ความคิดเห็นที่ 1 |
ปรัชญาสุนทรียศาสตร์(Aesthetics) เป็นวิชาปรัชญาที่ศึกษาความหมายของความงาม ในสมัยโบราณปัญหาเรื่องความงามมักไม่ได้ถูกยกขึ้นมาถกเถียงกันโดยตรง เพราะนักปรัชญาส่วนใหญ่ยังคร่ำเคร่งกับเรื่องปัญหาความรู้(Epistemology) เป็นหลัก เรื่องความงามมักถูกอ้างอิงในเรื่องปัญหาความรู้มากกว่าจะถกเถียงความหมายความงามโดยตรง Kant เองสรุปว่าความรู้เรื่องความงาม เป็นเอกเทศน์ของผู้รับรู้ล้วน(Subjectivity) ปัญหาความงามเพิ่งมีการถกเถียงอย่างจริงจังใน ศ 18 เป็นต้นมานี้เอง ในWikipedia ได้อภิปรายปรัชญาสุนทรียศาสตร์ไว้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมปรัชญาทุกสำนัก ในที่นีขอสรุปความเห็นส่วนตัว ปรัชญาสุนทรียศาสตร์ ถก 3 ประเด็นหลักๆ คือ
1. ความงาม เป็นอิสระจากอิสระจากผู้รับรู้ เป็นความงามแท้ๆ (Ontology) เป็นความงามที่ศิลปินได้แรงบันดาลใจจากความศรัทธาอย่างแรงกล้า ความงามเช่นนี้เป็นความงามที่ถุกสร้างสรรจากเบื้องบนผ่านมือศิลปิน ศิลปะยุคกลาง เช่น ไมเคล แองเจลโล เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นความงามที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะของศิลปินแต่ละคน ดังนั้นศิลปินจึงเป็นเพียงสื่อจากโลกของความงามเท่านั้น เป็นความงามสากลเป็น Objective เป็นกลาง Art for art sake
2. ความงามเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ให้คุณค่ากับงานศิลปะ (Subjectivity) และศิลปินเองก็แสดงความงามตามความเห็นของตนเองเป็นการแสดงออกของศิลปินล้วนๆ ดังนั้นงานของศิลปินแต่ละคนจึงอาจโดนใจผู้เสพแตกต่างกัน ศิลปินสร้างผลงานตามความพึงพอใจของตนเอง เป็นแรงขับจากภายใน โดยไม่สนใจผู้เสพ ที่เห็นได้ชัดๆ คือ Vincent van Gogh กลุ่มงานของพวก Expressionism ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาเชื่อมโยงไปถึงจิตวิทยา และปรัชญากลุ่ม existensialism ที่ศึกษาถึงนัยยะความงามต่อจิตผู้รับรู้ และความหมายของมันต่อชีวิต และทางเลือก
3. ความงามเป็นเรื่องของสังคม และประโยชน์เพื่อรับใช้สังคม นั่นคือความงามต้องมีองค์ประกอบสังคมและชนชั้นทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่กล่าวว่า ความงามเป็นสากล(1) นั้นไม่เป็นความจริง เป็นเพียงการแสดงออกความงามที่ชนชั้นปกครองเท่านั้น ที่สะท้อนถึงความหรูหรา และรับใช้สังคมศักดินา และที่ว่าศิลปะเป็นเรื่องส่วนต้วนั้น(2) ก็เป็นศิลปะที่ไร้แก่นสาร ละเมอลอย เพราะศิลปะนั้นมีเป้าหมาย และอยู่ด้วยต้วเองไม่ได้ เป้าหมายของศิลปะเริ่มขึ้นตั้งแต่ศิลปินเริ่มรังสรรค์ผลงานแล้ว ศิลปะจึงเป็นภาพสะท้อนชนชั้นของศิลปิน เป็นภาพสะท้อนสังคมในยุคศิลปินนั้นๆ ผลงานที่โดดเด่นที่วิพากษ์ในเรื่องนี้คือ Leo Tolstoy ในงาน What is Art? (มีแปลเป็นไทยด้วย แต่อ่านยากกว่าฉบับภาษาอังกฤษ. ความเห็นส่วนตัว) และกลุ่มศิลปินสังคมนิยมที่ตามมา เช่น Maxim Gorky จิตร ภูมิศักดิ์ และนายผี ก็เคยวิพากษ์เรื่องนี้ไว้เต็มเชื่อว่าได้อิทธิพลจากแนวคิดสังคมนิยมเต็มๆ เช่นกัน สุนทรียศาสตร์กลุ่มนี้ยังพูดถึงจริยธรรม นโยบายสังคม และความรับผิดชอบสังคมของศิลปิน ศิลปินเป็นกระจกสะท้อนภาพสังคม และผลงานของศิลปินเองก็สะท้อนชนชั้นจิตวิทยาของศิลปินเองว่าอยู่ฝ่ายใด ด้วย
ปัจจุบัน สุนทรียศาสตร์ได้พัฒนาไปมาก โดยสุนทรียศาสตร์ เชิงพานิชย์ได้คลุกเคล้าแนวความคิดทั้งสามข้อได้อย่างกลมกลึง และกอบโกยเงินเข้ากระเป๋าตุง
จากคุณ |
:
นกเถื่อน
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.ย. 53 01:26:54
|
|
|
|