 |
ความคิดเห็นที่ 41 |
อ่านข่าววันนี้แล้วอิจฉาคนไทย...
ศิลปะการแสดงชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลก มหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ ครั้งที่ 12 กรุงเทพฯ กำลังจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง โดยในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบหนึ่งรอบครั้งนี้ตระการตาไปกับลีลาการเต้นแบบ ร่วมสมัยไปจนถึงการแสดงบัลเลต์คลาสสิกที่หา ชมได้ยาก พลังเสียงและการแสดงอันยอดเยี่ยมจากโอเปร่า ดนตรีระดับโลกกับคอนเสิร์ตแจซซ์และการเต้นรำจาก นานาชาติ *มหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติในรอบปฐมฤกษ์ เปิดมหกรรมฯ วันที่ 11 กันยายน เริ่มด้วยการแสดงโอเปร่าเรื่องเด่นจาก รัสเซีย คณะโนโวซิบิร์สก์ โอเปร่า เธียเตอร์ Prince Igor (ปรินซ์ อิกอร์) ของอเล็กซานเดอร์ โบโรดิน ที่เต็มไปด้วยสีสัน ตัวละครน่าทึ่งและมีลักษณะของความเป็นละครอยู่สูง การแสดงยิ่งใหญ่ที่ต้องใช้ศิลปินมากถึง 290 ชีวิต รวมถึงวงออเคสตร้าที่ควบคุมวงโดยเยฟเกนีโวลินสกี ในวันที่ 13 กันยายน คณะโนโวซิบิร์สก์ โอเปร่า เธียเตอร์ จะพาผู้ชมย้อนกลับไปช่วงศตวรรษที่ 19 ณ ปารีส เมืองแห่งความรัก สัมผัสกับเรื่องราวความรักที่หลุดลอย และน่าสะเทือนใจของ “มิมี” หญิงรับจ้างเย็บผ้าและกวีหนุ่มนาม “โรดอลโฟ” ใน La Boheme โดยการแสดงทั้งสองชุด คณะโนโวซิบิร์สก์ โอเปร่า เธียเตอร์ จะสะกด ผู้ชมไว้ด้วยเวทีอันยิ่งใหญ่และการแสดงอันยอดเยี่ยม บัลเลต์คลาสสิก ในครั้งนี้เริ่มด้วยการแสดงชุด La Bayadere (ลา บายา แดร์) โดยคณะโนโวซิบิร์สก์ บัลเลต์ เธียเตอร์ ใน วันที่ 15 กันยายน เรื่องราวของนางรำในวิหารนามนิกิยาและโซลอร์ นักรบผู้กล้าซึ่งเป็นคนรักของเธอที่เข้ามาเกี่ยวพันกับเล่ห์เหลี่ยมของความ ริษยา ความรักอันอมตะและความยุติธรรมซึ่ง มาริอุส เปติปา ออกแบบท่าเต้นสวย น่าทึ่งให้บางฉากของบัลเลต์คลาสสิกเรื่องนี้ โดยเฉพาะฉากอาณาจักรแห่งเงามืด และการเต้นคู่ในฉากระบำผ้าพันคออันมีชื่อเสียง *ใน วันที่ 17 และ 18 กันยายน จัดแสดงชุด Cinderella คีรีลล์ ซิมินอฟ ผู้ออกแบบท่าเต้นตีความ จากบทประพันธ์ของชาร์ลส แปร์โรลต์ ให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น มี ทีโอดอร์ เคอร์เรนต์ซิส ทำหน้าที่ควบ คุมการบรรเลงของวงออเคสตร้า จากนั้น วันที่ 22 และ 23 กันยายน เป็นการ แสดงชุด Swan Lake ออกแบบท่าเต้นโดยไฮนซ์ สเปอร์ลิ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์และนักออกแบบท่าเต้นชื่อดังของซูริก บัลเลต์ผู้ได้รับการยกย่องไปทั่วโลก ด้วยเทคนิคการเต้นอันเป็นเลิศและเต็มไปด้วยพลัง นอกจากบัลเลต์ชุดซินเดอเรลลาที่สามารถชมได้ทุกวัยยังมี บัลเลต์ชุด A Christmas Carol (อะ คริสต์มาส แครอล) ซึ่งแสดงใน วันที่ 25 และ 26 กันยายน โดยคณะนอร์เทิร์น บัลเลต์ เธียเตอร์ จากสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นเลิศในเรื่องการสร้างสรรค์บัลเลต์จากบทประพันธ์ ดั้งเดิมสร้างจากผลงานของชาร์ลส์ ดิกเกนส์ เรื่องราวของสครูจ ชายใจหินและละโมบวันหนึ่ง ภูตแห่งคริสต์มาสเมื่อวาน ภูตแห่งคริสต์มาสวันนี้ และภูตแห่ง คริสต์มาสพรุ่งนี้ มาหาเพื่อพาเขาไปสู่การเดินทางอันจะช่วยทำให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ความรักและการให้ ด้วยทักษะอันแข็งแกร่งในบัลเลต์ของคณะโนโวซิบิร์สก์ บัลเลต์ เธียเตอร์ได้นำมาปรับให้เป็นบัลเลต์ร่วมสมัยโดยครั้งนี้นำการแสดงเดี่ยวบัล เลต์ร่วมสมัย 3 ชุด แสดงใน วันที่ 16 กันยายน ได้ แก่ Serenade (เซเรเนด), Whispers in the Dark (วิสเปอร์ อิน เดอะ ดาร์ค) และ Who Cares? (ฮู แคร์ส) ส่วนทางด้านคณะเนเธอร์แลนด์ แดนซ์ เธียเตอร์ คณะนักเต้นร่วมสมัยผู้บุกเบิกระดับแถวหน้าจัดการแสดง การเต้นรำแบบร่วมสมัย ให้ชม 2 รอบ ใน วันที่ 22 และ 23 ตุลาคม ได้แก่ Whereabouts Unknown (แวร์อะเบาธ์ อันโนน) การแสดงที่โดดเด่นด้วยแสงเงา ร่างกายที่เปี่ยมด้วยพละกำลังและหยุดนิ่งมากกว่าเคลื่อนไหว อีกทั้งยังเผยให้เห็นถึง เงาเลือนรางในความเวิ้งว้างและซับซ้อนของชีวิต Bella Figura (เบลล่า ฟิกูร่า) เรื่องราวของผู้ช่ำชองในเรื่องทาง โลกซึ่งออกแบบโดยไคเลียนเช่นกัน ออกเดินทางไปยังบราซิลพบกับนักเต้นแห่ง คณะคิสเน เนโกร ซีอา เดอ ดันซา (Black Swan) กับการแสดงเดี่ยวเต้นรำร่วมสมัย Fruit of the Earth (ฟรุท ออฟ ดิ เอิร์ธ), Flock (ฟล็อค), Cherche (แชร์เช่), Trouve (ทรูฟ), Perdu (เปอร์ดู) และ Trama (ทราม่า) นักเต้นแห่งคณะคิสเน เนโกร ซีอา เดอ ดันซา ซึ่งผ่านการฝึกฝนทั้งด้านการเต้นรำและกีฬาทำให้ลีลาของพวกเขาดูมีพละกำลัง ที่แข็งแกร่ง มีท่วงท่าชัดเจน และมีเทคนิคการเต้นอันแพรวพราว สร้างสรรค์ท่าเต้นร่วมกันโดยนักออกแบบท่าเต้นท้องถิ่นบราซิลและนักออกแบบท่า เต้นนานาชาติ ส่วนทางด้าน Sangre Flamenco ของคณะนูโว บัลเลต์ เอสปาญอล จากสเปนจะเริ่มขึ้นใน วันที่ 19 กันยายน ออกแบบท่าเต้นโดยคู่หูผู้ทรงเสน่ห์ แองเกล โรจัส และคาลอส โรดริเกซ ซึ่งไม่ว่าชายหรือหญิงจะเต้นทั้งแบบคู่ หรือเดี่ยวไปตามจังหวะการเต้นของฟลาเมงโก **เร่งจังหวะเร็วขึ้นใน วันที่ 28 และ 29 กันยายน กับการแสดงชุด Fiesta the Night Away (เฟียสต้า เดอะ ไนท์ อะเวย์) โดย คณะคิงส์ ออฟ ซาลซา สาธารณรัฐคิวบา การแสดง ชุดนี้ประกอบไปด้วยการเต้น สตรีตซัลซา โดยมีสาวลาติน จะมาพลิ้วไหวไปตามจังหวะแมมโบ รุมบา ชะชะช่า จนถึงการเต้นสไตล์แอฟโฟร- แคริบเบียน โดยร็อกสัน กอน ซาเลซ ชาเวซ นักออกแบบท่าเต้นชื่อดังได้รวบรวมนักเต้นระดับหัวกะทิจากทั่วเกาะคิวบามารวม อยู่ในการแสดงชุดนี้ ใน วันที่ 12 ตุลาคมนักเต้นรำแห่งคณะเอสเตมปัส ปอร์เตนัส แดนซ์ คอมปานี ทั้ง 5 คู่ พร้อมเสียงขับขานของนักร้องและดนตรีจากวงแทงโกควินเท็ตจะนำผู้ชมไปสู่การ เดินทางแห่งความหลงใหลในโลกอันน่าระทึก เริ่มจากบรรยากาศช่วงทศวรรษที่ 1950s เปลี่ยนสู่ฉากแห่งความทันสมัยสำหรับคอนเทมโพรารีแดนซ์ สีสันความสนุกสนาน ที่แทบทำให้หยุดหายใจไปกับดนตรีของแอสเตอร์ เปียซ โซลา และคาโรลินา โซเลอร์ ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบท่าเต้นของเอสเตมปัส ปอร์ เตนัสฯ ริทู ซัมฮารา (ฤดูกาลที่แตกต่าง) การร่ายรำอันงดงามของอินเดียซึ่งตีความบทโคลงภาษาสันสกฤตอันเก่าแก่ที่ บรรยายถึงฤดูกาลทั้งหกคือ ฤดูร้อน ฤดูมรสุม ฤดูใบไม้ร่วง ต้นฤดูหนาว ปลายฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิ ออกแบบท่าเต้นและเพลงโดย บัณฑิต บีร์จู มหาราช (Pan- dit Birju Maharaj) ผสมผสานระบำคลาสสิก 6 แบบของอินเดียแสดงให้เห็นถึงท่วงท่าและอารมณ์ที่แตกต่างของแต่ละฤดูกาล คอนเสิร์ตประสานเสียงในมหกรรมฯ ครั้งนี้นำเสนอคอนเสิร์ตประสานเสียงหาชมยาก คณะนักร้องประสานเสียงแดจอน ฟิลฮาร์โมนิก การแสดงชุด Carmina Burana (คาร์มินา บูราน่า) ซึ่งได้รับการยกย่องจากผู้ชมจำนวนมากว่าเป็นเพลงร้องแคนตาตาที่ดีที่สุด โดยมีเค้าโครงจากบทกวียุคกลางศตวรรษที่ 13 ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ มีเสียงสอดแทรกแห่งความสุข ความเศร้า อารมณ์ขันซึ่งยังคงไม่ตกยุคสมัย ควบคุมวงโดย วินฟรีด โทลล์ วาทยกรชาวเยอรมัน พร้อมด้วยนักดนตรีและนักเต้น ***แจซซ์ อีกการแสดงที่ จะมีขึ้นใน วันที่ 15 ตุลาคม โดยจะพบกับ สวีดิช แจซซ์ คิงส์ ร่วมด้วย รอย วิลเลียมส์ สำเนียงแจซซ์แบบชิคาโก/นิว ออร์ลีนส์ในยุคทศวรรษที่ 1920s จนถึงต้นทศวรรษที่ 1930s ฯลฯ ช่วงที่สองพบกับ ชัฟเฟิล เดมอนส์ ประเทศแคนาดา วงดนตรีที่มีเสน่ห์จะมาบรรเลงบทเพลง คอนเสิร์ตออเคสตร้า ในมหกรรมฯ ครั้งนี้จะเริ่มต้น ออเคสตร้าคอนเสิร์ตคลาสสิกชุดแรกใน วันที่ 12 กันยายนพบกับการแสดง Symphony No.1 in D major ของโปร โคเฟียฟ บทเพลงคลาสสิกอันเนื่องมาจากรูปแบบที่เป็นนีโอคลาสสิก และ Sym phony No.9 ซิมโฟนีชิ้น สุดท้ายของเบโธเฟน วาทยกรควบคุมวงสำหรับการแสดงครั้งนี้คือ ทีโอดอร์ เคอร์เรนต์ซิส หัวหน้าวาทยกรแห่งคณะโนโวซิบิร์สก์ สเตต โอเปร่า แอนด์ บัลเลต์ เธียเตอร์ ใน วันที่ 24 ตุลาคมซึ่งตรงกับวันปิดงานมหกรรมฯ พบกับ สุบิน เมห์ทา วาทยกร ระดับปรมาจารย์ที่จะมาควบคุมวงคณะอิสราเอล ฟิลฮาร์โมนิก ออเคสตร้าในการแสดงชุด The Rite of Spring ของอิกอร์ สตรา วินสกี และ Symphony No.1 ของกุสตาร์ฟ มาห์เลอร์ที่นำเรื่องราวต่าง ๆ ที่แตกต่างกันมาร้อยเรียงไว้ในบทเพลงที่มีพลังพร้อมบทจบ เร้าใจที่สุดในการแสดงซิมโฟนี มหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติปีที่ 12 ครั้งนี้ ซึ่งนำสุดยอดการแสดงและดนตรีจากทั่วทุกมุมโลก 22 ชุดมาจัดแสดงจะมีขึ้นใน ระหว่างวันที่ 11 กันยายน ถึง 24 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ
*.....ขอแนะนำให้น้องกาสะลองไปชมค่ะ
**....สื่อศิลปและชายไทยทั้งปวง..ไม่ควรพลาด..เพราะอยากให้ดูลีลาการเต้นซัลซาระดับโปร..ต้องยอมรับว่าเหนือชั้นจริงๆ
***......สื่อศิลป....ต้องไป...!!!!!
จากคุณ |
:
WIWANDA
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.ย. 53 00:37:49
|
|
|
|
 |