 |
ความคิดเห็นที่ 4 |
ท่านที่ไม่กล้าเอ่ยพระนาม ไม่ต้องเกรงใจใครหรอกค่ะ ท่านนั้นก็คือสมเด็จทวด (สมเด็จกรมพระสวัสดิ์) ของดิฉันเองแหละ อะไรที่ผิดก็ว่าไปตามผิด เช่น เรื่องเฆี่ยนโอรสก็เป็นเรื่องจริงๆก็เป็นเรื่องส่วนพระองค์ แต่ก็รุนแรงไป โดยเฉพาะในสายตาฝรั่งที่ใช้มาตรฐานสากลและนำมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่แก้สนธิสัญญา (จริงๆ คงไม่อยากแก้อยู่แล้วด้วย) แต่เมื่อเรื่องนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศชาติ เราก็ต้องยอมรับว่าท่านผิด แล้วก็เรื่องเจ้าอารมณ์ต่างๆ ก็เป็นความจริง ไม่เถียง แต่ก็ไม่ได้แย่ทุกเรื่องแบบที่ท่านหญิงเขียนหรอก
ถ้าผู้อ่านมีใจเป็นธรรม ก็ควรพิจารณาว่าสิ่งที่ท่านหญิงองค์นี้เขียนบางเรื่องก็เกิดจากอคติส่วนองค์ต่อสมเด็จทวดและสมเด็จย่า (สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7) ท่านหญิงกริ้วที่รัชกาลที่ 7 ไม่โปรด (รัก) พี่หญิงพิลัยของท่าน แต่โปรดและเษกสมรสกับ ม.จ.หญิงรำไพพรรณี (ท่านหญิงนา) จริงๆแล้ว รัชกาลที่ 7 ไม่เคยสนพระทัยท่านหญิงพิลัยเลย (แต่ผู้ใหญ่อาจจะจัดการ คิดกันเองก็ไม่ทราบได้) แต่คนในวังรู้ดี (คุณทวดและหม่อมย่าดิฉันก็เป็นคนในวังสมัยนั้น อยู่ในเหตุการณ์ด้วย) ใครๆก็รู้ดีว่ารัชกาลที่ 7 ท่านโปรดท่านหญิงนามาแต่ยังทรงพระเยาว์ ไม่ทราบมาเอามาจากไหนว่าเคยโปรดท่านหญิงพิลัย การคิดเอาเองทำให้เกิดทุกข์และความริษยา สมเด็จย่าท่านทรงเป็นช้างเผือกของราชสกุลเรา คือ ทรงมีพระทัยเย็น ไม่เคยกริ้วใคร ไม่ริษยาใคร แต่ก็ยังถูกริษยา จริงๆแล้วดิฉันไม่โทษท่านหญิงผู้เขียนเพราะเป็นบันทึกส่วนองค์ คนที่ทำไม่ถูกคือคนที่นำไปขายลิขสิทธิ์ให้ตีพิมพ์ ถ้าเรื่องทุกอย่างจริง ก็ไม่น่าใส่จุดไข่ปลา พิมพ์แบบเต็มๆไปเลย จะดีกว่า เราจะได้ชี้แจงเรื่องบางเรื่องที่ไม่จริง พอจุดไข่ปลา ทายาทราชสกุลที่เสียหายก็ไม่มีโอกาสออกมาชี้แจง เพราะพอชี้แจงแล้ว ก็คงอ้างว่าไม่ได้เอ่ยชื่อเสียหน่อย กินปูนร้อนท้องเอง บางคนในราชสกุลเราก็เคยคุยกันเรื่องนี้ และเคยคิดจะเขียนหนังสือหรือบทความออกมาเล่าด้านของเราบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้ทำอะไรจริงจังเสียที
จริงๆ อยากให้บางท่านที่ยังไม่ได้อ่าน ไปอ่าน ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 ซึ่งจริงๆก็เป็นบันทึกส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 6 ที่พระองค์ท่านคงไม่มีทรงมีพระราชประสงค์ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ ถ้าอ่านดีๆ และอ่านจากหนังสือ ปวศ บางเล่มจะพบว่ารัชกาลที่ 6 ท่านก็ไม่โปรดสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อย่างมาก เพราะเกือบทรงมีส่วนทำให้มีการเสียที่ดินรถไฟให้ฝรั่งจากการไปทรงตกลงกู้เงินสร้างทางรถไฟโดยไม่ทรงปร฿กษารัชกาลที่ห้าก่อน ลองไปหาอ่านดูนะคะ หนังสือประวัติศาสตร์บางเล่มก็มี รู้สึกท่านหญิงองค์นี้ก็จะเคยเขียนถึงด้วย จริงๆ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพระปรีชา แต่ก็มีความเป็นมนุษย์ปุถุชน มีทั้งข้อดี ข้อเสีย เหมือนสมเด็จทวดดิฉัน ดิฉันเคารพทุกพระองค์ แต่ถ้าพูดในแง่ประวัติศาสตร์ก็ต้องพูดตรงๆ
