 |
ความคิดเห็นที่ 4 |
จุลศักราช เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ จุลศักราช ๑ เป็นปฏิทินจันทรคติ
(ส่วนปีนักษัตร (ชวด ฉลู ฯลฯ) ตามตำนานนักษัตร เปลี่ยนในวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นปฏิทินสุริยคติคัมภีร์สุริยยาตร์)
ไม่ใช่เริ่มในรัชกาลที่ ๕ แน่นอนครับ และที่ทรงเก่งทางโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ คือ รัชกาลที่ ๔ ครับ ไม่ใช่ รัชกาลที่ ๕
จุลศักราช ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเริ่มใช้ที่ใด ส่วนใหญ่ว่าพม่า แต่บางแห่งก็เถียงว่าว่าใช้ที่ล้านนาก่อน ฯลฯ
เชื่อกันว่า เรารับ จุลศักราช มาใช้ตามพม่า เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งแรก โดยก่อนหน้านั้น เราน่าจะใช้ มหาศักราช คู่กับ พุทธศักราช (ทางศาสนา)
ปัจจุบัน เมืองไทย นับจุลศักราชแบบปีเต็มหรือปีย่าง ผมจำไม่ได้ คือ เอาพุทธศักราช ลบ ด้วย ๑๑๘๑ แต่ในอดีต บางครั้งก็มีนับไม่ตรงกับปัจจุบัน คือ บวก/ลบ ๑ เนื่องจากการนับศักราช มักผิดเพี้ยน จากการที่ ฝ่ายหนึ่งนับปีย่าง ฝ่ายหนึ่งนับปีเต็ม
อย่าง คริสต์ นั้นนับปีย่าง ดังนั้น ความจริงแล้ว คริสตศตวรรษที่ ๒๑ จึงต้องเริ่มในปี ๒๐๐๑
พุทธศักราชก็เช่นกัน เรานับผิดไป ๖๐ ปี เนื่องจากชมพูทวีปโบราณ มีการนับรอบใหญ่ (รู้สึกจะพฤหัสจักร) ซึ่งเป็นเวลา ๖๐ ปี ฝ่ายหนึ่งนับปีย่าง ฝ่ายหนึ่งนับปีเต็ม พุทธเถรวาทลังกา เช่น ลังกา ไทย พม่า มอญ ลาว เขมร จึงนับพุทธศักราช เร็วไป ๖๐ ปี เรื่องนี้ยังปรากฏหลักฐานจากการเปรียบเทียบเอกสารของกรีกสมัยอเล็กซานเดอร์บุกอินเดีย รวมถึงการจดบันทึกของจีน
พุทธศักราชจริง ๆ ควรอยู่ที่ประมาณ ๔๘๓ - ๔๘๖ ปีก่อนคริสตกาล (มีปัญหาเนื่องจาก ปีเต็ม ปีย่างอีกเช่นกัน)
อย่างไทยนั้น ปัจจุบันนับปีเต็ม จึงเป็น ๒๕๕๓ ส่วนลังกา พม่า นับปีย่าง จึงเป็น ๒๕๕๔
ความจริงในเอกสารโบราณ เราก็นับปีย่าง แต่มาผิดเพี้ยนรู้สึกจะสมัย รัชกาลที่ ๔ (แต่ถ้าเข้าใจไม่ผิด เวลาพระเทศน์ ท่านยังบอกเวลาเป็นปีย่างอยู่)
ส่วนทำไมเถรวาทลังกาวงศ์ จึงเริ่มนับศักราชที่การปรินิพพานของพระศาสดานั้น อาจเป็นด้วยความเชื่อว่า พระพุทธศาสนา จะมีอายุหลังการปริพพาน ๕,๐๐๐ ปี จึงเหมือนเป็นการนับสู่การสิ้นพระศาสนา (แต่ตำราโบราณบางครั้ง ก็บอกแค่ ๕๐๐ ปี ถึงได้มีบางช่วงในประวัติศาสตร์ มีการบอกให้ไม่ต้องไหว้พระ เพราะศาสนาสิ้นไปแล้ว ภิกษูเป็นพระปลอม)
เขียนจากความทรงจำ ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยอย่างยิ่ง
แก้ไขเมื่อ 16 ก.ย. 53 10:46:03
จากคุณ |
:
เจ้าคุณแม่ทัพ
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ก.ย. 53 10:16:17
|
|
|
|
 |