ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "เกราะ" ของทหารไทยและเพื่อนบ้าน +++
|
 |
คือกระผมได้ไปอ่าน ประชุมพงศาวดาร เพลินๆ แล้วสะดุดกับข้อความนี้ครับ
.....................................................................
จากหนังสือ ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๒
เรื่อง พงศาวดารเมืองละเวก จ.ศ.๑๑๗๐ หน้า 96
“ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เถลิงศกศักราช ๑๕๓๔ ปีชวดนักกษัตริย์จัตวาศก (ค.ศ.1612) จึ่งเจ้าพญาจักรี จางวางกรมช้างให้หามา เจ้ากรม ปลัดกรม จางวางขุน หมื่นครูหมอกรมช้าง กองนอกกองใน ระวางต้นระวางเพรียว จัดหาช้างสิง(ซึ่ง) มีกำลัง แลมีศอกมีนิ้วกล้างา เป็นช้างศึกสำหรับทัพ ให้ฝึกสอนให้ชำนิชำนาญอยู่กับปืนยืนกะหอก ให้คนรู้ดีตามตำราไสยศาสตร์ ตัว ๑ คือ ๓ คนนี้ เป็นช้างคชาธารนั้น ให้ผูกเป็นคชาธาร มีช้างดั้ง ช้างเขน มีเสโลโตมร คนตีนั้นให้ใส่เกราะเหล็ก หมวกเหล็ก หมอขี่คอนั้นถือขอแลง้าวด้วย คนกลางนั้นถือปืน ควาญท้ายนั้นถือหอกขอ”
......................................
“ครั้น ณ เดือน ๙ แรมหนึ่ง เข้าพระวษา กรมม้าฝึกม้า ให้ทนงองอาจสู้ศึกสำหรับศึก ให้รู้เดินเพลงทวนแลเพลงทั้งปวง แลมีเครื่องประดับให้ทุกทวนตามกระบวนใหญ่น้อย คนขึ้นขี่ม้านั้น ใส้เสื้อเกราะเหล็ก หมวกเหล็กมีแส้ ธนูแลทวนถือ แล้วให้ผู้รักษา เมืองปากใต้ฝ่ายเหนือ ให้ตระเตรียมรี้พลสกลโยธา หัดยิงปืนไฟ ธนูหน้าไม้ รำดาบ รำดั้ง กระบี่ มวยปล้ำ เพลงตะบอง แลทั้งเรือทั้งบก ให้ชำนาญการศึกให้รู้สิ้น ถ้ามีการศึกจะได้เกณฑ์ไปศึก ถ้าไม่มีศึกเป็นพระราชพิธีการแห่จะได้เกณฑ์ไปแห่แลสมโภช เจ้าพนักงานทั้งปวงกระทำตามพระราชโองการรับสั่ง ไพร่พลสกลทวยหาญชำนิชำนาญการพร้อมได้ทุกสิ่งสิ้นแล้ว”
.......................................................
ไม่รู้ว่าจะใช่หมายถึง ชุดเกราะหรือเปล่า
อีกข้อมูลนึงครับ
เรื่อง แบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี คัดมาจากหนังสือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชของคณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2523 หน้า 137-143
"เครื่องพิชัยสงครามสำหรับชนช้าง ทรงพระสนับเพลาลงราชะซับใน ๑ ทรงฉลองพระองค์ย้อมว่านลงราชะซับใน ๑ ทรงพระสนับเพลาแพรดำเกราะซับนอก ๑ ทรงฉลองพระองค์นวมซับนอก ๑ ทรงพระมาลาราชะซับใน ๑ ทรงพระมาลาเบี่ยงนอก ๑ ทรงรัดพระองค์เจียรบาศพื้นดำ ๑ สิริเป็น ๗ สิ่ง" ................................................
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านการแต่งกายสมัยโบราณสักเท่าไหร่ครับ ก็เลยไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องอะไรกับ เกราะเหล็ก/เกราะนวม บ้างหรือเปล่า
อีกข้อมูลนึงครับ จาก หนังสือ South East Asian Warfare 1300-1900
Body armour was similarly diverse and ranged from very light cover to metal cuirasses. In the sixteenth century, Peguan soldiers wore very light and weak armour, while in Tenasserim, the soldiers went into battle wearing padded armour. The early Chams wore armour made of woven rattan plates and some Javanese made use of armour made of buffalo hide in the seventeenth century. Europeans who visited Southeast Asia did not always see the armour worn by Southeast Asians and it appears that armour may have been used more against indigenous opponents than against Europeans. Few European sources mention Siamese armour, for example, but the indigenous chronicles refer to their use in battle into the seventeenth century
Elite warriors also wore hot, heavy, expensive, and ornate mail armour, which embellished their grandeur.
นอกนั้นหนังสือเล่มนี้ยังกล่าวถึงเกราะของทหารเพื่อนบ้าน
ทหารเวียตนามมีการใช้ chainmail ชาวชวาก็มีเกราะ ชาวอาเจะห์ก็ใส่เกราะ
ปล . http://uploadbox.com/files/abf35f5d7c ปล2. เหมือว่ากดส่งกระทู้ครั้งแรกจะ error
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 53 21:54:29
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 53 21:53:03
จากคุณ |
:
ShopperKimpy
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ธ.ค. 53 21:51:24
|
|
|
|