 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
ค่อนข้าง งง ใน คำถาม สัก เล็กน้อย
หากเน้นที่ภาคเหนือ ก่อนเชียงใหม่
ก็มีหลายเผ่าพันธุ์ภาษาอยู่ก่อนแล้ว
ก่อน ๖พันปี น่าจะมีชนเผ่า พวกที่น่าจะเป็น Nigritoid อาศัยอยู่ หากแต่ภาษา ของชนเผ่าเหล่านี้ไม่หลงเหลือหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน
ราว๖ถึง๘พันปีมาแล้ว น่าจะมีชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลมอญเขมร เข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งได้พัฒนาเป็นกลุ่ม ชนที่พูดภาษา ขมุ ลั้วะ และมีมอญเก่าเข้ามาสร้างเมืองในสมัยหริภุญชัย
ส่วนคนที่พูดไทกะได น่าจะเข้ามาในแถบนี้ราว คศ ๘๐๐ถึง๑๒๐๐ โดยอพยพลงมาจาก ยูนนาน เป็นไทตะวันตกเฉียงใต้เก่า ซึ่งได้สร้างบ้านก่อเมือง ในแถบเชียงแสน และสุวรรณโคมฅำ
ซึ่งภาษาไท ที่ใช้ในภาคเหนือสมัยนั้น น่าจะเรียกว่า ไทเชียงแสนเก่า ซึ่งมีความแตกต่างจากภาษาไทยเหนือปัจจุบัน ทั้ง คำศัพท์ ระบบเสียงและไวยากรณ์
หากแต่ไม่มีบันทึกยืนยัน
แต่น่าจะใกล้เคียงกับ ไทพ่อขุนรามคำแหง พอสมควร
คือยังไม่ได้ผ่าน การแยกย้ายไม้เสียง Great Tonal Split
คือ ไม้เสียง ในภาษาไทเก่าทั้งสอง ยังคงมีเพียงแค่ ๔ เสียง คือ คำเป็น ๓ เสียง และคำตายอีกหนึ่งเสียง คือเอก A โท B ตรี C และ ตาย D
ซึ่ง ขา ออกเสียงวรรณยุกต์เดียวกับ คา แต่ คา ออกเสียงพยัญชนะก้อง ไทเก่า ขา /*kʰaaA/ : คา /*ɡaaA/ ข่า /*kʰaaB/ : ค่า /*ɡaaB/ ข้า /*kʰaaC/ : ค้า /*ɡaaC/ ขาด /*kʰaaʔdD/ : คาด /*ɡaaʔdD/ ขัด /*kʰaʔdD/ : คัด /*ɡaʔdD/
ไทใหม่ หลังจากเกิดการแยกย้ายไม้เสียง ขา /kʰaaA1/ : คา /kʰaaA4/ ข่า /kʰaaB1/ : ค่า /kʰaaB4/ ข้า /kʰaaC1/ : ค้า /kʰaaC4/ ขาด /kʰaatDL1/ : คาด /kʰaatDL4/ ขัด /kʰatDS1/ : คัด /kʰatDS4/
ซึ่งไม้เสียง A1, A4 ... ก็สามารถปริวรรตเป็นวรรณยุกต์ของไทใหม่แต่ละภาษาได้ครับ
แก้ไขเมื่อ 09 ส.ค. 53 23:51:27
แก้ไขเมื่อ 09 ส.ค. 53 23:11:50
จากคุณ |
:
Paphmania
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ส.ค. 53 16:31:57
|
|
|
|
 |