 |
ความคิดเห็นที่ 65 |
เห็นด้วยกับประเด็นของคุณ Newjurist นะครับ ว่ากรุงเทพมหานครไม่ใช่ "จังหวัด" ตามกฎหมายการปกครองส่วนภูมิภาคของไทย และถ้าสื่อทำให้ประเด็นนี้ชัดเจนได้ก็ดี จะเป็นการช่วยเผยแพร่ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกฎหมายแก่ประชาชน
แต่ในขณะเดียวกัน ในความรู้สึกของประชาชน "จังหวัด" ไม่ได้มีแค่เรื่องของกรมการปกครอง เพียงอย่างเดียว แต่มันยังมีมิติอื่นๆ ทั้งทางภูมิศาสตร์และทางสังคมด้วยครับ คำว่า "จังหวัด" ในภาษาประชาชน (ที่ไม่ใช่ภาษากฎหมาย) จึงให้นัยยะของ "อาณาบริเวณ" มากกว่านัยยะ ว่า "รูปแบบการปกครอง" เหนืออาณาบริเวณนั้นเป็นรูปแบบใด
ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเขตเทศบาล หรืออยู่ในเขต อบต. หรืออยู่ในเมืองพัทยา เมื่อถามถึงจังหวัด เขาก็นึกถึง "อาณาบริเวณ" ของจังหวัดที่ครอบทับพื้นที่นั้น อันนี้เป็นความรับรู้โดยปกติสามัญ ของคนที่สัมพันธ์กับพื้นที่
ผมลองเปิดดูเว็บพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน ได้ข้อความว่า
จังหวัด (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา). ให้สังเกตเครื่องหมาย ; ที่บรรทัดที่ 3 นะครับ เครื่องหมายนี้บอกให้เรารู้ว่า คำว่า "จังหวัด" นอกจากจะมีความหมายในภาษากฎหมาย (ในวงเล็บคำว่า "กฎ" ที่บรรทัดแรก) แล้ว ยังมี ความหมาย (ที่ไม่ใช่ภาษากฎหมาย) ว่า "ถิ่น, เขต, บริเวณ" ด้วย ลองดูตัวอย่างคำอื่นใน เว็บพจนานุกรมของราชบัณฑิตสถานที่ใช้เครื่องหมาย ; แบ่งแยกความหมายของคำนะครับ
กิน ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ, ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่า เปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้ โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง. สังเกตเครื่องหมาย ; จะเห็นว่า คำว่า "กิน" ใ้ช้แปลว่า "เคี้ยว" ก็ได้, "เปลือง" ก็ได้, "รับเอา" ก็ได้, หรือ "ชนะในการพนันบางอย่าง" ก็ยังได้
กลับมาที่คำว่า "จังหวัด" การที่ประชาชนใช้คำว่า "จังหวัด" ในความหมายที่ไม่ใช่ความหมาย ในภาษากฎหมาย จึงเป็นปรากฏการณ์ปกติทางสังคม ทางภาษา และคำว่า "จังหวัด" นี้มีมา ในภาษาไทยก่อนที่ "กรุงเทพมหานคร" จะเปลี่ยนมาใช้รูปแบบการปกครองที่ไม่ขึ้นกับระบบ "จังหวัด" ของกรมการปกครองเสียอีกครับ
(นี่ยังไม่นับถึงคำว่า "จังหวัด" ที่ถูกใช้ในระบบการบริหารราชการของกระทรวงกรมอื่น เช่น ศาลจังหวัด ที่ไม่ได้มีอยู่ในทุกจังหวัดของกรมการปกครอง แถมยังมีบางศาลจังหวัดที่ไม่ได้ ตั้งชื่อตามจังหวัด แต่ตั้งชื่อตามอำเภอหรือเขต เช่น ศาลจังหวัดทุ่งสง ศาลจังหวัดตะกั่วป่า ศาลจังหวัดพระโขนง ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้คำว่า "จังหวัด" อีกแบบที่นอกเหนือไปจากความ หมายที่พจนานุกรมราชบัณฑิตระบุไว้)
และในทางปฏิบัติ การที่กฎหมายหลายฉบับระบุว่า "จังหวัด" หมายรวมถึงกรุงเทพมหานคร หรือกรุงเทพมหานครมีฐานะเทียบเท่า "จังหวัด" ก็เป็นการสนับสนุนความรู้สึกของคน (ที่ใช้ ภาษาปกติที่ไม่ใช่ภาษากฎหมาย) ให้มองกรุงเทพฯ เป็น "ถิ่น, เขต, บริเวณ" ที่ไม่ต่างจาก ความหมายของ "จังหวัด" (ในภาษาปกติที่ไม่ใช่ภาษากฎหมาย) อื่นของประเทศไทยครับ
(เอกสารราชการต่างๆ ในช่องที่ระบุให้กรอกชื่อ "จังหวัด" คนกรุงเทพฯ ก็กรอก "กรุงเทพ- มหานคร" ครับ และในเอกสารราชการเอง เช่น ทะเบียนรถที่บ้านผม ใบขับขี่ของผม ใบ ส.ด.๘ ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญทางทหาร เอกสารของผมเหล่านี้ ในช่อง "จังหวัด" ทางราชการ เขียนหรือพิมพ์ให้ว่า "กรุงเทพมหานคร" ทั้งสิ้นครับ และเอกสารทั้งหมดนี้ออกหลังปี พ.ศ.2518 และ 2528 ทุกใบ)
ผมยืนยันอีกทีว่าเห็นด้วยกับประเด็นของคุณ Newjurist ในเรื่องของการใช้ภาษา "กฎหมาย" ใหุ้ถูกต้อง (และสื่อก็ควรที่จะช่วยกันเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย) เพียงแต่การ จะระบุว่าอะไร "ถูก" หรือ "ผิด" บางทีต้องพิจารณาบริบทของการใช้ และแง่มุมต่างๆ ของ การใช้ภาษาในสังคมด้วยครับ เพราะถ้อยคำในภาษาไม่ได้มีมิติเดียว ไม่ได้มีความหมายเีดียว ครับ
ป.ล. เห็นด้วยกับหลายๆ ความเห็นของเพื่อนหลายๆ คนข้างบนนะครับ แต่ไม่ได้อ้างถึง เพราะเกรงจะยาวววว กว่านี้ แหะๆ
แก้ไขเมื่อ 06 ส.ค. 53 09:27:18
จากคุณ |
:
คุณพีทคุง (พิธันดร)
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ส.ค. 53 09:22:11
|
|
|
|
 |