 |
ความคิดเห็นที่ 7 |
อ่านภาษาไทยแล้วยังไม่เข้าใจในตำราด้วยคนค่ะ.. เช่น..
๑.น้ำยาเอนกประสงค์ (อันนี้เป็นอาหารหรือเป็นยาคะ..และ N 70 คืออะไร?)
"กรองเอาส่วนข้างบนนำมาใช้"
***กรองในภาษาไทย..คือการเทผ่านตะแกรงละเอียด หรือผ้า เพื่อคงไว้แต่น้ำ กากทิ้งไป.. ถ้าจะใช้แต่ส่วนบน..ก็ต้องหมายถึงการ"ช้อน" ส่วนใสมาใช้..(ใช่ไหมคะ?)
.................................................................
๒. คุณพูดถึงการ"กวน" เช่น..
วิธีการทำ • ใส่ N70 ลงในภาชนะที่สำหรับการกวน • ใส่เกลือที่ละลายน้ำแล้ว 2 ลิตร แล้วกวนไปเรื่อย ๆ แล้วค่อย ๆ เทน้ำเกลือทีละน้อย • เติมน้ำ และเติมส่วนผสมต่าง ๆ ที่เหลือนั้นลงไปแล้วค่อย ๆ กวนต่อไปให้เข้ากันจน กลายเป็นเนื้อเดียวกัน • เสร็จแล้ววางทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง ให้ฟองยุบตัวจากนั้นใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
***แต่ไม่ได้เอ่ยถึงการใช้ไฟระดับสูงต่ำ แค่ไหนและอย่างไร.. เพราะ..กวน..ในภาษาไทย หมายถึงการที่ต้องใช้ความร้อนจากเตาอันเป็นสำคัญ เช่นที่เขาพูดกันว่า กวนมะม่วง กวนกาละแม น่ะค่ะ ถ้าไม่ใช้ไฟ...แค่ผสมให้เข้ากันเฉยๆ เราเรียกว่า "คนให้เข้ากัน" ซึ่งคำว่า "คน" สามารถใช้ได้ทั้งมีไม่มีไฟและมีไฟ (ในบางกรณี)
.......................................................................
๓. อันนี้ทำเอางงสุดๆ
น้ำมะขาม เอามะขามแช่น้ำไว้ 20 นาที แล้วเอาส่วนน้ำมาต้มให้เดือด 30 นาที วางไว้ให้เย็น กรองเอาส่วนข้างบนนำมาใช้
How to prepare herbs
Tamarind drink Soak the tamarind 20 minutes ,then leave them , use the solution to be boiled for 30 minutes. After that sieve through cheesecloth.
***เพราะไม่ทราบว่า..มะขามส่วนไหน whole, with seeds, pulp..หรือ ชนิดไหน..สด หรือเปียก..( fresh or paste) ส่วนขั้นตอนการผลิต เพราะ..อ่านแล้วไม่เข้าใจจริงๆ เช่น.. Soak the tamarind 20 minutes (.. ในน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น และอัตราส่วนเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่) then leave them (นานแค่ไหน..ถึงจะกลับมาทำต่อได้ )
ที่เหลือก็เหมือนๆกัน..เช่น มะละกอ..(ไม่ทราบว่าสุกหรือดิบ) และตำราออกมาในแนวซ้ำซากมากเพราะจบลงด้วย.. Then put them to the blender. After that sieve through cheesecloth.
ตี๊ต่างนะคะ..ถ้าเป็นดิฉัน..ลองสักตัวอย่างนึง..เช่น การทำน้ำมะละกอ (เข้าใจว่าเป็นมะละกอสุกก็แล้วกัน)= Fresh Papaya drink
Ingredients
One whole ripe papaya 1/2 gallon of water
Directions
Peel papaya, cut half remove and discard all white pith, cut into bite size pieces, boil for 30 minutes then **puree** them in the blender at the (?)-speed. Strain the mixture through a fine strainer (use cheesecloth if necessary). Pour it back into the jar and recap, keep refrigerated for top quality.
