ความคิดเห็นที่ 2 |
แล้วแต่วัฒนธรรมของประเทศนั้นครับ ว่าเป็นสังคมที่มีรากฐานแบบ พ่อ (ชาย) เป็นใหญ่ (Paternalism) หรือ แม่ (หญิง) เป็นใหญ่ (Matermalism)
เช่น เยอรมัน เป็นรัฐทหาร เน้นความเข้มแข็ง คือลักษณะแบบพ่อเป็นใหญ่ จึงใช้ Fatherland
ในอุษาคเนย์ของเรา เดิมถือแม่เป็นใหญ่ ก่อนรัฐอารยธรรมอินเดีย แต่ยังปรากฏร่องรอยของแม่เป็นใหญ่อยู่มาก เช่น แต่งงานเข้าบ้านฝ่ายหญิง ทางอีสานเมื่อพ่อแม่ตาย เรือนตกเป็นของลูกสาวคนเล็ก (ที่คอยดูแลพ่อแม่) หรือในบันทึกของตะวันตกสมัยอยุธยา กล่าวว่า ผู้หญิงเป็นใหญ่ในเรือน ควบคุมดูแลกิจการในบ้านทุกอย่าง ไทยเราจึงใช้ เมืองแม่ แผ่นดินแม่ (Motherland) นอกจ่ากนั้นยังมี แม่น้ำ แม่ทัพ ฯลฯ อินเดียก็มีคำ มาตุภูมิ (Motherland)
อาจเป็นได้ว่า ลูกย่อมผูกพันกับแม่มากกว่าพ่อ คำว่าแผ่นดินแม่จึงแพร่หลาย
ยังมีคำกลาง ๆ เช่น แผ่นดินบ้านเกิด (Homeland) ที่อเมริกาใช้ Homeland Security
God King and Country (หรือ God Queen and Country) เป็น motto ของอังกฤษ ซึ่ง ร. ๖ ทรงนำมาประยุกต์เป็น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (สมัยคณะราษฎรเป็น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันเป็น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน)
คำกล่าว For King and Country หรือ For Queen and Country ก็ขึ้นอยู่กับว่าองค์ใดอยู่ในฐานะประมุขของรัฐ เช่น อังกฤษ เป็น Queen Regnant จึงทรงเป็นประมุขของรัฐ ส่วน ไทย King ทรงเป็นประมุขของรัฐ ส่วนพระราชินีเป็นเพียง Queen Consort (พระราชินีที่เป็นคู่สมรส)
แต่บางกรณี ก็มีการเรียกยกย่อง Consort เพื่อให้เกียรติ ต้องรอผู้รู้ชี้แจงครับ
จากคุณ |
:
เจ้าคุณแม่ทัพ
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ก.ค. 53 10:16:25
|
|
|
|