 |
ความคิดเห็นที่ 11 |
กลับมาเรื่องภาษา
สิ่งที่น่าทึ่งมากที่สุดเกี่ยวกับภาษาไทย นั่นก็คือคนไทยน่าจะเป็นชนชาติที่ใช้ meaning shift มากที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นมา นั่นก็คือ
Many Thais do not say what they mean and do not mean what they say. คนไทยเป็นจำนวนมากไม่พูดในสิ่งที่ตั้งใจจะพูดแล้วก็พูดอะไรไปแล้วก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้มันมีความหมายตามที่พูด
นั่นก็หมายความว่าพวกเราชาวไทยพูดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพูดโกหกโดยไม่รู้ตัวกันเกือบทุกวัน ซึ่งสร้างปัญหาอย่างรุนแรงในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอื่น
ยกตัวอย่างเช่นประโยคนี้ เป็นเอกสารจัดซื้อจัดจ้างเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารออมสินเมื่อเกือบๆ 20 ปีที่แล้ว
printer จะต้องสามารถพิมพ์สมุดคู่ฝาก ใบฝาก และใบถอนได้ ลองแปลตรงตัวคือ The printer must be capable of printing passbooks, payin slips and withdrawal slips.
พอแปลเสร็จเราก็นั่งมองประโยคภาษาอังกฤษ ทำตาปริบๆ เพราะมันฟ้องออกมาเลยว่า
"เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน"
เราเอาประโยคภาษาไทยกับคำแปลภาษาอังกฤษไปให้นักแปลหลายๆคนในบริษัทดู (ตอนนั้นเราทำงานในบริษัทแปลเอกสาร) แล้วถามว่า "พวกคุณคิดว่าคำแปลแบบนี้มันผิดปกติตรงไหน?" ทุกคนบอกว่า "ก็โอเคนี่นา"
พอเราเฉลย ทุกคนหัวเราะกันลั่นห้อง เพราะรู้ตัวว่า "โดนภาษาไทยหลอกเอาเข้าแล้วอย่างจังๆ"
เีราเฉลยว่า
printer จะต้องสามารถพิมพ์สมุดคู่ฝาก ใบฝาก และใบถอนได้ ต้องแปลว่า The printer must be capable of printing all types of transactions onto passbooks, payin slips and withdrawal slips.
ภาษาไทยมันหลอกตรงไหน มันหลอกตรงที่ จริงๆแล้ว printer ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ในธนาคาร มันพิมพ์สมุดคู่ฝาก หรือใบฝากใบถอนไม่ได้หรอก เพราะงานพิมพ์แบบนี้มันต้องไปพิมพ์ที่แท่นพิมพ์ใหญ่ๆ ที่ใช้พิมพ์หนังสือ แต่ printer ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ในธนาคาร มัน
"พิมพ์รายการธุรกรรมลงบนสมุดคู่ฝาก ใบฝาก และใบถอน ต่างหากล่ะ"
การพูดหรือเขียนภาษาไทยโดยใช้ meaning shift สร้างปัญหาให้แก่นักแปลอย่างรุนแรง เพราะบางทีงานโครงการระดับหลายๆล้าน เวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษนักแปลอ่านภาษาไทย แล้วไม่รู้เรื่องว่าผู้เขียน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสารจากหน่วยงานไทย) ต้องการสื่อความหมายว่าอะไร
meaning shift เป็นศัพท์ที่ใช้ในวิชา semantics ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของ linguistics ชนทุกชาติทุกภาษาต่างก็พูดหรือเขียนด้วย meaning shift กันบ้างเป็นครั้งคราวเกือบทั้งนั้น แต่เราสังเกตเห็นว่าคนไทยใช้ meaning shift มากในระดับที่น่ากลัวมากๆจริงๆ จนบางทีประโยคภาษาไทยที่มีแต่ศัพท์ง่ายๆทั้งนั้น แต่ไม่มีใครอ่านรู้เรื่องนอกจากคนเขียนคนเดียว
ถามว่านิสัยคนไทยที่ใช้ meaning shift มากขนาดนี้ เป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะกินอาหารที่มีสารเคมีมากเกินไปหรือเปล่า สมองจึงสับสน? หรือว่าภาษาไทยมันมีลูกเล่นแพรวพราว เพราะมันมีโครงสร้่างแปลกๆ จนศรีธนญชัยเล่นตีความ meaning shift แบบเถรตรงหาประโยชน์เข้าใส่ตัวเอง?
ลองไปอ่านกระทู้ที่เราปั่นไว้เรื่อง meaning shift ได้ตาม links ข้างล่างนี้ แล้วคุณอาจจะต้องระวังมากขึ้นว่า ทุกวันนี้คุณพูดหรือเขียนอะไรโกหกโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า?
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7593415/K7593415.html
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K9373090/K9373090.html
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K9353525/K9353525.html
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
23 มิ.ย. 53 10:28:59
|
|
|
|
 |