เพลงมหานิมิตร เพลงชาติไทยแบบไทย ที่ประพันธ์พร้อมกับเพลงชาติปัจจุบันและเคยใช้มาในอดีต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ โดยเป็นเพลงที่ได้รับคัดเลือกในอันดับแรก โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล ดัดแปลงจากเพลงหน้าพาทย์ ตระนิมิตร ให้บรรเลงทางสากล ซึ่งเพลงตระนิมิตรนี้ เป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครู นักดนตรีจะใช้บรรเลงในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานไหว้ครู บรรเลงเป็นการอัญเชิญครูบาอาจารย์ เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงมีความหมายอันควรแก่การเคารพนับถือเป็นสิริมงคล จึงควรที่จะเหมาะสมที่จะเป็นเพลงชาติไทยได้
ต่อมาภายหลังคณะกรรมการชุดเดียวกันนี้ ได้มีการพิจารณาว่า เพลงชาตินั้นคงจะมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ สำหรับเหตุผลในการยกเลิกเพลงชาติ แบบไทยและเลือกเพลงชาติตามแบบ สากล คงไว้ใช้ต่อไปนั้น ไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลพิเศษอื่นใด นอกจากความเห็นจากหลายฝ่ายที่เข้าใจว่า ทำนองเพลงชาติ แบบไทย นั้นอาจจะดูเป็นไทยเกินไป และอาจจะดูเชยเหมือนกับว่าไม่มีวัฒนธรรม
และท้ายที่สุดก็ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาและเกือบสูญหายไป
ที่มาของประวัติโดยละเอียด โดยเว็บปฏากรณ์ดุริงยางค์ http://musicthai.patakorn.com/?p=668
ที่มาของคลิป โดยคุณ pokpong999 http://www.youtube.com/watch?v=2Qqrz87oQyQ
ป.ล. ตั้งไว้สามที่ครับ ไร้สังกัด เฉลิมกรุง และที่นี่เนื่องจากเป็นปะวัติศาสตร์จุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งของไทยครับ