 |
ขอเพิ่มเติมเสริมอีกนิด ครับ อย่างที่เกริ่นไว้แล้วว่า consideration มีที่มาจากหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ ซึ่งปัจจุบันนิยมระบุไว้ในสัญญาสำคัญ ๆ ทั่วโลก นอกจากนั้น ยังมีคำอื่น ๆ อีก ได้แก่ Warrant and Represent หรือ warranty and representation บางก็ใช้คำไทยว่า "รับประกันและแสดงตนว่า".....จะทำ จะไม่ทำ .... บ้างก็ว่า "รับรองและแถลงว่า" ....บ้างก็ว่า คำรับรองและคำแถลง ฯลฯ... จะเป็นคำไทยคำใดก็ตาม ถ้าแสดงความหมายในทำนองที่เขียนไว้เพื่อเป็นการรับรองว่าสินค้าหรือสิ่งที่คู่สัญญาตกลงนั้นเป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้จริง และแถลงหรือแสดงตน (ต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง) ว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิที่จะขายหรือรับรองคุณภาพหรือมีสิทธิในการทำ......ก็ถือว่าใช้ได้ ไม่บิดเบือนเจตนารมณ์หรือทำให้ความผิดเพี้ยนไป
โดยเฉพาะในสัญญาสินเชื่่อหรือเงินกู้สำคัญ ๆ คำแถลงและคำรับรอง ยิ่งมีมากตามไปด้วย และโดยส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นข้อความที่อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน เปลี่ยนเพียงชื่อคู่สัญญาหรือสาระอื่นๆ เพียงเล็กน้อยก็เป็นอันนำมาใช้กับกรณีอื่นได้แล้ว
ที่น่าสังเกตก็คือ สัญญาเงินกู้ที่ทำเป็นภาษาไทยส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะระบุข้อความเหล่านี้ไว้
แต่ถ้าเป็นสัญญาสินเชื่อโครงการ ( Project Finance) จะเขียนเป็นไทยหรือเทศ ก็ย่อมมีข้อความเหล่านี้ไว้เสมอ ๆ เพราะต้องการความรัดกุมและความเชื่อมั่นว่าเงินที่ ธนาคาร ปล่อยกู้ไปนั้น จะไม่สูญไป (ง่ายๆ) ทั้งนี้ เพราะว่า เมื่อเงินหลุดไปจากมือธนาคาร (ผู้ให้กู้) แล้ว สิ่งเดียวที่ธนาคารใช้เป็นอาวุธได้ ก็คือ "สัญญา" เท่านั้น
ถ้าผู้กู้ปฏิบัติผิดข้อสัญญาข้อหนึ่งข้อใด (รวมถึงการปฏิบัติผิดคำรับรองและคำแถลงเหล่านี้ด้วย) ธนาคาร (ผู้ให้กู้) จะกลายร่างมาเป็น "เจ้าหนี้" ทันที และมีสิทธิเรียกหนี้คืนทั้งหมด (แล้วแต่กรณี เพราะมีสิทธิแต่ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิก็ได้)
นอกจากนี้แล้ว ยังอาจเห็นคำอื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายคอมมอนลอว์ เช่น assignment (การโอนสิทธิและหรือหน้าที่ตามสัญญา.), entire agreement (ความตกลงเบ็ดเสร็จ...รวมเอาข้อตกลงทั้งสิ้นทั้งปวงมาใว้ในที่นี้แล้ว..ทำนองนั้น) ,equity (หลักความยุติธรรม..ที่ใช้ประกอบกับกฎหมายเพื่อลดทอนความแข็งกระด้างของตัวบท..เพื่อนำพามาซึ่งความเป็นธรรมมากขึ้น..), remedy (การชดใช้เยียวยา..ซึ่งคู่สัญญาพึงมีภายใต้สัญญานี้หรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้) เป็นต้น
หากไม่เข้าใจที่มาของศัพท์ ถ้อยคำและข้อความทางกฎหมายเหล่านี้ในเบื้องต้นแล้ว การจะนำไปใช้ หรือแปลคำถอดความ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด ๆ ก็ตาม ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแปลได้ถูก ศัพท์กฎหมายนั้น สำคัญไฉน ตอบได้ว่า สำคัญมากครับ :)
จากคุณ |
:
joey_travel
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ต.ค. 53 22:20:39
|
|
|
|
 |