**For best results, sterilize any jar (or any desired container) in a boiling-water for 10-15 minutes before using.
เหตุผลที่เขียนมา เพราะในการทำอาหาร..ฝรั่งเขาก็มีศัพท์เฉพาะทางค่ะ.. เช่น..Puree อ่านว่า พิวเร (หมายถึง สดๆ หรือ ต้ม หรือแช่นิ่มแล้วมาปั่นจนเหลว...แยกกากหรือไม่แยก ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและความต้องการของคนทำ..คำเดียวแค่นี้ฝรั่งเข้าใจทะลุปรุโปร่ง)
จาก The Free Dictionary
Noun 1. puree - food prepared by cooking and straining or processed in a blender aliment, alimentation, nourishment, nutriment, sustenance, victuals, nutrition - a source of materials to nourish the body
Verb 1. puree - rub through a strainer or process in an electric blender; "puree the vegetables for the baby"
ต่อมา..คือคำว่า.." Sieve" หรือที่เรามักใช้ว่า Sift คำนี้ หมายถึงการร่อน..แยกของเล็กออกจากของใหญ่ เช่น แป้ง หรือ น้ำตาล ซึ่งไม่ใช่ในกรณีแยกของเหลวตามในรายการที่คุณยกมา..
ถ้าเป็นของเหลว..ที่มีกาก เราใช้คำว่า Strain ที่เราเรียกว่า "กรอง" ดังที่จะเห็นได้จาก กระชอน..ฝรั่งเรียกว่า Strainer ส่วน cheesecloth ดิฉันละไว้ในกรณีถ้าจำเป็น ถ้ามีคนเกิดอยากจะใช้...ซึ่งก็นับว่าออกจะเพี้ยนๆ เพราะในตำราของคุณ ทั้งต้มทั้งปั่น..จะกรองให้ใสเป็นน้ำประปานั้นเป็นไปไม่ได้..ยิ่งเป็นมะละกอสุก หรือ สับประรด เข้าไปอีก..ดูอย่างน้ำมะเขือเทศซิคะ..จะใสไปได้อย่างไร? คุณตั้งใจจะเขียนเป็นตำราภาษาฝรั่งให้ฝรั่งอ่าน คุณก็ต้องเข้าใจด้วยว่า..ส่วนใหญ่เขามักคุ้นดีกับการทำอาหาร และชนิดของอาหารนั้นๆรวมไปถึงผลไม้ด้วย.. แน่นอน..ผลไม้บางชนิดย่อมต้องมีเนื้อเจือผสมมาด้วยเราเรียกว่า pulp ซึ่งเป็นของดีมีคุณภาพ และเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็นการทำมาจากผลไม้สด..
การให้ตำราอะไรก็ตาม..คุณจะต้องไม่ลืมเรื่องวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพและอนามัย..ต้องตอกย้ำกำกับไว้เสมอว่าภาชนะที่จะใช้จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อเสมอ อันนี้ถึงไม่เขียนให้ฝรั่งอ่าน ก็ต้องเขียนเป็นภาษาไทยทุกครั้ง(เพราะส่วนใหญ่ฝรั่งเขาจะทราบกันดีอยู่แล้ว) แต่เรามักละเลยในเรื่องสำคัญ
อย่างตำราที่คุณให้มา..คุณไม่ได้ให้ความสำคัญของสัดส่วน ชั่ง-ตวง-วัด, ขนาด-ชนิดของภาชนะ และ ขั้นตอนการเตรียม การทำ.. ทุกอย่างคุณข้ามเลยไปหมด..
เลยทำให้เข้าใจได้ว่า...คุณเองก็ไม่ได้หวังให้มันเป็นงานเป็นการสักเท่าไหร่ เอาแค่มองผ่านๆแล้วเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเยอะๆแบบน้ำท่วมทุ่ง ซึ่งถ้าอ่านแล้วจะเห็นว่า มีแต่ประโยคเด็ด "After that sieve through cheesecloth" ที่ลอกซ้ำๆกันไปมา..
ที่สำคัญที่สุด..คือคำว่า solution...เราไม่ใช้คำนี้กับอาหารรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นของเหลว หรือ ผสมอะไรก็ตาม..เพราะมันเป็นศัพท์ที่มักใช้ในการก่อสร้าง. การผสมเคมี และการเกษตร
ในด้านอาหารสากล...เราใช้คำว่า mixture หรือ คำว่า premixed ค่ะ
และต้องขอโทษที..ที่เข้ามาท้วงทัก..เพราะมันอยู่ในสายงานของดิฉันพอดี..ถ้าคุณจะเอาจริงเอาจังในการผลิตน้ำสารพัดตามตำราที่เขียนมา ก็คงต้องไปค้นคว้าอีกเยอะ..ตั้งแต่ความแตกต่างในชนิดของ blender/food processor, slice/dice/chop, grill/broil/sear/toast/roast, filtered paper vs cheesecloth...และอื่นๆ
แก้ไขเมื่อ 17 ก.ย. 53 20:14:03
จากคุณ |
:
WIWANDA
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ก.ย. 53 20:12:43
|
|
|
|
 |