---
ขอเพิ่มเติมข้อความนี้ รัชกาลที่ห้าและหกทรงพระพิโรธกรมพระยาดำรงฯเรื่องการไปตกลงกู้เงินกับฝรั่งเพื่อสร้างทางรถไฟโดยสยามเสียเปรียบ ท่านอาจทำไปโดยหวังดี แต่ทั้งสองพระองค์ไม่โปรดมากๆ
อันนี้ตัดตอนมาจากพระราชพินัยกรรมของรัชกาลที่หก
ฃ้อ ๓ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้า(หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สิ้นชีวิตไป มีลูกชายอยู่ แต่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์, ฃ้าพเจ้าฃอแสดงความปราร์ถนาว่า ให้เลือกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชา เปนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามกฎมณเฑียรบาล
(นี่เป็นคำสั่ง (ห้าม) อีกชั้น ๑ .- ถ้าเสนาบดีจะคิดเลือกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเปนผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์, ให้เสนาบดีกระทรวงวังคัดค้านด้วยประการทั้งปวงจนสุดกำลัง, เพราะฃ้าพเจ้าได้สังเกตเห็นมาว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ไม่มีศาสนา, ไม่มีศีล, ไม่มีธรรม, วัน ๑ อาจพูดอย่างหนึ่ง, อีกวันหนึ่งอาจกลับกลอกเสียก็ได้, และฃ้าพเจ้าจะไม่ลืมเลย ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ ริเอาราชอาณาเฃตต์ฃองพระราชวงศ์จักรีไปฃายฝรั่งเสีย ๓-๔ คราวแล้ว ถ้าให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้เปนผู้สำเร็จราชการ ลูกฃ้าพเจ้าอาจไม่มีแผ่นดินอยู่ก็ได้
-----
จริงๆแล้ว รัชกาลที่ 6 ท่านกริ้วสมเด็จทวดดิฉันก็จริง แต่ก็ทรงตัดไม่ขาดหรอก ตอนหลังก็ทรงดีกัน เพราะเป็นน้าแท้ๆและเคยเป็นพระอภิบาลพระองค์ท่านสมัยเรียนที่อังกฤษ คนในราชสกุลรุ่นเก่าๆจะทราบว่า ส่วนหนึ่งที่รัชกาลที่ 6 กริ้วเพราะสมเด็จทวดทรงชอบแนะนำและชี้แนะในการประชุมต่างๆ โดยทรงคิดว่าเป็นน้า เคยทรงดูแลมา แต่ตอนนั้น รัชกาลที่ 6 ก็ทรงถือพระองค์ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ใหญ่สุด ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเองได้ ก็กริ้ว ส่วนสมเด็จทวดก็ทรง "แรง" มาแต่ไหนก็ไร ไม่ยอมลงให้ ก็เลยทำให้กริ้วไปกันใหญ่ แต่เรื่องที่ผิด เช่น เฆี่ยนโอรส ก็ว่าไปตามผิด เราไม่เถียง เราเป็นนักประวัติศาสตร์ ถึงเป็นบรรพบุรษตัวเองถ้าเป็นความจริง ก็ยอมรับ
แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 53 17:30:08
แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 53 17:25:41
จากคุณ |
:
ลดาดาว
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ส.ค. 53 16:25:18
|
|
|
|
 |