอนุรักษ์จะต้องศึกษาทำความรู้จักโบราณสถานที่จะทำการอนุรักษ์ในทุกรูปแบบ ทั้งสภาพความเสียหาย สิ่งที่เป็นตัวทำให้เกิดความเสียหาย ประวัติความเป็นมา ลักษณะรูปแบบ การใช้วัสดุ สภาพสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านสถานที่ตั้งและสังคม เมื่อทำความรู้จักต่อโบราณสถานนั้นๆ ดีแล้ว จะสามารถดึงความมีคุณค่าเด่นและคุณค่าที่รองลงมาตามลำดับได้ เมื่อรู้คุณค่าความสำคัญแล้ว จึงจะกำหนดวัตถุประสงค์และแนวทางในการอนุรักษ์ได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุและผลซึ่งรับกันในการจะพยายามคงคุณค่าเด่นแห่งโบราณสถานนั้นๆ ไว้ โดยหาวิธีการที่เหมาะสมและดีที่สุดในการทำงาน ซึ่งตามกระบวนการ จะต้องอาศัยวิชาการและนักวิชาการหลายด้านด้วยกันช่วยกันคิดพิจารณา เช่น สถาปนิก วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ช่างศิลปกรรม นักโบราณคดี ฯลฯ เป็นต้น
สำหรับผู้ที่จะรับผิดชอบทำโครงการอนุรักษ์โบราณสถานใดๆ ก็ตาม จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญสองข้อ คือ
๑. จะต้องเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานในกระบวนการและวิชาการด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน
๒. จะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์บ้างพอสมควรในด้านเทคนิคและวิธีการอนุรักษ์โบราณสถานประเภทต่างๆ
เนื่องจากโบราณสถานเป็นสมบัติส่วนรวมของคนทุกคน งานการอนุรักษ์โบราณสถานจึงเป็นงานที่นำสู่สังคมให้แก่สังคม จะปรากฏให้คนทั่วไปได้สัมผัสและได้ชื่นชม ได้เห็น ได้ศึกษาหาความรู้ และจะคงอยู่เช่นนั้นตลอดไป สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังสำหรับนักอนุรักษ์เพราะเป็นงานซึ่งท้าทายความสามารถและความคิดให้ปรากฏ ฉะนั้นการปฏิบัติงานทางด้านการอนุรักษ์จึงจำเป็นจะต้องทบทวนหาสาเหตุและผลที่รับกันตลอดเวลา การกำหนดวิธีการอนุรักษ์จะต้องกำหนดด้วยความมั่นใจ แน่ใจ และเหมาะสม พร้อมทั้งจะต้องมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิดของผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดี. อุไรวรรณ ตันติวงษ์ ๒๕๓๘ กรมศิลปากร
ดังบทความข้างต้น การอนุรักษ์โบราณสถานจึงต้องทำให้ถูกหลักวิชาการ การฉาบปูนใหม่ ในที่นี้หมายถึง การใช้ปูนซิเมนต์มาฉาบใหม่ หรือว่า เป็นปูนตำแบบโบราณมาฉาบใหม่ การนำปูนซิเมนต์มาฉาบในโครงสร้างโบราณสถาน อาจเกิดปัญหาได้หลายอย่าง เช่น 1.การไม่เข้ากันของเก่า และของใหม่ เวลาไปเที่ยวถ่ายรูปมาจะทำให้มองขัดหู ขัดตา
2.ปัญหาเรื่ององค์ประกอบเคมี วัสดุใหม่และเก่า ทำปฏิกิริยากัน ทำให้โบราณสถานเสียหายเพิ่มได้
3.ความชื้น และการระบายความชื้นของอิฐและปูน ไม่เท่ากัน ทำให้อิฐเสื่อมสภาพ เปื่อยเน่าเร็วขึ้น
4. ปูนฉาบใหม่ก็ได้แต่จะต้องใช้เทคนิคแบบโบราณ คือ การตำปูน ตามอย่างของโบราณ
จากคุณ |
:
หนุ่มรัตนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ค. 53 13:29:51
|
|
|
|