 |
ลองคัดกฎมณเฑียรบาลมาเฉพาะข้อที่น่าจะเกี่ยวข้องแล้วกันครับ
มาตรา 1 กฎมณเฑียรบาลนี้ ให้เรียกว่า กฎมณเฑียรบาลว่าด้วย
การสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
มาตรา 2 ให้ใช้กฎมณเฑียรบาลนี้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน
พระพุทธศักราช 2467 เป็นต้นไป
(จึงไม่เกี่ยวกับเจ้าฟ้าจักรพงษ์แต่อย่างใด เพราะทิวงคต 2463)
ต่อไป ถ้าดูมาตรา 5 ก็เป็นอันยุติเรื่องทำไมถึงตั้งน้องตัวเองได้ครับ
มาตรา 5 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ และ
พระราชสิทธิที่จะทรงสมมุติเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
ให้เป็นรัชทายาท สุดแท้แต่จะทรงพระราชดำริเห็นสมควรและเป็นที่ไว้วาง
พระราชหฤทัยได้ ว่าท่านพระองค์นั้นจะสามารถสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์
แต่การที่สมมุติเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ให้เป็นพระรัชทายาทเช่นนี้
ให้ถือว่าเป็นการเฉพาะพระองค์ของพระรัชทายาทพระองค์นั้น
มาตรา 6 เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสมมุติท่านพระองค์ใดให้
เป็นพระรัชทายาทแล้ว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศข้อความ
ให้ปรากฏแก่พระบรมวงศานุวงศ์ เสนามาตย์ราชเสวกบริพารและอาณาประชาชน
ให้ทราบทั่วกันแล้ว ท่านว่าให้ถือว่าท่านพระองค์นั้นเป็นพระรัชทายาทโดยแน่นอน
ปราศจากปัญหาใด ๆ และเมื่อใดถึงกาละจำเป็น ก็ให้พระรัชทายาทพระองค์นั้น
เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบสันตติวงศ์สนองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษ
โดยทันที ให้สมดังพระราชประสงค์ที่ได้ทรงประกาศไว้นั้นแล
ส่วนมาตรา 7 ก็สรุปเรื่องพระราชอำนาจในการถอน และ ยกเว้นพระรัชทายาทครับ มาตรา 7 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสงวนไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ
และพระราชสิทธิที่จะทรงถอนพระรัชทายาทออกจากตำแหน่งได้ ท่านพระองค์ใด
ที่ได้ถูกถอนจากตำแหน่งพระรัชทายาทแล้ว ท่านว่าให้นับว่าขาดจากทางที่จะได้
สืบราชสันตติวงศ์ และให้ถอนพระนามออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ อีกทั้ง
พระโอรสและบันดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ถอนเสียจากลำดับ
สืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น
อนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพและพระราชสิทธิ
ที่จะทรงประกาศยกเว้นเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
ออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ได้
ทีนี้ลองมาดูลำดับการสืบสันตติวงศ์กันครับ
มาตรา 9 ลำดับชั้นเชื้อพระบรมราชวงศ์ซึ่งจะควรสืบราชสันตติวงศ์
ได้นั้น ท่านว่าให้เลือกตามสายตรงก่อนเสมอ ต่อไม่สามารถจะเลือกทางสายตรง
ได้แล้ว จึงให้เลือกตามเกณฑ์ที่สนิทมากและน้อย
เพื่อให้สิ้นสงสัย ท่านว่าให้วางลำดับสืบราชสันตติวงศ์ไว้ดังต่อไปนี้
(1) สมเด็จหน่อพุทธเจ้า
(2) ถ้าแม้ว่าสมเด็จหน่อพุทธเจ้าหาพระองค์ไม่แล้ว ให้อัญเชิญพระราชโอรส
พระองค์ใหญ่ในสมเด็จหน่อพุทธเจ้า และพระอัครชายาของสมเด็จหน่อพุทธเจ้า
พระองค์นั้นขึ้นทรงราชย์ หรือถ้าพระราชโอรสพระองค์ใหญ่หาพระองค์ไม่แล้ว ก็ให้
อัญเชิญพระราชโอรสพระองค์รอง ๆ ต่อไปตามลำดับพระชนมายุ
(3) ถ้าแม้ว่าสมเด็จหน่อพุทธเจ้าหาพระองค์ไม่แล้ว และไร้พระราชโอรส
ของท่านด้วยไซร้ ก็ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอัครมเหสี
(4) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 หาพระองค์ไม่แล้ว
แต่ถ้ามีพระโอรสอยู่ ก็ให้อัญเชิญพระโอรสโดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 แห่ง
มาตรานี้
(5) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระอัครมเหสี
หาพระองค์ไม่แล้ว และไร้พระราชโอรสของท่านด้วยไซร้ ก็ให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้า
ลูกยาเธอพระองค์อื่น ๆ ในสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเจ้า
ลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2, 3
และ 4 แห่งมาตรานี้
(6) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระอัครมเหสีหาพระองค์ไม่แล้ว
และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ ก็หาไม่ด้วยแล้ว ให้อัญเชิญ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรอง ถัดลงไปตามลำดับชั้นพระอิศริยยศ
แห่งพระมารดา หรือถ้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหาพระองค์ไม่แล้ว ก็ให้อัญเชิญ
พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ สลับกันตามลำดับ โดยอนุโลมตาม
ข้อความในข้อ 2, 3 และ 4 แห่งมาตรานี้
(7) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระมเหสีรองหาพระองค์ไม่
สิ้นแล้ว และพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอนั้น ๆ ก็หาไม่ด้วยแล้ว ให้
อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมากที่สุด หรือถ้าพระเจ้าลูกยาเธอ
พระองค์นั้นหาพระองค์ไม่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระโอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้า
ลูกยาเธอพระองค์นั้น แต่ถ้าแม้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุมาก
ที่สุดนั้นหาพระองค์ไม่แล้ว และพระโอรสของท่านก็หาไม่ด้วยแล้ว ก็ให้อัญเชิญ
พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่มีพระชนมายุถัดลงมา หรือพระโอรสของพระเจ้า
ลูกยาเธอพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2, 3
และ 4 แห่งมาตรานี้
(8) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไร้พระราชโอรสและพระราชนัดดา
ท่านว่าให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาที่ร่วมพระราชชนนีพระองค์ที่มีพระชนมายุ
ถัดลงมาจากพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นทรงราชย์สืบสันตติวงศ์
(9) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระอนุชาพระองค์ที่ควรได้ทรงเป็นทายาทนั้นหา
พระองค์ไม่เสียแล้ว ท่านว่าให้อัญเชิญพระโอรสของสมเด็จพระอนุชาพระองค์นั้น
ตามลำดับ โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 2 แห่งมาตรานี้
(10) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระอนุชาพระองค์ใหญ่หาพระองค์ไม่แล้ว และ
พระโอรสของท่านก็หาพระองค์ไม่อีกด้วยไซร้ ท่านว่าให้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชา
ที่ร่วมพระชนนีพระองค์ที่ถัดลงมาตามลำดับพระชนมายุ หรือพระโอรสของสมเด็จ
พระอนุชาพระองค์นั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ อนุโลมตามข้อความในข้อ 2, 3
และ 4 แห่งมาตรานี้
(11) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระอนุชารีร่วมพระชนนีหาพระองค์ไม่สิ้นแล้ว และ
พระโอรสของสมเด็จพระอนุชานั้น ๆ ก็หาไม่ด้วยแล้ว ท่านว่าให้อัญเชิญสมเด็จ
พระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี หรือพระโอรสของสมเด็จ
พระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชานั้น ๆ สลับกันไปตามลำดับ โดยอนุโลมตาม
ข้อความในข้อ 2, 3, 4 และ 6 แห่งมาตรานี้
(12) ถ้าแม้ว่าสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนีก็หา
พระองค์ไม่สิ้นแล้ว และโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชานั้นก็หา
ไม่ด้วยแล้วไซร้ ท่านว่าให้อัญเชิญพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ
หรือพระโอรสของพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอตามลำดับสลับกัน
โดยอนุโลมตามข้อความในข้อ 7 แห่งมาตรานี้
(13) ต่อเมื่อหมดพระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธออีกทั้งหมด
พระโอรสของท่านนั้น ๆ แล้วไซร้ ท่านจึงให้อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าพระบรม
วงศ์เธอและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ หรือพระโอรสและเชื้อสายของท่านพระองค์นั้น
ตามลำดับแห่งความสนิทมากและน้อย โดยอนุโลมตามข้อความที่กล่าวมาแล้ว
ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 12 แห่งมาตรานี้
สรุป 1 ร.7 หรือเจ้าฟ้าประชาธิปก ทรงเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 9 (8) ครับ คือ ทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาร่วมพระชนนีที่มีพระชนมายุถัดลงมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.6)
2 กรณีของเจ้าฟ้ามหิดล และเจ้าฟ้าบริพัตร จะทรงเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 9 (11) ครับ คือ ทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี 3 ดังนั้น เมื่อดูตามข้อสรุป 1 และ 2 แล้ว ยังไงๆ ก็ต้องเป็นเจ้าฟ้าประชาธิปกครับ ถึงไม่มีพระราชพินัยกรรม ก็ยังเป็นตามกฎมณเฑียรบาลอยู่ดี ไม่ต้องพิจารณาเรื่องเจ้าฟ้าบริพัตรเลยก็ยังได้ เพราะถึงแม้เจ้าฟ้าประชาธิปกจะไม่รับราชบัลลังค์ ตามกฎมณเฑียรบาลก็ยังเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอยู่ดี
4 ส่วนที่ทำไมต้องทรงมีพระราชพินัยกรรม ก็คงเนื่องมาจากขณะนั้นไม่ทรงทราบว่าจะได้พระราชโอรสหรือพระราชธิดา จึงทรงกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ เนื่องจากถ้าเป็นพระราชโอรสก็จะมีสิทธิอันดับหนึ่งในราชบัลลังค์ แต่ถ้าเป็นพระราชธิดา ก็จะเป็นเจ้าฟ้าประชาธิปก
5 ส่วนที่คุณณัฐสงสัยว่า ทำไม ร.6ท่านไม่ทรงอนุโลมตามพระราชปณิธานใน ร.5 ถ้าเอาตามตัวอักษรก็คือ ตอนนั้นมีกฎมณเฑียรบาลใช้บังคับแล้ว ก็ให้เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าจะให้เดาว่าเพราะอะไร อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ มันจะเป็นการคาดเดา
ว่าแต่ ทำไมกระทู้นี้ไม่ยักเห็นคุณ V mee แฮะ
จากคุณ |
:
ciri
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ต.ค. 53 10:05:03
|
|
|
|
 |