 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
มาชวนพี่ไปร่วมถกด้วย พี่ก็ว่าแบบลูกทุ่งของพี่นะน้อง
เมื่อมีการเรียนการสอน สมมุติฐานก็คือ ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน ถ้าสอนความรู้ก็ต้องเปลี่ยนจากไม่รู้มาเป็นรู้ ถ้าสอนความชำนาญก็เปลี่ยนจากทำไม่เป็นมาเป็นเกิดความคล่องแคล่ว ถ้าสอนความคิดก็เปลี่ยนจากที่คิดไม่เป็นมาเป็นคิดเป็น ถ้าหากสอนแล้วคนเรียนไม่เปลี่ยนเลย ถือว่าล้มเหลว เป็นการสูญเปล่าทางการศึกษา ดังนั้นก่อนจะเริ่มการเรียนการสอน คนจะสอนก็ต้องเตรียมตัวอยู่สามอย่าง อย่างแรกคือตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เสียก่อนว่าจะสอนอะไร สอนความรู้อะไร? สอนความชำนาญอะไร? สอนความคิดอะไร? อย่างที่่สองก็คือการกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าจะสอนกันอย่างไร มีเนื้อหาอะไร วิธีการสอน ลูกล่อลูกชน สื่อประกอบการเรียน ฯลฯ และอย่างที่สามก็คือเตรียมวิธีการประเมินผลว่าจะสอบอะไรบ้าง สอบอย่างไร เพื่อให้บอกได้ว่าผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและอย่างไรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
สอนไปแล้วมีการเปลี่่ยนอย่างไรบ้าง นี่แหละ สัมฤทธิ์ผลทางการเรียน
ก่อนผ่านการเรียนการสอนเป็นอย่างไร? หลังผ่านการเรียนการสอนแล้วเป็นอย่างไร? นี่คือตัวชี้วัดของส้มฤทธิ์ผล มันผ่านกระบวนการณ์ประเมินออกมาในรูปของคะแนน ของเกณฑ์ต่างๆว่าทำได้ตามเป้าหรือไม่
ส่วน "ผลของการเรียนรู้" เป็นวลีที่กว้างกว่า ครอบคลุมทั้งมิติของสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนดังกล่าว และผลกระทบที่บังเกิดต่อต้วผู้เรียนและสังคมโดยรอบในมิติอื่นๆทั้งทางสังคมจิตวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง การทหาร ความมั่นคง
เด็กชายแอ๊ดและคณะ เข้าเรียนในโรงเรียนบัณฑิตจิตก้าวไกลช่วยไทยไชโย ปรากฎว่าเด็กทั้งก๊กสามารถสอบผ่านได้ตามเกณฑ์ทุกคน ไม่มีใครตกซ้ำชั้น ผลการสอบรายวิชาก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ความประพฤติดี ไม่มีใครเกะกะเกเร อย่างนี้เรียกว่าเด็กรุ่นนี้มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนที่ดี เมื่อเวลาผ่านไป เราพบว่า เด็กรุ่นนี้ได้เป็นนายกรัฐมนตรีสองคน เป็นประธานศาลฎีกาหนึ่งคน เป็นประธานสภาผู้แทนสองคน เป็นผู้ว่า กทม.สามคน เป็น ผบ.ทบ., ผบ.ทร., ผบ.ทอ. อย่างละสองคน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอีกนับไม่ถ้วน เป็นพ่อค้าเจ้าของธุรกิจมูลค่านับพันๆล้านอีกนับไม่ถ้วนเหมือนกัน นี่คือผลของการเรียนรู
อยากดูวุ้ยว่าอีตอนเลี้ยงรุ่นของศิษย์เก่ารุ่นนี้มันจะมโหฬารประการใด
จากคุณ |
:
แอ๊ด ปากเกร็ด
|
เขียนเมื่อ |
:
20 มิ.ย. 53 12:00:00
|
|
|
|
 |