ความคิดเห็นที่ 2 |
ศีล ๕ เป็นสิ่งพึงสมาทาน รักษาตลอดเวลา และควรสมาทานอุโบสถศีล (ศีล ๘) ในวันอุโบสถ (ขึ้น หรือ แรม ๑๕ ค่ำ)
ศีล ๕ ในทางพุทธศาสนา ถือเป็นมาตรฐานศีลธรรมของโลก ในช่วงพุทธันดร (โลกว่างจากพระพุทธศาสนา) ก็ยังถือศีล ๕ เป็นมาตรฐานศีลธรรม
พระเจ้าจักรพรรดิ ในทางพระพุทธศาสนา ก็สอนให้ประชาชนรักษาศีล ๕
แต่เนื่องจาก ศีลข้อ ๕ นั้น บางท่านตีความว่า การดื่มเหล้า (รวมถึงยาเสพติด และหรือสิ่งที่ทำให้ขาดสติ) เป็นเหตุให้ตั้งตนอยู่บนความประมาท และทำให้ผิดศีล ๔ ข้อแรก จึงห้ามเสพเครื่องดองของเมา เพราะกลัวจะผิดศีล ๔ ข้อแรก แต่การดื่มเหล้าไม่ผิด (ฮา)
นอกจากนั้น กุศลกรรมบถ ๑๐ ไม่ได้ห้ามการดื่มสุรา มรรค มีองค์ ๘ ในหมวดศีล สัมมาวาจา-วาจาชอบ สัมมากัมมันตะ-กระทำชอบ สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ บางท่านก็เลยเลี่ยงบาลีว่า ไม่ได้ห้ามดื่มสุรา ให้ดื่มได้แต่ต้องรักษาสติ (แต่มันจะรักษาได้อย่างไร ในเมื่อมันเป็นการเสพสิ่งที่ทำให้ขาดสติ ให้ตั้งตนอยู่บนความประมาท)
กลับเข้าสู่ประเด็นของ จขกท. (ขออภัยที่นอกเรื่องไปมาก)
การทำความดีเข้าพรรษาเป็นพิเศษนั้น เริ่มต้นเมื่อไหร่ไม่ทราบ เคยได้ยินแต่ว่า มาจากแนวคิด เมื่อภิกษุหยุดเหยียบย่ำข้าวในนา เพื่อให้ต้นข้าวได้เจริญเติบโต หมู่ชนทั้งหลาย พึงหยุดกระทำบาป กระทำอกุศล เพื่อชำระล้างจิตใจ ให้บุญ ให้กุศล ได้เจริญเติบโตขึ้น กล่าวง่าย ๆ เป็นอุบายให้คนทำความดีนั่นเอง
ในทางประวัติศาสตร์
โปรตุเกส บันทึกว่า พระไชยราชาธิราช (ที่ อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ แสดงใน สุริโยไท) ไม่เสวยน้ำจัณฑ์ เสวยแต่น้ำนม
วัน วลิต (เยเรเมียส ฟาน ฟลีท) เมื่ออยู่ในอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้เขียนพงศาวดารอยุธยา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในรัชสมัยพระนเรศวร มีการห้ามจำหน่าย หรือเสพสุราในช่วงเข้าพรรษา

ป.ล. นี่ผมก็สมาทานศีล ๕ ตลอดชีวิต สำหรับผมแล้ว ศีลข้อ ๔ มุสาวาท รักษายากที่สุด(ฮา) ส่วนสุรา ได้งดเมื่อเข้าพรรษาปีที่แล้ว ปรากฏว่างดไปได้ถึง ๔ เดือน จึงคิดว่าถ้าเรามุ่งมั่นย่อมทำได้ เลยตัดสินใจเลิกขาด นี่ก็เลิกมาได้ ๔ เดือนกว่าแล้ว ส่วนบุหรี่ พยายามเลิกต่อไป (บุหรี่ ไม่ผิดศีล ๕ นะครับ เพราะไม่ทำให้ขาดสติ ไม่ทำให้ตั้งตนอยู่บนความประมาท แต่เป็นกิเลส และในปัจจุบัน ถือเป็น โลกวัชชะ คือ การกระทำที่โลกติเตียน ไม่ควรกระทำ)
จากคุณ |
:
เจ้าคุณแม่ทัพ
|
เขียนเมื่อ |
:
วันภาษาไทยแห่งชาติ 53 10:41:35
|
|
|
|